Posted by <203.170.234.4 >Phoenix on January 25, 19103 at 00:13:17:
ผมขออนุญาตแยกประเด็นนี้ออกมาถกกันต่างหาก เพราะรู้สึกว่าหัวข้อนี้มีคุณค่าพอที่เราจะมาค้นคว้าร่วมกัน จริงๆแล้วความรักสถาบัน รักเผ่า รักจังหวัด รักท้องถิ่น รักชาติ รักมนุษย์ เป็นนามธรรม แต่มีผลกระทบเป็นรูปธรรมอย่างกว้างขวาง มุมมองของคนก็คงจะมีต่างกันค่อนข้างเยอะ แต่ผมเองคิดว่ามันมีประเด็นร่วมที่ทุกคน หรือคนส่วนใหญ่น่าจะมีจุดยืนคล้ายๆกันอยู่ เพราะพออ้างคำๆนี้ หรือประเภทนี้ทีไร รู้สึกมันมีพลังดี เลือดเดือดปุดๆ หรือบางคนก็อาจจะห่อเหี่ยว หมดอารมณื หมดความหวังไปเลยก็มี
.
กติกาเดิมครับ ระดมความคิดความเห็นออกมาเต็มที่ รักษาวัฒนธรรมการอภิปรายให้อยู่ในรูปแบบที่ชาวศิวิไลซ์มีการศึกษาเขาทำกัน อนุญาตให้สอดใส่อารมณ์ได้ (แต่พองาม) เพราะเรื่องนี้เป็นกึ่ง logic กึ่ง อารมณ์
.
ขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับทุกคนที่กำลังจะมาแสดงความคิดเห็นและได้ปฏิบัติตาม house rule นะครับ
--------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------
ความเห็น : หากผู้รับได้รับการสอนที่เต็มเปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตากรุณา ความตั้งใจจริง ความจริงใจจากผู้สอน
ขณะเดียวกันผู้รับต้องเปิดใจกว้างในการรับคำสอนที่มีหลายรูปแบบ ไม่ใจแคบอคติ
อดีตนักศึกษาแพทย์ แพทย์ใช้ทุน อาจารย์ มอ. 02:20:48 1/25/103 <203.113.76.10> (0)
--------------------------------------------------------------------------------
ความเห็น : ไม่รู้ว่าสอนได้หรือไม่ แต่คิดว่าไม่จำเป็นต้องสอนครับ การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับคนอื่น กับสถาบัน จะมากน้อยอย่างไรก็ย่อมเกิดความรักความผูกพันกันบ้าง อาจมีบ้างบางคนที่เห็นสถาบันเป็นเพียงทางผ่าน เพื่อให้ได้มาซึ่งความสามารถในการสั่งสมวัตถุ
Dhan 02:39:34 1/25/103 <172.29.3.213> (0)
--------------------------------------------------------------------------------
ความเห็น : น่าสนใจทั้งสองคำตอบนะครับ คุณคิดว่า "ความรักสถาบัน" สำคัญที่ "ผู้รับ" หรือ "สถาบัน" หรือส่วนไหนมีบทบาทอย่างไรล่ะครับ?
Phoenix 03:06:42 1/25/103 <172.29.3.227> (0)
--------------------------------------------------------------------------------
ความเห็น : สำคัญทั้งสองส่วน สถาบันควรสามารถตอบสนองความต้องการให้กับผู้รับได้อย่างเหมาะสมโดยอยู่บนหลักของเหตุผลและความถูกต้อง ส่วนผู้รับต้องเข้าใจและรู้จักเลือกที่จะรับซึมซับเอาแต่สิ่งดีๆจากสถาบัน ความรักสถาบันจะเกิดขึ้นได้จะต้องมี " ความเข้าใจ"กันระหว่างสองส่วนข้างต้น
เหอ เหอ 10:33:26 1/25/103 <203.146.65.193> (0)
--------------------------------------------------------------------------------
ความเห็น : ซึมซาบครับ
มันเกิดขึ้นทีละน้อย แม้จะมีการสอนหรืดการ "บังคับ" ให้รักสถาบัน(อย่างที่เห็นกันแถวๆนี้) หรือไม่ก็ตาม
ไม่ปฏิเสธที่กระบวนการดังกล่าวย่อมทำให้เกิดการต่อต้าน และย่อมมีความเห็นขัดแย้ง (ยิ่งถ้ามีการบังคับ) มองว่าสถาบันอื่นน่าจะดีกว่า (เหมือนนิทานอีสบเรื่องหมากับเงา) แต่ในจิตใต้สำนึกแล้ว "ความรักสถาบัน" ย่อมค่อยๆเกิดขึ้นทีละน้อย (ตกตะกอน หรือ ตกผลึก?) ในระหว่างการใช้ชีวิตในสถาบัน ความสัมพันธ์ที่เกิดระหว่างบุคคล สถานที่ ย่อมมีขึ้น (อย่างช้าๆ จนสังเกตไม่ได้ หรือไม่รู้สึก)
