ความคิดเห็นทั้งหมด : 13

Debate LXV: Feedback (or Feet Back!!)


   Feedback หรือ การแสดงความเห็น "ตอบ" ต่ออะไรสักอย่าง โดยมี "วัตถุประสงค์"

ทั้งสองท่อนมีความสำคัญใกล้เคียงกัน ถ้าลืมท่อนใดท่อนหนึ่งไป ก็จะกลายเป็นอย่างอื่น เช่น การบ่น งึมงัม หรือไม่ได้หวังผลเปลี่ยนแปลงอะไร ทีนี้ feedback สำคัญอย่างไร?

คำตอบน่าจะเป็นสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะนโยบาย แผน หรือโครงการอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะผ่านการไตร่ตรองมาแล้วหรือไม่ หลังจากนำมาใช้จริงมันจะมี factors มากมายที่ตอนคิดไม่ได้คิดถึง จะเป็นเพราะตั้งใจ หรือประมาทเลินเล่อ หรือสติปัญญาไม่ถึง หรือ เหนือกว่าที่ใครจะจินตนาการได้ท้งหมดล่วงหน้า การ feedback จะเป็นการทำให้แผนต่างๆเหล่านั้นเกิดการปรับปรุงให้ใช้ได้ในสถานการณ์จริง แต่ วิธีการ Feedback นั้นก็สำคัญมากที่เราจะต้องคิดถึงกลยุทธ์ที่จะทำให้เกิดสิ่งที่เราอยากให้เกิด

ติเพื่อก่อ ก็เป็นกลยุทธ์เก่าแก่ แต่ในสมัยที่การ "เอาหูไปนา เอาตาไปไร่" มันมีประสิทธิภาพมากขึ้น (เกินกว่าเทคโนโลยีทางจักษุวิทยา หรือ ENT จะตามทัน) การ feedback เพื่อให้ "คนส่วนใหญ่" ที่ถูกกระทบนั้นมาสนใจก็เป็นอีกทางหนึ่ง นัยว่าใช้ระบบประชาธิปไตย หรือทำให้ degree of importance นั้นมันโดนใจ และมีคนมองมากขึ้น ทั้งนี้แหละทั้งนั้น "จำเป็นอย่างยิ่ง" ที่การนำเสนอจะยังต้อง "รักษาคุณธรรม ภาพพจน์" ของผู้นำเสนอให้ได้พร้อมๆกันไปด้วย

กระดานข่าวเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่เข้าถึงคนจำนวนมากได้รวดเร็ว แต่เราอาจจะพบว่ากลยุทธ์ในการนำเสนอนั้นไม่ใคร่มีคนใช้ น้ำหนักในการชักจูงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางครั้งถูก discredit ลงโดยกลไกกลวิธีการนำเสนอเองอย่างน่าเสียดาย เรื่องบางเรื่องที่คนกลุ่มภายในเท่านั้นจะตีรหัสแตก ก็จะไม่สื่อกว้างเท่าที่ควร เรื่องบางเรื่องหากมีการนำเสนอที่ให้คนกลางเข้าใจ ก็อาจจะป้องกันการมองเข้าใจผิดไปได้ ซึ่งเป็นเรื่องดีต่อผู้เสนอเอง

Feedback เป็น social engineering tool ที่สำคัญมาก ที่เราควรจะพัฒนาให้เกิดวัฒนธรรมการกระทำ และ "การรับ" ให้เกิดขึ้นให้ได้ มิฉะนั้นจะเหมือนพายเรือในอ่าง พายเท่าไหร่ๆ ตะโกนเท่าไหร่ๆ ก็ได้ยินแต่เสีย echo ของตนเองกลับมาเท่านั้น



Posted by : Phoenix , Date : 2004-04-11 , Time : 02:46:53 , From IP : 172.29.3.247

ความคิดเห็นที่ : 1


   พูดอะไรไม่เห็นจะรู้เรื่อง

Posted by : mum , Date : 2004-04-12 , Time : 08:38:04 , From IP : 172.29.3.253

ความคิดเห็นที่ : 2


   ตรงย่อหน้าไหนที่ต้องการให้ขยายความครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-04-12 , Time : 12:23:17 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 3


