ความคิดเห็นทั้งหมด : 14

Debate LVII: Palliative Care คืออะไร? แพทย์ควรทราบเรื่องนี้หรือไม่?


   ขณะนี้ที่ มอ. กำลังมี International conference เป็นครั้งแรกในประเทศไทยเรื่อง Palliative Care ซึ่งกล่าวไปว่าครอบคลุมหัวข้อที่เกี่ยวข้องไว้เกือบทั้งหมด เลยอยากสอบถามความสนใจและความเห็นในเรื่องนี้จากสภากาแฟแห่งนี้ดูบ้างว่าคิดอย่างไรกับคำๆนี้ กับเรื่องนี้ และคิดว่าแพทย์ทั่วไปควรจะรู้เรื่องนี้มากน้อยเพียงใด

กติกาเดิม Be Mature, Be Positive, and Be Civilized



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-03 , Time : 20:56:18 , From IP : 172.29.3.254

ความคิดเห็นที่ : 1


   มีประโยชน์ครับ ควรรู้ถึงระดับที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมั่นใจ


Posted by : megumi , Date : 2004-02-04 , Time : 02:24:37 , From IP : 172.29.1.151

ความคิดเห็นที่ : 2


   ..........เห็นด้วยกับพี่ Megumi คับ....:D...:D
......ในปัจจุบันนี้ยังคงมีโรคที่เราไม่สามารถรักษาได้อีกพอสมควรครับ.....บางโรคก็ทำได้แค่ประตับประคองอาการเท่านั้น...มีความจำเป็นอย่างมากครับมราแพทย์ผู้รักษายังคงต้องอาศัยความรู้ในด้านนี้.....เพราะนอกจากการดูแลผู้ป่วยจะเป็นสิ่งสำคัญแล้ว.....การให้การดูแลแก่ครอบครัวและให้ความเข้าใจเป็นสิ่งที่สำคัญมากครับ......นอกเสียจากว่าอีก 1000 ปีข้างหน้าเราสามารถรักษาได้ทุกโรคโดยไม่มีคนตาย.....นั่นอาจจะทำให้สาขาวิชานี้สาบสูญไปได้ครับ.....แต่คงยากนะผมว่า....:D...:D



Posted by : Death , Date : 2004-02-04 , Time : 10:14:30 , From IP : 172.29.3.170

ความคิดเห็นที่ : 3


   หลักของการรักษาโดยทั่วไป outcome สุดท้ายมักจะลงท้ายด้วย 3 C ดังต่อไปนี้
1. Cure รักษาแล้วหายไม่มีโรค
2. Care รักษาแล้วยังอาจจะต้องให้การดูแลต่อเนื่องต่อไปไม่หายขาดแต่ต้องการดูแล
3. Cope รักษาแล้วก็ไม่มีทางหาย นอกจากนี้ยังต้องช่วยประคับประคองอาการทั้งทางด้านกายใจเพื่อจะให้เผชิญกับปัญหาต่างๆที่อาจจะตาม
ในการดูแลรักษาควรจะมี 3 C นีั้้อยู่ในใจเพื่อที่จะได้วางแผนการดูแลรักษาต่อไป


Posted by : อะคร้าว , Date : 2004-02-04 , Time : 16:22:14 , From IP : 172.29.3.173

ความคิดเห็นที่ : 4


   ขอบพระคุณทุกๆท่านที่กรุณาเสนอความเห็นครับ

ระยะหลังการประชุมแพทยศาสตร์ศึกษาหลายต่อหลายครั้งมีการพูดถึงปัญหาที่น่าเป็นห่วงคือ professionalism ของอาชีพแพทย์ว่ากำลังหายหกตกหล่นลงไปจากที่ควรจะเป็น ทั้งนี้เเพราะปริมาณ service ที่มากขึ้นกว่าจากสมัยก่อนมากมาย ทำให้สถานการณ์ในอุดมคติที่แพทย์ควรจะ approach ผู้ป่วยอย่างไรนั้นถูก compromise ลงจากจำนวนคนไข้ จากเวลา ผมมีความเห็นว่า Palliative care นี่แหละอาจจะเป็นคำตอบ

