ความคิดเห็นทั้งหมด : 0

ไข้หวัดนกมาแล้ว..


   ได้ข่าวว่าไข้หวัดนกลงมาถึงภาคใต้แล้ว
ยังไงก็ระมัดระวังการกินอาหารกันด้วย(กันไว้ดีกว่าแก้)
แล้วก็updateข่าวสารกันเรื่อยๆก็ดีนะ
ร่วมด้วยช่วยกัน ;)

ข้อมูลข้างล่างนี้มาจากกรมควบคุมโรคเน้อ

ไข้หวัดนก
- สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อไวรัส Avian Influenza type A ในตระกูล Orthomyxoviridae ซึ่งเป็น RNA ไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม โดยมีแอนติเจนที่สำคัญได้แก่ Hemagglutinin (H) มี 15 ชนิด และ neuraminidase (N) มี 9 ชนิด
- แหล่งของเชื้อโรค : ได้แก่ นกเป็ดน้ำ นกอพยพ และนกตามธรรมชาติเป็นแหล่งรังโรคโดยไม่แสดงอาการ เป็ด ไก่ ในฟาร์มและในบ้านสามารถติดเชื้อและแสดงอาการของโรคได้
- การติดต่อระหว่างสัตว์ : เชื้อไวรัสจะถูกขับถ่ายออกมาทางอุจจาระจากนก และติดต่อสู่สัตว์ปีกที่ไวต่อการรับเชื้อทางระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร
- ระยะฟักตัว&อาการในสัตว์ : ระยะฟักตัวของโรคนี้ในสัตว์สั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง ถึง 3 วัน ในสัตว์มีอาการซึม ซูบผอม ไม่กินอาหาร ขนยุ่ง ไข่ลด ไอ จาม หายใจลำบาก หน้าบวม หงอนและเหนีบงบวม มีสีคล้ำ มีอาการทางประสาท ท้องเสีย อาจตายกระทันหันโดยไม่แสดงอาการ อัตราการตายอาจสูงถึง 100 %
- การติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน : คนสามารถติดเชื้อจากสัตว์ได้จากการสัมผัสสัตว์ป่วยโดยตรง และโดยทางอ้อมจากการสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งจากสัตว์ที่เป็นโรค เช่น อุจจาระ น้ำมูก น้ำตา น้ำลายของสัตว์ที่ป่วย จากการเฝ้าระวังโรคยังไม่พบว่ามีการติดต่อระหว่างคนสู่คน ผู้ที่มีควมเสี่ยงในการเกิดโรคได้แก่ ผู้ที่มีอาชีพและใกล้ชิดกับสัตว์ปีก เช่น ผู้เลี้ยง ฆ่า ขนส่ง ขนย้าย ผู้ขายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก สัตวบาล และสัตวแพทย์ รวมถึงเด็กๆ ที่เล่นและคลุกคลีกับสัตว์
- ระยะฟักตัวและอาการในคน : ระยะฟักตัวในคนใช้เวลาประมาณ 1 - 3 วัน ในคนอาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย มีน้ำมูก ไอ และเจ็บคอ บางครั้งพบว่ามีอาการตาแดง ซึ่งจะหายเองได้ภายใน 2 - 7 วัน หากมีอาการแทรกซ้อนจะมีอาการรุนแรงถึงปอดบวมและเกิดระบบหายใจล้มเหลว (Acute Respiratory Distress Syndrome) ได้ โดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ
- การป้องกันและดูแลสุขภาพ : 1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่มีอาการป่วย หรือตาย โดยเฉพาะเด็ก 2. หากต้องสัมผัสกับสัตว์ปีกในระยะที่มีการระบาดในพื้นที่ ให้สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ 3. ล้างมือทุกครั้งหลังการสัมผัสสัตว์ปีกและสิ่งคัดหลั่งของสัตว์ปีกด้วยสบู่และน้ำ 4. หากมีอาการเป็นไข้ ไอ โดยเฉพาะผู้มีอาชีพเลี้ยง ฆ่า ขนส่ง ขนย้าย และขายสัตว์ปีก หรือเกี่ยวข้องกับซากสัตว์ปีก ให้รีบมาพบแพทย์และบอกประวัติการสัมผัสพร้อมอาการ
