ความคิดเห็นทั้งหมด : 11

ข่าววงในสำหรับextern ที่เลือก รพ.เขต11


   มีการประชุมของ สธ และผู้ว่าจังหวัดเขต11(ตรัง พังงา กระบี่) ว่าให้ส่ง Intern ใหม่ ไปหมุนเวียนจังหวัดนครศรี และ3จังหวัดชายแดน โดยจะมัดมือชกไม่แจ้งในตอนนี้ (ไม่เหมือนที่กำลังเกิดกับ รพ.หาดใหญ่ ที่มีการแจ้งล่วงหน้าว่าคนที่เลือกจะต้องหมุนเวียนไปอยู่ 3จังหวัดชายแดน เรื่องนี้ผมได้ฟังมาจากหัวหน้าตัวแทน Extern เขายืนยัน ...




Posted by : chorwat , Date : 2004-03-16 , Time : 18:21:55 , From IP : 172.29.3.216

ความคิดเห็นที่ : 1


   จิงอ่ะ โห แย่ง่ะ แต่ว่าส่งเด๊ะไปช่วยสถานการณ์ที่ยะลาแล้วนี่ อิอิ

Posted by : arik , Date : 2004-03-16 , Time : 20:08:34 , From IP : 203.145.22.126

ความคิดเห็นที่ : 2


   ถ้าเป็นจริงอย่างที่วัสว่า.......ก็แย่น่ะ อยู่ดีๆมามัดมือชก
อย่ายอมล่ะ ประท้วงเลย


Posted by : vivid , Date : 2004-03-16 , Time : 22:41:49 , From IP : 203.121.130.37

ความคิดเห็นที่ : 3


   ผอ.รพ.บันนังสตา ลาออก!

รพ.รามันป่วนเหลือหมอแค่คนเดียว!

พยาบาลแห่ย้ายหนีตายไฟใต้!

ยุบอนามัยชายแดนหวั่นสังเวยโจรใต้ ข้าราชการผวา!

นี่เป็นเพียงหนังตัวอย่าง ที่เกิดขึ้นใน จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

และต้องยอมรับว่าสถานการณ์ ความไม่สงบ ยังคงรุนแรง และดูเหมือนจะขยายกลุ่มเป้าหมายออกไปเรื่อยๆ มากขึ้นทุกที

จากที่เคยพุ่งเป้าแค่ทหาร ตำรวจ และคนในเครื่องแบบ ถึงวันนี้กลายเป็นประชาชนคนเดินดิน ที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ ก็กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องคอยหวาดผวาภัยที่อาจจะเข้ามาถึงโดยไม่รู้ตัว

ทั้ง เด็ก ผู้หญิง คนแก่ ต่างตกเป็น “เหยื่อ” สังเวยความรุนแรงไม่เว้นแต่ละวัน

แน่นอน ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องทำงานกันอย่างหนัก

แต่ หมอ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุข ก็ต้องรับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่น้อยไปกว่าบุคลากรในสาขาอาชีพอื่น เช่นกัน

คนตาย ก็ต้องออกไปชันสูตรศพ!

คนเจ็บ ก็ต้องรักษา!

แถมนโยบายรัฐบาล ในโครงการหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้า ยังกำหนดให้โรงพยาบาล สถานีอนามัย ต้องรับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพอีก

งานหนัก เงินน้อย เสี่ยงภัยสูง เป็นใครก็ไม่อยากอยู่!

เพราะปัญหา “ขาดแคลน” บุคลากรด้านสาธารณสุขนั้น ดูเหมือนจะเป็นปัญหาที่หมัก หมมมานานหลายสิบปีแล้ว แม้ในช่วงที่สถานการณ์ยังปกติ

ยิ่งเมื่อเกิดภาวะอันน่าสะพรึงกลัวเช่นนี้ขึ้น ปัญหาก็ยิ่งหนักหนาสาหัสมากขึ้น

เรื่องหมอไม่พอกับจำนวนคนนั้น น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวยอมรับว่า “การขาดแคลน แพทย์ในระบบบริการของประเทศไทย เป็นปัญหาเรื้อรังมาโดยตลอด แพทย์ไทยต้องทำงานหนักเกินมาตรฐานเกือบ 2 เท่าตัว โดยแพทย์ 1 คนต้องรับผิดชอบประชากรเฉลี่ย 2,700 คน ในบางพื้นที่ที่มี ขนาดใหญ่และประชากรมาก ความขาดแคลนแพทย์ก็ยิ่งรุนแรง แพทย์ 1 คนอาจต้องดูแลประชากรเฉลี่ยถึง 7,600 คน”

ยิ่งหลังเกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้น แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ยิ่งทยอยขอย้ายออกจากพื้นที่

หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ยื่นเรื่องขอย้าย ขอลาออก จนสถานีอนามัยบางแห่ง ไม่เหลือแม้แต่นักการภารโรง

