ความคิดเห็นทั้งหมด : 4

เรียนลุงนก....


   วันนี้นะครับ...เข้าฟังpalliative careแต่ด้วยความสามารถอันต้อยต่ำจึงฟังไม่ค่อยเข้าใจ....อยากให้ลุงนกช่วยสรุปประเด็นให้หน่อย..นะครับ...รักลุงนกจังเลย...ลุงนกใจดีที่สุดเลย....

Posted by : นะครับ.... , Date : 2004-02-03 , Time : 16:43:38 , From IP : 172.29.3.245

ความคิดเห็นที่ : 1


   ทิ้งโน้ตย่อไว้ที่โรงพยาบาล ไว้จะสรุปให้หลังงานเลยดีไหมครับ? ดีใจมากครับที่น้องเข้าฟัง Palliative care



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-03 , Time : 20:15:57 , From IP : 172.29.3.254

ความคิดเห็นที่ : 2


   OK ผมได้ note ย่อของผมกลับมาแล้ว เนื่องจากวันพรุ่งนี้ต้องไปประชุมที่อื่น จึงไม่ได้เข้าร่วม palliative care workshop ที่เหลือ ขออนุญาตสรุปวันนี้ก็แล้วกันนะครับนะครับ

session แรก Prof. Ian Maddocks ได้ปูพื้นฐานที่น่าสนใจมากสำหรับวิชา Palliative Care คือแกเริ่มด้วย "Symptoms" ของผู้ป่วยก่อนว่าเป็นสิ่งที่แพทย์พยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์ "มีหน้าที่" จัดการ
Pain = Feeling of the Patients
ตรงนี้ดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่จริงๆแล้วคือ "หัวใจ" ของ Palliative Care เลยทีเดียว สิ่งที่เรากำลัง deal ด้วยก็คือ "ความรู้สึก" ของ "ผู้ป่วย" ความรู้สึกนี้โดยชื่อก็เป็น subjective อยู่แล้ว ฉะนั้นไม่ต้องไปเถียงกับคนไข้ว่าหมอวัดชีพจรแล้วไม่เห็นเร็ว เหงื่อไม่เห็นออก จะปวดได้ยังไง ถ้า "ผู้ป่วย" พูดว่าฉัน "รู้สึก" ก็จบแค่นั้น เราต้องไป "ประเมิน" ว่าเกิดจากอะไร และเราสามารถจะช่วยกันได้มากน้อยแค่ไหน

ตารางกลุ่มอาการที่ Prof. Maddocks แสดงมานั้นน่าสนใจมาก ลำดับความสำคัญที่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายรู้สึกว่าเขาทรมานนั้น ไม่ได้เป็นไปตามที่หมอพยาบาลคิดเลย อันดับหนึ้งถึงห้าได้แก่ weakness, dry-mouth, level of appetite, drowsiness, difficulty in sleeping ถึงจะมาถึงเรื่อง pain อันนี้เป็นการศึกษาในผู้ป่วยตะวันตก และจากรายงานทำนองเดียวกัน ศึกษา คนละที่ คนละประเทศ ลำดับความสำคัญของอาการเหล่านี้ก็จะไม่เหมือนกัน เห็นได้ชัดว่าสามารถถูกกระทบได้โดย เชื้อชาติ ศาสนา สังคม สิ่งแวดล้อม และมีการเปลี่ยนแปลงแม้กระทั่งในคนๆเดียวกันเอง ตาม เวลา บริบทต่างๆกัน

ที่ Prof. Maddocks พูดในตอนสุดท้ายน่าสนใจมากอยู่ตอนหนึ่งคือ practice ที่เราใช้บ่อยๆในผ้ป่วยระยะสุดท้ายคือการ knock ด้วย morphines หรือ cocktails ยาแล้วทำให้ผู้ป่วยหลับไปตลอดนั้น ในอีกมุมหนึ่งเราอาจจะกำลังปฏิเสธโอกาสที่ผู้ป่วยจะได้มี last words กับคนที่ผู้ป่วยรัก หรือถ้าผู้ป่วยต้องการจะทำ unfinished business ใดๆก็ตาม โอกาสช่วงนี้จะเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะทำ และญาติเองก็จะต้องการที่จะใช้เวลาช่วงนี้กับอะไรก็ตามที่ผู้ป่วยจะพูดกับเขา ฉะนั้นยาแก้ปวดที่จะใช้ก้เพียงต้องการระงับอาการปวดแต่ไม่ต้องถึงกับทำให้ผู้ป่วยหลับสนิท ญาติได้แค่ลูบหลังมือไปมาเป็นอาทิตย์ๆ แล้วก็สิ้นชีวิตในอีกสองสามอาทิตย์ต่อมาโดยไม่ได้มีการสั่งเสียอะไรเลย

