ความคิดเห็นทั้งหมด : 47

Debate LVI: ทำอย่างไรจึงจะสื่อ และรับการสื่ออย่างสร้างสรรค์?


   Communication skill นั้นเป็นเรื่องใหญ่ ระยะหลังสุดที่ผมเผอิญได้ออกไปรับฟังข้อมูลจากแพทย์เสริมทักษะที่มาปฏิบัติงานแถวๆภาคใต้นี้ และจากแพทย์พี่เลี้ยง แพทยผู้ปกครอง (บางท่านอาวุโสจนผมเขินจะ address ท่านเป็นพี่เลี้ยง) ที่ดูแลในโรงพยาบาลต่างๆ ประการหนึ่งที่สรุปได้ก็คือ 80-90% เป้นปัญหาเรื่องการสื่อสาร

บางทีพี่จะเตือนน้อง เตือนๆไปชักมันเลยแถมกระแนะกระแหน น้องถูกพี่เตือนยังไม่ทันฟังว่าเตือนอะไรก็ตั้งป้อมจะไม่ฟัง ไม่รับไว้ก่อน พอมีคำไม่ถูกหูก็เลยทิ้งประเด็นหลักไปจับประเด็นอื่นๆมาเป็นเรื่อง ผลสุดท้ายเจตนาดีก็ไม่ได้สื่อ การกระทำที่ควรถูกตักเตือนก็ไม่ได้ถูกแก้ไขปรับปรุง

ผมได้คุยกับกัลยาณมิตรท่านหนึ่ง ท่านมีความเห็นว่าหลายต่อหลายครั้งของความขัดแย้งหรือปัญหาหากเราเริ่มต้นด้วย It is my fault, it is my mistake แล้ว เองจะดำเนินไปด้วยราบรื่นขึ้นเยอะ เพราะตอนที่ความขุ่นข้องหมองใจยังไม่เริ่ม จริงๆแล้วแต่ละฝ่ายก็มักจะ guilty อยู่บางส่วนแต่ซ่อนไว้ลึกๆ พออีกฝ่ายชิงรับก่อน เพื่อเกณฑ์ moral standing point ที่สุดก้ต้องตอบว่า No it is my fault, my mistake too หลังจากนั้นก็จะเป้นการสนทนาที่เริ่มต้นจากการมีประนีประนอมก่อน

การขัดแย้งทุกครั้ง จะมีเบื้องหลังที่เป็นตรรกศาสตร์อยู่เสมอ และอยู่เบื้องหลังของทั้งสองฝ่ายด้วย ถ้าเรามีวัตถุปรสงค์หลักที่แน่วแน่ว่าต้องการให้สื่อที่ดี บางทีเราก็ต้องพิจารณาถึง "วิธี" เพราะถ้าเราจะเตือน แต่อดมิได้ต้องแถมกระแนะการแหนถากถาง (guilty ที่ผมเองก็ possess อยู่นับครั้งไม่ถ้วน) เจตนาดีดั้งเดิมก็ไม่ได้สื่ออย่างที่ตั้งใจ ส่วนอีกฝ่ายคือคนรับก็ต้องคิดว่า nobody perfect และขณะนั้นๆ nobody นั้นอาจจะเป็นตัวเรา การที่มีคนมาสื่อ มาเตือน ถ้าเขาไม่เห็นเงานหัวเรา เห็นเรามีความหมาย เขาจะมาใส่ใจหรือไม่? ถ้าเขาใส่ใจแล้ว น่าจะลองฟังให้เห็นถึงแก่นหรือไม่ว่าอะไรคือประโยชรน์ที่เราจะได้จากการเสียเวลาฟัง เสียเวลาอ่าน

จะหัดสื่อ หัดรับสื่อกันอย่างไรดี? เรามีตัวอย่างของ failure of communication มากเกินไปในขณะนี้ ว่ากันตั้งแต่ระดับ พณ หัวเจ้าท่าน ลงไปถึงวัยรุ่น การศึกาในมหาวิทยาลัยน่าจะมีทางช่วยหรือไม่ในด้านนี้?

ขอความเห็นครับ Be Mature, Be positive, and Be Civilized



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-29 , Time : 20:58:26 , From IP : 172.29.3.237

ความคิดเห็นที่ : 1


   ผมคิดว่าการให้อภัยเป็นสิ่งสำคัญ คำพูดที่สื่อถึงการให้อภัยทำให้ผู้รับสื่อยินดีรับฟังและนำไปแก้ไข ตัวอย่างเช่น รุ่นพี่สั่งให้น้องทำ incision and drainage หลังจากนั้นพี่คนนั้นก็ไปเปิดดูแผลคนไข้และเห็นว่าน้องทำไม่ adequate รุ่นพี่คนนั้นจึงไปบอกน้อง ท่านรู้สึกอย่างไรกับประโยคต่อไปนี้
1."เฮ้ยน้อง caseที่เอ็ง I and D ไว้ มันไม่ adequate ว่ะ แต่ไม่เป็นไร พี่ทำให้ใหม่แล้ว หลังจากนี้คนไข้น่าจะดีขึ้น"
2."น้อง...caseที่น้อง I and D น่ะ หนองมันหมดแล้วจริงหรือจ๊ะ พี่รู้สึกว่ามันยังมีอยู่เลยนะ พี่ไปทำใหม่มาแล้ว"
สำหรับผมแล้ว ผมชอบประโยคแรกมากกว่า คำว่าไม่เป็นไรและคำว่าคนไข้น่าจะดีขึ้นทำให้ความรู้สึก guilty ของเราลดลง


Posted by : megumi , Date : 2004-01-29 , Time : 22:13:23 , From IP : 172.29.3.237

ความคิดเห็นที่ : 2


   เพิ่งฟังเรื่องวัยรุ่นไทยทำภาษาวิบัติ พูดไทยคำอังกฤษคำ พอมาอ่านกระทู้นี้ยิ่งสลด

Posted by : คนอยู่เวรวันนี้ (พอดีว่าง) , Date : 2004-01-29 , Time : 23:21:51 , From IP : 172.29.3.187

ความคิดเห็นที่ : 3


   พอดีได้ case ตัวอย่าง ขอบคุณครับ

เชื่อว่ามีคนคิดว่าการพูดภาษาสองภาษาปนกันนั้นทำให้ภาษาวิบัติ ซึ่งในความเห็นของผมมีโอกาสที่เป็นไปได้เหมือนกัน แต่เป็นกฏตายตัวหรือไม่นั้น ในความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่าเราจะพบ "บริบท" มาเกี่ยวข้องอย่างที่ทุกๆครั้งเมื่อมีการ "สื่อ" เกิดขึ้น

"จุดมุ่งหมาย" ของการสื่อแบบพื้นฐานเบื้องต้นสุดนั้น เห็นจะเป็นการสื่อให้เข้าใจ ว่ากันไปตั้งแต่ภาษากาย ภาษาใจ ภาษาพูด ภาษาเขียนนั่นทีเดียว เมื่อไหร่ก็ตามที่คนสื่อกับคนรับเกิด "ความเข้าใจ" จุดมุ่งหมายเบื้องต้นนั้นก็สำเร็จไปหลายส่วน การประเมินผู้รับนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการทำให้วัตถุประสงค์อันนี้บรรลุ เช่น ตอนอาจารย์ round ward กับนศพ.ปีสอง สาม สี่ ห้า หก หรือ แพทย์ใช้ทุนปีต่างๆ ก้จะเลือกใช้ชุดของคำคนละชุด เมื่อคำนึงถึง "ประสิทธิภาพ" การสื่อ

จุดที่น่าสนใจอีกประการคือ "ภาษาวิบัติ" นั้น มี mechanism อย่างไร และนิยามคืออะไร ถ้านิยามคือการใช้ภาษามากกว่าหนึ่งภาษาในการสื่อ ก็จะพบ scenario อย่างว่านั้นค่อนข้างเยอะ ตั้งแต่ตอนที่เราเริ่ม consult แพทย์รุ่นพี่ รายงานอาจารย์ และ set OR เขียน order ฯลฯ แต่ถ้านิยามเป็นการเน้นวัตถุประสงค์อื่น เช่นเมื่อไหร่ก็ตามสื่อไม่ได้สื่อไม่ตรง เราก็จะพบว่า flexibility ในการเลือกใช้คำนั้นกว้างมากขึ้น อาจจะเหมาะแก่คนที่มีความรู้ การศึกษา หรือรู้ศัพท์ต่างๆมากขึ้น ในสองภาษาที่เราใช้กันบ่อยๆ คือ ไทย กับ อังกฤษ นั้นมีมากมายหลายคำที่เราพบว่าเรามักจะยืมมาใช้เพื่อความย่นย่อ เพื่อความสื่อ (อาทิ เช่น มีเลือดออกมาจากมหาวารีรัตน นั้น ก็จะไม่สื่อเท่ากับการใช้ bleeding from aorta หรือจะขอ clamp IVC ก้อาจจะได้เครื่องมือที่ถูกต้องเร็วกว่าขอเครื่องมือหนีบเพื่อหยุดเลือดมหานทีต่ำใต้ เป็นต้น

ผมเสนอว่าภาษาวิบัตินั้นน่าจะรวมอีกประการคือ "การสื่อเพื่อเจตนาที่ไม่สร้างสรรค์" ไม่ว่าจะใช้กี่ภาษา ไม่ว่าจะร่ายเป็นโคลงฉันท์กาพย์กลอนกี่ชั้นกี่สัมผัส ภาษาที่วิบัตินั้นคงจะเป็นเหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าได้ยกตัวอย่างไว้ เช่น พูดส่อเสียด พูดโกหก พูดหยาบคาย พูดเพราะอวิชชา พูดเพราะเกลียดโกรธ เป็นต้น

หวังว่าสามารถสื่อและสามารถรับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-30 , Time : 00:08:13 , From IP : 172.29.3.213

ความคิดเห็นที่ : 4


   คำว่า อาทิ ไม่ใช้ร่วมกับคำว่า เช่น นะครับ

Posted by : อยู่เวรอีกคน , Date : 2004-01-30 , Time : 03:30:56 , From IP : 172.29.4.238

ความคิดเห็นที่ : 5


   ..............ขอผมไปเข้าประชุมก่อนครับ.....วันนี้สายอีกแล้ว....ช่วงค่ำๆจะกลับมาดูใหม่ครับ....ดูเหมือนกระทู้ล่อเป้ายังไงไม่รู้เลยครับ...:D...:D



Posted by : Death , Date : 2004-01-30 , Time : 08:26:18 , From IP : 202.133.188.161

ความคิดเห็นที่ : 6


   ไร้สาระ ไม่มีจบ เหมือนเดิม

Posted by : ไม่มีสาระ , Date : 2004-01-30 , Time : 12:08:26 , From IP : 172.29.1.180

