ประการแรก ไม่มีใครอับอาย กับการที่แพทย์ Intern ของเราถามคำถามเพราะเขาไม่ทราบ และต้องการจะดูแลรักษาผู้ป่วยที่เขารับมอบหมาย
ประการที่สอง เราลองมาทำ factual debate ดูนะครับ เรามี case ตัวอย่างหนึ่งหรือสองราย assume ว่าเป็น Intern ถามคำถามซึ่ง legitimate ที่จะถามในฐานะที่เป็นแพทย์เสริมทักษะ ตรงนี้ไม่ว่าจะเป็นตัว Intern เอง หรือสถาบันที่ฝึกอบรมมาไม่มีเหตุผลที่จะต้องละอายหรือเสื่อมเสียตรงไหน แต่ทำไมผมถึงว่ามี "ระบบ" ที่สมควรมองให้ลึกจากกระทู้คุณ Dhan นั่นเป็นที่ "วิธี" ที่ใช้ในการถามครับ ไม่ใช่ตัว contents โจทย์ที่ถาม ถ้าเป็นเชิงข้อสอบหรือ OSCE นั้น OK ที่จะมาลองถามกันโดยไม่ต้องมีการเร่งด่วนเพื่อให้ได้คำตอบทาง Internet แต่ถ้าเป็น case ผู้ป่วยนั้น เราทุกคนทราบดีว่าต้องมีการประเมินให้ครบทุกด้านจึงจะแนะนำได้ถูกต้อง อย่างที่กระทู้เรื่องการปรับ respirator จะเห็นว่าเราต้องการรายละเอียดอีกมาก ก่อนที่จะสามารถให้คำปรึกษาได้ และ Internet ก็จะไม่ใช่ระบบหรือวิธีที่ปลอดภัยสำหรับมาใช้ ซึ่งผม (และเชื่อว่าคุณ Dhan) ได้ address ปัญหาของระบบ consult หรืออาจจะเป็นที่ความสัมพันธ์ระหว่าง Intern กับแพทยพี่เลี้ยง ระบบตรงนี้ทางคณะฯ อาจจะต้องมีการปรับ quality control แต่นั่นเป็นการออกไปนอกสถาบันและข้ามขอบเขตของ jurisdiction ไปไกล
ประการที่สาม จาก factual data ในขณะนี้มีอะไรที่บอกว่า "หมอ มอ. ห่วย"? บ้าง ผมเกรงว่าจากข้อมูลที่เราอยู่ ข้อสรุปหรือแนวโน้มค่อนข้างจะตรงกันข้ามกับ excerpt ดังกล่าว ผมคิดว่าหมอที่จบมาจาก มอ. มีความภาคภูมิใจในสถาบันเป็นส่วนใหญ่ เท่าที่ผมมีโอกาสออกไปตรวจเยี่ยม Intern และได้สัมผัสพูดคุยกับผู้บรหารและแพทย์พี่เลี้ยงที่ดูแล Intern ของเรา จริงอยู่ยังมีหลายประการที่เราสามารถและต้องการจะทำให้ดีขึ้นอีก แต่ยังห่างไกลจากคำว่าหมอ มอ. ห่วย ที่คุณใช้ในการติเพื่อก่อมาโดยตลอด ตรงนี้จะเลยไปถึงประการต่อไป
ประการที่สี่ คณะฯต้องอับอายจากความเสื่อมเสีย ความห่วยของหมอที่จบมาแค่ไหน หรือไม่ อย่างไร จากข้อสามเราไม่คิดว่าหมอ มอ. ห่วย (ยกเว้นคุณจะมีหลักฐานเพิ่มเติมจากที่เรามีอยู่ในขณะนี้มานำเสนอ) ดังนั้นกรณีนี้ก็ mute ไป
