ความคิดเห็นทั้งหมด : 19

นศพ.ชั้นclinic อยากเสนออะไรเกี่ยวกับระบบการเรียนของเราบ้างไหม


   ที่ผ่านมาในแต่ละblock ได้แต่comment รูปแบบของแต่ละ block คราวนี้ลองถอยออกมามองในภาพรวมที่กว้างขึ้น ว่ารูปแบบอย่างนี้มันดีรึเปล่า ทั้งเรื่องเวลา สัดส่วนเนื้อหา การประเมินผล ฯลฯ เพื่อน้องๆรุ่นต่อไปน่ะ คิดว่าระบบการเรียนจัดมาเพื่อเรา เราก็ควรจะมีส่วนในการวิจารณ์หรือเสนอแนะ อย่างมีเหตุผลนะครับ

Posted by : เด๋อ , Date : 2004-01-26 , Time : 00:02:14 , From IP : 172.29.4.89

ความคิดเห็นที่ : 1


    ผมก็อยากจะเสนอนะครับ ... แต่คิดว่าคงไร้ประโยชน์ ในเมื่อ....มีวิสัยทัศน์ที่แคบแบบนี้ ไม่ยอมรับฟังปัญหาของพวกเรา คิดแต่อยากจะได้เป็น pioneer โรงเรียนแพทย์ PBL รู้สึกว่าตอนนี้ที่จุฬา ก็ปรับหลักสูตรเป็น PBL แล้ว คราวนี้ละ ก็จะได้รู้จริงๆซะทีว่าที่เค้ารียกว่า pioneer ของจริงหนะ เป็นยังไง ไม่ใช่แบบของ....นี้

Posted by : DM , Date : 2004-01-26 , Time : 18:04:58 , From IP : 203.113.77.4

ความคิดเห็นที่ : 2


   ของจริงที่จุฬาเป็นยังไงเหรอครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-26 , Time : 18:23:36 , From IP : 172.29.3.214

ความคิดเห็นที่ : 3


   ผมว่า
1. บางบล็อกไม่รู้จะเรียนทำไม เช่น Health promotiion เสียเวลา
เสนอว่า เอาเนื้อหามารวมในคอมเม็ด เอาก็น่าจะได้ เนื้อหาก็คล้ายๆกัน

2. ออโถ ทำไมแบ่งย่อยได้ขนาดนี้ อยู่ใน block pre post op ปี ๔ สองสัปดาห์ (ต้องไปวิสัญญีด้วยนะ) แล้วหายไปเลยปีนึง โผล่มาอีกทีตอนอยู่ block pre post op ปี ๕ อีก สองสัปดาห์ แล้วยังแยกเนื้อหา พวก OPD ไปบล็อก Ambu อีก ส่วนไอพวก OA ก็ดันเอามาเรียนตอน med ซะได้ แถมออกสอบด้วย งง มาก ไม่ปะติดปะต่อกันเลย
ข้อเสนอ ตัด health promo ซะแล้วเพิ่มเวลาให้เรียนออโทเป็นเรื่องเป็นราวซะที

3. Pre Post op ของปี ๕ เนื้อหาของหน่วยมากไปนะครับ อยู่แค่ ๔ สัปดาห์ (แต่ต้องเรียนตั้ง ๖ หน่วย)
ข้อเสนอ ควรแบ่งบางหน่วยไปปี ๔ บ้างนะครับ เช่น Uro เห็นปี ๔ มี lecture neuro ด้วยแบ่งไปเรียนได้ก็น่าจะ work

4. เรียน med ทั้งปี ๔ ปี ๕ มีตารางออก OPD แค่ ๖ ครั้งเอง จะไปทำมาหากินได้ไงครับเนี่ย
ข้อเสนอ ให้ปี ๔ มีออก OPD และเพิ่มในปี ๕ ด้วย)

5. ยังคิดไม่ออก


Posted by : 5th year , Date : 2004-01-26 , Time : 20:36:14 , From IP : 172.29.4.100

ความคิดเห็นที่ : 4


   ข้อ 3 แก้ neuro เป็น uro

Posted by : 5th year , Date : 2004-01-26 , Time : 20:38:08 , From IP : 172.29.4.100

