ความคิดเห็นทั้งหมด : 25

Debate LV: Higher Education, a Holy Grail for All, ...Is it?


   เด้กไทยทุกคนเมื่อจบการศึกษาภาคบังคับแล้ว ควรเรียนต่อจนถึงมหาวิทยาลัยหรือไม่ เพราะเหตุใด และปัจจัยอะไรที่จะมีส่วนเกี่ยวข้อง?

รัฐบาลมีนโยบายให้มหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิตเพิ่ม across the board ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนไปถึงปริญญาโท ปริญญาเอก นโยบายดูดี แต่ผลิตบัณฑิตคุณภาพไม่ใช่ต้องการแค่นโยบายหรือไฟเขียวจากรัฐบาลก็ทำได้ Man Money Machiney Management ต้องมาด้วยกันหมด

ปัญหาอีกประการคือประเทศเราต้องการบัณฑิตจำนวนมากจริงหรือ Balance ระหว่างจำนวนกับคุณภาพเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น มหาวิทยาลัยในอังกฤษกำลังถูก push ให้บนักเรียนจาก A level เพื่อให้ hit target more than 50% leaving scondary school เข้ามาใน university system ในช่วง 20 ที่ผ่านมา อัตราส่วนคนที่ได้ Nobel prize Laureate จาก British University dropped จาก 20% เหลือแค่ 6% เดิมมหาวิทยาลัย Oxford ได้ set criteria to select candidate เพราะเกรงว่าเด็ก "ไม่ได้มาตรฐาน Oxford" จะ drop out ไประหว่างทาง แต่ถูกนโยบายรัฐบาลบีบทางทุนงบประมาณให้รับนักเรียนจากโรงเรียนรัฐบาลเพิ่มมากขึ้น โดยไม่เกี่ยวกับ academic performance ของนักเรียน จุดประสงค์เดียวคือได้ตัวเลขใกล้ target ว่าจบ A-Lvel (เหมือนจบมัธยมศึกษาของไทย) เข้ามหาวิทยาลัยเยอะขึ้น เด็กโรงเรียนรัฐบาล (ซึ่งอาจจะมาจากครอบครัวที่มีเงินน้อยกว่าเด้กที่ส่งเข้าโรงเรียน Private แต่เผอิญ overall performance ก้น้อยกว่าเด้กจบ private school อย่าง Eton, Bristol Grammar, Oratory ขอ_ลูก Tony Blair ชัดเจนด้วยเหมือนกัน) ก็มีสิทธิ์เข้า The OxBridge เพียงเพราะเขามาจาก quota โรงเรียนรัฐบาล

แต่อย่างว่า "จำนวน" นั้น measured ง่ายกว่าคุณภาพ ซึ่งทั้งวัดยากและอาจจะต้องใช้เวลานาน รัฐบาลที่กระหายผลงานให้คนมองเห็นก็อยากจะได้อะไรที่วัดดดย "ปริมาณ" มากกว่าที่จะพยายามสร้าง The Elite Institute ที่แค่อาจจะ payback ในรูปของ Nobel Prize Laureate จากไทยในอีก 50 ปีข้างหน้า

คิดว่าอย่างไรครับ?

Be mature, Be positive, and Be Civilized



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-17 , Time : 10:59:59 , From IP : 172.29.3.232

ความคิดเห็นที่ : 1


   อ่านแล้วไม่ค่อยรู้เรื่อง สงสัยจะไม่ได้อยู่ในวงการการศึกษาระดับสูง
รู้แต่เพียงว่าระดับรากหญ้า เช่นระดับอนุบาล ระดับประถม เด็กไทยยังไปไม่ถึงดวงดาว เด็กไม่เข้าใจว่าการเรียนเพื่อให้รู้คืออะไร เห็นมีแต่เรียนเพื่อให้สอบได้ พ่อ-แม่ก็คอยเทียบกับเด็กข้างบ้าน หรือลูกเพื่อนอยู่ร่ำไป ไม่ทราบว่าเมื่อไหร่ที่เด็กจะมีความรู้สึกสุขใจที่เขาได้เรียนรู้ และเข้าใจในสิ่งที่เขาสนใจอย่างแท้จริง นี่คือปัญหาของเด็กที่มีโอกาสที่จะเรียนนะ ยังมีปัญหาอีกมากโขกับเด็กที่ไม่มีโอกาสจะเรียน

ขอนอกเรื่องนิดหนึ่งคงไม่ทำให้ท่านรำคาญใจนะ ภาพสวยๆที่เป็น logo หนะ หาได้ที่ไหน และใส่เข้าไปได้อย่างไร โปรดชี้แนะ


Posted by : Lunar , Date : 2004-01-17 , Time : 17:02:35 , From IP : webcache01.mas.optus

หมายเหตุ ... ระหว่างเครื่องหมาย " " ให้ใส่ address ของรูปนั้นๆ เช่นของผมก็คือ http://myweb.tiscali.co.uk/sakon/phoenix_logo2_small.gif เป็นต้น " />
ความคิดเห็นที่ : 2


   เมื่อปี 1952 member of Parliament ตัวแทนจาก Cambridge ประเทศอังกฤษให้ vision ไว้ว่าประมาณสิ้นสุดศตวรรษที่ 20 หรือปีค.ศ. 2000 น่าจะมีคนเข้ามหาวิทยาลัย "และจบสำเร็จ" ออกมาประมาณ 12%

ตัวเลขมาจากการประเมินหลายอย่าง ตั้งแต่การคิดว่าจบมาแล้วเป็นผู้นำ เป็น Think-tank อยู่ใน strategic cockpit ของ organization ต่างๆ และข้อสำคัญคือประเมินจาก resource ที่จะผลิตบัณฑิตคุณภาพออกมา ตัวเลขจริงในอีก 50 ปีต่อมาคือ 43% และประเทศอังกฤษกำลังประสบกับวิกฤตการณ์สองอย่างคือ บัณฑิตตกงาน และงานที่ใช้ skill หรืออาชีวะศึกษามีคนไม่พอ!!! The Onus of the story คือ ประเทศมีภาวะ inflation ของบัณฑิตระดับมหาวิทยาลัยที่รัฐบาล subsidize เงินภาษีเป็นพันๆล้านปอนด์เพื่อผลิตบัณฑิตความรู้สูงโดยไม่มีตลาดแรงงานรองรับ และขณะเดียวกันสายอาชีวศึกษาที่ผลิตคนที่มีความชำนาญเฉพาะด้านต่างๆเช่นช่างไม้ ช่างปูน ช่าง mechanics ไม่ได้รับการสนับสนุน ก็มีการผลิตไม่พอ เพราะไม่เคยเป็น target ของรัฐบาลไหนๆ

ความเป็นจริงก็คือ "ความต้องการบัณฑิต" นั้นควรจะประเมินจากตลาดที่จะเป็นผู้ใช้ รัฐบาลไม่ควรสร้าง artificial demanding หรือ "ค่านิยม" หลอกๆในการสร้างตลาดบัณฑฺตที่ไม่มีคนจะจ้างในภายหลัง ไม่ได้แปลว่าเราตกอยู่ในภาวะ surplus ของบัณฑิต แต่จำนวนของนักศึกษาปริญญาโท เอก ทั้งหลายแหล่นี้น่าจะมาจาก database ที่หนักแน่นรองรับว่า ๑) มหาวิทยาลัยสามารถคง "คุณภาพ" ในการผลิตเพิ่ม และ ๒) ตลาดความต้องการการันตีว่ามีที่ใช้บัณฑฺตที่คุณภาพสูงนี้อย่างคุ้มค่า
============================================
รูปภาพมาจากไหนก็ได้ครับ ถ่ายเอง ในนิตยสาร จาก internet ขอเพียงสามารถทำออกมาใน format ที่เหมาะสม เช่น JPG or GIF file แล้ว upload (เอาไปเก้บ หรือเซฟ) ไว่ใน Internet webspace (ที่ที่เป็น address ตรง bar ข้างบน ที่ว่า http...... อะไรนั่นแหละครับ) แล้วก็พิมพ์คำสั่งให้ programme internet browser (Internet Explorer หรือ Netscape) อ่านไปที่ address นี้ก็จะ show รูปที่เราเก็บไว้

คำสั่งรูป (พิมพ์ติดต่อกันในบรรทัดเดียวกัน ไม่มีเว้นวรรคระหว่างสัญญลักษณ์ต่างๆ ยกเว้นระหว่าง img กับ src)
<
img src=
"..."
>
หมายเหตุ ... ระหว่างเครื่องหมาย " " ให้ใส่ address ของรูปนั้นๆ เช่นของผมก็คือ http://myweb.tiscali.co.uk/sakon/phoenix_logo2_small.gif เป็นต้น



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-17 , Time : 21:05:56 , From IP : 172.29.3.238

