ความคิดเห็นทั้งหมด : 5

Debate LXII: สนทนาจริยศาสตร์ "การแจ้งข่าวร้าย"


   "การสื่อสาร" หรือ communication skill นั้นแทรกเป็นยาดำอยู่ในทุกๆแขนงของศาสตร์ และทุกๆพิสัยสำคัญๆของการทำงาน วันนี้อยากจะขอเชิญบัณฑิตและว่าที่ฯทุกท่านมาร่วมสนทนากันดูว่าท่านมีความคิดเห็นอย่างไร เคยประสบพบปัญหาอะไร ที่ได้ยินมาในห้องเรียนกับที่เคยเจอตาม ward ตาม OPD เหมือนหรือต่างอย่างไร มีความมั่นใจขนาดไหน

ความแตกต่างของประเด็น "การแจ้งข่าวร้าย" นั้น เป็นความจำเพาะของสายอาชีพเรา (แพทย์) อาจจะพูดได้ว่าโอกาสที่เราจะเป็นผู้นำข่าวร้ายไปสู่คนไข้นั้นสูงกว่าอาชีพอื่นๆหลายเท่า ดังนั้นพฤติกรรมทั่วไปของการสื่อสารอาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามบริบท เราพร้อมรึยัง?

ผมยังไม่อยากจะยกประเด็นเอง ขอว่ากว้างๆแค่นี้และขอเชิญทุกท่านร่วมสนทนาจริยศาสตร์กันครับ

Be mature, be positive, and be civilized



Posted by : Phoenix , Date : 2004-03-11 , Time : 16:59:10 , From IP : 172.29.3.211

ความคิดเห็นที่ : 1


   อันที่หนึ่ง หมอเราต้องเป็นคนแจ้งข่าวร้ายด้วยตนเองหรือไม่ ในอดีตคงไม่ต้องปฎิเสธว่าต้องเป็นหน้าที่ของหมอแน่นอน ถ้าเราไม่อยากบอกก็ไม่มีใครมาว่าเราเพราะผลพวงconsequnceที่เกิดขึ้นกับคนไข้หมอคนนั้นก็รับไปเองเต็มๆ แล้ว ก็แก้กันไปตามที่ทำได้หรือตามที่เห็นว่าถูกในความคิด ตามอัตตาของตนเอง ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ในโลกยุคปัจจุบันคงเป็นเรื่องแน่นอน ถูกกล่าวหาว่าล้าหลัง ถอยหลังลงคลอง และถูกตรวจสอบ รวมทั้งถูกประเมินต่างๆนาๆ
อันที่สอง มีบางคนกล่าวว่าหมอไม่มีเวลามากพอที่จะรองรับปฎิกิริยาของคนไข้ที่จะเกิดขึ้นเวลาแจ้งข่าวร้าย เพราะคนไข้รอตรวจอีกเป็นแถว จะหาเวลาsessionพิเศษก็ไม่ได้งานมันมาก เพราะฉนั้นให้ผู้อื่นที่ถูกฝึกมาสำหรับงานนี้เป็นคนบอกผู้ป่วยได้ไหม .....ฟังแล้วก็คงดูดีกว่าการไม่แจ้งข่าวร้ายเลย แต่อย่าลืมถ้าคนแปลกหน้าที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อนไม่เคยมีคำว่าdocter-patient relationshipต่อกันเลยมาบอกข่าวร้ายกับเรา เราคงเด๋อน่าดู หรืออาจระแวงไปว่าคนที่บอกข่าวร้ายแทนหมอจะสามารถบอกอะไรได้โดนใจหมอหรือเปล่าพูดได้ทุกเรื่องที่หมอคิดจริงหรือไม่ เพราะการสื่อสารนั้นdynamicไม่มีทางที่จะหาpackageอะไรที่เป็นสูตรสำเร็จไว้ใช้กับคนไข้ทุกๆคนได้แน่นอน
ฟังดูแล้วหมอนั้นแหล่ะทุกข์ที่สุด เวลาบอกข่าวร้ายใครบ้างไม่กลัว กลัวมากและไม่กล้าเผชิญหน้ากับการที่ผู้ป่วยร้องไห้ มันทำอะไรไม่ถูกจริงๆไม่รู้จะพูดอะไร ก็เลยได้แต่พูดเรื่องของเราเอง เป็นเรื่องที่เราอยากพูด และลืมรับรู้ไปว่าผู้ป่วยนั้นพร้อมจะฟังหรือเปิดbounderyรับฟังหมอหรือยัง เมื่อหมอพูดจบแล้วสบายใจว่าได้พูดหรือเหมือนว่าทำสิ่งที่ดีที่สุดเสร็จแล้ว........หลังจากนั้นก็เดินจากไปเพราะหมอรีบ ต้องไปดูคนไข้อื่นอีก ก็มันทุกข์แบบนี้แล้ว ถ้าสามารถเลือกได้เราจะต้องไปทำมันทำไม เราไปทำหน้าที่อื่นของหมอที่ทำให้selfของหมอดีขึ้นไม่ดีกว่าเหรอ
อยากให้คนที่อยู่ในระบบเหล่านี้ช่วยกันคิดว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเราในขณะนี้ ลองผิดลองถูกได้ อาจไม่มีสูตรสำเร็จ แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีactionอะไร ปล่อยให้เป็นไปตามเดิม