ความคิดเห็นที่ : 7


   ที่คุณ Phoenix อ้าง

"ในสองภาษาที่เราใช้กันบ่อยๆ คือ ไทย กับ อังกฤษ นั้นมีมากมายหลายคำที่เราพบว่าเรามักจะยืมมาใช้เพื่อความย่นย่อ เพื่อความสื่อ"

ผมจะยกที่คุณเคยใช้ 2 ภาษาทั้งๆที่ไม่มีความจำเป็นให้ดู (ซึ่งพบได้บ่อยๆ) ไม่ต้องทำเป็นประชดประชันกันแบบ"มหานทีต่ำใต้"ที่คุณพยายามแก้ตัวน้ำขาวขุ่น เช่น

-"บางท่านอาวุโสจนผมเขินจะ address ท่านเป็นพี่เลี้ยง"
(ถามหน่อยว่า จำเป็นไหมกับการใช้คำว่า address อย่างนี้เรียกว่าวิบัติได้หรือไม่)

-"หากเราเริ่มต้นด้วย It is my fault, it is my mistake แล้ว เองจะดำเนินไปด้วยราบรื่นขึ้นเยอะ เพราะตอนที่ความขุ่นข้องหมองใจยังไม่เริ่ม จริงๆแล้วแต่ละฝ่ายก็มักจะ guilty อยู่บางส่วนแต่ซ่อนไว้ลึกๆ พออีกฝ่ายชิงรับก่อน เพื่อเกณฑ์ moral standing point ที่สุดก้ต้องตอบว่า No it is my fault, my mistake too หลังจากนั้นก็จะเป้นการสนทนาที่เริ่มต้นจากการมีประนีประนอมก่อน"
(มีคำอังกฤษซึ่งมีคำไทยใช้กันอยู่แล้วหลายคำ อย่าแก้ตัวอีกนะครับ)

-"(guilty ที่ผมเองก็ possess อยู่นับครั้งไม่ถ้วน) เจตนาดีดั้งเดิมก็ไม่ได้สื่ออย่างที่ตั้งใจ ส่วนอีกฝ่ายคือคนรับก็ต้องคิดว่า nobody perfect และขณะนั้นๆ nobody นั้นอาจจะเป็นตัวเรา"
(คำอังกฤษฟุ่มเฟือยหลายคำมาก)

ทำไมไม่รู้ ผมอ่านที่คุณอ้าง กับที่คุณทำแล้ว ทำไมมันไม่ตรงตาม clinical อุ๊บ เผลอไป ไม่ตรงกันเลยล่ะครับ

"มีใครเคยได้ยินฝรั่งพูดอังกฤษคำไทยครับบ้างไหมครับเนี่ย"


Posted by : คนอยู่เวรวันนี้ (พอดีว่าง) , Date : 2004-01-30 , Time : 16:47:54 , From IP : 172.29.3.102

ความคิดเห็นที่ : 8


   ขอบคุณที่แสดงความเห็นครับ

ที่ผมเรียนให้ทราบแล้วไม่ใช่การแก้ตัว เพราะก็ได้บอกว่าการใช้สองภาษาปนกันนั้นเป็นสิ่งที่ผมทำมาโดยตลอด ส่วน "โดยจำเป็น" นั้นเราอาจจะมาพิจารณาดูกันนะครับ

ที่ผมได้เรียนถามถึง "นิยาม" หรือ "คำจำกัดความ" ของภาษาวิบัตินั้นอาจจะ applied ใช้ในกรณีที่เรากำลังอภิปรายอยู่นี้ได้ obviously คุณมีความคิดว่าการใช้สองภาษาปนกัน "โดยไม่จำเป็น" นั้นเป็นภาษาวิบัติ หรือ "on the route" ไปในทางนั้น ตรงนี้เรามีความเห็นที่ต่างกัน ส่วนใครผิดใครถูกก็คงจะแล้วแต่ที่คนๆนั้นเชื่อใช่ไหมครับ ผมคิดว่าโดย philosophy of language นั้น จุดมุ่งหมายของภาษาคือการสื่อสาร ภาษานั้นพัฒนาโดยมี geography, culture, race, etc ทำให้แตกต่างกันมากมายอย่างที่เราทราบ แต่จุดมุ่งหมายเหมือนกันคือสื่อ การที่เรามีตัวเลือก (และสามารถเลือก) มากขึ้น โดยความเห็นส่วนตัวของผมนั้นไม่ใช่ภาษาวิบัติ ที่แน่ๆคือผมยังมีความคิดเห็นว่า "เจตนา" ของผู้สื่อนั่นแหละที่จะบอกว่าวิบัติหรือไม่ ภาษาไทยนั้น versatile และได้ adopt คำจากต่างชาติมากมายเป็นของเราเอง (ขออภัยที่คุณไม่รู้จักมหานทีต่ำใต้ กับมหาวารีรัตน เพราะทั้งสองคำนี้เป็นศัพท์บัญญัติโบราณของ IVC และ Aorta ของไทยจริงๆ ศ.นพ.ทินรัตน์ หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์สมัยผมขึ้นเรียนวิชานี้ครั้งแรกท่าน introduction ในชั่วโมงแรก ผมคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ) เราเคยใช้ "ตะแลบแก๊บ" จาก telegram คำหลายคำได้ "กลืน" เป็นของเราทั้งจากภาษาอังกฤษ ภาษาบาลีสันสกฤต ภาษาจีน

มีฝรั่งพูดไทยคำอังกฤษคำหรือเปล่านั้น ผมเคยเจอบ้างเหมือนกัน ส่วนใหญ่เรากลับไม่รู้สึกว่าเขาไม่ได้ทำอะไรวิบัติแต่ฟังดูน่ารักดี แต่ที่แน่ๆคือฝรั่งที่มีการศึกษาจำนวนมากจะรู้ไม่เพียงแต่ภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่จะใช้ภาษาฝรั่งเศสและสเปนได้ ในวงการ academic นั้น มีรากศัพท์หลายเชื้อชาติหลายภาษา การ exercise willing to use man languages นั้นอาจจะมี attitude ที่แตกต่างจากอีก concept ได้

"จำเป็น" ที่ต้องใช้นั้นเป็น relative term ผมมีความรู้สึกว่าการใช้ภาษานั้นน่าจะอยู่ที่เรา comfortable ที่จะใช้ และเปาหมายดั้งเดิมคือการสื่อนั้นยังบรรลุอยู่ แต่สิ่งนั้นในสามสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการสื่อ ได้แก่ ผู้ให้ ผู้รับ และบริบท นั้น เราอาจจะปรับ "ผู้รับ" ได้น้อยที่สุด คำว่า lateral เราก็มี "ใกล้ริม" คำว่า "medial" เราก็มี "ใกล้กลาง" คำว่า bleeding ก็มี "เลือดออก" และโรคต่างๆอีกจำนวนมากที่เราใช้ใน "ชีวิตประจำวัน" ในการ round สื่อสารกับแพทย์ใช้ทุน residents นักศึกษาแพทย์ จนผมเกรงว่าคำภาษาต่างชาติที่ "มีศัพท์บัญญัติไทย" นั้น เราก็ยังพบว่าสะดวกกว่า และสื่อได้ดี และข้อสำคัญเป็น "เรื่องปกติ" ที่เราใช้กันอยู่

"วิบัติ" นั้น ผมคิดว่าเรามีความเห็นที่แตกต่างกันแน่ล่ะครับ แต่สิ่งที่คุณคิดว่า "จำเป็น" หรือ "ไม่จำเป็น" นั้น เราก็จะพบว่าระหว่างปัจเจกบุคคลนั้น เรามีความ "จำเป็น" และ "ความสะดวก" ไม่เหมือนกัน ผมไม่คิดว่าตอนผมเลือกใช้คำ เป็นการเลือกเพราะ "ความจำเป็น" แต่ส่วนใหญ่เป็นการเลือกเพราะความสะดวก เช่น UBC นั้นก็มีชือแปลภาษาไทยแต่คงไม่มีใครเรียกเพียงเพราะว่า "มีศัพท์บัญญัติ" แต่เราเรียกเพราะความ "สะดวก" เราสั่ง order ทุกวี่วันนี่ ผมก็สงสัยว่าเราอาจจะใช้คำว่า "คำสั่งแพทย์" แต่เพราะความสะดวกเราก็ยังใช้ order อยู่ เจาะ blood gas เราสามารถใช้ "การวิเคราะห์สัดส่วนอากาศและความเปนกรดด่างของเลือดแดง" ได้ แต่น้องๆก็คงจะงงไปพักหนึ่ง ตรงนี้เป็นประเด็นที่เรามีความ "ต่าง" คือคุณคิดว่า "ความจำเป็นในการใช้คำต่างประเทศ" เป็นตัวบ่งชี้ว่าภาษาจะวิบัติหรือไม่ ส่วนผมคิดว่า "เป้าหมายคือการสื่อสาร" นั้นสำคัญมากกว่าในการใช้

ส่วนใครจะเกิดอาการ "หมั่นไส้" หรือว่าเป็นกังวล่าภาษาได้วิบัติไปแล้วนั้น ผมก็ appreciate ครับ เป้นสิทธิส่วนบุคคลอย่างแน่นอน



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-30 , Time : 20:34:46 , From IP : 172.29.3.240

ความคิดเห็นที่ : 9


   ผมคิดว่าศ.นพ.ทินรัตน์ ไม่ใช่หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ นะครับ ยกเว้นจะมีคนที่ชื่อซ้ำ เพราะอาจารย์ทินรัตน์ เป็นอดีตหัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา แต่ก็ไม่แน่ใจอีกครับว่าจะเป็นคนเดียวกันหรือไม่ เพราะอาจารย์ทินรัตน์ น่าจะเกษียณอายุก่อนที่คุณ phoenix เรียน หัวหน้าภาคกายวิภาคอาจจะเป็นอ.ม.ร.ว. บูรณพันธ์ หรืออ.สรรใจ แสงวิเชียร ในรุ่นของคุณ phoenixครับ
สำหรับศัพท์ต่างๆที่กล่าวมาผมเข้าใจว่าคนที่บัญญัติศัพท์ น่าจะเป็น ศ.นพ. สมชัย บวรกิตติ อดีตหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ มากกว่า ครับ
สำหรับการสื่อสารผมคิดว่า การใช้คำพูดบางครั้ง ความไพเราะก็ไม่ได้หมายความถึงความจริงใจ หรือน่าฟัง คงต้องอยู่ที่สภาพแวดล้อม และจุดประสงค์ในการพูด อารมณ์ของการพูด เพราะแต่ละคนมีแนวการพูดที่แตกต่างกันไป เช่นประเภทชอบพูดเล่น พูดยียวน หรือกวนเล่นๆ หรือเหน็บหน่อยๆ อยู่ที่นิสัย แต่ละคน และความจริงใจ คนที่ทำงานร่วมกันมานาน ก็น่าจะดูออกได้ว่าเขามีทีท่าอย่างไร แต่ก็เห็นด้วยว่าการพูดที่ไพเราะด้วย ท่าทางที่จริงใจจะดูดีกว่า โดยเฉพาะคนที่รู้จักกันเป็นครั้งแรก