Palliative Care ก็เหมือนกับสาขาวิชาย่อยอื่นๆของการแพทย์ คือมีองค์ความรู้ มีนิยาม มีข้อพึงปฏิบัติ มีทฤษฎี basic science แต่ที่เป็นข้อพิเศษของสาขาวิชานี้คือตัวที่เรามาใช้ประเมินในทางปฏิบัติคือการที่ผู้ป่วยรู้สึกอย่างไร การที่ญาติผู้ป่วยรู้สึกอย่างไรเป็นสำคัญ และเมื่อไรก็ตามที่ไม่ทราบคำตอบ resource เดียวที่ reliable มากที่สุดคือ "ถามจากคนไข้" ดูว่าเขาจะเอายังไง นอกจากนี้ Palliative Care ยังคล้ายๆจิตเวชศาสตร์ตรงที่ทฤษฎีหลายๆทฤษฎีนั้นมีข้อยกเว้นมากมาย และบางครั้งเราอาจจะพิจารณาสังคมศาสตร์และศาสนศาสตร์หรือเศรษฐศาสตร์ก้มีความเกี่ยวข้อง นั่นคือ กึ่งๆ social science นั่นเอง ที่เราจะได้ยินได้ฟังจากการประชุมวิชาการทาง Palliative Care คือการมองเห็นว่าผู้ป่วยแต่ละคนจะถูกเรียกโดยชื่อ จะมีครอบครัว จะมีปัญหาทางบ้านทางเศรษฐกิจ และต้องการสหวิชาชีพในการดูแลจึงจะประสบความสำเร็จ พูดไปพูดมาก็คือ Palliative Care นี่แหละคือ model of professionalism ที่เรากำลังหากันอยู่



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-04 , Time : 17:19:20 , From IP : 172.29.3.227

ความคิดเห็นที่ : 5


    palliative care มีใจความสำคัญอยู่ที่ว่า สำหรับความเจ็บป่วยหรือโรคที่มนุษย์คนหนึ่งประสบ หากเราไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ ทีมผู้รักษาจะทำอย่างไรให้เขาสามารถมีชีวิตอยู่กับความเปลี่ยนแปลงของสังขารนั้นได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด หรือหากสังขารกำลังเปลี่ยนไปในทางเสื่อมถอยจนคาดว่ากำลังจะต้องจากไป ผู้ป่วยจะถูกนำให้เผชิญกับความตายอย่างไรโดยที่เขายังมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ไม่โดดเดี่ยว ไม่กังวล นี่น่าจะเป็นเรื่องหลักของการดูแลแบบประคับประคอง
การดูแลในแนวทางดังกล่าวสามารถที่จะประยุกต์(และควรจะถูกประยุกต์)ใช้กับโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายขาดในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความพิการแต่กำเนิด ความเจ็บป่วยเนื่องจากมะเร็ง อัมพาต หรือโรคติดเชื้อ และเมื่อกล่าวถึงมรรควิธี แพทย์ทุกแขนง ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งต้องดูแลผู้ป่วยทุกสาขา สามารถที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการดูแลแบบประคับประคอง ในทางศัลยศาสตร์ มีการผ่าตัดทีเป็น palliative surgery เช่นการผ่าตัดลัดทางเดินอาหารโดยใช้กระเพาะเข้าทดแทนในผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหาร ในทางวิสัญญีวิทยา มีการรักษาความเจ็บปวดเรื้อรังที่เกิดเนื่องจากก้อนมะเร็งด้วยการฉีดยา หรือฝังเข็ม รังสีแพทย์ฉายรังสีเพื่อชะลอการเติบโตของก้อนเนื้องอก เหล่านี้เป็น palliation
นอกจากวิธีการทางชีววิทยา การดูแลทางจิตสังคม (Holistic care) ไปพร้อมกันไม่อาจละเลยเนื่องจากผลกระทบของโรคที่เชื่อมโยงไปยังสภาพจิตใจของผู้ป่วย ญาติพี่น้อง ชีวิตการงาน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การสร้างสมดุลย์ใหม่ให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้จึงจำเป็นต้องพิจารณาไปพร้อมกันทั้งหมด และเนื่องจากประเด็นของการประคับประคองเป็นการดูแลแบบองค์รวมเช่นนี้ การดูแลทางเลือก (alternative medicine) เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะเข้ามาเสริมการประคับประคองทั้งทางกายและใจ
ผมเชื่อว่าการเรียนรู้เรื่องของการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่ดีที่สุดคือเรียนจากผู้ป่วย ทำความเข้าใจจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครอบครัวของเราเมื่อมีญาติเราป่วย เรียนจากความรู้สึกของเราเองเมื่อเราไม่สบาย รวมทั้งการสร้าง holistic mind ให้เกิดกับผู้ให้บริการทางการแพทย์ อย่างน้อยจะต้องเข้าใจว่าเป้าหมายของการรักษา ไม่ใช่คำว่าหายอย่างเดียว และคนไข้ที่หายจากโรคไม่ได้ ก็มีสิทธิ์ที่จะมีความสุขได้ เข้าใจว่าโรคที่เกิดกับคนไข้คนหนึ่ง ไม่ได้กระทบเขาชีวิตเดียว และนอกจากจะเกิดโรคกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นกับ "ความรู้สึก" ของคนไข้ มันอาจรุนแรงไม่แพ้กัน