Posted by : pisces , Date : 2004-03-11 , Time : 21:07:22 , From IP : 172.29.3.239

ความคิดเห็นที่ : 2


   คุณ Pisces ได้เริ่มจุดประเด็นตรง "ผู้แจ้ง" แล้วนะครับ

ขออนุญาตเขี่ยลูกต่อ ผมเคยเขียนไว้ในอีกกระทู้หนึ่ง (กระทู้การสื่อสาร) ว่าการสื่อสารทุกรูปแบบนั้นมี 3 องค์คือ ผู้ให้ บริบท และผู้รับ

อะไรคือความแตกต่างหรือความ unique ของการแจ้งข่าวร้ายที่มีผลต่อองค์ทั้งสามนี้บ้างล่ะครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-03-11 , Time : 23:10:37 , From IP : 172.29.3.230

ความคิดเห็นที่ : 3


   ถ้ามองที่ผู้รับสารเป็นหลักคือตัวผู้ป่วย
ข้อที่หนึ่ง คือ ผู้ป่วยอยากทราบหรืออยากได้ยินว่าตนเองป่วยเป็นโรคร้ายหรือไม่ถ้าจะให้ตอบคงบอกได้ว่าไม่ทุกคน แต่นั่นคงไม่ใช่เหตุผลที่จะทำให้หมอต้องเลิกแจ้งข่าวร้าย เพราะโดยส่วนใหญ่เมื่อโรคดำเนินไปรุนแรงมากขึ้น หรือผูป่วยได้รับการรักษาที่สามารถทำให้ตนเองรับรู้ได้ว่าเป็นโรคร้าย ถึงจุดนั้นผู้ป่วยมักจะตระหนักรู้ได้ว่าตนเป็นอะไร และอาจจะถามหมอ หมอจะหลีกเลี่ยงไม่ตอบได้หรือ ก็ต้องกลับไปที่ขบวนการแจ้งข่าวร้ายอยู่ดี แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ถามและหมอก็ไม่บอก แล้วการวางแผนของชีวิตที่เหลืออยู่ของผู้ป่วยหล่ะใครเป็นคนกำหนด คงไม่พ้นหมอและญาติ ถึงตรงนั้นautonomy and dignityของผู้ป่วยหล่ะอยู่ที่ไหน
ข้อที่สอง มีญาติผู้ป่วยบางรายไม่ต้องการให้บอกข่าวร้ายแก่ผู้ป่วยด้วยเหตุผลต่างๆมากมาย ซึ่งเราคงต้องรับฟัง เพราะโดยcultureของบ้านเราแล้ว ญาตินั้นสำคัญมากโดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยpassive เราจะปฎิบัติตามหลักอะไรดี ถ้าจะมองให้ลึกลงไป นั่นคือความกลัวของญาติเช่นกัน ก็คงไม่ต่างจากหมอที่กลัวการเผชิญต่อเรื่องร้าย ซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นตรงกับการperceptionของเราและญาติ, past experienceต่อการเจอเรื่องร้ายๆในอดีต,personal meaningคำว่ามะเร็งหรือโรคร้ายของหมอและคนอื่นนั้นไม่เหมือนกัน,copingที่ใช้ในอดีตเวลาเจอเรื่องที่ไม่อยากเจอ
ข้อที่สามผู้ป่วยบางรายเมื่อเราแจ้งข่าวร้ายไปแล้ว ยังคงยืนยันว่าตนเองปกติ นั่นเพราะการใช้copingแบบdenial หรือsupressionเก็บกดความรู้สึกไว้ แต่เราก็คงต้องบอกข่าวร้ายอยู่ดี เพราะเป็นการดีที่ผู้ป่วยคงต้องเผชิญกับเรื่องของตัวเอง แต่หมอคงไม่ต้องพยามข่มขืนจิตใจผู้ป่วยให้พูดออกมาหรือยอมรับให้ได้ว่าตนป่วยเป็นโรคร้ายก็ได้ ตราบใดที่ผู้ป่วยยังคงร่วมมือในการรักษากับหมอ


