ความคิดเห็นทั้งหมด : 13

ดู โลตัส ทำกับประเทศเราอีกเเล้ว


   วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546

ซัปพลายเออร์โวยเทสโก้ ขายต่ำกว่าทุนอีกแล้ว!!!



โดย ผู้จัดการรายวัน


ผู้จัดการรายวัน - หลังประกาศลดราคาสินค้ากว่า 1,000 รายการลง 7% ได้เพียงไม่กี่วัน ซัปพลายเออร์เริ่มออกอาการหงุดหงิด โวย‘เทสโก้ โลตัส’ ขายสินค้าต่ำกว่าทุนอีกแล้ว วอนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาทำการค้าไม่เป็นธรรมด่วน เกรงเป็นเยี่ยงอย่างค้าปลีกรายอื่น ที่อ้างขายขาดทุน สุดท้ายไม่ต้องจ่ายภาษีเข้ารัฐ



หลังจากที่เทสโก้ โลตัส ประกาศแคมเปญ roll back เพื่อลดราคาสินค้าลง 1,079 รายการ โดยมีราคาลดลงเฉลี่ยที่ 7% ตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ.เป็นต้นมา ผู้จัดการรายวันได้สอบถามไปยังซัปพลายเออร์เจ้าของสินค้าที่ถูกลดราคาลงพบว่า ซัปพลายเออร์ส่วนใหญ่ไม่ทราบเรื่องที่เทสโก้ โลตัส ได้นำสินค้าของตนมาลดราคา และยังมีความเห็นว่าราคาที่ลดลงนั้นกระทบต่อการค้าขายกับค้าปลีกรายอื่น ที่โทรศัพท์เข้ามาต่อว่า เพราะเข้าใจผิดว่าเจ้าของสินค้าขายสินค้าให้เทสโก้ โลตัสในราคาพิเศษกว่าขายให้ค้าปลีกรายอื่น

นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ กล่าวว่า สำหรับสินค้าในเครือสหพัฒน์ ที่เทสโก้ โลตัส นำไปลดราคานั้น ได้แก่ ผงซักฟอกเปา ยูวี คัลเลอร์ จากราคา 179 บาท เหลือ 175 บาท ซึ่งทางสหพัฒน์ไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อน และหากเทสโก้ โลตัส ต้องการลดราคาจริงน่าจะมาหารือกันก่อน เพราะหากนำสินค้าของสหพัฒน์ไปขายต่ำกว่าทุนก็คงจะไม่ยอมอย่างแน่นอน

จากการสอบถามไปยังนายบุญฤทธิ์ มหามนตรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตผงซักฟอกเปา กล่าวกับ“ผู้จัดการรายวัน”ว่า ราคาสินค้าเปา ที่เทสโก้ โลตัสนำไปลดราคานั้น คาดว่าราคาใหม่จะเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับราคาที่สหพัฒน์ขายส่งให้ ซึ่งคงต้องมาดูรายละเอียดว่าขายต่ำกว่าทุนหรือไม่ ถ้าพบว่าเทสโก้ โลตัส นำไปขายต่ำกว่าทุน ทางบริษัทจะหยุดส่งสินค้าไปจำหน่ายชั่วคราว และคงต้องมาเจรจากัน เพราะนโยบายของบริษัท จะไม่ยอมให้ใครนำสินค้าไปขายต่ำกว่าทุนอยู่แล้ว

“ผมเชื่อว่ากลยุทธ์ขายสินค้าราคาถูก เป็นวิธีการหนึ่งที่จะดึงคนเข้ามาซื้อสินค้าภายในร้าน บางครั้งผู้ประกอบการอาจยอมขายสินค้าบางตัวขาดทุน เพราะต้องการให้คนที่เข้ามาในร้านแล้วซื้อสินค้าอื่นไปด้วย ซึ่งเมื่อซื้อรวมๆกันแล้วค้าปลีกรายนั้นก็อาจมีกำไรขึ้นมา”

นายบุญฤทธิ์ ให้ความเห็นอีกว่า การทำธุรกิจของดิสเคานต์สโตร์ในปัจจุบันนี้ แตกต่างจากค้าปลีกของไทยแบบดั้งเดิมที่ซื้อมาขายไปเท่านั้น แต่ดิสเคานต์สโตร์จะนำวิธีการตลาดเข้ามาใช้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ แต่ต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องชอบธรรม และต้องไม่ขายสินค้าต่ำกว่าทุน เพราะจะส่งผลเสียต่อธุรกิจค้าปลีกทั้งระบบได้ และถือว่าเป็นการทำการค้าที่ไม่เป็นธรรม

