ความคิดเห็นทั้งหมด : 15

คิดอย่างไรเกี่ยวกับการเปิดการเรียนคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเอกชน


   มหาวิทยาลัยของเอกชนได้เปิดการเรียนคณะแพทยศาสตร์
ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร


Posted by : อยากทราบ , Date : 2003-04-04 , Time : 16:56:35 , From IP : 172.29.2.123

ความคิดเห็นที่ : 1


   ในเมืองหรือนอกเมืองล่ะครับ
ทำไมมหาลัยเอกชนจึงอยากเปิดคณะแพทย์ล่ะ เพื่อจะรองรับคนที่ไม่สามารถเอ็นทรานซ์เข้ามหาลัยปิดได้งันหรือ
หากเป็นเช่นนั้นก็จะมีข้อเสียของด้านคุณภาพของนักศึกษาว่าเหมาะสมหรือไม่ที่จะเรียนแพทย์
แต่ในความคิดอีกด้านหนึ่งของผม ก็เห็นว่าหากมหาลัยเอกชนมีจุดประสงค์เดียวกันกับโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ก็น่าจะเป็นเรื่องดี และน่าจะได้แพทย์ที่มีอุดมการณ์และแรงพยายามกล้ามากกว่าธรรมดา
แล้ว ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรล่ะ


Posted by : ArLim , Date : 2003-04-04 , Time : 20:20:51 , From IP : 172.29.2.156

ความคิดเห็นที่ : 2


   ทำไม คนโง่เอนไม่ติด อยากเรียนหมอบ้างไม่ได้เหรอ
ก็มีเงินจ่ายค่าเล่าเรียนนี่
หรือบางคนเค้าเอนติดแต่ไม่อยากเรียน ที่ต่างจังหวัดก็มี
ทุกคนมีเหตุผลของตัวเองนี่หว่า
ทุกที่ ก็มีเรื่องแบบนี้นี่ เกรดไม่ดีแต่อยากเรียนต่อเป็นพชท
โชคดีที่พ่อแม่เป็นอาจารย์ เส้นใหญ่
ไม่ได้ว่าใครนะ
แต่ก่อนจะว่าคนอื่นไม่มีคุณภาพดูตัวเองซะก่อน
ถ้าเอาคะแนนสอบมาตัดสิน
คุณเองก็คุณภาพด้อยกว่าคณะแพทย์อื่นนะ
แล้วก็เข้าใจด้วยนะว่าเอกชน เค้ามีนโยบายหลัก
คือธุรกิจมันก็ไม่แปลกหรอก
แต่พวกคุณนะจบไปก็ควรจะทำเพื่อชาวชนบท
เป็นแพทย์ที่มีอุดมการณ์และแรงพยายามกล้ามากกว่าธรรมดา
เพราะเอาภาษีเค้ามาเรียน อย่าทะลึ่งหวังแต่เงินทองแล้วกัน


Posted by : เว่อร์ , Date : 2003-04-05 , Time : 10:10:14 , From IP : 203.145.27.91

ความคิดเห็นที่ : 3


   ทำไม คนโง่เอนไม่ติด อยากเรียนหมอบ้างไม่ได้เหรอ
ก็มีเงินจ่ายค่าเล่าเรียนนี่
หรือบางคนเค้าเอนติดแต่ไม่อยากเรียน ที่ต่างจังหวัดก็มี
ทุกคนมีเหตุผลของตัวเองนี่หว่า
ทุกที่ ก็มีเรื่องแบบนี้นี่ เกรดไม่ดีแต่อยากเรียนต่อเป็นพชท
โชคดีที่พ่อแม่เป็นอาจารย์ เส้นใหญ่
ไม่ได้ว่าใครนะ
แต่ก่อนจะว่าคนอื่นไม่มีคุณภาพดูตัวเองซะก่อน
ถ้าเอาคะแนนสอบมาตัดสิน
คุณเองก็คุณภาพด้อยกว่าคณะแพทย์อื่นนะ
แล้วก็เข้าใจด้วยนะว่าเอกชน เค้ามีนโยบายหลัก
คือธุรกิจมันก็ไม่แปลกหรอก
แต่พวกคุณนะจบไปก็ควรจะทำเพื่อชาวชนบท
เป็นแพทย์ที่มีอุดมการณ์และแรงพยายามกล้ามากกว่าธรรมดา
เพราะเอาภาษีเค้ามาเรียน อย่าทะลึ่งหวังแต่เงินทองแล้วกัน