- การควบคุมการระบาดในสัตว์ ทำได้โดย : 1. ฆ่าตัดทำลายวงจร 2. ทำลายซากและผลิตภัณฑ์ของสัตว์ปีกที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อ 3. กำจัดเชื้อในสิ่งแวดล้อม 4. เว้นระยะการนำสัตว์รุ่นใหม่มาเลี้ยงในฟาร์มที่ติดเชื้อเป็นระยะเวลา 21 วัน
- การรักษาโรคในคน เหมือนกับการรักษาไข้หวัดใหญ่ทั่วไป คือ ใช้ยา amantadine hydrochloride หรือยา rimantadine hydrochloride ภายใน 48 ชั่วโมง นาน 3-5 วัน จะช่วยลดอาการและจำนวนเชื้อไวรัสชนิด A ในสารคัดหลั่งที่ทางเดินหายใจได้ ขนาดยาที่ใช้ ในเด็กอายุ 1-9 ปี ให้ขนาด 5 มก./กก./วัน แบ่งให้ 2 ครั้ง นาน 2-5 วัน ผู้ป่วยสูงอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่การทำงานของตับหรือไตผิดปกติ ต้องลดขนาดยาลง
- การบริโภคเนื้อไก่ ปลอดภัยหรือไม่? เชื้อไวรัสไข้หวัดนกไม่สามารถทนต่อความร้อนที่สูงเกิน 70 องศาเซลเซียสได้ การทอด ต้ม นึ่ง อบ หรือย่าง โดยปกติก็จะสามารถฆ่าเชื้อได้ เพราะส่วนใหญ่ใช้ความร้อนเกิน ผู้บริโภคจึงสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัยเชื้อไวรัสไข้หวัดนกไม่สามารถทนต่อความร้อนที่สูงเกิน 70 องศาเซลเซียสได้ การทอด ต้ม นึ่ง อบ หรือย่าง โดยปกติก็จะสามารถฆ่าเชื้อได้ เพราะส่วนใหญ่ใช้ความร้อนเกิน ผู้บริโภคจึงสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย
- แม่บ้านและผู้ปรุงอาหาร ที่สัมผัสกับเนื้อไก่โดยตรงในขณะปรุงอาหารมีอันตรายหรือไม่ และควรปฏิบัติตัวอย่างไร? จน ณ บัดนี้ ไม่เคยปรากฎว่ามีแม่บ้านและแม่ครัว ติดเชื้อไข้หวัดนกจากการปรุงอาหารเลย แม้ว่าจะมีโรคไข้หวัดนกมีการระบาดใหญ่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกมาร่วม 20 ครั้งแล้ว อย่างไรก็ตาม เชื้อไข้หวัดนกพบได้ในสัตว์ปีก และไข่ ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงใดๆ จึงแนะนำให้ล้างมือ และภาชนะให้สะอาด หลังสัมผัสเนื้อไก่ เพราะเชื้อนี้ถูกฆ่าตายได้โดยง่าย โดยน้ำยาซักล้าง หรือสบู่ อยู่แล้ว
- อาหารที่มีไข่ดิบและไข่ไม่สุกเป็นส่วนประกอบ จะทำให้ผู้บริโภคติดโรคไข้หวัดนกได้หรือไม่? เช่นเดียวกัน ยังไม่เคยมีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดนกจากการรับประทานไข่ในท้องตลาดมาก่อน อย่างไรก็ตามเพื่อความมั่นใจ ควรล้างเปลือกไข่ก่อนนำไปปรุงอาหาร เพราะอาจติดมากับเปลือกไข่ และการประกอบอาหารที่ใช้ไข่แดงและไข่ขาว ขอแนะนำให้ทำให้สุกๆ
- อาหารต่างๆ ที่ใช้ไก่หรือไข่เป็นส่วนประกอบที่ขายสำเร็จรูปในท้องตลาด มีความปลอดภัยหรือไม่? อาหารแปรรูป อาหารพร้อมบริโภคที่มีการจำหน่ายในท้องตลาด ถ้ามาจากสถานที่ผลิตที่ได้มาตรฐาน ได้รับเครื่องหมาย อย. ที่ถูกต้อง และผ่านเกณฑ์ จีเอ็มพี แล้ว สำหรับน้ำสลัด มายองเนส ที่กระบวนการผลิตมีการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน และมีระดับความเป็นกรดที่เชื้อไม่สามารถอยู่ได้ ส่วนอาหารประเภทไอศกรีมไข่แข็ง ซึ่งเป็นการนำไข่แดงดิบมาตีแล้วผสมลงในไอศกรีม ความเย็นไม่สามารถทำลายเชื้อได้ ควรหลีกเลี่ยง

and so on....

ต้องการข้อมูลเพิ่ม : กรมควบคุมโรค http://www-ddc.moph.go.th 02-5903333


Posted by : a_natomy , Date : 2004-01-30 , Time : 21:15:07 , From IP : 192.168.129.144

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<