Posted by : Shonigeka , Date : 2004-02-04 , Time : 17:54:48 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 6


   ผมเคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งของอาจารย์คึกฤทธิ์ เรื่อง "หลายชีวิต" เป็นเรื่องที่เขียนขึ้นมาหลังจากเรือข้ามฟากแม่น้าเจ้าพระยาล่มแล้วผู้โดยสารหลายรายจมน้ำตาย อาจารย์เลยแต่งเรื่องราวเบื้องหลังของผู้โดยสารแต่ละคนว่าเป็นยังไงมายังไงแล้วที่สุดชะตากรรมนำมาให้ตายโหงร่วมกันที่แม่น้ำแห่งนี้ ถ้าจำไม่ผิดรู้สึกจะมีคนทำเป็นละครทีวีเป็นตอนๆด้วย

บางครั้งชีวิตคนก็ถูกมองเป็นแค่ตัวเลขทางสถิติหรือแค่ข่าวย่อยทางหน้าหนังสือพิมพ์อย่างข้างบน ผมชอบหนังสือเล่มนี้มากทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เข้ามาเรียนแพทย์ (ถ้าความทรงจำยังใช้ได้ ผมอ่านหนังสือหลายชีวิตนี่ตอนยังเด็กๆเลย) กลับไปอ่านใหม่ มุมมองต่อคนไข้ ต่อผู้ป่วยเปลี่ยนไปอย่างมากมาย แล้วมาสำทับโดยอาจารย์ผู้ใหญ่สมัยนั้น ที่สั่งนักสั่งหนาว่าอย่าเรียกคนไข้เป็นเบอร์ๆ (เช่น เตียงเจ็ดสบายดี วันนี้จะให้เตียงห้ากลับบ้าน) อย่าเรียกคนไข้เป็นอวัยวะ (เช่น ไทรอยด์ที่ผ่าเมื่อวานไม่บ่นเจ็บ hernia ก็ปัสสาวะออกดี ส่วน CA breast กำลังไปฉายแสง) หรือเรียกมันไปหมดทุกรายว่า case นี้กำลังยังงี้ๆ case นี้กำลังยังงั้นๆ ให้เรียกชื่อคนไข้ เอาแบบไทยๆก็นับญาติไปเลย ลุงผงาดยังงั้น ป้าถนอมยังงี้ สุกัญญากำลังไปฉายแสง วันนี้ start chemo อุทัย เป็นต้น เพื่อที่เราจะได้สำเนียกว่าเรากำลังทำอยู่กับคน คนที่มีชื่อมีเสียง มีครอบครัว มีคนที่กำลังรอข่าวว่าเขาจะหายหรือจะตายจากโรคที่เรากำลังดูแลรักษาพยาบาลอยู่