ความคิดเห็นที่ : 5


   เห็นด้วยเรื่องตัด health promation ออกซะ

แต่เหลือไว้ก็ได้ว่างดี สบายสุดๆ เที่ยวเล่นสนุกไปเลย ที่ว่าอย่างนี้ไม่ได้ต้องการให้เพิ่มเนื้อหานะ แต่ว่าต้องการให้ลดเวลาลงก็ดีนะ


Posted by : 1234 , Date : 2004-01-26 , Time : 20:54:10 , From IP : 172.29.4.73

ความคิดเห็นที่ : 6


   อยากรู้ว่าทางคณะได้นำแบบสอบถามในแต่ละบล็อกมาพิจารณาและต้องการที่จะพูดคุยกับนักศึกษาอย่างจริงจังบ้างหรือไม่

Posted by : ArLim , Date : 2004-01-26 , Time : 20:56:49 , From IP : 203.156.38.252

ความคิดเห็นที่ : 7


   อยากให้ตอน preclinic มีการเรียนการสอน anatomy ให้มากกว่านี้ เนืองจากเมื่อขึ้นมาบนวอร์ดแล้วรู้ได้เลยว่าตัวเองอ่อนมาก ๆ และเป็นเนื้อหาที่ต้องเอามาใช้มากด้วย ทำให้บางครั้งรู้สึกว่าเราเพิ่งได้เรียน anatomy แบบจิง ๆ จัง ๆ ในชั้นคลีนิคนี่เอง

Posted by : peter , Date : 2004-01-27 , Time : 08:30:07 , From IP : 172.29.2.134

ความคิดเห็นที่ : 8


   clinical immersion กับ commed ตอนเป็น extern มันซ้ำซ้อนนะครับ
ผมว่าการไป immersion ตอนที่ยังไม่รุ้เรื่องอะไรและทำอะไรไม่เป็นมันน่าเบื่อ และเสียเวลานะครับ
หรือไม่ถ้าอยากเก็บ immersionไว้ ก็น่าจะตัด commed ตอนเป็น externออกไปนะครับ ทั้งสองตัวเลย เอาเวลาไปให้ ortho หรือ elective น่าจะ work กว่า


Posted by : Aqua , Date : 2004-01-27 , Time : 16:31:38 , From IP : 202.129.48.122

ความคิดเห็นที่ : 9


   " ผมก็อยากจะเสนอนะครับ ... แต่คิดว่าคงไร้ประโยชน์ ในเมื่อ....มีวิสัยทัศน์ที่แคบแบบนี้ ไม่ยอมรับฟังปัญหาของพวกเรา คิดแต่อยากจะได้เป็น pioneer โรงเรียนแพทย์ PBL รู้สึกว่าตอนนี้ที่จุฬา ก็ปรับหลักสูตรเป็น PBL แล้ว คราวนี้ละ ก็จะได้รู้จริงๆซะทีว่าที่เค้ารียกว่า pioneer ของจริงหนะ เป็นยังไง ไม่ใช่แบบของ....นี้"
ตามความคิดเห็นของผมนะครับ การที่คนเราไม่ทำตามข้อเสนอแนะทุกประการแปลว่าเป็นคนวิสัยทัศน์แคบ อยู่ที่ว่าข้อเสนอแนะทุกอย่างมีเหตุผลเพียงพอ การประเมินดูว่ามีน้ำหนักมากพออย่างที่ข้อเสนอแนะหรือไม่ ข้อเสนอแนะของอีกคนหนึ่งอาจจะเป็นข้อคัดค้านอีกคน ดังนั้นคงต้องมองภาพรวมทั้งหมด มิฉะนั้นจะต้องเป็นคนวิสัยทัศน์แคบหมด เพราะไม่รู้จะทำให้ถูกใจใคร ผมว่าการรับฟังและพิจารณาอย่างถ่องแท้ คือวิสัยทัศน์ไม่แคบแล้วครับ สำหรับการเรียนที่จุฬาเป็นแบบใด คงไม่ต้องไปเปรียบเทียบครับ เพราะผมคิดว่าทุกแห่งมีปรัชญาการเรียนการสอน และเป้าประสงค์ที่เป็นของตนเอง ผมคิดว่าเราควรจะมองตัวเราเองและแข่งกับตัวเอง จะมีความสุขกว่าครับ คงไม่ต้องเปรียบเทียบกับคนอื่นหรอกครับ หากเราเก่งจริง
ข้อเสนอแนะที่ดวรจะเป็นข้อเสนอแนะที่ไม่เอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง และไม่คิดว่าเขาจะต้องทำตามสิ่งที่เราเสนอแนะไปทุกอย่างครับ