ประการหนึ่งที่แพทย์พยาบาลหรือญาติอาจจะรู้สึก uncomfortable คือ terminal restlessness ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงชั่วโมงสุดท้าย อวัยวะต่างๆกำลังจะหยุดทำงาน น้ำลายจะกลืนไม่ได้ ปอดจะขับเสมหะหรือ secretion ต่างๆไม่ได้มีเสียงครืดคราดในลำคอ ดูน่ากลัวจะสำลัก ถ้าแพทย์พยาบาลไม่เข้าใจก็อาจจะทำการ intubate หรือใส่ respirator อะไรต่างๆ ซึ่งรังแต่เป็นการยื้อยุดความตายและไม่ได้ทำให้สบายขึ้นแต่อย่างใด ที่สามารถทำได้คือการ keep minimal hydration แก่คนไข้ ถ้าเสียงน่ากลัวมากก็จับผู้ป่วยนอนตะแคงหน้าไปข้างหนึ่ง น้ำลาย หรือ secretion จะไหลลงกระพุ้งแก้ม แล้วก็ใช้ gauze มา swap ซับออกก็พอ อธิบายกับญาติว่าที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา ผู้ป่วยไม่ได้ทรมานแต่อย่างใด

ตรงนี้ก่อนที่จะมีคนรับไปใช้ ต้องเตือนนิดหนึ่ง วิธีเหล่านี้จะใช้เมื่อผู้ป่วยถูกประกาศว่าเป็นระยะสุดท้ายจริงๆ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อรนเท่านั้น และจะมีขั้นตอนในการที่จะต้องอธิบายแก่ผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนที่หมดสติ และกับญาตอทั้งหมดล่วงหน้า รายละเอียดเพิ่มเติมขอยกไปอยู่ในอีกกระทู้เรื่อง Dabate LVII ก็แล้วกันนะครับ

คุณ "นะครับ" จะเสนอความเห็นอะไรก่อนก็ได้ ขอตัวไปกินข้าวก่อน เดี๋ยวจะกลับมาสรุป session อื่นๆในวันนี้ให้ฟังต่อ






Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-05 , Time : 19:11:43 , From IP : 172.29.3.241

ความคิดเห็นที่ : 3


   ใน session บ่ายของ Dr Shaw มีหลายเรื่องด้วยกัน แต่ขอสรุปเอา highlight ที่ผมคิดว่าเราไม่ใคร่ได้มองกันคือ Last Hours of Life

Dr Shaw กล่าวว่าส่งหนึ่งที่ทุกคนมีสิทธิ์และต้องการคือ "การควบคุม" ไม่วาจะเป็นการควบคุมการกิน การนอน การถ่าย การพูด การคิด เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นกับตัวเราและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ทุกคนในที่นี้รวมทั้งแพทย์ด้วย แต่บางครั้ง "การควบคุมได้" ของแพทย์ อาจจะหายถึงการควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนไข้ ตรงนี้เองที่เวส้นกำกับว่าเมื่อไหร่จะล้ำหน้ามันเลือนลางและเลื่อนไปเลื่อนมาได้ (เหมือนการล้ำหน้าจริงๆ เพราะจะขึ้นอยู่กับ last line of defence)

Curative หรือ Definitive treatment นั้นแตกต่างจาก Palliative treatment สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างมีนัยสำคัญ ว่ากันตั้งแต่ "เป้าหมาย" ซึ่งจะบอกเป็นนัยถึง "การกระทำ" ของแพทย์ที่จะช่วยผู้ป่วย สำหรับ definitive treatment นั้น การกระทำบางอย่างอาจจะทำให้เกิดภาวะ distress และไม่สบายกายสบายใจแต่เราก็เป็นต้องทำ เช่น การใส่ Foley catheter, NG tube, ET tube, IV ต่างๆ แต่สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นคนละเรื่องกับผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่อยู่ใน scheme palliative care ซึ่ง "เป้าประสงค์" และ "paradigm" การให้การรักษานั้นแตกต่างไปอย่างมาก โดยจะเน้นที่การบรรเทา "ความทุกข์ทรมาน" และการรักษาซึ่ง "เกียรติความเป็นมนุษย์" ของผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สิทธิผู้ป่วย จะเป็นสิ่งที่แพทย์ต้องคำนึงถึงมากที่สุด รวมทั้งการคิดเผื่อญาติของผู้ป่วยด้วย

