ความคิดเห็นทั้งหมด : 40

เราจะทำ ER ให้เป็นห้องฉุกเฉินได้อย่างไร


   - เพราะคนไข้จำนวนมากของ ER ที่แปลว่าห้องฉุกเฉิน กลับเป็นคนไข้ OPD case ซึ่งไม่มีความรีบด่วนในการรักษาหรือมาโรงพยาบาล คนไข้จำนวนนี้คือworkload ที่มากเกินจำเป็นสำหรับคนที่อยู่เวร ER ซึ่งบางครั้งคนไข้ก็มากอยู่แล้วด้วย
- ด้วยวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่จะ ชี้นำสังคม สร้างสมความรู้ เราควรจะมีแนวทางในการ ชี้นำ อะไรแก่สังคมบ้างเกี่ยวกับเรื่องนี้


Posted by : ร่วมด้วยช่วยคิด , Date : 2004-01-11 , Time : 16:41:07 , From IP : 172.29.3.143

ความคิดเห็นที่ : 1


    ไม่ทราบเหมือนกันนะครับว่าต้องทำยังไง ถึงจะเป็นการแก้ที่ตรงจุด เพราะอาการเจ็บป่วยของทุกๆคนเค้าก็ต้องเห็นเป็นเรื่องด่วนอยู่แล้วครับ เราจะไปบอกว่า ไข้มา 1 วัน ไม่ด่วน ห้ามมาตรวจ ER ก็ไม่ได้ แต่เคยเห็นที่อื่นเค้าแยก ER ออกมาเป็น trauma vs. non-trauma ไม่รู้ว่า work รึเปล่า รบกวนคนที่จบจุฬาลองแสดงความคิดเห็นหน่อยได้ไหมครับ รู้สึกว่าที่จุฬาจะแยก ER เป็นแบบที่ว่าใช่ไหมครับ

Posted by : iris , Date : 2004-01-11 , Time : 18:14:39 , From IP : 172.29.3.221

ความคิดเห็นที่ : 2


   เห็นด้วยกับคุณ iris ครับ คนไข้ไม่ใช่หมอ จึงไม่รู้ว่าภาวะใดด่วน ภาวะใดไม่ด่วน
และน่าจะแยกกันระหว่างภาวะที่ฉุกเฉินกับไม่ฉุกเฉิน


Posted by : megumi , Date : 2004-01-12 , Time : 00:01:54 , From IP : 172.29.3.251

ความคิดเห็นที่ : 3


   อย่าเข้าใจผิดกับคำว่าอุบัติเหตูเท่านั้นที่หมายถึงภาวะฉุกเฉิน
ศิริราชมี Trauma และ ห้องฉุกเฉินแยกกัน ต้องยอมรับว่าภาวะฉุกเฉินของคนไข้ไม่เหมือนกับของแพทย์ ตัวอย่างเช่นเด็กร้องไม่หยุดในเวลาเที่ยงคืนก็ถือเป็นภาวะฉุกเฉินเหมือนกัน ถึงแม้ว่ามาตรวจแล้วจะไม่มีอะไร


Posted by : ไม่มีความเห็น , Date : 2004-01-12 , Time : 10:01:23 , From IP : 172.29.3.173

ความคิดเห็นที่ : 4


   หลับไป10ชาติก็เหมือนเดิม

Posted by : Fx , Date : 2004-01-12 , Time : 13:30:06 , From IP : 172.29.3.144

ความคิดเห็นที่ : 5


   ถ้าบ่นมากนัก แม่งก็ไปเป็นยามไป เค้าให้มาตรวจโรค เสือกเอาแต่บ่นกัน

Posted by : timberland , Date : 2004-01-12 , Time : 13:34:34 , From IP : 172.29.3.167

ความคิดเห็นที่ : 6


   กูก็ว่างั้น

Posted by : ปรีดี , Date : 2004-01-12 , Time : 15:40:25 , From IP : 172.29.3.155

ความคิดเห็นที่ : 7


   ถึงคุณ timberland และ คุณปรีดี
"ใช้คำพูดได้ต่ำสถุล ส่อสกุลมากเลยคะ"


