ความคิดเห็นทั้งหมด : 1

สารกัมมันตภาพรังสีในญี่ปุ่นที่รั่วออกมาคืออะไร และจะป้องกันตัวอย่างไร??


   เหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่เชอร์โนบิล
เกิดขึ้นในวันที่ 26 เมษายน ปีค.ศ. 1986
เหตุการณ์วันนั้นเกิดจากกระแสไฟกระชากเกิน มีการปิดเครื่องไปแล้ว
และรอจนเครื่องเย็น พอเจ้าหน้าที่ทำการ boost เปิดเครื่องใหม่
แต่เนื่องจากว่าตัว core ที่เพิ่งปิดไปยังไม่เสถียร
และ ระบบหล่อเย็นยังไม่สามารถควบคุมให้อุณหภูมิคงที่ได้
จึงเกิดการระเบิดขึ้น (ขออธิบายแบบง่ายๆแล้วกันนะคะ)

จะเห็นได้ว่าการระเบิดที่เชอร์โนบิล แทบจะเรียกได้ว่าเป็น man error ล้วนๆ
เพราะว่าพนักงานสองกะ ทำงานกันไม่ประสาน และ ไม่ได้ทำตาม protocol ที่ได้ร่างไว้ (คนอนุมัติในการเปิดเครื่องใหม่ก็ไม่ได้เป็นไปตามที่กำหนด)

ในการระเบิดครั้งแรก เกิดจากห้องระบายไอร้อนระเบิด
เพราะว่ามีความดันสูงเกินกว่าจะระเหยได้ทัน ซึ่งทำให้น้ำในระบบหล่อเย็นรั่วออกทันที
ทุกคนคงคาดได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อระบบหล่อเย็นไม่ทำงาน
การระเบิดลูกที่สองอันเกิดจากปฏิกิริยาปรมาณูเกิดขึ้นตามมาอีก 2 วินาที

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้สารกัมมันตรังสีกระจายออกมากขึ้นคือ
ตัวแกรไฟต์ที่ใช้บรรจุเกิดลุกติดไฟในอากาศ
ความร้อนและลมเป็นส่วนส่งเสริมอย่างดีให้สารกัมมันตรังสีกระจายไปทั่วประเทศ สารในตอนนั้นคือ Xe (xenon isotope) และ I-131

มีคนตายทันทีทั้งสิ้น 50 คน และ ตามมาหลังจากนั้นอีก 4000 คนจากมะเร็
ที่คาดว่าเป็นผลพวงจากสารกัมมันตรังสี


กลับมายังประเทศญี่ปุ่น เหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ fukushima
สาเหตุมาจาก ธรรมชาติ หลังเหตุการณ์สึนามิ
ตัวระบบหล่อเย็นหยุดทำงาน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ตัว “แกน” ระเบิด
จึงได้ใช้น้ำจากทะเลปั๊มเข้าเพื่อหล่อเย็นแทน ทั้งตัวเตาที่ 1 และ 3 ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้



แล้วสารกัมมันตภาพรังสีที่รั่วออกมาคือ สารอะไรล่ะ??

สำหรับสารกัมมันตรังสีที่ออกมาคราวนี้คือ I-131 ซึ่งเป็นตัวต้นปฏิกิริยา ก่อนที่จะกลายเป็น Xe (ซีนอน)
(สารที่รั่วออกมาที่เชอร์โนบิลนั่นแหละ)
ถ้าใครเรียนแพทย์ หรือว่าเคยเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ จะร้อง “อ๋อ” ทันที
สาร I-131 เป็นสารกัมมันตรังสีที่เราคุ้นเคยในวงการแพทย์มากๆ
เราใช้ในการรักษาคนไข้ไทรอยด์เป็นพิษ โดยการให้กลืนแร่นี้
เพื่อไปหยุดการทำงานของต่อมไทรอยด์

สิ่งที่น่าแปลกก็คือ I-131 ที่เราให้กิน ถือว่าเป็นปริมาณ dose ที่สูง
เพราะเราหวังผลให้ไป “หยุด” การทำงานของต่อมไทรอยด์
ทางการแพทย์เราให้ “ตูมเดียวหยุด”
ขณะที่ การให้ ปริมาณ “น้อยๆแต่นานๆ” อาจทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์ ทำให้เกิดมะเร็งได้

ใครที่เคยกิน “แร่ไอโอดีน” จะทราบดีว่า
แพทย์จะแนะนำให้ท่าน อยู่ในรพ.ซักสองสามวัน
ในห้องที่มีฉากสังกะสีกั้นสองด้าน เพื่อป้องการกัน “แพร่กระจาย” ของสารกัมมันตภาพรังสี
สารไอโอดีน จะถูกขับออกมาทางเหงื่อและปัสสาวะ
โดยทั่วไปจะแนะนำให้คนไข้ทำความสะอาดห้องน้ำบ่อยๆ

