ความคิดเห็นทั้งหมด : 9

Debate LXIV: บัณฑิต


   ผมเคยสรุปไว้ครั้งหนึ่งและกล่าวอีกหลายครั้งว่าบัณฑิตคือ "ผู้ที่ถึงพร้อมซึ่งความรู้ความชำนาญในสาขา ผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม และผู้ที่ถึงพร้อมซึ่งการแสดงออกทั้งกายวาจาและจิตใจ" จำไม่ได้เหมือนกันว่าเอามาจากไหน และไม่เห็นใครคัดค้านหรือเห็นด้วยแต่อย่างใด

เลยอยากจะโยนคำๆนี้ลงมาบนโต๊ะให้สมาชิกสภากาแฟแห่งนี้ลองเปรียบเทียบนิยมนิยามของตนเองมาให้ฟังบ้าง ถ้าให้ดี อาจจะไปถึงให้ความเห็นว่าแพทย์เป็นหรือไม่เป็นบัณฑิต อย่างไร ทำไม และ เพราะอะไร

กฏเดิมๆ Be Mature, Be Civilized, and Be Positive



Posted by : Phoenix , Date : 2004-04-06 , Time : 23:54:17 , From IP : 172.29.3.243

ความคิดเห็นที่ : 1


   ถ้าจะให้พูดโดยรวมว่าแพทย์เป็นบัณฑิตหรือไม่คงจะตอบยากเพราะเป็นองค์รวมเกินไป และถ้าจะให้วิเคราะห์เป็นรายปัจเจกบุคคลก็คงยากเช่นกัน เพราะแต่ละคนย่อมมีความต่างแน่นอน โดยเฉพาะพื้นฐานที่มีมาจากการเลี้ยงดู ไม่ว่าจะเป็นระบบคุณค่า หรือ superego ระบบการเรียนการสอนหรือระบบการดูแลพิเศษที่มีใช้กันอยู่คงเป็นเพียงแค่ต่อยอด หรือกล่อมเกลาสิ่งที่เขาพึงมีมาอยู่แล้วให้เป็นรูปร่างที่ควรจะเป็น หรือถ้าเราจะปรับเปลี่ยนเขาคงได้มากสุดก็เพียงครึ่งนึงจากของเดิมมั้งซึ่งก็เป็นงานยากพอควร และคงทำให้ได้ตามมาตรฐานคุณภาพบัณฑิตตามที่กล่าวไว้
แต่มาตรฐานที่กล่าวมานี้เป็น abstractเกินไป ตัววัดของคำว่าชำนาญคงไม่ยากก็ตามมาตรฐานวิชาชีพ ก็คงไม่พ้นเรื่องความรู้ cognition and skill แต่ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และถึงพร้อมซึ่งการแสดงออกทั้งวาจาและจิตใจเนี่ยสิ เราจะเอาอะไรเป็นบันทัดฐาน นอกจากสิ่งที่เราถนัดใช้กันมากที่สุดคือ"บรรทัดฐานจากตัวเรา" ซึ่งก็คง bias น่าดู


Posted by : pisces , Date : 2004-04-07 , Time : 09:32:10 , From IP : 172.29.3.211

ความคิดเห็นที่ : 2


   งงงงคำว่าถึงพร้อมน่ะครับ บัณฑิต ตามนิยามของคุณนกไฟ คงไม่ได้รวมเฉพาะผู้ได้รับปริญญา "บางส่วน" เท่านั้น แต่รวมถึงใครก็ได้ ชาวบ้าน เกษตรกร พระสงฆ์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมดดยนำความรู้ความชำนาญไปเผยแพร่เทือกนั้น แล้วถ้าแพทย์จบใหม่ ยอมจ่ายเงินไม่ใช้ทุน เปิดคลินิกส่วนตัว จะเรียกว่าบัณฑิตได้ไหมหนอ
ปล. บัณฑิต bandit=โจร
คมทวน คันธนูเคยเขียนไว้ว่า
"การศึกษาถ้านั่งแต่ในหอ
ชะแง้คอคิดแค่เห็นแก่ได้
ปริญญายื่นหยิบนับสิบใบ
ก็เพียงใช้เช็ดก้นให้ตนเอง"



Posted by : ajv , Date : 2004-04-07 , Time : 11:08:35 , From IP : r6-nrtMT1.S.loxinfo.

