ความคิดเห็นทั้งหมด : 7

งานวิจัย


   เคยมีคนพูดว่า หากไม่คิดที่จะทำวิจัยก็ไม่ควรอยู่ ณ ที่นี่ คณะน่าจะออกกำมาเลยนะคะว่า หากคุณไม่ทำวิจัยเอาเวลาส่วนใหญ่ไปบริการ คุณก็จะโดนเชิญออก ดิฉันว่าจะทำให้เกิดความสบายใจกับทุกท่านทันทีที่จะลาออกไปเลย

Posted by : งานวิจัยสำคัญกับอาจารย์นะ , Date : 2004-03-30 , Time : 15:18:33 , From IP : 172.29.1.154

ความคิดเห็นที่ : 1


   ทำไม มอ. ไม่มี ศ.คลินิก บ้างนะ

Posted by : เบื่อวิจัย , Date : 2004-03-30 , Time : 15:27:19 , From IP : 172.29.2.160

ความคิดเห็นที่ : 2


   การสังเคราะห์เรียบเรียงองค์ความรู้นั้นเป็นสิ่งจำเป็นไม่เฉพาะในสถาบันทางวิชาการ แม้แต่สถานบริการทางสาธารณสุขซึ่งเน้นงานบริการเป็นหลัก งานวิจัยเพื่อพัฒนา ยังเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้
.
สำหรับสถาบันการศึกษา ศักยภาพในการสร้างองค์ความรู้ เป็นดัชนีชี้ความสามารถในการแข่งขันประการหนึ่ง และในฐานะองค์กรซึ่งเป็นที่พึ่งทางวิชาการของชุมชน การวิจัยเพื่อตอบปัญหา และหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การบริหารทรัพยากร กระทั่งความสามารถในการพึ่งตนเองทางวิชาการในที่สุด
.
ในเชิงพาณิชย์ งานวิจัยนำมาซึ่งการครอบครองความรู้และเทคโนโลยีครับ ผมเคยคุยกับนักศึกษาปากีสถานท่านหนึ่งบนรถไฟ แกบ่นว่าแกไม่รู้จะหอบลูกเมียมาเรียนต่างประเทศทำไม แกไม่แน่ใจว่า ทักษะการทำวิจัยระดับอณูจำเป็นสำหรับประเทศแกไหม ผมบอกแกว่า หากไม่คิดที่จะเริ่ม ประเทศอย่างกูกะมึง ก็คงต้องซื้อเทคโนโลยีเขาใช้ทั้งชาติ ผมอาจจะคิดแบบดอน กิโฮเต้ แต่ผมเชื่อในความสำคัญของการทำงานวิจัยครับ
.
ด้วยมโนทัศน์ข้างต้น ผมจึงเห็นต่างจากอาจารย์ว่าเราจะห่างเหินงานวิจัยไปได้อย่างไรในยุคของการศึกษาแบบอิงการบรรยาย หากไม่มีงานวิจัย อาจารย์เป็นแค่ คนอ่านก่อน ซึ่งคอยแปลความรู้ของฝรั่งเขียนลงบนแผ่นใสมาเล่า และยิ่งในยุคที่เราส่งเสริมให้นักศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง หากเราไม่หาญเข้าไปสู่ส่วนหน้าสุดของความรู้ที่เราจะหยิบมาสอน บทบาทของเราจะอยู่ตรงไหนล่ะครับ หากจะบอกว่าก็มาจากประสบการณ์การดูคนไข้อย่างสัมบุกสัมบัน evidence ระดับ 6 ที่ว่านั่นจะต้องถูกเรียบเรียงเป็นระดับ 5 ให้ได้สิครับ และเมื่อระดับ 5 มีจำนวนมากเข้า เราจะต้องประมวลและพัฒนาขีดความสามารถในการสังเคราะห์องค์ความรู้มาเป็นระดับต้นกว่านั้นให้ได้
.