“เรื่องนี้รัฐบาลควรหันมาดูแลเรื่องการทุ่มตลาดและการทำการค้าที่ไม่เป็นธรรม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในธุรกิจค้าปลีก” นายบุญฤทธิ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ผู้จัดการรายวัน ได้สอบถามซัปพลายเออร์รายอื่นๆ ที่สินค้าถูกนำมาลดราคาลงในแคมเปญ Roll Backหรือถูกลงกว่าเดิม ที่เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 21 ก.พ.2546 ว่า ไม่ทราบมาก่อนว่าสินค้าของบริษัทตนเองจะถูกนำมาลดราคาด้วย แต่เห็นจากการลงประกาศในหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งเห็นแล้วก็ตกใจเพราะราคาใหม่ที่เทสโก้ โลตัส ประกาศใช้นั้น เป็นราคาที่ต่ำกว่าที่บริษัทขายให้แก่เทสโก้ โลตัส เสียอีก

“ก่อนที่เทสโก้?โลตัส จะนำมาสินค้ามาลดราคา ควรได้รับความเห็นชอบจากเจ้าของสินค้าเสียก่อน ไม่ใช่ทำโดยพละการ เพราะหลังจากที่เทสโก้ นำสินค้าที่ผมจำหน่ายมาลดราคาแล้ว ค้าปลีกรายอื่นก็โทรศัพท์มาต่อว่าผมว่าทำไมขายให้เทสโก้ถูกกว่าขายให้เขา ซึ่งผมก็บอกไปว่าขายเท่ากันทุกรายแต่เทสโก้ ยอมขายต่ำกว่าทุนเอง อย่างไรก็ตามตอนนี้ก็แก้ปัญหาด้วยการงดส่งสินค้าให้แก่ทุกค่าย จนกว่าเรื่องจะได้ข้อยุติ”

แหล่งข่าวยังให้ความเห็นอีกว่า จากการตรวจสอบการสั่งซื้อสินค้า(ที่นำมาขายต่ำกว่าทุน) ของเทสโก้ โลตัส พบว่า มีอยู่ในสต็อกของเทสโก้ไม่มากนัก ซึ่งหลังจากที่บริษัทหยุดขายสินค้าให้เชื่อว่าอีกไม่นานสินค้าดังกล่าวก็จะหมดไปจากเทสโก้ โลตัส และเชื่อว่าจะต้องมีการสั่งเข้ามายังบริษัทเจ้าของสินค้าอีก แต่บริษัทก็คงไม่จำหน่ายให้ แต่อาจเปลี่ยนเป็นสินค้าอื่นเป็นการทดแทน

สำหรับผู้บริโภค ที่รู้ว่ามีสินค้าชนิดนี้ขายถูกกว่าที่อื่น เชื่อว่าจะต้องแห่มาซื้ออย่างแน่นอน แต่มาแล้วอาจไม่ได้สินค้าที่ต้องการกลับไปเพราะสินค้าหมดเสียก่อน อย่างไรเสียก็เชื่อว่าจะต้องซื้อสินค้าอื่นๆกลับบ้านไปด้วย

“กรณีเช่นนี้อาจมองเป็นเหรียญสองด้านได้ เพราะในด้านของผู้บริโภคก็ได้ประโยชน์จากการได้สินค้าที่มีราคาถูก แต่กรณีของเจ้าของสินค้าอาจไม่พอใจ เพราะทำให้สินค้าของตนเองนั้นเสียราคา และยังส่งผลกระทบต่อภาพรวมของธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะร้านค้ารายเล็กที่อาจแย่ไปมากกว่านี้

นอกจากนี้ ผู้จัดการรายวัน ยังพบว่ามีสินค้าบางรายการที่ลดราคาลงมาก เช่น เตารีดไอน้ำฟิลิปส์ รุ่น HI 205 ที่ลดราคาจาก 690 บาท เหลือ 490 บาท ซึ่งเจ้าหน้าที่ของฟิลิปส์ ยอมรับว่าราคาดังกล่าวถูกมาก แต่ก็เป็นจังหวะดีที่เทสโก้ นำมาลดราคาเพราะสินค้ารุ่นนี้วางตลาดมาได้ 4 ปีแล้ว และเป็นช่วงที่ทางบริษัทต้องการจะเปลี่ยนรุ่นใหม่เข้าตลาดพอดี