Posted by : ศิษย์เก่าศิริราช , Date : 2004-01-30 , Time : 22:25:48 , From IP : 203.113.76.71

ความคิดเห็นที่ : 10


   ขอบพระคุณครับที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ผมอยู่ในรุ่นที่ก่อนอาจารย์สรรใจจะเป็นหัวหน้าภาคกายวิภาคซักประมาณรุ่นหนึ่งครับ ถ้าจำไม่ผิดจะเป็นอาจารย์วิเชียร แต่ที่อาจารย์ทินรัตน์มาบรรยายนั้นผมเข้าใจว่าเป็นคล้ายๆ honorary lecture เปิดเทอมครั้งแรกสุดของนักศึกษาแพทย์ที่พึ่งข้ามฟาก และเข้าชั่วโมงกายวิภาคเป็นครั้งแรก ถ้ามีโอกาสผมอยากจะ trace กลับเหมือนกันว่าต้นกำเนิดใครเป็นผู้บัญญัติศัพท์ต่างๆ อีกท่านหนึ่งซึ่งเป็นประธานโครงการตำราศิริราชมานานก็จะเป็นศาสตราจารย์นพ.ภูเก็ต วาจานนท์ ก็ได้วางรากฐานการสะกดการใช้ term ต่างๆที่จะลงในหนังสือโครงการตำราศิริราช

เห็นด้วยที่ว่าความจริงใจนั้นคงจะเป็นสิ่งที่ประเมินได้ยาก และอาจจะไม่พึงประเมินโดยดูจากความสุภาพอย่างเดียว แต่การไม่สุภาพหรือลักษณะการ "โจมตี" ก็พอจะบอกอะไรๆค่อนข้างมาก

ขออนุญาตย้อนกลับไปที่ประเด็นหลักของกระทู้ จะเห็นว่าการสื่อนั้น ทั้งคนให้ คนรับ และบริบทจะสร้างบรรยากาศและโอกาสการแปลความและมีผลกระทบต่อความเข้าใจได้ตลอดเวลา ประการหนึ่งที่ผมได้เคยกล่าวถึงบ่อยครั้งคือการอภิปรายที่ลงเป้นตัวบุคคลนั้นมักจะไม่ก่อให้เกิดความสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ เพราะเป็นการดึงเอา "ค่า" ของสิ่งแวดล้อม ในที่นี้คือความรู้สึกชอบไม่ชอบต่อผู้พูด มามีผลต่อเนื้อหาใจความของสิ่งที่กำลังต้องการจะสื่อ จริงๆแล้วทุกๆคนก็มีสิ่งที่คนอื่นชอบหรือไม่ชอบทั้งสิ้น และก้เป็นเรื่องปกติที่จะมีคนชอบหรือไม่ชอบใคร เพียงแต่ในวงการ academic ถ้าเราสามารถจะ attract substance ออกมาจาก personal characters ผมคิดว่าน่าจะเป็นผลดี และคงบรรยากาศการเรียนรู้มากที่สุด นั่นคือเราไม่จำเป็นต้องชอบหน้าครูบาอาจารย์ แต่เราก็สามารถจะหาประโยชน์อะไรจากสิ่งที่กำลังนำเสนอได้ มิฉะนั้นอาจจะเป็นการลดโอกาสที่เราจะได้แลกเปลี่ยน

จะเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภาษาไทยกลาง ภาษาไทยใต้ ภาษายาวี นั้นคงไม่แตกต่างกันถ้าเราพิจารณาจุดมุ่งหมายคือการสื่อสารเป็นสำคัญ ว่าอะไรคือ substance ที่กำลังอยู่บนการแลกเปลี่ยนนั้นๆ การที่เราเริ่มเอา "character" ของคนที่กำลังสื่อด้วยมาเพิ่มหรือลดคุณค่าของข้อมูลก็อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดี จะเห็นได้ว่ามีหลายๆเรื่องที่เป็น "ความรู้สึก" หรือเป็น preference ส่วนตัว อะไรเรียกว่ามีหรือไม่มีสาระดังที่ได้มีการ feedback ลงมา ดังนั้นอีกประการหนึ่งที่เราอาจจะเริ่มต้นได้คือ common ground ของคุณค่าบางอย่างที่เราคิดว่าจะแลกเปลี่ยนกันได้ ถ้าทำยังงั้นได้ผมเชื่อว่าเราจะมีการสื่อสารที่มีประโยชน์และสร้างสรรค์ได้ดีกว่าการถกอภิปรายเร่อง character ส่วนตัวของใครทั้งแบบรู้ว่าเป็นใครหรือแบบเป็น anonymous




Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-30 , Time : 23:04:55 , From IP : 172.29.3.240

ความคิดเห็นที่ : 11


   ที่คุณ Phoenix พูดมานั้นก็รู้ล่ะครับว่าหมายถึงเรื่องอะไรที่น่าเป็นห่วงใน webboard นี้และสังคมในโลกแห่งความจริง

ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า เมื่อตอนปี 1 ได้เรียนวิชา communication skill กันแล้ว man & society กันแล้ว แต่ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรเท่าไหร่เลย

น่าจะมีหนทางแก้ไข


Posted by : ArLim , Date : 2004-01-31 , Time : 04:58:48 , From IP : maliwan.psu.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 12


   ดังที่ได้มีการบรรยายเรื่องหลักการการศึกษา และประโยชน์ของการเรียนแบบ PBL แล้ว นั่นคือการเรียนรู้ที่ไม่ได้ไปด้วยกันกับบริบทนั้นจะถูกดึงกลับมาใช้ได้ยากและถูกลืมได้เร็ว

ฉะนั้นการเรียน communication skill ในห้องบรรยายนั้นก็เหมือนการอ่านตำราแบบเก่า แห้งๆ มีแต่หลักการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง communication skill เป็นวิชาที่เน้นเรื่องความชำนาญมากกว่า cognitive domain นั่นคือต้องผ่านการฝึกฝนจนสามารถทำได้เป็นธรรมชาติโดยไม่ฝืน

อาชีพแพทย์นั้นมีความจำเป็นต้องสื่อสารกับคนมากมาย และส่วนใหญ่จะไม่ได้อยู่ในอารมณ์ที่เป็นสุขหรือเปนปกติซะด้วยซ้ำ จะเป็นคนเจ็บไข้ได้ป่วย (หรือคิดว่าตนเองป่วย ตนเองเป็นโรค ตนเองเป็นมะเร็ง) หรือกับญาติของผู้ป่วยซึ่งมีความกังวลต่อคนที่เป็นที่รัก ด้วยสถานการณ์ต่างๆเหล่านี้สามารถทำให้ผู้ป่วยหรือญาติอาจจะลดความระมัดระวังในการสื่อ หรือลดความคิดถึงผู้อื่นลง และคำนึงถึงอาการและปัญหาของตนเองเป็นหลัก นั่นคือมีการ compromise ด้านการสื่อสารที่ดีลงอยู่บ้างแล้วในส่วนของผู้ป่วย หมอจึงต้องเข้าใจและเตรียมตัวที่จะเผชิญปัญหาเหล่านี้อย่างเหมาะสม ทำให้เป็นนิสัยนั่นคือกับทุกคนที่เราสื่อด้วย จึงจะสามารถเกิดความชำนาญที่เราต้องการ

ตรวจผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นที่ห้องฉุกเฉิน ใน ward ที่ OPD ก็เป็นสถานที่ที่เราจะใช้ฝึกฝน communication ได้ แต่ไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะไม่ฝึกฝนที่อื่นๆ เช่น การสื่อสารกับเพื่อน กับรุ่นพี่ กับครูบาอาจารย์ กับพยาบาล กับน้อง หรือแม้แต่การสื่อสารกับพ่อแม่เราเอง ทั้งหมดนี้จะช่วยส่งเสริมให้เราเป็นคนมีสัมมาคารวะ มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม และเหนืออื่นใดคือสามารถสื่อกับผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผมคิดว่าการที่เราตั้งใจจะใช้ communication skill ทั้งในบทบาทแพทย์และเวลาส่วนตัวนั้นสำคัญทีเดียว มิเช่นนั้นจะเหมือนการสวมหน้ากาก เรื่องบางเรื่องเช่น ethics, health promotion, evidence-based medicine, และ communication skill เหล่านี้ เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นสำเร็จได้ "ต้อง" นำมาใช้เท่านั้น เพราะเป็น psychomotor ซึ่งความชำนาญจะเกิดขึ้นก็จากการฝึกฝน จะฝึกฝนได้ก็ต้องมีเจตคติคิดว่าดี คิดว่าดีจนกระทั่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิก คือทำได้โดยไม่ต้องฝืน ไม่ใช่ทำแบบ Dr Jeckil & Mr Hyde พอเดินออกนอก ward ก็เป็นคนละคน



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-31 , Time : 09:37:24 , From IP : 172.29.3.201

ความคิดเห็นที่ : 13


   จะทำอย่างไรให้นศพ.หรือแพทย์เห็นความสำคัญของ communication skill
เพราะเพียงแค่การเขียนให้อ่านออก เขาก็ไม่สนใจกันแล้ว


Posted by : ArLim , Date : 2004-01-31 , Time : 18:37:50 , From IP : maliwan.psu.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 14


   ผมเชื่อว่าถ้าเราถาม นศพ. หรือ แพทย์ท่านใดก็ตามว่า communication skill สำคัญหรือไม่คำตอบก็คงเหมือนๆกัน คล้ายๆกับที่เราถามว่ากายวิภาค สรีร ชีวเคมี อิมมูโน ฯลฯ สำคัญหรือไม่ แต่สำคัญกับนำมาปฏิบัตินั้นเป็นระดับที่ต่างกันของ "เจตคติ" (Attitude) ตามที่เราทราบ