ความคิดเห็นที่ : 3


    แต่เดิมเราเชื่อว่าเมื่อลูกเราเป็นอย่างไร ย่อมหมายถึงว่าพ่อและแม่เป็นเช่นนั้น อุปมาอุปมัยว่าถ้าบัณฑิตที่จบมาเป็นอย่างไร มันก็หมายถึงตัวผู้สอนได้หรือไม่
ในประเด็นนี้ถ้าเราคิดว่าแพทย์ไม่ใช่บัณฑิต แล้วตัวผู้สอนหล่ะ.........
แต่คิดว่าบทสรุปแบบนี้อาจไม่จริงทั้งหมด เพราะตัวบัณฑิตเองมีตัวตนเป็นมาอย่างไร ก็จะเลือกรับ role model ของอาจารย์ที่สอดคล้องกับพื้นเดิมที่ตนเองมีอยู่เพราะมันmatchกันได้ง่ายกว่า ส่วน role model ของอาจารย์ที่มีอยู่ก็หลายหลาก ทำให้บัณฑิตที่จบไปก็หลายหลากเช่นกัน ทำให้คำว่า "ถึงพร้อมซึ่ง................" นั้นกินความได้กว้างนัก และเราอาจกำหนดได้แต่เพดานความถึงพร้อมขั้นต่ำสุดได้ แต่กำหนดจุดสูงสุดนั้นไม่ได้
แต่อย่างไรก็ตาม ทุกคนก็ยังคงเป็นบัณฑิต แต่เป็นในลักษณะที่ heterogenous กันไป ไม่มีทางเป็น homogenous personalityได้แน่นอน ก็คงเป็นแบบเดียวกับคนในกระดานข่าวแห่งนี้แหล่ะ ซึ่งผลของความต่างแบบสุดขั้วก็ทำให้ภาพของบัณฑิตในองค์รวมดูดีมีสีสันดีนะ



Posted by : pisces , Date : 2004-04-07 , Time : 11:38:52 , From IP : 172.29.3.148

ความคิดเห็นที่ : 4


   "บัณฑิต" ตามที่ผมคิดไม่ได้มาจากมหาวิทยาลัยอย่างเดียวครับ และคงไม่ใช่คำๆเดียวกับ bandit ด้วย ถ้าจะเรียกพวกที่ไปยืนฟังนั่งฟังครูอย่างอริสโตเติล โสเครติส หรือเพลโต คนที่ศึกษาธรรมเช่น เจ้าชายสิทธัตถะ เล่าจื๊อ ขงจื๊อ คนที่บำเพ็ญธรรมปฏิบัติ เช่น แม่ชีเทเรซา คานธี ท่านเหล่านี้น่าจะเป็น role model ของบัณฑิตได้ไม่แพ้ professor อย่าง Newton Einstein หรือ Hawking

ใครจะลองให้นิยามดูก็ได้ว่าบัณฑิต หรือ คนที่จะจบอุดมศึกษา น่าจมีคุณสมบัติอะไร

ทำไมต้องมีนิยมนิยามด้วย?

คำจำกัดความเหล่านี้มีประโยชน์สองอย่างครับ หนึ่งคือเพื่อวางแผนจัดการให้ประสบความสำเร็จ และสองคือเพื่อการประเมินการวัด ถ้าเราไม่ได้ตั้งหุ่นในอุดมคติไว้ เราก็ไม่มีแผนจะปั้น จะชี้นำ จะชักชวน ถ้าเราไม่ได้กำหนด criteria ว่าสำเร็จคืออะไร ล้มเหลวคืออะไรไว้ก่อน เราก็จะวัดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลไม่ได้

ยอมรับว่าของบางอย่างวัดยาก แต่ถ้าเราวัดเฉพาะที่วัดได้เจ๋งๆ คือหมวดหนึ่งได้แก่ความรู้ความชำนาญในสายอาชีพ ผมว่าเราจะเจอปัญหาเรื่อง EQ จากคนที่มี IQ สูง และวัฒนธรรมวัตถุนิยมจะลุกลามจนเกินแก้ ใส่เอาไว้ก่อน อย่างน้อยเราจะได้ใส่ใจใส่มันไว้ในแผนว่าเราจะทำอย่างไรกับนักเรียนนักศึกษาเราดี จะหาทางประเมินยังไงดี ถ้าไม่ใส่ไว้เราจะลืมจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ ถ้าไม่ใส่ไว้เราจะไม่ได้ประเมินในเรื่องนั้นๆ

แล้วเราอาจจะต้องมานั่งถกกันเรื่องปัญหาหมอขาดจริยธรรม หมอไม่มี professionalism (กันอยู่ในขณะนี้ รึเปล่า?)



