ความคิดเห็นทั้งหมด : 13

Debate LIX: Ethical Issue: AUTONOMY


   What are the major principles of medical ethics?
The commonly accepted principles of health care ethics include:
the principle of respect for autonomy,
the principle of nonmaleficence,
the principle of beneficence, and
the principle of justice.


ขออภัยที่ยกภาษาอังกฤษมาทั้ง section นะครับ อย่างที่เคยเรียนให้ทราบ Ethics หรือวิชาจริยธรรมนี่จริงๆแล้วก็มีทุกประเทศ แต่ทางตะวันตกได้รวบรวมและอภิปรายจนวางรากฐานเป็นศาสตร์ เป็นวิชาไว้ก่อนทางเรา (ซึ่งจะออกไปทางอิงศาสนศาสตร์มากกว่า) ดังที่รศ.สิวลี ศิริไล สส.บ. (เกียรตินิยม)ม, อ.ม. (ปรัชญา) ท่านได้กรุณามาบรรยายใน conference Palliative Care เมื่อสองสามอาทิตย์ที่แล้ว ในสี่ข้อมาตรฐานนั้นเป็นการขยายความหลักปรัชญาทางการแพทย์ (หรืออีกนัยหนึ่งปรัชญาตามพระราชดำรัสสมเด(จพระราชบิดานั่นเอง) เป็นหมวดหมู่ อันแรกคือ autonomy ที่เรากำลังจะพูดถึง อันที่สอง nonmaleficence นั้นอันที่จริงก้เขียนไว้ตั้งแต่สมัย Hippocrates คือ Primum Non nocere หรือ First, Do No Harm นั่นเอง อันที่สาม beneficence ก็คือเน้น "ประโยชน์" หรือผลทางบวกแก่ผู้ป่วย ส่วนสุดท้ายเป็นเรื่องความยุติธรรม หรือ clinical justice หรือ reasoning ถ้ามีโอกาสเราจะพูดทุกๆหัวข้อกันเลย (ถ้ามีคนสนใจ และคิดว่าสำคัญ)

AUTONONY

1. Freedom to govern a region, country etc without being controlled nu amyone else
2. The ability to make your own decisions without being influenced by anyone else. (Ref: Longman Dictionary of English)
3. The ability to freely determine one’s own course in life. Etymologically, it goes back to the Greek words for "self" and "law." This term is most strongly associated with Immanuel Kant, for whom it meant the ability to give the moral law to oneself. (Ref: Lawrence M. Hinman)
4. Respect for Autonomy
Any notion of moral decision making assumes that rational agents are involved in making informed and voluntary decisions. In health care decisions, our respect for the autonomy of the patient would, in common parlance, mean that the patient has the capacity to act intentionally, with understanding, and without controlling influences that would mitigate against a free and voluntary act. This principle is the basis for the practice of "informed consent" in the physician/patient transaction regarding health care. (See also Informed Consent.) (Ref: ETHICS IN MEDICINE University of Washington School of Medicine )

จากนิยามดังกล่าวข้างบน autonomy เป็นได้ทั้งคำธรรมดาๆ และในเชิงจริยศาสตร์ ถ้าจากของ Immanuel Kant (เราบนกระดานแห่งนี้คงเคยได้ยินชื่อนี้ ตะแกเป็น German thinker or Philosopher) ก็จะเน้นด้าน Duty ซึ่งเป็นสาขาใหญ่ของ Ethics Philosophy ความเป็น autonomy นั้นสำคัญและเป็นความต้องการหรือสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของทุกๆคน และแพทย์จะทำอะไรกับผู้ป่วยนั้น "ต้อง" คำนึงถึงเรื่องนี้ ปัญหาคืออาชีพเราได้สิทธิพิเศษ (privilege) ตั้งแต่ต้นที่ผู้ป่วยมาก้เริ่มด้วยการเปิดเผยในสิ่งที่ปกติจะไม่พูด ยอมให้หมอดูหรือตรวจร่างกายที่ไม่เคยให้ใครทำ บางครั้งสิ่งเหล่านี้ทำให้หมอสามารถละเลยหรือลืมนึกถึง autonomy ไปง่ายๆ

ใครอยากจะลองยกตัวอย่าง หรือยกปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มาอภิปรายกันดูไหมครับ?

