ความคิดเห็นทั้งหมด : 15

แจ้งเพื่อทราบและระวังตัว


   หลัง 15.30 น.เป็นต้นไป คุณหมอต้องโทรศัพท์ไปขออนุญาติ+อ้อนวอนเพื่อ
G/M เลือดมาให้ผู้ป่วยนะครับ ตอนโทรก็ระวังตัวหน่อยละกันนะครับ


Posted by : kk , Date : 2004-03-03 , Time : 14:50:22 , From IP : 172.29.3.125

ความคิดเห็นที่ : 1


   อนุญาต

Posted by : คนไทย , Date : 2004-03-03 , Time : 17:18:01 , From IP : 172.29.3.156

ความคิดเห็นที่ : 2


   เข้าใจว่าคุณ KK เขียนระบายเรื่องการขอเลือดให้กับผู้ป่วยนอกเวลาราชการ เนื่องด้วยอาจจะกำลังอารมฌ์บูดที่ต้องกระทำขั้นตอนดังกล่าวและหงุดหงิดสงสัยว่าทำไมเรื่องมันต้องยุ่งยาก
.
คิดเสียว่าผมเป็นเพื่อนคนหนึ่งที่นั่งฟังคุณระบายอยู่ ผมจะพูดกับคุณอย่างนี้ครับ
.
เคยไหมเวลาที่เรานั่งอยู่เวรห้องฉุกเฉินแล้วมีคนไข้มาด้วยโรคที่ดูเหมือนไม่ค่อยด่วนเท่าไหร่เข้ามาขอให้คุณช่วยดู เรามีความรู้สึกไม่ค่อยเป็นสุข ยิ่งเวลากลางคืนด้วยแล้ว อยากที่จะต่อว่าเสียด้วยซ้ำ
.
ผมคิดว่าพี่ของคุณน้องของผมที่ทำงานอยู่ห้องเก็บเลือด ก็อาจจะไม่ค่อยสบายใจเช่นกันหากการใช้เลือดสำหรับคนไข้ที่วางแผนล่วงหน้าได้ กลับไม่ได้รับการวางแผน เช่นการผ่าตัดที่เป็น elective case และรู้ล่วงหน้าหลายวัน คงไม่เป็นการดีที่เลือดจะถูกเจาะไปให้เขา match เวลาวิกาลณ์ (คำนี้ผมอาจเขียนผิด) ประเด็นนี้คุณ kk คงเห็นด้วยกับผม
.
คุณ kk เคยไปเที่ยวคลังเลือดไหมครับ
.
หากเคยไปตอนกลางวัน คุณ kk จะพบว่า request ที่เราส่งไป จะได้รับการดูแลจากแพทย์ที่ทำงานที่นั่น ถึงความเหมาะสมในการขอใช้ ตอนเย็นแพทย์กลุ่มเดียวกันนั้น กลับบ้านหรือไปทำธุระของเขาไม่ต่างจากคุณ kk ไงครับ เวลาที่เราขอใช้เลือด จึงต้องคุยกันผ่านทางโทรศัพท์แทน
.
ผมจะไม่แตะประเด็นเรื่องความเห็นที่อาจไม่ตรงกันเวลาคุณต้องการเลือดและคลังเลือดต้องการที่จะสงวนเลือด เพราะผมไม่รู้หรอกครับ แค่นี้คุณ kk ยังอาจจะบอกว่ามาเจือกอะไรเนี่ยะ ย้อนไปที่เดิม แค่มาเป็นเพื่อนฟังคุณบ่นครับ
.
อยากฟังปัญหาของคุณ kk เพิ่ม และอยากฟังทางออกที่คิดไว้ครับ
.
ดักไว้ล่วงหน้าว่าเราไม่คุยกันเรื่องใครทำงานหนักกว่าใคร ใครดีกว่าใคร ใครเลวนะครับ เราคุยกันเรื่องระบบที่อยากเห็นร่วมกันครับ


Posted by : Shonigega , Date : 2004-03-03 , Time : 18:19:55 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 3


