สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล หรือที่เรียกว่า "มหาวิทยาลัยนอกระบบ" คือ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ที่มีการบริหารการจัดการอิสระแยกจากระบบราชการ (Autonomous University) แต่ยังได้รับเงินอุดหนุนทั่วไป (block grant) ที่รัฐจัดสรรให้เป็นรายปีโดยตรง เพื่อใช้จ่ายตามความจำเป็นในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย และเพื่อประกันคุณภาพการศึกษา
แนวความคิดที่จะนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบนั้น มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2507 ซึ่งผู้บริหารและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยได้ยื่นหลักการต่อ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ซึ่งก็ไม่ได้รับการเห็นชอบ เพียงแต่ได้มีการจัดตั้ง "ทบวงมหาวิทยาลัย" ขึ้น เพื่อดูแลมหาวิทยาลัยต่าง ๆ แทน "สำนักนายกรัฐมนตรี" ดังนั้น ในยุคนี้ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จึงได้ย้ายไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย จากเดิมที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยก็ยังคงอยู่ภายใต้กฎหมายระเบียบของระบบราชการเช่นเดิม ซึ่งทำให้ขาดความคล่องตัวในการดำเนินงาน จึงได้มีความพยายามที่จะนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการเรื่อยมา
และในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ เมื่อปี พ.ศ. 2541 นโยบายการออกนอกระบบก็ได้เป็นข้อตกลงหนึ่งที่ผูกพันกับสัญญาการกู้ยืมเงินกับ IMF โดยมุ่งหมายของรัฐบาลเพื่อลดงบประมาณในส่วนราชการที่สามารถเลี้ยงตนเองและบริหารงบประมาณเองได้ ในช่วงปี พ.ศ. 2542 เริ่มมีการเสนอให้มหาวิทยาลัย หรือคณะฯ ที่ตั้งขึ้นใหม่ "ออกนอกระบบ" ราชการ และมีการหยุดรับข้าราชการพลเรือนเข้ามาในมหาวิทยาลัยรัฐเดิมทั้งหมด ตำแหน่งที่บรรจุเข้ามาใหม่ เรียกว่า "พนักงานมหาวิทยาลัย" ซึ่งมีกรอบเงินเดือนและสวัสดิการแตกต่างจากข้าราชการพลเรือนเดิม และหากผู้ที่เกษียณราชการไปให้ตำแหน่งและเงินเดือนนั้นเปลี่ยนเป็นตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัยในตำแหน่งเริ่มบรรจุใหม่เท่านั้น
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติเรื่องการศึกษาไว้ ในมาตรา 49 ที่ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นการจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ และได้กล่าวไว้ในมาตรา 80 ว่ารัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ใน (3) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ปัจจุบันนั้น มีสถาบันการศึกษาในกำกับ 13 แห่ง ที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระบบราชการหรือไม่อยู่ในสายการบังคับบัญชาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2551เป็นต้นไป มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (ออกนอกระบบตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (เดิมอยู่ในระบบราชการ ก่อนออกนอกระบบในปี พ.ศ. 2541) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (ออกนอกระบบตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยมหิดล (ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นอันบังคับใช้แล้ว) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ออกนอกระบบตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยบูรพา
ประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์นั้นจะวิเคราะห์ถึงข้อดี ข้อเสียของการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบดังนี้ ข้อดี คือ เพื่อเกิดความคล่องตัวในการบริหารมหาวิทยาลัยมากขึ้น เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล มหาวิทยาลัยสามารถเปิดหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานได้ สวัสดิการของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทียบเท่าเอกชน
ส่วน ข้อเสีย คือ
1. ค่าเล่าเรียนเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการตัดโอกาสทางการศึกษาของผู้มีรายได้น้อยทางอ้อม กีดกันคนจนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของชาติออกจากระบบการศึกษา และรับใช้เฉพาะลูกหลานของอภิสิทธิ์ชนเท่านั้น
2. ผู้สอนเป็นเพียงพนักงาน(ลูกจ้าง) ของมหาวิทยาลัยตามสัญญาจ้าง จึงไม่มีความผูกพันและมีความจงรักภักดีต่อองค์กร
