ความคิดเห็นทั้งหมด : 27

สธ.ประกาศรับสมัคร นศ.แพทย์ เพิ่มกว่า 5,000 คน


   สธ.ประกาศรับสมัคร นศ.แพทย์ เพิ่มกว่า 5,000 คน



โดย ผู้จัดการออนไลน์


นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ลงนามความร่วมมือในการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทเพิ่ม โดยเน้นหนักที่ 6 จังหวัดภาตใต้ คือ สุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ เพื่อให้เพียงพอกับการรองรับผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง โดยนักศึกษาแพทย์ที่เรียนจบแล้วจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการประจำทันที พร้อมรับสวัสดิการและเงินเดือนค่าตอบแทนที่สูงกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อขวัญ กำลังใจ รวมไปถึงระงับการลาออกของแพทย์ อย่างไรก็ตาม นายแพทย์วัลลภ ระบุว่า ทั่วประเทศมีแพทย์ทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งหมดเพียง 28,799 คน และแพทย์ที่ชำนาญเฉพาะทาง โดยเฉพาะด้านโรคหัวใจ ปอด มะเร็ง ไขข้อและกระดูก สูตินรีแพทย์ ยังขาดแคลนอีกจำนวนมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น และเพื่อให้เพียงพอต่อการรองรับผู้ป่วยทั่วประเทศจึงร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ ขยายสถาบันการเรียนการสอนเพิ่มอีกในปี 2547 โดยนำร่องภาคใต้เป็นอันดับแรก โดยสามารถรับนักศึกษาแพทย์ได้ถึง 5,051 คน ขณะที่กระทรวงฯ ตั้งเป้าไม่เกิน 10 ปี จะสามารถเติมเต็มแพทย์เข้าสู่ระบบสาธารณสุขทั่วประเทศเกือบ 30,000 คน


Posted by : ......... , Date : 2004-03-12 , Time : 19:42:46 , From IP : 172.29.4.46

ความคิดเห็นที่ : 1


   ยิ่งผลิตมาก คุณภาพก็ยิ่งต่ำ
ล้มโครงการ 30 บาทไม่ดีกว่าเหรอ
คิดอะไรกันอยู่เนี่ย


Posted by : นักศึกษาแพทย์ , Date : 2004-03-12 , Time : 20:19:32 , From IP : 172.29.2.151

ความคิดเห็นที่ : 2


    ขอให้ทำให้แพทย์ที่มีอยู่ให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ศักยภาพที่ดีก่อนดีกว่า
แล้วก็ไปทำ primary health care ให้ดี ให้ประชาชนรู้จักดูแลตนเอง ป้องกันตนเองให้ห่างจากโรค ดีกว่าที่จะปล่อยให้มารักษาที่ปลายเหตุแบบนี้


Posted by : ความคิดเห็น , Date : 2004-03-12 , Time : 21:01:54 , From IP : 172.29.3.240

ความคิดเห็นที่ : 3


   กระทรวงคิดแต่เรื่องที่จะผลิตบะหมี่สำเร็จรูป หาได้ดูคุณภาพไม่ กระทรวงควรจะพิจารณาคุณภาพบัณฑิตที่จบไปและปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย อย่าเอาความไม่ดีมาปะหน้า

Posted by : อ , Date : 2004-03-12 , Time : 23:32:32 , From IP : r214-skaHS1.S.loxinf

ความคิดเห็นที่ : 4


   กระทรวงคิดแต่เรื่องที่จะผลิตบะหมี่สำเร็จรูป หาได้ดูคุณภาพไม่ กระทรวงควรจะพิจารณาคุณภาพบัณฑิตที่จบไปและปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ว่าที่สระบุรี หรือที่นครศรีธรรมราช เป็นต้น

Posted by : อ , Date : 2004-03-12 , Time : 23:33:31 , From IP : r214-skaHS1.S.loxinf

ความคิดเห็นที่ : 5


   สุราษ กระบี่ พังงา ภูเก็ต น่าจะมีหมอเยอะแล้ว แค่ส่งเสริมอย่ากดดันให้เขาลาออกจากราชการก็พอ
ปัตตานี นรา ยะลา สตูล ต่างหากที่ควรเน้น
นี่ละระบบราชการ ชอบแก้ผิดจุดเพราะง่ายดี


Posted by : doc , Date : 2004-03-13 , Time : 10:39:31 , From IP : 172.29.3.117

ความคิดเห็นที่ : 6


   เรื่องนี้น่าเข้ามาร่วมวงคุย
.
ทำไมเราไม่ลองคิดในมุมกลับว่า การผลิตมากขึ้น ก็มีโอกาสที่จะทำให้คุณภาพดีขึ้น บ้างละครับ
.
ผมยกตัวอย่างเช่น กรณีของบริการโทรศัพท์มือถือ การมีผู้ให้บริการหลายราย มีการแข่งขันที่เป็นธรรม ระดับของบริการโดยรวมมันก็ดีขึ้นมิใช่หรือ ใคร comform ต่อการแข่งขันในระบบตลาดไม่ได้ ก็ออกไป เหมือนกับที่ออเรนจ์ถอนออกไป นี่เป็นกฏของเสรีนิยมสุดขั้วตามแนวทางของอาดัม สมิทธิ์ไงครับ ปัญหาอยู่ที่คำสำคัญสองคำคือ การแข่งขัน และ เป็นธรรมกล่าวคือ เราจะขับเคลื่อนให้กลจักรของการแข่งขันหมุนไปในกรอบของธรรมาภิบาลอย่างไร
.
การสนับสนุนให้เกิดการศึกษาแพทย์ในปัจจุบันเป็นการสนับสนุนผ่าน supply side ทั้งหมดครับ รัฐจ่ายเงินให้กับโรงเรียนแพทย์ตามขนาดหรือตามอัตราการผลิต ผมมองไม่ค่อยเห็นว่าการ subsidize ผ่านสถาบันอย่างนี้จะเอื้อให้เกิดการแข่งขันได้อย่างไร ในเมื่อตราบเท่าที่โรงเรียนแพทย์โรงเรียนหนึ่งผลิตแพทย์จำนวนเท่าเดิม ก็จะได้เงินเท่าเดิม ไม่มีช่องที่จะทำให้ปัจจัยของ คุณภาพ ความพึงพอใจ หรือความเก๋า เข้ามาขับเคลื่อนหรือผลักดันองค์กร
.
ลองเลิกการสนับสนุนภาคสถาบัน เปลี่ยนมา subsidize ผ่านทางนักเรียนบ้างสิครับ เช่นเด็กชายคำนูนเป็นนักเรียนผลการเรียนใช้ได้ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับทุนโครงการแพทย์เอื้ออาทรจากรัฐบาล ทำไมคำนูนจะต้องถูกจำกัดให้เรียนในโรงพยาบาลประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ละครับ สมมติว่าคำนูนสนใจจะเรียนแพทย์ระบบ PBL เขาจะกำทุนก้อนนั้นมาสมัครเรียนในโรงเรียนของเราได้ไหม หรือเขาอยากเรียนใกล้กับโรบินสันสีลม เขาจะไปสมัครแข่งขันเพื่อเรียนที่จุฬาฯ ดีไหม ด้วยแนวทางนี้โรงเรียนก็จะได้ประโยชน์จากทุนที่คำนูนถือไป ตามต้นทุนการผลิตแพทย์จริง เช่นสองล้านบาทต่อหัว นี่ยังไงครับ จะทำให้การแข่งขันเกิดขึ้นระหว่างสถาบัน กลจักรที่จะผลักดันคุณภาพจะเกิดขึ้น และจะไม่มีคำว่านายแพทย์ชั้นสองโครงการเอื้ออาทร
.
ประเด็น นายแพทย์ชั้นสอง นี่น่าคิดนะครับ ทำเป็นเล่นไปในอนาคต เราอาจจะเห็นการต่อท้ายชื่อหน้าร้านของแพทย์บาง
คนว่า นายแพทย์รักไทย ใจงาม (ไม่ใช่เอื้ออาทร) หากไม่ตีประเด็นให้แตกและคิดไว้ล่วงหน้า โครงการนี้อาจจะทำให้เกิด double standard ในวงการแพทย์ไทยขึ้นมาจริง ๆ ก็ได้ น่าติดตามใช่ไหมล่ะครับ


Posted by : Shonigega , Date : 2004-03-13 , Time : 12:56:35 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 7


   ผลิตแพทย์เยอะแยะแล้วแน่ใจว่าจะมี ตำแหน่งให้ ดูอย่างที่นครศรี สิ ได้ข่าวว่า
แพทย์ชนบทที่กำลังจะจบยังไม่มีตำแหน่งให้เลย


