ความคิดเห็นทั้งหมด : 9

Debate LXI: โครงการแพทย์เอื้ออาทร Magic or Gimmick?


   แพทย์หนึ่งคนหนึ่งตำบลเรียนฟรีตลอดหลักสูตร Magic Bullet สำหรับปัญหาสาธารณสุขหรือไม่?

ถ้าจะจัดแผนนโยบายนี้เป็นประเด็น ประเด็นที่จะแก้คือ "จำนวน" แพทย์ และถ้าบวกเงื่อนไข (ซึ่งไม่ทราบรายละเอียด) ก็คือ "การกระจาย" น่นคือเดาว่าต้องกลับไปทำงาน ณ ตำบลนั้นๆ อยากจะให้มีหมอทุกตำบลๆละคนหรือ ก็ให้ไปเลยหนึ่งตำบลผลิตหมอรุ่นละหนึ่งคน หลังจาก cycle หกปีแรกก็จะเริ่มมีหมอดังกล่าวลงไป fill แต่ละตำบล (ไม่ทราบจะให้ fixed นานแค่ไหน) สิบปีต่อมา ทุกตำบลก็จะมีหมอสิบคน

ปัญหาคือ "ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ" และข้อบังคับดังกล่าวนี้สอดคล้องกับ human right หรือไม่

ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติคือ จำนวนแพทย์รุ่นพิเศษนี้จะมีอยู่เท่าไหร่ที่โรงเรียนแพทย์จะต้องผลิต? ผลิตแล้วจะไปอยู่ที่โรงพยาบาลขนาดเท่าไหร่? ขณะนี้เรามีโรงพยาบาลอำเภอ แต่ยังไม่มีโรงพยาบาลตำบล (รึเปล่า?) วิธีการคัดเลือกเป็นอย่างไร คุณสมบัติขั้นต่ำของผู้จะมาเรียนแพทย์เป็นอย่างไร? สมควรหรือไม่ที่มีการเรียนแพทย์ตามโควต้าทะเบียนบ้าน โดยไม่ต้องสนใจแรงปราถนาและความสามารถอย่างที่ระบบปัจจุบันใช้?

ถ้าจำนวนแพทย์ระบบนี้มีเหยียบพัน (14 ตำบล ต่อ "จังหวัด" ก็เหยียบพันแล้ว ผมว่าตัวเลขจริงๆน่าจะท่วมท้นกว่านั้น) โรงเรียนแพทย์ที่ไหนจะมารองรับ? การคัดเลือกแพทย์จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร จะมีผลกระทบต่อมาตรฐานการฝึกอบรมแพทย์หรือไม่ ในกรณีที่ "แพทย์โควต้า" อาจจะไม่ได้มีความถนัดในการเรียนแพทย์จริงๆ แต่ก็ได้มาเรียรนเพราะมีโควต้าแค่นั้น ถ้าระบบไม่สามารถการันตี "จำนวน" ที่มาเรียนในแต่ละปีการเตรียม resource ของโรงเรียนแพทย์ก็จะไม่สามารถทำล่วงหน้าได้ ถ้าเกิดกรณีที่ผู้มีความสามารถอยู่ในตำบลใดตำบลหนึ่งมากกว่าโควต้า ก็จะเสียโอกาสหรือไม่? ลองจินตนาการตำบลที่มีมาตรฐานการศึกษาสูงในแหล่งเศรษฐกิจดีๆ เช่น ในกรุงเทพฯ หาดใหญ่ สงขลา และแต่ละตำบลในจังหวัดดังกล่าวจะมีคนมาเรียนหมอได้แค่ 1 คน

ผมคิดว่าปัญหาที่จะทำให้ทฤษฎีนี้ work นั้น ยังมีมากกว่าที่ผมว่ามาอีกเยอะ ประเด็นที่อยากจะโยนให้กระดานที่นี้ลองอภิปรายดูคือตกลงมันเป็น magic bullet หรือแค่ครงการหนึ่งที่มีคำ "เอื้ออาทร" แปะ หรือถ้าจะให้มัน work ต้องมีเงื่อนไขและการแก้ปัญหาต่างๆที่ว่ามาหรือที่ยังไม่กล่าวถึงอย่างไรบ้าง?