ความคิดเห็นที่ : 3


   ความเห็นส่วนตัวคิดว่า ผู้ที่เข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยควรต้องเป็นพวกที่มีมันสมองจริงๆ หายถึงสามารถเป็นปัญญาชนได้ เพราะการเรียนมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องคิด และรู้จักประยุกต์เป็น แต่บ้านเราการเรียนมหาวิทยาลัยหมายถึงทางที่ต้องเดินเพื่อความก้าวหน้าในด้านการงาน ความมีหน้ามีตา ฯลฯ คุณภาพของบัณฑิตจึงด้อยไปอย่างน่าใจหาย ไม่ได้ดูถูกผู้อื่นแต่คิดว่าคนเราความสามารถไม่เท่ากัน บางคนควรเรียนต่ออาชีวะ ไม่ใช่มหาวิทยาลัย แล้วไอ้ที่พยายามเปิดมหาวิทยาลัยเอกชนกันน่ะ ก็เหมือนหนังแผ่นที่ระบาดอยู่ตอนนี้นั่นแหละ ซื้อไปดูก็เสีย feel พานทำให้หนังโรงที่เขาฉายอยู่ถูกประเมินค่าหนังไทยไปโดยปริยาย ยิ่งการเตรียมตั้งราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยอีก ไม่รู้จะทำไปเพื่ออะไร แค่นี้ก็คิดถึงอนาคตลูกแล้ว ต้องไปเรียนกับเด็กที่จบจากราชภัฏ พูดตรงๆ ครับว่าเข้าข่ายวิกฤต ผู้เป็นครูคือผู้เอนทรานซ์ไม่ติด สอบที่ไหนไม่ได้ home school ในอนาคตคงโด่งดัง พวกที่อยู่มหาวิทยาลัยเดี่ยวนี้ก็ใช่ย่อย ในมอ เนี่ยคณะอะไรไม่ต้องบอก เสื้อผ้าใส่กันเหมือนเด็กเชียร์แขกในบาร์ บางคณะเด๋กชายก็ลากรองเท้าแตะไปเรียน ไม่ต้องจัดโครงการเกียรติยศอะไรให้เปลืองงบหรอกครับ เหมือนเดิม ผมเคยได้ยินรัฐบาลยุคหนึ่งจัดให้มีโครงการทำหมันสาขาเกี่ยวกับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลองคิดดูดีๆ นะครับว่ามันเป็นแก้ตรงจุดหรือไม่ ส่วนตัวคิดว่าผู้ที่เหมาะสมจะเรียนคงมี แต่มีที่ไม่เหมาะไปเรียนก็เยอะ ที่สำคัญคือว่าเรียนจบแล้วมีงานรึเปล่า เท่านั้นเอง พูดถึงเรื่องงาน เมื่อก่อนวิศวะกับแพทย์ก็คู่คี่กันมา ตอนนี้แพทย์แซงเมื่อวิดวะเริ่มตก ถามว่าคุณคิดอย่างไรเมื่อคนที่ถนัดวิดวะมาเรียนหมอ ไม่ต้องอื่นไกล เพื่อนผมฟิสิกส์ 90 ชีวะได้ 38 มาเรียนด้วยความปรารถนาของแม่ โถ ประเทศไทย

Posted by : นกดิน , Date : 2004-01-18 , Time : 10:53:41 , From IP : 203.146.53.242

ความคิดเห็นที่ : 4


   คุณค่าของใบปริญญาบัตรได้ถูกสอดแทรกเข้ามาในจิตใจของเราเป็นระยะเวลานานมากจริงๆ ผลกระทบกว้างขวางมาก ไม่ต้องอื่นไกล แค่ "วรรณะ" ของคณะ ของคะแนน ที่บางครอบครัว บางคนใช้แบ่งแยก เรียกสมองออกเป็น "ระดับๆ" นั้นก็สะท้อนถึง backfire จาก "คุณค่าเทียม" อันนี้

เรามีการปลูกฝังเรื่อง "คุณค่าของปัจเจก" และ "สิทธิพื้นฐานความเป็นมนุษย์" น้อยเกินไปหรือไม่? ไม่อย่างจะด่วนสรุปว่านี่เป็นความต่างของตะวันตกกับตะวันออก แต่วรรณะนั้นเริ่มมาจากแถวๆนี้จริงๆ ขณะที่อีกฝั่งหนึ่งเขาบุกเบิกด้วยการสร้างเนื้อสร้างตน แต่อีกฝั่งหนึ่งซึ่ง "เจริญ" มาก่อน มีการก่อตั้งผู้นำ แล้วก็ชนชั้นผู้นำ ฯลฯ สิทธิแถวๆนี้กลายเป็นสิ่งที่ชนชั้นปกครองกำหนด ไม่ใช่สิทธิที่พึงได้แต่กำเนิด

การศึกษานั้น ไม่ใช่จะมา boost กันตอนปริญญาตรี หรือบอกให้มหาวิทยาลัยสร้างบัณฑิตปริญญาโท เอก กันแบบกดปุ่ม แต่ต้องเริ่มจากราก คือปรับปรุงองค์กรมาตั้งแต่การศึกษาระดับประถมต้นหรืออนุบาล ปรับปรุงในสอดคล้องกับหลักศึกษาศาสตร์ด้วย ไม่ต้องไปตื่นเต้นตามแฟชั่นที่บีบเค้นสมองเด็กตั้งแต่ก่อนประถม วันหยุดเสาร์อาทิตย์ยังมีการเรียนพิเศษวันรายวิชา contents แทนที่จะสอดแทรกกิจกรรมเสริมนอกหลักสูตร เช่น ว่ายน้า ภาษา ดนตรี สุนทรียศาสตร์ หรือแม้แต่ quality time กับครอบครัวก็ยังดีกว่าไปบวกลบเลขต่อในห้องเรียนตอนวันหยุด ครูระดับการศึกษาส่วนต้นนี้ก็เป็น ASSET ที่สำคัญ ต้องมี high quality ไม่ใช่เป็นคณะที่ "คัดแล้ว" ว่าคะแนนต่ำสุด เนื่องจากค่านิยม คุณค่าความสำคัญในสายตาของรัฐบาล หรือ เงินเดือนที่รัฐบาลเห็นว่าคนที่สอนลูกหลาน generation ต่อไป deserve จะได้แค่นั้น (แต่ลูกตนเองส่งไปโรงเรียนเอกชน หรือต่างประเทศ เพราะตัวเองก็ทนมาตรฐานโรงเรียนรัฐไม่ได้เหมือนกัน)

ถ้า value ของคนถูกปรับใหม่ ไม่ได้ดูว่าจบ หรือไม่จบมหาวิทยาลัย ขอเพียงประกอบอาชีพสุจริต ทำประโยชน์ให้สาธารณะตามอัตภาพ ไม่ต้องรู้สึกภูมิใจหรือละอายใจที่จะเรียน จะทำงานอะไร คนที่เข้ามหาวิทยาลัยก็จะเข้าเพราะต้องการและรู้จริงๆ คนที่ไม่อยากก็จะแสวงหาทางดำเนินชีวิตอื่นโดยไม่ต้องกลัว "สังคม" ที่จะมีการมองที่ใจแคบหรือหลงผิดเป็นชนัก พ่อแม่ก้ไม่ต้อง guilty ที่ต้อง push ลูกหลานไปในทางที่ตนต้องการ (หรือคิดว่ายายแม่ข้างบ้านมาอวดไว้เมื่อวาน) โดยไม่ดูว่าลูกตนเองเนอัจฉริยาทาง mechanics สามารถส่งเสริมเป็นช่างซ่อมเครืองยนต์ที่เก่งสามารถได้

แต่ขนาด นศพ.ยังมีการกั๊กโพยข้อสอบเพราะกลัวเพื่อนจะรู้เท่า ก็บอกตรงๆว่าไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนก่อน



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-18 , Time : 12:18:33 , From IP : 172.29.3.231

ความคิดเห็นที่ : 5


   ระบบการศึกษาประเทศไทยตกต่ำมากจริงๆ แต่คิดว่าตอนนี้ยังเปลี่ยนกระแสได้ยาก เนื่องจากสภาพสังคมและเศรษฐกิจไม่พร้อม

สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่เรายังไม่ได้คุยกันก็คือเรื่อง เงินทอง รายได้ ค่าครองชีพ คิดว่าถ้ารัฐบาลสามารถทำให้รายได้ของช่างเครื่องยนต์ ช่างประปา ช่างไฟ ฯลฯ (สายวิชาชีพ) ขึ้นมาได้อีก 2-3 เท่า คือให้เขาอยู่สบาย ส่งเสียลูกให้เรียนได้อย่างสบายใจ มีเงินไปเที่ยวตามอัตภาพ มีเงินออมสำหรับยามจำเป็น คนคงไม่ทนเรียนจนผมเปลี่ยนสีหรอกจริงมั้ยคะ ถ้าเขามีทางเลือก (ที่ดี)

อีกปัญหาหนึ่งคือมาตรฐานการศึกษาโดยเฉลี่ยของทั้งประเทศยังต่ำอยู่ในทุกสาขา ยกตัวอย่างช่างไฟ ที่จะรู้ลึกซึ้งถึงวงจรแผงไฟ การดัดแปลงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า การป้องกันอัตราย ฯลฯ นั้นมีน้อย แต่เราจะมี ช่างไฟปลายแถวเยอะ เนื่องจากคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์เรายังไม่แข็ง อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่าตอบแทนเลยต่ำตามมา

ไม่คิดว่า เรื่องค่านิยมการได้ปริญญาจะเป็นปัญหามาก หากรัฐบาลสามารถยกระดับความเป็นอยู่ของช่างทาสีบ้าน หรือเกษตรกร ฯลฯ ให้มีรถเก๋งขับ มีคอมพิวเตอร์ใช้ พาครอบครัวไปพักผ่อนในวันหยุดได้อย่างสบายใจ ลูกหลานมีอาชีพทำกิน รายได้ไม่ต้องขึ้นกับดินฟ้าอากาศ คงอีกนานกว่าจะถึงวันนั้น หรือไม่ก็ ไม่มีโอกาสเลยเพราะคอรัปชั่นกันไปหมดแล้ว


Posted by : Lunar , Date : 2004-01-18 , Time : 13:01:16 , From IP : webcache01.mas.optus

ความคิดเห็นที่ : 6


   ตรงคำว่ามาตรฐานความเป็นอยู่นี่แหละครับสำคัญ

แนวโน้มของนิยาม "ชนชั้นกลาง" ที่น่าจะเป็นคนกลุ่มใหญ่ว่าควรจะมี minimal standard อะไรบ้างนี่แหละที่เปฌนตัวผลักดันการดิ้นรนของครอบครัวต่างๆ เป็นที่ยอมรับว่าเศรษฐกิจมีบทบาทสำคัญ ซึ่งการ"ปรับมาตรฐานและคุณภาพ" ของทั้งบริการและสินค้านี่อาจจะช่วยได้

ถ้าสินค้าต่างๆมีระบบประกันคุณภาพ ซึ่งรองรับโดยกฏหมายปกป้องผู้บริโภค (ที่ work จริงๆ) คุณภาพตลอดสายการผลิต (ประเภทสินค้าอุปโภคบริโภค) และคุณภาพของ Workmen (สายบริการ) ตลอดสายงานก็จะถูกบังคับให้สูงขึ้น สินค้าจะมีราคาสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ จะแลกมาซึ่งคุณภาพ ซึ่งปกติแล้วคุณภาพจะหมายถึง cost effective ได้แก่ เสื้อผ้าก็จะอยู่ทนการซัก การใช้ สินค้าก็จะซ่อมน้อยลง สินค้าที่เน่า ใช้ไม่ได้ก็จะหมดไปหรือน้อยลง จนอยู่ในระดับที่ผู้บริโภครู้สึก "คุ้ม" กับราคาที่จ่ายไป ตรงนั้นเป็นประเด็นเรืองเศรษฐกิจ