Posted by : @@ , Date : 2004-03-13 , Time : 15:15:15 , From IP : 172.29.3.104

ความคิดเห็นที่ : 8


   การผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท เป็นโครงการที่ดีจะได้มีแพทย์เพิ่มขึ้นในชนบท
และสามารถทำให้ระบบสาธารณสุขของประเทศดีขึ้น คุณภาพทางด้านสุขภาพของประชาชนจะดีขึ้น แต่การผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง ( สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) รัฐบาลชุดนี้คงจะลืม หรือเอาไว้หาเสียง นางสุดารัตน์ รัฐมนตรีสาธารณสุขมาดูสภาพการทำงานของแพทย์ในสามจังหวัดภาคใต้ ซึ่งแพทย์ขาดแคลนอย่างหนัก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แพทย์กขาดประมาณ300 คนตามข้อมูล Gis และนางสุดารัตน์ รับปากว่าจะหาแพทย์มาเพิ่มให้ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และจะรับนักเรียนในพื้นที่เข้าเรียนแพทย์เพิ่มเพื่อชนบท และจะเพิ่มสวัสดิการต่าง ๆ ให้ข้าราชการสาธารณสุขทั้งหมด จนแล้วจนรอดก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

สถิติการรับแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทในปีนี้ เพื่อเข้าเรียนในปีการศึกษา 2547

1. มหาวิทยาลัยมหิดลรับเด็กในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน 9 จังหวัด จำนวน 40 คนเด็กเข้ารายงานตัวเรียบร้อยแล้ว
2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รับเด็กในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน 9 จังหวัด รับ47 คนและเด็กรายงานตัวเรียบร้อยแล้ว
3. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับเด็กภาคใต้ตอนบน 6 จังหวัด สุราษฏร์ธานี ชุมพร ระนอง พังงา ภูเกต และกระบี จำนวน 45 คน (ประกาศโดยน.พ.วันลภ ไทยเหนือปลัดกระทรวงสาธารณสุข วันที่ 12 มีนาคม 2545 ดูข่าวได้จากเวปของกระทรวงสาธารณสุข ข่าวเพื่อสื่อมวลชน 1 วันที่ 12 มีนาคม
4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับ เด็กภาคใต้ตอนล่าง 7 จังหวัด 20 คน เด็กรายงานตัวแล้ว (จังหวัดตรังและพัทลุงได้ ทั้ง ข้อ 1, 2และข้อ4)
และได้ข่าวว่า มอ.จะรับแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท40 คน และคณะแพทย์ได้เตรียมการไว้เรียบร้อยแล้วแต่ต้องรอให้ ครม อนุมัติ มันเป็นเรื่องแปลกถ้าเป็นเรื่องของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วมันเป็นเรื่องใหญ่ต้องไดรับความเห็นชอบจาก ครม. ไม่รู้จะหาเสียงไปถึงไหน (เรื่องนี้ใครทราบข้อมูลกรุณาเข้ามาหน่อยนะครับ)

และจากมติที่ประชุมของกระทรวงสาธารสุขเกี่ยวกับสภาพของแพทย์ และการแก้ไขแพทย์ขาดแคลน ดังนี้
สรุปมติการประชุมกระทรวงสาธารณสุข
ครั้งที่ 12 /2546
วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม 2546 เวลา 13.58-17.30 น.
ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคาร 1 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
(คัดมาเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแพทย์เท่านั้นรายละเอียดอ่านได้จากเวปกระทรวงสาธารณสุขนะครับ)
เรื่อง
1.แผนกำลังคนด้าน
สาธารณสุข
1. รับทราบผลการประชุมคณะทำงานร่วมกัน 3 ฝ่าย (คปร. กพร.และกระทรวงสาธารณสุข) เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.2546 เวลา 10.00-12.00 น.ซึ่งมี ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานได้ ให้ความเห็นชอบกับการแก้ปัญหาพนักงานของรัฐฯ โดยมีมติจะให้เปลี่ยนพนักงานของ รัฐฯ ทั้งหมดเป็นข้าราชการตั้งแต่วันที่ 1
ม.ค.2547 เป็นของขวัญปีใหม่โดยให้นับระยะ
เวลาที่ดำรงตำแหน่งและอัตราเงินเดือนเท่าที่
ได้รับในปัจจุบันและเห็นชอบแผนแม่บทกำลัง
คนด้านสาธารณสุขซึ่งเป็น Based Line ของ
ความต้องการกำลังคน การแก้ไขการขาด
แคลนแพทย์เพื่อการบริหารให้เกิดการกระ-
จายตามแผน GIS และให้มีการกำหนดเงิน
เดือนและค่าตอบแทนตามระบบใหม่รวมทั้ง
ให้มีระบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยจะนำ
เสนอแผนแม่บทกำลังคนด้านสาธารณสุขต่อ
คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ
ต่อไป

2. มอบคณะทำงานฯให้เร่งจัดทำแผนผลิตกำลังคนเพื่อจะได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วและให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในวันที่ 13 ม.ค.2547

3. ให้มีการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในปัจจุบันโดยพิจารณาการจัดแพทย์ลงในพื้นที่ขาดแคลนก่อนและให้มีการหมุนเวียนแพทย์ภายในจังหวัดเพื่อช่วยสนับสนุนการให้บริการและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์อีกแนวทางหนึ่ง
ผู้รับผิดชอบดำเนินงาน
-รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
(นพ.อนันต์ อริยะชัยพาณิชย์)
-รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
(นพ.ธวัช สุนทราจารย์)
-ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ
(นพ.ชาตรี บานชื่น)

รายละเอียดต่าง ๆดูได้ จากเวปกระทรวงสาธารณสุข จาการมติประชุมของกระทรวงสาธารณะสุขครั้งที่ 12/25262

****เรื่องทุกเรื่องยังไม่ได้เข้า ครม.ครับ เอาไว้ไกล้ ๆเลือกตั้งคงเอาเข้า ครม.แน่นอนครับ**



-






Posted by : ภาคใต้ตอนล่าง , E-mail : (jry@rota) ,
Date : 2004-03-13 , Time : 17:37:31 , From IP : 203.113.77.73


ความคิดเห็นที่ : 9


   อยากให้มองว่า

ขณะที่โรงเรียน แพทย์ มีอยู่ คงที่ แต่ จำนวน นศพ.เพิ่มขึ้น + ในยุคที่การฟ้องร้อง มีเพิ่มขึ้น หัตถการอย่า หวังจะได้ทำเลย แล้วคุณภาพมันจะเกิดได้อย่างไร


ต้องยอมรับว่า ความผิดพลาดจากการเรียน การฝึกหัตถการก็ย่อมมี แต่ในยุคนี้ สังคมคาดหวังกับ แพทย์สูง สูงจน เห็นแพทย์ เป็นเครื่องจักรของ กระทรวง สาธารณสุข แต่เรากลับถูกสอนว่า ให้ใช้การมองแบบองค์รวม
ผมว่ามันไม่....ไม่ค่อย fair เท่าใดนะ

แนวความคิดในการเพิ่มจำนวน เป็นความคิดที่ดี แต่ ต้องมีปัญหา ตามมาแน่ เตรียมตัวไว้เถอะ


Posted by : คนโง่ , Date : 2004-03-14 , Time : 10:40:36 , From IP : ppp-210.86.184.172.r

ความคิดเห็นที่ : 10


   อยากให้มองว่า

ขณะที่โรงเรียน แพทย์ มีอยู่ คงที่ แต่ จำนวน นศพ.เพิ่มขึ้น + ในยุคที่การฟ้องร้อง มีเพิ่มขึ้น หัตถการอย่า หวังจะได้ทำเลย แล้วคุณภาพมันจะเกิดได้อย่างไร


ต้องยอมรับว่า ความผิดพลาดจากการเรียน การฝึกหัตถการก็ย่อมมี แต่ในยุคนี้ สังคมคาดหวังกับ แพทย์สูง สูงจน เห็นแพทย์ เป็นเครื่องจักรของ กระทรวง สาธารณสุข แต่เรากลับถูกสอนว่า ให้ใช้การมองแบบองค์รวม
ผมว่ามันไม่....ไม่ค่อย fair เท่าใดนะ

แนวความคิดในการเพิ่มจำนวน เป็นความคิดที่ดี แต่ ต้องมีปัญหา ตามมาแน่ เตรียมตัวไว้เถอะ


Posted by : คนโง่ , Date : 2004-03-14 , Time : 10:42:33 , From IP : ppp-210.86.184.172.r

