ความคิดเห็นทั้งหมด : 17

ขอความเห็นเพื่อพัฒนาการเรียนศัลยกรรม


   เนื่องจากช่วงนี้ได้ใกล้ชิดหัวหน้าพรรคจรัส ทำให้ทราบว่าศิษย์พรรคจรัสรุ่นหลังมีวรยุทธลดลง ถือว่าตกต่ำจนน่าเป็นห่วง ผมจึงอยากทราบว่าศิษย์พรรคจรัสแต่ละท่านมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร หรือจะปล่อยให้มันผ่านไปอย่างนี้


Posted by : megumi , Date : 2004-04-25 , Time : 23:44:01 , From IP : 172.29.3.199

ความคิดเห็นที่ : 1


   I need that the staff should have the tutor courses in every things about surgical techniques and knowledge and the entire of the surgery.
For improving the knowledge and practical skills of the surgical residents.


Posted by : cigarette smoking man , Date : 2004-04-25 , Time : 23:49:25 , From IP : 172.29.3.237

ความคิดเห็นที่ : 2


   I need that the staff should have the tutor courses in every things about surgical techniques and knowledge and the entire of the surgery.
For improving the knowledge and practical skills of the surgical residents.



Posted by : cigarette smoking man , Date : 2004-04-25 , Time : 23:51:25 , From IP : 172.29.3.237

ความคิดเห็นที่ : 3


   ถ้าเป็นอย่างที่พี่cigarette smoking man พูดไว้ก็คงดี แต่โอกาสเป็นไปได้อาจจะมีไม่มาก
ถ้าเปลี่ยนเป็นพี่สอนน้อง โดยมีการสอนอย่างจริงจัง น่าจะพอเป็นไปได้มั๊ย



Posted by : megumi , Date : 2004-04-26 , Time : 00:17:08 , From IP : 172.29.3.199

ความคิดเห็นที่ : 4


   ......ผมคิดว่าเป็นไปได้ยากครับ.....เพราะจะให้พี่ที่ไม่ค่อยรู้อะไรอย่างผม....หรือไม่แน่ใจในสิ่งที่รู้อยู่ว่าถูกต้องหรือ Update เพียงพอหรือไม่ไปสอนน้องเนี่ย....ลำบากเหมือนกันครับ.....แต่บางอย่างที่พอสอนกันได้ถ้าทำได้ผมก็พยายามที่จะทำอยู่แล้วครับ....แต่โดยรวมผมเห็นด้วยกับ CSM นะครับ....เพราะเราสามารถเรียนกันเอง อ่านกันเองได้.....แต่ถ้ามีคนที่มีประสบการณ์มาสอนให้โดยตรง....จะดีกว่าครับ.....หรือคุณ Megumi คิดว่าอย่างไรครับ....:D...:D



Posted by : Death , Date : 2004-04-26 , Time : 14:38:52 , From IP : 172.29.3.128

ความคิดเห็นที่ : 5


   -ผมอยากให้มีการติวการสอนกันอย่างจริงจังระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง เช่น 1 ชม/สัปดาห์ ในวันหยุดหลังroundเสร็จ เรื่องที่จะนำมาสอนจะเข้าใจยากง่ายขึ้นกับอาวุโส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดถ้าค้นคว้ามาอย่างดีผมว่าเราสอนกันได้ ไม่จำเป็นต้องรอให้อาจารย์มาสอน


Posted by : megumi , Date : 2004-04-27 , Time : 20:01:21 , From IP : 172.29.3.222

ความคิดเห็นที่ : 6


   Use the collective review to reviewing for the surgical residents
How about your opinion ????


Posted by : cigarette smoking man , Date : 2004-04-27 , Time : 20:55:46 , From IP : 172.29.3.245

ความคิดเห็นที่ : 7


   การเรียนการสอนของภาควิชาศัลยกรรม คงแยกได้เป็น 2 ประเด็น คือ การฝึก skill ในการผ่าตัด กับ ภาคความรุ้ ซึ่งในส่วนแรกนั้น คิดว่าอาจารย์น่าจะมีส่วนช่วยอย่างมากเพราะ ประสบการณ์สูงและมีความรู้ สามารถให้คำแนะนำได้เลยในขณะทำผ่าตัดโดยคอยเป็นผู้ช่วยและผู้คุมที่ดี ไม่ควรปล่อยให้เรียนรู้กันเอง นอกจากว่าอาจารย์พิจารณาแล้วว่าลูกศิษฐ์คนนี้มี skillที่ดีแล้วสามารถปล่อยได้ จะได้ฝึกให้มีการตัดสินใจที่ถูกต้องและเพิ่มความมั่นใจในตนเอง
ส่วนในภาคของความรู้ การเรียนรู้ในระดับนี้คงต้องอาศัยตัวเองเป็นหลัก จัดแบ่งเวลาอ่านหนังสือและเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการต่างๆ ฟังคำชี้แนะจากอาจารย์ พี่สอนน้องบ้างขณะround ward อาจมีการนัดติวกันบ้าง ไม่รู้ว่าสามารถทำได้หรือไม่ เพราะว่าการปฏิบัติงานที่ทำอยู่ทุกวันก็หนักมากแล้ว ก็ขอให้พวกเราพยายามกันให้มากที่สุด
เคยเห็นการเรียนการสอนที่ใกล้เคียงแบบนี้มาแล้ว ก็คิดว่าเป็นตัวอย่างที่ดีเผื่อจะนำมาปรับใช้ได้บ้าง