วัฒนธรรมการทำวิจัย จึงควรผลักดันให้เป็นงานหลัก มิใช่งานอดิเรกของอาจารย์แพทย์ครับ ผมมีความเห็นตรงข้ามกับอาจารย์ตรงที่ผมเห็นว่าอาจารย์ที่รักชอบงานวิจัย ถูก recognize และให้การสนับสนุนน้อยเกินไปด้วยซ้ำ งานบางอย่างเช่นงานสอน การเป็น facilitator การออกชุมชน ถูกหารให้เท่ากัน เพื่อไม่ให้มีการเสียเปรียบ แต่ในปัจจุบันการผลักดันให้ทำงานวิจัยยังไม่ได้เคร่งครัดเช่นนั้น มีเพียงกรอบกว้างสำหรับอาจารย์ใหม่ อีกประการการทำงานวิจัยล่วงเวลาไม่ได้รับค่าตอบแทนนะครับ ไม่เหมือนการออกตรวจนอกเวลาราชการ การผ่าตัดนอกเวลาราชการ ฯลฯ
.
ปัญหาสำคัญของงานวิจัยในคณะของเราคือความไม่สมดุลย์ระหว่าง นักวิจารณ์กับนักวิจัย ขยายความคือความเข้มแข็งของหลักสูตรระบาดวิทยาคลินิกผลักดันให้เกิดความเข้มแข็งภาควิจารณ์ ในขณะที่ส่วนงานวิจัยอื่นเช่นงานวิจัยทางคลินิก งานวิจัยทางห้องปฏิบัติการยังตามไม่ทัน ส่วนหนึ่งเพราะวัฒนธรรมการวิจัยยังไม่เกิด
.
งานวิจัยส่วนใหญ่ของบางภาควิชาในปีที่ผ่านมายังเป็นงานประเภท โรค aaaa หรือการผ่าตัด bbbb ประสบการณ์ 20 ปีในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ไม่ใช่ว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ดีครับ เป็นเรื่องที่ต้องสนับสนุนให้ทำให้รวบรวม ให้ establish เป็นฐานข้อมูลทุกหัวระแหงด้วยซ้ำ แต่เราคงไม่สามารถตีพิมพ์งานเหล่านี้ทุกปีหรือสองปีด้วยการเปลี่ยนหัวข้อเป็น ประสบการณ์ 22 ปี ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ประสบการณ์ 23 ปี ฯลฯ แรงผลักดันด้านปริมาณจาก KPI จะทำให้งานวิจัยประเภทนี้ถูกผลิตออกมามากครับ และด้วยปริมาณที่มาก ต่อไปนักวิจัยจะหลีกออกไปทำงานในระดับถัดไป โดยมีข้อแม้คือระบบและการสนับสนุนพร้อมที่จะรองรับ
.
คณะเตรียมพร้อมการต่อยอดงานวิจัยในระดับต่อไปที่จะเกิดในระยะ 5-10 ปีข้างหน้าอย่างไร จึงเป็นคำถามที่น่าสนใจครับ การส่งอาจารย์ทั้งภาคไปเรียนระบาดวิทยาก็ไม่แน่ว่าจะผลักให้ปริมาณและคุณภาพของงานวิจัยในยุคถัดไปก้าวหนีตัวเองไปได้ หากการสนับสนุนทางด้านทุน อุปกรณ์ ไม่รองรับ การสร้างงานในระดับสากลนั้นใช้เงินมากครับ ทั้งค่าอุปกรณ์ ค่าแรง ค่าตีพิมพ์ เรียกว่าถ้าเงินไม่ถึง และระบบไม่คล่องตัว ก็ไม่ต้องทำดีกว่า เพราะในขณะที่งานของเรายังอยู่ระหว่างห้าเดือนของการพิจารณางบประมาณ เราก็อาจจะเห็นไอเดียเดียวกัน ตีพิมพ์ไปแล้ว หรือหากนักวิจัยจะต้องเสียค่าตีพิมพ์ผลงานละหมื่นหว่าบาทสองสามงานต่อกันแล้วไม่ได้รับการช่วยเหลือเลย นักวิจัยก็อาจจะต้องกลับมานอนก่ายหน้าผากว่าจะเอาเงินไปซื้อทีวีจอแบนดีกว่าไหม


Posted by : Shonigega , Date : 2004-03-30 , Time : 20:48:06 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 3