Posted by : ปี 6 ครับ , Date : 2004-01-27 , Time : 16:46:22 , From IP : 203.113.76.12

ความคิดเห็นที่ : 10


   อยากให้แยกศัลย์ anesth ตอนปี 4 ออกจากกัน..คือว่ามันมั่วเกินไป ไม่มีความปะติปะต่อของความรู้ วันนี้เรียนศัลย์คืนนี้อยากอ่านศัลย์ แต่ว่าพรุ่งนี้ก็ต้องไป anesth เดี๋ยวถ้าไม่อ่านไปก็ไม่มีอะไรไปตอบอาจารย์ มันค่อนข้างจะสับสนน่ะ จากที่เคยผ่านมา
ช่วง immersion ตัดออกบ้างก็ดี ไปแบ่งให้ anatomy บ้าง และก็เน้นที่เอามา apply มากๆ ที่ผ่านมา คิดว่าน้อยเกินไป
จะว่าไปแล้ว มีหลายอย่างที่เคยเสนอไปแล้ว ไม่รู้ว่าตอนนี้ข้อมูลนั้นได้ผ่านการพิจารณาแล้วหรือไม่..


Posted by : ปี6 , Date : 2004-01-27 , Time : 17:47:35 , From IP : 172.29.2.160

ความคิดเห็นที่ : 11


   ตั้งแต่มีการปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบ PBL ที่เน้นให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จนถึงตอนนี้ซึ่งก็จะมีแพทย์ระบบใหม่นี้จบออกไป ซึ่งคิดว่าระบบนี้ยังไม่มีคุณภาพพอก็ว่าได้ เพราะเนื้อหาบางอย่างที่สำคัญ เช่น ออร์โธ(ที่เอาไปรวมกับศัลย์+วิสัญญี) และวิสัญญีที่การจัดการสอนยังสะเปะสะปะ รังสี(ซึ่งสำคัญในการช่วยวินิจฉัยโรคที่เอาไปรวมกับ med) แต่ทางผู้เกี่ยวข้องโดยตรง(อ.อานุภาพที่รับผิดชอบด้านแพทยศาสตรศึกษา) ไม่เคยคิดที่จะปรับปรุงระบบการเรียนการสอนเลยตั้งแต่ชั้น preclinic จนถึงชั้น clinic แถมยังให้มีการเรียนที่ดูซ้ำซ้อนกัน เช่น แทนที่จะมี Health pro. 6 สัปดาห์น่าจะเอาไปรวมกับ commed ปี 4 ที่เรียน 5 สัปดาห์ รวมทั้ง selective ที่อาจจะดูซ้ำกับ immersion ก็น่าจะตัดไปหรือลดลงเหลือ 3 สัปดาห์ และเอาเวลาไปเรียนอย่างอื่นที่สำคัญมากต่อวิชาชีพ เช่น ortho 4 สัปดาห์ วิสัญญี 3 สัปดาห์ และในชั้นปีที่ 5 ซึ่งถือว่าสำคัญเพราะว่าหลังจากจบชั้นปีที่ 5 ก็จะต้องปฏิบัติงานเป็นส่วนใหญ่ จึงคิดว่าในชั้นปีที่ 5 ควรที่จะปรับรายวิชาบางอย่าง เช่น commed ถ้าตัดไม่ได้ ก็ลดลงเหลือ 3 สัปดาห์ สร้างเสริมประสบการณ์ก็ลดเหลือ 3 สัปดาห์หรือตัดทิ้ง แล้วเพิ่มเนื้อหาบางรายวิชา เช่น ออร์โธ วิสัญญีแยกจาก preop ของปี 5 หวังว่าที่กล่าวมาคงจะซึมซับไปถึงผู้เกี่ยวข้อง และปรับปรุง ไม่ใช่มัวแต่ดันทุรังคิดว่าระบบที่จัดมาดีแล้ว ถ้ายังไม่ทำก็สมควรพิจารณาตัว

