ความคิดเห็นทั้งหมด : 11

เครื่องช่วยหายใจนอนกรนที่คลินิกหูคอจมูก


   ดิฉันได้มีโอกาสพาตุณลุงไปตรวจเรื่องนอนกรนที่ คลินิกหูคอจมูก รพ.มอ การบริการส่วนพยาบาลถือว่าดีทีเดียวคะ
แต่มีข้อสงสัยในการสั่งเครื่องช่วยหายใจ น่าจะเรียกว่า CPAP ที่ได้มา ดูเหมือนจะเป็นธุรกิจขายตรง? เนื่องจากต้องผ่านผู้แทนขาย และสังเกตุว่ามีผู้แทนขายหลายคน หลายบริษัทมาคอยรับการสั่งเครื่องจากแพทย์ที่คลินิก ไม่เหมือนการสั่งผ่านโรงพยาบาล? ถ้าเป็นไปได้อยากให้ผู้บริหารช่วยตรวจสอบการสั่งจ่ายว่าโปร่งใสไหมและจำเป็นหรือไม่ (กลัวลุงมีอันครายและถูกให้ใช้โดยไม่จำเป็นเหมือนกันคะ)
อีกอย่างดิฉันว่าไม่น่าจะมีตีวแทนบริษัทมาเหมือนขายผลิตภัณฑ์คะ

ขอบคุณคะ
อภิญญา


Posted by : apinya , E-mail : (apinya_2556@yahoo.com) ,
Date : 2013-04-01 , Time : 20:07:53 , From IP : 113.53.62.144


ความคิดเห็นที่ : 1


   ครุภัณฑ์ที่สั่งได้บ่อยหรือสั่งได้เฉพาะบุคคลควรมีระบบตรวจสอบที่ชัดเจน คิดว่าไม่น่าจะเกิดผลอะไรที่ post ในกระดานอภิปราย เนื่องจากไม่ได้ส่งถึงผู้บริหาร เจ้าของกระทู้ควรส่งให้ผู้บริหาร เช่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาล คณบดีคณะแพทย์ อธิการมหาวิทยาลัย หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่มีหน้าที่ตรวจสอบโดยตรงน่าจะมีประโยชน์กว่า

บดินทร์


Posted by : badinrugsa , E-mail : (badinrugsa@hotmail.com) ,
Date : 2013-04-02 , Time : 14:58:23 , From IP : 172.29.14.71


ความคิดเห็นที่ : 2


   มี 3 แผนกที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนอนกรนอยู่ คือ แผนกอายุรกรรม จิตเวชและหูคอจมูก แต่เท่าที่ทราบยังไม่มีแพทย์หู คอ จมูกในมอ. ที่ผ่าน qualify มาตรฐานการทำ sleep lab ซึ่งต้องทำก่อนสั่ง CPAP หรือผ่านการอบรมต่อยอดมาโดยตรงมา

Posted by : nak35 , E-mail : (nakonchai35@yahoo.com) ,
Date : 2013-04-02 , Time : 17:26:28 , From IP : 172.29.5.182


ความคิดเห็นที่ : 3


   ขอบคุณคุะ ได้เครื่องช่วยหายใจมาแบบงงๆ ฉุกใจเพราะเคยได้ยินคนอื่นพูดกัน แต่ไม่กล้าถามเห็นเป็นอาจารย์หมอและคลินิกท่านที่ฉือฉางโฆษณาว่าเป็นศูนย์นอนกรน เลยตามมารักษาที่โรงพยาบาล เพราะลุงเบิกได้บางส่วน
ว่าจะพาลุงไปตรวจใหม่ที่โรงพยาบาลศิริราชคะว่าเป็นอะไรแน่ จำเป็นต้องใช้เครื่องไหม มีคนรู้จักอยู่ในนั้นคะ เรื่องที่เกิดขึ้นอยากให้เป็นเรื่องของโรงพยาบาลคะ ไม่ต้องการให้หมอมีปัญหา แต่สงสัยว่าทำไมโรงพยาบาลไม่ให้ท่านไปเรียนต่อก่อนคะ
จะได้รักษาได้ถูกต้อง หรือให้หมอที่จบแล้วจากแผนกอื่นมาเป็นที่ปรึกษา? แต่อย่าให้มีลักษณะคล้ายธุรกิจอยู่ในนั้นเลยคะ อย่างน้อยเป็นโรงพยาบาลรัฐใหญ่น่าจะเป็นที่พึ่งของคนไข้นะคะ

ขอบคุณคะ
อภิญญา


Posted by : apinya , E-mail : (apinya_2556@yahoo.com) ,
Date : 2013-04-04 , Time : 21:06:51 , From IP : 113.53.36.149