   ไว้เคลียร์รายงานเสร็จแล้วจะมาร่วมวงครับ


Posted by : ArLim , Date : 2004-04-15 , Time : 10:16:49 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 4


   วัฒนธรรมที่ว่านั้น น่าจะประกอบด้วยวัฒนธรรมย่อยๆอีกหลายๆอย่าง
- วัฒนธรรมการพูดหรือการสื่อออกไปอย่างสุภาพและมีเหตุผล
- วัฒนธรรมการฟังหรือการรับอย่างตั้งใจและรับความแตกต่าง
และวัฒนธรรมประโยชน์ส่วนรวมมาก่อนประโยชน์ส่วนตัว
ฯลฯ

ช่องทางของการ feedback เพื่อหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น เมื่อใช้วิธีที่แตกต่างกัน ผลของมันที่เกิดก็ได้แตกต่างกันไปด้วย ไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว เราจะหวังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตามใจเราได้ทุกอย่างก็คงเป็นไปไม่ได้ และการที่เราจะตีโพยตีพายหรือแสดงความรู้สึกว่าไม่มีประโยชน์ในการ feedback นั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง
แต่ควรจะเป็นตัวเราเองที่ต้องหาวิธีหรือหาทางทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้เองจริงๆ



Posted by : ArLim , Date : 2004-04-28 , Time : 16:02:55 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 5


   ประเด็นอยู่ที่ว่าการที่เราแสดงความเห็นไปต่างๆนานานั้นต้องการให้เกิด "ผล" หรือ "การเปลี่ยนแปลง" อย่างไรหรือไม่ หรือเป็นการสอบถามความคิดเห็นของคนอื่นๆเฉยๆ หรือเป็นการระดมความคิดที่หลากหลาย (แปลว่าเหมือน ไม่เหมือนกันก็ได้ ยิ่งเยอะ ยิ่งต่าง อาจจะยิ่งดี)

โดยทั่วๆไปถ้าคิดเหมือนกัน พูดตรงกันมันไม่มีปัญหา ตรงที่จะใช้ความชำนาญเพิ่มก็พวกที่คิดไม่เหมือนพูดไม่ตรงกันนี่แหละ communication skill ก็น่าจะมีที่ใช้ตรงนี้

กลับไปหัวข้อกระทู้ "feedback" นั้น มักจะเป็นการกระทำที่ต้องการ "การกระทำตอบสนอง" หรืออย่างน้อยก็เหตุผลย้อนกลับมายังประเด็นหรือกระทู้ที่เราตั้ง สิ่งต่างๆเหล่านี้จะเกิดหรือไม่เกิด หรือเกิดแบบไหน มันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ว่ากันตั้งแต่จะทำที่ไหน เมื่อไหร่ เช่นจะออกไป Hi-Park ตอนตีสามพูดเรื่องการเลือกตั้งของอินเดีย ก็อาจจะไม่มีใครฟัง หรือไม่มีคนสนใจในที่นั้นๆ ฉะนั้นสำรวจสถานที่และเวลาที่เราจะทำการ feedback ว่ามันถูกออกแบบหรือมอบหมายให้มีวัตถุประสงค์อย่างที่เราต้องการหรือไม่ สถานที่หรือ platform ดังกล่าวอย่างน้อยๆที่สุด จะต้องมีคนที่เราต้องการจะ feedback ให้ฟังไปรับฟังด้วย เช่นถ้าคุณไปออกข่าว UBC ลง CNN BBC แต่คนที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับ UBC คุณก็กำลังพูดกับฝาห้อง การใช้สถานที่ให้ถูกวัตถุประสงค์จะช่วยให้เรา "บรรลุ" วัตถุประสงค์ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคำอธิบายชี้แจง หรือการมี action ตอบสนอง ถ้าหาก platform นั้นๆ ไม่ได้ถูกออกแบบให้เป็นที่ที่แถลงการณ์ official policy หรือเป็นเวทีถาม-ตอบ โอกาสที่เราจะได้สิ่งที่เราคาดหวังก็จะลดลง หรือเกิด by-chance ไม่ใช่โดยระบบ

