ความคิดเห็นทั้งหมด : 5

Zen ในสวนโมกข์: เรื่องที่ ๓


   ท่านเว่ยหล่างฉีกพระไตรปิฏก

ท่านเว่ยหล่างฉีพระไตรปิฏก จะฉีกจริงหรือไม่นั้นไม่มีใครยืนยัน แต่เจ้าของความคิดนี้เขามุ่งแสดงว่า พระไตรปิฏกทั้ง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้นอยู่ในใจ ไม่ใช่ตำรา

ฉีกพระไตรปิฏกฉบับภายนอกเสีย จึงจะเห็นพระไตรปิฏกแท้ฉบับที่เขียนว้ที่ใจ "ฉีก" มิได้หมายถึงการฉีก แต่หมายถึงการทำลายความยึดมั่นในตำรานั้น พระไตรปิฏกฉบับแท้อยู่ในใจ ที่ใจ แล้วตลอดกาลนานมา

จากหนังสือ เซ็นในสวนโมกข์ จากภาพในโรงมหรสพทางวิญญาณ วัดสวนโมกข์



Posted by : Phoenix , Date : 2003-04-12 , Time : 23:22:24 , From IP : 172.29.3.221

ความคิดเห็นที่ : 1


   ในสูตรเว่ยหลาง (พุทธทาสภิกขุ๒๔๙๖) มิได้กล่าวถึงเรื่องการฉีกพระไตรปิฎกไว้ครับ แต่มีข้อที่น่าสังเกตประการหนึ่งคือ ท่านเว่ยหลางไม่รู้หนังสือครับ โศลกอันเป็นเหตุให้ท่านได้รับธรรม (ในกระทู้ Zen จากสวนโมกข์ 2) ก็เขียนได้โดยการไหว้วานนักธรรมท่านอื่น (ขณะนั้นท่านมีฐานะเป็นคนงานของวัด ไม่มีโอกาสแม้จะได้ศึกษาธรรมโดยตรง) หากพิจารณาตามภูมิธรรมชั้นผู้น้อยอย่างผม ก็ไม่รู้ท่านจะไปฉีกกระดาษที่ไม่มีความหมายกับท่านทำไม ในอีกนัยหนึ่ง หากพิจารณาภาพรวมของคำสอนตามแนวทางของท่าน มันแหวกแนวออกจากมรรควิธีตามแบบฉบับของมหาญานดั้งเดิมอยู่มาก น่าจะเป็นอุปมาเสียมากกว่าหรือเปล่าครับพี่นกไฟ

เมล็ดพืชแห่งพุทธะ แฝงอยู่ในจิตของเรา
ย่อมงอกตามสายฝน ที่ซึมซาบไปในทุกสิ่ง
ดอกไม้แห่งหลักธรรม เมื่อได้ผลิออกมาด้วยปัญญาญาณ
ผู้นั้นย่อมแน่แท้ ที่จะเก็บเกี่ยวผลแห่งการตรัสรู้

จากหนังสือเล่มเดียวกันที่อ้างครับ-ธรรมสวัสดี


Posted by : พี่ว่าว , Date : 2003-04-13 , Time : 00:15:57 , From IP : ppp-203.118.69.120.r

ความคิดเห็นที่ : 2


   ผมเห็นด้วยว่าที่ว่านั้นไม่น่าจะเป็นในเชิง historical accuracy แต่เป็นเชิงเปรียบเทียบซะมากกว่า (เช่นเดียวกับ famous Zen verbatim, หากเจอพระพุทธเจ้า ให้ฆ่าเสีย) ฉะนั้นรูปพระเว่ยหล่างฉีกคัมภีร์นั้นคงเป็น "สัญญลักษณ์"