ความคิดเห็นที่ : 4


   เรียน เจ้าของกระทู้
สำหรับความคิดเห็นที่ 1
ขอชี้แจงระบบการจัดการของการสั่งจ่ายเครื่อง CPAP ทางโรงพยาบาลมีระบบประมูลเครื่อง CPAP ชัดเจน โดยมีเครื่อง CPAP ชนิดธรรมดา 2 รุ่น ได้แก่ ชนิดความดันคงที่ และชนิดความดันคงที่แบบผ่อนลมหายใจออก และเครื่อง CPAP ชนิดอัตโนมัติ ซึ่งอยู่ในระหว่างการประมูลเครื่อง (ขณะนี้ยังอยู่ในระบบฝากขาย) และในข้อตกลงของการประมูลและฝากขายนั้น จะต้องมีผู้แทนมาให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย (สอนวิธีการใช้เครื่อง การใส่หน้ากาก ดูแลรักษาเครื่องมือ ส่งซ่อมกรณีชำรุด) โดยราคาของเครื่อง CPAP ชนิดธรรมดา พร้อมหน้ากากและอะไหล่ 1 ชุด นั้นผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิ์เบิกค่ารักษาได้ทั้งหมด แต่ถ้าเป็นเครื่อง CPAP ชนิดอัตโนมัติ ผู้ป่วยจำเป็นต้องจ่ายค่ารักษาส่วนเกินสิทธิ์
สำหรับขั้นตอนการรักษาและแนวทางปฎิบัติเมื่อแพทย์ให้การวินิจฉัยผู้ป่วยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้นที่จำเป็นต้องใช้ CPAP ซึ่งสรุปได้เป็นกรณี ดังต่อไปนี้
1.สำหรับกรณีที่ทราบค่าความดันในการตั้งค่าเครื่อง CPAP แล้ว แพทย์จะให้ผู้ป่วยทดลองใช้เครื่อง CPAP ชนิดธรรมดา ไปใช้ที่บ้านเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และนัดเพื่อติดตามอาการในสัปดาห์ถัดไป หากผู้ป่วยใช้ได้ดี จึงให้ผู้ป่วยซื้อเครื่องได้ แต่กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถใช้เครื่องประมูลของโรงพยาบาลได้ อาจพิจารณาใช้เครื่อง CPAP ชนิดความดันคงที่แบบผ่อนลมหายใจออก หรือชนิดอัตโนมัติ หรือ เครื่อง CPAP ชนิดอื่นๆที่ฝากขายผ่านโรงพยาบาล
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยทุกรายต้องจ่ายเงินซื้อเครื่องหรืออุปกรณ์ต่างๆผ่านโรงพยาบาล (ไม่ได้ซื้อผ่านผู้แทนโดยตรง)

2.สำหรับกรณีที่ไม่ทราบค่าความดันในการตั้งค่าเครื่อง CPAP แพทย์จำเป็นต้องสั่งตรวจการนอนเพิ่มเติมอีกครั้ง เพื่อหาค่าความดันที่เหมาะสมต่อไป หรือ กรณีผู้ป่วยไม่ต้องการรอคิวตรวจซ้ำและประสงค์จะใช้เครื่อง CPAP ชนิดอัตโนมัติ แพทย์จะสั่ง ให้ผู้ป่วยทดลองใช้เครื่อง CPAP ชนิดอัตโนมัติ ที่บ้านเป็นเวลา 1 สัปดาห์ และติดตามอาการ หากใช้ได้ดีจึงให้ซื้อเครื่องได้ หรือ แพทย์อาจพิจารณาหาค่าความดันจากเครื่อง CPAP ชนิดอัตโนมัติ

หากคุณเจ้าของกระทู้ยังไม่เข้าใจหรือมีข้อสงสัยไหนประเด็นไหน รบกวนสอบถามได้โดยตรงที่ศูนย์บริการตรวจรักษาและวิจัยปัญหาการนอน (Sleep Lab) ชั้น2 โทร 1363 หรือ 074-451363 หรือถามผ่านกระดานข่าวได้ ทางศูนย์ฯยินดีตอบทุกข้อสงสัย
หรือ หากคุณเจ้าของกระทู้ พบว่าผู้แทนคนใดมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ที่เป็นการเสนอขายสินค้า สามารถแจ้งได้โดยตรงที่ศูนย์ฯ
ทางศูนย์ฯ ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียใดๆกับทางบริษัทขายเครื่อง CPAP และยินดีให้ตรวจสอบความโปร่งใสได้ในทุกระดับ

สำหรับความคิดเห็นที่ 3
ในปัจจุบันยังไม่มีการฝึกอบรม sleep medicine ที่เป็น formal training ในประเทศไทย (ปัจจุบันทางสมาคมโรคนอนหลับแห่งประเทศไทย กำลังร่างหลักสูตรต่อยอด) อีกทั้งโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น มีอยู่ในการเรียนการสอนของหลักสูตรราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกวิทยาด้วย ซึ่งทางอาจารย์แพทย์หู คอ จมูก ที่ให้การดูแลรักษานั้น ถึงแม้จะยังไม่ได้มี certificate ด้านนี้โดยตรง แต่ได้ผ่านการฝึกอบรมระยะสั้นทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ มีแนวทางส่งอาจารย์แพทย์ไปศึกษาฝึกอบรมที่ต่างประเทศและสอบใบประกาศนียบัตรด้าน sleep medicine

ขอบคุณทุกความคิดเห็น
ทางศูนย์ฯ ยินดีรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น


Posted by : doramon , Date : 2013-04-05 , Time : 12:07:19 , From IP : 172.29.10.63