ลักษณะ conference ของ Palliative Care จะเด่นตรงนี้ เพราะวิทยากรจะเล่า "รายละเอียด" ของผู้ป่วยเป็นคนๆประกอบ รายละเอียดนี้ไม่ใช้หมายถึงระดับโมเลกุลหรือ signal transduction แต่หมายถึงความเจ็บไข้ได้ป่วยของเขานั้นมีผลกระทบกับ "เขา" จริงๆยังไงบ้าง กับ "ครอบครัว" ของเขายังไงบ้าง และบ่อยครั้งที่การที่เราทราบเรื่องเหล่านี้ สิ่งที่เราสามารถช่วยเขาได้นั้นมากมายอย่างที่เราเองก็คิดไม่ถึง และยิ่งบางครั้งเป็นสิ่งที่เขาจะได้รับจากเพื่อนยมนุษย์ด้วยกันเป็นช่วงสุดท้ายของชีวิต การได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมเหล่านี้ช่วย remind ตัวเราเป็นอย่างดีถึงภาระหน้าที่และปรัชญาแห่งวิชาชีพของเรา



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-04 , Time : 20:20:24 , From IP : 172.29.3.253

ความคิดเห็นที่ : 7


   ไม่หวาดกลัว

แม้รู้ตัว

ว่าต้องตาย



Posted by : ซาดาโกะ , Date : 2004-02-04 , Time : 21:10:47 , From IP : 172.29.3.205

ความคิดเห็นที่ : 8


   มีconference ถึงวันไหนล่ะครับ ผมกลับพรุ่งนี้เย็นจะทันหรือเปล่า

Posted by : ArLim , Date : 2004-02-04 , Time : 21:16:14 , From IP : 203.156.38.24

ความคิดเห็นที่ : 9


   เออ... นะครับชอบคำพูดที่ว่า.. ถึงตอนนี้ผมจะไม่สามารถรักษาคุณให้หายขาดได้แต่ผมพร้อมที่จะอยู่ข้างๆคอยบรรเทาความเจ็บปวดต่างๆให้..ถ้าคุณต้องการ.....
เออ..แต่ไม่ค่อยเห็นน้องนศพ.ไปฟังเลยนะครับ..ทั้งที่เป็นเรื่องที่น่าสนใจ..


Posted by : นะครับ.... , Date : 2004-02-04 , Time : 23:37:58 , From IP : 172.29.3.223

ความคิดเห็นที่ : 10


   วันนี้มีประเด็นน่าสนใจหลายเรื่องตั้งแต่เช้า

Session เช้าประกอบด้วย Grief & Bereavement โดยอาจารย์ลิลลี่ ตามด้วย supportive care โดย อ.จำลอง กล่าวถึงการ support ญาติหลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิต และการ support ผู้ป่วยก่อนจะเสียชีวิต หลังจาก break เช้าก็มี symposium โดยอาจารย์หมออานนท์เป็นผู้ดำเนินรายการในหัวข้อ Spiritual & Cultural Issues in Palliative Care ซึ่งวิทยากรประกอบด้วยตัวแทนจากศาสนาพุทธ อิสลาม และคริสต์ (โรมันคาธอลิก) เอาทีละเรื่องก่อนก็แล้วกัน ส่วนหัวข้อภาคบ่ายเดี๋ยวจะยกไปอีก part นึง