   อยากแสดงความเห็นมากๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะเป็นแพทย์ที่เบื่อมากๆๆๆ ตอนเช้าหลังจากสั่งเจาะ CBC กว่าที่พี่พยาบาลซึ่งมีงานมากและจำนวนคนทำงานมีน้อยจะเจาะเลือดและส่งห้อง lab ประมาณ 12.00-13.00 หลังจากนั้นก็นั่งกดlab กันเข้าไปจนมือหงิกแล้ว lab จะออกประมาณ 14.00-15.00 เมื่อเห็นผลและกำลังจะเอื้อมมือคว้าใบ G/M พร้อมกับใช้ปากตะโกนบอกพี่พยาบาล เพื่อเจาะเลือดและส่งเลือดขชนาดเผื่อ tube G/M ตั้งแต่เช้าแล้วยังไม่แน่ใจว่าจะทัน 15.30 หรือเปล่า หรือบางครั้งวกำลังจะหยิบปากกาเขียนอาจารย์มา round ward พอดี แล้วจะต้องทำอย่างไรกับใบG/M ถาเป็นเดือนอื่นๆ มี Extern และนศพ ก็ยังดีแบ่งกันไปทำแต่เดือนนี้อยู่คนเดียวอีกจะเอามือไหนไปทำอีกเนี่ย กว่าจะ round เสร็จอ้าวเลยเวลาไปอีกแล้ว ก็ไม่เข้าสใจเหมือนกันหมอก็ไม่ได้เอาเลือดมาให้ตัวเองทำไมต้องอ้อนวอนกันขนาดนี้
ความจริงมาคิดกันอีกที การไม่ให้เลือดนอกเวลาก้น ไม่ต้องโทรไปขอ พีพยาบาล ไม่ต้องเจาะเลือด เจ้าหน้าที่ไม่ต้องเดินไปส่ง หมอไม่ต้องเขียนใบ ถมหลังจากได้เลือดมาไม่ว่าจะดึกแค่ไหนก็ไม่ต้องตื่นมา check เลือด และให้เลือดเองอีก ฟังดูแล้วเหมือนสบายกันทุกฝ่ายเลย คงต้องขอขอบคูณเจ้าหน้าที่ blood bank มากที่ไม่ให้เลือดมา เพระหมอสบายขึ้นตั้งเยอะยิ่งคนไข้ hemato on Hickman ถ้าวันนั้นไม่ได้เลือดมาคงนอนสบาย
แต่อยากจะให้เจ้าหน้าที่ bllod bank คิดดูเหมือนกันว่าผลเสียอยู่ที่ คนไข้ หรือเปล่า


Posted by : hhh , Date : 2004-03-03 , Time : 20:11:46 , From IP : 172.29.3.249

ความคิดเห็นที่ : 4


   นอกจาก blood bank แล้วอีกแห่งหนึ่งที่ทุกคนเบื่อมาก คือ CBC นอกเวลาต้องโทรไปขอแถมยังต้องมา diff เองอีก ถ้าไม่จำเป็นคนไข้ไม่มีไข้ขึ้นคืนนั้นและอาการไม่แย่ จะส่งไปทำไม เพราะส่งแล้วอีก1-2 ชั่วโมง แทนทีจะได้นอนก็ยังต้องตื่นมาดูผลอีก ไม่เจาะก็เหมือนจะสบายมากกว่าด้วยซำ แล้วที่ต้องมา diff เองอีกจะเอาเวลาทีไหนมาทำ Med เดือนนี้อยู่เวรคนเดียวใน 1ชั้นแล้วเคยมีที่มันไม่ยุ่งด้วยเหรอ เวร PED ก็เหมือนกันเคยได้นั่งสบายบ้างไหมเนี่ย ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันทำไมรพ มอ ต้องลำบากกันถึงเพียงนี้ อยูรพ ข้างนอก stool exam fram stain ยังทำให้เลยไม่ว่าจะกี่โมงก็ตาม ถ้าอ้างว่าเจ้าหน้าที่น้อยทำไม รพ ไม่เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ และเพิ่มเงินให้ เพราะอย่างไรงานมันก็เยอะกว่าจำนวนคนอยู่แล้ว