Be Mature, Be Positive, and Be Civilized





Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-17 , Time : 22:08:55 , From IP : 172.29.3.248

ความคิดเห็นที่ : 1


   OK ลองดู case ตัวอย่าง กันดีกว่า

Case 1. ผู้ป่วยมะเร็งทวารหนักทำผ่าตัด APR ไปสามปี มี recurrence เป้น liver metastasis เข้านอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยต้องการจะวาง "ปิรามิด" ทำด้วยกระดาษ 50 อันใต้เตียงที่นอน เพราะเชื่อว่าจะได้รับ "พลังชีวิต" จากปิรามิดเหล่านี้ ตลอดระยะเวลาที่อยู่ รพ.

Case 2. ผู้ป่วยชาวไทย/จีน เป็บเบาหวาน และ diabetic foot มานาน มาที่ ER ด้วยเรื่องแผลที่เท้ามีหนองไหล แพทย์ตรวจร่างกายคลำพบ crepitation บริเวณน่อง แผลมีกลิ่นเหม็น anaerobic แพทย์บอกว่าจะต้อง admit และ amputate ทันที ผู้ป่วยไม่ยอม ขอกลับบ้าน

Case 3. ผู้ป่วย terminal cancer มานอนรพ.เพื่อปรับยาแก้ปวด เพราะมี bone metastasis ขอแพทย์ว่าก่อนตาย ถ้าอยู่ในโรงพยาบาลอยากจะขอให้บาทหลวงมาทำพิธีทางศาสนาคริสต์ให้ที่ข้างเตียง ผู้ป่วยนอนอยู่เตียงสามัญ

เอาล่ะครับ ใครใคร่เสนอความเห็น case ไหน ก็เอาเลยนะครับ ขอเหตุผลด้วย ถ้าอิงหลักจริยธรรมตามทฤษฎีด้วยยิ่งดีแต่ไม่จำเป็น อาจจะเป็นแค่ common sense ก้ได้ ผมจะลองทำตัวเป็น devil advocate เสนอข้อขัดแย้งไปเรื่อยๆนะครับ ไม่ได้แปลว่าผมมีความไม่เห็นด้วยแต่อย่างใด



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-18 , Time : 19:58:09 , From IP : 172.29.3.197

ความคิดเห็นที่ : 2


   case 1 ผมคิดว่า น่าจะ accept ให้ผู้ป่วยทำได้นะครับ

เพราะ ผู้ป่วยเป็น CA Stage IV มี liver metastasis คงรักษาเป็น paliative และมี prognosis แย่ ทำให้ผู้ป่วย suffer ทางร่างกายและจิตใจในระดับที่รุนแรง ถึงแม้จะไม่สามารถ cure ผู้ป่วยทางกายได้ เราก็น่าจะช่วย support ทางจิตใจในระดับที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนได้ ซึ่งการวางปิรามิดใต้เตียง(Autonomy ของผู้ป่วย)ไม่น่าจะทำให้ใครเดือดร้อน ไม่ได้ก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวผู้ป่วยเอง(Nonmaleficence) ทั้งยังช่วยเหลือผู้ป่วยทางจิตใจ(Beneficence)อีกด้วย


Posted by : โบทซึมุ , Date : 2004-02-19 , Time : 08:13:33 , From IP : 172.29.4.233

ความคิดเห็นที่ : 3


   ส่วน case 2 นี่ผมคิดว่า ไม่ควรปล่อยผู้ป่วยกลับไป

เพราะ ถึงแม้ว่า autonomy ของผู้ป่วยจะปฏิเสธไม่รักษา แต่เมื่อลองดูตามหลักทาง medical ethic อื่นๆ มันค้านกัน โดยหลักๆคือ maleficence ที่จะเกิดกับผู้ป่วยถ้าไม่ได้รับการ amputate อาจเกิด septicemia --> septic shock --> เสียชีวิตได้ ทั้งๆที่น่าจะสามารถป้องกันได้

วิธีแก้ไขในกรณีเช่นนี้ คือการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และไม่ bias แก่ผู้ป่วย เช่น ถ้าไม่รักษาจะทำให้เกิดการติดเชื้อ ถึงขั้นเสียชีวิตได้นะ หรือ ถึงไม่เสียชีวิตก็อาจต้องตัดขาสูงขึ้นเรื่อยๆ ถ้ารักษาคุณก็จะเสียขาข้างนี้ไป อย่างไรก็ตามเรายังสามารถใส่ขาเทียมซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้า สามารถผลิตขาเทียมที่มีลักษณะคล้ายของจริงมาก และคุณยังสามารถเดินได้ตามปกติโดยการทำกายภาพบำบัด แต่หมอก็ไม่สามารถบังคับคุณให้เข้ารับการรักษาได้ คุณต้องเลือกเอาเอง(ซึ่งเป็นการเคารพ autonomy ของผู้ป่วยให้เขามีสิทธิ์เลือก)