ความคิดเห็นที่ : 5


    ขอบพระคุณทางศูนย์ที่พยายามชี้แจงคะ ดิฉันเป็นแค่เสียงสะท้อนหนี่ง คุณลุงตำรวจอีกคนที่ไปรักษาก็ได้เครื่องมาทำนองเดียวกัน ตอนนี้ลุงตำรวจเค้าก็บ่นว่ากินยาลดคัดจมูกแลนอนตะแคงข้างสบายกว่า หมอบอกว่าจำเป็นต้องใช้ แต่ซื้อมาใช้แล้วอึดอัดกว่าเดิม ดิฉันพอสรุปประเด็นที่ชึ้แจงมาได้ว่า
1. หมอหูคอจมูกที่ดูแลนอนกรนยังไม่จบมาโดยครง เพราะยังไม่มีการอบรมในประเทศ แล้วทำไมไม่ให้ท่าานไปเรียนต่อโดยตรงก่อนคะเพื่อประโยชน์ของคนไข้ ระหว่างนี้ให้แพทย์แผนกอื่นที่ไปเรียนต่อต่างประเทศมาแล้วเป็นที่ปรึกษา ดูแลศูนย์และสั่งใช้เครื่องถ้าจำเป็นเท่านั้น ดิฉันว่าแปลกคะที่ให้หมอหูคอจมูกที่ไม่ได้จบมาโดยตรงมาดูแลศูนย์นอนกรน
2. ดิฉันยังไม่เห็นความแตกต่างระหว่างระบบฝากขายและขายตรงเลยคะ ยังเห็นมีแรงจูงใจ มีผู้แทนมาคอยนำเสนอ อธิบาย บริการหลังการขาย เพียงแค่เปลี่ยนจากคนซื้อเป็นหมอว่าจะสั่งให้ยี่ห้ออะไร ดิฉ็นว่าแย่กว่านะคะ คนไข้ไม่รู้อะไรเลย อะไรที่หมอว่าดี คนไข้ก็ต้องว่าดีคะ ทำไมไม่ตัดวงจรนี้แล้วประมูลเข้าระบบโรงพยาบาลคะ ดิฉันได้ยินคนไข้อื่นบอกเป็นอย่างงี้มานานหลายปีแล้ว มันนานมากเพราะต้องเสนอผ่านกระทรวงเหรอคะ
ดิฉันเพียงแค่ช่วยสะท้อนความคิดของคนไข้นะคะ ส่วนดิฉันจะพาคุณลุงไปตรวจกับ. อาจารย์หมอปารญะที่ศิริราชให้ถูกต้องอีกที่คะว่าเป็นอะไรแน่ ต้องใช้เครีองไหม ท่านจบมาจากต่างประเทศด้านนี้โดยครงคะ อยากให้โรงพยาบาล มอ. เป็นที่พึ่งของคนไข้ยากจนจริงๆ ส่่วนดิฉันและคุณลุงยังดีที่พอมีการศึกษาและมีทางเลือกบ้างคะ

ขอบคุณคะ
อภิญญา


Posted by : apinya , E-mail : (apinya_2556@yahoo.com) ,
Date : 2013-04-08 , Time : 14:47:33 , From IP : 113.53.12.211