สารที่ออกมาจากร่างกายนั้นเป็นปริมาณน้อยมากๆ แทบจะไม่มีผลต่อคนที่อยู่ด้วย
แต่เพื่อเป็นการป้องกัน รวมถึงเด็กๆที่มีความเสี่ยงสูงกว่า
จึงแนะนำให้อยู่รพ.ซัก 2-3 วันและทำความสะอาดห้องน้ำทุกครั้งที่เข้า
รวมไปถึง (ถ้าเป็นไปได้) งดการมีเพศสัมพันธ์ 1 เดือน และ ห้ามท้องอีก 6 เดือน

พิษของ I-13I

โดยทั่วไปแล้ว ไอโอดีน (ที่ไม่ใช่ 131) เป็นแร่ธาตุตามปกติที่เรากินกันอยู่
คงจะเคยได้ยิน ประมาณว่า มาม่าเพิ่มไอโอดีน เนื้อปลามีไอโอดีน แจกไอโอดีนเด็กภูเขา กินกันเอ๋อ

ไอโอดีนตัวนี้ เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายจะนำไปใช้ในการผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนออกมา
ซึ่งมีผลในการช่วยการเผาพลาญพลังงานในร่างกาย เสริมสมอง เพิ่มการทำงานของร่างกาย

ในทางกลับกัน I-131 ที่เป็นสารกัมมันตรังสี
มีผลในการ “หยุด” การทำงานของต่อมไทยรอยด์ (และส่วนมากคือ หยุดถาวร)
เมื่อมีการระเบิดหรือปนเปื้อน สาร I-131 มักจะอยู่ในผัก หรือ อาหาร
และจะเข้าไปสะสมในร่างกายไปที่ต่อมไทยรอยด์เมื่อกินเข้าไป

หากได้ต่อเนื่องกันเป็นปริมาณมาก ก็จะก่อให้เกิดภาวะ “มะเร็งต่อมไทรอยด์”
หรือ อาจจะอย่างอ่อนๆคือ “ไทรอยด์อักเสบ” (ซึ่งรักษาได้)

จากงานวิจัยพบว่า ผู้ที่มีอายุมากเมื่อเทียบกับเด็ก หากได้รับสาร I-131 ในปริมาณเท่ากับ
จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งน้อยกว่าเด็ก

จะป้องกัน I-131 อย่างไรดีละในกรณีที่จำเป็นต้องไป?

ถ้าฟังข่าวจะเห็นว่า ที่ญี่ปุ่นเขาแจก ไอโอดีน กินกัน
อย่างที่อธิบายไปแล้วว่า ไอโอดีนเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องนำไปใช้ โดยเก็บไว้ที่ต่อมไทรอยด์
ดังนั้น การกินไอโอดีน (ธรรมดา) ก็เพื่อไป แย่งจับกับ receptor ที่ไทรอยด์ ก่อนที่จะโดน I-131 แย่งจับ

อธิบายง่ายๆ ก็เหมือนกับ ร่างกายเรามีโกดังเก็บไอโอดีนอยู่ 100 แห่ง
โดยเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่เอาไอโอดีนมาเก็บจากท่าเรือ
ไม่ทราบว่า กล่องไหนที่จะเอาไปเก็บ เป็น ไอโอดีนธรรมดา หรือ I-131 (ไอโอดีนที่เป็นสารกัมมันตรังสี)
ดังนั้นเพื่อเป็นการดักทางไว้ เราก็เลย รีบๆ “เติม” ไอโอดีนธรรมดา
ให้เจ้าหน้าที่เอาไปเก็บๆให้เต็มโกดังซะ
เมื่อเวลาที่ดันกิน I-131 เข้าไปโดยไม่ตั้งใจ
เจ้าหน้าที่จะได้ไม่เอาไปเก็บเพิ่ม เพราะว่ามัน “เต็มแล้ว”

เหตุเกิดที่เชอร์โนบิล มีคนเป็นมะเร็งเยอะ ก็เพราะส่วนหนึ่งไม่ได้รับแจก “ไอโอดีน” กัน

จะไปญี่ปุ่นอีกเดือนสองเดือน แร่ I-131 มันอยู่นานไหมเนี่ยะ?