อันนี้คงไม่รวมถึงคนที่ไม่ปกติ ( rare case?) ที่ไม่สร้างปฏิสัมพันธ์กับสิ่งใดเลย มีแต่ negative feedback ในใจก็มีแต่ความรังเกียจ (ถูกเขย่าตลอดเวลา ย่อมไม่ตกตะกอน ผลึกก็ไม่เกิด หรือเกิดก็ผิดรูป)
ความเห็นโดยสรุปคือ สอนไม่ได้และไม่จำเป็นต้องสอน เพราะหลักมันอยู่ที่ว่า "สถาบัน" คืออะไร อะไรเป็นสิ่งที่เรารัก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รึเปล่า ก็คงไม่ใช่ มันเป็นนามธรรม ที่เกิดระหว่างการใช้ชีวิตในสถาบันมากกว่า องค์ประกอบที่สำคัญคือ บุคคลทุกคนในสถาบัน มีความเอาใจใส่กัน
เคยไหมที่จากสถาบันไปนาน พอได้กลับมาก็รู้สึกมีความสุข เหมือนกับความรู้สึกที่ได้กลับบ้าน
ใช่ไหม เพราะที่บ้านมีพ่อมีแม่ คนที่เรามีความรู้สึกดีๆมาตลอดชีวิต
ความรักสถาบัน (การศึกษา) ก็เหมือน เรารักบ้าน
ไม่ต้องสอน และสอนกันไม่ได้
ความเห็นส่วนตัวนะ ของคนแก่คนหนึ่งที่จากสถาบันที่"รัก"มานาน
Thai (old) teacher teach thai student in enlish 13:20:10 1/25/103 <203.154.77.9> (0)
--------------------------------------------------------------------------------
ความเห็น : ต่อไปนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผมเองนะครับ ดังที่ผมยกตัวอย่างมามากมายถึง "ความรัก" ต่อสถาบัน องค์กร หรือชาตินั้น ผมคิดว่า perception มีส่วนสำคัญมาก ความรักที่ว่านี้จะไม่ได้เกิดจากมีคนมาบอกมาสอนว่าเรา "ควร" จะรู้สึกดังกล่าว แต่เป็นการที่เราเกิดความรู้สึกถึง "คุณค่า" และได้ identify self-value ของตัวเราเองกับสถาบัน องค์กร หรือกลุ่มนั้นๆ
.
คนรักชาติ หรือผู้ที่มีกิจกรรม การแสดงออก actively ทางด้านนั้น invariably จะมีความรู้ในประวัติศาสตร์และความเป็นมา หรือ ROOT ของตนเอง ของเผ่า ของประเทศ รู้ว่าสิ่งที่ได้ "สร้างสม" มาเป็นตัวเขาในขณะนี้ เป็นเพราะการเสียสละ การทุ่มเท และความรักความเมตตาของบรรพบุรุษ ทั้งๆที่บุญคุณต่างๆเหล่านี้นั้น ไม่เหลือเป็นรูปธรรมที่คนเหล่านี้ได้รับโดยตรง "แต่" เขาก็ยังตื้นตันและให้คุณค่าอย่างสูงอยู่ดี คนเหล่านี้อาศัยอยู่ในทุกๆประเทศครับ ไม่ว่าจะพัฒนา หรือด้อยพัฒนา ไม่ว่าจะมีบริการสังคม หรือเป็นคอมมิวนิสต์ ไม่ว่าสังคมที่เขาอยู่ ตรอกที่เขาอาศัย จะฟอนเฟะขนาดไหน เราสามารถหา "คนรักชาติ" แบบนี้ในทุกๆที่ พร้อมที่จะออกมาปกป้องสิ่งที่เป็น "นามธรรม" ที่เขาได้ตั้งคุณค่าไว้อย่างไม่เสียดายชีวิต
.
เคยสังเกตบ้างหรือไม่ครับ นักศึกษา เพื่อนๆ ที่เรียนมาด้วยกัน เจอระบบต่างๆเหมือนๆกัน เจอครูคนเดียวกัน แต่กลับมีความ "รู้สึก" ต่อสิ่งแวดล้อมไม่เหมือนกันเลย หรือแม้กระทั่งเป็นตรงกันข้าม? เช่นนั้นเป็นเพราะสิ่งแวดล้อมหรือตัวปัจเจกนักศึกษา?
.
Indicator กลุ่มหนึ่งที่ผมคิดเอาเองว่าเป็น indirect measurement ของการแสดงออกซึ่งรักสถาบัน ได้แก่ การที่บุคลากรทำงานอยู่ในที่นั้นเป็นเวลานานๆทั้งๆที่สามารถจะย้ายไปที่อื่นเมื่อไรก็ได้ ที่ที่สิ่งแวดล้อม "ด้านวัตถุและความสะดวกสะบาย" ยังจะดีกว่าซะด้วยซ้ำ และที่อาจจะชัดเจนกว่าอีกนิดหนึ่งก็คือการที่ "ศิษย์เก่า" กลับมาทำงานในสถาบันที่ตนเองจบการศึกษามา ผมยอมรับว่าอาจจะมีสาเหตุอื่นประกอบในการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว แต่ผมเอนไปทางที่จะเชื่อคำพังเพยที่ว่า "คับที่อยู่ได้ คับใจอยูยาก" และ "free birds always select their own Home" (please notice, not every house is home....Home has a powerful abstract meaning)
.