Posted by : เว่อร์ , Date : 2003-04-05 , Time : 10:10:56 , From IP : 203.145.27.91

ความคิดเห็นที่ : 4


   ต้องขออภัยคุณเว่อร์ด้วยครับที่ผมไม่ได้เข้ามาในนี้เพื่อตอบกระทู้ ผมอาจจะเรียบเรียงความคิดเห็นมาวางไว้ทีหลังครับ เพียงแต่อยากเข้ามาบอกคุณ Arlim ที่ผมรักว่า Arlim ตกหลุมพราง เผลอตอบกระทู้ล่อเป้าไปเสียแล้วละครับ เวลาให้ความเห็นอันอาจพาดพิงถึงบุคคลหรือนิติบุคคล คิดให้มากตลบครับ ถ้าคิดไม่ออกให้ย้อนกลับไปที่คำถามแล้วประเมินเสียก่อน เดาจากสำเนียงหรือกระทั่งชื่อที่เขาใช้ก่อนว่า เจตนาที่เขาตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา คืออะไร กรณีนี้เป็นตัวอย่างที่ดี ล่อเป้า เห็นเป้า ยิงเป้า ครับ

Gambatte kudasai
สู้ต่อไปไอ้มดแดง


Posted by : พี่ว่าว , Date : 2003-04-05 , Time : 10:53:13 , From IP : 172.29.3.101