Posted by : pisces , Date : 2004-03-12 , Time : 06:05:12 , From IP : 172.29.3.211

ความคิดเห็นที่ : 4


   ในส่วนของ "ผู้ป่วย" ที่คุณ pisces กล่าวมานั้นคือสิ่งที่แพทย์ควรตระหนักและ (บางครั้ง) เตรียมรับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า

แพทย์ไม่สามารถเปลี่ยนบุคลิกผู้ป่วยก่อน ไม่สามารถจะเปลี่ยนความเชื่อของญาติก่อนที่เราจะให้ข้อมูลหรือข่าวร้ายก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะมี default การให้ข่าวร้ายอยู่วิธีเดียว ใครจะรับได้แค่ไหนอย่างไรก็ช่าง การตระหนัก consequence (หรือบางครั้ง sequelae) ของการ "รับ" ความข่าวร้ายของผู้ป่วย มีส่วนทำให้ "กลยุทธ์" เราเปลี่ยนแปลงไปได้

ยกตัวอย่างบางส่วนจากที่คุณ pisces ยกมา (ซึ่งผมคิดว่า variation ยังไม่ได้หมดแค่นี้) แล้วพิจารณาว่าประเด็นต่างๆอาจจะทำให้ optimization ของการให้ข่าวต่างกันอย่างไร

ประเด็นหนึ่ง: ผู้ป่วยอยากทราบหรืออยากได้ยินว่าตนเองป่วยเป็นโรคร้ายหรือไม่
จริงๆผมไม่อยากใช้คำว่า "อยาก" ขอเปลี่ยนเป็น "พร้อมและต้องการ" แทน ผู้ป่วยที่พร้อมและต้องการคืออย่างไร? ไม่ได้หมายถึงการศึกษานะครับ หมอบางคนที่รู้เรื่องโรคเป็นอย่างดีก็ไม่ได้แปลว่าจะ "ทำใจได้" เมื่อตนเองกำลังจะตาย หรือเมื่อกำลังจะสูณเสียคนในครอบครัว ตรงนี้ผมคิดว่าเกี่ยวกับสถานภาพทาง "จิตวิญญาณ" และบริบทของ "ปฏิสัมพันธ์ต่อสังคม" มากกว่าความพร้อมทางกายและจิตใจ (อารมณ์) ที่แยกทาง "สังคม" ออกมาต่างหากเพราะไม่เพียงแต่ทางศาสนาหรือความเชื่อทางจิตวิญญาณที่มีประโยชน์ด้านนี้ การคิดแบบ "pure business" หรือ "ผลประโยชน์ทางกายภาพบริสุทธิ์" ก็สามารถตัดความผูกพันหรือ attachment ทางอารมณ์ไปได้ CEO มืออาชีพอาจจะสามารถบริหารจัดการพินัยกรรมหรือเรื่องราวช่วงท้ายของชีวิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเหมือนกับที่เขาทำและประสบความสำเร็จมาตลอดทั้งชีวิต กลุ่มที่พร้อมนี้จะง่ายที่สุดในการแจ้งข่าว เพราะเขาสามารถจะ extract "ประเด็น" ของข่าวโดยไม่ถูกรบกวนจากอารมณ์ (มากนัก)
ตรงกันข้ามกับกลุ่มที่ไม่พร้อมซึ่งมีหลากหลายว่าไม่พร้อมอย่างไร และจะเป็นกลุ่มที่แพทย์เผชิญมากที่สุด (เพราะผมอนุมานว่าคนที่ "หลุดพ้นทางอารมณ์" ไม่ว่าจากจิตวิญญาณหรือจาก professional ไม่น่าจะเยอะ)