ซัปพลายเออร์เชื่อผิดกฎหมาย

ซัปพลายเออร์อีกรายหนึ่ง ให้ความเห็นว่า หากการลดราคาของเทสโก้ โลตัส ในช่วงนี้มีการนำสินค้ามาขายต่ำกว่าทุนจริง เชื่อว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายผิดกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญา โดยเป็นการทำการค้าที่ไม่เป็นธรรม ,การตัดราคาเพื่อทำลายคู่แข่งขันรายอื่น โดยเฉพาะเทสโก้ โลตัส เป็นผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ ที่กฎหมายทางด้านการค้าได้กำหนดไว้แล้วว่าห้ามขายสินค้าต่ำกว่าทุน

“นอกจากนี้ยังถือว่าผิดกฎหมายเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย เพราะการขายสินค้าต่ำกว่าทุน ย่อมส่งผลให้ผลประกอบการไม่มีกำไร เมื่อถึงสิ้นปีก็อาจแจ้งกับกรมสรรพากรว่า ธุรกิจขาดทุนจะได้ไม่ต้องเสียภาษี ส่งผลให้รัฐขาดรายได้เข้าประเทศ และยังเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี เพราะหากค้าปลีกรายอื่นทำเป็นแบบอย่างแล้วบ้านเมืองเราจะเป็นอย่างไร”

แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า อยากให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาแก้ปัญหานี้อย่างเร่งด่วน ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป เพราะหากพิจารณาแล้วพบว่าเทสโก้ โลตัส ไม่ผิด ทุกคนก็จะสบายใจในการทำการค้าต่อไป แต่ถ้าผิดก็จะได้หาทางออกที่เหมาะสมต่อไป

สมาคมค้าส่งเตรียมหารือซัปพลายเออร์

ทางด้านสมาคมผู้ค้าปลีกและส่ง ได้เตรียมจัดงานวันยี่ปั๊วช่วยซัปพลายเออร์ ขึ้นในวันที่ 16 มี.ค.นี้ เพื่อหารือกับซัปพลายเออร์ที่เชิญมาพบกว่า 100 ราย ในการหาทาออกที่เหมาะสม เพราะทางสมาคมฯมีความเห็นว่าปัญหาค้าปลีกที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ ทางซัปพลายเออร์ ไม่มีสิทธิไปเรียกร้องอะไรได้เลย และยิ่งนับวันปัญหาก็จะมีมากขึ้น ซึ่งการหารือในครั้งนี้เชื่อว่าจะทำให้เจ้าของสินค้าสามารถสร้างยอดขายจากช่องทางอื่นขึ้นมาทดแทนได้

ขณะเดียวกันทางยี่ปั๊วก็จะได้มีทางออกสำหรับตนเองด้วย เพราะทุกวันนี้เสียเปรียบเรื่องราคากับเทสโก้ โลตัส เป็นอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบตัวเลขการขายของเทสโก้ โลตัส กับยี่ปั๊ว จะเป็นได้ชัดเจนว่ามีต้นทุนที่แตกต่างกันมาก เช่น น้ำยารีดผ้าเรียบ เทสโก้ โลตัส จำหน่ายถุงละ 13 บาท ขณะที่ต้นทุนของผู้ค้าส่งอยู่ที่ 15.50 บาท ส่วนยาสีฟันดาลี่ แพคคู่ เทสโก้ โลตัสจำหน่าย 60 บาท แต่ราคาขายส่งของยี่ปั๊วราคา 74 บาท ทำให้ร้านค้าหันไปซื้อสินค้าในดิสเคานต์ส โตร์แทนที่จะมาซื้อกับยี่ปั๊ว


Posted by : StiTcH , Date : 2003-04-03 , Time : 18:56:40 , From IP : 172.29.2.159

ความคิดเห็นที่ : 1


   นั่นมันเรื่องขอ่งผู้ผลิต และผู้ค้า ตอนที่พวกเขาได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ ไม่เคย
นึกถึงหัวอกผู้ซื้อตาดำ ๆ แต่ตอนที่เริ่มจะทำการค้าไม่ได้ ออกมาโวยวาย พวกลูก
เขาหลานเขาอยู่ดีกินดี แต่ลูกผมหลานผมอดมื้อกินมื้อ เมื่อมีทางที่จะไป สามารถ
ซื้อของได้ในราคาถูก พวกเราก็ยินดีที่จะซื้อ ไม่เห็นจำเป็นต้องคิดมาก....
ขอโทษนะครับที่เรื่องนี้ผมไม่อาจเข้าไปช่วยเหลือได้....เพราะผลผลิตทางการ
เกษตรของผมก็ตกต่ำเหลือเกิน