ความคิดเห็นที่ : 5


   คำถามของน้องเว่อร์ดูเป็นลูกหลงจากอดีต ประเด็นโรงเรียนแพทย์เอกชนเป็นที่ถกเถียงและเป็นข่าวที่เข้มข้นเมื่อราว 9-10 ปีที่แล้ว ช่วงก่อนที่สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทยจะเกิดไม่นาน และนี่ไม่ใช่กรณีแรก เมื่อครั้งที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒน์จะเปิดคณะแพทย์ หรือเมื่อวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฏเปิดสอน ก็มีเสียงวิพากษ์อยู่มาก ประเด็นที่อยู่หน้าร้านคือการเป็นห่วงคุณภาพ ประเด็นที่อาจอยู่หลังร้านคือ กำลังจะมีคนรุ่นใหม่เข้ามาทำอาชีพเดียวกัน เข้ามาใช้คำว่าแพทย์เหมือนกัน มีศักดิ์และสิทธิ์เดียวกัน และจำนวนที่เพิ่มขึ้นอาจคุกคามต่อความมั่นคงในวิชาชีพ ปฏิกิริยาแบบนี้คล้ายกับการเกิดสมาคมช่างฝีมือในยุโรปสมัยกลาง
ผมไม่มีความเห็นใหม่ครับ แต่ขออนุญาตท้วงติงตามประสาผมบ้าง
1. โรงเรียนแพทย์มิได้มีพันธกิจในการผลิตแพทย์เพียงอย่างเดียวครับ แต่ยังมีหน้าที่ในการผลิตองค์ความรู้ทางการแพทย์ และให้บริการทางวิชาการด้วย งานทั้งหมดเกี่ยวเนื่องกันครับ เพียงจัดการเรียนการสอนทฤษฎีแพทย์ เราอาจต้องการไม่มากไปกว่าห้องแถวสองคูหา กระดานดำ ชอล์ค ห้องสมุด อินเตอร์เน็ตและคุณครูแพทย์ห้าคน แต่การฝึกคนให้เป็นแพทย์ เราต้องอาศัยสถานการณ์ทางคลินิก บางอย่างจำลองได้ บางอย่างก็สมมติเองไม่ไหว นี่เป็นเหตุให้แต่ละโรงเรียน ต้องลงทุนกับสถานพยาบาลที่สามารถให้การรักษาด้วยคุณภาพระดับที่พอจะเป็นต้นแบบได้ ทั้งหมดในประเทศไทย ใช้โรงพยาบาลของรัฐบาล ซึ่งไม่อาจแสวงหากำไรครับ เมื่อนับรวมการลงทุนทางด้านงานวิจัยและกรณีอื่นเพื่อรักษามาตรฐานและความสามารถในการแข่งขันไปด้วย มันจึงมหาศาล เรื่องนี้ทำให้โรงเรียนเอกชนได้รับการเป็นห่วงเป็นธรรมดา ในอเมริกา โรงเรียนแพทย์เอกชนอยู่ได้ด้วยกองทุน (charity fund) และการขายความรู้ใหม่ (research fund) มิใช่ tuition fee
2. ผมมีความเชื่อว่า เราไม่สามารถเรียนแพทย์ได้โดยไม่อาศัยความรู้และประสบการณ์จากผู้ป่วยและเพื่อนร่วมวิชาชีพ แม้จะเรียนกับโรงเรียนเอกชนจ่ายค่าเล่าเรียนด้วยเงินของคุณแม่ทั้งหมด เราก็ยังเป็นหนี้ป้าสมใจ คนไข้ที่ให้ความรู้ เรื่องนี้ต้องตอบแทนไม่ว่าจะจบที่ไหน
3. การตัดสินคุณภาพของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา มิได้ใช้คะแนนตอนสอบเข้าเป็นเกณฑ์ครับ คะแนนดังกล่าวอาจบอกความนิยม อาจมีนัยเกี่ยวเนื่องกับความเก่าแก่ สถานที่ตั้งในเมืองหลวง ฯลฯ ลองตอบอย่างซื่อสัตย์ดูประไรครับ ตอนฝนดินสอเลือกคณะ มีใครรู้บ้างว่าโรงเรียนที่จะมาเรียน เขาสอนวิชาชื่ออะไรบ้าง คุณครูเป็นใคร วุฒิการศึกษาอะไร และเอาใจใส่การสอนระดับก่อนปริญญาแค่ไหน มีงานวิจัยด้านใดบ้าง อีกประการหนึ่ง ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่า แพทย์ที่จบจากสถาบันซึ่งคะแนนขาเข้าสูงหลังจากพ้นรั้วโรงเรียนไปแล้ว ประสบความสำเร็จมากกว่า หรือไปทำงานในชนบทมากกว่า
4. การเข้าใจว่าทำงานในชนบทแล้วจะมีความเป็นแพทย์พาณิชย์น้อยกว่ารับรักษาสิวในเมืองหลวงอาจเป็นความเข้าใจที่ผิดครับ คลินิกในเขตชนบทหลายแห่งทำกำไรมากกว่าคลินิกในกรุงเทพฯ
5. ประโยคหลังสุดนี้ผมเข้าใจไปเอง เรียนที่ไหนไม่สำคัญเท่า(ตั้งใจ)เรียนแค่ไหนกระมังครับ


Posted by : พี่ว่าวในเวลาต่อมา , Date : 2003-04-05 , Time : 13:38:53 , From IP : 172.29.3.101

ความคิดเห็นที่ : 6


   ผมว่าก็ดีซะอีกนะ เพราะว่าคราวนี้ลูกคนรวยๆ จะได้มาประกอบอาชีพที่ เหนื่อยแสนเหนื่อย เพิ่มขึ้นครับ