เรื่อง Grief & Bereavement ขออนุญาตทำตามลำดับ PBL คือ Clarify term ก่อน Grief หมายถึง "อารมณ์ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อมีการสูญเสียหรือตายจากไปของบุคคลอันเป็นที่รัก" ส่วน Bereavement หมายถึง "สภาวะเศร้าโศกที่เกิดจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก" คัดจาก Grief & Bereavement หนังสือ "การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย chapter 9 อ.จารุรินทร์ แพทย์บางท่านอาจจะเข้าใจว่าหน้าที่ความรับผิดชอบนั้นสิ้นสุดลงเมื่อผู้ป่วยหายหรือบางกรณีตายไป แต่จริงๆแล้วในกรณ๊แรกอาจจะใช้ได้ แต่กรณีหลังเราจะพบว่าแพทย์พยาบาลสามารถมีบทบาทที่จะช่วยเหลือคนที่อยู่ต่อ นั่นคือญาติของผู้ป่วยที่เสียชีวิตได้อย่างมากมาย ความเข้าใจเรื่องนี้จะช่วยมีผลตั้งแต่ "การเตรียม" ทั้งตัวผู้ป่วยเองและญาติ เพื่อให้การตายนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น sufferless และมี "ศักดิ์ศรี" มากที่สุด การเข้าไปมีสื่อสัมพันธ์ในช่วงสุดท้ายนี้ ให้ความรู้ อธิบายว่าอะไรจะเกิดขึ้นจะเป็นธรรมชาติมากขึ้น และแสดงออกได้อย่างเหมาะสมถ้าเราคิดถึงว่าอะไรกำลังจะเกิด บางคนคิดว่า case cancer ที่กว่าจะตาย ญาติๆก็รู้มาเป็นเดือนๆนั้น ไม่น่าจะเท่าไหร่ แต่จริงๆแล้ว ไม่มีใครคุ้นเคยกับความตายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ พ่อ แม่ ลูก ภรรยา หรือสามี ความรู้สึก grief & bereavement นั้นเป็นเรื่องธรรมดา การเดินเข้าไปบอกญาติเป็นครั้งสุดท้ายนั้นแพทย์จะต้องสามารถสื่อได้ทั้งน้ำเสียง ความเห็นอกเห็นใจ และตระหนักว่าญาติที่เรากำลังบอกนั้นจะตกอยู่ในห้วงอารมณ์แบบไหน และอาจจะมีปฏิกิริยาอย่างไรบ้าง

อันนี้ก็จะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับการที่เราจะ support ผู้ป่วย "และญาติ" (ซึ่งมักจะถูกลืม" ตั้งแต่ให้คำแนะนำ การเตรียมตัวเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้ว ว่ากันตั้งแต่ ระเบียบขั้นตอนพิธีการเอกสารต่างๆควรจะมีที่อำนวยความสะดวกโดยจัดให้มีปัญหาน้อยที่สุด รับฟังความต้องการสุดท้ายของทั้งผู้ป่วยและญาติ และจัดหาอะไรเท่าที่เราสามารถทำได้ ที่เราทำงานกันตั้งแต่จบจนแก่ก้เพื่อบำนาญที่จะได้อยู่สบาย แต่ที่ทุกๆคนต้องการเหมือนๆกันคือการตายดี ตรงนี้สายอาชีพของเราจะมีบทบาทสำคัญโดยตรงที่จะทำให้มันเกิดขึ้น ซึ่งเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่ผมว่ามีเกียรติสงสุดที่อาชีพหนึ่งๆ ที่มนุษย์คนหนึ่งๆพึงกระทำกับมนุษย์อีกคนหนึ่ง นั่นคือ ความเคารพในศักดิ์ศรี ความเป็นเอกบุคคล autonomy ของปัจเจก นั่นเอง

ใน session ศาสนานั้น น่าสนใจมาก เพราะหลังจากที่ได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง การความ "ต่าง" ของแต่ละส่วน ที่สุดกลับมาเป็น "ความเหมือน" ได้อ่างน่าประหลาด ซึ่งมองอีกมุมหนึ่งก็อาจจะไม่ประหลาดเท่าไหร่ ถ้าเราพิจารณาว่าศาสนาทุกศาสนา ถึงแม้จะมีส่วน "สัจธรรม" ที่อธิบาย ultimaet question บางอย่างไม่เหมือนกัน แต่ในอีกส่วนสคัญ คือ "จริยศาสตร์" นั้น คือ อะไร ควร ไม่ควร ที่มนุษย์พึงกระทำต่อกัน มันก็ไม่น่าจะต่างกันอยู่แล้ว

เป็น session หนึ่งที่มีประโยชน์มากที่สุดของประชุมวิชาการเท่าที่เคยรับฟังมาทีเดียว