Posted by : ideal , Date : 2004-04-28 , Time : 09:32:57 , From IP : 172.29.3.127

ความคิดเห็นที่ : 8


   วันนี้ตอนประชุมฝึกอบรมการวิจัยสำหรับแพทย์ประจำบ้านศัลยแพทย์ อ.อาวุโสท่านหนึ่งตั้งข้อสังเกตไว้น่าสนใจ คือ ศัลยแพทย์ (และแพทย์) รุ่นใหม่จะเข้าสู่ยุคที่ "ลำบาก" มากขึ้น เพราะสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ที่กระทบโดยตรงคือภาพลักษณ์และความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับผู้ป่วยในปัจจุบันเปลี่ยนไป ค่อนไปทางเป็นระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการโดยมีความผูกพันคือ "ข้อสัญญา" ไม่ใช่ความรู้สึกอย่างแต่ก่อน แนวโน้มที่หมอจะพูดอะไรให้คนไข้รับฟังมันจะยากขึ้น ต้องมี evidence มีหลักฐานมากขึ้น ความอะลุ้มอะล่วยจะลดน้อยลง เหตุการณ์เหล่านี้อาจจะมีปรอทวัดคือการฟ้องร้องระหว่างหมอ-ผู้ป่วย หมอ-แพทยสภา แพทยสภา-หมอ โรงพยาบาล-ผุ้ป่วย โรงพยาบาล-แพทยสภา ฯลฯ อุบัติการณ์ที่เกิดเป็น interesting cases กำลังจะกลายเป็นยาขมหม้อใหญ่ที่ต้องกินเป็น routine

กลไกการป้องกันตัวสิ่งต่างๆข้างบนมีหลายอย่าง แต่ที่สำคัญและเกี่ยวเนื่องกับหัวข้อกระทู้คือ communication skill, basic science, และ evidence-based oriented attitude และในส่วนเจตคติคือเรื่อง medical record

เนื่องจากความเคารพนับถือจากภายนอกลดลง ศัลยแพทย์รุ่นใหม่จะต้องสามารถโน้มน้าวและชี้แจงกับผู้ป่วยโดยใช้หลักวิชามากขึ้น และหลักวิชาในที่นี้ที่จะเป็นเกราะป้องกันตัวคือ evidence-based ร่วมกับการเขียนบันทึกเวชระเบียนที่ทันเหตุการณ์และถูกต้องตามความเป็นจริง (ห้ามแก้ไข หรือ retrospective manipulation data) นั่นทำให้การเรียนการฝึกอบรม "ยิ่งยากขึ้น" และจำเป็นมากขึ้น

ในส่วน psychomotor นั้น กระบวนการคือเห็น ลองทำกับหุ่น ดูแห้ง เข้าช่วย ทำ Under-supervision และทำเอง และทำเอง และทำเอง ฯลฯ ดังนั้นเราสามารถเพิ่มประสิทธภาพการเรียนรู้การผ่าตัดใน case หนึ่งๆประจำวันได้โดยการ make sure ว่าเรารู้ขั้นตอนการผ่าตัดชนิดนั้นๆล่วงหน้าก่อนเข้าๆไปช่วย ขณะช่วยก็ควรจะ conscious ตลอดเวลาว่าเรากำลังจดจำขั้นตอนต่างๆ ถ้าจะให้ดีก็คือทราบเหตุผลว่าทำไมด้วย ถ้าไม่ทราบ (และสถานการณ์อำนวย) ก็ถามอาจารย์ การผ่าตัดบางชนิดที่ไม่พบบ่อย ก็ควรจะหาเวลาไปมุงดู สมัยหนึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกที่พบ resident ศัลย์หกคนเรียงแถวสองข้างเตียงใน case aortic aneurysm ของ อ.ประเสริฐ หรือการต่อตัวมุงข้างหลังใน case whipple หรือ Radical Neck Dissection ไม่ว่าจะอยู่สายไหนก็ตาม จริงๆแล้ว Chief residents ทุกสายเกือบจะเรียกว่ามีสิทธิเข้าไป jammed ได้ใน case ที่น่าสนใจ หรือ case ที่ อ.ยกให้เป็นของ chief คนใดคนหนึ่ง แล้วเราขออนุญาตอาจารย์และเพื่อนเข้าไปช่วยกัน (เพราะแสดงว่าเป็น case ระดับชั้นปีเดียวกันควรทำได้) สาเหตุคือ psychomotor นั้นแปรตาม "จำนวน" ที่ผ่านมือผ่านตา นี่เป็นกรณีหนึ่งที่เราจะ "เพิ่มยอด" แก่ประสบการณ์จริง