Posted by : โบทซึมุ , Date : 2004-02-19 , Time : 12:53:44 , From IP : 172.29.4.233

ความคิดเห็นที่ : 4


   case 3 ลักษณะเช่นเดียวกับ case 1 ครับ

ถือเป็นความเชื่อของผู้ป่วยทั้งยัง support จิตใจของผู้ป่วยอีกด้วย กรณีเช่นนี้ เคยได้ยินว่าเกิดขึ้นแล้วไม่ใช่เหรอครับ แนวๆว่า ทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยแพทย์อนุญาตให้ หมอผีเข้ามาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแก่ผู้ป่วยได้ รดน้ำมนตร์ได้ แต่ต้องไปก่อความเดือดร้อนแก่ผุ้ป่วยเตียงข้างๆ กรณี case นี้ก็น่าจะพิจารณาทำได้เช่นกัน


Posted by : โบทซึมุ , Date : 2004-02-19 , Time : 12:58:09 , From IP : 172.29.4.233

ความคิดเห็นที่ : 5


   ขอบคุณครับคุณโบทซึมุ

case 1
1.1 ถ้าญาติคนไข้ข้างๆเตียงเห็นว่าหมออนุญาตให้เตียงนี้วางปิรามิด เลยจะขอย้ายญาติตัวเองออกจาก รพ. เพราะว่าหมอที่นี่เชื่ออะไรงมงาย ไม่เป็นวิทยาศาสตร์เลยจะทำอย่างไร?
1.2 ถ้าญาติเตียงถัดไปขอเอาสร้อยทำจากกระดูกควายมาแขวนหัวเตียงบ้างจะอนุญาตหรือไม่?
1.3 ถ้าญาติอีกเตียงหนึ่งขอเอาอ้ฃ่างเลี้ยงปลาศักดิ์สิทธิ์มาวางไว้ใต้เตียงหรือข้างๆเตียงจะอนุญาตด้วยหรือไม่

case 2.
2.1 ผู้ป่วยบอกว่าเขาเชื่อว่าถ้าตายไปโดยอวัยวะไม่สมบูรณ์ ชาติหน้าจะเกิดมาพิการ เขายอมตายโดยมีอวัยวะสมบูรณ์ หมอจะ ๑) Discharge เพราะเป็นสิทธิของผู้ป่วย 2) บอกผู้ป่วยว่าขอเอาเข้าไปดูในห้องผ่าตัดก่อน เพราะอาจจะไม่ต้องตัดขาทิ้ง แต่ก็ตัดขาในที่สุดเพราะ Gas gangrene มันไม่มีทางอื่น 3) อธิบายเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ว่า gas gangrene ไม่มีทางรักษาแบบอื่นแน่ๆ คุณลุงไม่เป็นห่วงลูก ห่วงครอบครัวเลยหรือที่ยอมตายแบบนี้ หรือ อื่นๆ (คิดแทนให้หน่อย)
2.2 ผุ้ป่วยบอกว่า admit ก็ได้ แต่ยังไงๆก็ไม่ยอมตัดขา ขอให้ให้ยาอย่างเดียว และยอมเสี่ยงถ้าไม่หาย

case 3.
3.1 ผู้ป่วยอีกเตียงบอกหมอว่าเขาเครียดมากที่เห็นพระมาเดินใน ward เพราะเขาคิดถึงความตาย เขากลัว ไม่อยากเห็นพระตอนนี้เลย
3.2 อีกเตียงขอเอาหมอผีมาเต้นรอบๆเตียงวันละสามรอบ เพราะเป็นความเชื่อทางศาสนาของเขาว่าทำอย่างนี้จะช่วยให้ไปสวรรค์

ลองแก้ปัญหาหรือบอกแนวทางปฏิบัติแต่ละราย พร้อมเหตุผลนะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-19 , Time : 16:22:36 , From IP : 172.29.3.220

ความคิดเห็นที่ : 6


   กระทู้นี้น่าสนใจแฮะ
ผมขอเล่นกับอาจารย์นกไฟบ้างครับ

case1
1.1 ผมว่าเราสามารถคุยกับเตียงข้างๆให้เข้าใจได้ครับ ว่าสาเหตุที่เรายอมให้เอาปิรามิดมาวางไม่ใช่เพราะเรางมงาย หากแต่เป็นความเชื่อของคนไข้ระยะสุดท้ายซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนอะไรแก่คนไข้รายอื่น เป็นการรักษาทางด้านจิตใจให้กับผู้ป่วยเสียด้วยซ้ำ ถ้าเตียงข้างๆไม่ใจร้ายเกินไปเขาน่าจะเข้าใจและเห็นใจเพื่อนร่วมหอผู้ป่วยเค้าครับ ถ้าคุยไม่รู้จริงๆก็อีกกรณี