Posted by : ชาวนา , Date : 2003-04-04 , Time : 12:46:00 , From IP : 172.29.2.131

ความคิดเห็นที่ : 2


   คุณชาวนา
แล้วคุณไม่คิดหรือครับว่า ห้างใหญ่ๆพวกนี้ก็เหมือนพ่อค้าคนกลาง ที่ในที่สุดเมื่อเขาคุมอำนาจซื้อส่วนใหญ่ได้แล้ว เขาก็เป็นคนแรกที่เหยียบย่ำเกษตรกรและพ่อค้าชาวบ้านล่ะครับ


Posted by : ArLim , Date : 2003-04-04 , Time : 20:35:01 , From IP : 172.29.2.156

ความคิดเห็นที่ : 3


   หัดคิดให้รอบด้าน(ฉลาดๆขึ้น)ซิคุณชาวนา โง่จริงๆ


Posted by : d^ , Date : 2003-04-05 , Time : 21:17:27 , From IP : 172.29.2.102

ความคิดเห็นที่ : 4


   เหยียบย่ำไงเหรอ คนฉลาด
บอกมาบ้างซิว่า มีพ่อค้าไทยคนไหน
รักชาวบ้านบ้าง
มันก็เหมือนๆ กันแหละ
ทำมาโวยวาย
และเราก็จะซื้อของโลตัสต่อไป
เวลาเดินเข้าร้านไทยนะ
คนขายยืนเฝ้ายังกะเราจะไปขโมยของ
ราคาก็ไม่ติด
ฝุ่นเขลอะ
น่าเบื่อ
พูดจาไม่น่ามาเป็นคนขายของ
แล้วจะให้น่าซื้อได้ไง


Posted by : อยากเป็นชาวนา , Date : 2003-04-08 , Time : 14:53:26 , From IP : 172.29.3.240

ความคิดเห็นที่ : 5


   เห็นด้วยกับการมองรอบด้าน การที่ยี่ปั๊วโวยวายย่อมเกิดจากตัวเองเสียผลประโยชน์
การที่โลตัสขายถูกกว่าทุน ก็ย่อมเกิดจากการบริหารหลายๆอย่าง เช่น1. อาจซื้อมาถูก(อาจมาจากการกดราคา บริษัท ซึ่งบริาัทถ้าเห็นว่าราคาไม่เหมาะสมก็มีสิทธิ์ไม่ขาย แต่ที่ยอมขายก็คงเห็นว่า ok.) 2.อาจมาจากการถัวเฉลี่ยกับการขายสินค้าอื่นที่มีกำไรซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่มาจับจ่ายก็มักซื้อหลายอย่าง ดังนั้นยี่ปั๊วซึ่งก็ขายส่งหลายอย่างทำไมไม่จัดรายการเช่นนี้บ้าง หรือ 3.โลตัสมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพลดค่าใช้จ่ายได้หลายๆด้านจนยอมขายสินค้าบางตัวขาดทุน


Posted by : คนร่วมคิด , Date : 2003-04-08 , Time : 15:01:51 , From IP : 172.29.3.34

ความคิดเห็นที่ : 6


   จริงๆแล้วระบบที่ LOTUS หรือที่ supermarket chains ทำอยู่นั้น มหาเศรษฐีในเมืองไทยสามารถทำได้อย่างง่ายดาย ในเรื่องของความรวยนั้น หลายๆท่านที่เป็นคนไทยไม่ได้น้อยหน้าบรรดาเศรษฐีต่างประเทศหรอกครับ

หลักการที่ Supermarket Chains ที่เป็นของ multinational companies ทำอยู่นั้นคือทำอย่างไรให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้ประโยชน์มากที่สุด และตรงไปตรงมามากที่สุด ลูกค้าก็จะมาจับจ่ายใช้สอยที่ร้านของตน ในระบบ competition แบบนี้ ลูกค้าจะเป็นผู้ได้ประโยชน์มากที่สุด สามารถซื้อสินค้าคุณภาพสูง ราคาถูก โดยการ shopping จากที่ที่เดียว ผู้ผลิต (ชาวนา ชาวสวน หรือรายย่อย)จะมีแหล่งส่งสินค้าที่ตายตัวและแน่นอน พยากรณ์ได้ว่าควรจะปลูก จะเลี้ยงอะไรเท่าไร ผู้ที่เสียประโยชน์ที่สุดคือพ่อค้าคนกลาง ได้แก่ ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ทั้งหลายแหล่ ซึ่งไม่มีกำลังจะสู้ได้