Posted by : Ja , Date : 2004-01-12 , Time : 21:58:12 , From IP : 172.29.3.219

ความคิดเห็นที่ : 8


   เริ่มต้นจากการมีหน่วยบริการการแพทย์ย่อยๆในพื้นที่ให้เพียงพอ มีบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรม "เพื่อคัดกรอง และจัดการเบื้องต้น" ประจำ พร้อมยาสามัญประจำบ้าน เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้ป่วยที่ไม่เร่งด่วนแต่ต้องการมาหาแพทย์นอกเวลาราชการ ห้องฉุกเฉินหรือ ER ก็ยังคงต้องเป็นที่พึ่งอยู่ตามระบบ

ถ้าทำได้อย่างข้างต้น หวังว่าประชาชนส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าสะดวกกว่าที่จะไปตามหน่วยต่างๆเหล่านั้นแทนการมาห้องฉุกเฉินโรงพยาบาล ถามว่ามีใช้ที่ไหนบ้าง ก็ขอยกตัวอย่างที่ประเทศอังกฤษ คนไข้ไม่ฉุกเฉินมา ER พอถูก screen ก็จะถูกส่งคืนเข้าระบบเก่า นั่นคือต้องไปผ่าน GP หรือ general practitioner (เดี๋ยวนี้คงเรียก FAm Med) จึงจะสามารถส่งให้พบ specialists ของโรงพยาบาลรัฐบาลได้ เนื่องจากรัฐบาลเป็นคนจ่ายค่ารักษาเกือบท้งหมด กฏจึงเป็นกฏ หมอ พยาบาลรับคำสั่งจาก Local Health authority ที่ต้องบริหารงบประมาณภายใต้การควบคุม ก็หมดสิ้นจำหน่ายจ่ายแจกยาหรือการรักษาตามใจ

ส่วนใครไม่ชอบก็ไปโรงพยาบาลเอกชนถ้าคุณสามารถจ่าย หรือ (ส่วนใหญ่) มีประกันชีวิตที่ครอบคลุมการเบิกจ่ายเหล่านี้

แต่.......ตราบใดที่ไม่มีหน่วยบริการตามพื้นที่ย่อยๆ ที่ๆได้รับการวางอัตรากำลังและความหลากของยาและพัสดุพื้นฐาน ชาวบ้านไม่ว่าจะด่วน ไม่ด่วนก็ไม่มีทางเลือก ก็ต้องมาห้องที่เราเรียกว่าฉุกเฉินนี่แหละครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-12 , Time : 22:04:07 , From IP : 172.29.3.211

ความคิดเห็นที่ : 9


    ถ้าจะตอบคำถามนี้แบบกว้างๆ ให้เป็นมุมมองที่ "เป็นกลาง" ที่สุด คงต้องยืมเอาคำตอบที่เคยตอบมาในกระทู้ก่อนๆหน้านี้มาลงความเห็นอีก
ไม่มีใครคาดหวังว่าในร้านแมคโดนัลด์จะจัดโต๊ะแบบนั่งกินใต้แสงเทียน มีเพลงแจ๊ซบรรเลง เพราะอะไร เพราะร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่อย่างนั้น
เช่นกัน นกบางชนิดดำน้ำจับปลากินได้ แต่ก็คงไม่มีใครเลี้ยงนกให้มาจับปลาให้กิน เพราะนกไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อดำน้ำหาปลา
ไม่แตกต่างกัน ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลมีไว้เพื่อให้บริการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน อุบัติเหตุ หรือภาวะรีบด่วนที่จะให้การรักษา และไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็น OPD นอกเวลา
ถ้าจับประเด็นหลักตรงนี้ได้ เราก็จะอภิปรายเรื่องนี้ต่อไปได้ง่ายขึ้น


Posted by : natalie , Date : 2004-01-12 , Time : 22:42:57 , From IP : 172.29.3.215

