ความคิดเห็นทั้งหมด : 7

นักศึกษาแพทย์กับการเรียนรู้


   ได้อ่านบทสัมภาษณ์ของนายแบบลูกครึ่งคนหนึ่ง ที่เรียนจากสหรัฐอเมริกา อายุประมาณ 22 ปี อยากให้นักศึกษาแพทย์ที่ได้ชื่อว่าเป็นเด็กที่ได้ชื่อว่าเรียนอยู่ในระดับแถวหน้าคนหนึ่งได้เข้าใจ concept ของการเรียนรู้ว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะได้ปรับการเรียนของตนเอง

"ส่วนในด้านการของเรียนนั้น จิ๊บบี้บอกว่า จะได้รับความรู้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนมากกว่า"

“ในความคิดของผมการเรียนหนังสือมันขึ้นอยู่กับคนที่เรียนมากกว่า ไม่ว่าจะเรียนเมืองไทยหรือเมืองนอก ถ้าคุณไม่ตั้งใจเรียนซะอย่าง คุณก็ไม่มีทางได้ความรู้กลับมาแน่นอน แม้บางครั้งโรงเรียนที่คุณเรียนห่วยแค่ไหน แต่ถ้าคุณตั้งใจเรียน พยายามเก็บเกี่ยวความรู้ให้ได้มากที่สุด คุณก็สามารถเป็นคนที่เก่งได้เช่นกัน”

(คัดจากบทสัมภาษณ์นาย จิ๊บบี้ จาก เวปผู้จัดการ)


Posted by : โปเกมอน , Date : 2004-02-29 , Time : 23:00:38 , From IP : 203.146.198.231

ความคิดเห็นที่ : 1


   ตกลง concept ของการเรียนรู้จากคุณจิ๊บบี้คือตั้งใจเรียนใช่ไหมครับ มีบริบทอย่างอื่นจากบทสัมภาษณ์ของคุณนายแบบลูกครึ่งคนนี้ที่จะนำเสนอเพิ่มเติมอีกไหมครับ ฟังดูน่าสนใจ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-29 , Time : 23:58:20 , From IP : 203.155.144.23

ความคิดเห็นที่ : 2


   ผมคิดว่า concept ของการเรียนรู้ก็คือตัวเองเท่านั้น ครับ ต้องอยากเรียน หากไม่มีใจให้แล้ว ต่อให้ใครมาสอนก็ไม่เกิดการเรียนรู้ ซึ่งเป็น concept ของ Adult learning ตามทฤษฏีการเรียนรู้นั้น Thorndike 1965 กล่าวไว้ว่าคนจะเกิดการเรียนรู้ต้องมีความพึงพอใจในการที่จะเรียน อยากเรียน และเมื่อเรียนแล้วต้องมีการฝึกฝนอยู่สม่ำเสมอ และต้องมีความพร้อมเสมอ
1. law of effect : กฏแห่งผลหรือความพึงพอใจ
2. law of exercise : กฏแห่งการฝึกหัด
3. law of readiness: กฏแห่งความพร้อม
หากไม่มีสิ่งดังกล่าวแล้วก็จะไม่เกิดการเรียนรู้


Posted by : icarus , Date : 2004-03-01 , Time : 17:10:33 , From IP : 203.113.76.11

ความคิดเห็นที่ : 3


   น่าสนใจมากครับคุณ Icarus ผมขออนุญาตวิเคราะห์ทฤษฎีที่ว่าสักนิด

ผมไม่เถียงว่าความพึงพอใจในการเรียน (ฉันทา) นั้น "ช่วย" ให้เรียนได้ผลดี แต่เป็น absolute factor นั่นคือถ้าไม่มี ไม่เกิดการเรียนรู้รึเปล่านั้น ผมว่ายังไม่เป็น universally applied law

การเรียนรู้บางอย่างเกิดจาก instinct ที่ดึกดำบรรพ์กว่านั้นคือ safety & fear ครับ มนุษย์สมัยบราณมีอะไรต่อมิอะไรที่น่ากลัว ไม่เข้าใจไปเสียหมด กฏการเรียนรู้เบื้องต้นคือการอยู่รอด ไม่ตาย ไม่บาดเจ็บ ส่วนจะสุนทรีย์ขนาดมีความสุขแล้วเรียนรู้นั้นอาจจะมาทีหลัง เราเรียนรู้ว่าถ้าเราไม่กินก็จะหิว แล้วถึงค่อยพัฒนาเป็นถ้ากินพอก็จะอิ่ม แล้วก็กลายเป็นถ้ากินบางอย่างยิ่งอร่อย ความรู้สึกดึดดำบรรพืที่อยู่ใน genetics คือ กลัว เจ็บ และความต้องการทางเพศ เป็นแรกผลักดันสังคมตั้งแต่รากเหง้า และก็ยังเป็นแรงผลักดันที่สำคัญอยู่ในปัจจุบันจากที่เรามองไปรอบๆตัวเรา อะไรที่สนองต่อความต้องการพื้นฐานเหล่านี้ก็ยังเป็นสิ่งเร้าที่คนส่วนใหญ่รู้ได้ สัมผัสได้ และสื่อเข้าใจ คนที่อยู่ในวงการโฆษณาสามารถใช้ความรู้นี้มาดัก "ลูกค้า" ที่มากที่สุดได้ นอกเหนือไปจากกลุ่มเฉพาะกิจซึ่งเป็นกฏที่มีการปรุงแต่งแล้ว ไม่ใช่ระดับ Instinct เช่น ยี่ห้อ ความหรูหรา ฟุ่มเฟือย (ซึ่งก็เป็นการ stretch จากความหิว ความกลัว และความอยากทางเพศอยู่ดี ถ้าดูดีๆ)