อันดับต้นๆของเจตคติก็คงเป้นการยอมรับว่ามันสำคัญ อาจจะไปค้นเพิ่มเติมบ้าง ในที่สุดถ้าสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆก็จะเกิดการวิเคราะห์สังเคราะห์ตกผลึกเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิก ของ "คุณค่า" ที่นิยม หรือมากพอที่จะเก็บไว้สั่งสอนให้ลูกหลานต่อไป ตรงนี้จะค่อนข้างน่าสนใจและอาจจะนำมาใช้เป็นเกณฑ์วัดอย่างง่ายๆได้ คือเมื่อมีสองความเห็น สองแบบการนำเสนอ ลองคิดเงียบๆคนเดียวไม่ต้องบอกให้ใครรู้ว่าความเห็นใด การนำเสนอแบบไหนที่ตนอยากจะให้ลูกเรียนรู้หรืออยากจะให้ใช้ อะไรเรียกว่าสาระเป็นต้น (assume ว่าความรักลูกและอยากให้ลูกเป็นคนดีนั้น เป็น common ground ที่ทุกคนมีเหมือนกัน) สำหรับคนที่ไม่มีลูก และไม่สามารถจินตนาการได้ว่ารักลูกเป็นอย่างไรก็อาจจะลองเปรียบเทียบดูว่าแบบไหนที่เราจะบอกพ่อแม่ของเราเองว่านั่นคือสิ่งที่เราทำ สิ่งที่เราคิดว่าดีเป็นต้น

ผมไม่แน่ใจว่าสื่อที่แพร่หลายมากที่สุด เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ในปัจจุบันเป็นแม่พิมพ์ที่ดีที่สุดแล้วหรือไม่ หรือแค่ดีเฉยๆ หรือว่าไม่ดี ไม่ดีเอามากๆ คงจะขึ้นอยู่กับพื้นฐานเบื้องหลังความคิดเห็นของแต่ละปัจเจก แต่ผมก็ยังคิดว่าการพูดการสื่อที่ดีตามหลักพุทธศาสนานั้นก็ยังใช้ได้ในทุกๆสถานการณ์ เคย post ไว้แล้วครั้งหนึ่ง ว่างๆจะลองค้นย้อนกลับมาตรงนี้อีกที



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-31 , Time : 21:23:22 , From IP : 172.29.3.248

ความคิดเห็นที่ : 15


   พูดไทยคำ อังกฤษคำ มันดูเท่ห์ ดูว่าจบจากนอกไงละ หมอพูดไทย ก็หมอบ้านนอกไงละ

Posted by : คนไทยแท้ , Date : 2004-02-01 , Time : 21:51:51 , From IP : 172.29.3.239

ความคิดเห็นที่ : 16


   น่าสนใจครับ ว่าทำไมการพูดภาษาอังกฤษคำไทยคำจึงแปลว่าจบจากนอก และจบจากนอกทำไมถึงเท่ห์ และทำไมหมอพูดไทยจึงเป็นหมอบ้านนอก และหมอบ้านนอกคือหมออะไร?

ผมอยากจะอนุมานว่าหมอที่จบในประเทศไทยทุกคนมีความรู้พูดภาษาอังกฤษได้ดีพอสมควร คงไม่มีใครจบ พบ. มาโดยไม่ได้ผ่านการอ่าน textbook ภาษาอังกฤษ ตอน entrance เข้ามาก็ต้องสอบภาษาอังกฤษ ตอนเรียนก็ต้องใช้ทั้งภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ลาติน กรีก ไทย บาลี สันสกฤต ตอนทำงานต้องสื่อสารด้วยทุกภาษารวมทั้งภาษามือ ภาษากาย บางทีก็ต้องเดาภาษายาวี บางทีก็ต้องพยายามไขภาษษถิ่นตะวันออก ตะวันตก เหนือ ใต้ รวมทั้งภาษาเพื่อนบ้านเช่น จีน ถ้าเท่ห็หมายถึงมีประสิทธิภาพในการสื่อ ก็คงจะเห็นด้วย จำเป็นต้องจบจากต่างประเทศรึเปล่า ก็คงไม่จำเป็น

หมอที่ทำงานถาวรในประเทศไทยร้อยเปอร์เซนต์พูดภาษาไทยได้แต่เราคงไม่เรียกหมอเหล่านั้นว่าเป็นหมอบ้านนอกหมดทั้งประเทศ เวลาเราเจอคนอาชีพอื่นๆไม่ว่าจะพูดภาษาอะไร หรือกี่ภาษาเราก็คงจะไม่จำเป็นต้อง judge ว่าเขาเท่ห์ เขาจบที่ไหน บ้านนอกหรือเปล่า แต่คงอยู่ที่เขากับเรากำลังต้องการสื่อว่าอะไร การทำเช่นนี้มีประโยชน์มากเวลาตรวจรักษาผู้ป่วยที่มาร้อยพ่อพันแม่ต่างชาติต่างภาษา characters ต่างๆของผู้ป่วยไม่น่าจะต้องมีอิทธิพลต่อความรู้สึกกับข้อความข่าวสารที่เขากำลังสื่อ เพราะนั่นอาจจะทำให้เรา compromise ความแม่นยำในการ diagnosis หรือแม้กระทั่งมีผลกระทบต่อ prognosis และแผนการรักษาได้

ชื่อนามปากกาน่าคิดครับ ไม่ทราบอยากจะขยายบริบทสักนิดว่า "คนไทยแท้" คืออะไรได้ไหมครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-01 , Time : 22:58:53 , From IP : 172.29.3.215

ความคิดเห็นที่ : 17


   ผมว่าคนไทยแท้ เขาคือคนที่พยายามไม่ยกแม่น้ำทั้ง ๕ มาเพื่อกลบเกลื่อนสิ่งที่ตัวเองทำไท่ตรงกับที่ตัวเองพยายามกล่าวอ้างน่ะครับ และเขาคงไม่พยายามพูดภาษาอังกฤษโดยที่ยังมีภาษาไทยที่ใช้แทนได้อย่างดีครับ ไม่ต้องพยายามยกตัวอย่างอันนที่มันจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษอย่างสุดขั้วแบบ มหานทีต่ำใต้ แบบนั้นไงครับ มันดูเหมือนผู้ใหญ่ใจเด็กที่พยายามเอาชนะด้วยการประชดประชันมากกว่า

Posted by : คนไทยแท้อีกคน , Date : 2004-02-02 , Time : 13:07:38 , From IP : 172.29.3.102

ความคิดเห็นที่ : 18


   ไม่เห็นแปลกและวิบัติตรงไหนเลย อย่างน้อยเราก็ได้ศัพท์หลายคำจากพี่นกไฟ
วัฒนธรรมทุกอย่างแหละสักวันก็ต้องมีการผสมผสานเป็นหนึ่งเดียว พูดภาษาอะไรก็ได้ถ้าอีกฝ่ายเข้าใจ ไม่ว่า ไทย จีน ญี่ปุ่น หรืออังกฤษ โลกนี้ไม่ว่า genetic หรือ อะไร ก็จะหล่อหลอมเข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้น จะแยกกันทำไม
และที่บอกว่าหมอบ้านนอกเท่านั้นที่พูดไทยไม่จริงหรอก เขาดูก่อนว่าเขาพูดอยู่กับใคร เขาอยู่ในสังคมไหน คนไทยแท้ๆ น่ะ เป็นกันที่หัวใจ แสดงออกได้หลายอย่าง คนที่พูดหลายภาษาไม่จำเป็นว่ามีความเป็นคนไทยน้อยกว่าพวกคุณหรอกนะ
พี่นกไฟไม่ต้องเปลี่ยนตัวเองหรอกนะ กระดานนี้มีเสรี ใครไม่อยากอ่านก็ไม่ต้องอ่าน แต่ไม่น่ามาต่อว่าคนอื่นเรื่องภาษาเลย ถ้าหากพี่เค้าเขียนด้วยภาษาหยาบคายต่ำช้าก็ว่าไปอย่าง


Posted by : vivi , Date : 2004-02-02 , Time : 15:12:43 , From IP : 172.29.3.147

ความคิดเห็นที่ : 19


   เรีนยคุณ phoenix นกที่เกิดจากกองธุลีตน

ทำอย่างไรจึงจะสื่อ และรับการสื่ออย่างสร้างสรรค์?
ขอตอบง่ายๆว่า
เพียงแค่ฟังหรือรับสารจากอีกฝ่ายหนึ่งด้วยใจที่มีความสุขใจ ก็จะทำให้คิดดีต่อ
และส่งสารดีๆอย่างสร้างสรรค์กลับได้
พูดง่ายๆ แต่ลงมือทำอยาก

เพราะคนเรามักมีอคติเป็นทุนเดิม
.
.
.
ส่วนเรื่องการสื่อสาร พูดอังกฤษคำไทยคำนั้น มีสองกรณี
1. กับบุคลากรทางการแพทย์ด้วยกัน บางครั้งการพูดไทยคำอังกฤษคำอาจสื่อสารได้ดีและแม่นยำกว่า ลองูคำแปลศัพท์เทคนิคทางการแพทย์ที่เหล่าราชบัณฑิตแปลสิ ชวนงงงวย
2. กับบุคลที่เข้ารับการรักษา ปรึกษา ภาษาควรง่าย เหมาะสมต่อบุคคลและความเข้าใจขั้นพื้นฐานของบุคคลตรงหน้า เคยเห็นเพื่อนๆด้วยกันเองแนะนำการใช้ยาใหแก่ผู้ป่วย ด้วนภาษาอังกฤษปนไทย สงสารผู้ป่วย ที่สุดท้ายเมื่อเพื่อนถามว่า "มีอะไรไม่เข้าใจมั้ยครับ" ผู้ป่วยตอบกลับว่า "เอ่อ ไม่เข้าใจหมดเลยครับ ขอใหม่อีกครั้ง" ดีที่เพื่อนไหวตัวทัน การอธิบายครั้งที่สองเรียบ ลื่นหู

เรื่องภาษาเป็นของเอาไว้ใช้ จะยังไงก็ได้
แต่ขอให้ต่างฝ่ายต่างเข้าใจสารที่ร่วมกันสื่อออกมา
.
.
.
รอยหยักน้อยๆ แสดงความคิดเห็นได้เท่านี้
ขอบคุณมาก


Posted by : ยิ้มเดียว , Date : 2004-02-02 , Time : 16:40:28 , From IP : 172.29.2.98

ความคิดเห็นที่ : 20


   ยอมรับว่าเป็นนิยามของ "คนไทยแท้" ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนจริงๆครับ ปกติเวลาเราให้นิยาม เมื่อเราใช้ถูกต้องมีคนมีคุณสมบัติอย่างที่ว่าคนๆนั้นก็จะเป็นตามที่เราได้นิยามไว้ แต่นิยามข้างบนทำให้พอเราได้ยินแล้วนึกถึงคนไทยอย่างไรก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

ในสถานการณ์โลกปัจจุบันการเป็น "ชาวโลก" อาจจะช่วยได้หลายอย่าง แทนที่จะพิจารณาว่าตนเองเป็นเผ่าอะไรเพียงอย่างเดียว เดี๋ยวนี้เรามีความรู้พอที่จะทราบว่าเหตุการณ์เกิดขึ้น ณ จุดหนึ่งในมุมโลกด้านหนึ่ง สามารถมีผลกระทบสำคัญต่อจุดอื่นๆ SARS ระบาดจริงๆไม่กี่ประเทศ แต่ทั้งเอเชีย ยุโรป และแคนาดาโดนกระทบด้วย scale ที่ใหญ่มาก ขณะที่เราอภิปรายกันหน้าดำหน้าแดงเรื่องกุ๊กกิ๊กจุ๋มจิ๋มกันที่นี่ หลายประเทศกำลังมีสงครามบ้าง มีผู้ก่อการร้ายบ้าง บ้านเราเองก็ใช่จะสงบ

ผมสงสัยว่าการที่เราสนใจมากเกินไปกับ process ทำให้เราลืมหลักการและเหตุผลหรือไม่?