กว่า 6 เดือนแล้ว ที่สถานการณ์การขอย้าย ของบุคลากร สาธารณสุขในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ เลวร้ายลงเรื่อยๆ แม้จะมีความพยายาม แก้ไขปัญหาจากหลายฝ่าย แต่ก็เป็นการแก้ปัญหาแบบ ไฟไหม้ฟาง ไม่มีรูปธรรมของการแก้ไขที่ชัดเจน

เมื่อเหตุการณ์บานปลายถึงขั้นที่ เรียกได้ว่าเข้าสู่ภาวะวิกฤติ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ในฐานะเจ้ากระทรวง จึงเชิญ นายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ จุฬาราชมนตรี เดินทางลงใต้ เพื่อร่วมประชุมจัดทำแผนพัฒนา สาธารณสุข 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติ ตามหลักศาสนา รวมไปถึงการหามาตรการเพื่อสร้าง ขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากรสาธารณสุข ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

แม้ผู้ที่มาเข้าร่วมประชุม จะเป็นข้าราชการระดับอธิบดีจากส่วนกลาง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และ ผอ.รพ.ยะลา แต่ส่วนใหญ่เป็นการพูดในภาพรวม ขณะที่การสะท้อนปัญหากลับไม่ค่อยเข้มข้นนัก

ส่วนนางสุดารัตน์ กล่าวกับผู้เข้าร่วมประชุมว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ดำเนินการใน 3 เรื่องหลักๆ ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ เรื่องความปลอดภัย ขวัญกำลังใจ และการพัฒนาศักยภาพบริการประชาชนให้มีความทัดเทียมพื้นที่อื่นๆ

และมติที่ประชุมครั้งนั้น คือ กระทรวงสาธารณสุข รับที่จะเร่งจัดทำแผนพัฒนา ระบบบริการ สาธารณสุขในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ให้เป็นไปตามความ ต้องการของพื้นที่ เป็นแผนงาน 3 ปี ใช้งบประมาณ 1,900 ล้านบาท แผนดังกล่าว มีทั้งการผลิตแพทย์ พยาบาล ซึ่งรับจากคนพื้นที่เข้าเรียนเป็นกรณีพิเศษ รวมถึงการสร้างวิทยาลัยพยาบาลอีก 1 แห่ง ที่ จ.ยะลา

การสร้างรั้วสถานีอนามัย 50 แห่ง สร้างบ้านพักให้เจ้าหน้าที่เพิ่มเติมอีกกว่า 30 แห่ง สร้างสถานีอนามัย ทดแทน ของเก่าอีก 30 แห่ง จัดซื้อรถพยาบาล สำหรับส่งต่อผู้ป่วย และรถจักรยานยนต์ ให้เจ้าหน้าที่ออก ปฏิบัติงานเยี่ยมบ้าน ตลอดจนการพัฒนา ขีดความสามารถ ของโรงพยาบาล ในการรักษาพยาบาล คนป่วยให้มากขึ้น โดยเจ้ากระทรวงรับ ปากว่า ทั้งหมดนี้จะเห็นผลเป็น รูปธรรมภายใน 3 ปี หลังจากได้รับการจัดสรรงบประมาณ

ที่สำคัญที่สุด ที่นางสุดารัตน์แจ้งให้ที่ประชุมทราบ ก็คือ การอนุมัติค่าเสี่ยงภัยอัตรา 1,000 บาทต่อเดือน ให้แก่เจ้าหน้าที่ จำนวน 3,600 คน ในจังหวัดยะลา ปัตตานี และ นราธิวาส

ในส่วนของขวัญและกำลังใจนั้น ครม.ได้มีมติอนุมัติงบประมาณจำนวน 400 ล้านบาท เป็นเงินประกันชีวิตให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในวงเงินคนละ 500,000 บาท ค่าตอบแทนพิเศษในการทำงานพื้นที่เสี่ยงภัย มีการจ้างอาสาสมัครสาธารณสุขให้เข้ามาช่วยงาน ในสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลที่ขาดแคลนเจ้าหน้าที่ รวมทั้งการปรับปรุงบ้านพักอาศัย ของเจ้าหน้าที่ให้มีความปลอดภัยเพียงพอ
การอัดฉีดทั้งเงิน ทั้งงาน ในสภาวะที่ ขาดแคลน “คน” เป็นโจทย์ยาก ที่ท้าทายผู้บริหาร กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รมว.สาธารณสุข ดร.สิริกร มณีรินทร์ ที่แม้จะเป็นรัฐมนตรีน้องใหม่ของ กระทรวงคุณหมอ แต่ถึงวันนี้ก็ต้องนับว่ากลายเป็นคน ในเรือลำเดียวกันแล้ว ที่ต้องช่วยกันฝ่ามรสุมต่างๆ และ น.พ.วัลลภ ไทยเหนือ ปลัดกระทรวงฯ ที่จะต้องผนึกพลังเร่งทำงานเพื่อพิสูจน์ว่า นโยบายที่ประกาศออกไปโดยคำพูดและ แผ่นกระดาษนั้น สามารถเป็นจริงได้

ไม่ใช่แค่นโยบาย ขายฝัน

เพราะเม็ดเงินที่รัฐทุ่มลงไป หรือกลยุทธ์ต่างๆ นั้น อาจซื้อเวลา และ “เหนี่ยวรั้ง” บรรดาแพทย์ พยาบาลในภาคใต้ได้ ชั่วครั้งชั่วคราว

แต่หากศรัทธาหมดลงเมื่อใด ให้ทุ่มเงินมหาศาลแค่ไหนก็ซื้อคืนไม่ได้!