Posted by : ถึงอ.อานุภาพ , Date : 2004-01-31 , Time : 12:55:36 , From IP : palo8.pacific.net.th

ความคิดเห็นที่ : 12


   อยากให้แยกorthoมาเป็น 1 blockเลยค่ะ

Posted by : ^_^ , Date : 2004-02-02 , Time : 15:10:28 , From IP : 172.29.2.160

ความคิดเห็นที่ : 13


   ช่ายครับ เราต้องออกมาแสดงความเห็นของผู้ที่เรียนอยู่ครับ
- commed ปี 5,6 ค่อยเรียนตอน extern ก็ได้ครับ ไม่จำเป็นต้องเรียนตอนปี 4,5 เลยครับ เรียนปี 6 + เนื้อหาเกี่ยวกับระบบรพ. หลักสูตรบริหารสั้นๆที่แทรกอยู่ เผื่อต้องออกไปเป็นผอ.
- ปี 4 เห็นด้วยกะกระทู้ข้างบนครับ ที่เพิ่มเนื้อหาของ ortho, สูติ, เด็ก, รังสี ด้วยครับ เพราะเท่าที่เรียน เวลาออกไปข้างนอกแล้วไม่รูสึกเลยว่าความรู้ที่ได้จะพอในการไปใช้ชีวิตในรพ.ชุมชน


Posted by : sentour , Date : 2004-02-02 , Time : 23:19:47 , From IP : 172.29.4.89

ความคิดเห็นที่ : 14


   อยากเสนอความคิดในระบบการเรียน PBL
1. มีการเน้นcommed health promotion มากเกินไปทั้งปี 4 5 6ผ่านกันอยู่นั่นไปนั่งๆ นอนๆ เรียนมากเกินไปก็ลืม ซึ่งคิดว่าการเรียนพวกนี้ในอนาคตถ้าต้องไปอยู่ รพใ ชุมชนก็น่าจะเรียนรู้กันได้ไม่เห็นมีอะไรซับซ้อน
2 ได้ทำหัตถการน้อยมากๆ เช่น ER ห้าม นศพใ ทำหัตถการต้องมีอาจารญ์มาคุมแล้วเมื่อไหร่จะได้ทำเพราะเงวลาอดยู่เวรERเคยเห็นหน้าอาจารย์ไหมเนี่ย
ในนสมัยก่อนๆ เด็ก มอ ถึงแม้ด้านความรู้จะไม่เก่งมากเมื่อเทียบกับเด็ก กทม แต่ในด้านหัตถการ การตัดสินใจ ไม่เคยต้องกลัวใครนอนเมื่อจบเป็น intern แต่ตอนนี้ไม่ค่อยมั่นใจแล้ว นอกจากความรู้ต้องอ่านเอาเองหัตถการก็ไม่ให้ทำ
3. ortho anes surgery เอามารวมกันหมดเวลาในการผ่านช่วงสั้นมากกว่าจะปรับตัว จับเนื้อหาได้ก็ผ่านไปอยู่หน่วยอื่นแล้วคงไม่มีเวลาพอจะเอาความรู้มาintegradee
4.ถึงอ.ยอมรับเสียเถิดว่า PBL ไม่ WORK เท่าเรียนแบบเก่า บางครั้งเรียนแบบเก่ามีคนสอนยังไม่รูเรื่องเลยแล้วต้องมาอ่านเองคิดเองจะฉลาดขึ้นไหมเนี่ย


