ความคิดเห็นทั้งหมด : 3

อาการแบบนี้เป็นเพราะอะไรค่ะ แล้วมีวิธีใดบ้างที่จะรักษา


   -เพศชาย อายุ 32 ปี เป็นนักกีฬาและออกกำลังกายบ่อยมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และดื่มกาแฟเป็นประจำ ทำงานที่มีความเครียด
-เมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ เกิดอาการใจสั่นคล้ายจะเป็นลม ซึ่งได้ไปพบแพทย์ แพทย์ทำการตรวจ ECG บอกว่าหัวใจปกติดีแข็งแรง หมอสันนิฐานว่าเกิดจากการดื่มกาแฟมาก
-เมื่อ3วันที่ผ่านมาได้นอนดึก ดื่มเบียร์และมีความเครียด พอวันรุ่งขึ้นเกิดอาการใจสั่นอีกครั้ง มีอาการมึนหัว และทุกครั้งที่เครียดและวิกตกกังวลก็จะมีอาการใจสั่น
-อยากทราบว่าทั้งสองครั้งนี้มีความเกี่ยวข้องกันไหมค่ะและเกิดขึ้นเพราะอะไรและจะมีวิธีใดที่จะรักษาหรือควรปฎิบัติตัวอย่างไรค่ะ ขอบพระคุณมากๆค่ะ


Posted by : น้องปีหนึ่ง , Date : 2004-04-24 , Time : 19:22:23 , From IP : 203.113.80.144

ความคิดเห็นที่ : 1


   ขออนุญาติตอบความเห็นน้องนะครับ
ต้องบอกว่าชายคนนี้ถ้ายังปล่อยให้มีพฤติกรรมเช่นนี้ต่อไป จะมีความเสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวใจขาดเลือดสูงนะครับ
ตอนนี้ ถ้าไม่มีโรคใดๆชัดเจน สันนิษฐานว่า จาก กาแฟ ความเครียด และ การไม่ได้ผักผ่อน เป็นสาเหตุให้ร่างกายหลั่ง Cathecolamine ออกมามาก ทำให้ความดันเพิ่ม หัวใจเต็นเร็วครับ ส่วนใหญ่คนที่เป็นจะมีวิงเวียน รู้สึกหวิวๆ ไม่มีแรง และเบื่ออาหาร ต่อไปอาจมีปวดหัว และปวดกระเพาะได้ครับ
การรักษาต้องแก้ที่พฤติกรรม และปัญหาที่ทำให้เครียดครับผม
ขอให้หายไวๆนะครับ


Posted by : Araidae , Date : 2004-04-25 , Time : 08:52:07 , From IP : mugwback.mahidol.ac.

ความคิดเห็นที่ : 2


   เนื่องจากผู้ป่วยที่ยกมาสาธก อายุเท่าผม จึงขอตอบบ้าง

ผู้ป่วยที่ว่าอาจไม่ได้เป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรอกครับ เขาอาจเป็นโรคหัวใจขาดรัก

กล่าวคือลืมรักตัวเอง และใส่ใจดูแลสังขารตามควร คุณผู้ป่วยคงรักงานแบบพ้นสายกลางไปหน่อย เรื่องนี้อย่าว่าแต่เขา เรื่องมันเกิดกับตัวอิเหนาอย่างผมอยู่บ่อย ๆ แก้ก็ไม่ค่อยหาย เผลอใจเมื่อไหร่ ความเครียดและความอยากรุนชีวิต รุนการทำงานก็เข้ามาเกาะกุมอีก บางทีสิ่งที่อยู่เบื้องหลังอีกทอดหนึ่งก็คือความงกน่ะครับ งกอยากได้เบี้ย งกอยากได้ผลงาน

วิธีการรักษาเบื้องต้น คือ การถอดจิตออกจากชีวิตตนเองสักครู่ครับ ถอดออกมาเพื่อที่จะำได้มองตนอย่างถ้วนถี่ คุยกับตัวเองใหม่ว่าที่จริงแล้วเป้าหมายและความต้องการในการรุนชีวิตไปข้างหน้าคืออะไร ความสุขที่แท้สำหรับตัวเองคือสภาพแบบไหน จากนั้นจัดสมดุลย์ชีวิตใหม่ สมดุลย์ระหว่างการทำงาน การพักผ่อน งานอดิเรก การออกกำลังกาย การพักผ่อนใจ ให้พอเหมาะกับทิศทางชีวิตที่ประมาณไว้ ไม่มากไป ไม่น้อยไป และไม่แถกออกนอกทาง

หากเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ถอดจิตออกมาแล้วก็คิดซะว่า ตัวเราเองก็เป็นคนไข้คนหนึ่ง ต้องการคำสั่งการรักษาที่เหมาะสมอยู่เหมือนกัน ต้องการการพยาบาลที่ดีอยู่เหมือนกัน และคนที่จะเข้าใจและรักษาพยาบาลตัวเราได้ดีที่สุด ก็คงเป็น แพทย์หรือพยาบาลประจำตัว เองกระมังครับ


Posted by : Shonikeka , Date : 2004-04-25 , Time : 18:08:38 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 3


   ขอบคุณมากๆต่ะสำหรับคำแนะนำของพี่ๆทุกคน

Posted by : น้องปีหนึ่ง , Date : 2004-04-25 , Time : 19:56:23 , From IP : 203.113.80.144

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<