ความคิดเห็นที่ : 6


   เรียน เจ้าของกระทู้ คุณอภิญญา
ก่อนอื่นผมคงต้องขอตอบทั้งที่ไม่เคยมาเข้า web board คณะแพทย์เลยแต่มีคนมาบอก ผู้ที่คุณอ้างถึงใน web board คงเป็นคนอื่นไม่ได้นอกจากผม นายแพทย์โกวิทย์ ซึ่งทำงานอยู่ที่คณะแพทย์แห่งนี้ตั้งแต่ปี 2528 ผมอยากเท้าความถึงการกำเนิดของคลินิกนอนกรน ซึ่งมีมาประมาณ 10 ปีก่อน ขณะที่ผมเป็นหัวหน้าภาควิชา โสต ศอ นาสิก ขณะนั้นความรู้ด้านนี้ยังใหม่อยู่สำหรับทุกคนแม้แต่อาจารย์แพทย์ในกรุงเทพฯ ผมเป็นคนแรกๆของโสต ศอ นาสิก แพทย์ที่สนใจและศึกษาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะไม่ได้ไปศึกษาเฉพาะเรื่อง sleep medicine อย่างเดียวที่ต่างประเทศ เนื่องจากสมัยที่ผมไปนั้น (ปี ค.ศ. 1993) วิชานี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่อยู่ในความสนใจของแพทย์บางสาขาเท่านั้น เมื่อผมกลับมาได้พบอาจารย์สุรชัย ภาควิชาจิตเวช ซึ่งท่านได้ไปดูงานที่ชิคาโก และกลับมา set up sleep lab และได้ชวนผมมาร่วมเป็นทีม ผมจึงได้ศึกษาเพิ่มเติม ผมทำเช่นนี้ตลอดเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งๆที่ภาระงานปกติในการดูแลผู้ป่วยหู คอ จมูก ก็มีจำนวนมากอยู่แล้ว แต่ผมเห็นว่าสาขานี้มีความเจริญก้าวหน้าและสำคัญต่อผู้ป่วย เนื่องจากไม่มีคนดูแลในภาคใต้ที่โรงพยาบาลอื่นเลย ทำให้ผู้ป่วยมีความยากลำบาก ตลอดจนผมคิดว่า สาขานี้น่าจะเป็นสาขาที่ได้รับความนิยมของแพทย์ หู คอ จมูก ในอนาคต ซึ่งก็เป็นจริง เพราะในขณะนี้มีการสอนกันอย่างแพร่หลายในหลักสูตรการฝึกอบรมโสต ศอ นาสิกแพทย์ ตลอดเวลาที่ผ่านมาผมได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายทั้งในคณะแพทย์ มอ. สงขลานครินทร์, ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ และจากสมาคมโรคนอนกรนแห่งประเทศไทย ตลอดมา นอกจากนี้ผมยังได้รับเชิญเป็นกรรมการสมาคมโรคนอนกรนแห่งประเทศไทย ผมก็คิดว่าน่าจะมีความรู้พอที่จะดูแลผู้ป่วยซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในโรงพยาบาลมอ. ซึ่งแต่เดิมนั้นผู้ป่วยได้ลดลงมาก หลังจากอาจารย์สุรชัยได้ย้ายไปอยู่กรุงเทพฯ ก็จะมีอาจารย์ที่ดูแลอยู่จำนวนน้อย เช่น จากภาคอายุรศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์ จิตเวชศาสตร์ ซึ่งทุกท่านก็ไม่ได้มีใครที่เป็น full train จากต่างประเทศเหมือนอย่างอาจารย์สุรชัย แต่อาจารย์ทุกท่านก็มีความรู้และให้บริการผู้ป่วยอย่างดี มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ทั้งในและต่างประเทศ ได้รับเชิญเป็นวิทยากร ซึ่งผมคิดว่าการที่จะมีความรู้หรือไม่ อยู่ที่การศึกษาต่อเนื่อง และการรู้จักเอาความรู้มาประยุกต์เข้ากับผู้ป่วยในพื้นที่ของตนเอง โดยเฉพาะการเป็นแพทย์ซึ่งมีวิทยาการใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา และสิ่งที่ผมมีความรู้และปฏิบัติช่วงที่ผมเริ่มทำงานเกี่ยวกับโรคนอนกรนใหม่ๆ จนถึงปัจจุบันนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ในช่วงอายุของผมนี้ ผมจึงมิได้นับถือคนที่มีปริญญาบัตรเพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ประสบการณ์และการรู้จักเรียนรู้เพิ่มเติมให้กับตนเอง (continuing education) ผมคิดว่าให้ผมไปเรียนที่ต่างประเทศเป็นปีเหมือนอาจารย์แพทย์ที่บรรจุใหม่ คณะคงไม่ส่งไปแน่และก็ไม่รู้จะไปเรียนอะไรเพิ่ม เพราะความรู้ส่วนใหญ่ในปัจจุบันหาอ่านได้จากวารสารทางการแพทย์และการอบรมประชุมวิชาการอย่างสม่ำเสมอมากกว่า
ตลอดระยะเวลาที่ผมได้ดูแลคลินิกนอนกรน ผมทราบถึงระบบต่างตอบแทนของบริษัทเครื่องมือแพทย์ให้กับแพทย์หรือทีมผู้รักษา ผมจึงได้เริ่มทำการเอาเครื่อง CPAP เข้าโรงพยาบาลโดยวิธีการเปิดประมูล ซึ่งทำให้เครื่องที่จำเป็นชนิดความดันคงที่ (fix pressure) มีราคาถูกลงอย่างมากจนเป็นที่กล่าวถึงของสถาบันอื่นๆ เช่น โรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลรามาธิบดี เนื่องจากในปัจจุบันโรงพยาบาลเกือบทั้งหมดเป็นระบบฝากขายทั้งสิ้น ทำให้มีราคาเครื่องพร้อมหน้ากากสูงกว่าสิทธิ์การเบิกของข้าราชการ (20,000 บาท) แต่ที่โรงพยาบาลมอ.แห่งนี้ถ้าผู้ป่วยไม่มีปัญหามาก (เช่น อึดอัด แน่น ทัศนคติแย่ต่อการใช้เครื่อง อยากดูข้อมูลการใช้เครื่อง...) ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเลย ขณะเดียวกันโรงพยาบาลก็มีกำไรเพิ่มขึ้นจากการที่ผมได้จัดทำระบบดังกล่าว ซึ่งเงินนี้ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นให้กับคุณก็ได้ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ บางแห่งก็สนใจและโทรศัพท์มาสอบถามถึงวิธีการจัดระบบซื้อจากเรา และบางแห่งแนะนำผู้ป่วยให้มาซื้อเครื่องจากเราเนื่องจากมีราคาถูกกว่ามาก และไม่ต้องจ่ายส่วนเกิน จากเดิมที่ต้องจ่าย 6,000 - 7,000 บาท สำหรับเครื่องความดันคงที่ชนิดเดียวกัน สำหรับเครื่องความดันอัตโนมัตินั้น แต่แรกเราให้เป็นระบบฝากขายเนื่องจากมีการสั่งใช้ไม่มากนัก การที่จะทำจัดซื้อมาก็จะไม่ได้เครื่องในราคาถูก และคณะแพทย์ก็จะต้อง stock สินค้าไว้ ซึ่งมีอยูหลากหลายคุณลักษณะมาก ถ้าการทำจัดซื้อตั้งแต่ทีแรกก็คงจะไม่เป็นประโยชน์และคณะฯจะต้องซื้อของมาตั้งทิ้งไว้ดังที่จะได้เห็นจาก เรามี stock ของที่ไม่ใช้แล้ว และไม่มีใครยอมใช้อยู่ในหน่วยงานต่างๆของคณะแพทย์เราอยู่เป็นเนืองๆ ขณะนี้ในปีนี้เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่ต้องการเครื่องชนิดอัตโนมัติเพิ่มขึ้น เราจึงได้ทำการขอจัดซื้อแบบประมูล ซึ่งคาดว่าน่าจะได้เครื่องราคาถูกกว่าปกติมาใช้บริการกับผู้ป่วย นั่นก็หมายความว่า ผู้ป่วยจ่ายส่วนเกินสิทธิ์น้อยลง แต่ต้องยอมรับนะครับว่า เครื่องฝากขายต่อไปนี้อาจจะไม่มีแล้ว ซึ่งระบบนี้ผู้ป่วยจะไม่มีเครื่องให้เลือก นอกจากเครื่องที่ประมูลมา คุณต้องการแบบไหน ช่วยกรุณาแจ้งผู้บริหารด้วยครับ
สำหรับที่ให้ความเห็นที่ว่า "ดิฉันยังไม่เห็นความแตกต่างระหว่างระบบฝากขายและขายตรงเลยคะ ยังเห็นมีแรงจูงใจ มีผู้แทนมาคอยนำเสนอ อธิบาย บริการหลังการขาย เพียงแค่เปลี่ยนจากคนซื้อเป็นหมอว่าจะสั่งให้ยี่ห้ออะไร ดิฉ็นว่าแย่กว่านะคะ คนไข้ไม่รู้อะไรเลย อะไรที่หมอว่าดี คนไข้ก็ต้องว่าดีคะ ทำไมไม่ตัดวงจรนี้แล้วประมูลเข้าระบบโรงพยาบาลคะ ดิฉันได้ยินคนไข้อื่นบอกเป็นอย่างงี้มานานหลายปีแล้ว มันนานมากเพราะต้องเสนอผ่านกระทรวงเหรอคะ" ขอชี้แจงว่า ในสัญญาการประมูลนั้นมีข้อบังคับให้บริษัทที่ประมูลได้ หรือนำเครื่องมาฝากขายจะต้องมีผู้แทนนำเครื่องมาให้ทดลองใช้ก่อนซื้อ (try free) การให้บริการหลังการขายรวมทั้งแนะนำการใช้เครื่อง เนื่องจากเครื่องมีหลายประเภท ผู้แทนที่ขายเครื่องของเค้าย่อมสามารถแนะนำอุปกรณ์ของเค้าได้ดีกว่า ผมไม่แน่ใจว่า เป็นความผิดของเค้าหรือปล่าวที่เค้าจะพยายามบริการให้ผู้ป่วยอย่างดีจนคุณมองเป็นเหมือนขายตรง ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีบริษัทที่ฝากขาย และผู้แทนไม่ดูแลการลองเครื่องและดูแลหลังการขาย ทางศูนย์ฯได้พิจารณานำเครื่องของบริษัทดังกล่าวออกจากระบบฝากขายของโรงพยาบาล สำหรับผมเองผมยังบอกไม่ออกว่า มันเหมือนระบบขายตรงอย่างไร ช่วยกรุณาแจ้งให้ทราบด้วย จะโดยทาง web board หรือ email: Pkowit 1964@ yahoo.com โดยปกติผมจะบอกผู้ป่วยว่า ถ้าคุณไม่สามารถใช้เครื่องได้ ให้ทดลองของอีกบริษัท โดยไม่ต้องเกรงใจ เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีความเหมาะสมคุ้นกับเครื่องแต่ละบริษัทไม่เหมือนกัน ดังนั้นผู้ป่วยสามารถลองได้หลายเครื่องจนกว่าจะเหมาะสมสามารถใช้ได้ดี แพทย์จึงจะทำการสั่งเครื่องยี่ห้อที่เหมาะสมดังกล่าวให้กับผู้ป่วย ที่ผ่านมามีผู้ป่วยบางรายเกรงใจผู้แทนที่มาดูแลให้ทดลองเครื่อง และซื้อเครื่องไปแล้วไม่สามารถใช้ได้ ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณอย่างยิ่งทั้งของคุณเอง และของประเทศชาติ ผมไม่ทราบว่าประเด็นนี้จะเป็นความผิดของผมหรือไม่ เมื่อผู้ป่วยไม่รู้ทำไมไม่ถาม แพทย์ทุกคนโดยพื้นฐานจะต้องตอบผู้ป่วยและให้คำอธิบายโดยโปร่งใสและตรงไปตรงมาอยู่แล้ว ผมเป็นอาจารย์แพทย์มา 26 ปี ซึ่งไม่รู้คุณเกิดแล้วยัง ผมปฏิบัติเช่นนี้มาตลอดในการสอนนักศึกษาแพทย์และการดูแลผู้ป่วย ซึ่งผู้แทนบริษัททุกบริษัทรับทราบดีว่า ผู้ป่วยลองเครื่องแล้วไม่จำเป็นต้องซื้อ จะไม่ใช้ก็ได้ และผมจะบอกเสมอว่า ถ้าคุณใช้ไม่ได้ต้องกลับมาติดตามเพื่อจะหาวิธีรักษาอย่างอื่นต่อไป เช่น การใส่ oral appliance, การผ่าตัด หรืออื่นๆที่เหมาะสมกับผู้ป่วย แต่ไม่ใช่หายไป ใส่ไม่ได้แต่ไม่กลับมาติดตามการรักษา ดังเช่นเพื่อนของลุงคุณซึ่งมีอาการคัดจมูกก็มีวิธีแก้ไขไม่ยาก โดยการใช้เครื่องทำความชื้น, ใช้ยาพ่นจมูก หรือใช้จี้ด้วยคลื่นวิทยุ การที่ผู้ป่วยรู้สึกว่ากินยา แล้วนอนตะแคงข้างแล้วสบายกว่านั้น จะทราบได้อย่างไรว่า ผู้ป่วยมีหยุดหายใจทั้งคืนเท่าไหร่ มีผู้ป่วยนอนกรนมากมายที่ไม่ได้รับการรักษา โดยที่มีการหยุดหายใจในขั้นปานกลางถึงรุนแรง และเมื่อปล่อยทิ้งไว้ก็จะนำมาสู่ปัญหาโรคทางอายุรกรรมอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ, ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ รวมทั้งโรคต้อหิน ซึ่งคุณอาจจะคิดไม่ถึงเลยว่า ภาวะนอนกรนและหยุดหายใจถ้าไม่ได้รับการรักษาจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคดังกล่าวได้