กฏกติกาเดิม Be Mature, Be positive, and Be Civilized



Posted by : Phoenix , Date : 2004-03-08 , Time : 17:04:52 , From IP : 172.29.3.218

ความคิดเห็นที่ : 1


   ระบบการสอนแบบปัจจุบันที่มีนศพจำนวนมากขนาดนี้ สอนให้ได้ดีมีคุณภาพก็เพียงแค่ระดับมาตฐานเท่านั้นแต่ไม่ถึงขั้นดีเลิศทุกคน ถ้าอาจารย์แพทย์เป็นเครื่องจักรก็คงจะพิมพ์เด็กออกมาเป็นหมอที่เหมือนๆกันได้มาตรฐานทีละมากๆได้
แพทย์เอื้ออาทรคงต้องเป็นระบบใหม่ คัดเลือกเด็กแบบใหม่ที่มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถตอบสนองต่อคนในท้องถิ่นระดับตำบลได้->สถานีอนามัย? ตามนโยบายคิดใหม่ทำใหม่มั้ง แล้วใครจะเป็นคนผลิต?


Posted by : pisces , Date : 2004-03-08 , Time : 18:51:57 , From IP : 172.29.3.214

ความคิดเห็นที่ : 2


   ฟังแล้วเหมือนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณท์หรือเปล่า? หรือว่าเค้ามองหมอเหมือนเป็นเงินดังเช่นในโครงการที่แจกจ่ายเงินให้หมู่บ้านละหนึ่งล้านบาท? เรื่องการกระจายโครงการนี้คงตอบสนองในแง่มีจำนวนมากพอให้นำไปกระจาย แต่จริงแล้วการการผลิตหมอนั้นไม่เหมือนการผลิตสินค้า จึงไม่ควรมุ่งเน้นที่ตัวจำนวน

Posted by : pisces , Date : 2004-03-08 , Time : 19:23:25 , From IP : 172.29.3.214

ความคิดเห็นที่ : 3


   จริงๆเรื่องจำนวนแพทย์เป็นปัญหาแน่นอน รวมทั้งการกระจายของแพทย์ และปัญหาอย่างหลังนี้ยิ่ง exaggerate ปัญหาจำนวนแพทย์ในบางท้องที่ให้มากกว่าที่อื่น สัดส่วนของหมอต่อคนไข้ตามเมืองใหญ่จะสูงกว่าต่างจังหวัดมากมาย คุณภาพก็ดูเหมือนจะแตกต่าง แค่จากปัจจัยเพียงอันเดียวนี้ ถ้าคนไข้ 2000 คนเดินเข้าศิริราช ก็อาจจะเจอหมอในสัดส่วน 1:1 แต่ถ้ามาถล่ม ER มอ. ก็สงสัยจะเละตุ้มเป๊ะ

การแก้ปัญหาแบบกำปั้นทุบดินเดิมๆก็คือเขียนหนังสือสัญญาบังคับให้ไปอยู่ตามพื้นที่ที่รัฐบาลอยากได้ แต่ตราบเท่าที่สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมยังไม่กระจาย คนที่อยู่ก็เพียงอยู่เพราะสัญญา หมดปุ๊บก็ไป อัตราหมอคั่งค้างตามพื้นที่ชนบทก็ไม่ดีขึ้น เหมือนรดน้ำใส่ดินทราย ยังไม่ทันเห็นชุ่มก็แห้งอีกซะแล้ว เคยได้ยิน idiot บางท่านที่เป็นใหญ่เเป็นโตบอกว่าเก๊าะเพิ่มปีสัญญาให้ยาวขึ้น เพิ่มเงินค่าปรับให้มากขึ้น กดหัวมันลงไปใหม่อย่าให้โงออกมา โดยไม่ได้ดูว่าทำไมถึงอยู่ไม่ได้ เหตุผล simple ก็คือ แพทย์ก็เป็นปุถุชน พระราชดำรัสสมเด็จพระราชบิดาก็ไม่ได้ห้ามไม่ใคดถึงประโยชน์ส่วนตน แต่ให้คิด แถมยังสำคัญเป็นอันดับต่อไปซะด้วยซ้ำ ในระบบ quality control of KPI ของ TQA ก็มี 7 หมวดในการบริหารได้แก่ QCDIPSM (quality cost delivery innovation productivity safety and moral) ตัวสุดท้ายนี่แหละจะเป็นตัววัด "ความเจ๋งจริง" ของผู้บริหาร ถ้าใครรักษาน้ำใจ รักษาความภักดีต่อสถาบันอย่างจริงใจ รักษาความก้าวหน้าหรือหนทางสู่ความก้าวหน้าของสมาชิกชุมชนไว้ได้ ต่อให้ไล่ก็ไม่มีคนไป ต่อให้บังคับให้ทำงานหนักก็มีคนเต็มใจ แต่ถ้ทำในระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์ โดยคนที่ไม่เป็นแม้แต่ราชา ออกแต่กฏบีบบังคับ คนมันเก้าะไม่มี moral ทำไปตามกฏ กฏไม่บอกให้ฉันทำ ฉันก็ไม่ทำ ไม่มีใครทำเพราะอยากจะเห็นสถาบันตนเองก้าวหน้า แต่ทำเพราะกฏ เพราะ KPI ต่างๆที่ค้ำคอไว้ เมื่อสมองถูกบีบ innovation ก็ไม่กำเนิด ศิลปินหรือนักคิดจะทำอะไรสร้างสรรค์ได้ เขาต้องมี safety เป็นพื้นฐานของตนเอง ของครอบครัว ของลูกเต้าสามี