ความคิดเห็นที่ : 11


   กล่าวถึงเรื่องความกังวลเกี่ยวกับทักษะทางหัตถการนี่เมื่อสัปดาห์ก่อนผมมีโอกาสร่วมวงเสวนาเกี่ยวกับแพทยศาสตร์ศึกษาในประเทศญี่ปุ่น ผู้ร่วมเสวนาเป็นนักเรียนแพทย์จากญี่ปุ่น จากโรงพยาบาลรามา และอาจารย์แพทย์ที่ญี่ปุ่น ผมเก็บมาเล่าเพื่อเป็นโจทย์คุยกันต่ออย่างนี้ครับ ที่ญี่ปุ่นมีโรงเรียนแพทย์มากถึงกว่าแปดสิบโรงเรียน ผลิตนักเรียนแต่ละปีมากกว่าแปดพันคนครับ อาจารย์แพทย์ท่านที่ร่วมเสวนาด้วยกล่าวว่าเขามีปัญหาด้านการควบคุมคุณภาพการเรียนการสอนเนื่องจากจำนวนโรงเรียนมาก ส่วนหนึ่งพยายามแก้ไขด้วยการสอบวัดผลกลาง หรือ National Board Licensing Examination หลังจบการศึกษา ที่น่าสนใจคือการสอนในโรงเรียนระดับแนวหน้าอย่างมหาวิทยาลัยโอซาก้ายังเป็น lecture based ทั้งหมด และปัญหาที่นักศึกษาบ่นในการเสวนานั้นเป็นเสียงเดียวกันคืออาจารย์หลายท่านบรรยายไม่รู้เรื่อง ทำให้เสียเวลาไปฟัง ฝ่ายอาจารย์ก็พยายามแก้ตัวว่าอาจารย์ที่โรงเรียนแพทย์รับเข้ามามิใช่มีความสามารถในการถ่ายทอดเหมือนกันไปหมด หลายคนมีความสามารถเชิงวิชาการในระดับนานาชาติ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการสอน เขามีการประเมินการสอนโดยนักศึกษาเพียงบางส่วนครับ ปัญหาสำคัญคืออาจารย์ไม่ยอมให้ประเมิน
.
แน่นอนครับ นักเรียนแพทย์ในประเทศที่บุคลากรมากอย่างนี้มีโอกาสน้อยมากที่จะได้ฝึกทำหัตถการ ผมไม่แปลกใจเลยที่ศัลยแพทย์ในภาควิชากว่าจะได้เป็นศัลยแพทย์คนที่หนึ่งในการผ่าตัดใหญ่ ก็อายุปาเข้าไปใกล้สี่สิบแล้ว แต่เมื่อมองโดยรวมทั้งระบบ ปัญหาในการให้บริการเขากลับน้อยกว่าบ้านเราครับ กล่าวอีกทางคือประชาชนมีโอกาสเข้าถึงบริการได้ทั่วถึงมากกว่าเนื่องจากปริมาณของบุคลากรมาก การกระจายของแพทย์ทั่วถึงมากกว่าแม้ว่าญี่ปุ่นจะไม่มีระบบการบังคับใช้ทุนต่างจังหวัดเลย ตลอดจนมีการส่งต่อที่ดี
.
ในความเห็นของผมเอง หัตถการไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นอันดับหนึ่งหรอกครับที่จะต้องสอนให้รู้ในโรงเรียนแพทย์ การคิดแบบแพทย์ หมายถึงการคุยกับคนไข้ให้รู้เรื่อง วินิจฉัยให้ได้ถูกต้อง รู้ขีดจำกัดของตนเองและส่งต่อให้ทันท่วงที เป็นพื้นฐานที่สำคัญกว่า
.
ในอนาคต การผ่าตัดไส้ติ่งทั้งหมด อาจจะอยู่ในมือของ certified surgeon การผ่าท้องคลอดทั้งหมดอาจจะอยู่ในมือของสูติแพทย์ นั่นจะเป็นไรไป หากประเทศเรามีคนพอ


Posted by : Shonigega , Date : 2004-03-15 , Time : 07:01:53 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 12


   ผมขอออกความเห็นนิดนะครับ
คงต้องแบ่งประเด็นว่าการผลิตแพทย์เพิ่มดีอย่างไร เสียอย่างไร
ข้อดี คือ อาจจะสามารถรองรับคนไข้ที่มีจำนวนมากได้เพียงพอ และ อาจจะมีการกระจายไปยังภูมิภาคที่ขาดแคลนได้บ้างนะครับ
คนไข้มีโอกาสเลือกหมอในการดูแลรักาได้มากพอ ไม่จำกักหมอในบางพื้นที่
ทำให้แพทย์มีการแข่งขันกันมากขึ้น อาจมีข้อดีกับคนไข้ เช่นค่ายา ค่ารักษาอาจถูกลง หรือคุณภาพอาจดีขึ้น

ข้อเสีย คือ การผลิตแพทย์ในแต่ละสถาบัน ยังมีข้อจำกัดของทรัพยากร อาจทำให้ได้คุณภาพที่ออกมาไม่ดีนัก ลองคิดดูว่าถ้าหมอที่จบมารักษามั่วๆๆ แล้วมีปัญหาขึ้นมามากมาย แล้วจะทำให้สังคมเราเป็นอย่างไร นอกจากนี้ทำให้ประสบการณ์การดูแลคนไข้ก็น้อยลง เพราะ จำนวนคนไข้ ต่อ นศพ. ลดลง ถ้ายังดึงดันต่อไป อาจมีการผลิตแพทย์ แบบเรียนที่บ้าน ไม่ต้องมาดูแลคนไข้เลยเหมือนฟิลอปปินส์เลยก็ได้ ที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งก็คือคุณธรรม ซึ่งสิ่งนี้ไม่สามารถสอนโดยการ lecture ได้ การเอาใจใส่นักศึกษา การดูแลใกล้ชิด ให้เห็นแบบอย่างที่ดี มีความสำคัญไม่น้อยนะครับ
ผมคิดว่าการผลิตเพิ่มเองก็พอช่วยเรื่องปริมาณคนไข้ได้บ้าง แต่อย่างไรก็ตามต้องควบคู่กับคุณภาพ และคุณธรรมเสมอ


Posted by : Araidae , Date : 2004-03-15 , Time : 23:49:20 , From IP : 172.29.1.249

ความคิดเห็นที่ : 13


   คำว่า เรียนที่บ้าน นี่น่าสนใจนะครับคุณ Araidae
.
เพราะเมื่อราวสิบปีก่อนมีข่าวว่ามหาวิทยาลับรามคำแหงจะเปิดคณะแพทย์ ก็มีเสียงค้านด้วยความเป็นห่วงเรื่องคุณภาพ เพราะความรู้สึกของพวกเราติดที่ว่าการเรียนแพทย์นั้นต้องเป็นการเรียนที่ หนักเหนือธรรมดา การถ่ายทอดองค์ความรู้หรือปลูกกระบวนการคิดแบบแพทย์อาศัยวิธีการพิเศษที่ต้องจัดขึ้นในสถาบันระดับสูง
.
แต่ถ้าเราถอดความเชื่อนั้นออกไปก่อนแล้วตั้งคำถามว่า การเรียนในระดับวิทยาศาสตร์พื้นฐานนั้น ที่จริงแล้วการเข้าเรียนในโรงเรียนต่างจากการนอนอยู่ที่บ้านอ่านหนังสือ ดูวิดีโอ อย่างไร ศิษย์สำนักตึกแดงที่เรียนแบบ PBL อาจเห็นว่าการมาโรงเรียนได้มาพบกลุ่มและเสวนาปะติดปะต่อความรู้ แต่ลองย้อนกลับไประบบการเรียนแบบบรรยาย ที่หลายคนเข้าห้องบรรยายเพื่อไปนอนแล้วลงท้ายด้วยการถ่ายสำเนาสมุดจดแล้วพยายามจำบาลีให้ได้ในสองสัปดาห์ก่อนสอบ (อ้างอิงจากกระทู้ข้างบน) การนอนดูวิดีโอการบรรยายหน้าตู้เย็น เล่นเกมส์คั่นรายการ แล้วอ่านเมื่อมีอารมฌ์ มันให้ความแตกต่างอย่างไร
.
อีกประการคือการเรียนในระดับคลินิก คำถามที่เราอาจลองทะลึ่งถามคือจำเป็นหรือที่เราจะต้องเรียนในโรงพยาบาลที่อยู่ในระดับ tertiary care เราจะเรียนจนครบกระบวนในโรงพยายาลระดับชุมชนได้ไหม นั่นอาจเป็นคำถามเดียวกันกับคำทักท้วงของหลายท่านที่ว่าโรงพยาบาลศูนย์บางแห่งอาจไม่พร้อมที่จะสอนในระดับคลินิก ตีประเด็นตอบให้ได้สิครับว่า อะไรล่ะคือความไม่พร้อม คุณครูในโรงพยาบาลเหล่านั้นมีความรู้น้อยกว่าคุณครูที่สังกัดโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยหรือ ในเมื่อเขาเหล่านั้นก็ถือวุฒิบัตรเดียวกัน (นี่เราข้ามประเด็นที่ว่าครูแพทย์จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาหรือไม่) เขามีกระจิตกระใจจะสอนน้อยกว่า คนไข้น้อยกว่า หรืออะไรกันแน่
.
ผมรู้ว่าคนที่มองภาพว่าการเพิ่มจำนวน จะนำมาซึ่งการลดคุณภาพนั้นมองเห็นอะไร
.
แต่ลองบรรยายภาพเหล่านั้นอย่างเป็นปรนัย (objectively) สิครับ การตอบคำถามเหล่านี้ให้ชัดจะทำให้เราได้วางตนถูก ในฐานะนักเรียนแพทย์ จะได้รู้ว่าควรจะถือโอกาสในการเข้ามาศึกษาใน university setting เพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์อย่างไร ในฐานะอาจารย์ เราอาจจะต้องตอบตัวเองว่าในอนาคต เมื่อเราถูกไล่ล่าด้วยการแข่งขัน เราจะไปทางไหน จะ position หน่วยงานของตนให้แตกต่างและแข่งขันได้ในทิศทางใด
.
เมื่อสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงพัดมาและบอกเราว่าฝนกำลังจะตก แทนที่จะยืนแช่งฟ้า ไปเก็บผ้า หากาละมังมารองน้ำฝน กวาดขยะบนรางน้ำให้พร้อม จะไม่ดูฉลาดกว่าหรือครับ