ผมสงสัยว่าการที่เราสนใจมากเกินไปกับ "ใครพูด" และพูดมาทั้งหมดมีกี่ภาษา ทำฝห้เราละเลยว่าเขา "พูดว่าอะไร" ไปรึเปล่า?

ผมสงสัยว่าการที่เราสนใจมากเกินไปกับ "ความต่าง" ของปัจเจกบุคคล ทำให้เราไม่มีความพยายามที่จะมอง "ความเหมือน" หรือ "ผลประโยชน์ร่วมกัน" ที่เราควรจะได้หรือไม่?

คำภาษาต่างชาติที่เรานำมาทับศัพท์และได้ความนิยมนั้นมีมากกว่าที่ว่า (และที่ว่านั้น ก็มากกว่าที่คุณคนไทยแท้อีกคนสามารถเจอได้อยู่แล้ว) เช่น ที่ว่าไปแล้วคือ lateral medial blood-gas ทีนี้สำหรับคนธรรมดาๆ เช่น percent taxi check bill tollway check-out check-in cheque hotel gas remote cashier lift computer software (ภาษาไทย "ละมุนภัณฑ์") TIP bonus meter, etc สำหรับแพทย์ที่ใช้ "ทุกวัน" เช่น round ward OPD ER OR Med OBGYN ENT Ortho bleeding suture knot suction swab stitch bloodgas M&M conference metting update, etc ทั้งหมดนี้เราสามารถ "แปล" เป็นไทยได้ครับ แต่สงสัยว่า "ส่วนใหญ่" นั้นเราใช้ภาษาอังกฤษมากกว่าหรือไม่?

ดังที่ผมได้ตั้งกระทู้และ "ยก" เป็นปัญหาแหละครับ สิ่งที่ต้องการจะสื่อนั้นหยุดไปไม่สามารถสื่อได้ เพียงแค่การเกี่ยงว่ามีภาษาอังกฤษปน "มากเกิน" ทำให้เราเข้าสู่ประเด็นปัญหาที่ตั้งใจยากเย็น failure of communication นั้นนำไปสู่ "สงคราม" ถ้าการสื่อที่ว่านี้เป็นระหว่างประเทศ บ่อยครั้งที่สงครามเกิดจากการที่คนไปสนใจกับสิ่งเบี่ยงเบนจนละเลยสิ่งสำคัญอีกอย่างคือ "ชีวิตมนุษย์" ถึงตอนนั้นภาษาไหนจะวิบัติอย่างไรคงไม่สำคัญแล้ว เพราะคนที่ใช้นั้นตายไปหมดแล้ว



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-02 , Time : 17:33:36 , From IP : 172.29.3.224

ความคิดเห็นที่ : 21


   "คนดีชอบแก้ไข คนจัญไรชอบแก้ตัว"

Posted by : แรมบ้า , Date : 2004-02-03 , Time : 14:22:09 , From IP : 172.29.3.102

ความคิดเห็นที่ : 22


   คนชั่วชอบทำลาย คนมักง่ายชอบทิ้ง
คนจริงชอบทำ คนระยำชอบติ

หายไปนานนะครับคุณแรมบ้า ยังเหมือนเดิม



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-03 , Time : 16:51:11 , From IP : 172.29.3.230

ความคิดเห็นที่ : 23


   คุณนกไฟไม่ได้แก้ตัวหรอก
แต่เป็นการอธิบาย คิดว่าที่คุณนกไฟเขียนภาษาอย่างนี้ก็เพราะเป็นกระดานของคณะแพทย์ คิดว่าคนที่เข้ามาอ่านส่วนใหญ่คงเข้าใจภาษาระดับนี้
แต่ว่าถ้าใครไม่เข้าใจก็อาจผ่านไปอ่านกระทู้อื่นก็ได้ หรือว่าถามคนที่เขาเข้าใจ
เราไม่เคยเห็นว่าพี่เขาใช้อารมณ์ในการ post เลยนะ
เพราะฉะนั้นจะว่าจัญไรเลยเหรอ
คนที่ทักเราว่า good morning แทนคำว่าสวัสดีตอนเช้าจะทำให้ภาษาไทยวิบัติเลยเหรอ คำไทยยังเป็นคำที่สวยเสมอ แต่ต้องใช้ให้ถูกที่ด้วย ไม่รู้สิเราคิดว่าพูดได้หลายภาษาน่ะดีแล้ว ตะกุกตะกักบ้างก็ยังดีกว่าไม่ได้หัดใช้เลย อย่างน้อยคนอ่านกระทู้ก็คงได้อะไรติดหัวไปบ้างเวลาเข้ามาอ่าน เถียงกันเรื่องอื่นดีกว่านะ
เช่นว่า ทำอย่างไรอย่าให้ผู้ป่วยล้น OPD


Posted by : vivi , Date : 2004-02-03 , Time : 17:02:12 , From IP : 172.29.3.119

ความคิดเห็นที่ : 24


   ทำอย่างไรอย่าให้ผู้ป่วยล้น OPD เหรอ

ถ้าอาจารย์ขี้เกียจตรวจถึงตอนบ่ายเหมือนพชท.ก็หัดปิดบัตรซะเซ่


Posted by : troll , Date : 2004-02-03 , Time : 22:29:24 , From IP : 172.29.3.196

ความคิดเห็นที่ : 25


   คนเสียสติชอบมั่ว คนชั่วชอบสองหัว

Posted by : สุนทรภู่ , Date : 2004-02-04 , Time : 18:09:08 , From IP : 172.29.3.102

ความคิดเห็นที่ : 26


   เคยมีความรู้สึกอย่างนี้ไหมครับ ที่ว่าเราใช้เกณฑ์ของคนบางคนที่เรารู้พื้นฐานเบื้องหลังทางความคิดมาพอจะใช้ประมาณได้ว่าเราอยากจะให้คนๆนี้ชมหรือขัดแย้งกับเรา ยกตัวอย่าง ฮิตเลอร์ หรือ พอลพต หรือ คาลิกูลา ถ้าท่านเหล่านี้เกิด approve หรือชมเชยการกระทำใดๆ ปฏิกิริยาแรกของผมคงจะเป็นรับกลับไปดูการกระทำนั้นๆเพราะกลิ่นถ้าจะไม่ดีที่ท่านเหล่านี้เกิดเห็นชอบเห็นควรด้วย

ในทำนองกลับกัน การ disapprove ของคนบางคนข้างต้น กลับทำให้เราสบายใจได้ว่าจากแนวความคิดที่ไม่ตรงกันกับคนเหล่านี้ น่าจะเป็นเรื่องดี

ฉะนั้นบางทีผมก็ดีใจที่คนบางคนไม่ชม หรืออาจจะมากกว่าถูกชมซะด้วยซ้ำ เพราะเรารู้ว่าสิ่งที่เราเห็นว่ามีค่านั้นแตกต่างกันระหว่างเรากับคนๆนั้นจากรากฐานเบื้องต้นอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งการเลือกเอากวีแห่งชาติของไทยมาใช้อะไรทำนองนั้น สิ่งเหล่านี้ช่วยยืนยันได้ว่าเรามาถูกทางแล้ว



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-04 , Time : 20:03:07 , From IP : 172.29.3.253

ความคิดเห็นที่ : 27


   พูดไทย

พูดอังกฤษ

คนเหมือนกัน



Posted by : ซาดาโกะ , Date : 2004-02-04 , Time : 21:12:42 , From IP : 172.29.3.205

ความคิดเห็นที่ : 28


   ไม่น่าเชื่อเนอะ ว่านี่คนไทย คนเป็นแพทย์ พูดคุยกันในกระดานสาธารณะ

Posted by : ArLim , Date : 2004-02-04 , Time : 21:27:48 , From IP : 203.156.38.24

ความคิดเห็นที่ : 29


   แล้วไง คนไทย คนเป็นแพทย์ ของนายเป็นยังไง อย่ากระแดะ ลืมตามองโลกแห่งความเป็นจริงบ้าง นายอาหลิม

Posted by : คนอยู่เวรวันนี้ (พอดีว่าง) , Date : 2004-02-04 , Time : 22:34:51 , From IP : 172.29.3.102

ความคิดเห็นที่ : 30


   ฟังดูเหมือนเจตนาของการตั้งกระทู้นี้ดีนะ การศื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างคือการที่พี่เตือนน้อง แล้วไปๆมาๆน้องไม่ฟังอะไรทำนองนี้

แต่ไปๆมาๆ พอมีคนเตือนคุณคนตั้งกระทู้บ้าง ก็เหมือนว่าท่านไม่ค่อยยอมรับฟังนะ

แรกๆก็เปรียบเทียบด้วยข้อความที่อ่านก็รู้ว่ากำลังประชดประชัน ประมาณมหานทีอะไรนั่น แต่ละเลยที่จะพิจารณาว่า ความจริงหลายคำที่คุณใช้ มีภาษาทยที่ใช้ได้ไม่ขัดเขินและไม่เสียความหมาย

failure of communication จะมีเนื้อหาที่ต้องการสื่อเสียไปไหม ถ้าจะใช้คำว่า การสื่อสารที่ล้มเหลว หรืออะไรทำนองนี้

academic ใช้คำว่าทางวิชาการ การศึกษา ก็ไม่เสียความหมาย

ตรงนี้ต่างหากที่คนติเขาต้องกาสรให้เปลี่ยน ไม่ใช่เปลี่ยน IVC หรือ Aorta เป็นภาษาไทยที่ฟังขัดๆหู นั่นคือคุณเองก็กำลังเบี่ยงเบนประเด็น เพื่อที่จะไม่รับฟังความคิดเห็นของคนอื่นอยู่เหมือนกัน

อันนี้อาจเป็นตัวอย่างหนึ่งของการสื่อสารที่ล้มเหลวตามที่คุณยกตัวอย่างมาเองหรือเปล่า