ยุทธการแบบนี้ เช่น PRICE-WAR เป็นสิ่งที่ใช้กันทั่วไป การมี promotion (แถม แจก ขายตัดราคาทุน) เป็น common theme โดยปกติร้านพวกนี้สามารถขายของที่คนซื้อบ่อยๆ เช่น ขนมปัง potatoes (เมืองนอกน่ะครับ) เพื่อที่จะเอากำไรจากของแผนกอื่นที่คนจะซื้อในเวลาเดียวกัน ผมมองว่าถ้าหากให้ผู้ลงทุนเป็นคนไทย และทำแบบเดียวกัน ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์ บริษษัทพวกนี้จะมีนโยบาย customer is always right ลูกค้าสามารถนำเอาสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานมาคืนเมื่อไรก็ได้ ไม่ใช่ซื้อของบนหิ้งที่หมดอายุแล้วมาเจอที่บ้าน ต้องปลงว่าเป็นความผิดของเราที่ไม่ดูให้ดีซะก่อน จริงๆแล้วมันเป็นความผิดของร้าน และทางร้านจะต้องรับคืนสินค้าทุกชนิดที่ไม่ได้มาตรฐาน

ปัญหาอยู่ที่ว่าทำไมท่านผู้มีเงินเป็นพันๆหมื่นๆล้านของไทยจึงไม่สร้างระบบนี้ในเมืองไทย แต่โวยวายว่าระบบที่อำนวยประโยชน์ต่อลูกค้าเป็นระบบที่ไม่ดีซะแทน ลองคิดดูถ้ามี supermarket chain ของไทยที่เสียภาษีน้อยกว่าพวกบริษัทเหล่านี้ต้องเสียราคาสินค้าจะเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน ชาวนาชาวสวนชาวประมงจะมีที่ส่งผลิตภัณฑ์เพียงแค่ขั้นตอนเดียวเพราะฉะนั้นจะไม่ต้องถูกหักยี่ปั๊ว ซาปั๊ว สี่ปั๊ว โหงวปั๊ว และข้อสำคัญที่สุดผู้บริโภคจะซื้อสินค้าในราคาที่ถูกที่สุด และคุณภาพดีที่สุด (ถ้าเขาต้องแข่งกันมากๆ ยิ่งดี เพราะลูกค้าจะถูกรับฟังมากยิ่งขึ้นว่าเราต้องการอะไร)



Posted by : Phoenix , Date : 2003-04-08 , Time : 18:39:54 , From IP : 172.29.3.160

ความคิดเห็นที่ : 7


   นั่นน่ะสิ ทำไมกันล่ะ
พอเถียงกันไปมาว่าคนนี้ก็เอาเปรียบ คนนั้นก็เอาเปรียบ
ใครใช้สมองถือเป็นคนเห็นแก่ตัว
ในที่สุดก็ "คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาด" และ "สิ่งมีชีวิตที่เข้มแข็งที่สุดย่อมอยู่รอด"
มันเวียนกันไปเป็นวัฏจักร

อืม อืม อืม
คิดหนักแฮะ

สุดท้ายไม่ว่าใครก็ควรรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง ของชุมชน ของประเทศ ของโลก

เมื่อปีที่แล้ว ดูรายการของคุณนิติภูมิ ที่เขาไปถ่ายทำที่ประเทศอาเจนตินา เห็นชาวไร่ชาวนาออกมาประท้วงห้างใหญ่ ทั้ง โลตัส คาร์ฟู แมคโคร ฯลฯ
ทำไมถึงกลายเป็นอย่างนั้นล่ะ

