อย่าเอา KPI ไปผูก กับ "โบนัส-รางวัล-เงินเดือน-ตำแหน่ง
Life 101 Co.,Ltd.
» แนวทางสู่ Living Company ...โดย ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ
» อย่าเอา KPI ไปผูก กับ "โบนัส-รางวัล-เงินเดือน-ตำแหน่ง"
การใช้ KPI (Key Performance Indicators) ที่ไม่ฉลาดนัก คือ เอา ผลของ KPI ไปผูก กับ โบนัส รางวัล ตำแหน่ง ฯลฯ
เพราะ KPI เป็น แค่ "มิเตอร์" เอาไว้เพื่อ หา "โอกาสในการพัฒนา" จะได้ ย้อนไปดูกระบวนการ ได้คิดใหม่ ได้ทำใหม่ ได้ สังเกตๆๆๆๆ ให้ละเอียด
"สังเกตๆ คือ ห้อยแขวนคำพิพากษา" หากสังเกตไปไม่สุดๆ จะมีแต่การปรุงแต่ง อคติ ลำเอียง อวิชชา ฯลฯ
◌◌◌◌◌◌◌◌
• ตัวอย่างประกอบ •
ลองคิดดู เราจ้างคนขับรถ เราบอกเค้าว่า KPI คือ เร็ว และ ปลอดภัย
แต่พอถึงตอน...ประเมินผลปลายปี
มิเตอร์ความเร็วเฉลี่ย บอกว่า ต่ำกว่า ๙๐ กม.ต่อชั่วโมง
เราเลยด่าคนขับว่า แย่มาก KPI ต่ำกว่ากำหนด
ทั้งๆ หลุมเต็มถนนไปหมด แต่ คนตรวจและเจ้านาย มองไม่เห็น
...บอร์ด (Board) ตาบอด
มิเตอร์ ความร้อน บอกว่า เครื่องยนต์ร้อนแล้วนะ เราเลย ไล่คนขับรถออก ขับยังไง ให้น้ำร้อนได้ ทั้งๆ ที่ สั่ง เอา KPI อีกตัวว่า เร็วๆๆๆๆๆๆ
◌◌◌◌◌◌◌◌
คนตรวจ KPI หรือ มาตรฐานต่างๆ ส่วนใหญ่ ตกหลุมพราง ของ ความมักง่าย คือ เอาแต่ ดูเอกสาร ไม่รู้จัก การสังเกต การลงไปตั้งวง dialogue
ไม่เคยลงมา ทำงานร่วม เป็น "คนนอก" ที่ มี ทัศนคติ "ฉันไม่ไว้ใจใคร" "ฉัน เก่ง กว่าใคร" ...กร่างมาแต่ไกล
คนตรวจประเมิน ทำตัวแบบ นายพลในเรื่อง AVATAR คือ ไม่มี จิตใจ ไม่รู้จัก "คุณค่า" ของมนุษย์เลย ไม่เชื่อมโยง (Connect) จิตใจตนเองกับ ผู้คน
ในหนังมี นก อี- กราน ที่ เชื่อมโยงกับ ชาวนาวี แต่ ของไทย มี CEO มี Board บริหาร และ คนตรวจประเมิน ที่เป็น อี-กร่าง เยอะมาก
◌◌◌◌◌◌◌◌
Intangible benefit เป็น อะไรที่ พวกผู้บริหาร และ คนตรวจ KPI แนวบ้าเลือด ยังไม่เข้าใจ
KPI ได้ผล (โดนหลอกว่า ได้ผล) ... แต่ ทุนทางปัญญาเสื่อมสลาย ทุนทางใจ พังย่อยยับ
คนบ้า เท่านั้น ที่ เอา KPI ไป ไล่ ตำหนิ ตัดสิน ลูกน้อง
สมัยนี้ เขาใช้ Collective intelligent กันแล้ว
ใช้ Collective conversation กันแล้ว
จนกลายเป็น Collective leadership ในที่สุด
◌◌◌◌◌◌◌◌
• บทเสริมท้ายเรื่อง ...โดย Life 101
ลักษณะของ "Collective Leadership" คือ...
ภาวะการทำงานของกลุ่มคนซึ่งสามารถผลัดกันนำ ผลัดกันตามในแต่ละสถานการณ์ สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม ...ซึ่งไม่ใช่ทีมที่มีผู้นำเพียงคนใดคนหนึ่ง
แต่เป็นทีมซึ่งอาจมีการสลับปรับเปลี่ยนผู้นำ โดยขึ้นกับธรรมชาติของงาน หรือธรรมชาติรอบข้างของงานนั้นๆ (บริบท) ปรากฏการณ์ที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น การเล่นดนตรีแจ๊ซ ทีมฟุตบอล ทีมกีฬาต่างๆ
เราพบว่า...การทำงานเป็นทีม ของคนเก่งมากๆ หลายๆ คน ที่มิได้จำเป็นต้องมีโครงสร้างทีม ซับซ้อน เพียงแค่ต้องมาทำงานร่วมกันเนื่องจากตัวเนื้องาน นั้น...
มักจะไม่มี "ผู้นำ" ที่ผู้บริหารเบื้องบนจัดตั้งมาให้ หรือจะให้เลือกตั้งกันเองก็ยังตะขิดตะขวงใจ ทำใจไม่ค่อยได้ ถ้าจะให้ใครมาทำตัวเป็น "หัวหน้า" หรือ เหนือกว่าคนที่เหลือ ...
ปัญหาที่ตามมา ก็คือ... พอนำคนเก่งๆ มารวมกันนี้ กลับมีอาการ... ต่างคนต่างใหญ่ ต่างคนต่างมีความสามารถ
เรียกว่า "รวมดาว" เก่งๆ กันทั้งนั้น
แต่แปลกที่ว่า พอรวมดาวมาไว้ด้วยกัน กลับทำงานได้ผลงานน้อยกว่าการทำงานด้วยคนธรรมดาๆ รวมกันทำ !?
แนวทางของ Collective leadership จะช่วยอำนวยให้ คนเก่งๆ ที่อยู่กันในทีม แต่ละคนมีความสามารถพลิกแพลงในงานที่ตนถนัดได้ดี สามารถสลับกันเป็นผู้นำในส่วนงานที่ตนถนัดได้
และที่สำคัญ "ลงเป็น" ยอมให้เพื่อนคนอื่นขึ้นไปนำได้เช่นกัน
โดยคนที่เหลือก็ช่วยประคอง ช่วยเล่นประกอบช่วยเล่นเสริมให้เพื่อนที่กำลังเล่นนำอยู่นั้น สามารถสร้างสีสันให้สวยงามได้
◌◌◌◌◌◌◌◌
Credit : ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ | บันทึกคนไร้กรอบ
Posted by : 7s , Date : 2013-03-15 , Time : 13:10:18 , From IP : 172.29.8.80
|