นอกเหนือจากสถานที่และเวลาแล้ว "วิธี" การนำเสนอข้อมูลก็มีอิทธิพลต่อการอภิปราย หรือมีผลต่อ "น้ำหนัก" ของข้อมูลที่นำเสนอ ถ้าเป็นเรื่อง serious เรื่องคอขาดบาดตาย ก็จะต้องใช้ภาษา ใช้การเรียบเรียง ใช้โวหารอย่างหนึ่ง ถ้าต้องการให้อภิปรายกันสนุกสนานก็โวหารอีกแบบหนึ่ง ถ้าต้องการให้คนฟังคิดว่ามาบ่นเฉยๆก็ใช้โวหารอีกแบบหนึ่ง ที่แน่ๆการพูดทีเล่นทีจริง ประชดประชัน กระทบกระเทียบเปรียบเปรยนั้น อาจจะไม่ค้อย academic และดึงดูดการตอบสนองที่สามารถเบี่ยงเบนจากประเด็นหลักได้โดยง่าย เพราะ logic นั้น ไม่ไปด้วยกันกับ emotional

ในบางที่ ระบบ vfeedback สามารถทำให้การบริหารองค์กรรุดไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว เพราะปัญหาถูกรับฟังและ addressed วิธีทางแก้ข้อเสนอถูกรับฟังและนำไปปรับปรุง เช่นในประเทศญี่ปุ่นที่มีระบบตู้รับฟังความคิดเห็น ทุกๆคนพนักงานมีความรู้สึกเป็นเจ้าเข้าเจ้าขององค์กรและอยากมีส่วนในการผลักดันให้ดีขึ้น ข้อสำคัญที่เราจะนำมาดัดแปลงในที่นี้ก็คือที่ไหนที่เป็น "ตู้รับฟังความคิดเห็น" ของเรา? กระดานกระทู้ หรือ อะไร?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-04-28 , Time : 22:41:31 , From IP : 172.29.3.221

ความคิดเห็นที่ : 6


   เห็นมีกระทู้มากมายในกระดานอภิปรายที่ถูกตั้งขึ้นเป็น feedback ตรงถึงบุคคลหรือองค์กร
แต่จากที่อ่านจุดประสงค์ของกระดานอภิปรายที่เขียนไว้อยู่ด้านบนสุดแล้ว ก็เห็นว่ากระดานแห่งนี้ไม่ได้มีหน้าที่รับความคิดเห็นแล้ว"ส่ง"ตรงถึงผู้รับผิดชอบ
ก็น่าจะบอกได้แล้วว่า กระดาน แห่งนี้ไม่ใช่ที่ๆจะมาหวังเสียงตอบรับจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

บุคคลหรือองค์กรที่ต้องการจะได้รับ feedback นั้น ก็ตั้งกลุ่มเป้าหมายไว้ที่ผู้ที่สามารถให้ความคิดเห็นได้ทั้งหมด
โดยอาจจะไม่ต้องดูชื่อเสียงเรียงนาม รู้เพียงแค่ว่าเป็นคนที่มีความคิดเห็นต่อเป้าหมายเท่านั้น
บัตรสนเท่ห์ก็รับ ว่างั้นเถอะ

ในกระดานอภิปรายแห่งนี้ แม้จะมีความคิดเห็นของผู้ไม่ประสงค์ออกนาม แฝงนาม หรือนามแจ่มแจ้ง
ก็เป็นเพียงของสาธารณะ ที่ไม่มีผู้ใดต้องรับผิดชอบมาเก็บเอาไปคิดอย่างชัดเจน
จึงอาจจะแสดงความคิดเห็นได้แบบอิสระ
ติดอยู่อย่างเดียวคือความเป็นสาธารณะ ที่ต้องเคารพสิทธิส่วนตัวของผู้อื่น เป็นมารยาทอันควร

คำลงท้ายของคุณ phoenix ผมเข้าใจว่า อยากจะให้มีสิ่งที่เป็นตู้รับความคิดเห็น
และ "กระดานอภิปราย" นี่เหมาะหรือไม่
ความเห็นของผมคือ เหมาะสม แต่ไม่ใช่กระดานอภิปรายในสภาพนี้
นั่นคือ กระดานอภิปรายแห่งนี้ต้องเพิ่มจุดประสงค์ของการเป็นตู้รับความคิดเห็นและมีผู้รับผิดชอบเก็บความคิดเห็นนั้นไปพิจารณาอย่างชัดเจน
และมีการตอบรับ ชี้แจง อย่างเป็นเหตุและผล