อยากให้มีนักศึกษาเศรษฐศาสตร์มาให้ความเห็นบ้างจัง


Posted by : ArLim , Date : 2003-04-08 , Time : 19:29:56 , From IP : 172.29.2.101

ความคิดเห็นที่ : 8


    ArLim เอ๊ย บ้านเอ็งก็อยู่ในเมือง พ่อเอ็งทำงานอะไรข้าไม่รู้
แต่ข้ารู้คือเอ็งไม่ใช่เกษตรกร เอ็งไม่มีวันเข้าใจชีวิตเกษตรกร
หรอก วันๆ เอ็งก็จับกล้องถ่ายรูป กับพาแฟนของเอ็งไปเที่ยว
แล้วเที่ยวเก็บเรื่องโน้นเรื่องนี้มาวิจารณ์แสดงความอวดเก่ง
ของเอ็ง เอ็งมันคงมั่นใจในตัวเองสูงเหมือนแฟนของเอ็ง
นั่นแหละจึงได้เที่ยวว่าคนอื่นคิดไม่รอบด้าน บางสิ่งบางอย่าง
การคิดมากไปมันก็ทำให้ผิดพลาดได้นะเอ็ง และบางสิ่งบาง
อย่างที่เรานั่งเพ้อฝันว่าจะเป็นอย่างนั้นน่าจะเป็นอย่างนี้ พอ
ปฏิบัติจริง ๆ แล้วมันก็ไม่ได้ออกมาดังที่เราได้นั่งคิดเพ้อเจ้อ
อยู่หรอก เพราะฉะนั้นการเรียนแพทย์ของเราปัจจุบันเลย
มุ่งเน้น evidence base medicine อย่างไงล่ะ คือ
ไม่ไ้ด้เชื่อในสิ่งที่มีใครคนใดคนนึงนั่งคิดเพื้อฝันว่าทฤษฎี
จะเป็นอย่างนั้นจะเป็นอย่างนี้ หรือเชื่อในสิ่งที่ใครเป่าหูมา
ฯลฯ แต่ให้เชื่อในพวกงานวิจัยหรือการทดลองซึ่งได้ปฏิบัติ
ให้เห็นแล้วว่ามันเป็นอย่างนั้นมันเป็นอย่างนี้ ซึ่งบางครั้ง
ก็ไม่สามารถอธิบายปรากฎการณ์ได้หรอกนะ เพราะฉะนั้น
อย่าเพิ่งว่าคนอื่นว่าคิดไม่รอบคอบ ไม่ฉลาดที่คิดไม่เหมือน
กับเรา เพราะว่าจริง ๆ แล้วไม่รู้หรอกว่าใครถูกใครผิด
แต่ที่สำคัญข้าเป็นลูกหลานเกษตรกร ข้ารู้ดีว่าพวกเขาเป็น
อย่างไร ไม่ว่าก็ปีกี่ชาติที่ผ่านมาถึงไม่มี Lotus,Macro ฯลฯ
ราคาสินค้าเกษตรก็ถูกกดขี่โดยพ่อค้าคนกลางตลอด พ่อค้า
คนกลางที่เป็นคนไทยนี่แหละ


Posted by : ชาวนา , Date : 2003-04-08 , Time : 20:33:54 , From IP : 172.29.2.148

ความคิดเห็นที่ : 9


   คุณ Arlim ครับ นั่นเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในประเทศนั้นๆที่ต้องคอยควบคุมราคากลาง และป้องกันการ monopoly

สถานการณ์ที่หากมีร้านใหญ่ร้านเดียวอยู่ในประเทศและราคาสินค้าไม่ได้ถูกควบคุมนั้นน่ากลัวมาก เพราะว่าอำนาจการซื้อจากร้านนี้จะสูงมากจนกดราคาซื้อจากผู้ผลิตได้ ในทำนองเดียวกันถึงมีหลายร้านแต่มีการ ฮั้วกัน ไม่ใช่การแข่งขันกันที่ผู้บริโภคได้ประโยชน์ สถานการณ์ก็เลวร้านหรืออาจจะยิ่งแย่กว่า โดยธรรมชาติร้านพวกนี้ต้องการกำไร เพราะฉะนั้นจะมีการ lobby ป้องกันการปกป้องราคากลางจากรัฐบาลให้มากที่สุด หากรัฐบาลหน้ามืด (หรือ corruption) ปล่อยราคาให้อยู่ในเงื้อมมือของ multinational companies เศรษฐกิจก็จะยอบแยบ ผู้บริโภคก็จะถูก ripped-off แทนที่จะรักษาผลประโยชน์

คุณชาวนาครับ ผมมีความเห็นว่าการชี้แจงความคิดเห็นหรือถกเถียงโดยไม่ต้องมีการกระแนะกระแหนด่าว่ากันนั้นน่าจะเป็นเรื่องสร้างสรรค์มาก จริงไหมครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-04-08 , Time : 21:59:24 , From IP : 172.29.3.215

ความคิดเห็นที่ : 10


   สำหรับกระทู้แรกสุดนั้นที่ว่า LOTUS จะอ้างการขายต่ำกว่าทุนของสินค้าบางตัวเพื่อหลอกรัฐบาลว่าไม่ได้กำไรเลย คงจะเป็นกลยุทธ์ที่ไม่มีใครทำและไม่มีรัฐบาลที่ไหนเชื่อหรอกนะครับ ในความเห็นของผม สินค้า LOTUS มีเป็นพันๆรายการและไม่ได้ลดราคาต่ำกว่าทุนซักกี่รายการ บริษทถ้าผู้บริหารไม่ idiot บวกกับนักการเมืองทั้งรัฐบาลช่วยกัน corruption แล้ว โกงภาษีน่าจะอยู่ในกลยทธ์ท้ายๆ หรือไม่ก็คงจะแยบยลกว่าการที่บอกว่าตนเองลดราคาจนขาดทุนทั้งปีนะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-04-08 , Time : 22:47:58 , From IP : 172.29.3.215

