ความคิดเห็นทั้งหมด : 7

พยาบาล พป.ลาออกกันเยอะมาก!!!!


   ตอนนี้มีพยาบาลที่เป็น พป. ลาออกกันเยอะมากเพราะอะไร?
- เงินเดือนอันน้อยนิด-----> ก้อ...ไม่ขึ้นสักที
- ค่าเวรก้อไร้วี่แววจะขึ้น
- สวัสดิการก้อ.... อืม
--------ลาออกไปเรียน ป.โท
--------ไปทำเอกชน (7โมงเช้า-19น.)=12 ชม.ค่าเวร 1500 บาท
---------มอ. ค่าเวร บ่าย 200 ดึก 220 เนื้อหมูแถวบ้าน กิโลละ 160 แล้วจ้า
---------ตำแหน่งข้าราชการสาธารณสุขรองรับพยาบาลกว่าหมื่นตำแหน่งในปี2555 นี้ อนุมัติแล้วจ้า

*****เหตุผลทั้งหมดหรือว่า ดบบชดบชดบบช กันแน่?????????? ตารางเวรของใครเป็นอย่างนี้บ้าง ยกมือขึน
*****ใครรู้ช่วยตอบหน่อย******


Posted by : nurse , Date : 2011-06-05 , Time : 11:14:39 , From IP : 172.29.17.165

ความคิดเห็นที่ : 1


   ในหลักของการบริหารและพัฒนาคุณภาพผลการปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ปัจจัยสำคัญที่จะชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จโดยง่าย ประการแรกคือ การที่โรงพยาบาลสามารถกำหนดแผนงาน นโยบาย ที่ได้มาตรฐานสอดคล้องกับความต้องการ หรือความคาดหวังของทั้งผู้ใช้บริการและบุคลากรผู้ให้บริการ แผนงานนั้นสามารถนำสู่การปฏิบัติได้ โดยเฉพาะในกลุ่มการพยาบาลซึ่งเป็นหน่วยงานใหญ่และมีจำนวนบุคลากรมากที่สุดในโรงพยาบาล เป็นส่วนที่สำคัญจำเป็นเพราะเป็นหน่วยงานที่ควบคุมกำกับการบริหารงานให้เกิดบริการพยาบาลที่มีคุณภาพ(โอษถา วิสัชนา,2544) ทำหน้าที่โดยตรงในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ด้านการรักษาพยาบาล ป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ประชาชนทุกเพศทุกวัยร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพและโดยทางอ้อมในการเชื่อมโยงประสานงานการดูแลผลการปฏิบัติงานในภาพรวมของโรงพยาบาลให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดกองการพยาบาล สำ นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (2541) กำหนดไว้ว่า ประกอบด้วยลักษณะงานด้านการบริหารจัดการ ด้านการปฏิบัติการพยาบาลและด้านวิชาการ อันเป็นลักษณะงานหลักในหน้าที่ความ รับผิดชอบของพยาบาลวิชาชีพ และเมื่อพิจารณาถึงการได้รับแรงสนับสนุนด้านขวัญกำลังใจ หรือแรงจูงใจให้พยาบาลปฏิบัติงานในโรงพยาบาลภาครัฐ ยังอยู่ในวงจำกัด ขณะที่ผู้ใช้บริการของโรงพยาบาลภาครัฐเพิ่มมากขึ้นในทุกปี พยาบาลวิชาชีพเป็นกลุ่มผู้ให้บริการที่ต้องรับภาระงานเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของผู้ใช้บริการ ลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายได้ง่าย เช่น ท่ามกลางสภาพที่ทุกข์ทรมานของผู้เจ็บป่วยการปฏิบัติงานที่จำเจและต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายประเภทหลายอารมณ์ การปฏิบัติงานจึงต้องใช้ความอดทนและ ความรับผิดชอบอย่างมากหากพยาบาลวิชาชีพมีความคาดหวังในการปฏิบัติงานและความเป็นจริงในการปฏิบัติงานทีแตกต่างกัน ก็จะไม่เอื้อต่อการเกิดพฤติกรรมบริการที่ดี ที่จะนำไปสู่ผลของการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพหรือทำให้พยาบาลปฏิบัติงานอย่างมีความสุขได้ นอกจากนี้ในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของพยาบาลวิชาชีพให้สูงขึ้น ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้พยาบาลวิชาชีพ ยิ่งจำเป็นจะ ต้องได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถยิ่งขึ้นไปอีก การศึกษาของปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์(2544) กล่าวว่า การเกิดความเบื่อหน่ายท้อแท้จากความคาดหวังและความเป็นจริงในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน แรงจูงใจในการปฏิบัติงานก็จะไม่เกิด ผลการปฏิบัติงานก็จะลดลงในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลจะมีมาตรฐานที่เป็นสากลทางการพยาบาลเพื่อใช้วัดระดับผลการปฏิบัติงานของพยาบาล เนื่องจากมาตรฐานการพยาบาลถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะบอกให้ทราบถึงระดับการพยาบาลที่มีคุณภาพว่าอย่างน้อยที่สุดควรมีลักษณะหรือวิธีปฏิบัติอย่างไร โดยต้องพัฒนาการปฏิบัติงานพยาบาลให้สูงขึ้น เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญปัจจัยหนึ่งคือปัจจัยด้านตัวผู้ปฏิบัติ งานพยาบาลเอง การที่เกิดช่องว่างระหว่างความคาดหวังและความเป็นจริงในการปฏิบัติ
งานเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ระดับผลการปฏิบัติงานของพยาบาลลดลง จนอาจไม่สามารถคงไว้ซึ่งบุคลากรในโรงพยาบาลภาครัฐได้อีกต่อไป ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่นอัตราบุคลากรไม่เพียงพอกับภาระงาน นโยบายการบริหารงานที่ไม่ยืด หยุ่น บรรยากาศการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสม การขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ก็ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมบริการและผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาล จากการวิเคราะห์ที่มาของปัญหาสาเหตุที่ได้มีผู้เสนอ แนะไว้ว่า ความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพมักเกิดจากความไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างความคาดหวังและสภาพความเป็นจริงในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการขาดการได้รับแรงจูงใจ หรือนโยบายการสนับสนุนส่งเสริมจากองค์กรที่เหมาะสมอย่างเพียงพอจึงทำให้ประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานลดลง ความต้องการหรือความคาดหวังในการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการจึงมีความสำคัญมากเพราะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการที่จะวางแผนพัฒนาบุคลากรในองค์กรเพื่อสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรทุ่มเทปฏิบัติงานอย่างเต็มความรู้ ความสามารถ เพื่อผลการปฏิบัติที่มีคุณภาพ หากเกิดช่องว่างระหว่างความคาดหวังและความเป็นจริงในการปฏิบัติงานแต่ยังไม่ได้รับการแก้ไขผลการปฏิบัติงานก็จะยังไม่ได้คุณภาพตามเป้าหมายยิ่งช่องว่างระหว่างความคาดหวังและความเป็นจริงมีมากเพียงใดก็ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความจำเป็ นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการเพื่อลดช่องว่างนั้น และการค้นหาระดับความต้องการหรือความคาดหวังในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานจะเป็นขั้นตอนแรกของการดำเนินการเพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาคุณภาพผลการปฏิบัติงานของพยาบาล ทัศพันธ์ พงษ์เภตรา (2545)กล่าวว่า “ การพัฒนาบุคลากรเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการนั้นจะต้องเกิดจากความต้องการของผู้ปฏิบัติและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นขององค์กร ”จากการศึกษาของ พิมพ์ผกา สุริยงศ์ (2547) ที่ได้เสนอแนะไว้ว่าควรมีการศึกษาผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในแต่ละด้านของการปฏิบัติงาน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการปฏิบัติการพยาบาล ด้านวิชาการเพื่อนำผลการวิจัยมาจัดการอบรมส่งเสริมให้สอดคล้องกับความต้องการตามที่คาดหวังของพยาบาลวิชาชีพ