ย้อนกลับไปที่กระทู้ใหม่ ปัญหาที่ address ถ้าน่าสำคัญ แต่วิธีออกจะ short sight ไปนิด หรืออาจจะเป็นตัวผมเองก็ได้ที่ short-sighted ใครไขปริศนาออก มาเฉลยให้หน่อยก็แล้วกัน



Posted by : Phoenix , Date : 2004-03-08 , Time : 20:36:26 , From IP : 203.155.144.28

ความคิดเห็นที่ : 4


   ปัจจุบันมอ.ผลิตปีละประมาณ 120 คน บวกกับหาดใหญ่อีก 20 คน(ปี 1-3 เรียนที่มอ.) ตอนนี้อาจารย์ก็บ่นว่าสอนไม่ไหว งานบริการต้องเด่น งานสอนต้องเลิศ (ไม่รู้จะเอามือ เวลา สมองที่ไหนมาคิดงานให้เด่น เลิศได้) ได้ข่าวว่าปีหน้า คงไม่ใช่ปีนี้จะผลิตเพิ่มอีก 40 คนรวม 180 คนถึงตอนนั้นกรอบอาจารย์ยังเท่าเดิม แต่ต้องสอนนักศึกษาเพิ่มอีก มาตรฐานก็ต้องได้ เอาแค่นี้ก่อน ไม่ต้องเอื้ออาทรหรอกหรือเรียนฟรีหรอก ขนาดในสมัยก่อนเรียนปีละไม่ถึงสองพัน ก็ยังหาคนไปลงพื้นที่ได้ยาก มีอยู่ปีวันจับฉลากนักศึกษาแพทย์จากกทม. จับได้นราธิวาสประมาณ 4-5 คน ผู้ปกครองจ่ายเงินทันที ถามว่าเขาทำถูกหรือไม่ ตราบใดที่บ้านเมือง สังคมเศรษฐกิจ ความปลอดภัยเป็นเช่นนี้ ก็คงจะหาคนที่จะไปเติมให้เต็มได้ยาก มอ.เป็นส่วนหนึ่งของภาคใต้ ก็ช่วยได้มากแล้วเดิมที่ไม่มีคนสนใจจะมาอยู่ใต้ พอมีคณะแพทย์มอ.ขึ้นมา ไม่ว่าจะมีภูมิลำเนาอยู่ไหน เขาก็สามารถอยู่ใต้ได้


Posted by : น , Date : 2004-03-08 , Time : 22:45:12 , From IP : 203.113.76.76

ความคิดเห็นที่ : 5


   เพิ่มจำนวนแพทย์ เพิ่มมากเท่าๆไหร่ก็คงกระจุกอยู่ในแหล่งความเจริญเท่านั้น
นึกออก 2 ประเด็น
- แพทย์เต็มใจทำหน้าที่แพทย์ ในพื้นที่ที่อาศัยได้อย่างไม่ลำบากจนเกินไปนัก
- จำนวนแพทย์ยังขาดอีกมาก แพทย์แบบไหนที่ขาด ปีละพันกว่าคนไม่เพียงพอหรือ

