ความคิดเห็นทั้งหมด : 7

เตรียมตัวตายอย่างมีสติ


   ได้อ่านนิตยสารสารคดี ฉบับ ๒๓๐ เมษายน ๒๕๔๗ สัมภาษณ์พระไพศาล วิศาโล เรื่องเตรียมตัวตายอย่างมีสติ
มีกล่าวถึง มอ.ของเราด้วย น่าภูมิใจมาก

"การรักษาของแพทย์แผนปัจจุบันดูเหมือนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องของจิตใจใช่ไหมครับ

ที่ผ่านมาไม่ค่อยมี แต่ตอนนี้เริ่มให้ความสำคัญแล้ว อย่างเช่นในหลายโรงพยาบาลในอเมริกาตอนนี้ เขาสนับสนุนให้ผู้ป่วยทำสมาธิภาวนาหรือสวดมนต์ เพราะจากการวิจัยพบว่า ผู้ที่สวดมนต์ภาวนาหรือสนใจศาสนา เวลาผ่าตัดใหญ่ พวกนี้จะหายไวกว่า โอกาสรอดมากกว่า ใช้ยาน้อยกว่า เคยมีการทดลองถึงขั้นว่าให้คนอื่นสวดมนต์ภาวนา แผ่เมตตาให้แก่ผู้ป่วย ปรากฏว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ใช้ยาน้อยลง เมื่อเทียบกับผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่มีใครสวดมนต์ภาวนาให้ หลายแห่งในยุโรปและอเมริกาจึงให้ความสนใจกับเรื่องจิตใจมากขึ้น ทำให้โรงพยาบาลสมัยใหม่เริ่มที่จะให้ความสนใจกับการดูแลรักษาจิตใจของคนใกล้ตาย แต่ก็ยังถือว่าเป็นกระแสรอง ไม่ใช่กระแสหลัก กระแสหลักก็เป็นอย่างที่เห็น คือพยายามช่วยยืดชีวิตเต็มที่ ใช้มาตรการทางการแพทย์ทุกอย่างเพื่อที่จะต่ออายุ ยืดลมหายใจ แต่สุดท้ายก็เป็นการยืดการตายมากกว่ายืดชีวิต ตอนนี้ในเมืองไทยก็มีหลายโรงพยาบาลที่ให้ความสนใจเรื่องนี้ อย่างเช่นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ มีกลุ่มหมอและพยาบาลที่พยายามอนุเคราะห์ผู้ป่วยในเรื่องของจิตใจด้วย ไม่ว่ามุสลิมหรือพุทธ เพราะเขาเห็นเลยว่าหลายคน พอเอามิติทางศาสนาเข้าไป อาการกลับดีขึ้น ไม่ใช่แค่ตายอย่างสงบด้วยซ้ำ คือหายด้วย มีผู้ป่วยบางคนเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย รักษายังไงก็ไม่หาย บอกหมอว่าอยากอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน หมอก็ตอบสนองตามความต้องการ ปรากฏพอได้อ่านคัมภีร์อาการก็ดีขึ้นมาก จนออกจากโรงพยาบาลได้
ใครสนใจอ่านต่อทั้งหมดได้ที่ http://www.sarakadee.com
น่าสนใจนะครับสำหรับการดูแลผู้ป่วยแบบชีว จิต และสังคม
และน่าแปลกก็คือ เราอยู่ที่นี่แท้ๆ เรื่องดีๆ อย่างนี้ยังไม่รู้เลย น่าอายจริงๆ


Posted by : หนอนหนังสือ , Date : 2004-05-25 , Time : 18:26:07 , From IP : r2-nrtMT1.S.loxinfo.

ความคิดเห็นที่ : 1


   "...และน่าแปลกก็คือ เราอยู่ที่นี่แท้ๆ เรื่องดีๆ อย่างนี้ยังไม่รู้เลย น่าอายจริงๆ" คงต้องมาหาสาเหตุของคำว่า "น่าแปลก" สักหน่อยนะว่ามันน่าแปลกเพราะเหตุใด