Posted by : Phoenix , Date : 2004-04-07 , Time : 16:21:42 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 5


   คุณสมบัติทั้งสามข้อที่ผมให้มานั้น ไม่น่าจะถึงกับทำให้เกิด homogenous personality ของบัณฑิตขึ้นมาได้หรอกครับ คุณ Pisces

ขอเรียกว่าเป็น generic properties ของ scholar ก็แล้วกัน ไม่เชื่อลองตัดอันใดอันหนึ่งออกแล้วนึกภาพกลุ่มพวก disable ของคุณสมบัติทั้งสามดู ยังมี traits อื่นๆอีกมากมายที่ทให้บัณฑิตมีความหลายหลาย มีสีสัน โดยคงไว้ซึ่ง generic functions ทั้งสาม

หรือจะลองให้นิยามบัณฑิต versions ต่างๆมาดูกันก็ได้ครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-04-07 , Time : 18:39:03 , From IP : 172.29.3.222

ความคิดเห็นที่ : 6


   อยากจะลองสร้างบัณฑิตแบบทำให้คุณสมบัติเบี้ยวทีละอย่างดูนะคุณPhoenix

1 มีความรู้ความชำนาญระดับดีถึงดีมาก ความรับผิดชอบต่อ...ดีทุกด้าน แต่กายไม่งาม แต่งกายไม่ค่อยเหมาะสม พูดจาไม่ไพเราะแบบขวานผ่าซาก หยาบคายหน่อย ส่วนจิตใจถ้าจะให้เป็นแบบไม่ดีคงขัดกับเรื่องความรับผิดชอบดี งั้นขอให้เป็นใจงามก็แล้วกัน แบบนี้คงพอถูไถยอมรับได้ไหม ถ้าส่งเข้าcourseอบรมสอนเรื่องคุณสมบัติการวางตัวแบบต่างๆของแบบ John Robert Powerคงจะทำให้ดูงดงามขึ้นได้นะ แต่มันจำเป็นหรือ
2 ความรู้น้อยไม่เก่งเอาเสียเลย สอนไปก็เหนื่อย แต่ความรับผิดชอบดีเยี่ยมในทุกๆด้าน ใส่ใจทุกคน มารยาทดี กริยางดงาม แต่งกายดี พูดจาไพเราะ จิตใจงาม (เป็นแบบฉบับผู้หญิงในฝันของผู้ชายบางกลุ่มหรือเปล่าเนี่ย) แบบนี้คงเป็นเด็กน่ารักดี และน่าสงสาร สมควรที่จะต้องได้รับการทะนุทะนอมมากหน่อย อาจเข้าใจอะไรช้า แต่ถ้าค้นหา learning style ของตนเองได้ อาจทำให้เรียนเก่งขึ้นได้ไม่ยาก จบออกไปถ้าค้นหางานที่ตรงกับ style ตนเองพบ คงไม่น่าจะเป็นปัญหาอยูรอดได้
3 ความรู้ดีมากฉลาด หน้าตาดี (อาจารย์ชอบ) พูดจาไพเราะ แต่ไม่มีความรับผิดชอบ กระล่อน หลบหลีกเก่ง ไม่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น จริยธรรมเบี้ยว ซึ่งก็คงไม่น่าจะมีจิตใจงามนะ แหมประเภทนี้แหละคงน่ากลัวสุดๆ เพราะจับโกหกได้ยาก เพราะไม่รู้ว่ากำลังถูกโกหก หน้าตาก็น่าเห็นใจ พูดอะไรก็น่าเชื่อถือ ฟังแล้วเคลิบเคลื้ม ถ้าจบออกไปก็คง......น่ากลัวที่สุด แบบนี้แก้ไขยาก อย่าให้มาเป็นบัณฑิตเราได้ไหมเนี่ย
แต่ที่สำคัญน่าลองวิเคราะห์ตัวเราเองด้วยนะว่าเป็นแบบไหน...จะดีไหมน่ะคุณPhoenix


Posted by : pisces , Date : 2004-04-07 , Time : 20:12:21 , From IP : 172.29.3.247