Posted by : Shonigega , Date : 2004-03-16 , Time : 07:00:24 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 14


   คิดว่าคุณ Shonigega ก็คงเป็นอาจารย์ที่กำลังไปศึกษาเพิ่มเติม ในฐานะที่เป็นอาจารย์แล้วก็น่าจะรู้ว่าการเป็นอาจารย์มีลักษณะหลายอย่างที่ต้องเพิ่มขึ้นจากความเป็นแพทย์ ก็อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่โพสต์ต้นๆว่า แม้แต่ที่โอซาก้าก็ยังมีปัญหาผู้สอน แล้วเหตุไฉนจะไม่เกิดกับที่นี่หรือที่ รพ.ศูนย์ คนเรามีความชอบความสามารถทางด้านการถ่ายทอดไม่เท่ากัน หลายคนเก่งมากเวลา discuss สอนข้างเตียง แต่เวลายืนบรรยายหน้าชั้นคนฟังหลับกว่าครึ่ง ขณะที่จบ พบ.แต่ละคนก็คงมีความคิดอยู่แล้วว่าตนเองถนัดไปด้านใด คงมีแพทย์ไม่มากที่เลือกอยู่ รพ.ศูนย์เพราะคิดว่าสักวันจะเป็นอาจารย์ การให้ รพ.ศูนย์ที่ไม่ได้เตรียมคนเตรียมระบบไว้ก่อน ย่อมแตกต่างกับ รร.แพทย์ที่ดำเนินมานานเป็นหลายๆสิบปี

Posted by : อาจารย์คนหนึ่ง , Date : 2004-03-16 , Time : 08:54:09 , From IP : 172.29.3.135

ความคิดเห็นที่ : 15


   ในช่วงหลังนี่ผมมี bias กับวิธีการดำเนินกิจการของญี่ปุ่นอยู่บ้าง อาจจะเป็นเพราะเจตคติต่อการอนุรักษ์ปลาวาฬ และการ pro-American ในสถานการณ์โลกล่าสุดก็เป็นได้ พลอยทำให้ผมคิดว่า business-oriented problem solving นั้นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด

อย่างไรก็ตามผมเห็นด้วยว่าหลังจากวาง "นโยบาย" ไปแล้ว กลยุทธ์จะต้องสนับสนุนทิศทางให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ แต่ตอนนี้ค่อนข้าง blur ว่าเราอภิปรายว่านโยบายเราอยากให้เป็นอย่างไร หรือจากโจทย์ (นโยบาย) ที่ออกมาแล้ว เราจะทำให้สำเร็จ (หรือ minimize the foreseeable damages) ได้แค่ไหน เพราะสองเรื่องนี้อาจจะนำไปสู้กลยุทธ์ที่ไม่เหมือนกันหรือแม้แต่ตรงกันข้ามกัน

วันก่อนที่ประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทักษิณเชิญ professor มาจากญี่ปุ่นมาพูดเรื่อง nanotechnology ซึ่งในช่วงต้นนี้ญี่ปุ่นลงทุนมากกว่า america เสียอีก ($800 million vs $500 million) และสินค้า biotech ได้ออกวางตลาดแล้วได้แก่ เครื่องสำอางค์ ครีมกันแดด กางเกงฆ่า bacteria & virus ที่ท่าน professor ท่านนี้ไม่ได้เอ่ยถึงคือ possible environmental disasterและมาตรการการป้องกันดูแล นาโนเทคโนโลยีเราพูดถึงมาตรวัดที่เล็กกว่า virus (100 nm) เครื่อง STM (Scanning tunneling microscopy) สามารถ spot ได้ในระดับ base-by-base ของ DNA บนโครโมโซม เรากำลังพูดถึง scientific manipulation ในระดับโครงสร้างของ genes การฆ่า bacteria หรือ virus ในระดับอณูนาโนนี้ ไม่ว่าจะเป็น instabilizing DNA structure หรือ manipulate microenvironment ให้ hostile เราไม่เคยจะมั่นใจถึงผลกระทบต่อ gene pool ของมนุษย์และสัตว์ หรือแม้กระทั่งพืชได้อย่างแม่นยำ (Quantum physics: เราไม่สามารถจะ "วัด" ตำแหน่งและ "วัด" ความแม่นยำของ speed ได้ในเวลาเดียวกัน; Maxwell) แต่ดูเหมือน "เรื่องนี้" จะไม่น่าตื่นเต้นเท่ากับ expected market $10 trillions เท่าไหร่นัก

ผมคิดว่าประชาชนต้องการ "แพทย์" ที่เป็นอะไรมากกว่า "จำนวนต่อหน่วย" อยู่ จริงอยู่จำนวนที่เพิ่มขึ้นจะทำให้สถานการณ์อะไรๆดีขึ้นหลังจากเราเทถมลงไป แต่ในระยะยาวแพทย์โครงการเร่งรัดนี้จะสำแดงอาการอะไรออกมาบ้าง อาจจะสายเกินแก้ เหมือนกับผลกระทบจาก genetic modified plants หรือ nanobiotechnology ก็ได้ ในอดีตเราไม่ได้คาดคิดว่าโรคเนื่องจากเหล้า บุหรี่ และการใช้น้ำมันปิโตรเลียมจะมีมากขนาดนี้ ตอนนี้เราเริ่ม abuse brain ต่อด้วยการใช้ cannabis บางทีหยุดคิดให้รอบคอบ อาจจะดีต่อ generations ต่อไปมากกว่ารีบๆทำก็ได้เหมือนกัน

My two cents



Posted by : Phoenix , Date : 2004-03-16 , Time : 11:25:50 , From IP : 172.29.3.134

ความคิดเห็นที่ : 16


   ขอบคุณสำหรับทุกสลึงครับ ผมได้หลายบาทแล้วจากการพูดคุย
.
ขอเรียนคุณ อาจารย์คนหนึ่ง ตามตรงครับ ว่าผมตอบไม่ได้ว่า อาจารย์ในโรงเรียนแพทย์นั้นมีคุณสมบัติต่างจากแพทย์ที่กำลังจะต้องเป็นอาจารย์ในโรงพยาบาลศูนย์อย่างไร ผมเชื่อเสมอมาว่าทัศนีย์ซึ่งจบการฝึกอบรมรุ่นไล่เลี่ยกับผมและกำลังทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลมหาราชโคราช ก็คงสอนนักเรียนของเธอในวิชาเดียวกับที่ผมสอน ได้ไม่น้อยไปกว่าที่ผมสอน และหากคุณ อาจารย์ฯ ได้พยายามบอกใบ้ว่า เป็นเพราะอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์( ส่วนหนึ่ง) ผ่านการศึกษาจากต่างประเทศ ผมก็ยังรั้นพอที่จะบอกว่าองค์ความรู้และทักษะสำหรับถ่ายทอดและชี้นำให้กับนักศึกษาระดับก่อนปริญญานั้น ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปรับจากต่างประเทศ ในกรณีของผม การศึกษาต่อต่างประเทศมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่องานวิจัย ซึ่งเป็นงานหนึ่งในสี่มิติของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย (ที่บางท่านลืมไป นึกว่าเป็นงานอดิเรก)
.
ไม่ได้ตั้งใจเข้ามาเขวี้ยงเหรียญชวนใครต่อยตีหรอกครับ ผมเองมิได้เห็นด้วยโดยสัมบูรณ์กับการผลักดันนโยบายเอื้ออาทรโดยไม่คิดหน้าคิดหลัง เพียงแต่อยากขยายมุมมอง แน่นอนครับ การเปลี่ยนแปลงใหญ่ย่อมทำให้เกิดโกลาหล (chaos) ก่อนที่ระบบจะเข้าสู่สมดุลย์ใหม่ ซึ่งจะมีทั้งภาพที่เราต้องการและผลข้างเคียง แต่ถ้าเราไม่ยอมให้มี attractor ผลักระบบไปบ้าง เราอาจไม่สามารถเคลื่อนไปและ ลำพังความต้องการทางสาธารณสุขของประชาชนที่ด้อยโอกาสและไม่มีอำนาจทุน ก็มิใช่ attractor ที่มีอำนาจรุนแรงพอเสียด้วย
.
ปัญหาเรื่องคุณภาพเกิดแน่ครับ แต่เชื่อเถิดครับว่าสิ่งที่จะเกิดคานกันในไม่ช้าก็คือ
.
1. การเข้มแข็งขึ้นของระบบตรวจสอบภาคประชาชน ประชาชนไม่โง่ครับ การแพร่หลายของข้อมูลผ่านสื่อรูปแบบใหม่ ๆ จะทำให้ความรู้ทางการแพทย์ตลอดจนความรู้เรื่อง บริการที่อาจคาดหวัง ถูกกระจายไปสู่ผู้รับบริการมากขึ้น ปรากฏการณ์แบบนี้เกิดขึ้นก่อนแล้วในสหรัฐอเมริกา หรือตัวอย่างเมื่อสองสัปดาห์ก่อน โยมิอุริชิมบุง ลงข่าวกฏหมายใหม่ของญี่ปุ่นบังคับให้ข้อมูลจำนวนรายผ่าตัดในแต่ละหัตถการ ของแต่ละสถานพยาบาล เป็นข้อมูลสาธารณะที่เปิดเผยได้ เจตนารมฌ์คือเพื่อให้ผู้ป่วยตัดสินใจได้ว่าจะเลือกเข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลใด การผูกขาดความรู้ทางการแพทย์ในมือของผู้ให้บริการจะคลายลง
2. ระบบควบคุมคุณภาพภายในภาคสถาบัน ที่เกิดจากแรงกดดันทางสังคม เพื่อให้สถาบันสามารถรักษาภาพลักษณ์ที่ดีและคงความน่าเชื่อถืออยู่ได้ ตัวอย่างคือบทบาทขององค์กรแพทย์ การทบทวนงานบริการภายในหน่วยงาน
3. การตรวจสอบจากภายนอกโดยผู้ให้ทุนค่ารักษา ไม่ว่าจะเป็นกองทุนประกันสุขภาพของรัฐ กองทุนประกันสังคม หรือในปัจจุบันที่เกิดขึ้นอยู่แล้วคือบริษัทประกันเอกชน