Posted by : hhh , Date : 2004-03-03 , Time : 20:22:45 , From IP : 172.29.3.249

ความคิดเห็นที่ : 5


    จริงๆ ก็เห็นใจทั้ง 2 ฝ่ายนะ
นอกเวลาเจ้าหน้าที่คลังเลือดเหลือแค่ 2-3 คน ก็เลยหงุดหงิดเวลาเราโทรไปขอ (โดนมาแล้วเหมือนกัน)
ไอ้เราเองก็ไม่ค่อยมีเวลาตามlab ในเวลา โดยเฉพาะเวลาที่ยุ่งมากๆ คนไข้แย่พร้อมกันหลายเตียง
ทางที่ดีก็อลุ่มอล่วยกันหน่อยก็แล้วกัน แต่..........ทางที่(คิดว่า)ดีกว่าก็คือเพิ่มเจ้าหน้าที่ดีกว่ามั๊ย หรือลองสำรวจความคิดเห็นกันก่อนก็ได้ เอาแบบ fair fair เลย


Posted by : ผู้ร่วมเหตุการณ์ , Date : 2004-03-03 , Time : 23:53:06 , From IP : 172.29.3.213

ความคิดเห็นที่ : 6


   ผมจำได้ว่าเมื่อสองปีที่แล้วมีกรณีเรื่อง CBC ลงมาในกระทู้ครับ ตอนนั้นอาจารย์วิญญูเป็นผู้มา response และนำเรื่องนี้ไปคุยในที่ประชุมภาควิชาพยาธิวิทยา ไม่มีการเปลี่ยนแปลงกฏการเจาะ CBC หลังจากนั้น แต่อย่างน้อยก็ทำให้ชุมชนของเรารู้ว่า เมื่อมีการเสนอแนะปัญหา เสียงร้องของผู้ปฏิบัติงานได้รับการดูแล
.
จากข้อมูลข้างบน แสดงว่าการจะตัดสินใจให้เลือดผู้ป่วยมักจะทำได้หลังจากที่ทราบผล CBC แล้ว ซึ่งมักเป็นบ่าย แสดงว่า workload ของคลังเลือดน่าจะหนักไปตอนบ่ายถึงเย็นใช่ไหมครับ และถ้าเป็นอย่างนั้นจริง (จริงหรือไม่อาศัยการศึกษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ครับ) การจัดกำลังคนรองรับช่วง peakload อาจเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้
.
อีกทางหนึ่ง หากมีการทำความเข้าใจร่วมกันถึงกรณีบ่งชี้ในการให้เลือด ข้อบ่งชี้ที่เกิดขึ้นบ่อยก็นำมาเขียนเป็น practice guideline ร่วมกันไว้เลยว่ากรณีอย่างนี้ไม่ต้องยกหูโทรศัพท์ กรณีอย่างนี้อย่ามาขอ โดนดุแน่ จะดีไหมครับ
.
หรือหากมีการปฏิเสธการให้เลือด หรือกรณีที่ความเห็นไม่ตรงกันอย่างที่คุณตองเฮ็ดว่า เราจะไม่ปล่อยให้มันผ่านไปเฉย ๆ แต่เอามาทบทวนร่วมกัน เพื่อที่จะได้เรียนรู้ร่วมกัน เป็นประไรล่ะครับ
.
ผมไม่เห็นใจทั้งสองฝ่ายหรอกครับ เวลาทำงานให้คนไข้อย่ามีฝ่ายเลย เป็นฝ่ายเดียวกัน และเอาคนไข้เป็นที่ตั้งกันดีกว่าเป็นไหน
.
เรื่องนี้คุยสนุก คุยกันต่อครับ


Posted by : Shonigega , Date : 2004-03-04 , Time : 07:04:12 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 7


   ใช่ ๆ เพิ่มคนทำงานสิ เพิ่มพยาบาลสำหรับเจาะเลือด จะได้ไม่ต้องรอจนถึงเที่ยงค่อยส่งแล็บ แล้วก็ไม่ต้องรอกดแล็บจนมือหงิก แล้วก็ไม่ต้องโทรขอเลือดตอนบ่ายแก่ๆ ว่าแต่ว่า ผลแล็บออกแล้วดูทันทีหรือเปล่า ???

