ความคิดเห็นทั้งหมด : 0

เชื่อหรือไม่ ภาษาไทยปักษ์ใต้คือภาษาไทยดั้งเดิม


   เชื่อหรือไม่ ภาษาไทยปักษ์ใต้คือภาษาไทยดั้งเดิม

เมื่อนึกถึงภาษาใต้ เราก็คงนึกถึงภาษาพูดที่ตัดสั้นๆห้วนๆ ขนาดรถไฟสวนกันยังคุยกันรู้เรื่องทีเดียว และสำเนียงพูดภาษากลางแปร่งๆ (แหลงทองแดง) ที่ฟังยังไงก็รู้ว่าเป็นคนใต้ จนทำให้ส่วนหนึ่งที่ประชาธิปัตย์ยากจะสลัดภาพของ "พรรคสะตอ" พ้นก็เพราะสำเนียงทองแดงของเหล่าคีย์แมนในพรรคนี่แหละ ทำให้คนใต้ชอบที่จะพูดคุยอยู่ในหมู่ตัวเองมากกว่าเพื่อเลี่ยงความเขิน จนกลายเป็นเหมือนแขกแปลกภาษาน่าน้อยใจ แถมภาษาใต้เป็นภาษาถิ่นอันดับท้ายๆที่คนภาคอื่นจะฟังรู้เรื่องเสียด้วย แต่เชื่อไหมถ้าผมจะบอกว่าภาษาใต้นี่แหละคือภาษาไทยดั้งเดิมแท้ๆของคนไทย

นักวิชาการหลายท่านบอกว่า หลักศิลาจารึกพ่อขุนราม (ที่นักวิชาการหลายๆคนตอนนี้บอกว่าเป็นของปลอม) มีส่วนคล้ายภาษาปักษ์ใต้ ก็คือมีวรรณยุกต์แค่ 3 คือ สามัญ และเอก กับโท ซึ่งในศิลาจารึกเขียนเป็นเอกกับจัตวา และรูปแบบบทประพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดของไทยคือ "โคลง" ก็บังคับวรรณยุกต์เอกโทเช่นกัน

นอกจากนักวิชาการยังแนะนำหนังสือชื่อ "กาเลหม่านไต" ซึ่งเป็นหนังสือที่ในปี 2494 ดร.นส.บรรจบ พันธุ์เมธา ได้เข้าไปเก็บตัวอย่างภาษาไทยคำตี่ และภาษาไทยอาหม ซึ่งเป็นคนไทยที่อพยพขึ้นไปสร้างอาณาจักรใหญ่ในแคว้นอัสสัมของอินเดีย เป็นอาณาจักรเข้มแข็งขนาดที่ราชวงศ์โมกุลของอินเดียต้องยกมาตีถึง 19 ครั้งถึงจะตีได้ ผมเพิ่งไปได้หนังสือเล่มนี้โดยบังเอิญเมื่ออาทิตย์ก่อน พออ่านเทียบเสียงแล้วต้องร้อง "เฮ้ย นี่มันวรรณยุกต์ใต้ชัดๆนี่หว่า!"
ลักษณะร่วมของภาษาไทยดั้งเดิมกับภาษาใต้มีดังนี้ครับ