   เพราะยังงี้นี่เอง คณะแพทย์มอ.ถึงยังสู้ที่อื่นไม่ได้ ถ้าอาจารย์ไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย ก็ลาออกไปเปิดคลินิกเถอะครับ อย่ากินเงินหลวงอยู่เลย
ใครสนใจ ว่างๆ ก็หาตำรางานวิจัยของ อ.ธีระ ประเสริฐสรรพ์ก็ได้มาอ่านดู จะได้โผล่หัวออกมาจากกะลาเสียบ้าง ลองมาดูแนวคิดของ นิธิ เอียวศรีวงศ์
นิธิ : การที่มหาวิทยาลัยไม่รู้จักชุมชนก็เพราะเหตุว่า การเรียนการสอน การวิจัย การบริการชุมชน การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลายเป็น 4 ด้านที่ไม่เชื่อมโยงต่อกัน เราสอนหนังสือโดยมาจากฐานของการวิจัยน้อยมาก เราสอนหนังสือโดยการนำเอาความรู้สำเร็จรูปมาจากต่างประเทศมาสอนต่างหาก ไม่ได้มาจากการวิจัยที่ลงไปสู่ชุมชน ทีนี้ถ้าจะมีการวิจัยเพื่อเป็นฐานการสอน ประเด็นหัวข้อการวิจัยมันจะต้องมาจากสังคมเราเอง จะมาจากประเด็นของสังคมเราเองได้ก็ต้องมาทำความรู้จักสังคมตนเองทุกระดับ แล้วนำเอาปัญหาของสังคมเราเองขึ้นไปเป็นหัวข้อการวิจัย แล้วนำเอาผลของการวิจัยไปสู่การเรียนการสอน

ถ้ามันวนกันอยู่อย่างนี้ มหาวิทยาลัยก็จะเริ่มสั่งสมความสามารถที่จะให้คำตอบบางอย่างแก่คนกลุ่มต่างๆในสังคมได้มากขึ้น แต่ถ้าคุณแยกกันแบบนี้ก็ไม่มีทางที่จะให้คำตอบอะไรได้ แล้วในที่สุดถ้าถูกผลักดันให้ทำการวิจัยมากขึ้น คำถามที่ได้มาจะเป็นคำถามที่ค่อนข้างลอยๆ อาจจะเป็นคำถามที่มาจากเมืองฝรั่ง เช่นอย่างที่อาจารย์ชัชวาล ปุญปัน เคยพูดว่า ในทางฟิสิกส์เกี่ยวกับเรื่องวัสดุศาสตร์ แทนที่คุณจะดูเรื่องของวัสดุที่นำมาทำชิพคอมพิวเตอร์ ซึ่งมันก็เป็นปัญหาของฝรั่งมากกว่าเป็นปัญหาของเรา คุณอาจจะไปดูวัสดุอื่นๆแทน เช่นเป็นต้นว่า วัสดุที่คุณจะสามารถทำผานไถได้ในราคาถูกสำหรับเกษตรกร อย่างนี้ก็ได้ถูกไหมครับ แต่คุณไม่ค่อยได้คิดถึงสิ่งที่มันจะตอบปัญหาจริงๆของสังคมไทย

สรุปให้เหลือเข้าใจง่ายๆก็คือ มหาวิทยาลัยจะต้องทำวิจัยให้มาก วิจัยในที่นี้ไม่ได้หมายถึงวิจัยแบบ สกว. ซึ่งจะต้องมีแบบฟอร์มแบบนั้น แต่หมายถึงมหาวิทยาลัยจะต้องตั้งคำถาม จะต้องสืบค้น จะต้องตรวจสอบฐานข้อมูลของตนเองให้ดีๆ แล้วหาข้อสรุปออกมาในปัญหาต่างๆของสังคมตัวเอง มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมตัวเอง อันนี้สังคมบางทีมองไม่เห็น เราจะต้องมองเห็นว่าได้เกิดอะไรขึ้นในสังคม แล้วพยายามที่จะตอบปัญหาเหล่านั้น แต่จากสังคมเราเอง ไม่ใช่จากการนำเอาความรู้สำเร็จรูปมาจากภายนอก อันนั้นจะไม่ตอบปัญหาอะไรเลย