Posted by : pulo , Date : 2004-02-03 , Time : 21:20:29 , From IP : 172.29.3.197

ความคิดเห็นที่ : 15


   อยากเสนอความคิดในระบบการเรียน PBL
1. มีการเน้นcommed health promotion มากเกินไปทั้งปี 4 5 6ผ่านกันอยู่นั่นไปนั่งๆ นอนๆ เรียนมากเกินไปก็ลืม ซึ่งคิดว่าการเรียนพวกนี้ในอนาคตถ้าต้องไปอยู่ รพใ ชุมชนก็น่าจะเรียนรู้กันได้ไม่เห็นมีอะไรซับซ้อน
2 ได้ทำหัตถการน้อยมากๆ เช่น ER ห้าม นศพใ ทำหัตถการต้องมีอาจารญ์มาคุมแล้วเมื่อไหร่จะได้ทำเพราะเงวลาอดยู่เวรERเคยเห็นหน้าอาจารย์ไหมเนี่ย
ในนสมัยก่อนๆ เด็ก มอ ถึงแม้ด้านความรู้จะไม่เก่งมากเมื่อเทียบกับเด็ก กทม แต่ในด้านหัตถการ การตัดสินใจ ไม่เคยต้องกลัวใครนอนเมื่อจบเป็น intern แต่ตอนนี้ไม่ค่อยมั่นใจแล้ว นอกจากความรู้ต้องอ่านเอาเองหัตถการก็ไม่ให้ทำ
3. ortho anes surgery เอามารวมกันหมดเวลาในการผ่านช่วงสั้นมากกว่าจะปรับตัว จับเนื้อหาได้ก็ผ่านไปอยู่หน่วยอื่นแล้วคงไม่มีเวลาพอจะเอาความรู้มาintegradee
4.ถึงอ.ยอมรับเสียเถิดว่า PBL ไม่ WORK เท่าเรียนแบบเก่า บางครั้งเรียนแบบเก่ามีคนสอนยังไม่รูเรื่องเลยแล้วต้องมาอ่านเองคิดเองจะฉลาดขึ้นไหมเนี่ย


Posted by : pulo , Date : 2004-02-03 , Time : 21:20:47 , From IP : 172.29.3.197

ความคิดเห็นที่ : 16


   นักศึกษาที่ต้องการแสดงความคิดเห็นเรื่องการจัดการเรียนการสอนในชั้นคลินิกขอให้แสดงความคิดเห็นใน บอร์ดแสดงความคิดเห็น http://medcai.psu.ac.th คลิกเข้าไปในหน้า e-learning และเลือกแสดงควา่มคิดเห็น ตั้งกระทู้และแสดงความคิดเห็นได้ แต่ขอให้สมัครสมาชิกก่อนครับ

Posted by : สมชาย สุนทรโลหะนะกูล , Date : 2004-02-06 , Time : 10:00:11 , From IP : 172.29.3.147

ความคิดเห็นที่ : 17


   หวัดนกคิดว่า การให้สมัครเป็นสมาชิกก่อนแล้วจึงอภิปรายความเห็นในบอร์ดแสดงความคิดเห็นนั้นจะไม่ได้ความจริงใด ๆ เพราะนศพ.จะไม่กล้าแสดงความคิดเห็นที่แท้จริงออกมา เนื่องจากรู้ตัวคนอภิปรายได้ มันจะเสียหายอะไรถ้าจะอภิปรายกันตรงนี้ โดยตั้งประเด็นคุยกันให้ชัดเจนทีละประเด็นกันเลยก็ได้ ได้ความจริงมากกว่า หรือกลัวว่าจะมีการสวมรอยโดยคนที่ไม่ใช่ นศพ. ถึงจะเป็นเช่นนั้นก็ไม่เห็นจะแปลกแสดงว่าเขาไม่เห็นด้วย ก็รับฟังด้วยกันเสียเลยไม่ดีกว่าหรือ .....แล้วอาจารย์ก็คิดแบบเก่า ๆ เหมือนเดิมอีกนั่นแหละ....

Posted by : ไข้หวัดนก , Date : 2004-02-07 , Time : 16:51:42 , From IP : 172.29.3.209

ความคิดเห็นที่ : 18


   ทางแก้อีกอย่าง คือ ปลดผู้บริหารออกทั้งชุดหรือเฉพาะฝ่ายแพทยศาสตร์ศึกษา แล้วเลือกบุคลกากรที่มีความจริงใจและเข้าใจจุดบกพร่องของระบบการเรียนโดยเฉพาะในชั้นคลินิกที่ถือว่าเป็นหัวใจหลักหรือแก่นนอกจากการเรียน basic sceine ในชั้นปลีคลินิกที่ถือว่าสำคัญแต่การจัดการเรียนก็ยังไม่ได้เรื่อง และแบบสอบถามที่ให้นศพ.ประเมินในแต่ละ block ก็ควรเผาทำลายทิ้ง
ปล.มีความรักในสถาบันแต่ไม่พอใจเป็นอย่างมากกับการจัดการเรียนการสอนของผู้ได้ชื่อว่าเป็นอาจารย์