ส่วนประเด็นว่าชนชั้นฐานะปานกลางควรจะมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอะไรบ้างนั้น อันนี้ต้องอยู่ที่การปรับจิตใจอย่างสูง เช่น ฐานะปานกลางหมายถึงมีบ้านสองห้องนอนเป็นของตนเอง ลูกเรียนโรงเรียนเอกชน มี TV computer และ air condition ทุกห้อง ก็จะเป็นแรงผลักดันขนาดหนึ่ง ตรงนี้เคยมีคนวิเคราะห์ว่า "ระบบซื้อผ่อน" นี่แหละ ทำให้เกิด artificial demanding ของตลาด ก็มันไม่ต้องจ่ายตอนนี้ ของที่อยากได้ ก็ดูจะซื้อหาได้ง่ายขึ้น "ใครๆ" ก็มีได้

ถ้ารัฐบาลสามารถเร่งอัตราผลิตสายอาชีวะโดยเน้นคุณภาพโสดหนึ่ง เร่งการปฏิรูปการศึกษาระดับ "พื้นฐาน" โสดหนึ่ง ปลูกฝังเรื่องสิทธิมนุษย์ส่วนบุคคลแก่คนในชาติเป็นปริโยสาน น่าจะเป็นการตั้งต้นที่ดี

สองสลึงของผม



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-18 , Time : 19:35:32 , From IP : 172.29.3.242

ความคิดเห็นที่ : 7


   อ่านแล้วไม่รู้จะเขียนยังไง แต่มีหลายความคิดอยู่ในหัว แต่ส่วนมาเป็นความคิดที่ธรรมดา ไม่ได้สร้างสรรค์อะไร

มีความรู้สึกปนๆเข้ามาด้วยว่า ผมไม่รู้จะช่วยแก้ยังไงนะปัญหาแบบนี้ รู้สึกได้แต่ว่า มันยังไม่ค่อย work ครับ


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2004-01-18 , Time : 21:38:26 , From IP : 172.29.4.214

ความคิดเห็นที่ : 8


   ........มีความเห็นเหมือนกันครับ.....ความคิดผมคงไม่ Work......ช่วงนี้สมองตันๆไงไม่รู้ครับ....:D..:D



Posted by : Death , Date : 2004-01-18 , Time : 22:56:34 , From IP : 172.29.3.242

ความคิดเห็นที่ : 9


   ทุกคนสามารถเริ่มต้นจากแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆที่คิดว่าควรปรับปรุง โดยให้เหตุผลและหลักการประกอบครับ

เมื่อไหร่ก็ตามที่ "ความเห็น" ถูกนำมาถก โดยไม่ต้องดูว่า "ใคร" เป็นคนพูด เมื่อนั้นแสดงว่าเราเริ่มมีการตีค่าตาม "ความหมาย" มากกว่าตัวบุคคล ตีค่าตาม "แก่น" มากกว่า "กระพี้"

ผมมีความเห็นว่าสัญญลักษณ์ของการ "ด้อยพัฒนา" อย่างหนึ่งการไร้ความสามารถในการรับฟัง "เหตุผล" ที่มากับข้อสรุปใดๆ และการคอยมองว่า "ใคร" เป็นคนพูด ซึ่งมัน irrelevant กับคุณค่าของ Message มีการแยกระหว่าง "เขา" กับ "เรา" ก่อนที่จะพิจารณา contents และผลสุดท้ายปฏิกิริยตอบสนองก็ไปตาม "เขา/เรา" ด้วย

ถ้าทุก "ชนชั้น" สามารถสลัดความ Insignificantce เนื่องจากชั้นวรรณะ ออกมาเลือกตั้งคนตาม "นโยบาย และหลักการ" การเมืองก็จะเปลี่ยนโฉมหน้าไป "อุดมการณ์" ก็จะกลายเป็นทั้งตัวผลักและตัวฉุด หมดปัญหาเรื่องการเหม็นหน้าใครแล้วก็จะพยายามทุกวิถีทางขัดขวาง ฉุดลาก กีดกันซึ่งกันและกัน การมีการอภิปรายที่อาจจะมีอุณหภูมิร้อนสักหน่อยแต่วางอยู่บนเหตุผล ไม่ใช่ตัวบุคคลนั้นเป็นเรื่อง Healthy ต่อสังคม หัดอภปรายให้ "อยู่ในประเด็น" ไม่ใช้ปลิ้นทะลักไปเรื่อยๆเหมือนหมาป่าที่จะลุยกับแกะที่มากวนน้ำให้ขุ่นนั่นแหละครับ

ยืมคำพี่ว่าว "สังคมที่ดีนั้น ต้องสร้างขึ้นมา และสร้างด้วยกันทุกคนด้วย"



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-18 , Time : 22:59:32 , From IP : 172.29.3.246

ความคิดเห็นที่ : 10


   มาจองที่นั่งไว้ก่อน
.
.
.


Posted by : ยิ้มเดียว , Date : 2004-01-19 , Time : 12:15:44 , From IP : 172.29.2.104

ความคิดเห็นที่ : 11


   คมทวน คันธนู กวีซีไรท์ปี 2526 เขียนไว้ว่า
การศึกษาถ้านั่งแต่ในหอ ชะแง้คอคิดแค่เห็นแก่ได้
ปริญญายื่นหยิบนับสิบใบ ก็เพียงใช้เช็ดก้นให้ตนเอง
กลอนบทนี้เขียไว้เมื่อ 11 ปีก่อน ปัจจุบันยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
1. นักศึกษาลืมรากเหง้า หลงวัฒนธรรมต่างชาติ ศึกษาเพื่อะไรก็ไม่มีคำตอบ ฟุ้งเฟ้อมายาค่านิยม ไม่จิตสำนึกทางประชาธิปไตยเหมือนขบวนการนักศึกษาในอดีต
2. มหาลัยก็เหมือนมหาหลอก ตามเพลงพี่แอ๊ดคาราบาว เด็กชายบ้านนอกเด็กหญิงบ้านนา เข้าเรียนรู้ในวิชา แต่จบออกมายังไม่มีงานทำ
3. อาจารย์เฝ้าแต่จะทำวิจัยเลื่อนตำแหน่ง งานวิจัยก็จำกัดไว้เฉพาะบนหิ้ง เอามาปฏิบัติจริงไม่ได้เลย
เราจะมีวิสัยทัศน์เป็นมหาลัยชั้นนำของเอเชียหรือของโลกไปทำไม พัฒนาภาคใต้ สร้างบัณฑิตให้มีจิตสำนึกรักบ้านเกิดไม่ดีกว่าหรือ



Posted by : นกดิน , Date : 2004-01-19 , Time : 12:47:46 , From IP : 172.29.2.180

ความคิดเห็นที่ : 12


   คำถามสุดท้ายของคุณนกดินน่าจะเป็นคำตอบไปในตัว

ถ้ามหาวิทยาลัยเรามีบทบาทในการพัฒนาภาคใต้ สร้างบัณฑิตให้มีจิตสำนึกรักบ้านเกิด เราจะเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชียหรือของโลกได้หรือไม่ ถ้าอยู่บนทางเดินเดียวกัน เราก็อาจจะ"ไม่ออกนอกลู่นอกทาง" ในการตั้งวิสัยทัศน์แบบนั้น

Dilemma นี้คล้ายๆกับตอยที่ผมตั้งคำถามว่าระหว่าง The best service กับ the best training นั้นม้วนรวมอยู่ในแผ่นเดียวกันได้หรือไม่ ถ้าพิจารณาดูแยกที่ละส่งนดูเผินเหมือนจะขัดแย้งกัน แตถ้ามอง Best เป็นปฏิสัมพัทธ์ เป็น reality ก็จะกลายเป็นวิสัยทัศน์ที่ท้าทาย แต่ก็ยังคงความเป็นไปได้ ปัญหาอยู่ตรงที่เราต้อง "ยอมรับ" และ "ดึง" เอาภาวะการณ์จริงมาคำนึงคำนวณด้วย ไม่หลอกตนเองว่าตรงนี้ดีแล้ว ตรงนั้นไม่ต้องปรับ

จากสามปฏิประโยชน์ที่คุณนกดินยกมาเปรียบเสมือนกับดักบนทางเดิน ถ้าเราเดินด้วยความระมัดระวังก็ "ไม่จำเป็น" ต้องตกลงไป เพียงแต่เป้าหมายปลายทางต้องไม่ใช่เป้าหลอก ไม่ใช่แค่ใบปริญญา ไม่ใช่งานที่ไม่มีคนจ้างหรือมีความสำคัญ ไม่ใช่คำถามวิจัยเพื่อตำแหน่งวิชาการ

เรายังไม่มีการทำวิจัยเรื่องตลาดแรงงาน (หรือถ้ามีก็ไม่แพร่หลายจนผมรู้....ซึ่งอาจจจะแปลว่าเป็นความ ignorance ส่วนตัวผมก็ได้) ว่าตลาดแรงงานอะไรที่เราขาด เราเกิน ที่ over-paid, under-paid ที่จำเป็น ที่ต้องลงทุนล่วงหน้านานๆเพราะต้องเล็งผลไกล หลายๆอย่างเป็นการลงทุนระยะสั้น เป็นการลงทุนโดยมีแค่ Financial bit เป็นสำคัญที่เป็นจุดอ่อนของการบรหารองค์กรยุคก่อนๆ ที่ทำมให้ขาดการพัฒนา Intangible asset ได้แก่ การพัฒนาคน การศึกษาผู้ใช้ และการวางแผนระยะไกลที่ดี พอรู้แค่บ้านเราขาดหมอก็ประกาศเปรี้ยงจงผลิตหมอ พอรู้ว่าเราขาดบัณฑิตก็ประกาศเปรี้ยงจงผลิตป.โท ป.เอก รากฐานอันมั่นคงที่จะเสริมหรือ supply candidates มาเป็นบัณฑิตแพทย์ มาเป็นบัณฑิตปริญญาจะมาจากไหนนั้น ไม่มีใครทราบ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-19 , Time : 17:00:12 , From IP : 172.29.3.246