แพทย์เป็นวิชาชีพที่ต้องให้บริการ ซึ่งต่างจากอาชีพให้บริการ อาชีพที่ให้บริการต่างๆนั้น ผู้ประกอบการย่อมยินดีจะทำงานในที่ซึ่งมีลูกค้ามาก แต่พื้นที่ซึ่งขาดแคลนแพทย์นั้น มีคนไข้มากมายรอคอยอยู่ แพทย์กลับไม่อยากอยู่ประำจำ ก็น่าขำดี
กระทรวงสาธารณสุขต้องมีโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท เพื่อบรรจุแพทย์ลงพื้นที่ที่เป็นภูมิลำเนา ด้วยหวังว่าคงจะคุ้นเคยและเต็มใจกว่า ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะสำเร็จผลแ่ค่ไหน เพราะเท่าที่เห็นๆอยู่ตอนนี้ หลายๆคนก็ไม่อยากไปทำงานที่ห่างไกลความเป็นเมืองใหญ่เท่าไหร่นัก บางคนเรียนแล้วไม่อยากเป็นแพทย์ก็ยังมีอยู่
พระราชดำรัสของพระบิดานั้นให้พวกเราถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่หนึ่ง แต่นศพ. และแพทย์ก็ยังตีความหมายคำว่า ส่วนรวม นั้นต่างกัน ประโยชน์เื่พื่อส่วนรวม ต้องอุทิศตนให้ประเทศชาติและชาวโลก หรือเพียงแค่ทำำหน้าที่ตามปกติและไม่ก่อความเดือดร้อนต่อผู้อื่นก็เพียงพอ อยู่ในเมืองก็ถือว่าทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมเหมือนกัน
การที่จะเพิ่มแพทย์ลงไปพื้นที่ขาดแคลนนั้น ก็ควรเป็นไปด้วยความเต็มใจและยินดี เป็นไปได้ไหมที่หลักสูตรการเรียนแพทย์จะปลูกฝังเรื่องการทำงานในชนบท และสร้างความสันโดษให้เพียงพอกับการอาศัยในพื้นที่ได้อย่างมีึความสุข
หรือว่าต้องอาศัย born to be rural doctor อย่างที่เคย

เคยคิดเล่นๆเหมือนกันว่า ทำไมไม่เอาเด็กจากชุมชนที่ขาดแคลนมาเีรียนแพทย์เสียเลย แต่ให้เป็นหลักสูตรฉบับหมอชาวบ้านก็ยังดี เป็นการตั้งเกณฑ์ความสามารถให้ต่ำลง ปรับปรุงหลักสูตรเนื้อหาให้เหมาะสมกับพื้นที่ ก็ติดอยู่ที่ว่าใครจะกล้าทำ ขึ้นชื่อว่าแพทย์ก็ควรจะมีมาตรฐานเดียวกัน ไม่เช่นนั้นคงโกลาหลน่าดู
แล้วการเอาอสม. มาให้ความรู้ รักษาวินิจฉัยเบื้องต้นจะได้หรือไม่ เป็นการลดปัญหาคนกระจุกเข้าโรงพยาบาลอย่างเดียว
แนวคิดนี้ก็คงเป็น primary care unit นั่นเอง ถ้าสามารถอัพเกรด PCU ให้ดีขึ้น เป็นมากกว่าสถานีอนามัย เป็นแหล่งสร้างความรู้รากฐานให้คนในชุมชน โดยลดภาระหน้าที่แพทย์ได้ ก็น่าจะดี
แพทย์ที่โรงพยาบาลชุมชนก็คงจะได้ทำงานได้มีประสิทธิภาพกันมากขึ้น

จริงๆเรื่องพวกนี้ใครๆเขาก็คุยกันเป็นประจำนี่นา
สงสัยต้องรอนาน


Posted by : ArLim , Date : 2004-03-09 , Time : 00:13:07 , From IP : 203.113.76.11