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-05 , Time : 18:39:38 , From IP : 172.29.3.241

ความคิดเห็นที่ : 11


   Session บ่าย

มีบรรยายโดยพี่อานนท์เรื่อง communication skill ซึ่งถึงแม้ผมจะตั้งใจติดตามและรับฟังเป็นครั้งที่สี่แล้ว ผมก็ยังติดใจและประทับใจทุกครั้งในสิ่งละอันพันละน้อยค่อยๆมารวมตัวและดำเนินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ คราวนี้ประเด็นที่สำคัญและ set theme สำหรับตลอดบ่ายคือการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสองช่วงสำคัญคือตอนบอก prognosis และตอนที่ผู้ป่วยกำลังจะเสียชีวิต

มีการเตรียมหลายอย่างที่ต้องกระทำ ได้แก่
๑) ใครจะเป็นคนบอกและใครจะอยู่ด้วยบ้าง จะบอกตอนไหน ที่ไหน อย่างไร
๒) ผู้ป่วย (หรือญาติ) รู้อะไรมากน้อยแค่ไหน
๓) ผู้ป่วย (หรือญาติ) "ต้องการ" จะรู้อะไรมากน้อยแค่ไหน
๔) พูดสั้น ได้ใจความ ไม่เยิ่นเย้อ
๕) เตรียมรับสถานการณ์ ปฏิกิริยาที่จะเกิดอย่างสงบ และอย่างมืออาชีพ
๖) เตรียมตอบคำถามที่เป็นไปได้ว่าจะถูกถาม และตอบโดยใช้หลักวิชา

การสื่อสารเรื่องนี้ไม่ง่ายทีเดียว และผมไม่คิดว่าคนที่ไม่เคยฝึกเรื่องนี้โดยตรงสามารถทำได้ดีและครบถ้วนอย่างที่ผมได้รับฟังวิทยากรหลายๆท่านในงานนี้ได้รวบรวมและแนะนำไว้ ตรงนี้คิดว่าถ้ามี session ต่างหากครั้งต่อไป เรื่องนี้ก็เป็นอีกหัวข้อหนึ่ง (ในบรรดามากมายหลายหัวข้อ) ที่เราอาจนำมาพิจารณาจัดเป็นพิเศษ แพทย์เจ้าของไข้ พยาบาลประจำ ward ญาติ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ซ้อใหญ่" หรือ surrogate relative) ก็ควรจะอยู่กันพร้อมหน้า และแน่นอนที่สุดคือผู้ป่วยเอง จัดสถานที่ให้เงียบสงบเป็นส่วนตัว ในกรณีเผื่อว่าจะมีใครระบายความรู้สึกข้างในออกมา ให้แน่ใจว่าทีมแพทย์ พยาบาล และผู้รับหน้าที่บอกข่าวนั้นมีเวลาพอสมควรที่จะอยู่กับทีมผู้ป่วยและญาติ ไม่ใช่เดี๋ยวมีโทรศัพท์มาตาม หรือต้องวิ่งไปทำอย่างอื่น ปล่อยให้ผู้ป่วยค้างเติ่ง พูดอะไร ถามอะไรไม่ได้

ถามก่อนว่ารู้มาแล้วขนาดไหน จะได้ไม่ให้อะไรตูมเดียวตกใจจน shock ข่าวบางข่าวต้องใช้เวลา ข่าวบางข่าว "ควร" ใช้เวลาให้ผู้ป่วยค่อยๆซึมซับความจริง

ถามด้วยว่าต้องการรู้มากขนาดไหน ไม่ใช่เตรียมมา Lecture pathophysiology หรือเตรียม references แบบ evidence-based levels ต่างๆมายี่สิบ papers ก็จะพูดออกมาให้หมด อย่าลืมว่าข่าวที่เขากำลังฟังนั้นยิ่งใหญ่ และมีผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกรุนแรง very unlikely ที่ผู้ป่วยและญาติจะมีอารมณ์ฟัง lecture ยาวๆ