น่าสนใจนะครับ


Posted by : ArLim , Date : 2004-05-07 , Time : 05:50:26 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 7


   การสื่อสารนั้นเป็น "ความชำนาญ" ประเภทหนึ่ง หมายความว่าจะมีหลายระดับของ "ประสิทธิภาพและประสิทธผล"

บุคคลิกภาพของเราประกอบจากหลายๆด้านรวมกัน รูปร่างหน้าตา ความคิด การแสดงออก ส่วนที่เป็น Intrinsic value และส่วนที่เป็น explicit intermediate กลมกลืนกันไป บุคลิกมีผลต่อการสื่อ โดยเพาะอย่างยิ่งถ้าได้รับการส่งเสริมโดยบริบท

ถ้าฮิตเลอร์มาปราศัยในวัด ก็อาจจะไม่ค่อย effective แตฮิตเลอร์เป็นนัก "persuader" ที่มีอิทธิพลทางประวัติศาสตร์ของโลกมากที่สุดคนหนึ่ง เขาอาจจะไม่ประสบความสำเร็จถ้าประชาชนเยอรมันในขณะนั้นเปลี่ยน "บริบท" ไปจากตอนนั้น

การ "จูงใจ" เป็นเป้าหมายที่พบบ่อยของการสื่อ ต้องมีการพิจารณาปัจจัยหลายๆด้าน เช่น การสร้างฐานความน่าเชื่อถือของผู้พูด ปัจจัยที่มีประสิทธิภาพมากในการ "ลด" ความน่าเชื่อถือคือการ "จงใจ" ใช้ภาษาที่ไม่ไปกับบริบท เช่น คุณขี่ม้าอยู่หน้ากองพลจะโจมตี ถ้าคุณพูด "ไปกันเถอะจ้ะ ทหารที่รักจ๋า" มันก็ไม่เข้ากัน หรือคุณกำลังพูดกับนักการศึกษา ปัญญาชน แต่คุณเลือกใช้ภาษาอีกแบบหนึ่ง มันก็จะไม่เข้ากัน

ฉะนั้นการตี "บริบท" ให้แตกจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่งั้นของที่ serious อาจจะถกเข้าใจว่าเป็นการบ่นของเด็กๆ เป็นการงอนของวัยรุ่น เป็นความสับสนของวัยดึก ได้ มันก็ "ไม่สื่อ"



Posted by : Phoenix , Date : 2004-05-07 , Time : 15:58:38 , From IP : 172.29.3.202

ความคิดเห็นที่ : 8


   บริบทและความสามารถในการสื่อนั้น สำคัญเมื่อผู้ส่งสารนั้นต้องการให้ผู้รับได้ตรงตามความต้องการ
และนั่นก็เป็นความสามารถที่จะต้องฝึกฝนและเรียนรู้กัน

การร้องไห้ของเด็ก การงอนของวัยรุ่น การพูดตามประสบการณ์ของผู้ใหญ่ การพูดด้วยเหตุผลของผู้รู้ ก็เป็นวิธีสื่อตามธรรมชาติของแต่ละฐานะ
แพทย์พยายามชี้แจงถึงความเสี่ยงและพยากรณ์โรคให้ตาสีพ่อของคนไข้ที่ไม่ได้เรียนหนังสือ
อาจารย์แพทย์พยายามสอนเรื่องการเรียนรู้ด้วยตนเองให้นักศึกษาแพทย์ที่เรียนแบบถูกป้อนมาตลอด 10 กว่าปี
แค่นี้ก็ยากแล้ว

แต่ระบบของ feedback นั้น ในสังคมที่เรื่องของ feedback ยังไม่อยู่ในสามัญสำนึกของคนทั่วไป ผู้ที่อยากได้ "ความเห็นกลับ" นี้ก็ต้องเป็นผู้รวบรวมและแปลความหมายของ "สาร" เองด้วย
ไม่ว่าจะเสียงร้องไห้ของเด็ก กิริยางอนตุ๊บป่้องของวัยรุ่น คำด่าหยาบคายในบัตรสนเท่ห์ หรือเหตุผลร้อยพันอย่างของนักวิชาการ ก็มีค่า ที่เราไม่ควรทิ้งไป
ดังนั้น "สาร" ที่สื่อออกมา ก็จะไม่มี "สื่อไม่ถึง" หรือ "ไม่สื่อ"