ความคิดเห็นที่ : 13


   การศึกษาที่แท้จริงก็คงเป็นไปในแนวเดียวกับ "เศรษฐกิจพอเพียง" ล่ะครับ การทำให้สังคมที่ตนอยู่เข้มแข็ง โดยใช้การศึกษา(จากที่ไหนก็ได้)เป็นตัวสร้างทรัพยากรในชุมชนของตนเอง เมื่อนั้นการศึกษาก็คงจะสร้างประโยชน์ได้เต็มที่
ที่เรียนๆกันอยู่ทุกวันนี้ ก็คงเพราะมัวติดอยู่ในค่านิยม เรียนสูงๆ งานดีๆ เงินดีๆ ล่ะครับ สุดท้ายก็กลายเป็นยอดสูง ฐานไม่แน่น แล้วก็ล้มครืนเอาได้ง่ายๆ

การแก้ไขก็ต้องช่วยๆกันทำ อย่าท้อ
ช่วยๆกันคิดไป ทำไป มันก็คงดีกว่าเดิม


Posted by : ArLim , Date : 2004-01-20 , Time : 17:07:18 , From IP : 203.156.38.207

ความคิดเห็นที่ : 14


   เป็นที่น่าสงสัยว่า "มหาวิทยาลัย" นั้นได้รับใช้ประชาชนตามหลักการหรือความเป็นมาที่ได้ตั้งไว้แต่แรกเริ่มหรือไม่

ทำไมคนเราต้องใช้เวลา "เรียน" ตั้งแต่อนุบาลถึงจบมหาวิทยาลัย 19 ปี? (อนุบาลสาม ประถมหก มัธยมหก มหาวิทยาลัยอีกสี่) การที่คนๆหนึ่งอยู่ในรอบรั้วโรงเรียนมหาวิทยาลัยตลอดทั้งชีวิตเริ่มต้น (ถ้าตามค่าเฉลี่ยของ life expectancy ของไทย ก็เกือบหนึ่งในสาม!!!) "ชีวิต" หรือ "ประสบการณ์ชีวิต" นั้นถูกจัดให้พอเพียงหรือไม่ สังคมโรงเรียน มหาวิทยาลัย กับสังคมชีวิตการงานข้างนอกนั้นเสริมกัน ขัดกัน หรือสอดคล้องกันแค่ไหน? เมื่อไหร่ที่นักเรียนสามารถ "เรียนแบบผู้ใหญ่" และรับผิดชอบตนเองได้ หลักสูตรที่อัดแน่นด้วย contents ในปัจจุบันอำนวยให้เกิด maturation หรือไม่หรือตรงกันข้าม?

ย้อนกลับไปสมัยผมเรียนหนังสือในโรงเรียนนั้น แทบจะบอกได้ว่าเรียนเพื่อสอบมิดเทอมและก็ปลายเทอม เสร็จแล้วก็เลื่อนชั้น สมัยนั้นสายอาชีวะไม่ได้อยู่ในสายตาของชาวบ้าน ข้าราชการยังเป็นอาชีพที่มั่นคงน่าอยู่ หมอนั้นแทบจะเป็นอุดมคติของคนที่ได้คะแนนดีแต่ละบ้าน ถึงกระนั้นแต่ละวิชา แต่ละวันๆ ไม่ได้มีการแทรกสอดว่าจะเอาอะไรไปใช้ตอนไหนเลย ภาษาอังกฤษที่สอนไวยากรณ์เข้มข้น คัดลายมือขึ้นเบาลงหนัก และ Bangkokian accent (อย่างที่ supervisor ผมเรียก) นั้นช่วยไม่ได้มากเท่าไหร่เวลาจะไปซื้อแสตมป์ที่ไปรษณีย์ข้างๆ Supermarket หรือโทรปรึกษา technician support เวลาเครื่องคอมพิวเตอร์เสียที่บ้าน กว่าจะสำนึกว่าต้องเรียนเพื่อเอาไปใช้อย่างรู้ตัวตลอดเวลานี่ก็แทบจะหมดเวลาเรียนอยู่แล้ว

เรียนเพื่อเศรษฐกิจก็ดีสำหรับประเทศ สำหรับตนเอง ไม่เถียงคุณ ArLim ล่ะครับ แต่สุนทรียศาสตร์ สังคมศาสตร์ นั้นมีน้ำหนักทาง Abstract ทาง นามธรรม ในด้านที่เราพัฒนาจิตใจที่สามารถชื่นชมสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุได้ สิ่งที่จับต้องไม่ได้ได้ ก้เป็นของจำเป็นเหมือนกัน ดังนั้น ภาษาศาสตร์ วรรณคดี ศิลป ดนตรี ต่างๆเหล่สี้น่าจะเป็นวิชาหลักตั้งแต่เด็กๆ อ่านวรรณกรรม วรรณวิจักษ์ จะได้สามารถ appreciate ความคิดของคนที่แตกต่าง ศึกษาการฟังหรือเล่นดนตรีเป็นการฝึกสมาธิและปรับจิตใจให้มีกฏ มี discipline เด็กเราจะได้ลดความแข็งกระด้าง เพิ่มความอ่อนน้อมถ่อมตนซึ่งเป็น virtue ประการเดียวที่สังคมตะวันออกเหนือกว่าตะวันตกอย่างชัดเจน



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-20 , Time : 23:18:46 , From IP : 172.29.3.197

ความคิดเห็นที่ : 15


   เศรษฐกิจของตัวเอง ไม่ได้หมายความว่า สังคมศาสตร์และสุนทรีศาสตร์ ไม่จำเป็นนี่ครับ

ความเป็นผู้ใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในสังคม ไม่ใช่เหรอครับ


Posted by : ArLim , Date : 2004-01-21 , Time : 17:16:05 , From IP : 203.156.38.207

ความคิดเห็นที่ : 16


   เอ้อ...ไม่แน่ใจในสมการทั้งสองส่วนครับ

เศรษฐกิจของตัวเอง ไม่ได้หมายความว่า สังคมศาสตร์และสุนทรีศาสตร์ ไม่จำเป็นนี่ครับ
ข้อพึงระวังก็คือว่า กิจกรรมใดๆที่จะเกิดขึ้นมานั้น มักจะสอดคล้องกับ objectives ที่ได้วางไว้ ส่วนอันที่ไม่ได้กล่าวถึงนั้น มักจะถูกลืม ถูกลดความสำคัญไปอยู่ท้ายๆ ในที่สุดก็ไม่ได้ทำ ในกรณีนี้เรียนเพื่อ "เศรษฐกิจ" ถึงแม้ว่าจะไม่มีข้อห้ามเรื่องสังคมศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ แต่การไม่เน้นความสำคัญของทั้งสองด้านแต่แรก แทบจะมีผลอย่างเดียวกับการห้ามเลยทีเดียว เพราะไม่เน้น ก็จะไม่มีการการปัน resource การจัดสรรค์เวลาของหลักสูตร การประเมิน ตำหรับตำรา ฯลฯ ดังนั้นเราอยากได้อะไรบ้าง ต้อง list ให้ครบแต่แรก

ความเป็นผู้ใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในสังคม ไม่ใช่เหรอครับ
ไม่เข้าใจสมการนี้ หมายความว่าความเป็นเด็กไม่ใช่ส่วนหนึ่งของความสุขในสังคมหรือครับ? ถ้าทั้งสอง (ความเป็นเด็ก ความเป็นผู้ใหญ่ หรือแม้แต่ความเป็นคนชรา ฯลฯ) เป็นคสในสังคมทั้งหมด ทำไมเฉพาะบางส่วนถูกจัดเป็นส่วนหึ่งของการอยู่อย่างมีความสุข ทำไมบางส่วนไม่ใช่?? ขยายความให้หน่อยได้ไหมครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-21 , Time : 17:45:47 , From IP : 172.29.3.215

ความคิดเห็นที่ : 17


   มีใครทราบบ้างว่า อัตราส่วนของผู้หญิงญี่ปุ่นที่เรียนจบปริญญาตรีแล้วทำงานจนอายุใกล้เกษียณมีเท่าไหร่

สังคมญี่ปุ่นยังมีค่านิยมให้ผู้หญิง ไม่ว่าจะเรียนจนถึงระดับไหน เมื่อแต่งงานแล้วควรออกมาทำงานอยู่กับบ้านและดูแลครอบครัว

ค่าเล่าเรียนที่รัฐจ่ายให้คนกลุ่มนี้คือความสูญเปล่าหรือเปล่า ทำไมไม่เรียนแค่อ่านออกเขียนได้แล้วออกมาเลี้ยงลูก ก็ทำได้เหมือนๆกัน แล้วทำไมรัฐยังสนับสนุนให้คนกลุ่มนี้ได้เรียนหนังสือ บางคนก็จบปริญญาโท ทำงานแค่สองสามปีก็ลาออก ไม่คุ้มค่าเลย

การลงทุนให้การศึกษาแก่คนในชาติไม่ใช่สิ่งสูญเปล่าไม่ว่าในกรณีใด ในความเห็นของเรา ทุกคนมีสิทธิที่จะเรียนถึงระดับสูงสุดเท่าที่ตนเองมีกำลังและโอกาส การจะจบออกมาแล้วทำงานอะไร เป็นสิ่งที่แต่ละคนเลือกเอง

งานบ้านอาจดูเป็นงานธรรมดาที่ใครก็ทำได้ แต่หน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ที่ผู้หญิงญี่ปุ่นกลุ่มนี้ได้รับเกียรติให้ทำก็คือ

การสร้างทรัพยากรมนุษย์รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพต่อประเทศชาติของเธอ เหมือนอย่างที่คนญี่ปุ่นทุกๆคนในวันนี้ถูกเลี้ยงมา ให้เป็นชนชาติตะวันออกที่ยิ่งใหญ่เทียบเท่าชาติตะวันตกทุกๆชาติบนโลกใบนี้