มาช่วงหลังๆ ยิ่งแล้วใหญ่ กำลังจะพยายาม ทำลายความน่าเชื่อถือของคนที่ติติงการใช้ภาษาของคุณอีก เอาเขาไปเทียบกับฮิตเลอร์ พอลพต รู้สึกว่าคุณพยายามปกป้องตัวเอง และมีความคิดว่า ความคิดของคุณกำลังถูกต้องที่สุด
สังเกตดูว่า คุณจะมาตอบโต้แทบทุกกระทู้ที่คิดขัดแย้งกับคุณในแทบจะกระทู้ต่อกระทู้เลย ผมว่าความคิดเห็นคนอื่นก็มีประโยชน์นะ แม้ว่ามันจะขัดแย้งกับความคิดคุณก็ตาม แต่เท่าที่เห็น ทุกความเห็นที่ต่างจากคุณ จะโดนโต้แย้งหรือหักล้างอยู่ตลอดเวลา

การไม่รับฟังความเห็นที่แตกต่าง อันนี้ต่างหากที่คล้ายฮิตเลอร์ หรือ มุสโสลินีเอามากกว่าที่คุณจะพยายามว่าคนอื่นนะ

ยอมรับว่าไม่รู้จักกับใครสักคนที่กำลังเถียงๆกันอยู่เลย แต่ขอโทษด้วยที่ความคิดเห็นจะไปเหมือนกับคนที่แย้งกับผู้ตั้งกระทู้

ยอมถอยหลังอีกสักก้าว เราจะมองเห็นโลกกว้างขึ้นอีกเยอะนะ


Posted by : Ikarus , Date : 2004-02-05 , Time : 14:13:41 , From IP : 172.29.3.192

ความคิดเห็นที่ : 31


   เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคุณ Ikarus, เดี่ยวผู้ตั้งกระทู้ก็จะมาอธิบายความเห็นของคุณด้วยภาษาไทยคำ อังกฤษคำ เหมือนที่ผ่านๆมาแหละ

Posted by : แมวดำ , Date : 2004-02-05 , Time : 15:36:26 , From IP : 172.29.1.152

ความคิดเห็นที่ : 32


   เห็นด้วยกับคุณ Ikarus ครับ
กำลังรอให้ลุงนกมาเถียงอยู่ว่าจะเบี่ยงประเด็นเป็นอะไรอีก
ผมว่าน่าจะเอาอย่างคุณ Shonikeka นะ ที่ใช้ภาษาไทยได้อย่างสละสลวยและใช้ภาษาอังกฤษเฉพาะเท่าที่จำเป็น


Posted by : libmedpsu , Date : 2004-02-05 , Time : 17:11:25 , From IP : 172.29.3.102

ความคิดเห็นที่ : 33


   เบื่อ นกไฟ

Posted by : นักเรียน , Date : 2004-02-05 , Time : 17:30:52 , From IP : 172.29.3.102

ความคิดเห็นที่ : 34


   เบื่อ นกไฟ

Posted by : นักเรียน , Date : 2004-02-05 , Time : 17:30:52 , From IP : 172.29.3.102

ความคิดเห็นที่ : 35


    ข้าเคยได้กล่าวแล้วในเรื่องนี้ " สำนักกระยาจกมีวิชาไม้เท้าตีสุนัขอันเรื่องลือฝากไว้ในยุทธจักร แต่ยามนี้พรรคมารมีอำนาจเหนือยุทธภพ วิชาคัมภีร์ทานตะวันคือสุดยอดแห่งวิชาในกาลนี้ ชาวยุทธใดสามารถบรรลุวิชานี้นับเป็นสุดยอดจอมยุทธ ศิษย์พรรคกระยาจกต่างรู้ดีในความจริงข้อนี้ ต่างคนก็หาวิถีทางที่จะได้ล่ำเรียนวิชา บางคนลงทุนเล้นกายสู่พรรคมาร บางคนได้รับการถ่ายทอดมาหลายสำนัก วิชาที่ได้มาแสดงได้บางท่า ชาวยุทธก็ยำเกรง รู้สึกภูมิใจในตัวเอง แต่แล้วบางคนกลับไม่สามารถนำพลังในคำภีร์ทานตะวันมาใช้ได้จริงดังศิษย์พรรคมาร ถึงคราวต้องต่อสู้กันก็เป็นฝ่ายปราชัยมิเป็นท่า ในบางโอกาสหากคับขันการที่ศิษย์พรรคกระยาจกอาจใช้กระบวนท่าพิศดารในคัมภีร์ทานตะวันผสมผสานบ้างก็มิอาจดูถูก ก็แต่มิใช่วิชาปนเปไปหมดไม้ตีสุนัขก็มิใช่ ทานตะวันก็ไม่เชิง กลายเป็นวิชาทานสุนัขไป"
ปล ผู้กระยาจกฉันใดก็เป็นผู้กระยาจกฉันนั้น วิชาไม้เท้าตีสุนัขแม้จะมิประเสริฐเลิศล้ำก็หาใช่อ่อนด้อยไม่ หากผู้กระยาจกสามารถใช้อย่างเชี่ยวชาญก็เป็นเอกอุในยุทธภพได้ และแหงนหน้ามิอายฟ้า ก้มหน้ามิอายดิน
หากคำกล่าวขอข้าน้อยกระทบชาวยุทธท่านใด ข้าน้อยต้องขออภัย ข้าน้อยขอตัวก่อน "พลังฝ่าเท้าเหยียบเมฆา!!!!!


Posted by : ฮวยบ่อข่วย , Date : 2004-02-05 , Time : 17:40:29 , From IP : 172.29.3.247

ความคิดเห็นที่ : 36


   จริงๆแล้วยิ่งความคิดเห็นแตกต่างกันยิ่งดีครับ นั่นคือวัตถุประสงค์เลยทีเดียว

ผมไม่ได้หมายความว่าฝ่ายตรงข้ามกับ "ผม" เป็นฮิตเลอร์ หรือพอลพต (จริงๆที่เขียนไปแล้วนั้น ไม่น่าจะมีอะไรแสดงว่าฝ่ายไหนเป็นฮิตเลอร์หรือพอลพตไปได้) แต่การที่เรามี "ความต่าง" กันที่รากฐานของความคิดนั้น จุดสำคัญอยู่ที่เราสามารถให้เหตุผลของความต่าง และที่สุดคือใช้ชีวิตอยู่กับความต่างนั้นได้ ทั้งสองฝ่ายมีการตั้ง "คุณค่า" ที่แตกต่างกัน พอมีการตั้งคุณค่าก็จะมี "ดี" และ "ไม่ดี" ทีนี้คนที่ไม่เห็นด้วยกับผมก็จะมี set ของคุณค่าที่ตรงกันข้ามกับผมก็สามารถคิดได้ว่าผมนั้นคือฮิตเลอร์หรือพอลพต และใช้เป็นมาตรฐานของจริยธรรมต่อๆไปได้ว่า ต่อไปนี้อะไรที่ผมคิดและไม่เหมือนเของเขาก็จะมาจากรากฐานของคุณค่าที่ต่างกันนี้ เราก็จะสร้าง personality ของเราจากคุณค่าที่เราคิดว่าดี

เวลาที่มีการอภิปรายหรือคุณค่าหรือจริยธรรมนั้น จุดมุ่งหมายเบื้องต้นคงไม่ใช่เริ่มที่ "จะเปลี่ยน" บุคคลฝ่ายตรงกันข้ามก่อน แต่เป็นการ clarify คุณค่าของแต่ละฝ่ายว่าคืออะไร และทำไมจึงคิดอย่างนั้นๆ ผมคิดว่าตั้งแต่กระทู้ที่มีความขัดแย้งชิ้นแรกๆ ผมได้ให้นิยามและปรัชญาของ communication ที่ผมเข้าใจไว้เรียบร้อยแล้วว่า สิ่งที่ผมเห็นว่าสำคัญที่สุดของ communication คือ "การสื่อความเข้าใจ" ไม่ใช่ "วิธี" หรือ "ใช้ภาษาอะไร" ดังนั้นผมจะพิจารณาว่าผู้ฟัง (หรืออ่าน) สามารถเข้าใจสื่อหรือไม่ แล้วก็จะใช้โดยความสะดวก มากกว่าที่จะใช้กฏว่าผมจะต้องใช้ภาษาอังกฤษต่อภาษาไทยใน ratio เท่าไหร่จึงจะสามารถ "เข้าเกณฑ์" ของทุกท่านได้ สาเหตุประการหนึ่งก็คือพิมพ์ภาษาอังกฤษนั้น (สำหรับผม) ง่ายกว่าพิมพ์ภาษาไทยหลายเท่า ดังนั้นในเวลาที่เท่ากันทำไมต้องทำอะไรให้มันยุ่งยากมากขึ้น การที่มีคนไม่พอใจนั้นไม่ได้หมายความว่าผมควรจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมตามความเห็นชอบของทุกๆท่านถ้าประเด็นนั้นไม่ใช่ความเดือดร้อน แต่เป็นแค่ความชอบ ดังที่ผมด้ชี้แจงไปแล้วว่าที่มีท่านหนึ่งได้บอกว่าเป้นการทำให้ "ภาษาวิบัติ" นั้น ผมไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่ได้รับการอธิบายเพิ่มเติมในเรื่องนี้ของอีกฝ่ายหนึ่ง ผมก็คิดว่าประเด็นนี้คงกำลังมีการพิจารณาเพิ่มเติมและชี้แจงเพิ่มขึ้นหรือไม่ แต่ที่ได้รับมากลายเป็นอย่างที่เห็น

ที่ผม "ต้องการ" จะสื่อ และเห็นได้ค่อนข้างชัดจาก episode นี้ก็คือส่วนของ "เนื้อหา" ที่ผมตั้งนั้นถูกละเลยตั้งแต่ต้น จริงๆแล้วไม่รังเกียจที่จะมีท่านอื่นท่านใดจะตั้งกระทู้ใหม่เกี่ยวกับการสื่อโดยใช้ภาษาเดียวหรือมากกว่าหนึ่งภาษา โดยปกติผมจะพยายามรักษา "ประเด็น" ของกระทู้ที่ตั้งไว้ให้มากที่สุด ซึ่งในกรณีนี้ยอมรับว่าพยายามแล้วไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่

ที่คุณ Ikarus ว่ามานั้นมีประเด็นที่น่าสนใจคือ communication นั้น ทุกคนก็ทราบว่าคือ "การสื่อสาร" failure คือ "ความล้มเหลว" ผมสงสัยว่าทำไมประเด็นกลายมาอยู่ที่ฝ่ายหนึ่งต้องบังคับให้อีกฝ่ายใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งจึงจะพอใจ? ถึงขนาดต้องมีการลงไปที่ใช้คำด้าว่าประณามอย่างที่เห็น?เมื่อเนื้อหาที่ต้องการสื่อ "ได้สื่อ" อย่างที่คุณ Ikarus เข้าใจอย่างถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ว่า communication failure คือ การล้มเหลวของการสื่อสาร แล้ว ทำไม่เราต้องมาหยุดอภิปรายที่ว่าภาษาที่นายใช้ฉันไม่พอใจ และทำไมเรื่องต้องมาหยุดที่การให้ผมต้องเปลี่ยนมาใช้ภาษาหรือศัพท์ที่คุณ approve ด้วยล่ะครับ? ทางจริยศาสตร์มีศัพท์อยู่คำหนึ่งคือ autonomy ความเป็น "เอกบุคคล" (ผมแปลเองคำนี้ สาเหตุที่ต้องใช้เพราะ autonomy เป็นศัพท์ที่จำเพาะและ Ethic ทางตะวันตกเป็นผู้วางรากและเขียนโครงสร้างไว้ก่อน) ที่แพทย์จะต้องเคารพ ความเป็นบุคคลของผู้ป่วย ความสามารถในการ "ตัดสินใจ" ว่าอะไรควรไม่ควร และแพทย์ทุกคนต้อง "เคารพ" ในส่วนนั้นๆ ผมสงสัยว่าการที่ใครจะบังคับให้ใครทำตามที่เราพอใจนั้นจะขัดกับหลักจริยธรรมอันนี้หรือไม่? ถ้าเปลี่ยนจากผมเป็นคนไข้ที่ใช้ภาษาอย่างเดียวกันกับผมจะมีใครบังคับให้เขาเปลี่ยนการใช้ภาษาเพราะจะเป็นคนทำให้ "ภาษาวิบัติ" หรือไม่? และใบรรดาศัพท์ภาษาอังกฤษที่แปลไทยนั้นทำไมจึงคนจำได้แค่สองคำที่ผมจงใจ exaggerate นั้น?

