ความคิดเห็นทั้งหมด : 3

********** ทำไมวันนี้เราจึงต้องรณรงค์ปลูกป่าชายเลน **********




   ขอเชิญสมาชิกชมรมทัศนศึกษาและกิจกรรมสัมพันธ์ รวมทั้งบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ทุกท่าน
ร่วมโครงการปลูกป่าเชนเลนกับโครงการ "ลูกพระบิดา...รู้รักษ์ธรรมชาติ"
วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2556 ณ สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 38 ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร


Posted by : Book , Date : 2013-09-19 , Time : 12:25:55 , From IP : 172.29.27.140

ความคิดเห็นที่ : 1












   แล้วทำไมเราควรอนุรักษ์ป่าชายเลน
1) เป็นแหล่งพลังงานและอาหาร
2) เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ตามธรรมชาติ
3) เป็นเครื่องป้องกันแนวชายฝั่งทะเล
4) ควบคุมการกัดเซาะพังทลาย
5) ซับน้ำเสีย
6) เป็นแนวกำบังกระแสน้ำเชี่ยวที่ปากแม่น้ำและพายุหมุน
7) ทำฟืนเผาถ่าน ไม้จากป่าชายเลนโดยเฉพาะไม้โกงกาง นำมาทำฟืนและเผาเป็นถ่าน
8) ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือประมง เสารางแร่
9) ใช้เป็นสมุนไพรใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น เปลือกใช้ต้มน้ำรับประทานเป็นยาแก้ท้องร่วง คลื่นเหียนอาเจียน แก้บิดเรื้อรัง ต้นจากใช้ขับเสมหะ
10) การผลิตกรดจากเปลือกไม้ (tannin)
11) การทำเหมือนแร่ดีบุกในบริเวณป่าชายแดน
12) ให้ผลผลิตน้ำเย็นในระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม
13) ให้ผลผลิตมวลชีวภาพ (biomass) แก่แหล่งประมง
(ก) แหล่งประมงใกล้ชายฝั่ง
(ข) เป็นแหล่งพักอาศัยของลูกปลาและลูกกุ้ง และแหล่งอนุบาลตัวอ่อนเป็นแหล่งอาหารสำคัญในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น หอยแครง หอยแมลงภู่


Posted by : Book , Date : 2013-09-19 , Time : 12:32:24 , From IP : 172.29.27.140

ความคิดเห็นที่ : 2












   ความสำคัญของป่าชายเลน
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

ป่าชายเลนที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของโลกโดยธรรมชาติเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นที่รวมของพืชและสัตว์นานาชนิดแต่คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญและไม่สนใจกันอย่างจริงจังมาเป็นเวลานาน
ในระยะหลังป่าชายเลนได้ถูกบุกรุกเพื่อประโยชน์ใช้สอยกันมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดความเสียสมดุลทางระบบนิเวศอย่างมหาศาล เช่น
- การเข้าไปทำนากุ้ง
- การบุกรุกเข้าไปอยู่อาศัย บางแห่งถูกทำลายจนหมดสภาพป่าชายเลนอีกต่อไป
- สัตว์น้ำเศรษฐกิจหลายชนิดที่เราบริโภคลดเหลือน้อยลง

เพื่อช่วยกันปกป้องและดำรงไว้ให้มากที่สุด และถ้าจะมีการปลูกเสริมส่วนที่ถูกทำลายไปก็จะเป็นการดียิ่งขึ้น
ความสำคัญของป่าชายเลนสามารถแยกได้ดังนี้
1. ด้านป่าไม้
พันธุ์ไม้จากป่าชายเลนหลายชนิดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างบ้านเรือน ผลิตเครื่องมือการประมง เฟอร์นิเจอร์ และนำมาทำถ่านไม้ที่ให้ความร้อนสูง นอกจากนี้เปลือกของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนหลายชนิดยังมีสารแทนนิน ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายชนิด เช่น ใช้ย้อมอวน และนำไปใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ทำหมึก สี และกาวสำหรับติดไม้ เป็นต้น
2. ด้านการประมง
ป่าชายเลนเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน โดยเฉพาะปู กุ้ง หอย ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญรวมทั้งสัตว์น้ำอื่นๆซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหาร โดยเฉพาะปลาหลายชนิดที่เรานิยมบริโภค เช่น ปลากะพง
ปลาทะเลหลายชนิดที่วางไข่ในป่าชายเลน และอาศัยเจริญเติบโตในระยะแรก เมื่อเจริญเติบโตแข็งแรงดีแล้วจึงออกสู่ทะเล และหลายชนิดที่แม้จะวางไข่ในทะเลแต่ตัวอ่อนจะเคลื่อนย้ายสู่ป่าชายเลนเพื่ออาศัยหลบซ่อนศัตรู และหาอาหาร
3. ด้านการแพทย์
พันธุ์ไม้ป่าชายเลนหลายชนิดมีคุณสมบัติเป็นสมุนไพรใช้รักษาโรคต่างๆได้ ตัวอย่างคือ ต้นเหงือกปลาหมอ โพธิ์ทะเล สำมะงา โปรง ตะบูน แสมและโกงกาง เป็นต้น
4. ด้านการรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ
ป่าชายเลนมีบทบาทสำคัญในการป้องกันพื้นที่ชายฝั่งทะเลจากคลื่นลมแรงและการกัดเซาะดินได้เป็นอย่างดี ชายฝั่งทะเลบริเวณที่มีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์จะไม่ได้รับความเสียหายจากคลื่นลมแรงและพายุ
นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เชื่อมโยงกับระบบนิเวศใกล้เคียง คือระหว่างป่าชายเลนกับทะเล และระหว่างป่าชายเลน กับป่าบกมีสัตว์หลายชนิดที่อพยพไปมาระหว่างระบบนิเวศดังกล่าวได้

##### ที่มา : http://www.t2k.ac.th/noona/work%2010.html #####


Posted by : Book , Date : 2013-09-19 , Time : 12:38:13 , From IP : 172.29.27.140

ความคิดเห็นที่ : 3








   สามารถแจ้งชื่อเพื่อร่วมกันดูแลธรรมชาติ ได้ที่
คุณศิริภัสสร ชูช่วย หน่วยการจัดประชุม อาคารเรียนรวมและหอสมุดฯ
หรือ
คุณชญานิศ ทวีพล ฝ่ายบริการพยาบาล โทร.1661 ต่อ 111


หมายเหตุ
รับสมัครผู้ร่วมโครงการจำนวน 200 คน
- ผู้ที่สมัครภายในวันที่ 20 กันยายน มีขนาดเสื้อให้เลือก 4 ขนาด คือ
size S = 32x24, M = 36x26, F = 38x26, L = 42x28, XL = 46x28
- ผู้ที่สมัครหลังวันที่ 21 กันยายน จะมีเสื้อเพียง 2 ขนาดให้เลือก คือ
size F = 38x26 และ L = 42x28

สิทธิ์พิเศษ
สำหรับสมาชิกชมรมทัศนศึกษาและกิจกรรมสัมพันธ์ที่ร่วมโครงการ
จะได้รับเสื้อและ CD กิจกรรมเป็นที่ระลึกทุกท่าน (ฟรี)



Posted by : Book , Date : 2013-09-19 , Time : 12:53:24 , From IP : 172.29.27.140

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<