หรือใครไม่อยากลาออก แต่งงานแล้วทำงานต่อ ตอนคลอดลูก คุณลาคลอดได้ 1 ปีเต็มๆ เลี้ยงลูกจนเดินได้เลยล่ะ ค่อยกลับมาทำงาน ผุ้หญิงเชคโชคดีกว่า ลาเลี้ยงลูกได้สามปี .. สามปีจริงๆนะ เขาให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วงต้นของชีวิตขนาดไหน

ครูที่เก่ง สอนนักเรียนเก่งๆได้ ข้อนี้ใครก็ทราบ จึงได้มีความพยายามจะเอาคนเรียนเก่งมาเป็นครู ซึ่งประเทศเราพบความล้มเหลวกับนโยบายนี้มาตลอด และพวกเราก็เลยได้อยู่ในสังคมอย่างที่เห็น

แล้วทำไมเราจึงไม่จินตนาการว่า พ่อแม่ที่มีความรู้ มีการศึกษา รู้ผิดชอบชั่วดี จะสร้างและสอนลูกให้เป็นคนมีความสามารถ เป็นคนดีได้อย่างไร (ไม่ต้องนับว่า การเป็นครอบครัวของคนการศึกษาน้อยนั้น สภาพแวดล้อมและชุมชนที่อยู่จะเอื้อให้เด็กที่เติบโตมามีคุณภาพที่ดีได้อย่างไร)

การสร้างทรัพยากรมนุษย์ คงไม่ใช่แค่เอาเขามาเรียนหนังสือ แล้วทำงานตามที่รัฐหรือใครๆบอกว่าตลาดกำลังต้องการ

แต่คือการสร้างมนุษย์ที่มีคุณภาพ มาเป็นพ่อแม่ของมนุษย์รุ่นต่อไป ที่จะต้องมีคุณภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้มีข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งบางทีเราก็ยอมรับว่า ประเทศเรายังอุดรอยรั่วตรงนี้ไมได้

ข้อแรก การศึกษาที่เราจัดอยู่ทุกวันนี้ สอนให้คนมี "ความรู้" และ "เป็นคนดี" ได้จริงๆหรือเปล่า อันนี้เป็นเรื่องใหญ่น้องๆโลกแตกเลย ขออนุญาตไม่ตอบ เพราะหลายๆท่านก็ให้ความเห็นมาแล้ว

ข้อสอง ประเทศเรายังขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพอยู่มาก ถ้าอนุญาตให้คุณที่มีการศึกษาสูงๆ ออกไปเลี้ยงลูกกันหมด คงล่มสลายแน่ๆ อันนี้เป็นข้อจำกัดที่น่าเห็นใจนะ

ข้อสาม งานในหลายสาขาอาชีพ ขาดคนจริงๆ และไม่ค่อยมีใครเรียน โดยเฉพาะสาขาอาชีวะ ซึ่งคงไม่ใช่จากอนาคตการงานอย่างเดียว แต่คงเพราะสภาพแวดล้อมด้วย (เมื่อไหร่เราจะแก้ปัญหาเด็กอาชีวะยกพวกตีกันได้ซักที) รวมทั้งค่าตอบแทนและฐานะทางสังคมด้วย ในต่างประเทศ คนเช็ดพื้นห้องน้ำ ก็มีเกียรติและศักดิ์ศรีเท่าๆเจ้าของธนาคาร เพราะเป็นงานสุจริตและมีคุณค่าต่อสังคมเช่นกันสังคมเรา ยังแก้ปัญหาตรงนี้ไม่ได้เลย ทุกคนเลยอยากเรียนสูงๆ ทำงานออฟฟิศ เดินเฉิดฉาย และละเลยจะทำงานหลายๆอย่างด้วยตัวเอง


Posted by : natalie , Date : 2004-01-21 , Time : 22:03:18 , From IP : 172.29.3.210

ความคิดเห็นที่ : 18


   มีสองสามประเด็น

การลงทุนให้การศึกษาแก่คนในชาติไม่ใช่สิ่งสูญเปล่าไม่ว่าในกรณีใด ในความเห็นของเรา ทุกคนมีสิทธิที่จะเรียนถึงระดับสูงสุดเท่าที่ตนเองมีกำลังและโอกาส การจะจบออกมาแล้วทำงานอะไร เป็นสิ่งที่แต่ละคนเลือกเอง

โดยอุดมคติแล้วการศึกษานั้นดีแน่ แต่มีสายอาชีวะ (แพทย์ก็เป็นสายอาชีวะด้วย) บางสายที่ถูก subsidize โดยเงินภาษีส่วนรวมจนผมว่าอาจจะเป็นการสูญเปล่าถ้า objective เป็นเพียงต้องการเรียนให้ฉลาด แล้วหลังจากนั้นจะทำอะไรก็ได้ จริงๆแล้วที่ประเทศไทยมีการเซ็นสัญญาใช้ทุนก็เพราะเหตุนี้ การเข้ามหาวิทยาลัยเพราะ "เป็นสิทธิ์ของฉัน" นั้น ไม่เพียงแต่โดยภาพรวมเป็นการ abuse เงินภาษีของรัฐ แต่เป็นการจองตั๋วกันที่ไม่ให้คนที่ "ต้องการ" จะประกอบอาชีพนั้นจริงๆ ไม่ให้เข้ามาเรียน เพราะมหาวิทยาลัยนั้น "มีที่จำกัด" ปัญหาประการหนึ่งคือพวกเราอาจจะไม่ทราบว่าตำแหน่งที่อยู่ทุกวันนี้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยนั้นเป็น privilege และหน้าที่ความรับผิดชอบ "อย่างน้อยที่สุด" คือเราควรจะทำหน้าที่ตามบทบาทนั้นให้สมศักด์ศรี สมกับ privilege นั้นๆ เพราะคตลอดเวลาที่เราเรียนอยู่นี่ ไม่เพียงสาขาแพทย์เท่านั้น สาขาอื่นๆก็เหมือนกัน เราเบียดคนที่อยากจะมาทำอย่างเดียวกันออกไปจากระบบ

สถานการณ์ในประเทศญี่ปุ่นนั้น ผม curious และ sceptic ว่าเป็นแผนความตั้งใจจะให้ "แม่บ้าน" มีความรู้เฉลียสูงระดับมหาวิทยาลัยโดยไม่ได้ต้องการให้ประกอบอาชีพเท่าที่เรียนมา หรือเป็น "ข้อด้อย" ของระบบสังคมเหยียดเพศ (sexism)

แล้วทำไมเราจึงไม่จินตนาการว่า พ่อแม่ที่มีความรู้ มีการศึกษา รู้ผิดชอบชั่วดี จะสร้างและสอนลูกให้เป็นคนมีความสามารถ เป็นคนดีได้อย่างไร (ไม่ต้องนับว่า การเป็นครอบครัวของคนการศึกษาน้อยนั้น สภาพแวดล้อมและชุมชนที่อยู่จะเอื้อให้เด็กที่เติบโตมามีคุณภาพที่ดีได้อย่างไร)

ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยไม่ใช่ที่การันตีในการผลิตพ่อแม่คุณภาพดี ผมเชื่อว่าบุคคลตัวอย่างในประเทศไทยและทั่วโลกจำนวนมากมายมีพ่อแม่ซึ่งไม่เคยเรียนมหาวิทยาลัยเลย แต่ที่ท่านถ่ายทอดและ "สร้าง" ลูกที่ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ได้สร้างจากปริญญาตรี โท หรือ เอก แต่เป็นการศึกษาชีวิต ที่ทำที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องรู้ E=MC2 ไม่ต้องรู้กายวิภาค ไม่ต้องรู้ฟิสิกส์สมการสามชั้น หรือโคลงฉันท์กาพย์กลอน คำว่า"การศึกษาน้อย" นั้น ไม่ใช่ synonym กับคนไม่ได้เข้ามหาวิทยาลัยแน่นอน

การสร้างทรัพยากรมนุษย์ คงไม่ใช่แค่เอาเขามาเรียนหนังสือ แล้วทำงานตามที่รัฐหรือใครๆบอกว่าตลาดกำลังต้องการ

"ตลาด" ในที่นี้คือ "สังคม" ครับ ถ้ารัฐบาลจะลงทุนทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด (เพราะทุนที่จะลงนั้นไม่ได้มีไม่จำกัด ตรงกันข้าม ทุกประเทศมีทุนที่จำกัดมากๆ) ก็จะต้องมีการคาดหวัง มีการวางแผนที่จะใช้ทรัพยากรเหล่านั้นทีหลัง ถ้าสมมติประเทศไทยมีสัดส่วนแพทย์ต่อประชากร 1:2 ก็แปลว่า เรา "ไม่ต้อง" ผลิตแพทย์ทั่วไปเพิ่มอีกนาน ควรจะไปทำอะไรอย่างอื่นที่จำเป็นในการ sustain "สังคม" ทรัพยากรมนุษย์นั้นมีไว้ serve สังคม ไม่ใช่ individual will to be clever คนที่เข้ามาเรียนแพทย์หกปีนั้นถูก "คาดหวัง" แน่นอนครับ

แต่คือการสร้างมนุษย์ที่มีคุณภาพ มาเป็นพ่อแม่ของมนุษย์รุ่นต่อไป ที่จะต้องมีคุณภาพมากขึ้น

อย่างที่เรียนตอนแรก โดยความเห็นส่วนตัวของผม มหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นที่ที่เหมาะที่สุด มีประสิทธิภาพที่สุดในการส้ราง "พ่อแม่" คุณภาพ อย่างน้อยที่สุดก้ไม่ใช่มหาวิทยาลัยที่เรามีในปัจจุบันนี้ รัฐบาล socialist อย่างอังกฤษ เคยมี initiative ที่จะออกกฏหมาย "อบรมผู้ปกครอง" โดยรัฐ สอนว่าคนควรจะมีลูกเมื่อไหร่ เลี้ยงลูกอย่างไร สร้างความ outrrage ต่อสาธารณชน "ความเป็นคน" นั้นไม่ใช่ "หลักสูตร" เช่นเดียวกับที่เราไม่มีวิชา "พ่อแม่ที่ดี" หรือ "ลูกกตัญญู" สิ่งเหล่านี้เราไม่ได้คาดหวังจะ acquire จากการเรียนหนังสือในมหาวิทยาลัย เพราะจะแปลว่า "ทุกคน" รัฐบาลต้องบังคับให่เรียนมหาวิทยาลัยหมด เพราะทุกประเทศก็ต้องการให้ประชาชนเป็นพ่อแม่ลูกที่ดีทั้งสิ้น