สรุป
เมื่อภาระงานมากขึ้น ก็จะมีนโยบายต่างๆขึ้นมา ความคาดหวังสูงขึ้น แรงสนับสนุนด้านขวัญกำลังใจ หรือแรงจูงใจให้พยาบาลปฏิบัติงานในโรงพยาบาลภาครัฐ ยังอยู่ในวงจำกัด จำนวนพยาบาลเท่าเดิมหรือลดลง จะทำให้เกิดความล้าในการทำงาน จนทำให้เกิดเป็นความเบื่อหน่ายในการทำงาน จะเห็นได้ว่า พยาบาลที่มีอายุ ลักษณะงาน ภาวะผู้นำของผู้บริหาร บรรยากาศในการทำงาน นโยบาย แรงจูงใจ ซึ่งมีความ แตกต่างกันจะมีความเบื่อหน่ายในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ


Posted by : บวบเองคับ , Date : 2011-06-07 , Time : 02:06:28 , From IP : 172.29.9.139

ความคิดเห็นที่ : 2


   ที่แน่ๆ น่าจะมีการทำวิจัยเรื่อง ความเบื่อหน่ายในวิชาชีพ แล้วนำข้อมูล มาหาทางออกนะครับ หรือเสนอแนะว่า ให้พยาบาลระดับปฎิบัติการ ทั้ง พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานเงินรายได้ ทั้งหมด เข้าประชุม หารือร่วมกับผู้บริหาร หรืออาจจะเป็น ผู้บริหารพบปะพยาบาล ซึ่งวิธีนี้จะได้ทราบข้อมูลแบบ ปฐมภูมิ (สมัยเรียนก็นิยมให้ซักจากคนไข้ ซึ่งจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องกว่า ข้อมูลที่มีคนซักประวัติไว้แล้ว)ดีกว่าแจ้งผ่านทางหัวหน้า บางครั้ง งานท่านเยอะอาจจะตกๆหล่นๆได้
แล้วมาหาทางออกร่วมกัน แล้วเรื่องวิกฤตจำนวนพยาบาล โรงพยาบาลของก็อาจจะดีขึ้นนะครับ......บ