เป็นเรื่องลำบากใจทั้งสองฝ่ายที่จะมาถึงจุดที่ว่ายอมรับว่าเราไม่สามารถรักษาโรคให้หายได้ ทั้งแพทย์และผู้ป่วย ในขณะที่ผู้ป่วยต้องเผชิญหน้ากับความจริงนี้ (รวมทั้งญาติ) แพทยก็ต้องยอมรับเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันความรู้ทางด้านบรรเทาอาการเจ็บป่วยต่างๆนั้นจะกลายเป็นส่วนสำคัญ ไม่ใช่พอทราบว่ารักษาไม่ได้ก็ไม่อยากไปดู ไม่อยากไปพูดอะไรกับผู้ป่วยและญาติเพราะคิดว่าไม่มี order อะไรจะเสนอให้ ซึ่งตรงนี้แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทาง health care สามารถช่วยไดเยอะมาก มันจะมีความหมายต่อผู้ป่วยอย่างยิ่งที่บุคคลซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอยู่ในครอบครัว จะแสดงความเอื้ออาทร แสดงความหวังดี อยากให้ผู้ป่วยพ้นทุกข์ และเรามีความรู้ มียา มีเครื่องไม้เครื่องมือที่จะอำนวยสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น

แต่ก่อนเราอาจจะอยากให้ยานอนหลับ knock ผู้ป่วยให้หลับไปตลอดเวลา แล้วว่านั่นคือ best quality of life ที่เราสามารถทำให้เกิดขึ้น เดี๋ยวนี้ความรู้และความก้าวหน้าทาง Pharmacology เรามีอะไรหลายๆอย่างที่ช่วยให้ผ้ป้วยไม่ปวดแต่ยังคงมีความรู้สติที่จะแลกเปลี่ยนอะไรกับคนที่ตนรักและเป็นห่วงในระยะสุดท้ายนี้ดีขึ้น ทำให้ช่วงเวลาสุดท้ายนี้ผู้ป่วยได้ใช้เวลาอย่างมีค่าและมีความหมายมากที่สุด รวมทั้งการวางแผนงานศพของตนเอง

มีคนให้นิยาม ความหมายของ dead with dignity หลายอย่าง เช่น ตายท่ามกลางคนที่เรารักแรกเรา ตายโดย finish all businesses ตายดี ฯลฯ ซึ่งมีรายละเอียดมากมายตามปัจเจกบุคล ตามสังคม และเชื้อชาติศาสนา spiritual aspect ในช่วงนี้ของผู้ป่วยสำคัญอย่างยิ่ง เพราะบางครั้งความเชื่อทางจิตวิญญาณเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจผู้ป่วยมาตลอดทั้งชีวิต พิธีกรรมบางอย่างหากผู้ป่วยได้ทำในช่วงนี้อาจจะมีความหมายอย่างยิ่งต่อตัวผู้ป่วยเองและญาติ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-08 , Time : 20:23:58 , From IP : 172.29.3.212

ความคิดเห็นที่ : 4


   




เมื่อความตายแวะมารับคุณ
ใบหน้าของคุณบิดเบี้ยวอัปลักษณ์
อาการบ่งชัดว่าจวนจะถึงที่
คุณแหกปากดิ้นพราดพราด
แสดงว่าคุณยังไม่อยากตาย
แต่ความตายไม่แยแส
ต่อคำเรียกร้องของคุณ
คุณนึกถึงบ้านหลังงามใหญ่โอ่โถง
ที่จ้างสถาปนิกมือเอกออกแบบให้
นึกถึงบัญชีเงินฝากในธนาคาร
แล้วภรรยาแสนสวยของคุณ
จะมีใครมาดูแลเหมือนคุณได้เล่า
ลูกลูกของคุณจะอยู่ดีมีสุขไหมหนอ
ความตาย ความตายไม่น่าแวะมารับคุณเลย
ก็คุณยังไม่พร้อมนี่!!!
ใครใครก็พูดกันแบบนี้ทุกคน
ไม่มีใครเลยที่จะพร้อมตาย
ในเมื่อชีวิตในโลกมันบรมสุขนักนี่!!!