แต่อีกส่วนหนึ่งคือ "ความรู้" นั้น ก็สำคัญมาก กิจกรรมวิชาการที่จัดไว้นั้น เป็น priority ที่แพทย์ผู้ฝึกอบรมจะได้ความรู้ ดังนั้นความร่วมมือและความตั้งใจที่จะดูดความรู้จากแต่ละ session สำคัญมาก บางเรื่องถ้าอยากจะให้อาจารย์วิจารณ์หรืออภิปรายเยอะๆ การแจ้งเอกสารที่เกี่ยวข้องล่วงหน้าจะช่วย เช่น collective reviews หรือ interesting case ถ้าเกี่ยวข้องกับ field ไหนจำเพาะ เราน่าจะเชิญอาจารย์ที่ถนัดหรือมีประสบการณ์เรื่องนั้นๆมาร่วม (tip: ว่าถึงประสบการณ์แล้ว เราไม่ควรมองข้ามป๋าเสริฐของพวกเรา ซึ่งสามารถแนะนำ practical points ได้มาก โดยเฉพาะเกร็ดปฏิบัติ) ความรู้มีสองส่วนคือ ที่อยู่ในหนังสือ กับที่อยู่ bed-side อย่างแรกจะถูกทดสอบตอน sit-exam อย่างที่สองจะเป็นตอน oral-exam ซึ่งเราต้องผ่านทั้งคู่ หลังราวด์มีการมา bluff มาถามคำถามเด็ดตอนราวด์กับเพื่อนพี่น้องต่างสายก็เป็นเรื่องที่ช่วยเก็บเล็กผสมน้อย และปลูกความสัมพันธ์อันดี ว่างๆก็ไปหาอะไรที่เป็นวิชาการมาติด board ท้าทายประลองที่ห้องพัก ผลัดกันอาทิตย์ละสายก็ได้ ปีสุดท้ายก่อนสอบนั้น สมัยหนึ่งมันเป็น automatic ที่เสาร์-อาทิตย์จะมีรายการเอาข้อสอบเก่ามาทวน มาเฉลย มาติวกัน

ที่ร่ายให้ฟังตอนต้นนั้น ก็อยากจะให้มองเห็นว่าตอนนี้เราคงต้องยอมทำอะไรที่หนักมากสักพักหนึ่งในชีวิต เพื่อที่จะคิดถึงความสำเร็จที่จะติดตัวเราไป ความสะดวกสบายนิดๆหน่อยตอนนี้อาจจะต้องยอมลดลง หาทางสนุกกับงานได้จะเป็นหนทางที่ดีที่สุดต่อตัวเราเอง เพราะยังไงๆเราก็ต้องทำงาน เราก็น่าจะได้อะไรจากงานในเรื่องอื่นๆที่ม่ความหมายกับเราไปพร้อมๆกัน เวลาสี่ห้าปีนี้มันดูนาน คนอื่นดูจะเรียนเบา ทำงานเบากว่าเราหมด แตเราได้เลือกแล้วว่าจะมาทางนี้ ก็ขอให้สร้างกำลังใจทางบวกในการดำเนินชีวิตให้ได้ครับ




Posted by : Phoenix , Date : 2004-04-29 , Time : 00:12:17 , From IP : 172.29.3.252

ความคิดเห็นที่ : 9


   thank you very much Dr PHOENIX. for your reccommend and i will try to improve myself and working hard for learning

Posted by : resident , Date : 2004-04-29 , Time : 20:14:29 , From IP : 172.29.2.99

ความคิดเห็นที่ : 10


   -ขอบคุณครับอาจารย์


Posted by : megumi , Date : 2004-04-30 , Time : 02:29:36 , From IP : 172.29.3.225

ความคิดเห็นที่ : 11


   การจะรวบรวมคนให้มาทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่งนี้ มันเป็นสิ่งที่ยากแก่การทำ เพราะว่า เราไม่สามารถที่จะทำให้ทุกคนมาครบกันได้ แต่การไมฟ่เริ่มอะไรเลยก็คงจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะถ้าไม่มี 1 ก็จะไม่มี2 ดังนั้น ขอให้พวกเราทุกคน ร่วมมือกัน ทำให้มันมีเลขหนึ่งขึ้นมาก่อน แม้จะดู ขลุกขลัก แต่อย่างน้อยก็คงจะเป็น นิมิตรหมายอันดีว่า วิชาการของเรากำลังจะเริ่มต้นขึ้นแล้ว