เหล่านี้น่าจะเป็นหยางมาคานหยิน และขณะเดียวกันก็อุ้มให้หยินธำรงตนต่อไปได้ เรื่องหนึ่งที่อยากให้คิดก็คือสถาบันที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่นั้นไม่ได้เกิดจากศูนย์เหมือนบิกแบงครับ สถาบันเหล่านั้นให้บริการทางการแพทย์อยู่แล้ว เพียงแต่แตกเพิ่มบทบาททางการถ่ายทอดความรู้ และมองในแง่ดี งานสอนและงานบริการนั้นควบคุมคุณภาพกันเองผ่านความถูกต้องขององค์ความรู้มิใช่หรือ ก่อนที่จะมีโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ การเรียนการสอนของเราก็จัดขึ้นในโรงพยาบาลหาดใหญ่มาก่อน
.
ผมยังรอคุณ อาจารย์ท่านหนึ่ง มาเฉลยว่าท่านเห็นว่าอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์ต้องมีคุณสมบัติพิเศษต่างจากแพทย์ทั่วไปอย่างไรอยู่นะครับ
.
onegai shimasu


Posted by : Shonigega , Date : 2004-03-17 , Time : 08:00:24 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 17


   คุณ Shonigega คงตอบตัวเองไดนะว่าทำไม ถึงเรียนต่อใน subspecialty ที่ตัวเองชอบหรือถนัด เช่นเดียวกันหลายคน(น่าจะเป็นส่วนมาก)ที่มาเป็นอาจารย์ก็เลือกเพราะตนเองชอบที่จะมาสอน( ไม่ขอโต้แย้งว่าย่อมมี่คนที่รู้ว่าไม่ชอบแต่แฝงเข้ามา) รร.แพทย์เองถ้ามีวิธีการที่วัดได้ก็น่าจะคัดคนเช่นนี้ แพทย์ส่วนมากที่อยู่ในรพ.ที่ไม่ใช่โรงเรียนแพทย์ย่อมไม่คิดว่าตัวเองต้องมาสอนเต็มรูปแบบ ดังนั้นคุณสมบัติที่ต่างกันก็คือความต้องการจะเป็นอาจารย์ทำหน้าทีสอนด้วยใจของความเป็นครู ถ้าหากจะแย้งได้ว่าก็มีแพทย์บางคนในรพ.ศูนย์ที่สอนได้ดี สำหรับงานวิจัยที่คุณว่าต้องพิเศษต่างจากความเป็นแพทย์ทั่วไปก็ไม่จริงเสมอไปเพราะก็มีแพทย์ในรพ.ศูนย์ที่มีงานวิจัยที่ดี ทั้งยังมีจำนวนคนไข้บางประเภทมากกว่าที่มอ.เสียอีก

Posted by : อาจารย์คนหนึ่ง , Date : 2004-03-17 , Time : 08:27:14 , From IP : 172.29.3.135

ความคิดเห็นที่ : 18


   มีใครเคยคิดบ้างไหมว่า วิชาแพทย์ ที่เรียนอยู่ในโรงเรียนแพทย์ทุกวันนี้ จะเปิดโอกาสให้คนทั่วไปที่สนใจ สามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ได้ ง่ายกว่าที่เป็นอยู่ อย่างน้อยก็เพื่อให้มีความรู้สำหรับการดูแลสุขภาพของตนเอง และครอบครัว ฉันคนหนึ่งละที่อยากมีความรู้เหล่านี้ไว้ประดับตัว เหมือนวิชากฎหมาย, บัญชี , รัฐศาสตร์ หรืออื่นๆที่เปิดสอนกันอยู่ อย่างน้อยก็เพื่อดูแลรักษาสุขภาพตนเอง ไม่ต้องพูดถึงการไปรักษาคนอื่น และถ้าเปิดโอกาสให้คนส่วนใหญ่ได้ศึกษากันมากขึ้นน่าจะทำให้สุขภาพของประชาชนทั่วไปดีขึ้น นะ

Posted by : ฉันเองจ้ะ , Date : 2004-03-17 , Time : 15:12:49 , From IP : 172.29.1.152

ความคิดเห็นที่ : 19


   หลงเข้ามาดูกระทู้เครียดๆอีกละ....

ผมว่าถ้าจะผลิตแพทย์เพิ่มก็ต้องผลิตโรงเรียนแพทย์เพิ่มก่อน และทำให้นักเรียนและคนทั่วไปเชื่อถือในรร.แพทย์แห่งนั้น โรงเรียนแพทย์ปัจจุบันหลายที่โดยเฉพาะใน กทม. (เท่าที่ผมทราบ)ไม่น่าจะขยายกำลังการผลิตไปได้มากกว่านี้สักเท่าไหร่ ยกตัวอย่างที่ผมเรียนอยู่ตอนอนนี้กำลังจะขึ้นปี 4 นะครับ ห้อง lecture ขนาด 300 ที่นั่งนักเรียน200 คนก็นั่งกันเกือบถึงแถวสุดท้ายแล้ว(เพราะว่าหน้าเกินไปก็ไม่อยากนั่ง ริมเกินไปก็ไม่อยากนั่ง และถ้าไปนั่งแถวหลังๆ(ผมเคยลองไปนั่งเรียนดูบางครั้ง)ก็พบว่า ตัวหนังสือสำหรับบางสไลด์/ppt เล็กจนต้องตั้งใจอ่าน (จนทำให้สมาธิที่จะฟังน้อยลง) ถ้าขยายรับเพิ่มกว่านี้อีก 50 คนก็แสดงว่าต้องมีคนได้นั่งที่ๆไม่อยากนั่ง มองกระดานไม่ค่อยเห็น แล้วการเรียนจะดีได้อย่างไรนอกจากเรียนเอาเอง(ซึ่งประสิทธิภาพของแต่ละคนในด้านนี้ไม่เท่ากัน) อันดับแรกถ้าไม่สร้างห้อง lecture ใหม่ หรือ ขยายให้ projectorมันใหญ่เต็มหน้ากระดาน (ซึ่งจะทำให้ภาพที่ได้เบี้ยวไป) ก็คงผลิตแพทย์ที่คุณภาพเท่าหรือดีกว่าเดิมไม่ได้ แล้วในกทม. ก็ไม่มีสถานที่เพิ่มเติมได้สักเท่าไหร่...