1. มีวรรณยุกต์แค่สามเสียง ในภาษาใต้ เสียงสามัญกับเสียงจัตวาจะเป็นเสียงเดียวกัน เสียงเอกกับเสียงโทเป็นเสียงเดียวกัน และเสียงตรีอีกเสียง
2. เสียงวรรณยุกต์จะตรงกันข้ามกับภาษาไทยกลาง ตัวอย่างคลาสสิคก็คือคำว่า "มดกินหมด" ภาษาใต้หรือภาษาอัสสัมจะออกเป็น "หมดกินมด"
3. สระทั้งหมดจะเป็นสระเสียงยาว ไม่มีเสียงสั้น คำที่เป็นสระเสียงสั้นจะยืมจากภาษาอื่น และเสียงสั้นในสระไทยจะเป็นเสียงที่มีการปิดของเส้นเสียงตาม ทำให้เป็นเสียงกระชาก (ลองออกเสียงดู) คนใต้รุ่นเก่าๆจะออกเสียงยาวชนิดยานคางเลย และจะมีปัญหามากๆกับการออกเสียงสระเสียงสั้น คนใต้ก็เลยใช้วิธีง่ายๆแต่มีประสิทธิภาพ นั่นก็คือ "ตัดแมร่งทิ้งซะเลย" มะพร้าว ก็เลยกลายเป็นพร้าว กระจง ก็เลยกลายเป็น จง ฯลฯ
4. เสียงมและเสียงล จะเป็นเสียงที่คาบเกี่ยวกัน จะมีศัพท์บางตัวที่ทิ้งร่องรอยให้เห็นว่าในอดีตหน่วยเสียงนี้เป็นเสียงควบ "มล" แต่มาแยกภายหลัง แถวบ้านผมจะพูดคำว่า "ลื่น" ว่า "มลื่น" ขณะที่บางแห่งพูดว่า "มื่น" ก็มี และในภาษาไทยคำตี่ เรียกหมอนว่า "มล๋อน" และผมเคยเจอโคลงที่ว่ากันว่าศรีปราชญ์ใช้จีบนางสนมพระนารายณ์จนต้องติดคุก โคลงนี้ขึ้นต้นว่า "มลัก (ลัก) เห็นใบจากเจ้าเนรมิตร เป็นสำเภาไพจิตรแปดโล้ ฯลฯ"

จากหนังของท่านมุ้ยเรื่องสุริโยไท ก็แสดงถึงความเกี่ยวพันของราชวงศ์ศรีธรรมโศกราชกับกรุงศรีฯ มันก็น่าสงสัยว่าถ้าคนใต้กับคนกรุงคุยภาษากันไม่รู้เรื่องอย่างทุกวันนี้ แล้วคนยุคนั้นเค้าจะคุยกันยังไง ในเมื่อโรงเรียนก็ไม่มี ผมก็เลยสงสัยว่าไทยสยาม ในยุคนั้นจะ แล่งตายยยย กันเป็นปกติในราชสำนักเลยหรือไม่ ก่อนที่ภาษาไทยกลางจะเหน่อจนกลายเป็นเหน่อจีนแต้จิ๋วอย่างในปัจจุบัน

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาษาไทยกลางเปลี่ยนก็น่าจะเป็นการอพยพของผู้คน โดยเฉพาะอิทธิพลหลักๆที่ทำให้กรุงศรีฯ เริ่มมีสระเสียงสั้น และมีเสียงผสม "กร" และ "จร" เข้ามาในภาษา ก็ตอนที่เจ้าสามพระยาไปตีนครวัด แล้วกวาดต้อนคนกัมพูชากลับมาจนนครวัดกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเสียกรุงครั้งแรก พม่ากวาดต้อนคนอยุธยาไปพม่าเกือบหมด เหลือไว้แค่หมื่นกว่าๆไว้เฝ้าเมือง และเมื่อพระนเรศวรไปไล่จับนักพระสัฎฐา ก็คงกวาดต้อนคนกัมพูชามาอีกบานตะเกียง สัดส่วนคนไทยแท้ๆที่เป็นพลเมืองก็คงน้อยลงไปอีก ยิ่งตอนเสียกรุงครั้งที่สอง คนไทยถูกกวาดไปแทบจะ***นเต้ ตอนที่พระเจ้าตากกลับมาตั้งเมืองใหม่ ทหารของพระเจ้าตากก็เป็นไทยปนจีน แถมตอนร.1 ตั้งกรุงเทพฯ ก็มาตั้งวังในเขตหมู่บ้านคนจีนเดิม ไม่นับถึงกรรมกรจีนที่ทะลักเข้ามาตอนสมัยร.5 ดังนั้นภาษาไทยกลางจึงเพี้ยนแบบกู่ไม่กลับ แต่ด้วยเหตุที่เป็นเมืองหลวง ภาษาไทยเพี้ยนๆนี้เลยกลายเป็นภาษามาตรฐานไปซะนี่ ซึ่งมีลักษณะเด่นก็คือ
1. วรรณยุกต์ครบ 5 เสียง แต่เสียงตรีกับจัตวา จะไม่มีศัพท์ไทยแท้ๆอยู่เลย มีแต่ศัพท์จีน
2. มีเสีย "กร" "จร" จากอิทธิพลเขมร
3. มีเสียงควบกล้ำเยอะมากกกกก เพราะมีสารพัดภาษาต่างประเทศเข้ามาปน