1.2 และ 1.3 จะเอาอะไรมาก็เอาเถอะครับ แต่ต้องไม่ไปรบกวนคนอื่น อยากเอาลูกวัว2หัว, หมอนGood boyสะกดวิญญาณ หรือเอารูปหวานใจมานอนดู ผมว่าก็น่าจะอนุญาตทั้งนั้น แต่ถ้าเอาผ้าเปื้อนที่มีกลิ่นลูกๆมาบูชาแล้วกลิ่นไปรบกวนเตียงข้างๆอย่างนี้ก็คงไม่ไหว และถ้าหากมีผู้ป่วยแบบนี้หลายๆคนจริงๆ ผมแนะนำให้เปิดอีกหอผู้ป่วยให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้อยู่ร่วมกันไปเลย อาจจะมีเพื่อนร่วมความคิดและกลายเป็น group therapy ไปในตัว

case2
2.1 พยายามใช้ความสามารถทางภาษาเกลี้ยกล่อมคุณลุงให้ยอมตัดขาให้ได้ อาจจะอ้างถึงความลำบากของลูกหลานๆหากต้องมาดูแล อาจจะอ้างถึงความกังวลใจของคนที่เป็นที่รัก กล่อมดีๆน่าจะได้ ถ้ากล่อมเองไม่เก่งก็พาพี่Tiger ไปช่วยเพราะกล่อมสาวๆอยู่หมัดมาหลายรายแล้ว คงไม่หลอกเอาลุงเข้าORแล้วไปตัด ยังงี้มันไปล้ำสิทธิของลุงแก ต้องเอาจนแกยอมเอง ถ้าดื้อจริงๆญาติก็กล่อมไม่อยู่ จริงๆแล้วก็เป็นสิทธิของลุงที่แกจะยอมตายแม้เราจะทุกข์ทรมานใจเพียงใด

2.2 ทำเหมือนข้อ 2.1 แต่ถ้าแกไม่ยอมจริงๆหลังจากที่ฟังเราจนเข้าใจดีแล้วมันก็สิทธิของแก แต่อันนี้ก็คงดีกว่าปล่อยแกไปตาย เพราะหากนอนอยู่ให้ยาแล้วเห็นว่ามันไม่หาย, เห็นเตียงอื่นที่ตัดขาแล้วสบายดี, เห็นคนใส่ขาเทียมเดินกันคล่อง แกอาจจะยอมตัดขาในภายหลังก็ได้

case 3
3.1 ย้ายเตียงนี้เข้าห้องแยก และให้ทำตามความปรารถนา

3.2 แนะนำให้เขาเต้นระบำแมงกระพรุนแทน---> อันนี้ล้อเล่น
อันนี้เกินไปจริงๆเพราะคงรบกวนเตียงอื่นและการทำงานของแพทย์พยาบาล ทั้งอาจมีนักข่าวมาทำข่าว คนไข้อาจได้เป็นดาราออกรายการคุณสรยุทธแทน แนะนำให้คุยกับเขาดีๆ ไม่งั้นอาจต้องยอมให้ไประบำในห้องแยกเงียบๆหรือที่ห้องเก็บศพแทน

ด้วยความเคารพครับ



Posted by : กะหลั่วเป็ด , Date : 2004-02-19 , Time : 22:13:10 , From IP : 172.29.3.156

ความคิดเห็นที่ : 7


   ขอบคุณคุณกะหลั่วเป็ดครับ

case1
1.1 ถ้าเตียงข้างๆยังไงๆก็ขอ discharge แล้วเอาเรื่องนี้ไปลงหนังสือพิมพ์จะทำยังไงล่ะครับ?
1.2 อะรไปน criteria ของ "ได้" กับ "ไม่ได้" ล่ะครับ? list เราจะงอกงามขึ้นเรื่อยๆไหม variation ของสิ่งที่เป็นไปได้ที่จะถูกขอมันทำท่าจะยาวนะครับ