นอกจากนี้ ห้อง lab ต่างๆ รวมถึง lab gross ก็จะมีจำนวน อ.ต่อนักเรียนน้อยลงไปอีก ถ้าเพิ่ม อ. ก็คงต้องหา อ.ที่เก่งๆเท่า อ. เก่าๆ ซึ่งประสบกาณ์การสอนก็จะต่างกันอีก ถ้ายังผลิต อ.เพิ่มไม่ได้ ก็อย่าพึ่งเพิ่มจำนวนนักเรียนเลย ตอนนี้ อ. แต่ละท่านก็เหนื่อยเหลือเกินแล้ว บางครั้งนักเรียน10-20 คนรุมถาม อ. คนเดียในห้อง lab (ไม่ใช่ว่าไม่มี อ. ท่านอื่นนะครับ แต่เผอิญ อ. ท่านนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น แถมอธิบายได้รู้เรื่อง) ถ้าจะเพิ่มจำนวนนักเรียนอีก ก็เพิ่มจำนวน อ. ผู้สอนอย่างน้อยก็ให้ได้คุณภาพ และสัดส่วนต่อนักเรียน เท่าเดิมด้วยนะครับ

นี่แค่ preclinic นะครับ ยิ่งขึ้นคลินิค เรื่องเก็บ case เก็บ หัตถการ ยังมีอีกมากมาย(ฟังรุ่นพี่เล่ามา) ถ้าจะเพิ่มนักเรียนอีก ก็น่าจะต้องเพิ่ม จำนวน รพ.พันธมิตรอีก (ซึ่งผมไม่ชอบเล้ยที่เรียนมาด้วยกันแล้วต้องแยกกนไปขึ้นชั้น Clinic ที่ รพ. ต่างกันเนี่ย...เพื่อนสนิทๆหายไปเยอะ) ข้อ 3 นี้ น่าจะง่ายสุดแล้ว (มั้งผมเดาเอานะ)

นิสิตแพทย์คนหนึ่ง...


Posted by : Sleeper Agent , Date : 2004-03-17 , Time : 16:46:21 , From IP : 203.113.76.8

ความคิดเห็นที่ : 20


   มีคนเคยบอกผมว่า ผมนะจบที่มอ. แต่ผมเลือกที่จะไม่ไป train ที่ มอ. เพราะว่า......

มอ. ต่างกับ ที่อื่นอย่างไร


Posted by : หห , Date : 2004-03-20 , Time : 13:48:12 , From IP : ppp-210.86.184.119.r

ความคิดเห็นที่ : 21


   การผลิตแพทย์นั้นเป็นเรื่องใหญ่ที่พวกเราควรเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันจริงๆ

มี reference ฉบับหนึ่งมาฝาก ถ้าใครมีเวลาน่าจะหามาอ่าน (ไม่ copy มาลงหมดนะครับ เพื่อคนที่สนใจพอขนาดมีแรงค้น) title "Medical Professionalism in the Nwe Millennium: A Physician Charter" วารสาร Annals of Internal Medicine, 2002, 136: 243-6 กับ Lancet 2002, 359: 520-522 ได้กล่าวถึงหลักพื้นฐานของแพทย์ดังต่อไปนี้ (Fundamental Principles)
1. Principle of primacy of patient welfare
2. Principle of patient autonomy
3. Principle of social justice
ดูแล้วไม่ต่างจาก 4 principles of Ethics เพียงแต่รวม principle of non-maleficence เข้ากับ principle of beneficience แต่ที่น่าสนใจคือม่การแตกย่อยอนุกรมความรับผิดชอบของวิชาชีพแพทย์ (Set of Professional Responsibilities) ได้แก่
1. Commitment to professional competence
2. Commitment to honesty with patients
3. Commitment to patient confidentiality
4. Commitment to maintain appropriate relations with patient
5. Commitment to improving quality of care
6. Commitment to improving access to care
7. Commitment to a just distribution of finite resource
8. Commitment to scientific knowledge
9. Commitment to maintaining trust by managing conflicts pf interest
10. Commitment to professional responsibilities

บัญญัติ 10 ประการที่แตกออกมาจากหลักจริยศาสตร์นี้สามารถเรียกว่าเป็น "จรรยาบรรณแพทย์" ชุดหนึ่งก็ว่าได้ ทีนี้ถ้าจะพยายามลากให้ลงตัวกับกระทู้นี้ ก็คงจะตั้งคำถามว่า "โรงเรียนแพทย์มีหน้าที่หรือมีส่วนที่จะปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ "ทั้งหมด" แก่บัณฑิตแพทย์หรือไม่?" ถ้าใช่ และสิ่งเหล่านี้เป็น target หรือวัตถุประสงค์การเรียน เราก็พอจะบอกได้แล้วว่า "ครูแพทย์" นั้นจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง

ข้อสำคัญคือ เราน่าจะมีการจัด "ลำดับความสำคัญ" ระหว่างเรื่องนี้กับ medical contents ด้วย เพื่อให้สัดส่วนของ "การจัดประสบการณ์การเรียนการสอน" เป็นไปตามความสำคัญ อาจจะลงเอยที่ 7-8 ปีก็อาจจะต้องขยายเวลาเพิ่ม แต่นั่นก็จะขึ้นกับ "โจทย์" ต้นกำเนิดว่าเราต้องการ "แพทย์แบบไหน" จำนวน? คุณภาพ? ทั้งสองอย่าง? ต่อจากนั้น Put right man into a right job น่าจะเป็นการตั้งต้นที่ดี

เกณฑ์ควบคุมคุณภาพนั้นสำคัญมาก อย่างที่คุณ Shonegiga ว่าไว้ สำคัญขนาดถ้าตัววัดที่ใช้นี้ "ไม่เที่ยง ไม่ตรง" สิ่งที่เกิดขึ้นก็จะไม่มีวันเที่ยงตรงอย่างที่เราต้องการ เรื่องใหญ่คือ "วัฒนธรรมการประเมิน และรับการประเมิน" เกิดขึ้นแล้วหรือยังในประเทศไทย? หลักการ "ติเพื่อก่อ" (Constructive Criticism) ในทางปฏิบัติมีคนนำมาใช้จริงหรือไม่? จากคุณภาพของระบบสาธารณสุขของเราที่ผ่านมาตลอด Out of the blue sky โรงพยาบาลทุกโรงในประเทศกำลังจะผ่าน HA (hospital accreditation) ตรงนี้เราสามารถมองอย่าง optimism, pessimism, หรือ rationalism ก็ได้ หวังว่าให้มัน "เที่ยงตรง" ก็แล้วกัน



Posted by : Phoenix , Date : 2004-03-20 , Time : 22:54:34 , From IP : wc-bkkbt2.ksc.net.th

ความคิดเห็นที่ : 22


   ปรากฏการณ์ในระดับนาโนตอกย้ำคำพูดของเจ้าชายสิทธัตถะที่ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงและไม่มีตัวตน แม่แต่อนุภาคที่เล็คที่สุดและเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งที่เราอุปโลกว่าเป็นตัวตนและถือมั่น มันยังคงอยู่เพียงในลักษณะ probability to exist แล้วเรายังจะหาญไปหาตัววัดที่เที่ยงแท้ ที่ไม่เปลี่ยนได้อย่างไร
.
แต่เราจำเป็นต้องมีตัววัด และทุกคนในองค์กรควรจะถือตัววัดร่วมกัน
.
แม้เราไม่อาจมีตัววัดที่สมบูรณ์ เราก็ยังจำเป็นต้องสร้างมาตรฐานการทำงานที่สัมพัทธ์กับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร ของหน่วยงานเพื่อเป็นกรอบแห่งความเข้าใจว่า ทิศทางควรจะไปทางใด คุณภาพที่เราจะจับยึด ณ สถานการณ์แวดล้อมในปัจจุบัน มันแปลว่าอะไรและจะวัดมันอย่างไร
.
ผมจำได้ว่าเคยพิมพ์วลีต่อไปนี้ครั้งหนึ่งแล้วว่า สิ่งที่ยากที่สุดคือคำว่าร่วมกัน ขยายความก็คือสิ่งที่ยากที่สุดคือการเปลี่ยนกระบวนทรรศน์การทำงานของบุคลากรส่วนใหญ่จากการทำงานแบบ ตามใจฉัน แบบ แค่นี้ก็พอแล้วนี่ ทำอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว แบบ เอ็งอยากทำก็ทำไป มาเป็นการทำงานเพื่อพันธกิจอย่างแท้จริง และสิ่งที่จะบอกได้ว่ามันเป็นอย่างนั้นก็คือการเอา surrogated measurement มาวัด เป็นระยะ
.
กลับมาที่เรื่องการผลิตแพทย์เพิ่ม ผมเชื่อว่า argue ที่สำคัญก็คือ ความกลัวว่าคุณภาพแพทย์ที่จะเข้าสู่ระบบในระยะ 10-15 ปีข้างหน้าจะไม่ดีพอที่จะดูแลรักษาสุขภาพของผู้รับบริการ ด้วยฐานความเชื่อที่ว่า
1. คุณภาพของผู้เข้าเรียนด้อยกว่า
2. คุณภาพของผู้สอนด้อยกว่า (ด้วยสมมติฐานของคุณอาจารย์ท่านหนึ่งที่ว่า แพทย์เหล่านั้นเขามีความอยากสอนหนังสือน้อยกว่า เขาจึงไปอยู่โรงพยาบาลศูนย์)
.
ที่ผมเข้ามาแหย่ก็คือ ถามกันตรง ๆ ว่าอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์นั้น suit for teaching กว่าอาจารย์ในโรงพยาบาลศูนย์อย่างไร ผมได้รับคำตอบอย่างที่คาดเดาก็คือ ณ ปัจจุบันไม่อาจมีคำตอบที่ตรงไปตรงมา ผมจะกล่าวต่อไปว่า เราอาจจะต้องเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ของเราก่อน เราอาจจะต้องตั้งคำถามกันว่า วิชาแพทย์เป็นเรื่องที่จะถ่ายทอดให้กับนักเรียนคะแนนระดับต้นได้เท่านั้นจริงหรือ การถ่ายทอดวิชาแพทย์จำเป็นต้องทำเฉพาะในโรงพยาบาลสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยจริงหรือ และจะต้องมองว่าโรงพยาบาลน้องใหม่ที่กำลังจะเข้าตลาดนั้น ก็มิใช่องค์กรที่หยุดนิ่ง เขาก็มีสิทธิ์ที่จะผลักดันตนเองเพื่อแข่งในกรอบของคุณภาพเช่นเดียวกัน เขามีสิทธิ์ที่จะแซงยักษ์อย่างโรงเรียนเก่าด้วยซ้ำ หากเราใช้ตัววัดที่เป็นธรรมและเลิกถือมั่นว่า ใครเปิดก่อนเป็นพี่ ฉันต้องดีกว่าเสมอ