ส่วนภาษาไทยอีกสาย หรือที่เรียกว่าภาษาไทย-ลาว อันได้แก่ภาษาเหนือและอีสาน หรือล้านนาและล้านช้างเดิม
เป็นที่น่าสังเกตว่าจะมีลักษณะร่วมคือ
1. เสียงวรรณยุกต์ครบ 5 เสียง และเป็นศัพท์ดั้งเดิมของภาษาด้วย ไม่ใช่คำยืม
2. มีเสียงสั้นในภาษา
3. ไม่มีเสียงควบกล้ำ
4. คนเหนือ คนอีสานเหนือ และคนลาว ตัวขาวจั๊วะ ขณะที่คนสยามถูกบันทึกไว้โดยชาวต่างประเทศว่ามีผิวคล้ำ นักประวัติบางคนยังสันนิษฐานว่าคำว่า "สยาม" มาจากคำว่า "ศยาม" ที่แปลว่าสีคล้ำ (อันนี้จำขี้ปากเขามา)

ทำให้น่าพิจารณาว่าในอดีต คนไทยเราก็เคยอยู่ที่นี่แหละ แต่เมื่อโดนมอญแผ่อิทธิพลจากด้านตะวันตก และเขมรแผ่อิทธิพลจากตะวันออก คนไทยส่วนหนึ่งก็เคลื่อนย้ายลงทางใต้ ไล่ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยาลงไปถึงสุดแหลมมลายู (ก่อนที่จะโดนพวกมลายูจากเกาะสุมาตรารุกขึ้นมา) อีกส่วนก็ขึ้นไปทางเหนือเป็นสองสาย สายหนึ่งเข้าไปทางเหนือของพม่า กลายเป็นไทยใหญ่ ไทยอาหม อีกส่วนขึ้นไปทางตอนใต้ของจีน ไปผสมผสานกับพวกจ้วง พวกไป๋ พวกอาตี๋อาหมวย และรับอิทธิพลเสียงวรรณยุกต์และเสียงสั้นแบบสะบัดของจีนมาไว้ในภาษา ก่อนที่จะโดนมองโกลกดดันจนต้องถอยกลับลงมาตั้งอาณาจักรล้านนาและล้านช้าง

ดังนั้นคนที่พูดภาษาเหนือ หรือภาษาอีสาน จึงไม่มีปัญหาในการสวิตช์ไปมาระหว่างภาษากลางกับภาษาถิ่นของตัวเอง ซึ่งเป็นภาษาที่มีอิทธิพลของภาษาจีนกันทั้งคู่ ขณะที่คนที่พูดภาษาใต้ จะพบว่ามันแสนจะยาก และเพี้ยนเอามากๆ โดยเฉพาะความสั้นยาวของเสียงสระ ขนาดคนที่อยู่กรุงเทพฯมาร่วม 20 ปีเผลอๆยังมีเพี้ยน

ดังนั้นถ้าคุณพบว่าเพื่อนคนใต้ของคุณกระดากที่จะพูดภาษากลางกับคุณ หรือคุยภาษาใต้ต่อหน้าคุณทำให้คุณฉุนด้วยความไม่รู้เรื่อง ก็อย่าโทษเค้าเลยครับ มันเป็นเรื่องช่วยไม่ได้ที่ภาษาไทยเหน่อแต้จิ๋วจะเป็นอะไรที่แสนกระดากลำบากลิ้นสำหรับคนพูดภาษาไทยดั้งเดิม และอย่างน้อยก็คิดว่าเค้าช่วยอนุรักษ์ภาษาไทยดั้งเดิมไว้ให้เราได้ยินได้ฟังก็แล้วกัน

เครดิต : เว็บขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด
http://oldforum.serithai.net/index.php?PHPSESSID=dbe494fcb921027b133d0a969b4e0520&


Posted by : บวบเองคับ , Date : 2012-02-10 , Time : 17:28:12 , From IP : 172.29.9.27

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<