Posted by : ArLim , Date : 2004-05-08 , Time : 04:17:12 , From IP : 203.150.209.231

ความคิดเห็นที่ : 9


   ความจริงทุกๆสารที่ "สื่อ" ออกไป ไม่มีอันไหนที่ "ไม่สื่อ" อะไรบางอย่าง

เราพูดกันมาหลายครั้งว่าการสื่อประกอบด้วยผู้สื่อ ผู้รับ และบริบท ตรงนั้นเราควรจะมีการฝึกฝน แต่ในการสื่อที่ "สมบูรณ์" อีกระดับหนึ่งคือการทดสอบตรวจเช็คว่าสิ่งที่สื่อไปนั้น ถูกรับหรือไม่อย่างไร เพื่อเป็นประสบการณ์เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

ยกตัวอย่าง เรามี protocol การแนะนำผู้ป่วยหลังผ่าตัด Modified Radical Mastectomy เราเลือกผู้ที่ผ่านการฝึกหัดมาให้ข้มูล เลือกสถานที่และเวลาให้ถูกบริบท เตรียมผู้ป่วยให้พร้อมแล้วค่อยจัด session ดูเหมือนว่าครบจบหมดทุกวงจร ปรากฏว่าผู้ป่วยไม่เข้าใจหรือทำไม่เป็นทั้งหมดที่เตรียมมาสัมฤทธิผล = 0

ฉะนั้นถึงแม้ว่าเราจะทราบทฤษฎีการสื่อสารว่าด้วยการ optimize ผู้สื่อ ผู้รับ และบริบท น่ก็เป็นแค่เราพยายามจะ minimize risks ต่างที่จะ compromize การสื่อ แต่ ไม่ได้เป็นการ guarantee ว่าจะสื่อสำเร็จ 100% ถ้าเราคิดว่ากิจกรรมการสื่อสารชิ้นนั้นสำคัญ เราก็ต้องจัดมาตรการ "ทดสอบ" อีกขั้นตอนหนึ่งว่าการสื่อนั้นสำเร็จจริง

Failure of communication นั้น บ่อยครั้งที่ลามเป็น events หรือ consequences ที่ร้ายแรง เป็นเพราะว่าขาดการทดสอบการสื่อไป คิดว่าข้อมูลได้ถูกส่งต่อ แท้ที่จริงไม่ใช่ การ feedback ที่ยิ่งทำยิ่ง frustrate ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าเราไม่ทราบ หรือไม่คิด หรือไม่มีแม้แต่วิธี ที่จะตรวจสอบว่าที่เรา feedback ไปนั้น ข้อมูลสุดท้ายได้ตกไปสู่คนที่ต้องการหรือไม่ พอเราคิดว่า feedback ไปแล้ว ก็มีการคาดหวัง ยิ่งนานไปไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็ยิ่งโกรธ พาลคิดว่าการ feedback ไม่ work ดดยไม่ได้ตรวจสอบ "วิธี" (means) ว่ามีประสิทธิภาพเช่นไร

การสอบ oral examination ก็เหมือนกัน บ่อยครั้งที่ผู้สอบมีความรู้ดี แต่ด้วยความที่ไม่เคยฝึกการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ไปทะเลาะกับกรรมการสอบบ้าง ไปชวนคุยเล่นหวัวบ้าง ไปทำตัวคิกขุอาโนเนะไร้เดียงสาขบขันบ้าง หารู้ไม่ว่าข้อมูลที่ตกหล่นไปจากกระบวนการดังกล่าวนั้นอาจจจะมี sequelae ที่ไม่พึงประสงค์อยู่เยอะทีเดียว



Posted by : Phoenix , Date : 2004-05-08 , Time : 22:04:19 , From IP : 172.29.3.250

ความคิดเห็นที่ : 10


   ก็เช่นนั้นกระบวนการ feedback นี้ ผู้ที่ได้รับสารไปแล้วนั้น ก็ควรจะมีการแสดงให้เห็นว่าได้รับอย่างครบถ้วนแล้ว แทนที่จะให้ผู้สื่อนั้นต้องนั่งรอคอยและเกิดอารมณ์ขึ้น