Posted by : Shonigega , Date : 2004-03-21 , Time : 10:37:11 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 23


   เป้าประสงค์และผลงานขององค์กรนั้นจะต้องนำด้วย "วัฒนธรรมองค์กร" วัฒนธรรมองค์กรคือไปด้วยกันหมด (หรือส่วนใหญ่) ไม่ใช่เฉพาะภายในห้องผู้บริหารแต่นอกเหนือจากนั้นไม่ไป หรือไปเป็นหย่อมๆ

คำถามที่ว่า "ใคร" สอนนักเรียนแพทย์ ผลิตบัณฑิตได้บ้าง คำตอบก็คือที่ที่มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อที่จะสอน จะสร้างบัณฑิตแพทย์นั่นเอง จะอยู่ในรูปโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลสิบเตียง สถานีอนามัย ถ้า ณ ที่นั้นๆมี "วัฒนธรรมองค์กรเพื่อสอนสร้างบัณฑิตแพทย์" ก็มีศักยภาพเบื้องต้นที่จะทำ

ทำไม?

"ฉันทา" นั้นเป็นจุดเริ่มต้นในการยังกิจให้สำเร็จ และจุดเริ่มในการสร้างวันธรรม นั่นคือเราพอใจในสิ่งที่กำลังจะเกิด เรา share value เดียวกัน เรามี virtue อย่างเดียวกัน จากนั้นเราก็จะสนทนากันรู้เรื่อง ออกกฏหมายที่ไม่ต้องฝืนใจปฏิบัติ มีกฏเกณฑ์ที่ไม่ต้องมีบทลงโทษ ฉันทานี้สร้างได้ ต้องเริ่มจาก "เจตคติ" เมื่อเรามีวัฒนธรรมแล้ว บริบทก็จะถูกเกลา ถูกถากถางให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ "เหมาะสม" ในการทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ อย่างที่ทราบกัน "บริบท" นั้นสำคัญต่อการเรียนรู้อย่างยิ่งยวด แม้แต่อาจารย์แพทย์ผู้ทรงภูมิปัญญาและจริยวัตรก็ไม่สามารถถ่ายทอดการซักประวัติตรวจร่างกายที่ถูกต้องในตลาดขายปลาสด การสอนวิธีการ approach terminally-ill patient ก้จะไม่สามารถทำได้ดีถ้านักศึกษาไม่เห็นว่า "การคุยและการฟัง" นั้นเป็นอาวุธที่สำคัญเทียบเท่าหรือยิ่งกว่าความรู้ทางการแพทย์ และสิ่งเหล่านี้ต้องมาจากความรู้สึกที่เขาจับได้จากการเฝ้าดู "อาจารย์"

ใครจะเป็นอาจารย์แพทย์ หรือใครอยากจะผลิตแพทย์ก็ได้นั้นคงต้องดูอะไรพอสมควร Incentive ที่ทำให้สถาบันไหน สถานที่ใด ประกาศตนว่าจะเป็นโรงเรียนแพทย์นั้นสอดคล้องกับบริบทและวัฒนธรรมโรงเรียนแพทย์ที่เราต้องการหรือไม่ ถ้าทำเพราะรัฐบาลจะให้หัวละ 3,000,000 บาท (ตัวเลขสมมติ) เป็นแค่แรงผลักดันประการเดียว โอกาสที่จะเอา "วัฒนธรรมองค์กร" นำการบริหารก็จะ remote เมือ่ไหร่หมด incentive แรงผลักดันก็มอดไหม้ หรือเผลอๆแรงผลักดันอย่างเดียวกันนี้จะถูกถ่ายทอดลงไปในบุคลิกภาพของบัณฑิตแพทย์ได้

ประสบการณ์ในโรงพยาบาลศูนย์ ชุมชนของผมนั้นต่ำต้อยเรี่ยดิน แต่คงจะเป็นคำถามที่ควรจะถามว่าชุมชนที่เลือกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลต่างๆนั้น น่าจะมี "ทิศทาง" ของเขาอยู่บ้างแล้วหรือไม่ และทิศทางดังกล่าวมันสอดคล้องกับโรงเรียนหรือโรงพยาบาลมากกว่ากัน? คลังเลือดห้อง lab จะมีการถามคำถามวิชาการในการส่งตรวจหรือไม่ การมี conscious อยู่ตลอดเวลาถึงการเป็น role model อยู่ในวัฒนธรรมองค์กรนั้นๆแล้วหรือยัง ไม่ได้แปลว่าโรงเรียนแพทย์สมบูรณ์แบบอยู่ 100% แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการที่เราไม่ perfect ก็เลยหยวนๆลดมาตรฐานลงไปได้เรื่อยๆ

ถ้าของเราดีอยู่แล้ว ผมเชื่อว่าการเพิ่มตลาดการแข่งขันโดยใช้วิธี benchmarking จะเป็นการเร่งตัวเองให้ฟิตอยู่ตลอดเวลาจริง แต่ผมนั้น sceptic กับวิธีวัด วิธีประเมิน และความ cunning ของ "วัฒนธรรม" เราๆมาแต่ไหนแต่ไร วันก่อนไปฟัง HA โดยผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนระดับบิ๊กในกรุงเทพฯ เขามาเล่า "การตอบสนอง" ต่อวัฒนธรรมการประเมินแบบตะวันตกที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลเขาได้อย่างสนุกสนานมาก ขนาดเป็นโรงพยาบาลเอกชนและเป็น financiak oriented ขนาดนั้น การประเมินยังบิดเบี้ยวได้ การหวังการประเมินในระดับ "เจตคติ" ซึ่งยากกว่าสิ่งที่เป็น tangible asset ยิ่ง "ท้าทาย" มากกว่าหลายเท่า

ไม่รู้ซินะ ผมว่าปรับปรุงของที่มีอยู่แล้วให้ได้มาตรฐานที่สุด สำหรบผมเป็น priority มากกว่าได้สถาบัน "ตั้งต้นใหม่" ในการผลิตแพทย์จำนวนมาก ปรับนโยบายเป็นเปิดรับสมัครอาจารย์ผู้มีประสบการณ์มากๆจากโรงพยาบาลเหล่านี้มาเข้าโรงเรียนแพทย์ เราก็จะได้คนดีเพิ่มขึ้น เป็น pool ใหญ่ที่เราไม่ค่อยได้นึกถึง เราคอยผลิตคนใหม่เพิ่มโดยลืมนึกถึงการ recruit จากคนที่มีประสบการณ์อยู่แล้ว เอาคนไฟรงมาเข้ากับสถาบันที่วางวัฒนธรรมองค์กรไว้เรียบร้อยแล้ว อาจจะง่ายกว่า ถูกกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่าที่คนไม่กี่คนเหล่านี้ต้องไปสร้างวัฒนธรรมองค์กรในที่ที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาตั้งแต่ต้นหรือไม่? ผมไม่ทราบเหมือนกัน





Posted by : Phoenix , Date : 2004-03-21 , Time : 11:45:30 , From IP : 172.29.3.222