เครื่องที่จะขายได้จะต้องเป็นเครื่องที่เสนอผ่านการพิจารณาของภาควิชาฯ หรือศูนย์การนอนแล้ว ซึ่งจะพิจารณาทั้งด้านราคาและประสิทธิภาพของเครื่อง ซึ่งปัจจุบันเครื่องที่จำหน่ายในระบบฝากขาย มีราคาถูกกว่า ถ้าผู้ป่วยจะไปซื้อเองจากบริษัทหรือซื้อจากโรงพยาบาลอื่นๆในประเทศไทย สำหรับการที่แพทย์จะสั่งยี่ห้ออะไรนั้น เราไม่มีให้เลือกมากหรอกครับ หมอก็จะถามความต้องการของผู้ป่วยอยู่แล้วว่าสามารถจ่ายส่วนเกินสิทธิ์หรือไม่ และพิจารณาผลตรวจการนอน ซึ่งจะมี parameter บ่งชี้ว่าจำเป็นหรืออาจจะดีกว่าในการใช้เครื่องอัตโนมัติ หรือเครื่องรุ่นอื่น ปัจจุบันนี้ซึ่งเป็นฝากขาย ผมไม่เคยแนะนำให้ผู้ป่วยใช้เครื่องราคาแพงเลย เครื่องอัตโนมัติโรงพยาบาลเราก็อยู่ในราคาต่ำสุด 43,000 บาท (โรงพยาบาลอื่นทั่วประเทศไทยเครื่องชนิดเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกันราคาจำหน่ายอยู่ที่ 60,000 บาท) ที่บริษัทยอมจำหน่ายในราคานี้เกิดขึ้นในสมัยที่ผมเป็นผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหารและทำการจัดซื้อจัดจ้าง แต่ผมคิดว่า ขณะนี้มีการประมูลเครื่องอัตโนมัติก็จะทำราคาได้ลดลงมาอีก ซึ่งก็ไม่ทราบว่าราคาจะเป็นเท่าไรเพราะยังอยู่ในระหว่างดำเนินการ ช้า-เร็ว ขอให้ท่านสอบถามจากทีมบริหาร
และปัจจุบันเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้เครื่องได้ดีขึ้น จึงจัดประมูลเฉพาะตัวเครื่อง ส่วนหน้ากากจะจัดซื้อจากข้อมูลที่ผู้ป่วยเคยซื้อไปใช้แล้ว ใช้ได้ผลดี ใส่สบาย ไม่บังคับให้ซื้อเครื่องบริษัท A จะต้องซื้อหน้ากากบริษัท A ผู้ป่วยจึงสามารถเลือกหน้ากากที่เหมาะสมกับตนเองได้ หน้ากากมีหลายแบบ หลายราคามาก ขึ้นกับคุณสมบัติของวัสดุที่ผลิต และบริษัทที่จำหน่าย แหล่งผลิต เช่น จีน, อเมริกา, ออสเตรเลีย, เยอรมัน ก็จะมีราคาแตกต่างกัน
มีอีกประเด็นที่ผมคิดว่า คุณอาจจะสงสัยว่า คุณลุงคุณใช้เครื่อง CPAP โดยไม่มีข้อบ่งชี้หรือไม่เพราะอาจมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ขอเรียนให้ทราบว่า การสั่งเครื่อง CPAP ให้กับผู้ป่วยทุกรายจะต้องมีข้อบ่งชี้ โดยเฉพาะที่ต้องทำเบิกจ่ายกับกรมบัญชีกลาง จะต้องมีข้อบ่งชี้ชัดเจนตามเกณฑ์ ซึ่งโดยปัจจุบันก็ใช้เกณฑ์ของกรมบัญชีกลางดังกล่าว และเกณฑ์ดังกล่าวก็มาจาก American Academy of Sleep Medicine Practice Guideline ถ้าคุณได้มีโอกาสไปศิริราชจริงๆ ให้มาเอาผลตรวจการนอนหลับจากที่นี่แล้วไปปรึกษาอาจารย์ที่นั่นดู คุณจะได้ไม่ต้องไปรอคิวตรวจ sleep lab ใหม่ (คิวประมาณ 6 เดือน) และช่วยหาข้อมูลด้วยว่าเขาดีกว่าเราจริงหรือ มีข้อดีกว่าอย่างไรบ้าง ช่วยกรุณากลับมาแนะนำเราด้วย เราจะได้มาปรับปรุงระบบการให้บริการให้ดีขึ้นเพื่อจะได้ไม่เป็นที่กังขาอีกต่อไป เพราะที่ผ่านมา มีอาจารย์แพทย์ที่ศิริราช (ขอไม่เอ่ยนาม) โทรศัพท์มาสอบถามระบบการบริหารจัดการเครื่อง CPAP ซึ่งขณะนั้นที่โรงพยาบาลศิริราชผู้ป่วยจะต้องจ่ายเงินเองทั้งหมดก่อนแล้วทำเรื่องเบิกทีหลัง ในขณะที่โรงพยาบาลเราเป็นระบบจ่ายส่วนเกิน และผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ไม่มีความจำเป็นต้องจ่ายส่วนเกินเลย ทำให้ผู้ป่วยข้าราชการประเภทคนจนยุคใหม่ สามารถเข้าถึงเครื่อง CPAP ได้ ผมคงไม่สามารถชี้แจงคุณวุฒิของอาจารย์ปารยะด้านการฝึกอบรม sleep medicine ในที่นี้ได้ แต่คุณควรค้นหาด้วยตนเอง ถ้าเป็นไปได้และคุณได้พบกับอาจารย์ผมยินดีให้คุณสอบถามเรื่องราวของผมจากอาจารย์ได้เป็นการส่วนตัว
ผมยินดีมาตอบทุกคำถามและเปิดเผยตัว ถึงแม้คุณจะเขียนถึงชื่อคลินิกผมที่วัดฉื่อฉาง แต่ผมขอชี้แจงว่า ผมไม่เคยมีผลประโยชน์กับผู้ป่วยนอนกรนในการขายเครื่อง CPAP ผมไม่เคยรับค่าตอบแทนใดๆไม่ว่าในรูปเงินทอง หรือการพาไปเที่ยวในหรือต่างประเทศ จากบริษัทผู้ขาย CPAP สำหรับผู้ป่วยข้าราชการซึ่งมีสิทธิ์เบิก ผมจะแนะนำให้มาซื้อที่โรงพยาบาลเท่านั้น โดยไม่เคยคิดค่าบริการใดๆเลย แต่ผู้ป่วยที่เบิกไม่ได้และยินดีซื้อเครื่องจากคลินิกผม คงเป็นสิทธิของผมนะครับที่จะมีกำไรพอสมควรตามวิชาชีพ เรื่องเงินทองไม่ใช่เป็นปัญหาของผมเลย เพราะผมใช้เงินไม่เปลือง ลูกผมก็ใช้เงินไม่เปลือง บ้านผมอาจจะหลังใหญ่แต่เป็นเงินที่ผมหามาตลอดระยะเวลาที่ทำงานอย่างโปร่งใสมาตลอดระยะเวลาเกือบ 30 ปี และผมต้องการปลูกไว้เพื่อให้บุพการีอยู่อย่างสุขสบายในบั้นปลายของชีวิต ผมยึดคำสอนของท่านอดีตคณบดี รศ. นพ. สุเมธ พีระวุฒิ ซึ่งท่านเคยบอกไว้ตั้งแต่ผมมาทำงานใหม่ๆว่า เป็นแพทย์ต้องไม่โกง ทั้งกับผู้ป่วยและกับหน่วยงาน เมื่อคุณร่ำรวยขึ้นมาแล้ว คุณจะได้บอกลูกหลานอย่างเต็มปากเต็มคำว่า เงินที่ได้มานี้มาด้วยความสุจริต อยู่ด้วยความภาคภูมิใจ จึงไม่เคยหวั่นกลัวกับการถูกตรวจสอบใดๆทั้งสิ้น
ผมหวังว่าคุณคงเข้าใจ ถ้าคุณต้องการให้ระบบดี การสะท้อนย้อนกลับควรจะต้องเหมาะสมไม่ควรมี negative feedback ซึ่งจะทำให้ตัวคุณเองทำงานด้วยความไม่สุขใจ ผมให้ข้อคิดด้วยความปรารถนาดี
นายแพทย์โกวิทย์ พฤกษานุศักดิ์
ภาควิชา โสต ศอ นาสิกวิทยา
9 เมษายน 2556