- เพราะเราไม่ค่อยจะสนใจสังคมรอบข้างว่าเขามีกิจกรรมหรือทำอะไรกันบ้างในคณะนี้ หรือเปล่า เพราะมัวแต่อยู่ในโลกแคบของตัวเอง ความจริงกิจกรรมทางด้านจิตวิญญาณนี้เขาจัดกันอยู่เป็นประจำๆ และประชาสัมพันธ์ให้ทราบด้วย แต่อาจจะอยู่ในวงแคบ ??? แต่หากเราสนใจสังคมรอบข้าง เช่น กระดานข่าว, E-mail หรือใบประกาศที่ติดตามบอร์ดต่างๆ ก็น่าจะรู้กิจกรรมต่างๆที่เขาจัดขึ้นบ้าง ต่อไปก็คงจะไม่น่าอายหรอก :)

- การให้ความสำคัญในเรื่องความเป็น "คน" และมองผู้ป่วยอย่างเข้าใจนั้น มีทำกันมานานพอสมควรแล้วในคณะแพทยศาสตร์นี้ แต่ก็ยังอยู่ในวงจำกัด เป็นเพียงกลุ่มคนที่สนใจเท่านั้นซึ่งเข็นยากพอดูที่จะหาแนวร่วมเพิ่มขึ้น เพราะต่างคนต่างก็ "สนใจแต่ในเรื่องแคบๆของตัวเอง"

- ถือเป็นสิ่งดีที่มีผู้อื่นเห็นสิ่งดีๆเช่นนี้ และช่วยบอกเล่าออกมา แต่ก็อาจจะอยู่ในวงจำกัดอีกเพราะ เฉพาะผู้ที่อ่านบทความนี้ หรือเข้ามาอ่านในกระดานอภิปราย... เอ้า ช่วยๆกันขยายต่อละกัน




Posted by : รู้มานานแล้ว , E-mail : (just2post@hotmail.com) ,
Date : 2004-05-26 , Time : 09:22:57 , From IP : 172.29.1.98


ความคิดเห็นที่ : 2


   คุณ "รู้มานานแล้ว" คงจะมองโลกในแง่ร้ายน่าดูนะ ตีค่าคนอื่นว่า "มีโลกแคบ" ด้วยข้อความไม่กี่บรรทัด พนันกันได้เลยว่าคณะเราปี 1-6 ประมาณ 700 คนจะทราบเรื่องราว "การตายอย่างมีสติ" อย่างถ่องแท้สักกี่คน และถ้าคุณจะใส่ใจอ่านข้อความสักนิด ไม่ได้อ่านเฉพาะหัวข้อแล้วนึกจะ JUST TO POST เหมือนชื่ออีเมล์ของคุณ ความจริงแล้วเรื่องดีๆ ที่ยังไม่รู้น่ะ คือเรื่อง " พอเอามิติทางศาสนาเข้าไป อาการกลับดีขึ้น ไม่ใช่แค่ตายอย่างสงบด้วยซ้ำ คือหายด้วย มีผู้ป่วยบางคนเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย รักษายังไงก็ไม่หาย บอกหมอว่าอยากอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน หมอก็ตอบสนองตามความต้องการ ปรากฏพอได้อ่านคัมภีร์อาการก็ดีขึ้นมาก จนออกจากโรงพยาบาลได้ " เรื่องเหล่านี้ ถ้าจะรู้ได้ก็จากอาจารย์เล่าให้ฟังในการอบรมอะไรสักอย่าง ให้เดาคิดว่าคุณคงเป็นพวกชั้น clinic ที่ได้ (ต้อง) ผ่านการอบรม สัมมนา ประชุมวิชาการมาอย่างโชกโชน ลองคิดด้วยสมองที่แสนกว้างของคุณ ว่ากระทู้นี้มีจุดประสงค์อย่างไร ประชาสัมพันธ์คณะ เล่าประสบการณ์ส่วนตัว หรือขยายขี้เท่อตัวเอง


Posted by : หนอนหนังสือ , Date : 2004-05-26 , Time : 12:37:18 , From IP : 203.146.53.248

ความคิดเห็นที่ : 3


   Keep the topic. Don"t stray.