คำถามใกล้ตัว "เรามีทั้งสองประการอย่างที่ว่าหรือไม่?"
.
ผมเคยพูดมาแล้วครั้งหนึง นอกเหนือจากความรู้สึกที่คนบางคน sensitive กับประวัติความเป็นมาของสถานที่ ของสถาบัน จนสามารถ identify คุณค่าของสถาบันกับคุณค่าของตนเองอยู่ด้วยกันได้แล้วนั้น องค์ประกอบที่ simple อีกประการคือ "ความกตัญญูรู้คุณ" ความกตัญญูรู้คุณเป็นธรรมะที่สร้างความเจริญต่อตนเอง และต่อคนรอบข้าง ระบบ "พี่สอนน้อง" ของโรงเรียนแพทย์ไทยประสบความสำเร็จโดยใช้วิธีนี้มาเนิ่นนาน (จนกระทั่งสังคมเริ่มเปลี่ยน....sadly) รุ่นน้องที่ถูกรุ่นพี่สอนมา เกิดความรู้สึกว่าหนทางเดียวที่จะตอบแทนคุณ ก็คือการที่ต้องสอนน้องๆรุ่นต่อๆไป อย่างที่ตนเองเคย "โชคดี" มาก่อน การลอกเลียนแบบอาจารย์อาวุโสที่มาราวด็เช้าเย็น และต้องการ perfection ในการดูแลคนไข้ ในการดำเนินตามกรอบระเบียบและจรรยาแพทย์ ทำให้หล่อหลอมมาเป็น "บุคลิกแพทย์" ของรุ่นหลังๆ เคยรู้สึกไหมครับว่าเพื่อนเรา รุ่นพี่เรา หรือ อาจารย์เราบางท่าน หน้าตาท่าทาง "ม้อ..หมอ?" รังสีแห่งความเป็นหมอมันสามารถจับได้จริงๆครับ ตั้งแต่การแต่งตัว การพูดจา การอภิปราย ความสามารถในการ reassure ฯลฯ น่าเสียดายที่ "รังสี" ดังกล่าวได้เปลี่ยนรูปแบบไป คนรุ่นเก่า หรือคนไข้ เริ่มไม่แน่ใจ หรือแม้กระทั่งอาจจะไม่รู้จักรังสีดังกล่าวอีกต่อไป
.
ผมเองคิดว่าหากเราสามารถรู้สึกกตัญญูต่อสิ่งใดแล้ว ปัญหาที่เหลือมันไม่ยิ่งใหญ่อีกต่อไป เราสามารถอาศัยในหาดใหญ่ที่การขับรถขับราเหมือนคนบ้าไร้การศึกษาโดยก็ยังรักเมืองหาดใหญ่ เราสามารถอาศัยอยู่ในเมืองไทยที่มีนักการเมืองโสโครก คอรัปชันมากมายโดยที่เราก็ยังรักเมืองไทย มหาวิทยาลัยแห่งนี้อาจจะยังไม่สมบูรณ์นัก แต่คงขึ้นอยู่กับมุมมองของปัจเจกบุคคลแล้วละครับว่า เราสามารถที่จะหาคุณค่าร่วม และก่อเกิดความรู้สึกกตุญญูแม้กระผีกริ้นขึ้นมาในจิตใจเราได้หรือไม่
Phoenix 13:36:34 1/25/103 <172.29.3.218> (0)
--------------------------------------------------------------------------------
ความเห็น : มันขึ้นอยู่กับว่าความรักของคนๆนั้นเกิดจากอะไร ถ้ารักเพราะผูกพันธ์ ซึมซาบลึกซึ้ง ค่อยๆรัก ค่อยๆหวงแหน มันก็อยู่ได้นานแต่คงต้องใช้เวลากันบ้าง แต่สำหรับบางคน เขารักเพราะเขา "ไ้ด้" อะไรจากคณะ บางทีเขาก็คิดว่านอกจากความรู้แล้ว เขาแทบจะไม่เคยได้อะไรเลย ทั้งที่จริงๆแล้วเขา "ได้" อะไรกลับไป "มากมาย" แต่เขาไม่เคยเห็นค่า คนแบบนี้มีอยู่ทั่วไป เราจะทำอย่างไร ว่าความผูกพันธ์ ความรักสถาบัน มีค่ามากมายแค่ไหน
สาวน้อยร้อยชั่ง 15:45:25 1/25/103 <172.29.2.177> (0)
Posted by : Phoenix , Date : 2003-02-04 , Time : 19:05:00 , From IP : 172.29.3.206
|