Posted by : แมวดำ , Date : 2004-03-04 , Time : 12:51:16 , From IP : 172.29.1.242

ความคิดเห็นที่ : 8


   เอ ทำไมเนี่ย ผม จะไปหาหมอ ตอนกี่โมง มันก็เรื่องของผม ถึงแม้ผมจะเป็นแค่ไข้หวัด แต่ผมจะไปหาตอน ตีสี่ เนี่ย มีปํญหาเหรอ ผมไม่สนหรอกว่าคุณจะรำคาญหรือไม่ ผมถือว่า ผมไปจ่ายเงินรักษานะ หน้าที่ของคุณก็รักษา อย่าบ่น รู้หน้าที่ตัวเองซะบ้าง

Posted by : ไม่เข้าใจ , Date : 2004-03-04 , Time : 23:26:11 , From IP : ppp-203.144.235.68.r

ความคิดเห็นที่ : 9


   ถึงอาจารย์ shonigega ครับ
วันนั้นที่ผมโทรไปขอเลือด ผมตั้งใจโทรไปอย่างปกติดี และไม่ได้อารมณ์เสียเลยครับและก็ไม่ได้อารมณ์บูดครับ เริ่มโทรพยายามพูดจาดีๆ แนะนำตัวเอง แล้วก็พูดขอเลือดแบบไม่ได้ agressive เลย แต่คำถามที่พี่เจ้าหน้าที่ถามประโยคแรกคือ ทำไมเพิ่งมาขอตอนนี้หละหมอ
ผมก็พยายามตอบไปว่า อาจารย์เพิ่งมา round และเห็นว่าน่าจะให้เลือด จึงได้โทรมาขอ ซิ่งเป็นเวลาประมาณ 6 โมงเย็นครับ แล้วสิ่งที่ได้ยินเพิ่มคือการที่พี่เจ้าหน้าที่หันกลับไปคุยกันเองว่า เอาอีกแล้ว หมอเพิ่งมาขอเลือด แล้วก็คุยกับผมต่อ อีกทั้งยังบอกว่าผล lab ออกตั้งแต่บ่ายแล้วทำไมเพิ่งมาขอ ผมก็อ้างเหตุผลเช่นเดิม แถมพี่เจ้าหน้าที่ก็ยังช่วยสั่งสอนผมว่า น่าจะขอให้เร็วกว่านี้ และบอกว่าพี่เจ้าหน้าที่ก็งานยุ่งพอสมควรเนื่องจากต้องคอย G/M จาก ER หรือ case emergency ด้วย แต่ผมก็พยายามเงียบ และไม่ได้โต้ตอบอะไรไป สุดท้ายพี่เจ้าหน้าที่ก็ให้เลือดมานั้นแหละครับ
อันนี้ก็อยากให้ shonigega ทราบ และให้รู้ด้วยว่า บางครั้งที่ออกมาแสดงความคิดเห็นก็เพื่อให้ทราบ และรับรู้ปัญหาบ้าง ว่าทุกครั้งที่พวกเราออกมาบ่นหรือ แสดงความคิดเห็นนั้น ไม่ใช่ว่าพวกเราจะเป็นคนที่เอาแต่ใจฝ่ายเดียวที่จะต้องได้ แต่ถ้ามองกลับกันอีกนิด ก็มีหลายครั้งที่พวกเราเอาแต่ใจที่จะต้องอย่างนั่น แต่ทั้งหมดๆ ก็ไม่ใช่เพื่อผู้ป่วยหรือครับ