Posted by : ขอมีส่วนร่วม , Date : 2004-05-01 , Time : 22:28:21 , From IP : 172.29.1.139

ความคิดเห็นที่ : 12


   ที่ คุณphoenixกล่าวไว้ในเรื่องทักษะการสื่อสารที่ศัลยแพทย์รุ่นใหม่ว่า "จะต้องโน้มน้าวและชี้แจงผู้ป่วย" คำว่าโน้มน้าวดูล่อแหลมเกินไปหน่อยไหม จริงอยู่บางครั้งหมอเราคงพยายาม และอยากอย่างมากที่จะให้ผู้ป่วยทำตามสิ่งที่หมอคิดว่าดีและเหมาะสม(ในความคิดของหมอ) เพราะหมอสามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวผู้ป่วยจากการปฏิบัติตามและไม่ปฏิบัติตามที่หมอบอก ซึ่งคงต้องใช้การโน้มน้าวแน่นอน แต่วิธีดังกล่าวอาจจะเสี่ยงที่จะเกิดสิ่งต่อไปนี้หรือเปล่าคือ
1 ทำให้เราฟังคนไข้น้อยลง เพราะเรามัวแต่ฟังเสียงความคิดความอยากของเรา(ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นความคิดที่ดี)
2 เลือกให้ข้อมูลกับผู้ป่วยมากขึ้น เพราะกลัวว่าข้อมูลบางอย่างที่เราให้ไปอาจทำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนใจคิดไม่เหมือนเราได้
3 สัมผัสความเป็นคนในตัวคนไข้ลดลง แต่มุ่งเน้นในการแก้ปัญหาเรื่องโรคมากขึ้น
4 อาจทำให้ลดคุณค่า หรือละเลย autonomyของผู้ป่วย
5......
สิ่งนึงที่น่าคิดจากการที่เราชี้แจงผู้ป่วยได้อย่างยอดเยี่ยมตามหลัก good communication skill แล้วคือ เราจะยอมรับในวิถีคิดของผู้ป่วยที่ต่างจากเราโดยสิ้นเชิงได้หรือไม่ และถ้าผู้ป่วยเลือกที่จะไม่ทำตามหมอ ผลสุดท้ายต้องพบกับความเจ็บปวด หมอจะยอมรับได้ไหมว่าความตัดสินใจแบบนั้นก็มีส่วนดีอยู่ที่ทำให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ในสิ่งที่เราคาดเดาไว้แล้ว และหมอจะทำใจรักผู้ป่วย และให้อภัยต่อการตัดสินใจของผู้ป่วยที่ผ่านๆมา ที่มันแตกต่างจากหมอ และดูแลเขาได้เหมือนเดิมได้หรือไม่ อยากให้ช่วยกันคิดหน่อยนะจ๊ะคนดี


Posted by : pisces , Date : 2004-05-04 , Time : 20:12:47 , From IP : 172.29.3.254

ความคิดเห็นที่ : 13


   แน่นอนที่สุด If-clause ที่ใส่เกินเลยความพอดี ไม่ว่าจะใช้กับคำว่าอะไร มันก็เกินพอดีและก่อให้เกิดผลเสียได้ครับ

และคำว่า "พอดี" นี่แหละที่มีปัญหา

ความเชื่อบางอย่าง เราไม่สามารถจะประเมินได้ว่ามันฝังรากลึกขนาดไหน และมันกอรปเป็นบุคลิก ความเป็นบุคคลของผู้ป่วยแต่ละรายมากน้อยเพียงไร แต่ถ้าบวกกับในกรณีที่เรา "เห็น" consequences ที่ชัดเจน เรื่องมันก็ก้ำกึ่ง (จนขนาดถ้ามาเถียงกัน อาจจะเกิดการใช้คำว่าไร้จรรยาบรรณได้น่าเรา "ยอม" ปล่อยไปง่ายๆ)

เอา case ตัวอย่างจริง ผู้ป่วยรายหนึ่งอายุประมาณ 50 ปี เป็น DM และมาด้วยเรื่องเท้าอักเสบมาหนึ่งวัน หมอดูที่ ER คลำ crepitation จากแผลที่นิ้วเท้าลามมาถึงข้อเท้า Diag Gas Gangrene ในผู้ป่วยเบาหวาน ถ้ารายนี้ไม่ได้รับ adequate debridement หรือในรายนี้ก็คงเป็น BK- Amuputation แกตายแน่ๆ Cliche คือผู้ป่วยยอมตายไม่ยอมตัดขา ตรงนี้ scenario คงอยากจะถามว่าหมอควรจะ "โน้มน้าว" ผู้ป่วยและญาติแค่ไหน จึงจะเหมาะสมระหว่าง autonomy และ very unfortunate loss of life? เราทราบดีว่า BK-amputation นั้น ในปัจจุบันแทบจะไม่นับเป็นพิการแล้ว เพราะ prosthesis มันดีมาก ดังนั้นรายนี้ถ้าจะตายก็คงจะตายเพราะ "ความเชื่อ" ที่ได้จากผู้ป่วยตอนที่กำลัง sick อยู่ case นี้ผุ้ป่วยก็ขอกลับไปครับ ญาติพามาส่งอีกทีอีกหกชั่วโมงต่อมา unconscious และ crepitation ลามมาถึงสะโพก ก็ไม่ต้องตัดอะไรแล้ว เพราะ arrest และเสียชีวิตก่อนขึ้น ward