ในการอภิปราย Palliative Care Conference สาเหตุความผิดพลาดที่ราพบในชีวิตการทำงานจริงๆคือการไม่เคารพ "autonomy" ของผู้ป่วยนั่นเอง คือการที่แพทย์ไม่คิดว่าผู้อื่นมีสิทธิ์ในการดำรงชีวิตอย่างที่เขาต้องการ แต่ต้องดำเนินตามที่แพทย์ท่านนั้นเห็นว่าดีที่สุดเท่านั้น จะต้องผ่านการ approved โดยแพทย์ท่านนั้นจึงเรียกว่าดี

โปรดกรุณาสังเกตเวลาผมยกเหตุผลนั้น แต่ละคนจะเกิด idea of reference ว่าหมายถึงใครเอง ซึ่งสามารถจะหมายถึงใครก็ได้ ตามบริบท ตามประสบการณ์เก่าก่อน หลังจากนั้นถ้าบังเอิญคิดว่าเหมือนตนเอง (จริงๆที่ผมยก ฮิตเลอร์ พอลพต คาลิกูลา นั้น ได้พยายามคิดเผื่อไว้แล้วว่าไม่น่าจะมีใครเปรียบตัวเองเหมือนท่านโฉดเหล่านี้ แต่ก็ยังไม่สำเร็จ) เป็นเรื่องที่สุดวิสัยของใครทั้งสิ้น

คุณ Ikarus สังเกตถูกต้องแล้วครับ เวลามีคนแสดงความเห็นไม่เหมือนหรือแตกต่างจากผม ในหัวข้อที่พาดพิงหรือกเยวกับกระทู้ที่ผมตั้ง ผมรู้สึกว่าเป็นการสุภาพที่จะตอบกระทู้นั้นๆ และถ้าผมไม่เห็นด้วยก็จะให้เหตุผลว่าทำไม ผมไม่คิดว่าจะเป็นการ discredit อะไรฝ่ายตรงข้าม ไม่งั้นแล้วเราจะอภิปรายกันได้อย่างไรถ้าไม่แสดงเหตุผลที่แตกต่างกัน?

ผมดีใจที่ยังมีพี่ว่าวที่เป็นที่มั่นยึดเหนี่ยวและเห็นด้วยกับทุกคนว่าสามารถปรึกษาท่านได้ และจะสนับสนุนให้ทำอย่างนั้นแน่นอน แต่เท่าที่ความสามารถในการพิมพ์และการสื่อของผมเป็นอย่างนี้ ผมสามารถยอมรับได้อย่างปกติว่าเป็น handicap ส่วนตัวของผมเองที่จะใส่ภาษาอังกฤษที่หลายท่านไม่พอใจนั้นลงไป ตราบที่ผมคิดว่ายังสื่อได้ การเห็นชอบหรือไม่นั้นเป็น autonomy ส่วนบุคคล แต่ผมไม่เห็นด้วยที่เราเริ่มมีการก่นด่ากันโดยไม่ใช้เหตุผล เช่นกันถ้าที่เขียนมามีใครรู้สึกว่าผมออกนอกประเด็นก่อน ก็ขออภัย ผมจะพยายาม respond ให้อยู่ในขอบเขตของกระทู้ที่ผมได้ตั้งไว้ และตามประเด็นที่ท่านทั้งหลายได้ยกมา

ว่าแต่ว่าจะมีใครเพิ่มเติมเรื่องภาษาวิบัติกันได้รึยังล่ะครับ เผื่อผมจะเปลี่ยนใจและกลับมาเห็นด้วย รณรงค์เลิกใช้คำว่า communication failure เลิกใช้คำว่า academic ตอนนี้ผมยังคิดจะแนะนำคุณ Ikarus ว่า ถ้าคุณสามารถทำใจให้รู้สึกเฉยๆกับเรื่องนี้ จะทำให้มองกว้างมากขึ้นหรือไม่? เพราะเมื่อเปรียนเทียบกันแล้ว ผมว่าการ ban การใช้อะไรนั้น ไม่น่าจะทำให้เรามองอะไรกว้างกว่าการ "ยอมรับ" ให้ใช้อะไรเพิ่มมากขึ้น เห็นด้วยไหมครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-05 , Time : 18:05:37 , From IP : 172.29.3.241

ความคิดเห็นที่ : 37


   ก่อนที่เราจะลงอะไรที่กลายเป็น personal มากกว่านี้ ผมขออนุญาตเสนอทางออกอย่างนี้นะครับ

ประการแรกผมไม่รู้จักใครที่พิมพ์ลงมา ณ ที่นี่บ้าง ฉะนั้นนั่นตัดปัญหาไปได้เปลาะหนึ่ง

ประการสอง ผมคิดว่าจากระยะเวลาที่ผ่านมา ถ้าบังเอิญในระหว่างเราที่กำลังโต้ตอบอยู่นี้ทราบว่าผมเป็นใคร ในอนาคตเราสามารถทักทายกันได้ตามแต่ท่านเห็นสมควร

ประการที่สาม เรามาตกลงกันแบบหลักจริยธรรมสากลคือ คนเราควรมีความเคารพใน autonomy นั่นคือ ขณะที่เราสามารถแสดงชี้แจงเหตุผล หรือคุณค่าทางศีลธรรมหรือทางปฏิบัติที่เราต่างเห็นสมควร เราก็แค่เคารพว่าแต่ละปัจเจกบุคคลมีวิถีชีวิตของตนเอง การจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนพฤติกรรมนั้นคงจะเป็นเรื่องที่เราไม่ได้มาทำกันผ่านกระดานข่าวได้สักเท่าไหร่ ซึ่งอย่างมากที่สุดที่เราจะทำได้ ก็คือ "ให้เหตุผล" แล้วทุกฝ่ายก็กลับไปคิดไตร่ตรองว่าอะไรที่เราจะรับมาใช้ ไม่รับก็จบแค่นั้น ไม่จำเป็นต้องมาก่นด่าให้เมื่อและเสียสายตากันเปล่าๆ ทำเหมือนกับที่แพทย์ทุกคนควรจะทำกับผู้ป่วย คือ เคารพ autonomy ของผู้ป่วยและให้ดำเนินชีวิตไปตามนั้น

ผมยอมรับได้ว่าผมไม่ใช่คนสมบูรณ์พร้อมทุกอย่าง แต่ในขณะเดียวกัน "คุณค่า" บางอย่างที่ผมเทอดทูน ก็ถูก shared โดยแพทยฺรุ่นอาวุโส รุ่นปูชนียแพทย์หลายๆท่าน อ่านในหนังสือจริยธรรมก็ตรงกันบ้าง นั้นผมเสนอว่าเราแต่ละคน กลับไปใช้หลักกาลามสูตรของพระพุทธเจ้า ไตร่ตรองดูว่าพฤติกรรมแบบไหนเราเห็นด้วย อันไหนไม่เห็นด้วย ผมจะทำอย่างเดียวกัน ที่สุดเราแต่ละคนก็จะมีทางเดินของเราเอง ผมคิดว่าบนกระดานข่าวแห่งนี้ นี่คือมากที่สุดที่เราจะทำได้

ขอบพระคุณที่รับฟัง และขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาให้ความเห็น



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-05 , Time : 20:55:42 , From IP : 172.29.3.239

ความคิดเห็นที่ : 38


   Hello! Mr.Phoenix I love You
Do not care about stupid problem
Please change your nationality to American like me
You will happy Ha Ha Ha!


Posted by : Dr.Neal , Date : 2004-02-05 , Time : 20:58:40 , From IP : 172.29.3.238

ความคิดเห็นที่ : 39


   คุณ phoenix คะ, คำว่า โปรด กับ กรุณา ไม่นำมาใช้ร่วมกันค่ะ ถ้าใช้โปรดแสดงว่าต้องการให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด(เชิงคำสั่ง) ถ้าใช้กรุณาแสดงว่าเป็นการขอความร่วมมือ(ทำก็ได้ไม่ทำก็ได้แต่ขอความร่วมมือให้ช่วยทำตามที่ร้องขอ)
บังเอิญดิฉันนิยมภาษาไทย จึงขอแสดงความเห็นในส่วนการใช้ภาษาไทยค่ะ


Posted by : แมวดำ , Date : 2004-02-06 , Time : 09:16:31 , From IP : 172.29.1.196

ความคิดเห็นที่ : 40


   กรุณาหมายถึงต้องการให้คนอื่นพ้นทุกข์ หรือความลำบาก ส่วนเมตตา หมายถึงทำให้เป็นสุข อิ่มเอม

Posted by : แมวดำดำ , Date : 2004-02-06 , Time : 10:02:17 , From IP : 172.29.3.147

ความคิดเห็นที่ : 41


   "..ยอมถอยหลังอีกสักก้าว เราจะมองเห็นโลกกว้างขึ้นอีกเยอะ.."
ชอบคำนี้จังเลยค่ะ..น่าคิด


Posted by : Aphrodite , Date : 2004-02-06 , Time : 13:27:05 , From IP : 172.29.1.231