กลับมาหา theme ของหัวข้อเรื่องใหม่อีกที University นั้น ผมคิดว่าไม่ใช่ Holy Grail for All เพราะเหตุผลที่กล่าวมา แต่ ควรจะเป็นสำหรับคนที่มีศุกยภาพและทิศทางชัดเจนที่จะเข้ามาในระบบนี้ นั่นคือถ้าเรามีกำลังและความพร้อมที่ประกอบอาชีพที่ demand ความรู้และ skill ซึ่งมีให้เรียนเฉพาะในมหาวิทยาลัยแล้ว ก็ "สมควร" ที่จะขวนขวายเรียน ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการพัฒนา sense of responsibility ให้สมกับเข้ามาที่ที่เป็น privilege อยู่ในที่ที่เราสอบแข่งขันเข้ามาเพราะสาขานั้นๆต้องการคนที่มีความถนัดตามรายวิชาที่สอบมากเป็นพิเศษ และเราจะถูกคาดหวังสูงว่าเราควรจะสามารถทำอะไรได้บ้าง




Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-22 , Time : 00:22:39 , From IP : 172.29.3.230

ความคิดเห็นที่ : 19


   ถ้าสามารถผลิตบัณฑิตได้มีคุณภาพสูงจริงคือ ใช้ความรู้จัดการกับปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และรู้จักวิธีหาความรู้ต่อเนื่องและต่อยอดไปเรื่อย ฯลฯ คนกลุ่มนั้นถ้าไปทำกิจการใด น่าจะมีแต่ความเจริญ อย่างไรก็ตามระบบการศึกษาของเมืองไทยยังไม่ได้คุณภาพขนาดนั้น ส่วนระบบการศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่นน่าจะเอื้อต่อการผลิตคนลักษณะดังกล่าว และถ้าคนเหล่านี้ได้มีโอกาสดูแลเด็ก ก็จะเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการเรียนรู้สำหรับเด็ก

แต่ไม่จำเป็นว่าผู้ที่เรียนสูงเท่านั้นถึงจะเลี้ยงดูเด็กได้ดี เพราะการเป็นบัณฑิตได้ไม่ได้มาจากปริญญาบัตรเพียงอย่างเดียว..............

ในต่างประเทศ มีหลักสูตรระยะสั้นเปิดอมรมเรื่องการ เลี้ยงดูเด็กสำหรับผู้ปกครอง ครู และผู้เกี่ยวข้องกับเด็ก อยู่มาก ซึ่งคาดว่าน่าจะมีประโยชน์มาก เท่าที่สังเกตในเมืองไทย พ่อ-แม่-ครู ยังอบรมบุตรหลาน และศิษย์ยังไม่ค่อยเป็นเนื่องจากขาดความรู้ ความเข้าใจในตัวเด็ก พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็ก น่าสนใจมากหากมีโรงเรียนที่เปิดสอนการเป็นพ่อ-แม่ ในเมืองไทย

นอกจากตัวอย่างที่ดี และการอบรมสั่งสอนแบบเข้าใจในตัวเด็กแล้ว เด็กยังต้องการ "ความอบอุ่น" ถ้าแม่ญี่ปุ่นมีเวลาให้ลูกแบบ ฟูลล์ทามม์ เด็กน่าจะได้รับความอบอุ่นอย่างเพียงพอ ในขณะที่พ่อ-แม่ ไทย ยิ่งเรียนสูง ยิ่งมุ่งทำงาน แสวงหาความเจริญทางการงาน ทำให้เด็กอาจความอบอุ่นได้

น่าแปลกมากที่ พวกเรารู้ว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดี การให้ความอบอุ่นเป็นความต้องการพื้นฐานสำหรับเด็ก แต่ในกลุ่มแพทย์ด้วยกันมีข้อจำกัดในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการลาคลอดมาก เช่นบางคนอาจลาคลอดได้เพียงแค่ 2 สัปดาห์เท่านั้นเอง......ความรู้ที่มี กับการนำความรู้มาใช้ ยังมีอุปสรรคมากสำหรับสังคมไทย...........


Posted by : Lunar , Date : 2004-01-22 , Time : 03:54:32 , From IP : webcache03.mas.optus

ความคิดเห็นที่ : 20


   สมัยก่อน "วัดไทย" ทำหน้าที่อย่างที่ว่านั่นคือ "ผลิตบัณฑิต" ไม่ได้อิงอะไรมาก อิงอริยสัจสี่กับศีลธรรมเท่านั้น

ขออภัยที่ผมค่อนข้าง sceptic เกี่ยวกับระบบการศึกษาญี่ปุ่น ผมคิดว่าเป็นระบบที่ "เคี่ยว" เกินไป ผมเคยไปดูงานระยะสั้นๆไม่ถึงสองเดือนที่ญี่ปุ่น มีข่าวเด็กโดดตึกตายสามราย ต่างกรรมต่างวาระเนื่องจากสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ ขณะที่อเมริกาคิดหา score scale มาวัด happiness กันออกมาเป็น เงินเดือน ยี่ห้อรถ ตำแหน่งการงาน ผมอยากจะเสนอว่าอัตราการฆ่าตัวตายก็พอจะบอกอะไรๆในสังคมนั้นๆเยอะพอสมควร เกมส์โชว์ หรือหนังการ์ตูน สื่อต่างๆจากญี่ปุ่นนั้น สื่อความเป็นคู่แข่งขัน competition อยู่ตลอดเวลา สถาบันระบบการศึกษาที่มีผลทำให้มีการสอบเข้าโรงเรียนกวดวิชาเพื่อจะไปเข้ามหาวิทยาลัยอีกทีหนึ่งนั้น ผมไม่มั่นใจว่าจะ classified เป็น healthy environment of education หรือไม่

หลักสูตรอบรมความเป็นพ่อแม่นั้น ผมคิดว่าเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น นิยามของความเป็นพ่อแม่ที่ดี หรือระบบการเลี้ยงดูลูกให้ work นั้นเป็นศิลป เราไม่ได้ผลิตหุ่นยนต์ที่จะ programme ให้อะไร แค่การทำยังไงให้เป็น role model ของลูกได้ นั่นก็แปลว่าพ่อแม่จะต้องดีก่อน ลูกจะ copy จากใครก็ต้องจากพ่อแม่ และต้องเป็นพ่อแม่ที่มีเวลาให้ลูก มีเวลาในที่นี้ไม่ใช่ซื้อของให้ regular ตาม schedule แต่หมายถึง quality time ความเป็นผู้หญิงของแม่นั้นช่วยมากในการสื่อความรักความนุ่มนวลอ่อนโยนซึ่งเด็กไม่ว่าหญิงหรือชายก็ต้องการเหมือนๆกัน ไม่เป็นเรื่องประหลาดที่สมัยก่อนหน้าที่ "แม่" นั้นสำคัญต่อครอบครัว ไม่แพ้การที่พ่อบ้านออกไปประกอบอาชีพ แต่เดี๋วนี้จากภาวะเศรษฐกิจที่บีบคั้น ร่วมกันค่านิยม (แปลกๆ) ของสิทธิเท่าเทียมกันทำให้ผู้หญิงดิ้นรนออกมาทำงานข้างนอกมากขึ้น ประเด็นแรกเป็นเหตุจำเป็น แต่ประเด็นที่สองนั้นเป็น symbolic เฉยๆที่ผมว่า compromise nature property ที่ความเป็นแม่นั้นสำคัญต่อการพัฒนาจิตใจของทารกอย่างมาก และผมมีความเห็นส่วนตัวที่ไม่ได้ based จากการศึกษาว่า พ่อก็ไม่สามารถทำได้ดีเท่ากับแม่ ดังนั้นการออกมาทำงานหาเงินของมารดานั้นน่าจะมีข้อบ่งชี้จากเศรษฐกิจ แต่ไม่ใช่เป็นการแสดงความทัดเทียมทางเพศแต่อย่างใด ตรงกันข้าม เป็นการ "ลด" ความเป็นหญิง โดยไม่ได้เพิ่มสิทธิที่จะเท่ากับผู้ชาย

ปัญหาเศรษฐกิจก็ยังเป็นปัญหาบาดจิตบาดใจ ถกทีไรก็ตัน



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-22 , Time : 04:13:55 , From IP : 172.29.3.213

ความคิดเห็นที่ : 21


   ไม่เคยไปญี่ปุ่นค่ะ แต่เพื่อนที่อยู่ญี่ปุ่นเล่าให้ฟังว่า ที่โรงเรียนเด็กเล็ก มีนโยบายให้ผู้ปกครอง และคุณย่า คุณยาย คุณตา มาร่วมกิจกรรมกับเด็กที่โรงเรียนเป็นประจำเช่นสัปดาห์ละครั้งหรือสองครั้ง ฟังแล้วน่าทึ่งมากว่าเขาทำได้อย่างไร.....พ่อแม่ปู่ย่าตายาย-ครู-บ้าน-โรงเรียน-เด็ก เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

จริงอยู่อัตราการฆ่าตัวตามที่ญี่ปุ่นและสังคมตะวันตกที่ตามก้นอเมริกาแบบ materialism มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเพราะเป็น"สังคมที่แสวงหาความสุข ไม่ใช่สังคมที่ขจัดทุกข์" (นพ ประเวศ วะสี) เป็นสังคมที่ไม่รู้จักพอ และขาดความมั่นคงในสถาบันครอบครัว ทำให้ขาดที่พึ่ง และสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ หาทางออกในชีวิตไม่ได้ ในที่สุดก็คิดสั้น ประเทศเหล่านั้นตระหนักดีถึงปัญหาเหล่านี้ จึงได้จัดให้มีการวิจัยเพื่อแก้ไข และการบริการแก้ปัญหาชีวิตอย่างจริงจัง เช่นพวก hot line ต่างๆ ถึงแม้จะเป็นการจัดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือแก้ที่ปลายเหตุ แต่ก็ worth ที่จะทำ เพราะการแก้ปัญหาที่รากเหง้านั้นต้องใช้เวลานาน ต้องปรับเปลี่ยนความคิด ความเข้าใจ ค่านิยม และต้องแก้ไขกันทั้งระบบ

