ข้อมูลวิชาการ สถานการณ์น้ำท่วมของภาคใต้ ต.ค.2554-ม.ค.2555 น่าเป็นห่วงมาก" /><b><font color="maroon">ข้อมูลวิชาการ สถานการณ์น้ำท่วมของภาคใต้ ต.ค.2554-ม.ค.2555 น่าเป็นห่วงมาก</font></b>

ความคิดเห็นทั้งหมด : 0

ข้อมูลวิชาการ สถานการณ์น้ำท่วมของภาคใต้ ต.ค.2554-ม.ค.2555 น่าเป็นห่วงมาก


   ย้อนการศึกษาของนักวิชาการหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เตือนก่อนเกิดมหาอุทกภัยของประเทศไทย และให้ระวังภาคใต้+หาดใหญ่จะถึงคิวต่อไป !

นักวิชาการหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ หวั่นไทยพบวิกฤตมหาวาตภัยหนัก 54 จากลานีญาที่ต่อเนื่องจากปี 53 ทำให้ร่องมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพาดผ่านหลายพื้นที่ ซ้ำยังพบพายุโซนร้อนลูกใหม่ ที่กำลังจะพัดเข้าภาคอีสานของไทยใน 1-2 วันนี้

วันนี้ (4 ต.ค.) เวลา 13.30 น.ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล เจ้าหน้าที่หน่วยศึกษาพิบัติภัย และข้อสนเทศเชิงพื้นที่ จุฬาฯ กล่าวถึงสภาพการแปรปรวนของภูมิอากาศแบบผกผันของไทยที่เกิดขึ้นอย่างหนักในปี 2554 ว่า สภาวะฝนตกเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างมาก จากการศึกษาแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยาชั้นนำของโลก พบว่า ในอนาคตสภาพการแปรปรวนของภูมิอากาศจะแปรปรวนมากขึ้น เห็นได้ชัดว่าภายในห้วงระยะเวลากว่า 2 เดือนเศษ พื้นที่กว่า 40 จังหวัดทั่วประเทศตั้งแต่ภาคเหนือ และภาคกลาง โดยเฉพาะในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากำลังเผชิญน้ำท่วมรุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี และในเร็วๆ นี้ พายุโซนร้อน NalGae กำลังจะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย

"ล่าสุด จากข้อมูลที่พบในแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ ทำให้เห็นว่า กำลังจะมีพายุโซนร้อน NalGae ซึ่งมีจุดศูนย์กลางปกคลุมทะเลจีนใต้ตอนบน มีทิศทางพัดผ่านเข้ามาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยจะพัดเข้าประเทศเวียดนามก่อนในช่วงเที่ยงของวันพรุ่งนี้ (5 ต.ค.) และจะพัดเข้าประเทศไทยประมาณวันที่ 6-7 ต.ค.ซึ่งจะก่อให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ เพราะเขื่อนเก็บน้ำต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ปริ่มเต็มเกือบทั้งหมด และมีคำเตือนให้ระวังดินถล่มในจังหวัดเพชรบูรณ์ จากนั้นพายุจะอ่อนกำลังลงประมาณวันที่ 9 ต.ค.ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรีบวางแผนเตรียมการรับมือ และมีการเตือนภัยให้ทันท่วงที” ศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าว

ศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า สถานการณ์น้ำปี 2554 เกิดวิกฤตหนักภายหลังจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่ต้นปีมีกำลังแรงมากกว่าปกติ อันเนื่องจากอิทธิพลของปรากฏการณ์ลานีญาที่ต่อเนื่องจากปี 53 ทำให้ร่องมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพาดผ่านหลายพื้นที่ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา อีกทั้งได้รับปริมาณน้ำฝนเพิ่มเติมจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนไหหม่า พายุนกเตน และล่าสุด กับพายุ NalGae เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ซ้ำเติมปัญหาน้ำท่วมที่หนักอยู่แล้วให้รุนแรงมากขึ้นกว่าทุกๆ ปีที่ผ่านมา

“จากการศึกษาเรื่องพายุที่มีจุดกำเนิดในทะเลจีนใต้ กับปรากฏการณ์ลานีญาของปี 2554 พบว่า มีข้อมูลบ่งชี้ว่า สถานการณ์น้ำท่วมของภาคใต้จากนี้ไป 2-4 เดือน (ต.ค.-ม.ค.) น่าเป็นห่วงมาก มีแนวโน้มสูงที่ภาคใต้และอำเภอหาดใหญ่จะเผชิญฝนตกหนักจากลานีญา เหมือนในปี 2518, 2531, 2543 และอาจจะมีพายุพัดถล่มเหมือนปี 2505 ที่แหลมตะลุมพุก, 2532 พายุเกย์ที่ชุมพร และปลายปีที่แล้ว 2553 รวมทั้งเรื่องดินถล่มก็เป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้และอาจจะเป็น “มหาอุทกภัยปี 54” ของภาคใต้อีกปีหนึ่ง” ศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าว

ศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวเสริมว่า ผลงานทางวิชาการเหล่านี้อยากให้ไปถึงมือผู้บริหาร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เนื่องจากนักวิชาการมีข้อมูลจริงที่มีประโยชน์พร้อมสรรพ และอยากให้รัฐลงทุนไปกับการแก้ปัญหานี้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ใช่เพียงว่าการมีพิบัติภัยเกิดขึ้นกลายเป็นข้ออ้างให้มีโครงการใหม่ๆ แล้วยิ่งไปซ้ำเติมพิบัติภัย ซึ่งเห็นว่าไม่ควร

* หมายเหตุ : ลานีญา เป็นปรากฏการณ์ที่ตรงข้ามกับเอลนีโญ กล่าวคือ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณเส้นศูนย์สูตรในมหาสมุทรแปซิฟิกกลางและตะวันออกมีค่าต่ำกว่าปกติ ทั้งนี้ เนื่องจากลมค้า (trade wind) ตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดอยู่เป็นประจำในแปซิฟิกเขตร้อนทางซีกโลกใต้ (ละติจูด 0.03 องศาใต้) มีกำลังแรงกว่าปกติ จึงพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออก (บริเวณฝั่งเอกวาดอร์ เปรู และชิลีตอนเหนือ) ไปสะสมอยู่ทางแปซิฟิกเขตร้อนตะวันตก (บริเวณชายฝั่งอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย) มากยิ่งขึ้น จึงทำให้ทางแปซิฟิกเขตร้อนตะวันตกซึ่งแต่เดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและระดับน้ำทะเลสูงกว่าทางแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกอยู่แล้ว กลับยิ่งมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและระดับน้ำทะเลสูงกว่าทางแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกมากยิ่งขึ้นไปอีก มีผลทำให้ทางแปซิฟิกเขตร้อนตะวันตกมีปริมาณฝนมากขึ้น ขณะที่ทางแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกจะมีความแห้งแล้งรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน ปรากฏการณ์ลานีญาจะเกิดโดยเฉลี่ย 5-6 ปี ต่อครั้ง และแต่ละครั้งกินเวลานานประมาณ 1 ปี

ที่มา คลิกที่นี่






Posted by : ช่วย , Date : 2011-10-19 , Time : 08:17:44 , From IP : 172.29.1.144

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<