ความคิดเห็นที่ : 24


   Put the right man to the right job.
เป็น first thing ของการบริหารตลอดการครับ สิ่งที่อยู่ระหว่างบรรทัดก็คือ
Once we recruit one right man to us, our friends (the institute once that right man belonged) loss one right man. ระหว่างบรรทัดนี้อีกคือ A right man usually does not be right in only one aspect. If he or she is a good teacher, his or her medical practice, administrative skills, etc are usually right, also. Bringing one right man from a house with a few right man may means no man left for that place. Is that justified, when one looks from a loss (of right man) place.
.
คำถามจากวลีข้างบนก็คือในขณะที่เราพยายามจะหาคนที่เหมาะสมเข้ามาสู่องค์กร เราสามารถที่จะ Pick a wrong man out of his wrong place ได้บ้างไหม และอย่างไร คำถามต่อไปคือระบบในปัจจุบันเอื้อให้ a right man does his or her right job, efficiently แล้วหรือยัง (ผมไม่อยากขยายความประโยคนี้เพราะเชื่อว่ามันไม่เหมาะสมที่จะมาระบาย negative attitude บนกระดานสาธารณะ เอาไว้พี่นกไฟบริจาคไวน์ให้ผม ผมจะขออนุญาตแลกเปลี่ยนทัศนะด้วยอีกที) หรือมันทำให้ that right one is exhausted and will ultimately turn to be a dead man walking (or even teaching)
.
ผมเชื่อในระบบครับ วางระบบที่เข้าใจได้ร่วมกัน และใช้ talent ส่วนตนเป็นกลจักรผลักให้องค์กรเคลื่อนในกรอบเดียวกัน ใครจะมาเป็นกลจักรไม่สำคัญเท่ากับ the job must be a real right one เสียก่อน
.
หรือเปล่า


Posted by : Shonigega , Date : 2004-03-23 , Time : 09:39:08 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 25


   น่าสนใจประเด็นที่ว่า "right man" นั้นเป็นสภาวะ "ก่อนหรือหลัง" put in the job

จะมีประปรายหรือบ่อยครั้งที่เราย้าย right man จากที่หนึ่ง ไปอยู่อีกที่แล้วตะแกกลายเป็น left man!! ผม assume ว่าวลี "right man to the right job" นั้นหมายถึงสภาวะหลังจากสมดุลเกิดขึ้น และตรงนี้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะ "มองเห็น" ศักยภาพของคนๆไหนไม่ว่าจะไม่ได้แสดงออกขณะที่อยู่ใน current job ก้ตาม

คำว่า "มองเห็นศักยภาพ" นี้เป็น gift ที่เป็น MUST ของผู้บริหารหากจะประสบความสำเร็จ และเป็นคุณสมบัติจำเพาะที่ผู้บริหารเท่านั้นจะใช้ ตรงนี้อาจจะวัดได้จากกิจกรรมประจำวันของ potential ผู้บริหารทั้งหลายแหล่ว่าวันๆมองหา gifted men หรือว่าวันๆมองหาจับผิดลูกน้องเพื่อจะได้โยกย้ายในกรณีที่มีปัญหาเป็นงานหลัก (ไม่ได้พาดพิงการย้าย ผบ.ตร. หรือ รมต. ในขณะนี้แต่อย่างใด) งานนี้ในไทยเองจะ complicated กว่าทางตะวันตกเพราะวัฒนธรรมเรานั้น modesty is a VIRTUE หรือ "คมในฝัก" จะเยอะ ถ้าตาไม่ถึงก็จะมองหาเพชรไม่เห็น และเพชรเองก็ไม่ใคร่อยากแสดงตน เพราะไม่ได้ถูกสอนถูกอบรมให้แสวงหา the best suitable job มาก่อน ฉะนั้นให้ทำอะไรก็ทำไปได้เรื่อยๆ แล้วก็มีผู้บริหารอีกส่วนหนึ่งรู้เพชรเห็นเพชรแต่ก็จะพยายามหาตำหนิเพราะความรู้สึก Insecure ฯลฯ

ในยุคปรัตยุบันกาล หากใครมีความสามารถแต่ไม่แสดงออก หรือป่าวประกาศให้คนอื่นทราบ ก็อาจจะนับว่าเป็นการทรยศต่อ gift ที่ได้มา modesty กับ do our best นั้นสามารถทำคู่กันได้ ไม่ใช่มี contradiction กัน

"the job must be a real right one" ที่ว่านั้น ก็ตรงกันกับ "วิสัยทัศน์พันธกิจ" ที่ได้ถูกแปลงออกมาเป็น "วัฒนธรรมองค์กร" ในภาคปฏิบัติแล้วนั่นเอง คนที่มาสมัครงานก็จะเจอสิ่งแวดล้อมและทิศทางองค์กรอย่างที่คาดไว้ก่อนมา ไม่มี surprise-package แถมมากเกินไปเช่น เอ๊ะ ทำไมเป็นหมอต้องอยู่เวรด้วย (วะ?) ทำไมตูจบแพทย์ (intern มาแล้วตั้งสองสามปี) จะเรียนศัลย์ ต้องดูคนไข้ห้องฉุกเฉินได้ด้วย? (อันนี้เข้าใจผิดตั้งแต่ก่อนสอบ entrance) ฯลฯ

จากนั้นความชัดเจนอันนี้เองที่จะช่วยดึงเพชรเข้ามาหรือกระจายพลอยไปอญุ่ตามที่ที่ควรจะอยู่ ตามอตถภาพ




Posted by : Phoenix , Date : 2004-03-23 , Time : 19:45:14 , From IP : 172.29.3.218

ความคิดเห็นที่ : 26


   พวกแพทย์เห็นแก่ตัว คิดแต่ว่าเขาจะมาแย่งอาชีพ รายได้ของตัว ไม่คิดว่าจะพัฒนาประเทศให้เจริญ พวกแพทย์ตามชนบนมีกี่คน มีแต่พวกเห็แก่ตัวใช้สถาบันของรัฐเรียนหาความรู้ใส่ตน แล้วลาออกไปเปิดคลีนิค ไม่มีความสำนักผลิตเท่าไรก็ไม่พอ พอเขามีความคิดดีๆดันมาออกความคิดเห็นขัดขวาง ถ้าไม่ไหมายความอย่างที่พูดจิงๆทำไม ไม่สมัครขอไปอยู่ชายแดนพื้นที่เสี่ยงบ้าง
และ คำนำหน้าชื่อที่ใช้เรียกตัวเองว่า นายแพทย์นะ มันหลงหางตังเองหรือเปล่า
ในระบบคำนำหน้าชื่อ ไม่มีคำว่านายแพทย์นำหน้าชื่อ อย่าหลงตัวเองให่มาก
ทำไมไม่เอาคำว่านายแพทย์ไปไว้ในบัตรประจำตัวประชาชนละถ้าแน่จิง มีหมอดีๆกี่คนที่อุทิศตนเพื่อมวลชน ไม่ใช่เพื่อเงินหรือผลคอบแทนที่โอเวอร์มากกว่าใคร
แพทย์รับเดือนหนึ่งเป็น แสน ตำรวจทหารเสี่ยงตาย รับแค่หลักพัน เมืองไทยมันยึดศักดินา เกินไป เราให้เกียติแพทย์เพราะช่วยเหลือคน แต่แพทย์ไม่ให้เกียติตัวเองเลย พูดมาได้ยังไงแบบนี้


Posted by : xx , E-mail : (xxx) ,
Date : 2004-05-20 , Time : 11:16:07 , From IP : 203-154-140-163.inte


ความคิดเห็นที่ : 27


   ผมว่าความคิดทางบริหารคงจะชราตามร่างกายของผู้บริหารระดับสูงรู้ไหมปริมาณไม่ช่วยพัฒนาคุณภาพได้แต่จะมีเส้นสายอิทธิพลความทุกข์จะตามมาเพราะขัดการปฏิรูประบบราชการหวังว่าชาติคงจะล้มจมก็ตอนนี้แน่นอน แสดงถึงการเรียนการสอนได้สร้างทัศนคติทางปริมาณนิยมตามสังคมมากกว่าไม่คิดพัฒนาเพราะจะเข้าตัวเองคือเห็นแก่ตัวนั้นเองอาตัวรอดไปเดียวก็เกษีรณอายุทิ้งขี้ให้คนอื่นเช็ดก้นเป็นอย่างนี้ทุกค้นจนเกิดปัญหาโจรแบ่งแยกดินแดน คอมมิวนิสต์คนไทยฆ่ากันเองเพราะการเรียนการสอนสมัยก่อนนิยมของนอกเรียกว่าฝรั่งจ้าไม่คิดอะไรลอกเรียนแบบอย่างเดียวตัวอย่างทั้งที่วัฒนธรรมคนละอย่างคนไทยแท้จึงรับไม่ได้ เราควรจะคิดใหม่การแต่งตั้ง ขรก.ทุกระดับคำนึงถึงชาติให้มากกว่านี้ เพราะคนพวกนี้อยู่ไปก็หนักแผ่นดินขัดความเจริญ สร้างปัญหาให้บ้านเมืองตลอดเวลา คนทำลายชาติ

Posted by : รักชาติ , E-mail : (tappituk@maildozy.com) ,
Date : 2004-05-27 , Time : 08:33:14 , From IP : 202.129.37.106


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.009 seconds. <<<<<