การมีหลักสูตรอบรมความเป็นพ่อแม่ ไม่ได้เพียงแต่พร่ำบอกว่า พ่อ-แม่ต้องเป็นคนดี ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ฯลฯ แต่ต้องสามารถโน้มให้คนปฎิบัติได้ เข้าใจเด็ก รู้จิตวิทยา และบอกเทคนิคต่างๆให้พ่อ-แม่ทราบ ยกตัวอย่างเช่น การชมเด็กเวลาเด็กทำดี ไม่ควรจะบอกว่า "You are a good boy" แต่ควรบอกว่า " I am very appreciated when you clean your room" หรือ ไม่ควรให้รางวัลเช่น ของเล่นกับเด็ก เมื่อต้องการให้เด็กทำอะไรตามที่เราต้องการ แต่ควรคุยกันด้วยเหตุผล เพื่อฝึกให้มี self-discipline ซึ่งเควรเกิดจาก internal control ไม่ใช่ external control เป็นต้น

ความเป็นพ่อ-แม่ ก็เหมือนวิชาชีพหนึ่งเหมือนกัน ต้องการ skill ต้องการ training... ไม่ใช่ทุกคนจะรู้ว่าทำอย่างไรลูกจึงจะเป็นอภิชาติบุตร เราก็ต้องเรียนรู้จากลูก และลูกก็เรียนรู้จากเราทุกลมหายใจของเขาเลย มีงานวิจัยด้าน child development ในต่างประเทศมากมายเหลือเกิน แต่ในเมืองไทยยังเป็นเรื่องที่ไม่ได้รับการสนใจเท่าที่ควร หนังสือที่จะหามาอ่านได้ ก็ราคาแพงและส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่รู้ๆ กันอยู่แล้ว ไม่ใช่ research based

สังคมไทยยังมี room สำหรับการศึกษาทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก ขอเพียงแต่ให้เป็นการศึกษาที่เจาะไปถึงแก่น ไม่ใช่กระพี้ น่าจะเป็นสิ่งที่คุ้มค่าแก่การลงทุน



Posted by : Lunar , Date : 2004-01-22 , Time : 19:50:11 , From IP : webcache03.mas.optus

ความคิดเห็นที่ : 22


   ผู้ใหญ่เป็นผู้ที่มีอำนาจในสังคม มีพลังในการผลักดัน มีส่วนสำคัญในการดูแลสังคม และเลี้ยงดูเด็กๆให้โตมาเป็นผู้ใหญ่

ผู้ใหญ่ที่ผมว่าจึงมีส่วนสำคัญ

เด็ก - สร้างสรรค์ กระตือรือร้น พลังการเรียนรู้ที่ไม่มีหมด
ผู้ใหญ่ - ทำงาน ใช้พลังไปในทางที่ต้องการได้
คนชรา - เป็นผู้รอบรู้ มีประสบการณ์เต็มเปี่ยม

อยากให้คนคนหนึ่ง มีองค์ประกอบทั้งสามอย่าง



เห็นด้วยที่ว่ามหาวิทยาลัยไม่ใช่ Holy grail for all เพราะตามความเป็นจริงแล้วมหาวิทยาลัยในปัจจุบันยังมีบทบาท(จริงๆ)ในสังคมไม่มาก แต่ด้วยค่านิยมของคนก็ทำให้การเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย กลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิตไปได้


Posted by : ArLim , Date : 2004-01-22 , Time : 20:01:21 , From IP : 203.156.38.207

better results if we say other way? คำว่าไม่ควร นั้น บ่งชี้ถึงข้อควรระวังจากโทษที่จะเกิดขึ้นใช่ไหมครับ เพราะไม่ได้ใช้ในลักษณะอีกแบบคือ "ควร" จะทำอีกอย่าง ทีนี้ลองมาพิจารณาดูว่าจริงๆแล้วนั้น ก่อนที่ "recommendation" ของการศึกษาอันนี้ออกมา You are a good boy นั้นเกิดขึ้น ถูกใช้มาเท่าไหร่ ต่อเท่าไหร่ มีคนเป็นโจรไปเพราะการใช้นี่สักกี่มากน้อย ตรงนี้ผมคิดว่าเราเดินอยู่บน slippery slope เพราะนัยสำคัญมันเยอะมาก ต่อไปมันอาจจะถึงขนาดทำให้ผู้ปกครองบางคนที่ไม่เข้าใจที่มาที่ไปของการศึกษาพฤติกรรมศาสตร์โทษตนเองว่าที่ลูกฉันเลวก้เพราะ You are a good boy หรือ เราไม่เคยที่จะ guarantee ได้ว่า ถ้าใช้ "I am very appreciated when you clean your room" แล้วจะเป็นการ Fail-proof ว่าลูกจะดีแน่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลองคิดดูว่ามีกี่วลี กี่สถานการณ์ กี่บริบท ที่เด็กคนหนึ่งจะ form personality ตอนอายุ 17-18 and 20 year-old กี่เหตุการณ์ กี่ crises ที่ในช่วงวัยรุ่นเด็กจะ absorb เข้าไปใน psyche ของแกในระหว่างนั้นไม่เป็นเรื่องบังเอิญหรอกครับที่ทำไมงานวิจัยมันถึงเยอะมาก เพราะ "ปัจจัย" ที่จะเป็น confounders ในการนำไปสู่ "ข้อสรุป" นั้นมากกว่าที่ super-computers ที่ไหนๆจะ cope ได้ let alone an individual to design, collect, and analyze แต่งานวิจัยลักษณะนี้ก็ไม่ได้แปลว่าไร้ประโยชน์ แต่ผมว่าเราต้องระมัดระวังที่สุดในการสรุป ตอนที่หลายปีก่อนมีคน declare gay genes ออกมานั้น scientist community และ organization มากมาย outrage เรื่อง NATURE versus NURTURE นั้น ห่างไกลจาก conclusive และผลการวิจัยมี politic มาเกี่ยวข้องมากอย่างไม่น่าเชื่อ (ตอนที่มีคนสรุปว่าคนผิวดำมี IQ เฉลี่ยต่ำและอุบัติการ criminal สูงมากนั้น เกือบเกิดจราจล Confounder ใหญ่คือาภ่พเศรษฐกิจและการศึกษาขั้นต่ำไม่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์อย่าง fair แถมไม่มีใครนึกถึง criminal ผิวขาวที่ฉลาดและ corrupt ในระดับนโยบายหรือระดับสูง เพราะยังจับไม่ได้ ตัวเลข Criminal จึงเป้นแค่ case-control ไม่ใช่ real incidence) มิฉะนั้นถ้าลูกใครเป็น Gay ขึ้นมา พ่อแม่จะกลุ้มว่าเป็นความผิดของเธอ ของฉัน บ้างเธอน่ะสิส่ง Gene ตัวนี้มา บ้านฉันไม่เคยมี เพราะเธอนะสิ ไปบอกลูกว่า You are a good boy มันเลยเลว ฯลฯ อันตราย อันตรายครับ " />
ความคิดเห็นที่ : 23


   เรื่องจิตวิทยานี่เป็นการสนทนาหลังอาหารที่สนุกมาก เพื่อนผมคนหนึ่งเป็น child psychiatrist ไปเรียน Ph.D. อยู่ที่ King College ใน London จึงเป็นแหล่งที่คนรู้จักไปสิงสู่อยู่ประจำ นอกจากจะฟรีแล้วตะแกเป็นคนทำอาหารเก่งมาก สอนตำรากับข้าวยังชีพมาให้ผมหลายชุด เนื่องจากเรารู้จักกันตั้งแต่อยู่เตรียมอุดมห้องเดียวกัน ก็เลยสนิทกัน ห้องผม (เด็กเตรียมจะสัมพันธ์กันเป็นห้องๆ ตึกๆ เพราะมันเยอะเกินกว่าที่จะรู้จักกันทั้งรุ่น) มีลักษณะร่วมคืออยู่รวมกันต้องเถียงกันให้ฝ่ายตรงข้ามสลายตัวไปข้างนึง มีอยู่สองสามคนที่จะเป็น last line of defence

จิตวิทยาและพฤติกรรมนั้นมีทฤษฎีมากมาย และมีข้อยกเว้นไม่น้อยกว่าตัวทฤษฎีเอง งานวิจัยเชิงคุณภาพหรือทางพฤติกรรมศาสตร์นั้นเป็นสายวิทย์ที่ออกจะศิลป์มากที่สุด การที่มนุษย์ผู้หนึ่ง absorb ข้อมูลแล้วกรองไปไว้เป็นบุคลิกภาพอย่างไรนั้น ผมว่าก็ยังเป็น holy grail ของจิตเวชวทยาหรือจิตวิทยาอยู่ โดยปกติสายวิทย์ quantitative research ถ้าต้องการอะไรที่เห็นนัยสำคัญง่ายๆ ก็เลือกเอาตัวที่มีอุบัติการเยอะๆ แตกต่างมากๆเป็นตัววัดตัวศึกษา ในทางจิตเวช่วิทยาขนาดทำการศึกษาในเรื่อง psychopath ที่เป็น extreme end และมีจำนวนไม่น้อย (ในต่างประเทศ) ผลการศึกษาก็ยังไม่ conclusive (ถึงแม้ตา professor หลายคนจะยืนยันว่า conclusive แต่ก็ไม่เคยมีใครทำให้ทฤษฎีของตนเอง reproducible ได้เป็นที่ยอมรับ) นับประสาอะไรกับการพยายาม predict normal variation ของกลุ่มคนปกติ มนุษย์ไม่ใช่สถิติ และบุคลิกนั้นเป็น end product ซึ่งเป็น amalgam ของ infinite factors (การอภิปรายทางพุทธศาสนาครั้งหนึ่ง ผมเคยทำให้ลามลงไปถึงอีกฝ่ายเขียนสมการเชื่อมโยงว่าทำอะไรในชาตินี้ แล้ว rebirth จะรับมา "แค่ไหน อย่างไร" สนุกดี....ถ้าไม่เครียด)