ความคิดเห็นที่ : 10


    แน่นอน แค่การให้ประเด็นข้างต้นมา ไม่ได้ช่วยแนะแนวทางแก้ปัญหา เพียงแต่อยากจูนคลื่นของคนฟังทุกคนให้ติดก่อน ว่าสิ่งที่จะถ่ายทอดต่อไปนี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดอย่างที่ว่า ไม่ใช่เห็นแก่ตัวและไม่เอาคนไข้เป็นศูนย์กลาง
เราคงต้องดูว่าเหตุของปัญหาเหล่านั้นคืออะไร
1. การบอกว่าความด่วนของคนไข้กับความด่วนของหมอไม่เหมือนกัน เป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่สิ่งที่เราต้องคิดต่อก็คือ ทำอย่างไรเราจะช่วยสอนหรือชี้แนะให้เขาพอจะเข้าใจตรงนี้ได้ เพราะถ้าบอกแค่ว่า เขาคงเข้าใจไม่เหมือนเรา แค่นั้นจบ ดังนั้นเราเลยต้องมาไล่ตามปัญหาอันเกิดจากความไม่รู้ของคนไข้ โดยไม่มีวันสิ้นสุดอย่างนี้ถูกต้องหรือเปล่า ลองยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าคนไข้เบาหวานคนหนึ่งรักษาอยู่หลายเดือนแล้วคุมน้ำตาลไม่ได้เลย คุณซักไซ้ไล่เลียงแล้วได้ใจความว่า คนไข้ไม่รู้ว่าคนเป็นเบาหวานต้องงดอาหารหวาน ต้องออกกำลังกายและกินยาสม่ำเสมอ คุณจะแก้ปัญหาอย่างไรระหว่าง
- เพิ่มยาให้มากขึ้น แต่ไม่ต้องแนะนำเขาให้รู้เหมือนเรา เพราะเขาเป็นแค่คนไข้ ให้เขาทำทุกอย่างเหมือนเดิม
- แนะนำให้เขารู้ในสิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับโรคนี้ และจำเป็นต่อเขา เพื่อให้เขาดูแลตนเองได้ และลดการใช้ยาที่ไม่จำเป็นลง โดยผลการรักษาดีขึ้น
ตอนเราเป็นนักเรียนแพทย์ อาจารย์เคยพูดเสมอว่า จะไม่ตกปลาให้นักเรียนกิน แต่จะสอนให้นักเรียนหาปลาเอง เพราะสอนครั้งเดียวเขาจะจำได้และหาปลากินเองได้ตลอดชีวิต ทำไมพวกเราไม่คิดว่า พวกเราน่าจะพยายามนำวิธีนี้มาใช้กับคนไข้ของเราบ้าง การที่พวกเราไม่เคยสอนเขา นั่นอาจมองได้ว่า พวกเราประเมินความสามารถในการเรียนรู้ของคนไข้น้อยไปหรือเปล่า
2. คนไข้จำนวนหนึ่งรับรู้ว่าความเจ็บป่วยชนิดไหนด่วนและชนิดไหนไม่ด่วน ลองนึกถึงตัวคุณเองตอนเป็นเด็กมัธยมสาม(นั่นคือก็เป็นคนธรรมดา ไม่มีความรู้เรื่องแพทย์ เฉกเช่นคนทั่วๆไป) ถ้าปวดท้อง ท้องอืด หรือเริ่มมีน้ำมูกนิดหน่อย หรือเพิ่งถ่ายเหลวหนึ่งครั้งตอนตีสอง จะมาหาหมอเลยมั้ย จะลองกินยาที่บ้านดูก่อนมั้ย จะมียาสามัญประจำบ้านเก็บไว้บ้างหรือเปล่า ดังนั้นการเป็นหมอหรือไม่เป็นหมอไม่ใช่ข้อจำกัดของการเรียนรู้ที่จะดูแลตนเองในเบื้องต้น ก่อนจะมาพบแพทย์ ซึ่งคือทางหนึ่งในการหยุดที่จะพึ่งพาตนเอง และถ้าคุณเคยสังเกตดูให้ดี คนไข้หลายคนรู้ว่าอาการนี้ไม่ด่วน แต่ไม่เคยมียาสามัญประจำบ้านเก็บไว้ บางครั้งเพิ่งมีไข้เมื่อเย็นนี้เอง แต่ไม่มีพาราเซตที่บ้าน เลยมาโรงพยาบาลตอนสามทุ่ม แน่นอน หมอที่ตรวจคงไม่ใช่ให้แค่พาราเซต แต่ต้องซักประวัติ ตรวจร่างกาย เขียนประวัติคนไข้อย่างละเอียด