ความคิดเห็นที่ : 7


   แบบที่หนึ่งนั้น "เสี่ยง" ต่อการถูกฟ้องร้องในยุคที่ "communication skill" ที่กลายเป็น "communication failure" นี้นั้น ราคาอาจจะ "แพง" มากก็ได้ ในบรรดาคุณสมบัติทั้งหลายแหล่ของ professionalism ของอาชีพแพทย์ ตัวที่จะมีผลต่อ "doctor-patient relationship" มากที่สุดคือความชำนาญในการแสดงออก และความสอดคล้องของการแสดงออกกับสิ่งที่คิด

แบบที่สอง ตัวอย่างเบี้ยวไปจากโจทย์ครับ ไม่ได้หมายถึงคนที่มี style การเรียนแต่แค่ "ยัง" หาไม่ได้ จริงๆพวกนี้อาจจะ "อันตราย" ต่อผู้ป่วย เพราะความรู้ทางอาชีพนั้นเป็น "พื้นฐาน" เบื้องต้น เป็นต้นทุน หากขยันรักษาแต่รักษาผิดรักษาถูก อาจจะเพิ่มความเสี่ยงซะมากกว่าคนที่ไม่รู้แต่ขี้เกียจซะอีก

แบบที่สาม "หมอไร้ความรับผิดชอบ" นั้นน่ากลัวมากแน่นอนอยู่แล้ว

ส่วนเรื่องการวิเคราะห์เองนั้น ไม่ต้องเป็นบัณฑิตก็เป็นสิ่งที่พึงกระทำอยู่แล้ว บางครั้งอาจจะต้องอาศัย "กระจก" คือมุมมองจากคนอื่นบ้าง เพราะการวิเคราะห์ตนเองไม่ใช่ของง่าย ปลายจมูกเราเองนั้นไม่เคยมองเห็นได้ชัดฉันใดก็ฉันนั้น

ทีนี้เราจะยอมให้คนประกอบอาชีพนี้ "ถูไถ" จบออกมามากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กร ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมความคิดของสมาชิกในองค์กรนั้นๆ ผมเคยเปรียบเทียบไว้ครั้งหนึ่งนานมาแล้วว่า หมอกับครูนั้น share คุณสมบัติอย่างหนึ่งที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ คือ "optimism" หมอนั้นต้องมองโลกในแง่ดี และคิดว่าคนไข้น่าจะ improve ขึ้นมาได้ และตนเองสามารถมีบทบาทที่จะผลักดันให้เกิดสิ่งนั้นขึ้นมา ไม่ว่าจะรักษาเองหรือกระเสือกกระสนส่งไปหาคนที่เก่งกว่าเรา ครูนั้นต้องมองโลกในแง่ดี คิดว่าเด็กทุกคนนั้น พัฒนาได้ เรียนรู้ได้ และข้อสำคัญคือ ตนเองมีบทบาทในการที่จะผลักดันสิ่งนั้นให้เกิด เพราะเหตุนี้ "ครูแพทย์" นั้นเป้นสิ่งที่ประสานกันดี ต่างกันนิดหน่อยคือถ้าหมอพลาดคนไข้คนนั้นอาจจะพิการหรือเสียชีวิต ส่วนถ้าครูพลาดเราอาจจะได้ฆาตกรที่ยังมีชีวิตปฏิบัติงานอยู่อีกนาน และเพิ่มผลผลิตต่อๆไปอีกหลาย generations



Posted by : Phoenix , Date : 2004-04-07 , Time : 21:44:17 , From IP : 203.155.144.26

ความคิดเห็นที่ : 8


   ที่อยากให้ลองพิจารณาถึงตัวเราเป็นหลัก ว่าเราจัดเป็นพวกที่มีgeneric functionครบทั้งสามด้านแบบ complete หรือไม่ มีเหตุผลอย่างเดียวที่คิดออกคือ ตัวเรามักจะพอใจคนอื่นๆที่มีมุมคล้ายๆกับตัวเรา นศ ก็เช่นกันมักเลือกรับหรือเลียนแบบพฤติกรรมอาจารย์ที่เหมือนตนหรือตามที่ตนพอใจและศรัทธา ในทางกลับกันอาจารย์ก็มักพึงพอใจ หรือ ถูกชะตาลูกศิษย์ในแบบเดียวกัน ซึ่งเรื่องแบบนี้อาจเกิดโดยไม่รู้ตัว
ดังนั้นการให้ความสำคัญกับขบวนการคัดเลือกอาจารย์และนศ จึงเป็นเรื่องที่ดี เพราะถ้าต้นแบบเป็นอย่างไร ผลผลิตก็น่าจะเป็นแบบนั้น ยกเว้นเสียแต่ลูกศิษย์บางพวกคือ ลูกศิษย์ที่คิดแหวกแนว คิดคดไปจากอาจารย์ ซึ่งอาจารย์ควรจะยอมรับการไม่ยอม identify ของศิษย์แบบนี้ถ้าเขายังคงgeneric functionขั้นพื้นฐานไว้ เพราะอาจเป็นเรื่องที่ดี ทำให้วงการเราก้าวหน้าได้มากกว่าที่เป็น จากความต่างที่มีอยู่