ความคิดเห็นที่ : 6


   ความจริงผมตั้งหัวข้อกระทู้ล่อเป้าไปนิด เพราะตอนนี้คงจะยังไม่มีโครงการแบบนี้ขึ้นมา แต่ผมว่ามัน "สื่อดี"

ฐานข้อมูลคือพลัง เราจะใช้แหล่งปัจจัยอะไร อย่างไร แค่ไหน เราจะเตรียมการณ์ เตรียมของ เตรียมคน เราต้องมี "จุดมุ่งหมาย" มี "วัตถุประสงค์" ก่อนที่จะ deploy ของต่างๆเหล่านั้นลงไปในพื้นที่ ต่อเมื่อเราสามารถสร้าง "ฐานข้อมูล" ที่แข็งแกร่ง ถูกต้องแม่นยำ รัฐบาลจึง (มีโอกาส) จะสามารถบริหารจัดการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ (ที่ใส่ "มีโอกาส" ไว้ในวงเล็บเพราะว่ารัฐบาลต้องมีสติปัญญาพอสมควรจึงจะใช้ข้อมูลที่ดีด้วย ไม่ใช่ข้อมูลดีอย่างเดียวแต่คนใช้โกงกินตะบัน โกงภาษี รวยที่สุดในประเทศแต่จ่ายภาษีเท่าเสมียนอะไรทำนองนั้น)

อันดับหนึ่งที่เป็น common sense คือ ชุมชนไหนจะดีนั้นต้อง "ปลอดภัย" มีสาธารณูปโภค มีความเจริญมีแหล่งให้การศึกษาที่ได้มาตรฐาน สิ่งเหล่านี้ต้องลงทุนลงไปก่อนมันถึงจะมี และลงทุนโดยรัฐบาล ไม่ใช่รอให้เอกชนเห็นโอกาสมาเซ็งลี้ เพราะนั่นมันจะถูกบริหารโดยและเพื่อประโยชน์ของคนๆเดียว ไม่ใช่ชุมชน

อันดับสอง "อะไร" คือความต้องการของ "หมอหัวถนน" ที่เป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตประจำวัน ต้องสอดคล้องกับการ "ส่งต่อ" ซึ่งหมายถึงการเตรียม infratructure ด้าน การคมนาคมการสื่อสารที่เชื่อถือได้และรวดเร็ว ถ้าเราจะจำกัด resource ของ "หมอหัวถนน" เราก็ต้อง make sure ว่าถ้าหมออยากจะส่งคนไข้เข้ารักษาที่ซับซ้อนมากขึ้นสามารถทำได้ด้วยความรวดเร็ว อันนี้หมายถึง Network system และ refereal system การคมนาคมนี้สำคัญมาก เพราะทำให้ชาวบ้านรู้สึก security รู้สึกถึง "ความเจริญ" และความก้าวหน้า farmer ของ Australia ไม่รู้สึกว่าเขาอยู่ชนบท เพราะถ้ามี heart attack รัฐบาลสามารถจะการันตี helicopter แพทย์จะไปถึงในสิบห้านาที (ช้ากว่ากับลิฟท์จากชั้น base ถึงชั้นสิบสามนิดหน่อย) ชาวนาเกือบทุกคนมี mode of transportation ที่ reliable ก็ไม่รู้สึกว่าโดเดี่ยวอ้างว้างแม้จะอยู่ห่างจากชุมชนเป็นหลายสิบกิโลแม้ว