ความคิดเห็นที่ : 42


   พวกแกทำไมทำกันแบบนี้

ลุงนกไฟเขาอุตส่าห์ตั้งกระทู้ดีๆให้พวกแกได้ discuss กัน แกกลับไปรุมด่าว่า

ว่าเขาเลวอย่างนั้นเลวอย่างนี้
หาว่าเขาทำภาษาไทยวิบัติ
หาว่าเขาชอบประชดประชัน
หาว่าเขาไม่ฟังความเห็นคนอื่น
หาว่าเขาชอบเบี่ยงประเด็น
หาว่าเขาเป็นนก2หัว
หาว่าเขาวันๆไม่ทำการทำงานเอาแต่นั่งตอบกระทู้
หาว่าเขาชอบว่าคนอื่นเป็นเผด็จการ
หาว่าเขาหลักการไม่ได้เรื่อง
หาว่าเขาเก่งแต่ปากทำจริงไม่ได้
หาว่าเขาชอบด่าคนอื่นที่ความคิดไม่ตรงกับเขา

พวกแกมันเลวจริงๆ จริงๆนะ จะบอกให้


Posted by : หนูรักลุงนกไฟ , Date : 2004-02-06 , Time : 16:59:15 , From IP : 172.29.3.170

ความคิดเห็นที่ : 43


   ผมคิดว่าการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันนั้นเป็นเรื่องดีครับ ตราบใดที่ยังคงไว้ซึ่งสัมมาวาจา ละการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดหยาบคาย สิ่งหนึ่งที่จะเกี่ยวกับ communication failure มากที่สุดคือการไม่สามารถคงอยู่กับสิ่งที่ต่างกับเราได้โดยคงไว้ซึ่งความเคารพความเป็นปัจเจกบุคคลของผู้อื่น

ที่ว่าเป็นนกสองหัวนั้น เป็นจริงๆครับ เนื่องจากชื่อจริงผมไม่ใช่ Phoenix ฉะนั้นในนามของ Phoenix ผมก็ยังมีอีกชื่อหนึ่ง หรืออาจจะหมายถึงการที่คนๆหนึ่งในชีวิตนั้นมีหลายบทบาท หลายหมวก หลายหน้าที่ อ่านไม่เจอตรงไหนว่าผมไม่มีหลักการ หรือหลักการไม่ได้เรื่อง แต่ในเวลาเดียวกันก็หาไม่เจอว่าหลักการของอีกฝ่ายหนึ่งว่าอย่างไรเหมือนกันจึงวิจารณ์เปรียบเทียบไม่ได้ ส่วนเก่งแต่ปากทำจริงไม่ได้นั้น ไม่ทราบบริบทตรงนี้นะครับ เพราะหัวข้อกระทู้นั้นผมยังไม่ได้ทำอะไรเลย เป็นคำถามเฉยๆ ฉะนั้นเก่งอะไรแค่ไหนยังไม่ได้มีการกล่าวอ้าง (จริงๆแล้ว สงสัยว่าตนเองเคยว่าตนเองเก่งอะไรบ้างรึเปล่าซะด้วยซ้ำ) ส่วนด่านั้น ไม่มีใครว่าครับ แต่ประชดประชันนั้นเยอะจริง

ดีหรือเลวนั้นได้รับการปรุงแต่งมาแล้ว อาจจะมีบางเรื่องบางประการที่จริยศาสตร์ได้มีข้อตกลงว่าไม่ดีแน่นอน (ซึ่งก็ยังเป็น "สัมพัทธ์" อยู่ดี แต่ใน scale ที่สูงขึ้น และทำโดย ethicists) แต่ทั่วๆไปแต่ละคนจะมีการตั้งค่าความดีเลวนี้ไว้แล้ว และอาจจะมีการปรับเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ที่เพิ่มมากขึ้น หรือที่ได้สั่งสมไว้แต่เดิม ผมคิดว่าเราไม่ควรว่าใครเลวอย่างไร แต่กระดานสาธารณะแห่งนี้น่าจะนำมาใช้เพื่อแสดงเหตุผลที่ต่างหลากหลายกันมากกว่าหรือไม่?

นอกจากถอยก้าวออกมาแล้ว การเดินวนดูรอบๆจะช่วยให้เห็นได้มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงด้านหลังซึ่งถอยอย่างเดียวอาจจะไม่พอ ก่อนจะตัดสินใจอาจจะต้องพิจารณาดูเบื้องหลัง หรือ "เจตนา" ว่าเรื่องที่อยู่ตรงหน้า กระทู้ที่กำลังอ่านมีความเป็นมาอย่างไร และแต่ละชิ้นแต่ละข้อมูลที่เรียงกันอยู่นั้นมีเจตนาและความเป็นมาอย่างไร

ถ้าเราอ่านกระทู้ทุกกระทู้ ที่บนกระดานไหนๆก็ตาม เราจะสังเกตพบว่าเราไม่เคยที่จะเปลี่ยนใครได้ลำพังเพียงอภปรายบนกระทู้นี้ คิดดูผมมั่นใจว่าพ่อแม่ครูบาอาจารย์ของเราทุกคนก็ได้อบรมสั่งสอนการพูดการใช้ภาษามาเป็นอย่างดี และเป็นการสั่งสอนกันตัวต่อตัว มีรูปร่าง มีการสัมผัส เราก็ยังไม่ฟังกันได้ ทำไมจะมาฟังคนที่ไม่เห็นหน้าตา ใครก็ไม่รู้ พูดเพราะหวังดีหรือเปล่าหรือเพราะหวังร้าย ซ่อนอะไรอยู่หลังชื่อ หลังคำพูด เสแสร้งขนาดไหน ฯลฯ จากกระดานข่าวก็คงจะยาก ดังนั้นกระดานข่าวจะเป็นแค่ที่ที่เราแสดง "ความต่าง และความเหมือน" เมื่อมีหัวข้อกระทู้ตกลงมาให้อภิปรายกัน ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าเราสามารถเรียนรู้ที่จะอยู่กับความต่างได้ ผมว่าตรวนี้อาจจะเป็น communication skill ที่สำคัญในอนาคต เพราะผมคิดว่าสาเหตุของสงคราม ของความขัดแย้งต่างๆนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นถ้าเราเรียนรู้ที่จะอยู่กับความต่าง ถ้าเราเรียนรู้ที่จะเคารพ autonomy ซึ่งเป็นหัวข้อจริยธรรมหัวข้อหนึ่งที่แพทย์จะต้องยึดถือปฏิบัติ ไม่เพียงแต่จำเพาะกับคนไข้ แต่กับทุกๆคนที่เราเกี่ยวข้องด้วย


ขออนุญาต quote
"I could be bounded in a nutshell and count myself a king of infinite space... " __Shakespeare, Hamlet, Act 2, Scene 2

อาจจะเป็นเป้าหมายในอุดมคติ แต่อย่างน้อยก็เป็นเป้าหมาย



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-06 , Time : 18:39:23 , From IP : 172.29.3.246

ความคิดเห็นที่ : 44


    could be bounded in a nutshell and count myself a king of infinite space... = กบในกะลารึเปล่าคะ

Posted by : นกน้ำ , Date : 2004-02-07 , Time : 10:57:14 , From IP : 172.29.3.201

ความคิดเห็นที่ : 45


    could be bounded in a nutshell and count myself a king of infinite space... = กบในกะลารึเปล่าคะ

Posted by : นกน้ำ , Date : 2004-02-07 , Time : 10:57:31 , From IP : 172.29.3.201

ความคิดเห็นที่ : 46


   คือความสวยงามของวรรณกรรมครับ

เคยดูภาพยนต์เรื่อง Rashomon ไหมครับ กำกับโดย Akira Kurosawa ปี 1950 ไม่เพียงแต่เรื่องดีจะยอดเยี่ยมในด้านการแสดงของตัวเอกทุกตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Toshiro Mifune ที่แสดงเป็นโจร แต่สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีมากถึงเรื่อง perception จากมุมมองด้านต่างของบุคคล ที่จะมีการใช้พื้นฐานความเข้าใจ ความต้องการ และความคาดหวังมาประกอบการตีความเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เรื่องนี้เป็นเรื่องของ ขุนนาง (อืม...ไม่แน่ใจว่าใช่ เขาเรียก Nobleman) กับภรรยาเดินทางในชนบท ผ่านเข้าไปในป่าถูกโจรป่าทำร้าย โจรฆ่าขุนนางและข่มขืนภรรยา หลังจากนั้นก็ถูกจับและนำมาสอบสวน เนื้อเรื่องจะเป็นการแสดงการสอบปากคำและเหตุการณ์จากมุมมองของแต่ละคน จากภรรยา จากโจร จากพยาน และแม้กระทั่งจากวิญญานของผู้ตายเอง ออกมาเป้นคนละแง่คนละมุม ขึ้นอยู่กับ "บริบทภายใน" ไม่ใช่บริบทภายนอก

บริบทภายในนี้ก็คือบุคลิก ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ ที่เราจะใช้ทุกครั้งที่จะตีความเมื่อได้รับข้อมูลข่าวสาร ไม่เพียงแต่ "เนื้อหา" รวมทั้งมาจาก "ใคร" ด้วย ถ้าฉันไม่ชอบหน้าหมอนี่ จะต้องไม่มีอะไรดีออกมาจากปากหมอนี่แน่ๆ ฉันรักคนๆนี้ ไม่ว่าจะพูดอะไรฉันชอบแน่ๆ หรืออาจจะมาจากพื้นฐานที่สอดคล้อง เช่น ฉันชอบเรื่องทำนองนี้ฉะนั้นแปลว่าถูก เรื่องนี้คุกคามความเป็นคนดีของฉัน ฉะนั้นเรื่องนี้ไม่ถูก หรืออาจจะมาจากความต้องการหรือคาดการณ์ล่วงหน้า วันนี้ฟ้าครื้มฝนน่าจะตก ฉันอยากไปตกปลา วันนี้ฟ้าครื้มแต่ฝนคงไม่ตกเพราะลมแรงมาก ฉันจะได้ไปเที่ยว ฯลฯ

การรับรู้ข่าวสารข้อมูลนั้นซับซ้อน และเป็นของปัจเจกบุคคล กระนั้นก็ยัง "ควบคุม" ได้พอสมควร โดยการเขยิบมองไปที่ปลายทางและหวังให้เป็นผลบวกหรือลบ เสริมหรือทำลายตัวเราเอง ทุกๆอาจจะเดินผิดบ้างถูกบ้าง แต่ทุกๆคนเป็นนายของตนเอง และเป็นทาสของผลแห่งการกระทำนั้นๆ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-07 , Time : 11:23:30 , From IP : 172.29.3.253

ความคิดเห็นที่ : 47


   s;yffu

Posted by : นอรี , E-mail : (msppp@hotmail.com) ,
Date : 2006-09-02 , Time : 09:55:31 , From IP : DIAL198-NAS216.anet.


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.019 seconds. <<<<<