case 2.
2.1 เรามีอะไรที่จะบอกได้ไหมว่าอันนี้คงจะไม่สำเร็จแน่ๆ คิดว่าความเชื่อทางศาสนาหรือทางจิตวิญญาณนั้นจะถูกเปลี่ยนได้หรือไม่? โดยวิธีเช่นไร?
2.2 ถ้าเราสามารถทำได้คือเอามานอน รพ. ก็ดีครับ เห็นด้วยว่าพอจะช่วยอะไรได้ ในกรณีอื่นอาจจะเพิ่มความหวัง case gas gangrene นี่จะ extreme สักนิด เป็น case จริงที่ผมประสบด้วยตนเองตอนอยู่ พชท. 1 พอคนไข้รู้ว่าหมอจะตัดขาก็ขอกลับบ้านทันที มา รพ. ตอน 1 ทุ่ม กลับมาอีกทีตอนประมาณ 4 ทุ่ม crepitation จากเดิมถึงแค่น่องก็เปลี่ยนมาถึง hip จากพูดจาโต้เถียงกันได้ ก็ stuporous และ septic shock และ arrest ไปในที่สุด

case 3.
3.1 อันนี้เห็นด้วยว่าเราคงจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อช่วยรายที่กำลังใกล้จะจากเราไป วิธีที่คุณกะหลั่วเป็ดเสนอเป็นทางออกที่ simple และประนีประนอมที่สุดอย่างหนึ่ง แต่จริงๆแล้วถ้าเตียงที่ complaint เรื่องกลัวตายกับหมอหรือพยาบาลได้นี่ เป้นโอกาสอันดีที่เราจะ explore ๖อถึงภาวะทางจิตใจ และจิตวิญญาณของรายนี้ด้วย ทำไมเขาถึงคิดว่าเขากำลังจะตาย หรือเขาคิดว่าพระ หรือนักบวชทางศาสนาจะช่วยหรือไม่ช่วยคนไข้อย่างไร ปกติหมอกับคนไข้ไม่ใคร่พูดกันถึงความตายเท่าไหร่ แต่ลึกๆแล้วทั้งสองฝ่ายอาจจะกำลังนึกถึงเรื่องเดียวกัน ถ้ามีโอกาสน่าจะชวนคุยต่อ เรื่องนี้อาจจะตั้งเป็นหัวข้อแยกต่างหากในอนาคต
3.2 คำถามเดิมเหมือนข้อ 1.1 อะไรเป็น bottom line ว่าจะให้หรือไม่ให้ทำ? และมีทางจะสื่ออย่างไรกับผู้ป่วย?




Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-19 , Time : 22:33:58 , From IP : 172.29.3.217

ความคิดเห็นที่ : 8


   เหอๆ พอดีวันนี้นอนดึก มาต่ออีกนิดละกันครับ

case1
1.1 อาจต้องย้ายเตียงปิรามิดไปนอนห้องแยกหรือหอผู้ป่วยอื่นครับ ถ้าเตียงข้างๆคุยกันไม่รู้เรื่องว่าเป็นความเชื่อส่วนบุคคล เด็กและสตรีมีครรภ์ต้องพิจารณา แล้วยังจะกลับบ้านอีก อันนี้เกินความสามารถของผมแล้วครับ อาจต้องแนะนำหนังสือพิมพ์ดีๆให้เค้าแทน แล้วรีบกลับหอไปแต่งหน้าทำผมมารอต้อนรับนักข่าวแทน

1.2 ทำได้ - ถ้าเห็นว่าไม่รบกวนผู้อื่น หรือไม่มีคนอื่นมาร้องเรียนว่าเดือดร้อน
ทำไม่ได้ - ถ้าเห็นว่าเดือดร้อนผู้อื่นแน่ๆ เช่น เอาของที่มีรูป, รส, กลิ่น, เสียง อันอาจจะรบกวนผู้อื่น

ผมว่าย้ายเข้าห้องแยกน่าจะเป็นคำตอบสุดท้ายที่ถูกต้องนะคร๊าบ..บที่สุดครับ

case2
2.1 ความเชื่อทางศาสนาเนี่ยถูกเปลี่ยนได้ยากแน่นอนครับ แต่หากเราให้คนที่เป็นที่รักของผู้ป่วยมาอ้อนวอน หรือเอาความลำบากใจของคนที่เป็นที่รักของผู้ป่วยมาเป็นข้ออ้าง คนไทยขี้ใจอ่อนอย่างเราๆจะยอมให้ชีวิตเราคนเดียวมาเป็นปัญหากับคนอื่นๆที่เป็นที่รักของเราเชียวหรือ มันน่าจะต้องลองเปลี่ยนกันดูซักตั้ง

จริงๆแล้วเรื่องละเอียดอ่อนแบบนี้ ผมอยากฟังความเห็นของพี่Dhan กะพี่Shonikeka จังครับ น่าจะมีความเห็นเชิงบวกดีๆมาให้เราอ่านไปอมยิ้มไปเหมือนที่ผ่านๆมา

คืนนี้ ราตรีสวัสดิ์ก่อนครับ อาจารย์นกไฟ



Posted by : กะหลั่วเป็ด , Date : 2004-02-19 , Time : 23:15:08 , From IP : 172.29.3.156

ความคิดเห็นที่ : 9


   ไม่เป็นไรครับ ว่างเมื่อไหร่ก็มา jam

ทิ้งประเด็นไว้สองสามประเด็นก็แล้วกัน

"ความเสี่ยง" ของความน่าเชื่อถือของสถาบันจะต้องเอามาชั่งน้ำหนักด้วยหรือไม่ และเกณฑ์อะไรวัด?