3. ผู้สอนมีความไม่มั่นคงในการประกอบอาชีพ เนื่องจากอาจถูกยกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้
4. ผู้สอนไม่กล้าแสดงหรือชี้นำสังคม โดยเฉพาะประเด็นการบริหารมหาวิทยาลัยและประเทศชาติ ทำให้ประเทศชาติสูญเสียโอกาสที่ควรจะได้รับ
5. ผู้สอนถูกแทรกแซงในด้านวิชาการจากผู้บริหารมหาวิทยาลัย ถ้าผลการวิจัยไม่เป็นไปตามความต้องการหรือขัดนโยบายของผู้บริหาร
6. ผู้สอนไม่ได้รับความเป็นธรรมในการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามสัญญาหรือไม่พึงประสงค์ของผู้บริหาร
7. สถาบันการศึกษา เป็นแหล่งที่สร้างองค์ความรู้ ศิลปวัฒนธรรม และบุคลากรของชาติ เมื่อมหาวิทยาลัยถูกนำออกนอกระบบ ย่อมกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อันจะเป็นผลเสียในระยะยาวต่อการพัฒนาประเทศชาติ รวมทั้งความมั่นคงของชาติในทุกๆ ด้าน
8. ประเด็นการตรากฎหมาย ยกเว้นโทษนิติบุคคลและผู้บริหารไว้ล่วงหน้า การตรากฎหมายยกเว้นความไว้ล่วงหน้าขัดกับหลักกฎหมายทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางปกครอง เช่น สัญญาทางปกครอง คำสั่งทางปกครอง คดีแพ่งไม่สามารถบังคับคดีได้ ในเมื่อผู้บริหารมหาวิทยาลัยบริหารผิดพลาด ซึ่งเป็นการเปิดช่องว่างให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยคอรัปชั่น เพราะการกระทำของนิติบุคคลและผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่สามารถฟ้องร้องได้ และประเด็นการก่อหนี้ของมหาวิทยาลัยหรือนิติบุคคล โดยสภามหาวิทยาลัยออกคำสั่งหรืออธิการบดี, คณะบดีออกคำสั่งหรือทำสัญญาก่อหนี้ต่อปัจเจกชนภายนอก ใครจะรับผิดชอบ ในเมื่อมหาวิทยาลัยไม่อยู่ในการบังคับคดีทั้งปวง และเจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัยถูกกระทบจากคำสั่งทางปกครองยื่นฟ้องทางปกครองต่อศาลปกครองไม่ได้ ใน มาตรา 19 ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยใช้เพื่อเกี่ยวข้องกับการศึกษา การวิจัยและการบริการทางวิชาการโดยตรง ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีทั้งปวง รวมทั้งการบังคับทางปกครอง และบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยในเรื่องทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยมิได้ จึงเป็นการบัญญัติกฎหมายยกเวนการตรวจสอบจากอำนาจตุลาการอย่างชัดเจน จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและกระทำไม่ชอบด้วย รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ประกอบกับ มาตรา 14 กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่า ด้วยการควบคุมแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการแล้วข้าราชการ พนักงาน มหาวิทยาลัย ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างรายปี ลูกจ้างชั่วคราวไม่มีสถานภาพเป็นข้าราชการแต่ก็ต้องได้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในการจัดตั้งกลุ่มชมรม แรงงานสัมพันธ์ ซึ่งขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 2550 และหลักกฎหมายสากลทั่วที่ยอมรับและใช้กันอยู่ทั่วโลก
9. ประเด็นการตรากฎหมายที่ไม่ชอบด้วยหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม กล่าวคือ
กระบวนการร่างกฎหมาย และการตรากฎหมายจะต้องมีหลักนิติธรรม กระบวนการร่างหรือมาตราในกฎหมายจะต้องไม่ขัดแย้งโดยหลักกฎหมายทั่วไปและหลักนิติธรรม และประชาชนย่อมต้องมีส่วนร่วมในการตรากฎหมาย
10. การบริหารงานของฝ่ายบริหารอาจจะไม่โปร่งใส ตรวจสอบได้ยาก ที่สำคัญอย่าลืมข้อนี้ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 36 เปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษามีทางเลือก ที่จะเป็น มหาวิทยาลัยของรัฐ หรือ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ก็ได้ ฃ
11.นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ว่า "การนำมหาวิทยาลัยออกจากระบบราชการก็เพื่อความคล่องตัวและเป็นอิสระในการบริหารจัดการให้เบ็ดเสร็จภายในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อเอื้ออำนวยสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ" ข้ออ้างนี้เหมือนเป็นการประนามระบบราชการว่าไร้ประสิทธิภาพ ขาดความคล่องตัว ไม่เอื้อต่อการพัฒนา ถ้าหากว่าข้ออ้างนี้ฟังขึ้น ก็ต้องยุบหน่วยราชการทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นกองทัพ กระทรวง ทบวงกรม และกอง ทั้งหมด โดยเฉพาะกองทัพ และตำรวจ หรือเพราะ องค์กร เหล่านี้ มีอาวุธ เลยไม่กล้าที่จะ แตะต้อง...