เมื่อใครคนหนึ่งที่เรารัก
ตายจากเราไป
มันทิ้งคำถามมากมาย
ให้เราได้ขบคิด

แล้วคนที่เหลืออยู่
จะดำรงกันอย่างไร
ขาดเขาไปหนึ่งคน
เท่ากับขาดกำลังสำคัญ
ไปคนหนึ่งเชียวล่ะ

เขาไม่น่าจากเรา
ไปเร็วเกินไปเลย
บางคนอาจบอกว่า
น่าให้ฉันไปตายแทน
เขาเสียยังดีกว่า
แต่ความตายไม่คิดอย่างนั้น
ถึงเวลาก็พรากพรากวิญญาณ
ออกจากร่างที่มีชีวิตชีวิต

เมื่อวานยังเห็นเขาหัวเราะอยู่เลย
ฉันก็เห็น คุณก็เห็นว่าเขาแข็งแรงดี
เขาอาจเป็นนักกีฬาผู้แข็งแกร่ง
แต่วันนี้ร่างเขาแข็งทื่อหยุดไหวติง
ใครใครจะพูดอย่างไร
ความตายหยุดแวะมารับไหม
ไม่ไม่..ไม่เคยเลย
ถึงป้ายไหน..ก็ป้ายนั่น
จอดหยุดรับตามป้ายเท่านั้น




เมื่อความตายแวะมารับคุณ
หลายหลายคนต่างมาเยี่ยม
ร่างอันไร้วิญญาณของคุณ
ตอนมีชีวิตทำไมไม่มากัน?
มันเหมือนกับจิตรกรเอก
ของโลกหลายต่อหลายคน
ที่งานศิลปะอันวิจิตรของเขา
ไร้ค่าตอนเขายังอยู่กินได้
พอเขาตายจากโลกนี้ไป
กลับมีคนมาชื่นชอบผลงาน
ประมูลแย่งกันราคาเป็นล้าน
แต่ศพแข็งทื่อของคุณล่ะ
มีราคาสักเท่าไรกัน!!!




เมื่อชีวิตยามเย็นของคุณ
มีความตายเป็นอาคันตุกะ
แวะมาเยี่ยมเยือนถึงที่
มันไม่สนใจหรอกว่า "คุณ"
จะเป็นคนเรียนจบขั้นปริญญาตรี
หรือเรียนจบชั้นประถมศึกษาสี่
จะเป็นด็อกเตอร์พีเฮ็จดี
หรือจะเป็นศาสตราจารย์
จะเป็นยาจกข้นแค้นแบนติดดิน
หรือจะรวยเอ่อล้นปริ่มขอบฟ้า

ความตายไม่เคยแบ่งชนชั้น
และไม่สนใจหรอกว่าคุณ
จะมีชื่อเสียงโด่งดังแค่ไหน
หรือแม้ว่าคุณจะเป็นคน
ที่ไม่เป็นที่รู้จักเลยก็ตาม




ความตายเคยแวะมาเยี่ยมฉัน
มันมาเคาะธรณีประตูบ้านฉัน
แค่มาทายทักแล้วมันจากไป
พร้อมกับคำมั่นสัญญาว่า
“สักวันหนึ่งข้าฯจะกลับมา
ไม่ว่านายจะหลบไปอยู่ที่ไหน
ข้าฯจะตามนายไปสุดหล้าฟ้าเขียว
สุดแผ่นดินถึงสุดก้นทะเลลึก”
ฉันจึงตระหนักเสมอว่า
สักวันไม่วันใดก็วันก็หนึ่ง
ความตายก็จะแวะมารับฉันไป




เมื่อเมฆหมอกแห่งความตาย
ตั้งเค้ารวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนหนา
ทึบจนแทบปิดบังแสงแห่งชีวิตมิด
นั่นหมายความว่า ความตาย
กำลังย่างกรายแวะมารับคุณ
ในนาทีนั้นคุณจะพร้อม
หรือไม่พร้อมก็ตามที
ความตายจะทึ้งวิญญาณ
กระชากออกจากร่างอันผุพัง
แล้วทำให้คุณกลายเป็นอดีต
คนเคยมีชีวิตบนโลกสวยใบนี้
คุณจะถูกนับให้อยู่ในบัญชี
ของคนไม่มีชีวิตที่ตายแล้ว




เมื่อความตายแวะมารับคุณ
แต่คุณขัดขืนไม่อยากไปด้วย
แต่ความตายก็ไม่ปราณีคุณ
มันฉุดกระชากลากตัวคุณ
จนคนข้างข้างผวาหวาดวิตก


Posted by : ss , E-mail : (.....) ,
Date : 2004-02-24 , Time : 14:18:04 , From IP : 172.29.2.153


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<