"ความเดือดร้อน" ต่อผู้อื่นนั้นใช้เป็นเกณฑ์ยากครับคุณกะหลั่วเป็ด บางคนก็เดือดร้อนมากเพราะเสียงกรน บางคนอยู่ได้ทุกสถานการณ์ บางคนทนได้ยินภาษาอังกฤษไม่ได้ บางคนชอบพูดตรงไปตรงมา มึงมาพาโวยยิ่งดี แต่บางคนต้องสุภาพครับผมเท่านั้น

เป็นการเหมาะสมสมควรหรือไม่ที่เราพยายามให้คนไข้รู้สึก "ผิด" หรือ "guilty" ว่าเขากำลังเป็นตัวทำให้เกิดทุกข์ต่อคนอื่น? การใช้ความห่วงหาอาทรของคนอื่นเป็นเครื่องมือให้เขาเกิด conflict กับจิตวิญญาณและความเชื่อตอนที่เขาป่วยหนักนี่จะดีหรือไม่ มีทางออกอื่น หรือ อะไรที่เราจะดัดแปลงตรงนี้ได้ไหม? ถ้าเขาตายไปเพราะความเชื่อที่เขายังเชื่ออยู่แต่บวกกับความ guilty ที่หมอได้ขุดให้ surface ขึ้นมาก่อนตายจะเป็นการ "ตายดี" หรือไม่?

PS; อย่างที่เรียนให้ทราบ ผมตั้งใจจะเล่นบทขัดแย้ง (แต่โดยอ้างเหตุผล) เพื่อให้พวกเราลอง reasoning ดูนะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-19 , Time : 23:32:10 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 10


   การทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน นอกจากทางกายก็มีการเดือดร้อนทางใจได้ อย่างที่คุณ Phoenix อุตส่าห์ยกตัวอย่างมา

หากมีคนไข้คนหนึ่งที่นอนอยู่เตียงสามัญ อยากจะทำอะไรขึ้นมาเพื่อเป็นการรักษาทางด้านจิตใจ(ในสายตาของแพทย์) แล้วเกิดมีเตียงอื่นทีไ่ด้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงนักก็อาจจะประนีประนอมพิธีกรรมที่ว่าให้อยู่ไกลหูไกลตาผู้อื่น หรือเปิดห้องพิเศษ จัดสถานที่เฉพาะไว้ให้
หรือหากคนมีปัญหาเพียงคนเดียว ก็ย้ายแค่คนนั้นคนเดียว

เรื่องชื่อเสียงของสถาบันหรือโรงพยาบาลนั้นๆ ก็น่าคิดว่าผู้บริหารและบุคลากรของที่ๆนั้นมีหลักการเรื่องๆนี้อย่างไร ก็อาจจะเห็นว่านี่ไม่เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดชื่อเสีย แต่เป็นโอกาสที่จะได้ทำความเข้าใจกับสังคม

ไม่แน่ใจว่า โรงพยาบาลรามันหรือเปล่าที่เปิดโอกาสให้ชาวมุสลิมประกอบพิธีกรรม อ่านคัมภีร์อัลกุรอานในห้องคลอดให้ทารกแรกเกิดได้่ ซึ่งหากมีแพทย์จากท้องถิ่นอื่นๆไม่เห็นด้วย นี่ก็เป็นโอกาสที่จะทำความเข้าใจระหว่างกันไม่ใช่หรือ

ส่วนประเด็นที่ว่า คนไข้จะยอมตายหรือเลือกที่จะตายดีกว่านั้น แล้วเราทำให้เขารู้สึกผิดที่จะตาย
การพูดจาหรือแสดงให้คนไข้เห็นว่า สิ่งที่เขาเลือกนั้นเป็นสิ่งที่ผิด คนไข้ก็อาจจะรู้สึกผิดและพะวักพะวง ทั้งที่ใจอาจจะไม่ยอมรับอย่างเต็มที่ก็ได้
ผมเห็นว่าสิ่งนี้เป็นการรบกวนจิตใจคนไข้ และไม่น่าเหมาะสมที่จะทำ