แต่ความคิดเห็นของพนักงานคนหนึ่งอาจจะไร้ความหมายก็ได้.....แต่อยากให้ลองเปรียบเทียบว่า
1. ผู้บริหารคือหัว+สมอง พนักงานคือ แขน/ขา หากแขนหักทั้ง 2 ข้าง สมองที่คิดจะหยิบจับสิ่งของ ก็หยิบจับไม่ได้
2. อาจารย์เคยสอนเสมอว่า เป็นพยาบาลอย่าคิดแทนผู้ป่วย "ปวด/ไม่ปวดเราไม่รู้เราต้องถามผู้ป่วยเอง ไม่ใช่ถามญาติ "
(ผู้ป่วย=พยาบาลระดับปฎิบัติการ ทั้ง พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานเงินรายได้ , ญาติ=หัวหน้าของพยาบาลระดับปฎิบัติการ)


Posted by : บวบเองคับ , Date : 2011-06-07 , Time : 02:19:23 , From IP : 172.29.9.139

ความคิดเห็นที่ : 3


   ตอนนี้ ร.พ.เราก้อคล้ายอัมพฤกษ์เล็ก ๆ แล้วละคร้า เพราะแขนขาขยับมะค่อยจาด้ายแล้น ^_^

Posted by : ช่วย , Date : 2011-06-07 , Time : 10:07:05 , From IP : 172.29.1.125

ความคิดเห็นที่ : 4


   ของเราเพิ่งขึ้น 7% ของคุณขึ้นมาแล้วกี่ครั้ง ทุกตำแหน่งงานมีความสำคัญเท่ากันหมดอย่าเอาตัวเองเป็นบรรทัดฐาน

Posted by : ต้นสะเดา , Date : 2011-06-07 , Time : 10:20:06 , From IP : 172.29.30.246

ความคิดเห็นที่ : 5


   แล้วตอนที่ขึ้นเงินเดือน เดือน ตุลา พนักงานเงินรายได้ไม่ได้ปรับเหรอ
เพราะ พ.ป. ก็ปรับเฉพาะเดือนตุลา 1 ครั้ง/ปี รู้สึกว่าเหมือนกันนี่
แล้วทำไม่ต้องบอกว่าปรับมาหลายครั้งแล้ว งงๆๆๆ


Posted by : ass , E-mail : (9876) ,
Date : 2011-06-07 , Time : 12:57:04 , From IP : 172.29.9.146


ความคิดเห็นที่ : 6


   เรียนคุณ ต้นสะเดา

ก่อนจะพูดอะไร กรุณาหาหลักฐาน ด้วยน่ะจ๊ะ ที่บอกว่า

"ของคุณขึ้นมาแล้วกี่ครั้ง" เอาหลักมาฐานมายืนยันกันให้ชัดไปเลย หรือไม่มี ก็ทราบกันดีว่าพนักงานเงินรายได้ ระดับตำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และ พนักงานมหาวิทยาลัย ก็ขึ้นเงินเดือน ปี ละ 1 ครั้ง คือช่วง 1 ตุลาคม ของทุกปี

"ทุกตำแหน่งงานมีความสำคัญเท่ากันหมดอย่าเอาตัวเองเป็นบรรทัดฐาน"

ยอมรับว่าใช่แต่ไม่ได้ทั้งหมด ไม่ได้เอาตัวเองเป้นบรรทัดฐานน่ะ เพียงแต่การเสนอความคิดเห็นของผม ก็มีหลักฐานชัดเจน พร้อมเหตุผลประกอบ เพียงแต่กระทบใครหลายๆคนก็เท่านั้นเอง มันจะเป้นการสร้างความแตกแยกจึงขอพูดเพียงแต่ว่า "ทุกตำแหน่งงานมีความสำคัญ แต่ไม่เท่ากัน"


Posted by : บวบเองคับ , Date : 2011-06-07 , Time : 18:19:36 , From IP : 172.29.9.139

ความคิดเห็นที่ : 7


   ล่าสุด ข้าราชการเงินเดือนขึ้น 1ขั้น+5% ของรัฐบาล
พนง.เงินรายได้ เงินเดือนขึ้น 7%
แล้ว พยาบาล พป. ล่ะ???????????????????


***********ใครรู้ช่วยตอบที?***********************


Posted by : nurse , Date : 2011-06-12 , Time : 15:44:23 , From IP : 172.29.17.78

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.006 seconds. <<<<<