ประการที่ห้า ตัด appendectomy ออกไปจากเกณฑ์มาตรฐานแพทยสภาแล้วเราสามารลดหลักสูตรแพทย์เหลือสี่ปีได้หรือไม่ ตรงนี้ต้องกลับไปพิจารณาหลักการและเหตุผลเบื้องต้นว่าทำไมเราตัดหัตถการลง และทำไมเราลดจลนพิสัยลงจากหลักสูตร ไม่ใช่เพราะว่าการแพทย์มีเนื้อหาลดลงนะครับ การแพทย์มีเนื้อหาเพิ่มขึ้นในอัตราเพิ่มที่สูงมาก มากจนเราไม่สามารถจะตามสอนตามเรียนได้ไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราไม่ได้สอน skill อีกประการหนึ่งคือ IT skill, professionalism skill, และ evidence-based medicine skill ทั้งสามประการต้องใช้ทั้ง cognitive, psychomotor, และเจตคติ และ ใช้เวลาในการฝึกอบรม ไม่น้อยกว่ารายวิชาที่ตัดออกไป จริงๆแล้วถ้าไม่เอาเรื่องความต้องการใช้แพทย์ในชุมชนมาคิด ผมยังคิดว่าน่าจะยืดเวลาการเรียนแพทย์ออกไปอีกสักปีสองปี รวมทั้งตัด contents ออกเพิ่มซะด้วยซ้ำ เอาเวลามาสอน EQ ให้แพทย์น่าจะได้ประโยชน์ในระยะยาวต่อประเทศมากกว่า
ประการที่หก าที่เกิดขึ้นมีคนทราบหรือไม่ มีคนทำอะไรกับมันบ้าง จากเท่าที่ผมและอาจารย์ทุกคนในคณะฯ มีหน้าที่ที่จะต้องออกไปตรวจเยี่ยม Intern และ extern ในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ทุกปี ปัญหาที่คุณ Dhan และที่พวกเราพูดอยู่นี้ ไม่ได้เป็นการพูดถึงเป็นครั้งแรกแน่นอนครับ การปรับปริมาณหัตถการ การพูดคุยทำความเข้าใจกับแพทย์พี่เลี้ยงเรื่องความจำเป็นที่ต้องอาศัยรุ่นพี่สำหรับเรื่องหัตถการได้รับการตอบสนองจากทุกฝ่าย หรือเป็นส่วนใหญ่ รุ่นพี่หมอของพวกเราที่อยู่ที่สุราษฏร์ นครฯ กระบี่ สตูล ฯลฯ นั้นมีความกระตือรือร้นแลเพบปะพูดจกันเรื่องนี้อย่างสม่ำเสมอ (ทราบจากรายงานสรุปผลแต่ละครั้งที่เราออกไปตรวจเยี่ยม) ดังนั้นคนที่เป็นห่วงเรื่องคุณภาพของหมอ ไม่ได้มีอยู่เฉพาะบนกระดานข่าวแห่งนี้แน่นอนครับ เราสามารถให้ credit กับแพทย์สาธารณสุขซึ่งให้ความร่วมมือในการใหความช่วยเหลือในการนเสริมทักษะต่อเนื่องหลังจบใหม่อย่างมาก
ประการที่เจ็ด ผมทราบว่าคำว่า "ประเมิน" นั้นสามารถแปรได้หลากหลายและหลากคุณภาพ แต่อย่างน้อยสำหรับบัณฑิตระดับปิญญาโท หรือเทียบเท่าปริญญาเอกแล้ว ก่อนที่เขาจะสรุปอะไรออกมาบนกระดานข่าว ว่าหมอมันห่วย อาจารย์ไม่ทำงาน คณะฯหมกเม็ดไม่สนใจคุณภาพบัณฑิตที่ตนเองผลิตมาเลยนั้น ผมอยากจะให้การสรุปเช่นนั้นผ่านการไตร่ตรองหรือ research หาข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนมาซักหน่อยน่าจะดี
Posted by : Phoenix , Date : 2004-05-08 , Time : 17:45:01 , From IP : 172.29.3.219
|