มีรายงานลงใน journal ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ขออภัยที่ไม่ได้ quoted เอา face-value ไปก็แล้วกัน) แล้วว่าสภาพจิตใจนั้นมีผลต่อกระบวนการ phagocytosis, chemotaxis/chemokinesis of white blood cells อย่างมีนัยสำคัญ ถ้าจำไม่ผิด เขา induced stress ให้ volunteer subjects หลายวิธีครับ เช่น sleep deprivation, watching horror movies เป็นต้น การวัด phagocytosis activities, chemotactic, and chemokinetic activities นั้นสามารถวัดได้ objectively โดยกระบวนการ immunological laboratory methods

ดังนั้นอะไรก็ตามที่เสริมสร้าง "กำลังใจ" หรือ "spiritual domain" จากทั้งสี่พิสัยของ Holistic therapy, i.e. กาย, ใจ, จิตวิญญาณ, และสังคม ก็ไม่น่าแปลกใจที่จะมีการ improvement of clinical symptoms ถ้าระบบภูมิคุ้มกันของเราดีขึ้น ส่วนจะ progress ไปถึงกับหายเลยหรือไม่นั้น ขณะนี้เรายังไม่มี evidence ถึงระดับนั้น (แปลว่าอาจจะเป็นไปได้และอาจจะเป็นไปไม่ได้)

ทีนี้ปัญหาคือ spiritual levels น้นวัดยากครับ วัดยากกว่า vital signs, Glasgow Coma Score Scales เราเลยต้องใช้ "ความศรัทธา" ว่าทำยังงี้ๆแล้วคนไข้ยิ้มออก คุยได้มากขึ้น สบตาหมอมากขึ้น มีกิจกรรมกับเตียงข้างๆมากขึ้น เหล่านี้เป้น signs ที่เราจะ detect ว่าผู้ป่วยของเรามีสภาพจิตวิญญาณที่ดีขึ้น ถ้าเราเชื่ออย่างนี้ เราก็จะ "ปราถนา" จะทำให้สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นมา ถึงแม้ว่ามันอาจะอยู่นอก KPI ของโรงพยาบาลก็ตาม

ความคิดเห็นที่ : 4


   Keep the topic. Don"t stray.

มีรายงานลงใน journal ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ขออภัยที่ไม่ได้ quoted เอา face-value ไปก็แล้วกัน) แล้วว่าสภาพจิตใจนั้นมีผลต่อกระบวนการ phagocytosis, chemotaxis/chemokinesis of white blood cells อย่างมีนัยสำคัญ ถ้าจำไม่ผิด เขา induced stress ให้ volunteer subjects หลายวิธีครับ เช่น sleep deprivation, watching horror movies เป็นต้น การวัด phagocytosis activities, chemotactic, and chemokinetic activities นั้นสามารถวัดได้ objectively โดยกระบวนการ immunological laboratory methods

ดังนั้นอะไรก็ตามที่เสริมสร้าง "กำลังใจ" หรือ "spiritual domain" จากทั้งสี่พิสัยของ Holistic therapy, i.e. กาย, ใจ, จิตวิญญาณ, และสังคม ก็ไม่น่าแปลกใจที่จะมีการ improvement of clinical symptoms ถ้าระบบภูมิคุ้มกันของเราดีขึ้น ส่วนจะ progress ไปถึงกับหายเลยหรือไม่นั้น ขณะนี้เรายังไม่มี evidence ถึงระดับนั้น (แปลว่าอาจจะเป็นไปได้และอาจจะเป็นไปไม่ได้)

ทีนี้ปัญหาคือ spiritual levels น้นวัดยากครับ วัดยากกว่า vital signs, Glasgow Coma Score Scales เราเลยต้องใช้ "ความศรัทธา" ว่าทำยังงี้ๆแล้วคนไข้ยิ้มออก คุยได้มากขึ้น สบตาหมอมากขึ้น มีกิจกรรมกับเตียงข้างๆมากขึ้น เหล่านี้เป้น signs ที่เราจะ detect ว่าผู้ป่วยของเรามีสภาพจิตวิญญาณที่ดีขึ้น ถ้าเราเชื่ออย่างนี้ เราก็จะ "ปราถนา" จะทำให้สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นมา ถึงแม้ว่ามันอาจะอยู่นอก KPI ของโรงพยาบาลก็ตาม



Posted by : Phoenix , Date : 2004-05-27 , Time : 16:44:39 , From IP : 172.29.3.128