แต่หากกระดานอภิปรายแห่งนี้ต้องการเป็นเพียงแค่สถานที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสาธารณชนด้วยกันแล้ว ก็ต้องเป็นหน้าที่ของผู้สื่อเองแล้วที่ต้องคอยตรวจสอบว่า สาร นั้นได้รับอย่างเข้าใจความหมายเดียวกันหรือไม่

เหมือนที่ผมเห็นการสนมนาระหว่าง คุณ Phoenix กับคุณ Death ในกระทู้ข้างบน นั่น ก็น่าจะต่างฝ่ายต่างตรวจสอบตนเองว่าสื่อผิดพลาดอย่างไร อีกฝ่ายจึงเข้าใจไปอีกทาง


Posted by : ArLim , Date : 2004-05-09 , Time : 00:50:36 , From IP : 203.157.95.11

ความคิดเห็นที่ : 11


   ใครควรจะเป็นผู้แสดงว่าข้อมูลได้รับส่งถ่ายไปครบถ้วนถูกต้องนั้นก็ขึ้นอยู่กับบริบทเช่นเดียวกันครับ

ถ้าคนให้ข้อมูลคิดว่ามันสำคัญมากที่จะต้องส่งข้อมูล ในกรณีนี้ผู้ให้ข้อมูลก็จะเป็นคนทดสอบ ตัวอย่างเช่น ถ้าโรงพยาบาลเราต้องการให้คุณภาพการให้ข้อมูลคนไข้ดีที่สุด พยาบาลหรือผู้ให้ข้อมูลจะต้องพยายาม verify ว่าคนรับรับถูกต้อง คงจะไม่ใช่ให้คนไข้ถามหมอถามพยาบาลว่าที่เขาเข้าใจนี้นี้นั้นเข้าใจถูกต้องหรือไม่ ในทำนองกลับกัน ถ้าผู้รับข้อมูลเป็นคนเห็นความสำคัญ เช่น เราไปสถานที่ราชการแล้วไปสอบถามขั้นตอนการทำกรอกแบบฟอร์มต่างๆ ตรงนี้คนถามจะต้องเป็นคน verify ว่าตนเองได้รับข้อมูลโดยเข้าใจถูกต้อง

ในกรณีอภิปรายนั้นแตกต่างกันเล็กน้อย

การอภิปรายมักจะตัดบริบทบางอย่างออกไปได้ เช่น การอภิปรายทาง academic บ่อยครั้งที่เราสามารถ assume ความสามารถในการเข้าใจศัพท์เทคนิกหรือเรื่องราวเบื้องหลังของหัวข้อที่กำลังอภิปรายกันอยู่ เช่น อภิปรายเรื่องการเรียนการสอนถ้ามีพื้นฐานทางแพทยศาสตร์ศึกษาทั้งสองฝ่ายก็จะดี หรืออภิปรายเรื่องเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ก็ควรจะนำข้อมูล factual data มาวิเคราะห์กัน เพราะลักษณะการอภิปรายแบบ academic นั้น เราไม่ใช้ anecdotal data (ข้อมูลจากประสบการณ์ส่วนตัว หรือความคิดส่วนตัว)

จะเห็นได้ว่า "ความเข้าใจผิด" ของ academic discussion นั้น จะแปรตาม (หรือ ควรจะแปรตาม) ข้อมูลและการวิเคราะห์ นั่นก็จะเป็นการอภิปรายที่ดี มีประโยชนืและสร้างสรรค์ ยิ่งโดยปกติเราสามารถตัดประเด็น deduction ที่ไม่ได้เป็นไปตารมตรรกศาสตร์ได้เกือบทั้งหมด ยิ่งไม่น่ามีปัญหา แต่ในกรณีที่คุณ ArLim ยกมานั้น จะเห็นว่าเราอยู่ใน phase declaration of meaning อยู่ (มีมากอย่างไมน่าเชื่อ!!!) คิดถึงการพูดในชีวิตประจำวัน ปกติเราไม่ต้อง declare ทุกประโยคใหม่ทันทีว่าเมื่อตะกี้พูดว่าอะไร หรือเมื่อตะกี้คุณพูดว่ายังงั้นใช่ไหม แต่ในกรณีของคุณ Death กับผมนั้น เรามีอะไรบางอย่างในการสื่อจริงๆ เพราะทั้งสองฝ่ายแทบจะการันตีได้ว่าไม่เข้าใจในครั้งที่หนึ่ง สอง หรือแม้กระทั่งสาม declarations