ถึงตอนนี้ ผมว่าแพทย์ที่อยู่ในเหตุการณ์ก็เซ็งในหัวใจ ทั้งคนที่พยายามจะโน้มน้าว ทั้งคนที่ปลงตอนแรกและเห็นแก่ autonomy ให้กลับไป แต่คนที่จะทำใจได้ดีที่สุดคงจะเป็นคนตรง "กลางๆ" กระมังครับ แต่ผมว่ากับอีกสอง extreme คนที่จะมีอะไรมา haunt ทีหลังมากกว่า อาจจะเป็นคนที่รีบปล่อยกลับไปก่อนที่จะพูดโน้มน้าวมากที่เขาอยากจะกลับไปทำใหม่ มากกว่าคนที่พยายามทำแล้วแต่ไม่สำเร็จตั้งแต่แรก (รึเปล่า?) ก็สุดจะพยากรณ์ได้

หัวใจของการสื่อสารนั้นผมว่าไม่มีตอนไหนที่เราจะแยกโรคออกจากความทรมานของผู้ป่วย เพราะสิ่งที่จะโน้มน้าวตังผู้ป่วยได้สำเร็จในที่สุดแล้ว มันก็คงจะเป็นอะไรที่เขากำลังเจ็บ กำลังปวด กำลังทรมาน และหมอบอกว่าจะทำให้หายนั่นแหละครับ ตราบใดที่บริบทการสื่อสาร การโน้มน้าว ยังวนเวียนอยู่รอบๆบริบทที่ว่า (chief complaint and present illness) ผมว่ามัน OK และที่แน่ๆคือเราไม่มี guideline หรือไม้บรรทัดตรงไหนที่จะบอกว่า "พอดี" ของแต่ละบริบทคืออะไร ความน่าจะเป็นมันมหาศาลเกินกำหนด



Posted by : Phoenix , Date : 2004-05-04 , Time : 22:06:24 , From IP : 172.29.3.251

ความคิดเห็นที่ : 14


   หากวิเคราะห์กันที่ตัว case ที่กล่าวมา แน่นอน เวลาที่ผู้ป่วยมีวิกฤติทางอารมณ์( emotional crisis) อำนาจในการตัดสินใจโดยการใช้ความคิด หรือเหตุผลตามlogic ที่หมอกำลังพูดอยู่นั้น ย่อมใช้ไม่ได้แน่นอน ดังนั้นหมอก็เลยต้องใช้ความพยายามโดยการโน้มน้าวอย่างที่กล่าวมา ซึ่งผลสรุปสุดท้ายก็คือไม่สำเร็จ หมอก็เซ็งไป
ปัญหามันอยู่ที่ว่าเราจะทำอย่างไรให้ผู้ป่วยผ่านพ้นวิกฤติทางอารมณ์นี้ไปได้ต่างหาก หมอและคนไข้จะได้มาคุยเรื่องจริงกันโดยที่หมอไม่ต้องใช้ขบวนการคิดแบบกลั่นกรองความคิดหลายชั้นเกินไป ก็คงไม่พ้นเรื่องการฟัง ฟังเรื่องของผู้ป่วยให้หมดแบบ unconditional regaurd ไม่ตัดสินก่อนนะว่าความคิดผู้ป่วยนั้นผิดและจะไม่ตัดสินตลอดไป เปิดbouderyของเรา ฟังให้ลงลึกถึงความหมายที่มีอยู่ของการไมร่วมมือ ไม่เว้นแม้แต่เรื่องความเชื่อและศรัทธา หรือศักศรีของผู้ป่วยที่หมอมักลืมไป คือการตายแบบครบอวัยวะทุกส่วนโดยไม่อยากมีสิ่งแปลกปลอมติดตัวไปหรือ.................
อย่างในผู้ป่วยรายนี้ ผลสรุปคือหมอไม่sucess เกิดความรู้สึกfailureและคิดว่าทั้งหมดนี้เป็นเพราะผู้ป่วยไม่เชื่อตนเอง ตนเองโน้มน้าวไม่สำเร็จ ดังนั้นครั้งต่อไปตนเองอาจต้องใช้ความพยายามให้มากกว่านี้ แต่จริงแล้วข้อมูลที่เราขาดไปคือ เรื่องความเชื่อและศรัทธา เราไม่รู้ว่าวิถีทางที่ผู้ป่วยเลือกแล้วที่เรารู้สึกแย่เพราะผู้ป่วยไปเร็วกว่าที่ควรนั้น เป็นวิถีทางที่ผู้ป่วยเป็นสุขหรือไม่ และอาจรูสึกดีกว่าการทนทุกข์อยู่กับขาเทียมที่ไม่ใช่ของของตนเอง แบบไร้ศักศรี