ความคิดเห็นที่ : 5


    เห็นด้วยที่ว่าในปัจจุบันนี้เราเชื่อว่าเรื่องทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในการรับรู้perceptionด้านต่างๆนั้น ถ้ามันpersistซ้ำๆนานๆเพียงพอ สามารถทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางbiologyได้ เรื่องจิตใจก็เช่นเดียวกัน ทีนี้ขึ้นกับว่าเราแหล่ะว่าจะเลือกให้เรื่องแบบไหนดีหรือร้าย ส่งผ่านperceptionของผู้ป่วย และเหมือนที่เราเข้าใจกันมานานแล้วงัยว่า ถ้าผู้ป่วยมีกำลังใจที่ดีพยายามต่อสู้ น่าจะดีกว่าหมดกำลังใจ
ปัญหาสำคัญคือ เราจะให้กำลังใจผู้ป่วยอย่างไร ในขณะที่หมอเองก็หมดหวังกับการรักษาผู้ป่วยรายนั้น คงไม่ใช่เพียงคำพูดว่า หมอกำลังให้กำลังใจคุณนะเหมือนที่เราเคยเห็นๆกัน แต่พฤติกรรมนั้นไม่สนับสนุน ดังนั้น action ที่ต้องตรงกับความคิดนั้นสำคัญ การไปดูผู้ป่วยทุกวันโดยที่ไม่ต้องมีการสั่งmanagementอะไรในใบorder อาจเหมือนไม่มีactionอะไร ยืนข้างผู้ป่วยนิ่งๆ ทุกวันสม่ำเสมอตามที่เวลาจะเอื้ออำนวยให้ หยิบยื่นอะไรเล็กน้อยๆที่ผู้ป่วยขอ เพียงเท่านี้ selfผู้ป่วยก็พองโต รู้ว่าหมอเห็นคุณค่าในตัวเขา เห็นความเป็นคนไม่ใช่มองที่โรค ถึงแม้นจะทำอะไรกับโรคไม่ได้ แล้วหมอหล่ะคิดว่ามันไร้สาระหรือไม่


Posted by : pisces , Date : 2004-05-28 , Time : 06:54:59 , From IP : 172.29.3.222

ความคิดเห็นที่ : 6


   มีคนเคยบอกว่า specialist มองโรคเหมือนเป็นเกมที่จะต้องพิชิตให้ได้ เป็นความท้าทาย ที่จะนำเอาความรู้และทักษะเต็มเปี่ยมเข้าสู้ การหันมามองผู้ป่วยมากขึ้นในองค์รวม ดูๆ ไปแล้วเหมือนเป็นการแสดงนัยว่า ต้องการให้เกิดแพทย์ประจำครอบครัว (family doctor) อยากถามตรงๆ ว่า family doctor ในประเทศไทยมีโอกาสก้าวหน้ามากแค่ไหน หมายถึงที่เรียน การยอมรับ การทำงาน ฯลฯ




Posted by : . , Date : 2004-05-28 , Time : 11:24:25 , From IP : p4-nrtMT1.S.loxinfo.

ความคิดเห็นที่ : 7


   ขอแสดงความเห็นในช่วงต้นแล้วกันนะครับ

Specialist นั้นไม่ได้มีข้อยกเว้นในการที่จะให้การดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวมหรอกนะครับ และ family doctor ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านองค์รวมเพียงฝ่ายเดียว การดแลผู้ป่วยแบบครบองค์ (กาย ใจ จิตวิญญาณ และสังคม) นั้นเป็น model พื้นฐานของ Medical professionalism ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ทันทีที่จบ พบ. (แพทยศาสตร์บัณฑิต) มานั่นเลยทีเดียว

หมอทุกคนไม่จำเป็นต้องรู้สึกพ่ายแพ้เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตหรือไม่หาย ความรู้สึกพ่ายแพ้เป็น negative emotion ซึ่งไม่สร้างสรรค์ เราควรจะนำ case ที่มีความผิดพลาดมาเรียน และเพื่อจะด้แก้ไขป้องกันในอนาคต หรือเราควรจะเรียนรู้ว่าที่สุดแล้วเราก็ไม่สามารถจะป้องกันความตายจากมนุษย์ได้ แต่เรามี moral duty ในการที่จะ ให้ หรือทำให้เกิด การตายหรือการอยู่ของคนอื่นอย่างมี dignity อย่างมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ความเชื่อ ความศรัทธา ต่างๆที่เป็นแหล่งยึดเหนี่ยวของปัจเจกบุคคล ณ เวลาที่จะหมดลงไปในที่สุดนี่แล้ว เป็นสิ่งที่มีค่าอย่างประเมินมิได้หากเรามีจิตใจที่จะ "ทำให้" เขาโดยใจบริสุทธิ์ ตรงนี้แหละที่เป็น fabric ของปรัชญาวิชาชีพของเรา



Posted by : Phoenix , Date : 2004-05-31 , Time : 23:37:09 , From IP : 172.29.3.221

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<