หากต้องการให้คนไข้คิดอยากรักษาหรืออยากให้รับในสิ่งที่แพทย์ต้องการ ก็น่าจะใช้วิธีที่ทำให้คนไข้ได้คิดเข้าใจได้้เองหรือรู้สึกอยากขึ้นมาได้เอง และก็เป็นการตัดสินใจของคนไข้แล้วว่า จะเลือกสิ่งไหนให้ชัดเจน

เรื่องคนไข้ตัดขาก็คงคล้ายเหมือนที่คุณกะหลั่วว่า หากคนไข้ได้เห็นคนอื่นๆที่ใส่ขาเทียมแล้วเดินคล่อง ได้อยู่กับลูกหลานอย่างมีความสุขแล้ว คนไข้เองก็ไม่เอา อย่างนี้เราก็คงทำอะไรไม่ได้


Posted by : ArLim , Date : 2004-02-22 , Time : 00:29:46 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 11


   เรื่องชื่อเสียงของโรงพยาบาล และ "สถาบันทางการแพทย์" นั้นเป็นเรื่องใหญ่ครับ ถ้าหากเป็นเราๆท่านๆ ซึ่งเป็นปัจเจก ใครจะเข้าใจผิดไปบ้างเราอาจจะบอกไม่เป็นไรเพราะยังมีคนอื่นเข้าใจถูกอยู่ แต่ถ้ามันลงไปที่สถาบันหรือจรรยาบรรณวิชาชีพแล้ว ปัจเจกบุคคลหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งอาจจะแบกความรับผิดชอบไม่ไหว (และไม่ควรเสี่ยงด้วย) หนังสือพิมพ์ตัวประเคนข่าว ประโคมข่าวนั้นก็เห็นๆอยู่ว่าคนจะอ่านตรงข่าวประคมหรือข่าวที่แก้ข่าวว่า นสพ.เข้าใจผิดมากกว่ากัน?

ในทางปฏิบัติห้องแยกนั้นคงจะมีจำกัด เมื่อคำนึงถึง "ความเชื่อ" ต่างๆมากมายข้างนอกนั้น ห้องแยกอาจจะไม่ใช่คำตอบ อาจจะใช้ได้แค่ชั่วคราว สุดท้ายเราต้องรอจนพวกเรา ชาวบ้านนี่แหละที่สามารถเคารพสิทธิส่วนตัวของผู้อื่น เคารพใน autonomy ของผู้อื่นให้ได้ การจับเขาไปไว้ห้องแยกนั้นก็เป็นการที่เราหลอกตัวเองว่าเราเคารพ autonomy เพราะมันคล้ายๆกับว่าเราละอายที่คนไข้เรามีทำแบบนี้ ถึงแม้ว่าเราจะบอกว่าเราทำไปเพราะคิดเผื่อเขา การย้ายหรือเอาไปแอบนั้นมันไม่เชิงตรงกับ principle of autonomy ซะทีเดียว ใช่ไหมครับ ทำนองเดียวกับเราพูดว่าเราไม่ได้รังเกียจ Gay แต่ ชูว์ ชูว์ อย่าพูดถึงมันเลย มันไม่ดีนั่นแหละครับ

ในกรณีศาสนาที่เป็นหลักๆทั้งหลายแหล่อาจจะไม่ใคร่มีปัญหาเท่าไหร่ แต่ถ้าลงไปเป็นความเชื่อ เป็นลัทธิ แล้วนี่หละจะเป็น acid test ของ autonomy principle ณ ที่นั้นๆอย่างแท้จริง



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-22 , Time : 03:06:54 , From IP : 172.29.3.254

ความคิดเห็นที่ : 12


   ไปๆมาๆก็เป็นเรื่องของความแตกต่างของแต่ละคน
เมื่อแพทย์ยอมรับถึง Autonomy แต่คนอื่นๆในสังคมกลับไม่ยอมรับ

คงไม่ใช่แค่แพทย์แล้วล่ะครับ ที่ต้องสร้างสรรค์สังคมที่ยอมรับระหว่างกันขึ้นมาได้


Posted by : ArLim , Date : 2004-02-22 , Time : 16:07:49 , From IP : 172.29.2.151

ความคิดเห็นที่ : 13


   เรื่องที่เป็นข่าวอยู่เนืองๆคือเรื่อง euthanasia หรือ assisted suicide ของแพทย์เมื่อมีคำขอมาจากผู้ป่วย (ที่รู้สติดี และสามารถจัดการเรื่องราวต่างๆได้อย่างมีผลทางกฏหมาย)