ความคิดเห็นที่ : 11


    ผมขออนุญาติแสดงความคิดเห็นครับ หากเราย้อนกลับไปดูที่กระทู้ในตอนแรกผมคิดว่าเราคงต้องเริ่มถามตัวเองว่าปัญหาคืออะไร การขายสินค้าราคาถูกย่อมดีสำหรับผู้ซื้อหรือผู้บริโภคแน่นอนครับ ผลกระทบคือร้านค้าของโชว์ห่วย (ไม่แน่ใจว่าเขียนถูกหรือเปล่าครับ) จะขายของได้น้อยลงเนื่องจากคนไปซื้อของราคาถูกกันหมด ผมไม่แน่ใจว่าร้านโชว์ห่วยจะสามารถขายของในราคาที่ถูกลงได้หรือไม่ซึ่งนั่นอาจทำให้ได้กำไรน้อยลงไม่เพียงพอต่อการอยู่รอดของร้าน หากมองว่าเป็นการขายเพื่อโละสินค้าเก่าก็น่าจะดีครับเพราะผมเห็นห้างใหญ่ๆก็ทำกันบางห้างไม่รู้เลยว่าช่วงไหนขายราคาปกติ ไปทีไรลดราคาทุกที สิ่งสำคัญคือเราน่าจะพัฒนาร้านโชว์ห่วยของเราให้มีมาตรฐานเป็นของไทยและสู้กับต่างชาติได้ คงต้องพูดถึงนโยบายของประเทศเลยละครับ ผมยังคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรถ้ามีคนขายของถูกแล้วจะไม่ให้ผู้บริโภคไปซื้อของที่ร้านนั้นๆ คุณ Phoenix หรือคนอื่นๆมีความคิดอะไรดีๆมั้ยครับ

Posted by : free bird , Date : 2003-04-10 , Time : 10:02:44 , From IP : 172.29.1.195

ความคิดเห็นที่ : 12


   เอ...ผมว่าผมมาเขียนตอบไว้แล้วนี่นา ข้อความของผมหายไปไหนซะล่ะ

เอาเป็นว่าผมขอสรุปง่ายๆถึงความเห็นผมแล้วกันว่า
ถ้าหากกลุ่มชาวนา กลุ่มชุมชน ประชาชนในประเทศ ไม่ร่วมกันรักษาผลประโยชน์ของตนแล้วล่ะก็ มันก็จะเดือดร้อนกันไปหมดเหมือน พ่อค้าคนกลางที่กดขี่เกษตรกรนั่นล่ะครับ

ไม่จำเป็นต้องเป็นชาวนาหรือเกษตรกรนี่ครับ ถ้าหากจะช่วยกันในทางที่ตัวเองทำได้
----
ส่วนเรื่องร้านค้าไหนบริการไม่ดี ร้านไม่น่าเข้า สักพักเขาก็จะเจ๊งไปเองล่ะครับ แต่ผมเห็นร้านโชว์ห่วยแถวบ้านปรับร้านใหม่แล้วนี่ครับ ร้านไหนอยากอยู่รอดก็ต้องพัฒนา
แล้วเดี๋ยวนี้ร้านโชว์ห่วย เขามีการรวมตัวเพื่อรักษาสิทธิแล้วนี่ครับ เกษตรกรก็มีเหมือนกัน
ผมถึงบอกไปงัยครับ ผู้เข้มแข็งจึงอยู่รอด หากไม่ช่วยตัวเองเสียก่อนแล้วใครจะช่วยท่าน


Posted by : ArLim , Date : 2003-04-15 , Time : 19:47:12 , From IP : 172.29.2.120

ความคิดเห็นที่ : 13


   เราลองมาพิจารณากันตามข้อเท็จจริง หรือข้อที่น่าจะจริงตามหลักการและเหตุผลดูนะครับ

ขายของต้องได้กำไร ผู้ประกอบการขายถึงอยู่ได้ มันไม่ใช่ charity นี่ครับที่มีเงินมูลนิธิมาช่วย subsidize ลูกค้าและพ่อค้าคือประชาชน ฉะนั้นผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหน้าที่โดยตรง ของรัฐบาลที่ต้องรักษา ถ้าหากมีสินค้าตัวหนึ่งราคาต่างกันถึง ๕๐ บาท แสดงว่าราคาจริงของสินค้าน่าจะต่ำกว่าราคาขายที่ถูกนั้นลงไปอีก นั่นคือคนที่ขายแพงจะได้กำไรถึง ๕๐+ บาท อันนี้เรียกว่าผู้บริโภคเสียประโยชน์ ราคาที่ถูกต้องเหมาะสมคือราคาที่ผู้ขายได้กำไรพอประมาณที่จะนำไปลงทุนเพิ่ม และผู้ซื้อไม่ได้ซื้อสินค้าที่แพงจน over และข้อสำคัญคือสินค้าจะต้องได้มาตรฐาน ไม่ใช่มีอายุการใช้งานแค่จากร้านมาถึงในรถก็หมดอายุก่อนจะเปิกถุงซะอีก