ทางออกของมหาวิทยาลัยของรัฐ
1. เมื่อมีปัญหาเงินเดือนน้อยก็เพิ่มเงินเดือน
2. เมื่อมีปัญหาความคล่องตัว ควรแก้ที่ระเบียบกฎเกณฑ์เพื่อให้คล่องตัว เพื่อให้ตรวจสอบที่มาที่ไปได้ แต่ปัจจุบันมหาวิทยาลัยจะเปิดคอร์สอะไรก็ได้ มีความอิสระสูงเพียงแต่การจัดซื้อจัดจ้าง ที่อาจจะติดขัดก็ขอเป็นเรื่องๆไป หรือแก้ไขที่ระเบียบ กฎเกณฑ์
3. ประสิทธิภาพนักเรียนไม่ใช่อยู่ที่การออกนอกระบบหรือในระบบ แต่อยู่ที่ฝีมือการจัดหลักสูตร วิธีการเรียนการสอน อุปกรณ์หากต้องการทันสมัยก็ต้องระดมทุนกัน แต่การให้อำนาจ กลุ่มอธิการ เพื่อให้บริหารคล่องตัวเกรงว่าจะเป็น การให้สิทธิ์ในการบริหารที่เพื่อผลประโยชน์ตนเอง โดยไม่มีการตรวจสอบและคานอำนาจ จากประชาสังคม และนิสิต เพราที่มาของคณะผู้บริหาร มาจาก อธิการและกลุ่มคณาจารย์ อาจารย์ดีๆ หรือนักศึกษา ดีๆ อาจจะถูกไล่ออกทันที หากไปขัดแย้งกับผู้บริหาร หรืออกมาเปิดโปง สิ่งที่ไม่ชอบมาพากล ดังที่เคยเกิดขึ้นในมหาลัยวลัยลักษณ์
4. การอ้างว่าได้ทำประชา พิจารณ์นั้น ข้อเท็จจริง พรบ ของม.จุฬา ทั้งนิสิตและอาจารย์มหาลัย ไม่เคยเห็น หน้าตาของพรบ.เลย (ที่มา อดีตประธานสภาอาจารย์มหาลัย ) และเมื่ออกมาคัดค้าน ก็ถูกกลุ่ม มาเฟีย มาทุบกระจกรถ ซึ่งได้ไปแจ้งความไว้แล้ว หากดีจริงทำไมจึงรีบหมกเม็ด และ ต้องรังแกประชาชน
อธิการบดี จุฬา แต่งตั้งนายอนันต์ อัศวโภคิน เป็นที่ปรึกษา ซึ่งนายอนันต์ ร่วมหุ้นกับบริษัทสิงคโปร์ แลนด์แอนด์เฮาส์ ที่อาจจะเข้ามาร่วมจัดการทรัพย์สิน ของมาบุญคลอง ในอนาคต
5. การอ้างข้อมูลว่าได้ทำพิจารณ์ หรือทำโน่นทำนี่ ไม่ควรให้ความเชื่อถือมากเพราะเป็นข้ออ้างของฝ่ายที่เสนอฝ่ายเดียว แต่ฝ่ายคัดค้านไม่มีสิทธิ์ไปร่วมวงให้ข้อเท็จจริงได้ เพราะไม่ใช่สมาชิก สนช. ซึ่งที่ถูกต้องแล้วข้าราชการ ไม่ควร มาเป็นสนช. เพราะผลประโยชน์ทับซ้อน คือชงเอง แก้ไขเอง รับผลประโยชน์เอง เพราะเป็นพวกเดียวกัน ที่จริงแล้วกฎหมายทุกฉบับ ควรประชาพิจารณ์ก่อนเข้าวาระ ครม. และสนช.
6. ควรมีกฎหมายกลางที่กำหนดระบบการคานอำนาจและการตรวจสอบ โดยประชาสังคม และนิสิตเอง เข้าไปมีส่วนร่วมตรวจสอบ การบริหาร ควรมีการประชาพิจารณ์ก่อนทุกครั้ง
7. ควรจะแยกคณะสาขาวิชาที่ลงทุนสูงออกไปแล้วคิดค่าเล่าเรียนตามต้นทุนที่แท้จริง เช่นด้านวิทยาศาสตร์ ด้าน เทคโนโลยี่ ด้านการแพทย์ หรือ ด้านวิศวกรรม ซึ่งผลิตบุคคลากรไปป้อนภาคธุรกิจ หรือ ออกไปทำงานต่างประเทศ โดยใช้เงินภาษีอากรของประชาชนทั้งประเทศนั้นไม่เป็นการยุติธรรม สำหรับนักศึกษาที่ต้องการทุนโดยไม่ต้องใช้คืนก็ให้ทำสัญญาผูกมัดว่าเมื่อจบแล้วต้องทำงานราชการ หรือ องค์กรการกุศล หรือ องค์การเอ็นจีโอ เป็นเวลา 5 ปี เหมือนนักศึกษาแพทย์ที่จบแล้วต้องรับราชการใช้คืนทุนก่อน
8. แยกผู้บริหารด้านวิชาการ ออกจากผู้บริหารด้านทั่วไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารโดยผู้ที่เรียนมาทางด้านบริหาร หรือ มีประสบการณ์มาก่อน แบบเดียวกับในอเมริกา
9. ยกเลิกระบบกู้เงินเรียน แต่ใช้ระบบให้ทุนแบบสิงค์โปร์ โดยการคัดเลือกและให้มีการ ใช้ทุน
รัฐบาลใหม่หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ต้องพิจารณาประเด็นเรื่องการศึกษาและเรื่องมหาวิทยาลัยนอกระบบอย่างถี่ถ้วน และควรมีมาตรการรองรับในด้านการศึกษาอย่างชัดเจน และการพัฒนาการศึกษาให้แก่ประชาชนในประเทศอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันทุกระดับ
เอกสารอ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล
http://parentsiam.board.ob.tc/-View.php?N=61
Posted by : บวบเองคับ , Date : 2011-06-02 , Time : 01:42:07 , From IP : 172.29.9.20
|