Posted by : kk , Date : 2004-03-05 , Time : 11:25:24 , From IP : 172.29.3.125

ความคิดเห็นที่ : 10


   ไม่ว่าจะเป็นหน่วยปฏิบัติงานใด การเพิ่มเงินหรือทรัพยากรลงไปมักจะส่งผลบวกต่อปริมาณผลิตผล แต่จะส่งผลอย่างไรต่อประสิทธิภาพ (ผลผลิตต่อหน่วยทรัพยากรที่ใช้) นั้นเป็นอีกเรื่อง ลองนึกภาพเรามีเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดมากขึ้นจนผลัดกันทำงานได้ทั้งวัน โรงพยาบาลของเราก็คงสะอาดขึ้น หรือหากเรามีแพทย์มากพอที่จะแบ่งผู้ป่วยกันคนละสามราย การดูแลก็คงคล่องตัวมากขึ้น
.
แต่ในชีวิตจริง กฏข้อที่หนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวว่า ทรัพยากรทุกประเภทมีจำกัด นั้นครอบคลุมถึงทรัพยากรมนุษย์เช่นเดียวกัน นี่เป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้ การบริหารงานที่ดี มีบทบาทในการเข้ามาจัดการให้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดสามารถทำหน้าที่ของมัน หรือของกลุ่มของมันอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้บริหารมีหน้าที่ตอบโจทย์ดังกล่าวนี้อยู่เสมอครับ ลองจินตนาการตัวเองเป็นผู้บริหารสถาบันทางการแพทย์แห่งหนึ่งและหาทางแก้ปัญหาการขอเลือดเลือดที่ว่า ภายใต้ข้อจำกัดด้านทรัพยากรดูสิครับ ว่าจะมีวิธีที่เป็นไปได้อย่างไรบ้าง
.
นี่เป็นคนละเรื่องกับที่ว่าผู้บริหารจะเข้ามาอ่านกระทู้ไหม หรือจะมีผลอะไรต่อไปจากการมาคิดมาเขียนบนนี้ไหม
.
ย้อนกลับมาที่เดิม ผมเพียงเข้ามาฟังคุณ kk บ่น และคุยเป็นเพื่อนแกล้มกาแฟ โดยส่วนตัวผมเข้าใจความรู้สึกของคุณ kk เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากตอนผมอายุเท่าคุณ kk อารมฌ์แบบนี้เกิดกับตัวผมเองบ่อยครั้ง ตอนนั้นผมไม่มีกัลยาณมิตรช่วยมองอารมฌ์หรือช่วยเตือน อารมฌ์แบบนั้นพัฒนาไปพร้อมกับการพัฒนาอัตตา ทำให้เราไม่พยายามเข้าใจคนอื่น แบ่งฝ่าย และไม่มีความสุข ว่ากันแบบไม่อาย ผมได้รับการสั่งสอนด้วยเวลาและประสบการณ์ทำงานหลายปีครับ ว่าการเอาชนะที่แท้จริงนั้นได้มาด้วยการเริ่มจากการทำความเข้าใจ และเอาชนะใจ แต่คุณ kk เรียนได้เร็วกว่านั้น ด้วยทางลัดจากประสบการณ์ของคนอื่น
.
ประเด็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ที่คุณ ไม่เข้าใจ เขียนมา น่าสนใจชมัด ผมได้รับการสั่งสอนอยู่เรื่อยมาว่าในฐานะผู้ให้บริการที่ดีขณะปฏิบัติหน้าที่ เราไม่มีสิทธิ์ไปบ่นหรือต่อว่าผู้รับบริการ ผมสอนนักเรียนของผมเช่นกันว่า อาชีพแพทย์ไม่ได้มีอภิสิทธิ์เหนือไปกว่าการทำงานในสาขาไหน เราไม่ได้มีอภิสิทธิ์เหนือไปกว่าพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ หรือพนักงานนวดแผนโบราณ แต่อย่างใด
.
เรื่องมันอยู่ที่ข้อจำกัดทาง ธุรกิจ หรือ พันธกิจ ของสถาบันทางการแพทย์ที่คุณจะเข้ารับบริการมากกว่า หากเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่พันธกิจของเขาคือการขายบริการทางการแพทย์และพร้อมที่จะให้บริการตลอดเวลา การเข้าซื้อบริการเวลาใดไม่มีปัญหาแน่ครับ ตราบที่คุณจ่ายค่าตอบแทนครบ เพราะผู้ซื้อยินดีขายผู้ขายยินดีซื้อ แต่ในบริการที่เป็นสวัดดิการสังคมของรัฐ ยิ่งโรงพยาบาลของรัฐที่เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย การเข้ารับบริการทางการแพทย์ด้วยโรคที่ไม่ฉุกเฉินที่ห้องฉุกเฉินในเวลาวิกาล คงเป็นเรื่องเข้าใจผิด เพราะพันธกิจหลักของห้องฉุกเฉินของโรงเรียนแพทย์ที่ควรจะเป็นคือเป็นที่จัดประสบการณ์ทางคลินิก เพื่อที่จะตอบสนองพันธกิจของการสอน และเป็นด่านรับสำหรับผู้ป่วยรักษาต่อเนื่องของสถาบัน ในยามที่เขามีเรื่องจำเป็นยามวิกาล
.
เหมือนคุณขับรถไปซื้อหมี่ไก่ตอนตีสอง แล้วคนขายเขายืนเท้าสะเอวบ๊ายบาย คุณจะไปว่าเขาไม่ทำหน้าที่ของเขาหรือ ในเมื่องานของเขาเสร็จตีหนึ่ง
.
อาชีพแพทย์เป็นงานบริการที่มิได้มีอภิสิทธิ์เหนือไปกว่าอาชีพไหน แต่เราก็จะต้องไม่ด้อยสิทธิ์ไปกว่าใครกระมังครับ