ที่สุดแล้ว ในการถกแบบ logic นั้น ที่ดีอย่างก็คือความหมายทุกอย่างมันจะถูกอธิบายไป word by word ทีนี้ตอนจบของการอภิปรายเราสามารถจะได้ภาพรวมที่เป็น finale ตอนนี้ที่เราสามารถจะตรวจสอบตรรกทั้งหมดได้อีกครั้งว่าจริงๆที่แต่ละฝ่ายเสนอมานั้น เรื่องราวที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เรื่องของเรื่องคือ การเขียนนั้นไม่มีการแสดงอารมณ์หรือน้ำเสียง ดังนั้นอาจจะมีการ slip ออกนอกตรรกได้ง่ายๆ ดังนั้นอย่างที่ผมเคยเน้นแล้วเน้นอีก อย่าใช้อารมณืในการอภิปราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอภิปรายทางศาสนา การเมือง ศรัทธาและความเชื่อ คนที่จะอภิปรายทางนี้ต้องมีความ mature ทางอารมณ์และบุคลิก สามารถควบคุมการแสดงออกได้อย่างอยู่ในขอบเขตของคน civilized เขาทำกัน



Posted by : Phoenix , Date : 2004-05-09 , Time : 19:19:11 , From IP : 172.29.3.238

ความคิดเห็นที่ : 12


   แล้วตกลงว่า ยังอยากให้ "กระดานอภิปราย" ทำหน้าที่เหมือน "ตู้รับความคิดเห็น" อยู่หรือเปล่าล่ะครับ

แต่ผมว่าไม่ค่อยเหมาะเท่าไหร่นัก เพราะเหตุผลของคุณ Phoenix ข้างต้นนั่นล่ะครับ



Posted by : ArLim , Date : 2004-05-12 , Time : 18:32:40 , From IP : ppp-210.86.223.221.r

ความคิดเห็นที่ : 13


   ถ้าถามว่า "อยาก" หรือไม่ ใครๆก็คงจะอยากให้มีเวทีแสดงความคิดเห็น ซึ่งจะไปถึงผู้บริหารได้แน่นอน แต่ความอยาก ความต้องการนั้นอยู่นอกเหนือความสามารถของผมครับ ผมไม่มีตำแหน่งใดๆ เป็นแค่เบี้ยอันหนึ่งเหมือนกัน

ถึงกระนั้นก็ตาม ระบบเราก็มี channel ที่จะ feedback อยู่หลายช่องอยู่แล้ว ที่ไม่ได้เปิดก้างเท่ากระดานข่าว แต่ก็พอทำได้ เช่น Incident report การประชุมฝ่ายการบริการของภาควิชา (ไม่แน่ใจว่ามีทุกภาคหรือไม่ ของภาคศัลย์จะมีทุกสองเดือน) การประชุมของหอผู้ป่วยต่างๆ (ไม่แน่ใจอีกเหมือนกันในรูปแบบและเป้าประสงค์) สำหรับแพทย์ประจำบ้านแพทย์ใช้ทุน เคยจัดแต่ไม่ work เพราะเขาอยากจะทำกันโดยไม่มี ID มากกว่า คือแบบกระดานข่าวหรือบัตรสนเท่ห์ (ซึ่งก็ไม่ work อยู่ดี)

อย่างที่ผมเรียนให้ทราบ ระบบการ feedback ที่ใช้การได้นั้น ของเรายังอยู่ในขั้นอนุบาล พิจารณาจากเจตคติและความต้องการแสดงออก คงต้องมีการช่วยๆกันปรับ ช่วยๆกันจูน ไปเรื่อยๆ มองโลกในแง่ดีไว้ว่าสักวันบัณฑิตเราจะทำได้เมื่อคนงานโรงงานในญี่ปุ่นที่สามารถมี constructive criticism ได้เป็นธรรมชาติทั่วทั้งประเทศ





Posted by : Phoenix , Date : 2004-05-13 , Time : 19:50:12 , From IP : 172.29.3.201

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.01 seconds. <<<<<