ค่าครึ่งชีวิต (half life) ของ I-131 อยู่ที่ 8 วัน
ส่วนมากหากปนเปื้อน ก็จะปนเปื้อนกับอาหารที่กินมากกว่า



พิษของ Caesium (Cs) ซีเซี่ยม

สารกัมมันตรังสีอีกตัวที่ตรวจจับได้ที่ fukushima คือ Cs (ซีเซี่ยม ต่อไปนี้ขอย่อว่า Cs)
ตัว Cs เองมีถึง 39 isotope มีตั้งแต่ Cs 135 ที่มีค่าครึ่งชีวิตถึง 2.3ล้านปี!!
แต่ Cs ที่รั่วออกมาคือ Isotope 137 ซึ่งมีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี (ยาวอยู่ดีแหละ)

ส่วนมากแล้ว Cs จะมีพิษและผลรุนแรงน้อยกว่า I-131 ดังที่กล่าวข้างต้น
ในกรณีที่ได้รับสาร Cs ตรงๆเป็นปริมาณมาก จะทำให้เกิดอาการแพ้ คัน อย่างรุนแรง หรือชักเกร็งกระตุก

การปนเปื้อนของ Cs-137 มักจะตกข้างในพืชผัก
แต่ไม่ต้องห่วงปกติแล้ว Cs ไม่ใช่สารกัมมันตภาพรังสีที่จะสามารถสะสมได้ในร่างกาย เหมือนกับ I-131
เมื่อกิน Cs-137 เข้าไป ร่างกายจะขับออกมาอย่างรวดเร็วในรูปเหงื่อและ ปัสสาวะ
โอกาสที่จะเป็นมะเร็งจาก Cs คือต้องกินสารปนเปื้อนนั้น เป็นระยะเวลานานๆต่อเนื่องกันมากกว่า


ที่มาข้อมูล
เหตุการณ์ chernobyl : http://en.wikipedia.org/wiki/Chernobyl_disaster

อธิบายเกี่ยวกับ Cs:http://en.wikipedia.org/wiki/Caesium

เกี่ยวกับ I-131 http://en.wikipedia.org/wiki/Iodine-131


เครดิตที่ห้อง Blue Planet


Posted by : นายจริงใจ , Date : 2011-03-15 , Time : 11:48:05 , From IP : 172.29.1.66

ความคิดเห็นที่ : 1


   ในกรณีแบบนี้ยังถือว่าดีนะครับเพราะเรารู้ตัวว่ามีรังสีปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ดีกว่าแบบที่ได้รับทุกวันโดยไม่รู้สึกตัว อย่างเช่นบุคลากรทั้งหลายที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารกัมมันตรังสี

เนื่องจากเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ทางรังสีแม้จะมีระบบความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม แต่เราก็ทราบกันอยู่ว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ วันร้ายคืนร้ายถ้าหากมีการรั่วไหลของรังสีออกมา เจ้าหน้าที่ก็จะยังคงทำงานอยู่โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวว่ารับรังสีเข้าไป เพราะรังสีมันไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ดังนั้นถ้ามันรั่วออกมาน้อยๆ ไม่ได้ระเบิดใหญ่โตอย่างนี้ เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานไม่มีทางรู้ตัวแน่นอน อันนี้ล่ะครับภัยเงียบตัวจริงเลย

บางคนบอกว่าจะไปกลัวอะไร มันรั่วเล็กๆ น้อยๆ เอง ไม่ใช่เหมือนระเบิดปรมาณูซะหน่อย ผมอยากจะบอกว่าคิดผิดแล้วล่ะครับ เพราะรังสีปริมาณน้อยๆ ที่ได้รับเข้าไปนี้ล่ะมันจะทำให้มีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งในอนาคตและมะเร็งที่เกิดจากรังสีมักเป็นมะเร็งที่ดื้อต่อการฉายรังสีและให้ยาเคมีบำบัดด้วย

ดังนั้นผมว่าทางที่ดีที่สุดคือเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติงานกับรังสีด้วยความระมัดระวังทั้งต่อตนเอง, บุคคลรอบข้างและผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีอีกอย่างหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ๆ ๆ คือการพกเครื่องวัดรังสีส่วนบุคคล (film badge, TLD etc.) เพื่อคอย monitor พวกภัยเงียบซึ่งก็คือรังสีที่มันรั่วไหลนี่ล่ะครับ โดยพกไว้ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน ซึ่งไอ้เจ้าตัว monitor ที่ว่านี้มันก็ไม่หนักอะไร ขนาดก็ประมาณกล่องไม้ขีดไฟ ผมยังอดแปลกใจไม่ได้ว่าทำไมไม่ค่อยพกกัน หรือว่าอาจไม่ได้ตระหนักถึงอันตรายของสิ่งที่ตัวเองต้องทำงานด้วยทุกวัน


Posted by : frank , Date : 2011-03-15 , Time : 23:50:21 , From IP : 172.29.9.215

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<