ที่ผมพูดว่า"สร้างความรู้"คืออันนี้ เป็นกระบวนการอันหนึ่งในการสร้างความรู้ ก็คือการวิจัยนั่นเอง แต่ว่าวิจัยในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นการพยายามจะตอบคำถาม ไม่ได้หมายถึงการทำตามแบบฟอร์ม ซึ่งรวมถึงการสอนด้วย การสอนต้องสอนในลักษณะเป็นเชิงการวิจัย คือมีคำถาม และช่วยกันพยายามที่จะหาคำตอบนั้น ไม่ใช่การให้คำตอบสำเร็จรูป

นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคต้องการคนประเภทหนึ่งในการบริหารงาน และจัดการด้านบริการทางการแพทย์ ถามว่ามหาวิทยาลัยสร้างความรู้อันนี้ขึ้นมาไหม? คณะแพทย์สร้างขึ้นมาไหม? คณะสังคมศาสตร์สร้างขึ้นมาไหม? ไม่ได้สร้าง. เวลานี้คุณอยากจะหาความรู้เรื่อง 30 บาท คุณต้องไปหา TDRI ทำไมไม่มาหามหาวิทยาลัย เพราะในมหาวิทยาลัยมันไม่มี ไม่มีความรู้ในเรื่องนี้เลย ที่ผมเรียกว่าสร้างความรู้คืออันนี้






Posted by : เวทนา , Date : 2004-04-01 , Time : 09:23:28 , From IP : p3-nrtMT1.S.loxinfo.

ความคิดเห็นที่ : 4


   ดูจุฬาเขาบ้าง
นโยบายวิจัย > :: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนโยบายเพื่อตอบสนองพันธกิจในการบุกเบิกองค์ความรู้และบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม โคยการสร้างความเชื่อมโยงและร่วมมือกับประชาคมทุกระดับ โดยมุ่งหวังว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะมีสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย (Research University)
ในแผนพัฒนา ฉบับที่ 9 มหาวิทยาลัยมีนโยบายส่งให้มีศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อใช้เป็นกลไกสำคัญในการนำมหาวิทยาลัยไปสู่สถานภาพทางการพัฒนาองค์ความรู้และงานวิจัยอย่างต่อเนื่องให้กับสังคม
เหลียวมาดู มอ.
เคยมีคนพูดว่า หากไม่คิดที่จะทำวิจัยก็ไม่ควรอยู่ ณ ที่นี่ คณะน่าจะออกกำหนดมาเลยนะคะว่า หากคุณไม่ทำวิจัยเอาเวลาส่วนใหญ่ไปบริการ คุณก็จะโดนเชิญออก ดิฉันว่าจะทำให้เกิดความสบายใจกับทุกท่านทันทีที่จะลาออกไปเลย


Posted by : สมเพช , Date : 2004-04-01 , Time : 09:26:29 , From IP : p3-nrtMT1.S.loxinfo.

ความคิดเห็นที่ : 5


   ผมไม่เคยมีความคิกในศีรษะเลยว่า คณะแพทย์มอ.จะสู้ที่อื่นเขาไม่ได้ ไม่ว่าจะในสภาพปิดหรือเปิดกระลาที่ครอบหัวผมอยู่ ผมไม่เคยมีความเชื่อว่าการพัฒนาสถาบันของเราจะต้องเกิดจากการดู ..... เค้าซะบ้าง ผมไม่เชื่อว่าการตามตูดสถาบันในกรุงเทพฯจะเป็นวิสัยทัศน์ของสถาบันที่ผมทำงานอยู่
.
ปริมาณงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นรองแค่มหาวิทยาลัยมหิดลครับ ปริมาณการจดสิทธิบัตรผลงานในปัจจุบัน คณะแพทย์ของเราไม่น้อยหน้าที่อื่นเลย หากไม่นับสถาบันที่ทำวิจัยอย่างเดียว อาจกล่าวได้ว่าปริมาณผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตร เราเป็นอันดับต้น
.
นี่ไงครับ ศักยภาพที่เรามี ยังไม่นับรวมบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทางอีกมากที่เดินชนกันอยู่ในคณะ
.
แต่ลำพังศักยภาพ ไม่สามารถแปลเป็นความจำเริญและการเป็นที่พึ่งทางวิชาการที่ต่อเนื่องได้ หากเรายังไม่สามารถฝัง วัฒนธรรมวิจัยลงไปในสันดานของบุคลากรทางวิชาการของเรา อย่างน้อยจะต้องกล่าวได้ว่า งานวิจัยไม่ใช่งานอดิเรกครับ ศัลยแพทย์ที่อยากทำวิจัยไม่ควรจะถูกเหยียดว่า เฮ้ย มึงจะเป็นนักเขียนเหรอวะ (คำพูดของอาจารย์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งสำหรับผม ท่านอาจจะพูดเล่น แต่ผมจำฝังหัว) หรือถูกเหยียดว่าเล่นแร่แปรธาตุ
.
ได้ไหมครับ