Posted by : Shonigega , Date : 2004-03-05 , Time : 15:22:09 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 11


   ถ้าอย่างนั้นคนไข้ OPD case เวรดึกคิด doctor fee ได้ก็น่าจะดีนะ..เพราะถ้าคุณจะมองว่าเป็นการซื้อ-ขายบริการ..แน่นอน. พยาบาลที่ER ต้องได้ค่า nurse fee เป็นการแลกเปลี่ยนกับการพยาบาลในคนไข้ที่ non emergency. ถ้าอุปสงค์กับอุปทานตกลงกันได้ทุกอย่างนะจะ OK

Posted by : P , Date : 2004-03-05 , Time : 22:43:27 , From IP : 172.29.3.94

ความคิดเห็นที่ : 12


   มองในเชิงทุนนิยมสุดขั้ว มันเป็นอย่างนั้นจริงครับ การซื้อขายเกิดขึ้นเมื่อมีความพอใจร่วมกัน หรือใช้คำที่คุณว่า เมื่ออุปทานตรงกับอุปสงค์ ไงครับ ด้วยกลไกตลาด ผู้รับบริการก็จะสามารถเลือกบริการที่ดีที่สุด ในราคาที่ตนพอใจที่สุด เรื่องการคิด DF สำหรับกรณีป่วยที่มานอกเวลาผมเคยคิดเล่น ๆ อยู่เหมือนกัน ว่าทำไมเราไม่ทำอย่างนั้น มันจะได้เป็นธรรมกับบุคลากรระดับปฏิบัติงานมากขึ้น แล้วก็ตอบตัวเองเล่น ๆ เหมือนกันว่าสงสัยที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะผู้บริหารคงเห็นว่าพันธกิจของเราไม่ใช่การแสวงหารายได้ ไม่รู้ท่านคิดอย่างนี้หรือเปล่า ผมไม่ค่อยมีความรู้ว่าผู้บริหารเป็นใคร อยู่ที่ไหน และคิดนำพาองค์กรของเราไปอย่างไร
.
เรื่องทุนนิยมกับการบริการทางการแพทย์นี่เชื่อมโยงกับกระทู้ข้างบนครับ หากผมตั้งคำถามที่คิดว่าออกจะหมิ่นเหม่แต่ผมคิดว่าตรงไปตรงมาว่า แพทย์คนนั้นผิดอะไรล่ะ เขาเสนอขายบริการราคาแสนห้า ถ้าไม่ผ่ากับเขาก็ไปผ่ากับคนอื่นสิ เขาระดับอาจารย์เชียวนะ ความเสี่ยงต่ำกว่านะ
.
มองในฐานของตลาดเสรี ผมไม่เห็นความผิดของแพทย์หรือคุณป้า คุณป้าไม่ชอบราคานี้ ก็ไปหาที่ซื้อบริการใหม่ จะมาลงหนังสือพิมพ์กันด้วยโทษฐานอะไร
.
ข้อแม้ของระบบทุนนิยมหรือตลาดเสรีที่เป็นธรรมก็คือผู้ซื้อจะต้องมีสิทธิ์ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการอย่างทะลุปรุโปร่งครับ ในกรณีของคุณป้า คุณป้าจะต้องรู้ข้อมูลว่าคนนั้นผ่ากับอาจารย์คนนี้ผ่าคุณภาพต่างกันอย่างไร ราคาต่างกันอย่างไร คุณป้าจะได้เลือกหมอได้ไม่ต่างจากการไปเลือกหมูในตลาด
.