Posted by : pisces , Date : 2004-05-05 , Time : 06:35:51 , From IP : 172.29.3.252

ความคิดเห็นที่ : 15


   ในกรณีนี้หมอไม่ได้รู้สึกว่า fail หรอกครับ แต่เป็นความรู้สึกสลดใจที่ "ความเชื่อ" ที่เกิดมาจากการสั่งสมมาสามารถมีผลกระทบไม่เพียงแต่ตัวบุคคล แต่ลูกหลานและคนรอบข้างได้อย่างมาก

ความสลดใจที่ extend ไปถึง "ความเชื่อ" โดย literally ตาม scripture ที่ไม่จำเป็นต้อง based ตามการใช้ปัญญาไตร่ตรอง เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเอง ถึงแม้ว่าเมื่อได้พบเห็น case เหล่านี้มากขึ้น ก็เพียงแต่ทำให้เราแยกความสลดใจ ออกจากสังเวชใจได้เท่านั้น นั่นคืออาจจะไม่มี emotion แต่ความแปลกประหลาดของ cause-effect น้น ไม่มีที่สิ้นสุด

เราอาจจะต้องมาเห็นผลกระทบต่อลูกหลานและคนที่เป็นที่รักที่ไม่ได้ share ความเชื่ออะไรแปลกๆเหล่านี้แล้วจะรู้สึกว่าบางทีมันก็ไม่ fair ในการที่เราจะปู้ยี่ปู้ยำตัวเองแค่ไหนก็ได้เพียงเพราะความเชื่อแต่โสตเดียว จริงๆแล้วผมเชื่อว่า religious fanatic เกิดขึ้นโดย route นี้ มีคดีหนึ่งในประเทศอังกฤษ พ่อเป็นบาทหลวงที่เคร่งครัดมากและ anti-gay ไม่ใช่ anti เฉยๆ แต่เป็นการพิจารณาว่าเป็นบาปอย่างยิ่ง ชะตากรรมเล่นตลกคือลูกชายของบาทหลวงคนนี้กลายเป็น gay แต่ justification ในขณะนั้นคือเป็นสิ่งที่ unacceptable บาทหลวงคนนี้เลยฆ่าลูกตนเองเพราะเหตุนี้ เรื่องไม่จบเพียงแค่นี้ จาก doctrine ที่ว่าจง treat ผู้อื่นเหมือนกับที่ตนเองอยากจะถูก treat ในเมื่อสามารถ justified ได้ว่าแม้แต่ลูกตนเองสมควรตายเพราะเป็นเกย์ ลูกคนอื่นก็เหมือนกัน ผลสุดท้าย serious killer ที่มาจาก religious fanatic รายนี้ก็ถูกจับได้

autonomy แบบเดียวกันนี้ degrade life และอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อลูกหลานรอบข้างที่อาจจะไม่ได้รู้ว่าการมีอวัยวะอยู่ครบก่อนตายนั้นมันสำคัญต่อ next life แค่ไหน? ถ้า appreciation ในเรื่องนี้กลายเป็นชีวิตคนเรานั้น terminate ได้ง่ายๆเพราะ "เชื่ออะไรมากพอ" โดยไม่ต้องการการไตร่ตรองโดยปัญญา ผลก็คือที่ปัจจุบันนี้เรามี cults มากมายแตกหน่อก่อผลเหมือนเห็ดฤดูฝน แต่ละ cult ก็ proclaim autonomy เป้น major theme ทั้งสิ้น ประเทศที่ pro-liberal สุดๆแบบนี้ เช่น America ที่ปัจจุบันมี cult แปลกๆออกมามากมายหลากหลายสาขา

ชีวิตคนเรานั้นไม่ได้มี duty อยู่แต่เฉพาะตนเอง แต่ทุกๆอย่างที่เราทำ มันจะมี imprint ลงไปยัง generation ต่อๆไป ลงไปยังเนื้อ fabric of the society และมีผลต่อเนื่องทั้งสิ้น และในความเห็นส่วนตัวของผม autonomy นั้น OK ตราบใดที่มันไม่กระทบผู้อื่น กฏหมายก็เห็นเหมือนกันว่าคุณไม่มีสิทธิพ่นควันบุหรี่ใส่หน้าคนอื่นในที่สาธารณะ คุณไม่มีสทธิ์ที่จะ cite hatred ต่อศาสนาใดศาสนาหนึ่งเพียงเพราะคุณเชื่อว่ามันถูก และผมว่าคุณไม่มีสิทธิ์ที่จะครอบงำเด็กลูกหลานว่าชีวิตมันไม่มีค่ามากไปกว่าเท้าข้างหนึ่งเหมือนกัน