อันดับสาม basic พื้นฐานความต้องการของคนต้องถึงเกณฑ์ที่เขาได้ตั้งไว้ตามความสามารถ คนถึงจะอยู่ในที่นั้นๆได้อย่างเต็มใจ บางทีตอนเราพูดถึงการเสียสละของแพทย์เพลินๆ คนพูดลืมไปว่าตนเองรับมรดกพันล้านและไม่เคยรู้จักคำว่าหิวมาก่อนในชีวิต ไม่เคนรู้สึก insecure ในการส่งลูกเต้าเข้าโรงเรียนที่ดี ส่งเรียนต่อได้จนจบมหาวิทยาลัย ไม่เคยต้องผ่อนแม้แต่จะซื้อแอร์ ซื้อตู้เย็น ปาวๆให้หมอทำงานอยู่แต่ในโรงพยาบาล เสียสละๆๆๆๆ ท่องไว้ หมอก็เป็นคนธรรมดานี่แหละครับ ต้องการให้ลูกเข้าโรงเรียนดีๆ หมอส่วนใหญ่จะซาบซึ้งถึงประโยชน์ในการที่ลูกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เจริญ มีเพื่อนฝูงที่มีความชอบความคิดความอ่านที่ศิวิไลซ์ พวกเราทุกคนอยากให้เราเองมี "อภิชาติ" บุตรกันทั้งนั้น เรารู้ว่าพ่อแม่เรายากลำบากในการส่งเรียน เราอยากให้ลูกเราไม่ต้องมาลำบากแบบเราอีกต่อไป ฉะนั้นมาตรฐานและความต้องการเหล่านี้กจะเป็นส่วนหนึ่งที่แพทย์ธรรมดาๆเหมือนปุถุชนคนอื่นๆแสวงหาในชีวิตเช่นกัน

จะเห็นว่า "ราก" ของปัญหาเรื่องจำนวนแพทย์และการกระจายของแพทย์นั้นมันลึก ไม่ได้แก่แค่ออกกฏว่าโรงพยาบาลไหนใหญ่หน่อยก็มาผลิตแพทย์กันเถอะ รัฐบาลจะให้หัวละ 500,000 บาท เร่เข้ามาๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-03-09 , Time : 01:30:53 , From IP : 172.29.3.208

ความคิดเห็นที่ : 7


   เห็นด้วยกับความเห็นของphoenixนะ แต่เวลาอ่านอะไรยาวๆแล้วมันมึนจัง สมาธิมันสั้น ลายตาทำให้ต้องอ่านแบบเร็วๆและบางครั้งก็อ่านข้ามไป รู้สึกเสียดายนะที่อ่านไม่จบในบางครั้งทำให้คุณค่าของข้อความทั้งหมดลดลง อยากให้phoenixตอบให้สั้นลงหน่อยจะได้หรือเปล่า(นี่เป็นการ assertiveนะ ไม่ใช่agressive)

Posted by : pisces , Date : 2004-03-09 , Time : 02:44:28 , From IP : 172.29.3.227

ความคิดเห็นที่ : 8


   ผมคิดว่าเราเดินผิดทางรึเปล่าครับ แทนทีเราจะสร้างหมอมากๆ เราน่าจะมายกระดับ เพิ่มความรู้ความสามารถให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้านอื่นๆ เช่น เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบิตงานตามสถานีอนามัย แทนทีจะเรียนแค่ 2 ปี ก็เพิ่มเป็นสี่ปี เพิ่มพยาบาลในหลักสูตรที่เฉพาะสำหรับการปฏิบัติงานตามสถานีอนามัยในตำลบ.... ส่วนแพทย์ก็เน้นทางวิชาการเพิ่มขึ้น...



Posted by : ยกระดับหมออนามัยกันดีกว่า , Date : 2004-03-09 , Time : 07:57:53 , From IP : 172.29.4.111

ความคิดเห็นที่ : 9


   จริงๆเขาทำกันอยู่แล้ว การอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เขาก็ทำอยู่แล้ว มีขอบเขตที่ทำ หากไม่มีกลุ่มคนนี้ป่านนี้ก็คงยุ่งมากกว่านี้ เขาทำมาเป็นสิบๆปีแล้วครับ แต่ปัญหาอยู่ที่สังคมด้วย สังคมเมือง คนอยากอยู่ เพราะความเจริญไปถึง ตราบใดที่ยังมีความเหลื่อมล้ำมากระหว่างชุมชนชนบทและชุมชนเมืองก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้หรอก เรื่องที่เสนอมานั้นส่วนใหญ่ก็ทำไปแล้วเอาเด็กจากชุมชนที่ขาดแคลนมาเรียนแต่เรียนตามมาตรฐาน ก็ทำแล้วเพียงแต่ว่ามีส่วนหนึ่งถูกสังคมเมืองกลืน ซึ่งจะโทษเด็กก็คงไม่ได้ เพราะสังคมหล่อหลอมให้ต้องไปทางนั้นเพราะมีโอกาส

Posted by : กกกก , Date : 2004-03-11 , Time : 12:01:04 , From IP : 172.29.2.89

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<