ผมเชื่อว่าคนที่เคยมีญาติป่วยเป็นมะเร็งคงทราบว่า สิ่งที่เกิดกับคนไข้และเครือญาติ ณ ขณะที่ทราบว่าตนป่วยคือความตระหนก และเมื่อความกลัวนั้นเองผสมรวมกับความไม่รู้ข้อมูลที่พอเพียง ก็จะถูกชักนำได้ง่าย เสียผลประโยชน์ได้ง่าย หากแพทย์ผู้ซึ่งเป็นผู้กำทุนทางความรู้ (เกี่ยวกับโรคนั้น) มากกว่า จะถือการทับซ้อนของผลประโยชน์ หาผลประโยชน์ให้กับตน ก็เป็นโอกาสที่ดี
.
แต่เรามีความสุขที่จะทำเช่นนั้นหรือครับ ในเมื่อเราก็มีโอกาสเช่นกันที่จะฉวยเพื่อสร้างความสุขหรือลดความทุกข์ให้กับคนอื่น
.
เราปฏิเสธไม่ได้หรอกครับ ว่ากระแสของทุนนิยมก็กำลังพัดเข้ามาในวงการแพทย์ และถึงที่สุดอาชีพของเราก็จะถูกวางไว้ในฐานการขายบริการประเภทหนึ่ง หลายท่านอาจมีทรรศนะว่ามันไม่ควรจะเป็นเช่นนั้น เราไม่ควรจะเอาอาชีพของเราไปเปรียบกับการทำธุรกิจ แต่ผมเชื่อว่าแทนที่จะหลับตาและไม่กล้ามองความเปลี่ยนแปลง เราปรับตัวของเราเพื่อรับกระแสโดยการเป็นแพทย์มืออาชีพ โดยการพัฒนาระบบธรรมาภิบาลในองค์กร โดยการมีจรรยาบรรณ น่าจะเป็นทางออกในที่สุดครับ


Posted by : Shonigega , Date : 2004-03-06 , Time : 05:38:08 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 13


   สังคมที่เราต้องการ "เรา" ต้องช่วยกันสร้าง

กระแสสังคมนั้นแรง แรงจนบางครั้งเราลืมไปว่าเราก็เป็นเฟืองตัวหนึ่งของสังคม ลูกเราเมียเราคนข้างเคียงก็เป็นอีกเฟืองสองเฟือง ภาควิชาก็อีก 70-80 เฟือง วันก่อนผมเป็นประธานสีฟ้า ผมมี 800 เฟืองสังคมเดินตามผมต้อยๆน่ารักดี ถ้า "สังคม" สามารถชวนกันเดินได้อย่างเดินพาเหรด "สังคม" ที่เราต้องการจะสร้างน่าจะเสร็จวันพรุ่งนี้มะรืนนี้ แต่ถึงมันจะเสร็จปีหน้า อีกสิบปีข้างหน้า ชาติหน้าตอนบ่ายๆ ของบางอย่างถ้ามันมีค่าพอ ก็สมควรจะทำ เราไม่จำเป็นต้องมีชีวิตอยู่เห็นผลงานหรอกครับ เรารู้อยู่แก่ใจว่ามันจะมีส่วนในผลสำเร็จอยู่บ้างก็พอแล้ว สาเหตุของพวกปฏิวัติรัฐประหารที่ใช้ความรุนแรง เพราะการ pursue ideology โดยหวังผลแบบ short-cut ผลที่ได้ถึงจะสำเร็จก็อายุสั้น เพราะฐานมันไม่มี อยากเห็นตัวอย่างฐานแน่นๆหรือครับ ดูพุทธศาสนาเป็นต้น ดูผลงานท่านเจ้าชายสิทธัทถะ ดูผลงานพระโพธิธรรม