Posted by : Doramon , Date : 2013-04-09 , Time : 12:33:30 , From IP : 172.29.10.63

ความคิดเห็นที่ : 7


   ดิฉันขอบพระคุณคุณหมอมากคะที่ช่วยเล่าถึงคุณวุฒิและจรรยาบรรณาท่าน รวมถึงพยายามชี้แจงข้อดีของระบบฝากขาย ซึ่งดิฉันก็เพิ่งทราบคะว่าท่านเป็นผู้จัดการและริเริ่ม ดิฉันไม่เคยคิดก่อให้ปัญหากับหมอ ไม่ได้ระบุชื่อใดๆ ดิิฉันและคุณลุงเป็นแค่เสียงสะท้อนหนึ่งในมุมมองของคนไข้ที่สื่อถึงระบบ ถ้่าคุณหมอเปิดใจรับฟังบ้าง อย่างน้อยน่าจะนำมาพัฒนาปรับปรุงเพื่อภาพลักษณ์ของคุณหมอเองและประโยชน์สูงสุดของคนไข้ ดิฉันบอกแล้วคะว่าทั้งหมดเป็นเรื่องของโรงพยาบาล ดิฉันคิดว่าคงไม่เข้ามา complaint อะไรที่นี่แล้วคะ ไม่น่าจะเกิดผลอะไรจริงๆอย่างที่คุณบดินทร์บอก

ขอบคุณคะ
อญิญญา


Posted by : apinya , E-mail : (apinya_2556@yahoo.com) ,
Date : 2013-04-09 , Time : 20:32:46 , From IP : 113.53.11.122