หลังจากนั้นก็สื่อด้วยการให้แน่ใจว่าผู้ป่วยและญาติ "เข้าใจ" ในข่าวอย่างแม่นยำ ถูกต้องทุกอย่าง สั้น ได้ใจความ ด้วยภาษษที่เข้าใจง่าย (โดยผู้ป่วย) ถ้าต้องมีล่าม ก็ให้แน่ใจว่าล่ามเราเข้าใจใสนความหมายของคำสำคัญๆของเราทั้งหมดก่อนจะอธิบาย ตรงนี้อาจจะต้องเตี๊ยมล่ามก่อนด้วยว่าล่ามเข้าใจเรามากน้อยแค่ไหน

พอให้สื่อ หรือข่าวส่วนสำคัญไปแล้ว อย่าพึ่งจบดื้อๆ รอพิจารณาและเฝ้าดูปฏิกิริยาของผู้ป่วยและญาติก่อน หนึ่งคือ เข้าใจไหม สองคือมีปฏิกิรกยาอย่างไร สามคือดูว่าเขาต้องการอะไรเพิ่มเติมบ้าง ส่วนใหญ่ของแบบนี้จะมี set ขอ_คำถามที่ตามมาอยู่แล้ว เช่น จะอยู่ได้นานอีกเท่าไหร่ ไม่มีวิธีไหนในการรักษาอีกแล้วเหรอ วิธีที่ไม่แน่ใจหรือยังไม่ศึกษาแต่อาจจะ work มีไหม เราก็ให้คำตอบไปอย่างรวบรัด ชัดเจน และตามหลักวิชาการแพทย์ ถ้าผู้ป่วยหนรือญาติต้องการ counselling ก็ทำไปเลย หรือเสนอว่าต้องการจะคุยกับทีม palliative care nurse หรือไม่ ฯลฯ

ผมคิดว่าเราคงไม่ต้องไปถึงระดับอภิปรายเรื่อง NR หรืองานศพอะไรในตอนนี้ (แต่สามารถทำได้ และควรทำ ใน session ต่อๆไปในอนาคต)

เดี๋ยวจะมาสรุปเรื่องกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับ Palliative Care



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-05 , Time : 21:46:46 , From IP : 172.29.3.239

ความคิดเห็นที่ : 12


   หากนักศึกษาแพทย์จะเข้าฟังต้องเสียค่าลงทะเบียนด้วยหรือเปล่าครับ

ค่าลงทะเบียนแพงจัง


Posted by : ArLim , Date : 2004-02-06 , Time : 02:52:00 , From IP : 202.183.151.115

ความคิดเห็นที่ : 13


   เนื่องจากได้เชิญวิทยากรที่มีประสบการณ์เรื่องนี้มากว่า 20 ปีทั้งในและต่างประเทศจึงเกิดค่าใช้จ่ายขึ้น แต่ผมเข้าใจว่า นศพ.สามารถ observe ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

เช้าวันนี้เป็นของ Dr Shaw กับ Dr Cynthia จะพูดเรื่องการสอน Palliative Care concept ให้ health-care workers (อันนี้เหมาะสำหรับอาจารย์แพทย์ และพยาบาลชุมชน) กับการ validate results (อันนี้อาจจะเหมาะสำหรับผู้บริหาร) วันนี้บ่ายเป็น workshop ซึ่งอาจจะเต็มแล้ว มี musical therapy, massage therapy, communication skill (ซึ่งมีคนลงทะเบียนทะลักไปมากกว่าเดิมที่กำหนดไว้ ไม่รู้พี่อานนท์กับอ.ลิลลี่จะจัดการยังไงเหมือนกัน)

เผอิญวันนี้จะไปกรุงเทพฯ เลยอดฟังแม้แต่อันเดียว สงสัยต้องมาดู video ทีหลัง



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-06 , Time : 06:43:53 , From IP : 172.29.3.202

ความคิดเห็นที่ : 14


   สำหรับตัวกฏหมายจริงๆที่จะเกี่ยวข้อง ก็คงจะเป็นคำสั่ง NR (ขออนุญาตใช้ technical term ตลอด เพราะกระทู้นี้ไม่ได้ล็อค) การกระทำ "active euthanasia" นั้น ในประเทศไทยยังถือว่าผิดกฏหมายอยู่อย่างแน่นอน