ประเด็นสอง: deal กับญาติ
ผู้ป่วยบางส่วน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางโรคพวก มะเร็ง หรือโรค organ failure) ถูกพิจารณาโดนตนเองและญาติเสมือน disable to make judgement ซึ่ง term นี้มีใช้จริงตามกฏหมายและต้องผ่านการวินิจฉัยโดยแพทย์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร แต่บ้านเราการตัดสินใจว่าผู้ป่วยควรหรือไม่ควรรู้อะไรบ้างนั้นบางทีก็ถูกตัดสินโดยญาติ และในบางกรณีหมอและพยาบาล
"การเตรียม" ญาตินี้สำคัญไม่แพ้การเตรียมผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป้นแบบญาติก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร หรือแบบรู้และไม่ต้องการบอกผู้ป่วย เหตุผลอาจจะเป็นเพราะกลัวผู้ป่วยจะรับไม่ได้ กลัวว่าตนเองจะรับไม่ได้ (กลัวและไม่อยากเผชิญกับ grief & bereavement หลังจากรู้ข่าว หลังจากที่สุดคือผู้ป่วยตาย ฯลฯ)

ในสองประเด็นข้างต้น "ข้อมูล" สามารถช่วยได้ แต่ถามหน่อย ในทางปฏิบัติเราได้ทราบหรือได้รวบรวมข้อมูลพวกนี้สักกี่มากน้อยก่อนจะให้ข้อมูล? โดยเฉพาะกับญาติ มีกี่ครั้งที่เราพบเห็นญาติหรือผู้ป่วยร้องไห้ฟุบลงไปกับโต๊ะตรวจ นั่นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้วที่เราจะทำได้ หรือว่าเราอยากจะให้จัดการอะไรให้ดีขึ้นบ้างไหม? แล้วในทางปฏิบัติมันยากง่ายอย่างไร? การบริหารจัดการจะยุ่งยากต่อ รพ.หรือหมอมากขึ้นกับการ arrange breaking the bad news เป็นพิเศษ (คำถามนี้คือ "มันคุ้มไหม" ที่จะจัด ซึ่งก็จะไปตกที่ priority & policy ระดับบริหารจัดการ)

ประเด็นที่สาม: Denial or misunderstanding
บางทีเราบอกผู้ป่วยว่า "หมอเสียใจด้วยคุณเป็นเนื้อร้าย" คนไข้หน้าแช่มชื่นขึ้นบอกว่า "แหม โชคยังดี ผมคิดว่าผมเป้นมะเร็ง" ข้อมูลทุกชิ้นที่เราให้ไปนั้น บางครั้งก็ไม่ได้สื่ออย่างที่เราคิด และถ้าไม่ได้ detected เรื่องราวที่สมทนากันต่อจากนั้น (โดยเฉพาะถ้าส่วนที่ไม่ได้สื่อคือการวินิจฉัย) ก็จะดำเนินไปโดยผู้สื่อและผู้รับมีบริบทที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง การที่ทั้งสอง parties มีบริบทต่างกันนี้อาจจะเกิดจาก "สื่อไม่ดี" และ "denial" อย่างที่คุณ pisces ว่า แต่ผลจะคล้ายๆกัน คือพูดกันคนละเรื่อง น้ำหนักที่จะพิจารณาใช้ในการตัดสินใจก็ไม่เหมือนกัน การเตรียมตัวเตรียมใจกับ consequence & sequelae ของโรคก็จะต่างกัน เราคงไม่อยากจะผมร่วงหมดหัวเพราะการรักษาลำไส้อักเสบ แต่เราอาจจะยอมถ้าเป็นการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

ขออภัยคุณ pisces ที่ post ยาวอีกแล้ว ผมตกย่อความตอนเรียนชั้นประถม





Posted by : Phoenix , Date : 2004-03-14 , Time : 10:19:39 , From IP : ppp-203.118.123.142.

ความคิดเห็นที่ : 5


   ผมไม่รู้จะทำไงเพื้อนชอบเปิดอินเทอเน็ตที่ไม่ดีและอยากให้กระทรวงช่วยทำลายเว็บ www.narutoxxx.comด้วยเพราะผมไม่อยากให้เพื้อนเสียคนครับช่วยทำตามคำขอร้องของผมด้วยครับอีกเว็บนึงครับ http://www.hentaispider.com/

Posted by : ด.ช.สลิลโรจน์ จรูญจิตเสถียร , E-mail : (benz_zhoutai@hotmail.com) ,
Date : 2007-03-26 , Time : 04:03:47 , From IP : 58.64.54.18


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<