เราคงไม่มีวันทราบว่าถ้าผู้ป่วยรายนี้มีชีวิตต่อไปกับขาเทียม เขาจะอยู่อย่างไร้ศักดฺศรีหรือว่าจะกลับมาขอบคุณหมอที่ทำให้เขามีโอกาสอยู่กับลูกหลาน เห็นความสำเร็จต่างๆต่อไปได้อีก 20 ปี แต่ละค่าย แต่ละฝ่ายสามารถจะ dramatize ให้เป็นอย่างไรก็ได้แต่อย่างหนึ่งเราได้แต่คิดย้อนหลัง อีกอย่างหนึ่งนั้นอย่างนอ้ยยังมี "ความหวัง" ผมเชื่อใน power of hope และความสามารถในการเรียนรู้ การใช้ปัญญาของมนุษย์ ดังนั้นผม pro-life



Posted by : Phoenix , Date : 2004-05-05 , Time : 12:13:18 , From IP : 172.29.3.203

ความคิดเห็นที่ : 16


   สิ่งที่พยายามบอกตั้งแต่แรกในเรื่องของการฟังผู้ป่วยในเรื่องความคิด หรือความเชื่อและศรัทธาแบบเปิดใจ โดยไม่ตัดสินตั้งแต่แรกนั้น จุดประสงค์เพื่อ หมอจะได้มีโอกาสให้เกียรติความคิดผู้ป่วยและแน่ที่สุดคือจะได้ empathyผู้ป่วย ได้ลงไปนั่งในใจผู้ป่วยเพื่อเข้าใจความทุกข์ของทางแยกแห่งการตัดสินใจของผู้ป่วย เมื่อถึงจุดนั้น หมอเองจะมีอำนาจในการตัดสินใจได้เหนือกว่า และเป็นเวลาของโอกาสทองที่หมอจะเปลี่ยนวิกฤติของผู้ป่วยได้ เพราะมองความทุกข์ของผู้ป่วยได้ชัดเจนขึ้น อย่างที่ผู้ป่วยพยายามพูดกับเราอยู่เสมอไม่ใช่หรือว่าหมอไม่ลองป่วยดูบ้างหล่ะจะได้รู้ แต่ถ้าหมอไม่ทำในแบบที่กล่าวมาแล้ว แน่นอนผู้ป่วยจะสัมผัสได้ถึงความไม่ empathyของหมอ ซึ่งจริงแล้วมันอาจมีเพียงแค่ sympathy ผู้ป่วยอาจคิดว่าหมอไม่เข้าใจ นั่นก็คงตามมาด้วย resistant การพูดอะไรของหมอก็หมดค่า
ส่วนในเรื่องกรณีของบาทหลวงคิดว่าไม่น่าจะใช้เปรียบเทียบกับ caseได้ เพราะเท่าที่ฟังมันไม่น่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อและศรัทธา หรือ belief แต่มันน่าจะเป็นfix false belief หรือ delusion มากกว่า เพราะมันเป็นความคิด และมีพฤติกรรมที่อยู่นอกเหนือหรือเกินเลย culture ของคนสามัญทั่วๆไปจะยอมรับได้ และการกระทำที่ฆ่าลูกตนเองนั้นก็บ่งบอกถึงการมี ego judgememt ที่เสีย และน่าจะเข้าข่ายเป็น psychotic disorder จึงคิดว่าเป็นคนละกรณีกัน


Posted by : pisces , Date : 2004-05-05 , Time : 20:06:55 , From IP : 172.29.3.206

ความคิดเห็นที่ : 17


   อะไรคือ borderline ระหว่าง fix false belief กับ ความเชื่อและศรัทธาล่ะครับ?

อีกประการหนึ่งคือ หมอไม่ได้เถียงกับผู้ป่วยเรื่องประเด็นการเจ็บไข้ได้ป่วย และไม่ได้แสดงความ "ไม่เข้าใจ" ในเรื่องความทรมานของโรคที่เป็น แต่ conflict of belief ของผู้ป่วยที่เป็นตัวทำให้ไม่สามารถยอมรับการรักษาได้ conflict นี้ exists และถูก resolved โดยกฏหมาย เพือ balance แต่ในหลายๆประเทศจะมีข้อยกเว้นซึ่งเดี๋ยวจะกล่าวถึง

Action ของสองฝ่ายคือ Liberal และ Existentialism นั้นอาจจะต่างกันไม่มากในรายนี้ แต่ "ความพยายาม" ในการ pursue the cause ของหมอสองระบบนี้จะต่างกันใต้ผิวหน้า และทางปริมาณ (เล็กน้อย)