Posted by : pisces , Date : 2004-04-08 , Time : 20:19:04 , From IP : 172.29.3.227

ความคิดเห็นที่ : 9


   เห็นด้วยว่าประเด็นเรื่องเลียนแบบหรือ role model นี้เป็นเรื่องสำคัญ

ที่น่าสนใจคือโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากว่ากันถึงเรื่องบุคลิก "ด้อย" หรือ "บกพร่อง" แล้ว ยิ่งจะถูกเลียนแบบได้ง่ายและรวดเร็วกว่าไอ้ที่เราพูดกันว่าควรจะเลียนแบบซะอีก

ในมหาวิทยาลัย บรรยากาศที่อาจารย์จะทรงคุณวุฒิและรู้มากกว่านักศึกษานั้น ผมว่ายังดีอยู่พอสมควร Domain นี้เป็น Domain ที่ทุกมหาวิทยาลัยจะรักษามาตรฐานไว้ง่ายที่สุด มองเห็นได้ชัดที่สุด คือความเป็นเลิศทางวิชาการ ตรงนี้วัฒนธรรมขององค์กรมีส่วนช่วยคนที่ทำงานอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม conferences ต่างๆ การที่มีภาระหน้าที่เป็นวิทยากร จัดประชุมวิชาการ ฯลฯ ดังนั้นนี่คือข้อได้เปรียบเรื่องความสะดวกในการรักษาสถานภาพด้านนี้และดันไปข้างหน้า

แต่ที่ผมยกอีกสอง domains มาคือเรื่อง "ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม" กับ "ความงามในการแสดงออกทางกายวาจาใจ" นั้นต่างหากที่จะเป็น real challenge ของสถาบันอุดมศึกษา เดี๋ยวนี้การขอให้พูดจาสุภาพ ไม่ไป้ปด ส่อเสียด ก้าวร้าวหยาบคาย ก็จะเป็นการขอที่ "มากเกินไป" แล้ว (รึเปล่า?) สำหรับว่าที่บัณฑิตหลังยุค Y2K และเป็นไปได้ที่ลูกศิษย์ก็จะเลียนแบบและเดินตามหลัง "แม่ปู" ผู้มีความลำบากในการเป็นผู้นำร่อง หรือ "แม่พิมพ์" ในทั้งสองด้านนี้? หรือ role model ที่มีอยู่จะถูกมองเป็นว่า "อยู่ในโลกเสแสร้ง" ไม่เป็นความจริง ใครๆก็ไปกันถึงโลกพระอังคารกันแล้ว ยังจะให้มาคลานศอก คลานเข่า เคารพนับถือกราบไหว้ครูกันอีกหรือ กะอีแค่ลูกจ้างมหาวิทยาลัยให้มาสอนเนี่ย? มีคนอธิบายว่าบางอย่างนั้นทำให้เขารู้สึกว่าเป็นคน "ดีเกินไป"

คุณค่าเก่าๆของเรามีหลายต่อหลายอย่าง ที่ผมว่าตะวันออกเหนือกว่าตัวันตกเห็นจะเป็นความเคารพนับถือผู้เฒ่าบรรพบุรุษ แต่ตะวันตกอาจจะเชือดเอนเราตรงเรื่อง "ความรับผิดชอบ และความเป็นผู้ใหญ่" นี่แหละ หากเราดึงเอาจุดเด่นของทั้งสองขั้วออกมาได้ก็น่าจะดี กลัวแต่ดึงไปดึงมาเอาแต่จุดด้อยมาใช้เท่านั้นเอง



Posted by : Phoenix , Date : 2004-04-08 , Time : 20:50:47 , From IP : 203.155.144.26

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.009 seconds. <<<<<