Posted by : เสนอแนะ , Date : 2004-02-08 , Time : 10:52:57 , From IP : 172.29.2.164

ความคิดเห็นที่ : 19


   ลองมาวิเคราะห์ถึงข้อดีและข้อเสียของการให้ความเห็นชนิดบัตรสนเท่ห์กับชนิดเปิดเผยดูกันดีไหมครับ

ถ้า การเสนอความคิดเห็นเป็นแบบ objective และสร้างสรรค์แล้ว การเสนอความเห็นแบบไหนก็คงจะได้เหมือนกัน ความหมายของ Objective คือ ประเมินจากสิ่งที่วัดได้ และวัดได้โดยมีความเที่ยงและความแม่น (ขออนุญาตเพิ่มศัพท์วิชาการ reliability and accuracy) การวัดที่เที่ยงนั้นหมายถึงผลการวัดไม่แปรมากนักตามบริบท วัดตอนไหนก็ได้ค่าใกล้เคียงหรือเท่ากันเป๊ะๆ เช่น การนับคะแนนข้อสอบปรนัย การวัดที่แม่นนั้นหมายถึงผลที่วัดตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะวัด เช่น วัดว่ารู้ "มาก" แค่ไหน ก็ต้องใช้ข้อสอบเยอะๆ วัดหลายๆด้าน หรือวัดว่ารู้ "จริง" แค่ไหน ก็ต้องให้ข้อสอบที่ต้องดัดแปลง เพื่อทดสอบความเข้าใจ วัดว่า "ชำนาญ" แค่ไหนก็ต้องให้ลองทำ ไม่ใช่ให้ตอบแต่ criteria ได้แล้วบอกว่าชำนาญเป็นต้น

การวัดอีกอย่างคือวัดแบบ "subjective" ซึ่งลดความเที่ยงลง มีการแปรตามบริบทที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องมาก เช่น การตรวจข้อสอบข้อเขียนที่ลายมืออาจจะมีผลต่อคะแนน ไม่ใช่ความรู้ การสอบปากเปล่าที่การใช้คำพูดหรือกิริยามารยาทการแต่งกายอาจจะมีผลโดยอ้อมต่อผลวัดสุดท้าย ถ้าไม่ระวัง โดยทั่วๆหมายถึงการวัดที่ "ใช้ความรู้สึก ไม่ได้ใช้เกณฑ์" มาวัด การจัดหมวดหรือตีค่าไปถึงตัวบุคคลนั้น มักจะเป็นการวัดแบบ subjective ซึ่งอันตราย และอาจจะไม่ก่อบรรยากาศที่สร้างสรรค์ เพราะมีการผูก "คุณค่า" กับบุคคล แทนที่เราจะอภิปรายหรือ "วัด" ของที่อยู่บนโต๊ะ เริ่มมีการโจมตีที่บุคคล แทนที่จะถกกันเรื่องเหตและผล หรือการประเมินแบบ Objective กับสิ่งที่ต้องการจะเปลี่ยน หรือสิ่งที่ฝ่ายหนึ่งประเมินว่าไม่ดี

การเสนอความเห็นแบบสร้างสรรค์นั้น ถ้าทำแล้ว มักจะไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องการความลึกลับ เพราะเป้นการอภิปรายที่ระดับการกระทำ ไม่ใช่ "คุณค่า" ทีนี้ปัญหามันอยู่ที่สังคมส่วนใหญ่ชอบตี "ค่า" ของคนผนึกแนบแนนกับการกระทำ ซึ่งพอเป็นสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย ผลกระทบก็คือการลด "ความเชื่อถือ" และ "ความเคารพนับถือ" ระหว่างบุคคลลง ตรงนี้ไม่ค่อยดีต่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถ้าทั้งสองฝ่ายสูญเสียความนับถือในความ "เป็นเหตุและผล"

Stephen Hawking (Lucasian Professor of Mathematics อยู่ที่ University of Cambridge ประเทศอังกฤษ ผู้ตั้งทฤษฎี Big Bang หรือต้นกำเนิด Universe) เคยกล่าวว่า (ขออนุญาต quote) "a scientific theory is a mathematical model that describes and codified the observation we make." เมือ่ไหร่ก็ตามที่การตั้งข้อสังเกตของเราไม่ตรงกับการพยากรณ์ของสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ เราก็จะตั้งสมมติฐานใหม่ แต่จริงๆสิ่งที่เกิดขึ้นคือ (ขออนุญาต quote) "if the observations disagree with the predictions, in practical, people often question the accuracy of the observations and the reliability and moral character of those making the observations."