Posted by : Phoenix , Date : 2004-03-01 , Time : 18:13:07 , From IP : 172.29.3.238

ความคิดเห็นที่ : 4


   เรียนแบบตกปลากินเองนี่ น่ากลัวตรงปลาที่ต้องได้กิน(ตาม requirement ของแพทยสภา) ก็อาจจะไม่ได้กิน เพราะไม่ยอมป้อนให้ หาเองก็เหวี่ยงแหไปมั่วๆ เจอตัวจริงบ้าง ตัวปลอมบ้าง ปลากระป๋องบ้าง... ผอมกะร่องผอม ถึงฝั่ง มีนักมวยรอฟัดอยู่...


ตัวใครตัวมันล่ะครับ...



Posted by : อยากกินปลาที่ควรได้กินก่อนนะคร , Date : 2004-03-02 , Time : 16:04:45 , From IP : 172.29.4.111

ความคิดเห็นที่ : 5


   ขึ้นกับว่า "ปลาที่ต้องกิน" นั้น เขาตั้งมาอย่างไรครับ ถ้าเขาตั้งมาตามสภาพความเป็นจริงของความต้องการทางสาธารณสุข ปลานั้นก็ไม่ควรจะเป็นปลาหายาก ควรจะเป็นปลาที่พบบ่อยๆในชีวิตจริง วิธีที่จะตกก็ไม่ควรเป็นวิธีที่วิลิศมาหราแต่เป็นวิธีที่ใช้ได้ ปลาใหญ่ๆยักษ์ๆนั้นถ้าเจอก็ให้ตะโกนเรียกเรือที่ใหญ่กว่า ให้ชาวประมงที่มีประสบการณ์มากกว่ามาจับ มาทำ ถ้าสนใจจริงๆก้มาเรียนเฉพาะทางจากประมงผู้เชี่ยวชาญจะได้จับปลาที่ดุขึ้น ฉลาดขึ้น จับยากขึ้นทีหลัง

ที่สุดเราจะพบว่าปลาอะไรเราก็สามารถหาประโยชน์ได้ทั้งนั้น ถ้ากินหมดจริงคงไม่ผอมหรอกครับ น่าจะอ้วนปี๋ กินเยอะเกินไปอาจจะอ้วกหรือแพ้ได้ก็ไม่เป็นไร ค่อยๆเรียนรู้ไป แต่รอคนป้อนปลานี่คงลำบากแน่ล่ะครับ ทั้งตอนนี้และในอนาคต



Posted by : Phoenix , Date : 2004-03-02 , Time : 16:30:09 , From IP : 172.29.3.242

ความคิดเห็นที่ : 6


   หลักพื้นฐานของการศึกษาแบบมานุษยนิยม (humanism) โดย Maslows Roger and Coombs
1. นักเรียนจะเรียนต่อเมื่อความจำเป็นพื้นฐาน 4 ประการแรก( physiological need, physical safety, need for care and love, esteem need)ของนักเรียนได้รับการตอบสนอง
2. ความรู้สึก(feeling) มีความสำคัญเท่ากับความจริง( fact) ฉะนั้นการเรียนรู้ว่าควรจะรู้สึกอย่างไร มีความสำคัญเท่ากับการเรียนรู้ว่าควรจะคิดอย่างไร
3. นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อบทเรียนนั้นเป็ฯสิ่งที่นักเรียนสนใจและต้องการเรียนรู้

นี่เป็นอีกทฤษฏีที่ประกอบกับ Principle of learning ;Thorndike 1965


Posted by : ICARUS , Date : 2004-03-02 , Time : 23:22:46 , From IP : r178-skaHS1.S.loxinf

ความคิดเห็นที่ : 7


   "การเรียนรู้ว่า "ควร" จะรู้สึกอย่างไร"

น่าสนใจครับ ผมคิดว่า "ความรู้สึก" เป็น reflex อย่างหนึ่ง ไม่เหมือนความคิด แต่ฟังดูความรู้สึกในที่นี้ถูกปรุงแต่งได้ มี "ควร" มี "ไม่ควร" พูดอีกนัยหนึ่งก็คือเป็น artificial หรือ acquired feeling นั่นเอง แต่คิดว่าผมยังไม่เข้าใจข้อสองนี้ถ่องแท้นัก ช่วยกรุณาขยายความอีกสักนิดได้ไหมครับ? (elaboration)



Posted by : Phoenix , Date : 2004-03-03 , Time : 18:56:41 , From IP : 172.29.3.209

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<