มองอีกนัยหนึ่ง การกระทำและการสอนของ mahayana lineage นั้นเต็มไปด้วยสัญญลักษณ์ เห็นจะเป็นเพราะว่าเขาจะหลีกเลี่ยงการถ่ายทอดแบบ letter by letter ให้มากที่สุด เพราะศิษย์มีแนวโน้มจะยึดเหนียวและติดกับคำหรือหนังสือมากเกิน ไม่ยอมตีความ การสอนโดยโศลก (Koan) หรือ ภาพศิลป์ หรือ แม้แต่การใช้ไม้กระบองเคาะหัวศิษย์ เทน้ำชาทิ้ง ฯลฯ ก็รวมอยู่เป็นวิธีการเรียนการสอนของมหายานทั้งสิ้น (คณะแพทย์น่าจะลองดูนะครับ คงจะประหยัดคนคุม PBL ได้แยะ) หากพระเว่ยหล่างเห็นคนกำลังท่องพระไตรปิฏกอยู่จะเป็นจะตายหรือยึดติดกับตัวหนังสือแล้ว ผมอาจจะไม่แปลกใจถ้าแกโถมเช้าแย่งแล้วโยนลงชักโครกหรือเผาทิ้งเสีย



Posted by : Phoenix , Date : 2003-04-13 , Time : 02:03:19 , From IP : 172.29.3.221

ความคิดเห็นที่ : 3


   เรื่องสัญลักษณ์นั้น อาจมาจากรากวัฒนธรรมของจีนที่มีพื้นฐานมาจากการนำเอาสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติมาปรับใช้กับชีวิตนะครับ ที่เห็นชัดคงจะเป็นตัวอักษรของจีนที่พัฒนามาจากธรรมชาติ และรวมไปถึงคำสอนแบบลัทธิขงจื้อและเต๋าที่อิงแอบกับชีวิตและวัฒนธรรมของจีนมาตั้งแต่โบราณก่อนที่ศาสนาพุทธจะเผยแพร่เข้ามาในจีน เหตุนี้จึงเป็นลักษณะที่สำคัญให้แนวทางในการสอนของพุทธแบบมหายานในแทบเอเซียตะวันออก มีแนวโน้มที่จะใช้สัญลักษณ์ในการสื่อความมากกว่าที่จะให้ท่องตามตำราอย่างเดียวนะครับ

Posted by : Mercury , Date : 2003-04-17 , Time : 12:11:22 , From IP : 172.29.1.100

ความคิดเห็นที่ : 4


   ศาสนา(หริอลัทธิ)ขงจื๊อนั้นมีข้อแตกต่างกันบ้างกับศาสนาหรือลัทธิเต๋าถึงแม้ว่าศาสดาหรือ prophet จะร่วมสมัยกันอยู่พักหนึ่ง และภายหลังทั้งสองลัทธิได้มีการสานรวมกันจนแยกกันยาก ส่วนที่ต่างำได้แก่เต๋านั้นเน้นการดำเนินชีวิต "เข้าหา" หรือ "ใกล้เคียง" ธรรมชาติมากที่สุด ขณะที่ขงจื๊อจะเน้นระบบระบอบขนบธรรมเนียมประเพณี และระบบกฏหมายการปกครองเป็นสำคัญ ดังนั้นสำหรับด้านสัญญลักษณ์แล้วเต๋าจะมีส่วนมากกว่า (หยินหยาง) ถ้าจำไม่ผิดสัญลักษณ์ลัทธิขงจื๊อจะเป็นตังอักขระชื่อขงจื๊อนั่นเอง คำภีร์เต๋า (เต๋าเต็กเก็ง)นั้นมีคำกล่าวว่าอ่านจบแล้วก็ให้โยนทิ้งไปอย่าไปติดกับตัวหนังสือ

ตำนานเล่าว่าขงจื๊อเคยไปหาเล่าจื๊อสนทนากัน หลังจากนั้นขงจื๊อไปมาเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่าแกเคารพเล่าจื๊อมาก เปรียบเทียบเป็นดั่งมังกรเทพยดาโผนผงาดไปในกลุ่มเมฆ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-04-17 , Time : 14:46:44 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 5


    สิ่งที่เป็นอมตะไม่ใช่สิ่งที่ถูกบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หากแต่ว่าเกิดจากการถ่ายทอดปากต่อปากไปสู่ลูกหลานไม่มีวันจบสิ้น สิ่งที่รู้ในตอนนี้อาจจะไม่ใช่สิ่งที่คนต้นกำเนิดได้พูดไว้
" ฟังหูไว้หู "


Posted by : perf. , Date : 2003-04-22 , Time : 20:52:53 , From IP : r198-skaHS1.S.loxinf

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<