ความคิดเห็นที่ : 8


    เรียนคุณเจ้าของกระทู้ครับ...ผมจำเป็นต้องชี้แจงและไม่คิดว่าอวดอ้างคุณวุฒิตนเอง แต่สิ่งที่คุณ post ได้แสดงถึงความไม่เข้าใจ ในระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยและระบบการศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ และคุณยังdiscredit ไม่ไว้วางใจแพทย์หูคอจมูก ของ รพ.มอ ถ้าคุณคิคว่าจะต้องรับบริการจากแพทย์ที่จบจากต่างประเทศจึงจะดูแลคุณหรือญาติคุณได้หรือมาเปิดคลินิกนอนกรนได้ หรือให้บริการผู้ป่วยอื่นได้ คงต้องรอมาหลายมานานแล้วหลายปีแล้วและอาจต้องรออีก1-2ปี ซ่ึงก็เป็นเช่นนี้ทุกแผนก คุณอยู่หาดใหญ่คงอยากเหมือนกทม. คงเป็นไปไม่ได้หรอกครับ ต่างกันอย่างมากด้วย แต่หลายอย่างเราดีกว่ากทม.แน่นอน แพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยนอนกรนทุกท่านจะต้องผ่านการอบรมที่เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่แพทย์ท่านนั้นอบรม มีการศึกษาต่อเนื่อง และมีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยนอนกรนที่เกี่ยวข้องกับแผนกที่แพทย์ท่านนั้นอยู่( ผู้ป่วยมีหลายลักษณะ หลายโรค การดูแลจึงมีหลากหลายสาขา) ผมไม่คิดจะมีปัญหากับคุณหรือผู้ป่วยคนไหน ผู้ป่วยต้องการสิ่งใดแพทย์ต้องรับฟังเสมอ ตั้งแต่ผมดูแลผู้ป่วยนอนกรนของ หูคอจมูกมา10ปี ก็ไม่เคยมีผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการกังขาว่าแพทย์ขาดความรู้ ไม่จบต่างประเทศ แต่สิ่งที่คุณโพสถึงไม่ระบุตัวตนของผม ก็ไม่ต่างจากระบุและกังขาในความรู้ผม และแพทย์ หูคอจมูก ผมจึงจำเป็นและขออนุญาตอธิบายซ้ำๆอีกครั้ง
สำหรับระบบฝากขาย ผมอยากบอกให้คุณทราบว่าผมไม่เคยสนับสนุนระบบฝากขายและเป็นผู้ริเริ่มการประมูลCPAP เป็นที่แรกของรพ.ในประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่าราคาCPAPในเมืองไทยมีราคาสูง แต่่ก็ยังมีความจำเป็นที่ต้องมีเครื่องฝากขาย เนื่องจากผู้ป่วยมีหลากหลายความต้องการ รพ.คงมิสามารถซื้อเครื่องจากหลายบริษัทมาstockไว้ ระบบฝากขายมีอยู่เกือบทุกภาควิชาฯและมิใช่เรื่องแปลกของรพ.ทุกแห่ง. ผมอธิบายแล้วคุณก็ยังไม่เข้าใจอีกถึงความจำเป็นที่ต้องมีผู้แทน ทางบริษัทต้องหาผู้แทนมาประจำเพื่อให้การดูแลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากภาระงานดังกล่าวมีมากและไม่สามารถทำได้ทันด้วยเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ ถ้าคุณไปศิริราชคุณอาจตกใจเพราะอาจมีผู้แทนรอservice คุณอยู่ไม่ต่ำกว่า10บริษัท เรื่องภาพลักษณ์ของผมผมจะให้ความสนใจน้อยมาก ผมสนใจทุกข์ของผู้ป่วยมากกว่า และประโยชน์สูงสุดของทางราชการ ผมระมัดระวังเสมอที่จะไม่ข้องแวะกับบริษัทเวชภัณฑ์ ผมขอบคุณที่เป็นห่วง เช่นกันครั้งนี้เป็นการเข้ามาตอบในwebbordเป็นครั้งแรก ทำให้ผมเรียนรู้ว่า ในsocial media มีดราม่ามากจริง และการใช้เวลาซึ่งมีค่ามากสำหรับผมในการเข้ามาอธิบายไม่น่าจะเกิดประโยชน์แก่ผู้ตั้งกระทู้นัก เช่นกัน...ผมคงไม่เข้ามาตอบอีกแล้วไม่ว่ากรณีใด ขอบคุณที่ทำให้เราได้ชี้แจงถึงแม้จะเข้าใจหรือไม่ก็ตาม
นพ.โกวิทย์


Posted by : doramon , Date : 2013-04-10 , Time : 01:02:01 , From IP : 115.67.130.174

ความคิดเห็นที่ : 9


   เฮ้อ เวรกรรม! ว่าแล้ว มิน่าละ .......................................

พระราชดำรัสพระบิดา
“อาชีพแพทย์นั้นมีเกียรติ  แพทย์ที่ดีจะไม่ร่ำรวย แต่ไม่อดตาย
ถ้าใครอยากร่ำรวยก็ควรเป็นอย่างอื่นไม่ใช่แพทย์
อาชีพแพทย์นั้นจำต้องยึดมั่น ในอุดมคติ เมตตากรุณาคุณ”

วราง 


Posted by : varangka , E-mail : (varangka@yahoo.com) ,
Date : 2013-04-18 , Time : 17:40:05 , From IP : 172.29.5.16


ความคิดเห็นที่ : 10


   อันที่จริงก็ผิดวิสัยและหลักการตั้งแต่เริ่มแรกที่ตั้งคลินิกนอนกรน ที่บ่งชี้ว่าเป็นคลินิกเฉพาะโรคนั่นหมายแพทย์ที่ประจำคลินิกจะต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะโรคนั้นสูงกว่าแพทย์ท่านอื่น แต่แพทย์ที่ปฏิบัติงานกลับไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญจริง อีกทั้งยังทำมานานกว่าสิบปีโดยไม่พยายามไปฝึกอบรมให้ถูกต้องเป็นระบบ

Posted by : siva , E-mail : (Siva_psu@hotmail.com) ,
Date : 2013-04-25 , Time : 17:39:11 , From IP : 172.29.5.56


ความคิดเห็นที่ : 11


   Simple formula: 2,500 - 5,000 bahts/machine (depends on machine price and company deals) x 30-40 machines/months = ?
+ extra bonus if target meets
+ pay with cash or cash deposit, no tax and no receipt.


Posted by : pornpot , E-mail : (pornpot1999@gmail.com) ,
Date : 2013-05-03 , Time : 21:11:02 , From IP : 113.53.74.30


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.008 seconds. <<<<<