การใช้หลักบริหารเศรษฐกิจ เช่น Balance Scorecard (Kaplan & Norton 1994) นั้นเป็นไปตามหลักการที่ว่า What is not measurable, we cannot manage. What is not measurable, we cannot improve ทีนี้มันดีครับ ถ้าเราว่าถึงอะไรที่ "วัดได้" หลักของพี่ท่านทั้งสองนี้เป็นที่พิสูจน์แล้วว่าดี ทีนี้วงการสาธารณสุขมันมีอีกประเด็นหนึ่งของ "ความสำเร็จ" ที่จะทำเป้น Key Performance Indicator (KPI) นั่นคือ "คุณภาพชีวิต" ตรงนี้ที่ยังถกเถียงกันอยู่ ว่าจะวัดยังไง (วัด ไม่วัดนั่นเลิกเถียงแล้วนะครับ "ต้องวัดแน่ๆ" เดี๋ยวเผื่อจะมีอ้ายบ่าวคนไหนบอกว่าไม่ต้องวัดก็แล้วกัน วัดยากนักล่ะก็) และในส่วนของสายวิชาชีพแพทย์ ตัววัดอีกอันที่ยังอึมครึมคือ "Professionalism"

ปัญหาที่ Challenge กว่าการหาทุนมา funding ค่าตอบแทนคือเป็นไปได้ไหมที่แพทย์จะคงตามหลักปรัชญาสมเด็จพระราชบิดาโดยเพิ่มความสำคัญอันดับรอง (ประโยชน์ส่วนตน) ขึ้นมาอีกสักนิดให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ ทางอุปสงค์อุปทาน ผมว่าอันนี้ถ้าจะลองคิดกันก่อนที่จะ Apply balance scorecard หรือทำอาชีพแพทย์ให้เป็น full business ซึ่งขณะนี้ดูเหมือนท่านผู้นำเรามองเป็นอย่างเดียว อ๋อ หมอไม่พอ มึงก็ผลิตแพทย์เพิ่ม อ๋อ อยากได้เงินเพิ่ม รพ.มึงเก๊าะต้องหามาให้ ไม่มีตังค์จ่าย รัฐบาลกูจ่ายให้ ถ้าอยู่ใน Disneyworld เรื่องนี้คงจะ happy ending แน่นอนครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-03-06 , Time : 10:43:10 , From IP : 172.29.3.218

ความคิดเห็นที่ : 14


   ผมเคยโทรไปขอเลือดนอกเวลา เคยdiff WBC เอง ไม่เคยมีปัญหาเลยนะ พี่ๆที่แผนกคลังเลือดหรือ lab เค้าก็ดีนี่
ผมว่า เราควรจะมีระบบตรวจสอบว่า คนไข้มีความจำเป็นต้องรับเลือดหรือไม่อย่างนี้มานานแล้ว เพราะ ตัวแพทย์เองมีการใช้เลือดอย่างพร่ำเพรื่อจริงๆ


Posted by : โซดา โค้ก , Date : 2004-03-07 , Time : 06:28:55 , From IP : 172.29.3.233

ความคิดเห็นที่ : 15


   ถึงคุณโซดาโค้ก... พร่ำเพรื่อหรือไม่เอาอะไรมาวัด มีหลักฐานอย่างไร. ไม่มีใครอยากขอเลือดโดยไม่จำเป็นหรอกครับ กรณีไหนบ้างที่พร่ำเพร่อช่วย list ออกมาหน่อย..นะครับ..

Posted by : นะครับ.... , Date : 2004-03-07 , Time : 21:08:20 , From IP : 172.29.3.231

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.009 seconds. <<<<<