ไม่ต้องห่วงเรื่องคุณภาพครับ เพราะแพทยสภาไม่นิ่งดูดาย แน่ หากว่าไม่ได้คุณภาพครับ

เรื่องที่ว่าน่าจะได้แพทย์ที่มีอุดมการณ์และแรงพยายามกล้ามากกว่าธรรมดา
นี่คงไม่มีทางครับ เพราะว่าเรื่องอย่างนี้ไม่ได้ขึ้นกับ สถาบัน(เท่าไร) ที่สำคัญจริงๆ อยู่ที่ตัวบุคคลมากกว่า


Posted by : 000 , Date : 2003-04-07 , Time : 02:43:23 , From IP : 172.29.2.102

ความคิดเห็นที่ : 7


   อาจารย์นกไฟมีความเห็นว่าอย่างไรครับ

Posted by : 111 , Date : 2003-04-08 , Time : 16:59:11 , From IP : 172.29.2.146

ความคิดเห็นที่ : 8


   ผมมีความเห็นว่าสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในประเทศเราจำเป็นต้องมี quality control

นักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับอุดมศึกษาเป็นทรัพยากรของชาติครับ ไม่เกี่ยวกับเอกชนหรือของรัฐ ทุกๆคนมีบทบาทหรือกำลังจะมีบทบาทต่อสังคมในอนาคต สถาบันการศึกษาระดับสูงมีศักยภาพในการ "ล้างสมอง" ได้ถึงระดับหนึ่ง สามารถปลูกฝัง "ค่านิยม" ลงไปในหัวของนักศึกษาเป็นเวลาหลายปี รัฐบาลที่มีความรับผิดชอบสมควรจะต้องเข้าไปสอดส่องดูแลประคับประคอง เกณฑ์มาตรฐาน ที่สถาบันแต่ละแห่งกำลังปลูกฝังให้แก่เยาวชนและทรัพยากรของชาติให้ดีเท่าที่ในทางปฏิบัติสามารถจะทำได้

สำคัญที่สุดคือทำยังไงจะให้บัณฑิตเป็นคนดี ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนหรือรัฐบาลจะต้องมี clear mission ที่จะ steering การพัฒนาบัณฑิตไปในทิศทางนั้นๆ เท่าที่เป็นอยู่แม้แต่ของรัฐบาลบเองก็ไม่ใช่ว่าดีหรือสมบูรณ์แต่อย่างใด แต่หากมีมหาวิทยาลัยเอกชนซึ่งไม่ได้ subsidized ค่าใช้จ่ายจากรัฐบาล การผลิตบัณฑิตนั้นไม่ใช่ถูกๆ ก็แปลว่าการบริหารจัดการจะมาจากการเก็บค่าเล่าเรียน และ/หรือ รายได้นอกระบบเป็นหลัก นักศึกษาจะเป็นกลุ่มที่มีฐานะทางครอบครัวค่อนข้างดีมากเมื่อเปรียบเทียบกับของมหาวิทยาลัยรัฐที่รัฐบาลช่วยค่าใช้จ่าย เรื่องนี้ไม่จำเป็นจะต้องหมายความว่านักศึกษาเอกชนจะไม่สามารถเป็นคนดี ตราบเท่าที่ผู้บริหารหลักสูตรใช้ปรัชญาการเรียนการสอนของวิชาชีพแพทย์ที่ได้ตั้งไว้โดยสมเด็จพระราชบิดา (เป็นวิสัยทัศน์พันธกิจที่เจ๋งที่สุดแล้วในความเห็นของผม)

มหาวิทยาลัยเอกชนจะมีประสิทธิภาพสูงกว่ารัฐบาลในหลายๆด้านเนื่องจาก flexibility and hierachy of fund and management จะดีกว่าอย่างมากมาย แต่หากจะมองในสายตาของ sceptic หรือ pessimist ระบบเอกชนอาจจะแปลว่าใครมีเงินก็เป็นแพทย์ได้ ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่ใช่อย่างนั้น (หรือเราไม่ต้องการให้เป็นแบบนั้น)