จากย่อหน้าแรกๆและย่อหน้าข้างบนเราคงจะพอมองเห็นแล้วว่า "ปัญหา" คือการประเมินแบบ "objective" นั้น ที่ผ่านมาได้กระทำไปแล้วหรือยัง หรือใช้แบบ sujective?

ทีนี้อะไรคือประโยชน์ของการเสนอความเห็นแบบที่สามารถติดตามได้ว่าใครเป็นผู้ให้?
๑) คนที่เสนอความคิดเหนแบบสร้างสรรค์ มีโอกาสที่จะมีอะไรดีๆนำเสนอต่อ ซึ่งจะกลายเป็น credibility ของคนๆนั้น เหมือนเวลาเราทำ curriculum vitae นั่นเอง เวลาเราอยากจะปรึกษาอะไร และต้องการหา world authority เราก็ใช้ความสามารถที่จพสืบหาคนที่มีความคิดหรือความรู้ดีๆจากตรงนี้
๒) ในโลกแห่งความเป็นจริง communication skill ไม่ใช่ของที่ติดตัวมาแต่กำเนิด และในทุกๆสถาบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการศึกษานั้น หน้าที่ประการหนึ่งคือการพยายามในการแก้ไข ปรับปรุงสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น หรือพัฒนาขึ้น ก่อนที่นักศึกษาจะจบไปจากสถาบัน เนื่องจากบางคนก็ OK แล้ว และบางคนเท่านั้นที่อาจจะต้องการการเกลา ตรงนีการเปิดเผยหรือสืบกลับจะช่วยได้

อะไรเป็นข้อเสีย?
๑) ที่มีพูดถึงบ่อยที่สุดคือ "การเจ็บตัว" หรือการถูกกลั่นแกล้งจากผู้ที่ไม่พอใจในสิ่งที่คนเสนอความคิดเห็น
๒) คนเสนออาจจะไม่มั่นใจว่าความเห็นนั้นฟังดูเข้าท่าหรือฉลาดเฉลียวในสายตาผู้อื่น
๓) ถ้าคนเสนอต้องการอย่างเดียวที่จะทำร้ายความรู้สึกบุคคลที่สาม แน่นอนเขาย่อมไม่กล้าที่จะเผยตัวว่าใครเป็นคนทำ
๔) ผู้เสนอความเห็นทราบว่าภาษาและกิริยาที่ใช้แสดงนั้นไม่เหมาะสมและกระทบกระเทือนต่อ character ขอตนเองได้ จึงไม่อยากเปิดเผย

ขอพูดถึงประการแรก ก็คงต้องมาดูว่า "คนรับฟังข้อเสนอ" นั้นมีอำนาจอะไรที่จะ "กลั่นแกล้ง" และมีความ "ต้องการ" ที่จะทำเช่นนั้นมากน้อยแค่ไหน ถ้าพิจารณาเรื่อง "คะแนน" ในระบอบปัจจุบันที่การประเมินทั้ง suvjective และ objective นั้น มาจากมากมายหลาย sources รวมทั้งการ "นับ" คะแนนจากข้อสอบปรนัยซึ่งตรวจสอบได้ ผมสงสัยตรงนี้ว่าโอกาสที่จะ "กลั่นแกล้ง" เรื่องคะแนนในทางปฏิบัตินั้นมากน้อยเพียงใด ตรงนี้น่าลองมาคิดดูเหมือนกัน

อีกประเด็นที่เราน่าจะคิดถึงคือวัฒนธรรมบัตรสนเท่ห์ หรือวัฒนธรรมการวิจารณ์และรับวิจารณ์อย่างเปิดเผยนั้น อย่างไหนที่เราอยากจะ "สร้างขึ้น" ถึงแม้ว่ายังไม่สมบูรณ์ในขณะนี้ก็ตาม



Posted by : Phoenix , Date : 2004-02-09 , Time : 19:43:08 , From IP : 172.29.3.240

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<