จริยศาสตร์กับกฏหมายจะคาบเกี่ยวกันค่อนข้างเยอะ แต่ก็มีความต่างอยู่ไม่น้อย กฏหมายนั้นแห้งแล้งและตายตัว แต่จริยศาสตร์เป็นวิชาการ เป็นการใช้เหตุผล และเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบท "มากกว่า" กฏหมาย สำหรับประเทศไทย active euthanasia นั้นผิดกฏหมายแน่นอน คำนี้หมายความว่า action ของแพทย์ที่มีผลทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เช่น การ off respirator, off tube, injection, etc

มีแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายหลายคน พิจารณาถึงคำ die with dignity ตายอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น ฉันต้องการตายโดยไม่ต้องให้คนมาขย่มหน้าอก หักกระดูก หรือชอร์ตไฟฟ้า เพราะฉันรู้ว่าฉันเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ฉันไม่มีอะไรห่วงในชีวิต ฉันยังกิจทั้งหลายทั้งปวงด้วยความไม่ประมาทและพึงพอใจแล้วกับสิ่งที่ทำมา ไม่ต้องการอะไรเพิ่มเติม

ปัญหาที่เกิดคือเมื่อผู้ป่วยที่สามารถตัดสินใจและได้ตัดสินใจอย่างย่อหน้าข้างบน ไม่ใช่ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย แต่เป็นภาวะอื่น ที่เป็นข่าวดังก็มีรายหนึ่งที่เป็น multiple sclerosis ที่ระบบประสาททรุดโทรมลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยไม่สามารถขยับร่างกายได้โดยไม่มีความเจ็บปวด และไม่สามารถดำรงชีวิตอย่างรู้สติโดยไม่มีความเจ็บปวดตลอดทุกวินาที ผู้ป่วยรายนี้ขอให้สามีและหมอทำ assisting suicide แต่กฏหมายไม่ยอม และถ้าทำหมอหรือสามีก็จะติดคุกหรือโดนจับข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนา เรื่องนี้ได้ถูกนำขึ้นศาลชั้นต้น อุทธรณ์ จนถึง House of LORD เพื่อให้ Law Lord ตัดสิน แต่ก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในที่สุด Lawyer ขององค์กรสิทธิมนุษยชาติ (Human Right) จึงได้ file case นี้ขึ้นศาลยุโรป เพื่อให้ Over-rule คำตัดสินของศาลสูงประเทศอังกฤษ เรื่องราวขั้นตอนยืดเยื้ออยู่หลายเดือน ผู้ป่วยถูกเข็นเข้าๆออกๆศาล ออกข่าวทีวีนับครั้งไม่ถ้วน ทุกคนทราบดีว่าเธอรู้สติดี และต้องการตาย ตายจากความช่วยเหลือของคู่ชีวิตคือสามี และจาก professional คือหมอ แต่กฏหมายไม่ให้ เรื่องนี้จบลงโดยผู้ป่วยเสียชีวิตซะก่อนที่ขั้นตอนการตัดสินจาก Eurepoean Court จะให้ verdict

อะไรคือปัญหา?

ถ้ากฏหมาย "อนุญาต" ปุ๊บ สิ่งหนึ่งที่เขาพิจารณากันคืออะไรจะมีผลกระทบต่อสังคม as a whole จากการตัดสินให้ Individual เช่น ตลาดการซื้อขายอวัยวะจากผู้ป่วยบาดเจ็บสาหัส (หรือแม้แต่ไม่สาหัส) จะพุ่งขึ้นหรือไม่ จะมีแนวโน้มที่หมอ play God ที่จะทำให้ผู้ป่วยตาย/ไม่ตายจากการตัดสินใจของตนเอง บวกผู้ป่วยและญาติซึ่งเราไม่มีทางควบคุมเรื่องที่ว่าเขามีข้อมูล มีทางเลือกและได้พิจารณาทุกทางเลือกแล้วหรือยังก่อนตัดสินใจ

เพราะฉะนั้นที่คุณ ArLim ว่าในตอนท้ายนั้น เป็นข้อจำกัดจริงๆ เรื่อง autonomy และกฏหมายที่จะต้องไปด้วยกันกับจริยธรรมนั้น ไม่จำเป็นต้องง่ายเสมอไป บางครั้งก็จะเกิด Dilemma ที่ยากแก่การแก้ไขให้ win/win



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-22 , Time : 20:13:19 , From IP : 172.29.3.254

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.01 seconds. <<<<<