Posted by : Phoenix , Date : 2003-04-08 , Time : 18:17:25 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 9


   เหตุที่ผมเขียนไว้อย่างข้อความแรกสุดนั้นก็เพราะว่า
- ผมไม่รู้ว่าเรื่องราวหนหลังในสมัยที่มีการถกเถียงเรื่องนี้เป็นอย่างไร (และเรื่องของสมาพันธ์นศพ.ด้วย) ผมกำลังอ่านข้อมูลจากพี่ๆอย่างใจจดใจจ่ออยู่ครับ
- อีกเรื่องคือ อุดมการณ์และความพยายามแรงกล้า เรื่องนี้นั้นผมก็มีความคิดเด็กๆของผมว่า การเรียนแพทย์เป็นค่านิยมอันดับต้นๆของสังคม เด็กเรียนเก่ง ยังคิดไม่ออกเลยว่าอยากทำอะไร ก็ลงเรียนแพทย์แล้วกัน (อันดับสองก็เลือกวิศวะหรือไม่ก็ทันตะ... อันนี้จากที่เห็นๆเพื่อนมานะครับ)
ไอ้ตัวผมก็เลยคิดไปว่า ถึงแม้มหาวิทยาลัยเอกชนมันจะมีคนที่เรียนแพทย์อาจจะเพราะด้วยเหตุผลเหมือนคนทั่วไปคือ ค่านิยม หรือสิ่งที่ทำให้อนาคตก้าวไกล (ซึ่งก็มีในทุกคณะแพทย์ - - ผมว่านะ) แต่ก็น่าจะมีคนที่มีสตางค์ มีเวลา แต่คะแนนเอ็นท์ไม่ถึง(หรือเหตุอะไรก็ตาม) และมีอุดมการณ์หรือความตั้งใจจริงที่จะเรียนแพทย์ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นบ้าง (แบบว่ารวยแล้ว อยากทำงานหนักบ้าง - - คิดถึงท่านนายกทักษิณแฮะ)
เล่าเรื่องราวให้เด็กๆฟังเพิ่มอีกหน่อยเถอะครับ หิวข้อมูลอยู่

(ปล. ผมสงสัยอยู่อย่าหนึ่งว่า ทำไมแพทย์ที่จบไปแล้วนี่ เขาไม่มีการรักษามาตรฐานหรือครับ เพราะวันก่อนดูข่าวแพทย์ถูกจับเพราะขายยา ข่าวว่าเขาไม่รับราชการ เปิดคลินิกส่วนตัว .... ทำไมคนอย่างนี้ถึงยังมีใบประกอบวิชาชีพอยู่ล่ะครับ)


Posted by : ArLim , Date : 2003-04-08 , Time : 19:21:25 , From IP : 172.29.2.101

ความคิดเห็นที่ : 10


   ถ้าอย่างนั้นคนที่เรียนไม่ดีผลการสอบไม่ผ่านENT ถ้ามีเงินก็เป็นแพทย์ได้ใช่มั้ยครับ

Posted by : คนเรียนไม่เก่ง , Date : 2003-04-08 , Time : 22:00:41 , From IP : 172.29.2.166

ความคิดเห็นที่ : 11


   ตราบใดที่หลักปรัชญาวิชาชีพยัง intact ผม OK ทั้งนั้น

ประการสำคัญที่ผู้เข้ามาเรียนพึงทราบ ก่อนเข้ามาเรียน คือแพทย์เป็นอาชีพที่ทำงานหนัก และความสำเร็จของวิชาชีพนี้วัดที่ความสุขของ ผู้อื่น ถ้าสองอย่างนี้ OK ผมว่าไม่มากก็น้อยเขาน่าจะอยู่บนเส้นทางครับ