เอาตัวอย่างข้างบนก็ได้ครับ "ทำไม" เราจึง "ไม่ควร" บอกเด็กว่า "You are a good boy"? is there any significant harm? or Is there a definite/u> better results if we say other way? คำว่าไม่ควร นั้น บ่งชี้ถึงข้อควรระวังจากโทษที่จะเกิดขึ้นใช่ไหมครับ เพราะไม่ได้ใช้ในลักษณะอีกแบบคือ "ควร" จะทำอีกอย่าง ทีนี้ลองมาพิจารณาดูว่าจริงๆแล้วนั้น ก่อนที่ "recommendation" ของการศึกษาอันนี้ออกมา You are a good boy นั้นเกิดขึ้น ถูกใช้มาเท่าไหร่ ต่อเท่าไหร่ มีคนเป็นโจรไปเพราะการใช้นี่สักกี่มากน้อย ตรงนี้ผมคิดว่าเราเดินอยู่บน slippery slope เพราะนัยสำคัญมันเยอะมาก ต่อไปมันอาจจะถึงขนาดทำให้ผู้ปกครองบางคนที่ไม่เข้าใจที่มาที่ไปของการศึกษาพฤติกรรมศาสตร์โทษตนเองว่าที่ลูกฉันเลวก้เพราะ You are a good boy หรือ เราไม่เคยที่จะ guarantee ได้ว่า ถ้าใช้ "I am very appreciated when you clean your room" แล้วจะเป็นการ Fail-proof ว่าลูกจะดีแน่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลองคิดดูว่ามีกี่วลี กี่สถานการณ์ กี่บริบท ที่เด็กคนหนึ่งจะ form personality ตอนอายุ 17-18 and 20 year-old กี่เหตุการณ์ กี่ crises ที่ในช่วงวัยรุ่นเด็กจะ absorb เข้าไปใน psyche ของแกในระหว่างนั้นไม่เป็นเรื่องบังเอิญหรอกครับที่ทำไมงานวิจัยมันถึงเยอะมาก เพราะ "ปัจจัย" ที่จะเป็น confounders ในการนำไปสู่ "ข้อสรุป" นั้นมากกว่าที่ super-computers ที่ไหนๆจะ cope ได้ let alone an individual to design, collect, and analyze

แต่งานวิจัยลักษณะนี้ก็ไม่ได้แปลว่าไร้ประโยชน์ แต่ผมว่าเราต้องระมัดระวังที่สุดในการสรุป ตอนที่หลายปีก่อนมีคน declare gay genes ออกมานั้น scientist community และ organization มากมาย outrage เรื่อง NATURE versus NURTURE นั้น ห่างไกลจาก conclusive และผลการวิจัยมี politic มาเกี่ยวข้องมากอย่างไม่น่าเชื่อ (ตอนที่มีคนสรุปว่าคนผิวดำมี IQ เฉลี่ยต่ำและอุบัติการ criminal สูงมากนั้น เกือบเกิดจราจล Confounder ใหญ่คือาภ่พเศรษฐกิจและการศึกษาขั้นต่ำไม่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์อย่าง fair แถมไม่มีใครนึกถึง criminal ผิวขาวที่ฉลาดและ corrupt ในระดับนโยบายหรือระดับสูง เพราะยังจับไม่ได้ ตัวเลข Criminal จึงเป้นแค่ case-control ไม่ใช่ real incidence) มิฉะนั้นถ้าลูกใครเป็น Gay ขึ้นมา พ่อแม่จะกลุ้มว่าเป็นความผิดของเธอ ของฉัน บ้างเธอน่ะสิส่ง Gene ตัวนี้มา บ้านฉันไม่เคยมี เพราะเธอนะสิ ไปบอกลูกว่า You are a good boy มันเลยเลว ฯลฯ อันตราย อันตรายครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-22 , Time : 21:16:55 , From IP : 172.29.3.217

ความคิดเห็นที่ : 24


   คุณ Phoenix อย่ามองโลกเป็นสีขาวกับสีดำสิคะ คำแนะนำว่าดี ไม่ได้แปลว่าการไม่ทำสิ่งนั้นจะหมายถึงเลว"..... แต่เราน่าจะมาดูกันว่า ข้อดี ข้อเสีย ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบมันเป็นอย่างไร การชมว่า "You are a good boy" ไม่ได้เชื่อมโยงกับพฤติกรรมที่เราต้องการให้เด็กปฏิบัติมากพอ บางครั้งการบอกให้ชัดว่าเราชอบเมื่อเขาทำสิ่งนั้น สิ่งนี้ มันจะชัดเจนมากกว่า และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กได้ในที่สุด

ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการให้รางวัล การทำโทษ ล้วนมีข้อเด่น ข้อด้วยของตัวมันเอง เช่นการทำโทษ ควรทำโทษทันทีที่เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ และต้องไม่ทำโทษด้วยอารมณ์ และต้องไม่ให้รุนแรงเกินไป ............สิ่งเหล่านี้กว่าพ่อแม่จะเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง คงเสียเวลา แต่ถ้ามีคนนำประสบการณ์ มาคุยแลกเปลี่ยนกัน หรือได้รับฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญก็จะทำให้ประหยัดเวลา และสามารถใช้เทคนิด หรือทฤษฎีต่างๆ ได้ตามความเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน ในบริบทที่ต่างกันออกไป

วิชาชีพ พ่อแม่ ก็มีความเครียดไม่น้อยไปกว่าวิชาชีพอื่นๆ และจำเป็นต้องมีการใฝ่หาความรู้ เพื่อให้เข้าใจ และตอบสนองต่อเด็กได้อย่างเหมาะสม แต่พ่อแม่หลายคนคิดว่า เด็กสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่(ที่ดี)ได้ด้วยตัวเองโดยไม่ได้รับการอบรมสั่งสอน ซึ่งอาจจะมีส่วนหนึ่งที่เป็นได้จริง เพราะชีวิตเขาอาจเรียนรู้จากที่อื่นๆที่ขัดเกลาเขาไปในทางที่ดี..........

ไม่ทราบว่าจะหลงประเด็นหรือเปล่า......อย่างไรก็ตามคงไม่ได้มาร่วมอภิปรายด้วยอีกนานนนน..........Best wishes to you all.................


Posted by : Lunar , Date : 2004-01-23 , Time : 20:08:02 , From IP : webcache03.mas.optus

ความคิดเห็นที่ : 25


   ผมไม่ได้มองอะไรดำหรือขาวเท่านั้นแน่นอนครับ ไม่คิดว่าใครควรด้วย

เผอิญที่คุณ Lunar แนะนำ ไม่เพียงแค่ "ควรทำอะไร" แต่บอกว่า "ไม่ควรทำอะไร" ด้วย ขออนุญาต quote "การชมเด็กเวลาเด็กทำดี ไม่ควรจะบอกว่า "You are a good boy" แต่ควรบอกว่า " I am very appreciated when you clean your room" ปกติเวลาเราใช้คำว่าไม่ควร ผมเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่ง "ไม่ดี" รึเปล่า? ชักไม่แน่ใจเหมือนกัน

ผู้เชี่ยวชาญการเป็นพ่อแม่นี่ฟังดูดีครับ แต่ต่อให้เป็น child behavior expert หรือ child psychologist ผมก็ยังตะขิดตะขวงใจสำหรับพวก iron-cast rule for bringing up children พวกนี้อยู่ดี ผมไม่แน่ใจว่าผู้เชี่ยวชาญสาขานี้มีมานานแค่ไหน แต่การเป็นพ่อแม่นั้นคงจะนานกว่ามาก และเท่าที่ผ่านมาเราก็ทำกันได้โดยไม่ต้องมีหลักสูตร ขอเพียงมีองค์ประกอบสองสามอย่างดังต่อไปนี้
๑) รักลูก อยากให้ลูกเป็นคนดี ๒) เป็นคนดี และ ๓) มีเวลาให้ลูกพอสมควร ผมคิดว่ามีสามอย่างนี้ก็จะทดแทนหลักสูตร หรือ parent tutoring course ได้แล้ว จริงๆคนที่ขวนขวายไปอ่านตำหรับตำราการเป้นพ่อแม่มาอ่านผมว่าแค่ attitude นี้อย่างเดียว บวกกับประเภทของหนังสือที่สนใจอ่านเมื่อมีเวลาว่างโดยตัวมันเอง ก็แทบจะประกันได้แล้วว่าพ่อแม่ที่ไป course พวกนี้ ไม่ใช่กลุ่ม high risk ที่จะ fail ลูกตนเองหรอกครับ

การจะเลี้ยงดูเด็กสักคนหนึ่งนั้นเสียเวลาแน่นอนครับ และ "กว่าจะรู้" ว่าควรจะทำยังไงกับเด็กแต่ละคน ผมว่าไม่มี short-cut หรือทางลัดนอกจากทุ่มเทเวลาเพื่อจะ "รู้จัก" เด็กคนนั้น แล้ว customize วิธีเลี้ยงให้เหมาะต่อปัจเจกบุคคลนั้นๆ ของเหล่านี้ไม่ต้องเป็นหลักสูตร แต่เป็นลักษณะสโมสร หรือ club จะ work กว่า เหมือนสโมสรพื้นที่อะไรทำนองนั้น เพราะเมื่อไรเป็นหลักสูตร ผมอยากจะให้มันเป็ยหลักสูตรที่ "พิสูจน์" แล้วว่าไม่ใช่แค่ hypothesis แต่เป็น theory ที่ work most of the time ตรงนี้ผมไม่ค่อยมั่นใจว่าเราสามารถจะใช้ term "predictable" กับ behavioral science ได้สักกี่มากน้อย



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-25 , Time : 20:06:02 , From IP : 172.29.3.218

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.019 seconds. <<<<<