รัฐบาลจะต้องกำหนดราคากลางโดยความร่วมมือของสหกรณ์หรือองค์กรผู้ผลิต (เกษตรกรหรือ industry) ที่จะเป็นคนแจ้งราคาทุนบวกกำไรเพื่อการลงทุนต่อเนื่อง ปล่อยผู้ลงทุนรายใหญ่ในการจักการซัก ๔-๕ บริษัทเพื่อการแข่งขันโดยมีกฏหมายป้องกันการ "ฮั้วกัน" และการ fix ราคาสินค้าให้"สูงมาตรฐาน" (ไม่ใช่มาตรฐานสูง) ให้ผู้ผลิตส่งสินค้าให้ processor โดยมีขั้นตอนที่น้อยที่สุดเพื่อตัดคนกลางออกให้น้อยที่สุดเป็นการประหยัดการ waste ตรงกลางและเพิ่มต้นทุนโดยไม่จำเป็น วิธีนี้จะเป็นการการันตีว่าผลิตผลการเกษตรหรืออตสาหกรรมมีที่ไปแน่นอน วางแผนล่วงหน้าได้เป็นปี และสามารถทราบได้ว่าอะไรจะเฟ้อหรือไม่ควรปลูกแล้วหันไปทำอย่างอื่นตาม order เนื่องจากเป็น mass sale เพราะฉะนั้นจะมีการ absorb ผลผลิตเกินได้บ้างแต่ก็ไม่ควรจะเกิดถ้าวางแผนล่วงหน้าดีๆและพร่วมมือกันทั้งสองฝ่าย

ผู้ค้ารายย่อยที่ไม่ต้องการหรือไม่สามารถร่วมโครงการจำเป็นต้องหาลูกไม้อื่นในการ attract ลูกค้า ผมไม่ใคร่เชื่อในกลเม็ดซื้อเพื่อชาติเพียงอย่างเดียวนะครับ คงจะต้องมีอะไรที่เป็นรูปธรรมแก่ลูกค้าด้วย เช่น ความสดจากไร่ organic product ผลิตผลในพื้นที่จริงๆ Home-made หรือ customaizable products (เนื่องจาก mass market ไม่สามารถจะทำสินค้า customized ตามลูกค้าได้ วิธีนี้จะเป็นการใช้จุดเด่นของรายย่อยสู้กับรายใหญ่) อย่าพยายามไปแข่งกับจุดแข็งของรายใหญ่ เช่น การลดราคาแข่งหั่นแหลกเพราะมีหวังเจ๊งก่อน

แน่นอนที่ว่ารายใหญ่นั้นไม่จำเป็นเลยที่จะต้องมาจากต่างประเทศ มหาเศรษฐีไทยมีมากมาย รวมทั้งที่ขูดเลือดจากยี่ปั๊ว ซาปั๊ว สี่ปั๊ว โหงวปั๊ว นั้นด้วย ที่สามารถลงทุน หากไม่ไปลงทางลัดโดยกำจัด supermarket แบบนี้ออกไปเพื่อที่จะได้ขายชางมหาแพลไร้คุณภาพแก่ชาวไทยโดยใช้ชื่อเพื่อชาติต่อไป รัฐบาลสามารถควบคุมแรงงาน เปอร์เซนต์วัตถุดิบที่จะต้องมาจากกลุ่มองค์กรเกษตรกร หรือ industrial ภายในประเทศซะด้วยซ้ำ ในเวลาเดียวกันก็ออกกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่ work ในรูปธรรมจริงๆซะที อย่าให้มันเกิด mindset ที่ซื้ออะไรห่วยๆมาจากร้านก็โทษชะตากรรมและความชุ่ยของตนเองที่ไม่ดูให้ดีก่อนที่จะซื้อ ที่ถูกพ่อค้าจะต้องรับผิดชอบในคุณภาพของของที่ตนขาย และพร้อมที่จะให้เปลี่ยนถ้าลูกค้าไม่พอใจ ผมทราบว่าจะมีคน exploit system นี้แน่นอน แต่ถ้าฝรั่งมันทำได้ คนไทยก็ไม่ควรจะมี moral ที่ด้อยกว่ามันและทำได้เช่นเดียวกัน



Posted by : Phoenix , Date : 2003-04-15 , Time : 20:44:06 , From IP : 172.29.3.219

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.02 seconds. <<<<<