สาเหตุที่ผลการเรียนเข้ามาเกี่ยวข้องนั้นเป็นเพราะสำหรับ slow-learner หรือ learning disables นั้น งานที่หนักอยู่แล้วในการเรียนให้จบจะยิ่งหนักเป็นทวีคูณ แต่ก็มิได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้ ความมานะและตั้งใจมั่นของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถกำหนดเพดานได้

สำหรับคนที่ต้องการเข้ามาหาเงินนั้น อยากจะแนะนำว่ามีหลายอาชีพอื่นๆอีกมากมายที่ทำงานหนักน้อยกว่าแต่ได้เงินเยอะกว่าการเป็นแพทย์ ทางที่ดีอย่ามาอยู่ปนกับแพทย์ที่เขาต้องการรักษาผู้ป่วยจริงๆเลย คนที่คุณ Arlim ว่าก็คงเป็นพวก "ปนเปื้อน" ที่ว่านี่แหละครับ มีทุกวงการทุกสาขาอาชีพ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-04-08 , Time : 22:18:51 , From IP : 172.29.3.215

ความคิดเห็นที่ : 12


   ที่ผมท้าวความถึงสพท.ขึ้นมานิดนึงมันมีเหตุครับ สพท.มีที่มาจากการจัดกีฬา 8 เข็มครับ และก็ได้รับการตั้งขึ้นเพื่อโยงใยและรองรับสโมสรนิสิตนักศึกษาของแปดโรงเรียนแพทย์ในกิจกรรมด้านอื่นที่นอกเหนือการเตะบอล การคัดค้านโรงเรียนแพทย์เอกชนในสมัยเริ่มตั้งขณะนั้นรุนแรงขนาดมิยอมให้เพื่อนเข้ามาเป็นเข็มที่เก้า อนุญาตให้เพียงเป็นผู้สังเกตการในเบื้องต้น
ฟังแล้วอย่าพึ่งเกิดอารมฌ์ร่วมเหมือนดูบ้านทรายทองครับ มันมิได้แย่ขณะนั้น (It was not that bad) ท่ามกลางพายุและอุปสรรค ยังมีมิตรไมตรีครับ ในปีที่รังสิตรับนักศึกษารุ่นแรก พี่ ๆ ที่ไปเป็น mentor ให้ ไปจากรามาฯครับ และมาถึงปัจจุบัน กาลเวลาก็ได้พิสูจน์แล้วว่า แพทย์ที่จบจากโรงเรียนใหม่ ไม่ได้น้อยหน้าใคร และแพทย์รังสิต ก็เป็นหนึ่งในสิบสามเข็มเพื่อนเราแล้วนี่ครับ

ผมสรุบบทเรียนให้ตัวเองจากการนั่งรำลึกประวัติศาสตร์ตามคำชวนของคุณเว่อร์ไว้ว่า เรามีความเชื่อที่แข็งแรงอยู่ประการสองประการ
การเข้าเรียนแพทย์กระทำได้-ก็ต่อเมื่อ-คุณได้รับชัยชนะในการสอบแข่งขัน
ถ้าคุณฉลาดและเรียนเก่ง คุณน่าจะประสบชัยชนะในการสอบเอ็นทร้านซ์
สองประโยคข้างบนพอรวมความกันเข้า มันเป็นตัวตน เป็นความทรนงของคนเรียนแพทย์เลยละครับ การไปรังแกความเชื่อที่เป็นรากแห่งตัวตน ย่อมก่อปฏิกิริยาที่รุนแรงเป็นธรรมดา มันคล้ายกับประโยคที่ว่า คุณจะเป็นแพทย์ที่ดีได้ ก็ต่อเมื่อคุณทำงานในชนบท น่ะแหละ