จริงๆแล้วหัวข้อนี้จะอยู่ในหัวข้อใหญ่ last hours of life care ซึ่งมีคนพูดหลายคนตั้งแต่วันแรกเลยที่เดียว ตั้งแต่ Prof. Maddocks, Dr Shaw, Dr Cynthia และอ.อานนท์ อ.จำลอง โดยรวมคือการรักษาตอนนี้จะมีการตั้งเป้าหมายใหม่ ไม่ใช่ curative หรือ ผป.กลับบ้านหายดีอีกต่อไป แต่เป็นการจัดฉากสุดท้ายที่เหลืออยู่ให้สมศักดิ์ศรีความเป็นคน ความเป็นมนุษย์ เป็นการดูจุดหลักคือ relieve of suffering ทั้งหมด และทุกพิสัยได้แก่ กาย จิตใจ จิตวิญญาน และสังคม การกระทำใดๆที่เป็น aggressive ว่ากันตั้งแต่การใส่น้ำเกลือ การใส่ NG-tube การคาสายต่างๆ เช่น Foley นั้นหลีกเลี่ยงได้จะเป็นการดี เรื่องความเจ็บปวดก็ควรจะจัดการให้หายไป แต่ถ้าเป็นไปได้ก็ต้องให้ผู้ป่วยยังรู้สติ ยังทำกิจกรรมต่างๆที่อยากจะทำในช่วงชั่วโมงสุดท้ายนี้กับญาติของตนเองได้ ปริมาณสารน้ำควรจะรักษาอยู่ค่อนไปทาง dehydrated มากกว่าจะทำให้ overhydrated เพราะปัญหาพวก stridor จาก terminal restlessness นั้นส่วนหนึ่งเกิดจาก secretion นี่เอง

ที่เราควรจะทำอย่างที่ อ.แสวง (ผู้บรรยายเร่องกฏหมาย) คือการตกลงคุยกับญาติให้เรียบร้อยถึงสิ่งที่กำลังจะเกิด ข้อดีข้อเสียของหัตถการต่างๆ การให้อาหารแบบต่างๆ หรอืการรักษา ให้ยาแบบต่างๆว่า "ผู้ป่วย" จะได้ประโยชน์จริงๆแล้วมากน้อยแค่ไหน และอธิบายให้เข้าใจว่าทำไมอาจจะดูเหมือนเราให้การรักษาน้อยไป ซึ่งจริงๆแล้วผู้ป่วยไม่ได้ทรมานอย่างที่อาจจะเข้าใจ แต่กลับจะทรมานมากกว่าหากต้องให้การรักษาที่ aggressive เกิดกว่าเหตุ การคุยกับญาตินี้ก็ต้องเข้าใจทุกฝ่าย และควรจะให้ทีมที่เกี่ยวข้องอยู่ครบ ทั้งทีมจะได้รู้ว่าการตัดสินใจนี้มาจากการปรึกษากันเรียบร้อยแล้ว แต่อย่าลืมว่าทุกอย่างที่ตกลงกันนี้ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ภายหลังนะครับ ไม่ใช่ sign NR, Discharged จากโรงพยาบาลแล้วเขาจะกลับมาที่ ER ใหม่แล้วเราจะไม่รับ acute suffering ยังไงๆเราก็ต้องให้การรักษา และผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนใจได้ตลอดเวลา การเซ้นอะไรเหล่านี้ไม่ใช่หนังสือสัญญา ถ้าเราทำอะไรที่ถึงแม้ไม่ผิดต่อหลักกฏหมาย แต่ก็ยังถูกฟ้องว่าผิดหรือออกนอกกรอบจรรยาบรรณวิชาชีพที่พึงกระทำได้ ตรงนี้แหละที่จะทดสอบว่าทีมการรักษามีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยและญาติแค่ไหน ในกรณีที่ดีมากเราแนะนำอะไรไปเขาก็จะรับได้อย่างง่ายดาย



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-06 , Time : 21:46:17 , From IP : 172.29.3.223

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<