สมมติ 1 (ไม่ใช่ case จริงแล้ว) ตามหลักปรัชญาโดย Immanuel Kant ว่าด้วยจริยศาสตร์ ทดสอบหลักเหตุผลทางจริยธรรมคือ "universality of action" ดูนะครับ ถ้าสมมติผู้ป่วยรายที่ป่วยนี้ เป็นเด็กหนุ่มอายุ 4, 12, 18, และ 25 ปี กำลังจะเสียชีวิตเพราะไม่ยอมเสียขา ในกรณีนี้เด็ก 4, 12, 18 ขวบอาจจะโดยคำขาดของพ่อแม่ที่เชื่อว่าตายเสียดีกว่าใส่ขาเทียม ส่วน 25 ปี ก็อาจจะเป็นผลพวงของการ "อบรม" มานานพอ

สมมติ 2 เปลี่ยนจากตัดขา เป็นโรคอื่น เช่น enucleation ตาหนึ่งข้างเพราะเป็น retinoblastoma ของเด็ก ถ้าไม่เอาออก ก็จะแพร่กระจาย ตายในที่สุด ถ้าออก ก็มีสิทธิ cure หรือถ้าต้องการ exaggerate ให้เห็นชัดยิ่งขึ้น ถ้าเป็นแค่ amputate นิ้วล่ะ จะใช้หลักการ liberal mind หรือไม่? (ปล่อยตามยถากรรม)

ความจริงมี case ที่ถึงศาลสูงที่ต่างประเทศ ที่โรงพยาบาลยื่นคำร้องขอคำสั่งศาลสูงสุด เพราะอำนาจการตัดสินใจของพ่อแม่กำลังจะ "ฆาตกรรม" ลูกของตน โดยการปฏิเสธการรักษา ตรงนี้เป็นอำนาจของ "สังคม" หรือไม่ ที่จะยื่นมือเข้ามาดูแลและปกป้องคนที่ "ไร้สมรรถภาพ" ในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะป่วย หรือยังไม่บรรลุนิติภาวะ

คุณ pisces คิดว่ากรณีนี้ไม่เหมือนกรณีบาทหลวง แต่ผมว่าไม่ต่างกัน อะไรจะเกิดขึ้นถ้าผู้ป่วยรายนี้เปลี่ยนบทบาทเป็นพ่อของเด็กที่กำลังเป็น gas gangrene เช่นเดียวกัน ขนาดตนเองยังยอมตาย และถ้าเขาบอกว่าลูกเขาตายไม่เป็นไร เพราะดีกว่าถูกตัดขา logic นี้ถ้าใช้กับทุกๆคนที่อยู่ภายใต้ "ร่ม" อิทธิพลความคิด serial killing หรือ unfortunate dead toll ก็จะไม่น้อยไปกว่ากรณีที่เกิดขึ้นหรือไม่?

ลองไม่ใช้ "กฏหมาย" มาช่วยนะครับ ลองเอาเฉพาะ moral และ ethics อะไรจะเกิดขึ้น "ถ้า" หลักการที่ว่านี้ถูกนำมาใช้โดยคนที่เผอิญจบแพทย์ ถ้าลุงคนนี้เป็นหมอ อะไรจะเป็นสิ่งที่เขาแนะนำให้แก่คนไข้ ถ้าเขาจะ Preach เรื่องนี้ ความเชื่อ ศรัทธา หรือ "delusion"? บทตรงนี้ผมว่าไม่ใช่หมอ "ไม่เข้าใจ" เพราะมันไม่ใช่ logic เป็นศรัทธาและความเชื่อ ถ้าหมอบอกว่าเข้าใจในเหตุผลก็จะเป็นการพูดไม่ตรงความเป็นจริง ที่หมอจะทำได้ก็คือบอกว่าเข้าใจว่าคิดอย่างไร (แต่ไม่ใช่ทำไม) แต่โดยจริยธรรมแล้ว ผมว่าเป็นเรื่องที่เราควรจะโน้มน้าว เพราะผลกระทบในกรณีนี้มันเป็นระหว่างเป็นกับตาย เป็นระหว่างการที่ลูกบางคนกลังจะต้องสูญเสียพ่อ เป็นระหว่างภรรยาบางคนกำลังสูญเสียสามี ตรงนี้ทีแหละครับที่ผมเห็นว่าก่อนที่หมอจะล้มเลิกการโน้มน้าว น่าจะทำความเข้าใจว่าเรากำลัง deal กับเรื่องนี้ด้วย มี autonomy ของคนอีกเป็นจำนวนมากที่ขึ้นอยู่กับ "ความพยายามเต็มที่" ของหมอท่านนี้อยู่



Posted by : Phoenix , Date : 2004-05-06 , Time : 00:05:06 , From IP : 172.29.3.214

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.011 seconds. <<<<<