ความคิดเห็นทั้งหมด : 2

บทบาทที่แท้จริงของแพทย์


   อยากจะขอความเห็นหน่อยครับผมเป็นนศพ.ปี 2จากที่ได้ออก immersion และตอนนี้กำลังอยู่ commed ทำให้ได้เห็นบทบาทของหมอที่กว้างกว่าเดิมเยอะ และยิ่งทำให้รู้สึกว่าตัวเล็กลงเหมือนกัน เล็กลงในที่นี้หมายถึงรู้สึกว่าเราทำอะไรในชุมชนได้มากแค่ไหนรู้สึกว่ามันมีข้อจำกัดในการคิดที่จะลงมือทำอะไรสักอย่างมากเหลือเกิน ทั้งระบบ ความร่วมมือจากผู้ร่วมงาน จากชาวบ้าน บางครั้งเห็นคนที่เค้าลำบากมากๆแล้วทำให้รู้สึกสงสัยว่า อย่างการเรียนcommmed หรือการวิจัยปัญหาสาธารณสุขที่ทำๆกันอยู่ตอนนี้ มันได้แสดงผลอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อไปแก้ไขปัญหาของคนเหล่านั้นได้มากแค่ไหนและจะทำยังไงให้งานที่เราได้ทำไปไม่เป็นเพียงแค่ขยะในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ทราบดีว่าบทบาทของแพทย์ตอนนี้ต้องเป็น holistic แต่ไม่รู้สึกว่าระบบหรืออะไรหลายๆอย่างเอื้อใหเป็นอย่างนั้นเลย ขอความเห็นครับ

Posted by : m3j1 , Date : 2004-02-24 , Time : 17:00:16 , From IP : 172.29.2.128

ความคิดเห็นที่ : 1


   ดีใจครับที่มีคนยกเรื่องทำนองนี้ขึ้นมาอภิปรายบนกระดานข่าว ผมขออนุญาตให้ความเห็นลองคิดดูกันนะครับ แล้วเรามาแลกเปลี่ยนกัน

การที่เราจะทำงานอะไรนั้น ถ้ามีการทำโดยองค์ประกอบสี่ประการคือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา จะเป็นหนทางไปสู่ความสำเร็จ (อิทธิบาทสี่) ซึ่งเป็นส่วนปลีกย่อยของมรรคแปดคือสัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) หรือโพธิปักขิยธรรม หมายถึงธรรมฝ่ายให้เกิดความรู้หรือธรรมที่สนับสนุนให้เกิดความรู้ (ความรู้โดยพุทธศาสนาย่อมเน้นอริยสัจสี่ แต่ผมว่าเรามาดัดแปลงความรู้อื่นๆก็ย่อมได้เหมือนกัน) โพธิปักขิยธรรมมี 37 ประการ อิทธิบาทสี่อยู่ในจำนวน 37 ประการนี้

ก่อนที่น้องจะหาว่าพี่นอกเรื่อง ขอบอกว่ามันมีเหตุผลที่ดีทีเดียวที่ "ฉันทา" ความพึงพอใจนั้นอยู่ในอันดับหนึ่งของอิทธิบาทสี่ จะทำอะไร จะเป็นเรียน เล่น ทำงาน จะเริ่มต้นให้ดีต้องมาจากเจตคติ มาจากความพอใจ มาจากความอยากทำเพราะเห็นว่ามันดี มีประโยชน์ก่อน (ฝรั่งว่าทำโดยมี conviction) ถ้าพิจารณาจากตรงนี้ น้องคงจะเริ่มเห็นแล้วว่าสาธารณสุขประเทศไทยนั้นมีปัญหาจริง และปัญหานั้นใหญ่มาก ไม่สามารถที่จะแก้ได้โดยเล่นๆ หรือทีเล่นทีจริง ต้องแก้โดยคนที่เป็นผู้ใหญ่ มองเห็นภาระหน้าที่นี้สำคัญ ต้องแก้โดยคนที่พร้อมจะเสียสละ

เมื่อเรามีฉันทะ เมื่อนั้นเราจึงมุมานะก่อให้เกิดมีวิริยะคือความเพียรขึ้นมาได้ ทำไมเราตื่นมาแต่เช้าหรืออยู่ดึกๆเพื่อเล่น video game ก็เพราะฉันทะนี่แหละครับ ถ้าน้องเบี่ยงเบนพลังงานของน้องมาเป็นส่วนหนึ่งของกลไกที่มุ่งแก้ปัญหาที่น้องเห็น เราก็จะกำลังเดินตามรอยเท้าแพทย์รุ่นพี่ รุ่นพ่อ ซึ่งทางนี้ได้วางฐานไว้โดยสมเด็จพระราชบิดาของเรานั่นเอง

ทฤษฎีลมปีกผีเสื้อก่อกลายเป็นมรสุมก็ยังคงใช้ได้ จริงอยู่อุปสรรคต่างๆนั้นมากมายอย่างที่น้องได้สังเกตมา แค่พูดจากับชาวบ้าน อธิบายให้ฟังยังยากจะทำอะไรได้ แต่ communication skill นั้นเป็นศาสตร์ครับ เป็นศาสตร์หมายความว่าฝึกได้ ชำนาญได้ เป็นศิลป์หมายความว่าไม่ตายตัว แปรเปลี่ยนตามบริบทแล้วยังคงงามได้ ยังไช้ได้ ดังนั้นเวลาที่น้องซักประวัติคนไข้บนคลินิก นอกเหนือจากตัว "ข้อมูล" แล้ว วิธีการสื่อยังเป็นสิ่งที่น้องสามารถฝึกได้ไปพร้อมๆกัน ทุกๆอย่างที่น้องทำกับผู้ป่วย เราจะมีการสื่อสารเกิดขึ้นตลอด การลูบเนื้อ สัมผัสตัว สิ่งเหล่านี้เป็นการสื่อสารทั้งสิ้น

เราจึงสามารถเริ่มต้นสิ่งสำคัญอีกประการสำหรับอาชีพเราคือการสื่อสาร การเอาใจเขามาใส่ใจเรา การพูดหรือแสดงออกที่งามทั้งกาย วาจา ใจ สิ่งเหล่านี้แหละครับที่จะเป็นต้นทุน ไปแก้ปัญหาที่น้องเห็นมาได้



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-24 , Time : 20:23:51 , From IP : 172.29.3.209

ความคิดเห็นที่ : 2


   ถ้าท้อไป อะไรๆก็ไม่ได้เริ่ม
ชีวิตเราไม่มีขาดทุนอยู่แล้วนี่ครับ


Posted by : ArLim , Date : 2004-02-27 , Time : 20:55:17 , From IP : 203.148.142.34

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<