ลองประเมินทัศนะของตัวเองเกี่ยวกับประเด็นข้างบนดูสิครับ ผมเองขอสารภาพว่าเคยถือมั่นเช่นนั้นมาก่อน ไม่รู้เป็นเพราะผมอายุมากขึ้น หรือเป็นเพราะผมมีโอกาสสอนหนังสือ ทัศนะในปัจจุบันมันกลับกลายเป็นว่า เราไม่ได้ต้องการอัจฉริยะมาเรียนเป็นแพทย์หรอก เพราะงานส่วนใหญ่ของแพทย์ เป็นการใช้ความรู้สำเร็จรูป ทักษะฝีมือและความเก๋า (ผมเชื่อว่าจะมีคนเถียงว่าแพทย์ต้องรู้จักสังเคราะห์ความรู้ด้วย - จริงครับแต่น้อยกว่า โดยสันดาน งาน และเวลา) โดยสรุป แพทย์มีบทบาทเป็น knowledge user ซะมาก คนที่มาเรียนแพทย์ก็ขอให้อ่านหนังสือออก มีพื้นฐานทางชีววิทยาและภาษาอังกฤษที่ดี ผมเชื่อว่าน่าจะพอครับ ผมจำไม่ได้ว่าผมใช้ความรู้ในสูตรการเคลื่อนที่แบบพาราโบล่าในส่วนไหนของการเรียนแพทย์ คุณสมบัติที่สำคัญที่เขาไม่ได้สอบแต่จำเป็นมากคือความมุ่งมั่นตั้งใจ ความเชื่อมั่นศรัทธาในวิชาชีพนี้ และวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต (ความรู้เกี่ยวกับสงครามอ่าว สวนโมกข์ เลสลี่จาง ฯลฯ ที่อาจารย์นกไฟว่านั่นและครับ)

พี่ว่าว




Posted by : พี่ว่าว , Date : 2003-04-11 , Time : 06:27:16 , From IP : ppp-203.118.70.144.r

ความคิดเห็นที่ : 13


   ตอนแรกที่มาตอบเนี่ยคิดว่าจะโดนเกลียดซะแล้ว
สไตล์เราค่อนข้างจะดุดัน
แต่ไม่ได้เกลียดลิ้มนะ
แต่อยากตีเหล็กให้ดีต้องตีร้อนๆ
อ.นกไฟ และ พี่ว่าวคุณเยี่ยมมาก
เป็นบุญของมอ.

ฝากถึงทุกคน
อีโก้ จอมปลอม
มาเข้าสิงเรา หลังจาก
เอนติด
กูแน่
ทุกคนคิด ไม่มากก็น้อย
แรงมากตอนเรียนและจบใหม่ๆ
บางคนก็แกะไม่ออกไปชั่วชีวิต
เห็นกันบ่อยไม่มากก็น้อย
เดินสวนกับเรา เล็กเชอร์ให้เราฟัง
พาเราไปround
เชื่อเถอะ เพราะเป็นมาแล้ว
ไม่ดีหรอก

ตายแล้วเหลือศูนย์นะเฟ้ย



Posted by : ไม่เว่อร์แล้ว , Date : 2003-04-11 , Time : 19:21:08 , From IP : 202.22.37.232

ความคิดเห็นที่ : 14


   ขอบคุณทุกคนครับ โดยเฉพาะคุณ(ไม่)เว่ิอร์ ที่มาตอบส่งท้าย

ประโยคสุดท้ายที่คุณว่ามาใช้ไม่ได้หรอกครับ
เพราะเขามักจะตอบกันมาว่า
"ก็ตอนนี้ยังไม่ตายนี่หว่า"
อย่างนี้เขาเรียกว่า ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา ครับ


Posted by : ArLim , Date : 2003-04-12 , Time : 03:12:32 , From IP : r84-skaHS1.S.loxinfo

ความคิดเห็นที่ : 15


   ฮ่า ฮ่า ฮ่า
อืม มาขำให้นะ


Posted by : เว่อร์ , Date : 2003-04-14 , Time : 04:14:41 , From IP : 202.22.37.77

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.011 seconds. <<<<<