ความคิดเห็นทั้งหมด : 1

ม.อ. ตั้ง ‘สถาบันวิจัยยางพารา’ มุ่งพัฒนาสายพันธุ์-สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่


   ม.อ. ตั้ง ‘สถาบันวิจัยยางพารา’ มุ่งพัฒนาสายพันธุ์-สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 กรกฎาคม 2554 10:09 น.


ม.อ.เดินหน้าจัดตั้ง “สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา” มุ่งศึกษาและพัฒนาตั้งแต่สายพันธุ์ ไปถึงนวัตกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ พร้อมตั้งเป้าผลิตบุคลากรในระดับปริญญาโท วางเป้าหมายระยะเริ่มต้นช่วง 3 ปีแรก ศึกษาสายพันธุ์ สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้ความรู้ชุมชน จากนั้นเดินเป้าหมายระยะกลาง 5 ปี เน้นสร้างองค์ความรู้ สร้างนวัตกรรมตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ๆ มั่นใจช่วยพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้

รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่ามหาวิทยาลัยมีโครงการที่จะจัดตั้ง “สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” ขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพในการวิจัย รวมถึงถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งเป็นหน่วยงานที่ประสานให้เกิดการจัดการเรียนการสอน เพื่อผลิตบุคลากรด้านดังกล่าวในระดับบัณฑิตศึกษา

ทั้งนี้ ยางพารานับได้ว่า เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ และของประเทศไทย โดยปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางพาราจำนวน 17,959,403 ไร่ เป็นเนื้อที่กรีดได้จำนวน 12,049,102 ไร่ มีผลผลิตในปี 2553 ประมาณ 3 ล้านตัน ขณะที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้ ที่มีความพร้อมทั้งความรู้ทางวิชาการ บุคลากร หน่วยงานสนับสนุนทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ยาง การปลูก ผลิตภัณฑ์จากยาง องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ระบบการบำบัด การกำจัดของเสีย ไปจนถึงการตลาด เป็นต้น ดังนั้น จึงถือเป็นโอกาสที่ดีที่มหาวิทยาลัยจะเข้าไปมีส่วนในการพัฒนายางพาราอย่างจริงจัง

“ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรที่เกี่ยวกับยางพารารวม 8 หลักสูตร ใน 4 คณะ คือ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาเขตปัตตานี และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิทยาเขตสุราษฎร์ รวมทั้งมีเครือข่ายวิจัยและนักวิจัยที่ทำการวิจัยในด้านยางพารา เช่น สถานวิจัยความเป็นเลิศเทคโนโลยียางพารา สถานวิจัยวิศวกรรมวัสดุ สถานวิจัยเทคโนโลยีพลังงาน ตลอดจนหน่วยวิจัยต่างๆ โดยมีผลงานวิจัยที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี อาทิเช่น ครีมยางพารา อุปกรณ์รองลดอาการปวดส้นเท้า ผิวหนังเทียมจากยางพาราสำหรับการฝึกเย็บแผล ผลิตภัณฑ์สื่อการเรียนการสอนจากยางพารา และหมอนเจลรองแผล เป็นต้น” อธิการบดี ม.อ. กล่าว





สำหรับ “สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา” นอกจากจะทำการวิจัยและพัฒนายางพาราตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ส่งเสริมการผลิตบัณฑิต ส่งเสริมให้นักวิจัยทำงานร่วมกับเอกชนแล้ว ยังมีหน้าที่จัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับยางพารา ร่วมให้บริการตรวจสอบคุณภาพยาง หรือผลิตภัณฑ์ยาง และจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ อีกด้วย

อธิการบดี ม.อ. กล่าวด้วยว่า มหาวิทยาลัยได้วางเป้าหมายการดำเนินงานไว้ในระยะ 3 ปีแรก โดยจะเน้นการศึกษาวิจัยต้นตอยางพันธุ์ดี การตรวจสอบปริมาณน้ำยาง การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยาง รวมถึงผลิตภัณฑ์ใหม่จากส่วนที่ไม่ใช่เนื้อยางในน้ำยางพารา ตลอดจนศึกษาวิธีการในการเผยแพร่ความรู้ มีการจัดการอย่างยั่งยืน มีเครือข่ายชุมชน มีระบบการบำบัด การกำจัดของเสียที่มีประสิทธิภาพ มีระบบการจัดการตลาดที่ดี ซึ่งคาดว่าหลังจากดำเนินการตามแผนระยะกลางในเวลา 5 ปี จะสามารถได้พันธุ์ที่ให้ปริมาณน้ำยางสูงขึ้นจากผลผลิตเดิม รวมทั้งได้องค์ความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางพาราชนิดใหม่ ตลอดจนการพบเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องมือวัดความชื้น เครื่องมือวัดสิ่งปลอมปนในยางแท่งและยางก้อน เป็น




Posted by : thiopental , Date : 2011-07-17 , Time : 17:52:58 , From IP : 113.53.1.32

ความคิดเห็นที่ : 1






   >>>>>>>>

Posted by : thiopental , Date : 2011-07-17 , Time : 17:54:22 , From IP : 113.53.1.32

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<