Posted by : Shonigega , Date : 2004-04-01 , Time : 10:59:07 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 6


   ถึงshonigega
ท่านสบายดีหรือ อากาศที่ญี่ปุ่นเป็นอย่างไรบ้าง สงสารอาจารย์ที่ไม่อยากทำวิจัย ความจริงแล้วงานวิจัยน่าจะเป็นสิ่งที่หมอน่าจะถนัดเพราะต้องมีการสังเกตค้นคว้า ทางคณะน่าจะเพิ่มทุนและค่าตอบแทนให้มากขึ้นจะได้มีแรงทำเยอะขึ้น



Posted by : คนเดิมๆของมอ. , Date : 2004-04-02 , Time : 03:24:55 , From IP : 202.28.180.6

ความคิดเห็นที่ : 7


   ผมเห็นด้วยกับคุณ Shonigega (คุณหาชื่อที่พิมพ์ง่ายๆหน่อยไม่ได้หรือ?) งานวิจัยถูกทำให้ดูเสมือนว่าเป็นเรื่องที่ยากจนต้องระดับอัจฉริยะเท่านั้นถึงจะแตะต้องได้โดยนักวิจารณ์เหล่านี้ ผมยังมองในแง่ดีว่าพวกเขาคงตั้งใจดีแต่วิธีปฏิบัติไม่ไปด้วยกันกับความตั้งใจเท่าใดนักอันนี้คงต้องปรับ ผมอยากให้คำแนะนำสำหรับอาจารย์ใหม่ให้ใจเย็นๆ อย่าไปหาคำถามวิจัยที่วิเศษจนเกินไปจากอากาศที่อยู่รอบๆตัวคุณ เพราะจริงๆแล้วก็คือคุณไม่รู้ว่ามันอยู่ตรงไหน มันคืออะไร? แล้วคุณก็ท้อแท้เพราะไม่รู้จะเริ่มอย่างไร? แล้วก็เกิดกระทู้ข้างต้นขึ้น ผมว่าคุณลองไปขยับดูงานที่คุณทำไปเยอะแยะในแต่ละวัน คุณพบอะไรที่แก้ไม่ตกบ้าง แล้วลองไปค้นหาจาก literature ดู คุณก็พอจะทราบว่าอะไรเป็นปัญหาที่ควรเอามาตั้งเป็นคำถามสำหรับงานวิจัย ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ คุณอาจต้องถามตัวเองด้วยว่าคุณชอบมันหรือเปล่าพร้อมที่จะเล่นกับมันไปอีก 5-10 ปีข้างหน้าหรือเปล่า? อย่าทำอะไรฉาบฉวย ทำเพื่อให้รู้ แล้วคุณจะสนุกกับงานวิจัยของคุณ
การที่คณะตั้งเกณฑ์ขึ้นมาคงไม่ได้หมายความว่าถ้าทำไม่ได้จะต้องถูกกำจัดออกไปจากคณะนี้ แต่ก็คงต้องมาดูในรายละเอียดว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้น คุณทำงานบริการมากเกินไปหรือเปล่า? คงไม่มีใครคิดจะไปทำอะไรกับเลือดเนื้อเชื้อไขของตนเองที่จะต้องมารับภาระสำคัญต่อไปในอนาคต


Posted by : ผู้ที่ไม่ค่อยรู้เรื่องการวิจัย , Date : 2004-04-03 , Time : 08:35:32 , From IP : 172.29.1.190

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<