โชคดีนะครับรุ่นพี่


Posted by : รุ่นน้อง , Date : 2004-03-17 , Time : 09:24:35 , From IP : p7-nrtMT1.S.loxinfo.

ความคิดเห็นที่ : 4


   ปล่อยข่าวหรือ เปล่า พี่ กะว่า ให้ พวกที่ลงไปแล้วถอน ตัว แล้วกะ จะเข้าเสียบแทน หรือเปล่า .....ต้องฟังหู ไว้ หู นะครับ พวกนี้ไว้ใจไม่ได้ พวกตัวดำ ๆ เนี่ย

Posted by : คนตัวไม่ดำ , Date : 2004-03-17 , Time : 09:35:00 , From IP : lvs1.moph.go.th

ความคิดเห็นที่ : 5


   อ่า ตอนนี้ยังประกาศกฎอัยการศึกอยู่ คนตายไม่ต้องไปชันสูตรศพนะครับ คุณรุ่นน้อง

Posted by : ได้ยินมา , Date : 2004-03-17 , Time : 11:13:12 , From IP : c6100.inet.co.th

ความคิดเห็นที่ : 6


   มาเถอะน้องๆมาอยู่เป็นเพื่อนกันที่ชายแดนเนี่ยแหละ น้องจะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆที่ไม่มีในหลักสูตร นอกรายการ UBC ที่มีอยู่ ได้พบท่านผู้หลักผู้ใหญ่ถึงที่แบบมาหาถึงที่เลย เนี่ย จากประสบการณ์ตรง พี่อยู่เจาะไอร้องตอนนี้ 3 เดือน มากันครบ
ตั้งแต่ผู้ตรวจราชการ จนถึง ปลัดกระทรวง ขาดก้แต่ เจ๊หน่อย กะ นายก แต่ถ้ายังเป็นอย่างนี้ต่อไปคงมาเยี่ยมเราสักวันละ อย่ากังวลไปเลยน้องเอยไม่มีที่ไหนดีที่สุดหรือแย่ที่สุดหรอกมันก็คละกันละ ส่วนเรืองรายได้ไม่ต้องห่วงน้อง 40000ต่อเดือนเป็นอย่างน้อย พอได้ปลอบใจให้หายเหนื่อยกายและใจ


Posted by : med25 , Date : 2004-03-17 , Time : 14:13:44 , From IP : 203.113.77.36

ความคิดเห็นที่ : 7


   อ้าว เฮ้ย ไม่รอดแล้วเหรอเรา -_-"

Posted by : OpY , Date : 2004-03-17 , Time : 14:39:40 , From IP : 202.183.159.66

ความคิดเห็นที่ : 8


   รายได้ดี แต่ ไม่มี ที่ใช้ ในชาตินี้ ก็ไม่รู้ว่าจะเอาไปทำเกลืออะไร

Posted by : คนเป็น , Date : 2004-03-17 , Time : 19:00:15 , From IP : ppp-210.86.184.12.re

ความคิดเห็นที่ : 9


   40000 น้อยไปมั้ยครับ แถวๆนี้ได้มากกว่าอีกเป็นหมื่น

Posted by : งง , Date : 2004-03-17 , Time : 19:02:48 , From IP : 172.29.2.137

ความคิดเห็นที่ : 10


   ถ้าหมอตาย แล้วใครไปชันสูตรครับ

Posted by : dol-lo , Date : 2004-03-18 , Time : 19:41:05 , From IP : 203.157.95.11

ความคิดเห็นที่ : 11


   อย่าว่าแต่รุ่นพี่เลยครับ
ผมเป็นคนในพื้นที่
จะกลับมาบ้าน หรือ เดินทางไปไหนที
ยังกลัวเลย
เข้าใจครับวา่ใครก็ไม่อยากเสี่ยง
ก็ทำงานในเมืองหนะ ทั้งสบาย แถมบางทีรายได้ดีกว่าด้วย
แต่...............
หมอมีหน้าที่อะไรหละครับ
.........................................................................................
ขอให้เรื่องร้ายๆนี้จบเร็วๆนะครับ


Posted by : รุ่นน้องคนหนึ่ง , Date : 2004-03-19 , Time : 17:15:29 , From IP : 203.113.77.36

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<