แล้วถึงจ่ายยา ในขณะที่สิ่งที่คนไข้ต้องการ อาจไม่ใช่การตรวจอะไร เพียงต้องการมาเอายาเท่านั้นเอง นั่นคือทรัพยากรจำนวนมากถูกใช้ไป เพียงเพื่อขายยาพาราเซตสิบเม็ดเท่านั้นเอง มองในแง่ว่าทรัพยากรทั้งหมดนี้ เป็นเงินภาษีของทุกคนในชาติร่วมกันจ่าย ค่าเวรหมอ ค่าล่วงเวลาพยาบาล ค่ากระดาษทำบัตรหรือเขียนmedical records นี่คือความสิ้นเปลืองอย่างหนึ่งที่ย่อมไม่เป็นธรรมแน่นอน กับประชาชนคนอื่นที่ไม่ได้ผ่านการหาหมอแบบนี้
3. เพื่อนของเราเคยทำกระเป๋าตังค์หายที่ผับตอนตีสอง แน่นอนเขาต้องไปแจ้งทำบัตรประชาชนใหม่แทนใบที่หายในวันรุ่งขึ้น แต่จะต้องมีใบรับแจ้งความเอกสารหายจากตำรวจไปก่อน ซึ่งการไปขอใบแจ้งความนั้นมีอยู่สองกรณี
- ไปแจ้งความเอกสารหายตอนนั้นเลยเพราะโรงพักเปิดตลอด 24 ชั่วโมง ปลุกร้อยเวรออกมาจากเตียงเพื่อเขียนใบแจ้งเอกสารหายให้
- รอตอนเช้า แล้วค่อยไปทำ เพราะไม่ได้เป็นเรื่องแจ้งความด่วนเหมือนถูกวิ่งราวหรือลักทรัพย์
ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือชาวบ้านคนไหนก็สามารถตอบคำถามข้อนี้ได้เหมือนๆกันมั้ย คำว่ารีบด่วนกับรอได้ คนจำนวนมากสามารถที่จะตัดสินได้ แต่ทำไมพวกเรากลับพบว่ามีคนไข้ที่ไม่ด่วนจำนวนมากมาที่ห้องฉุกเฉิน โดยที่รู้ว่าตนเองไม่ได้มีอาการรีบด่วน และพวกเราจะพยายามแก้ปัญหานั้นได้มั้ย
ขชออภัยหากข้อความที่ให้ความเห็นมาจะดูน่าตกใจหรือเป็นความคิดที่แรงไปนิด แต่นี่เป็นมุมมองหนึ่ง ที่มองด้วยสายตาคนทั่วไปที่ไม่ใช่หมอ มองเข้ามา และมองไปยังคนทั่วไปที่ไม่ใช่หมอคนอื่น ที่บริโภคทรัพยากรของ_ER โดยไม่มีข้อบ่ชี้อันสมควร
เรายังยืนยันที่จะเป็นหมอที่ดี รักคนไข้ของเราตามพระโอวาทของพระบิดา แน่นอน ถ้ามีคนไข้ที่ยากจน เป็นคนด้อยโอกาส หรือไม่มีความรู้จริงๆ เป็นคนเฒ่าคนแก่ที่เจ็บออดๆแอดๆง่าย เราเชื่อว่าพวกเราทุกคนไม่เกี่ยงที่จะแยกว่าเขาด่วนหรือไม่ด่วนแล้วถ้าไม่ด่วนค่อยมาใหม่ เพราะการปฏิเสธที่จะรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆของเขาตอนนั้น(แม้จะเป็นนอกเวลา) แล้วให้เขาเสียเงินทองอันมีค่า นั่งรถมาหาเราอีกในเวลาราชการ เราเชื่อว่าเพื่อนร่วมวิชาชีพของเราคงมีเมตตาธรรมในใจมากพอไม่ทำเช่นนั้น แต่เท่าที่เป็น คนไข้กลุ่มที่บริโภคทรัพยากรของ ER โดยไม่มีข้อบ่งชี้ดังว่า มักเป็นคนมีความรู้ มีโอกาส และน่าจะเรียนรู้ในสิ่งที่เรากล่าวมาได้ดีกว่าที่ควรจะเป็นด้วยซ้ำ


Posted by : natalie , Date : 2004-01-12 , Time : 23:18:33 , From IP : 172.29.3.215

ความคิดเห็นที่ : 11


   ทำไงได้ล่ะ ก็แคยื่นเท้าย่างเหยียบเข้าโรงพยาบาลตอนแปดโมงครึ่ง ก็มีประกาศปิดบัตรแล้ว ถ้าไม่ตรวจที่ห้องฉุกเฉินจะไปตรวจที่ไหน เมื่อไหร่จะมีหมอ ตรวจทั่วไปประจำที่ห้องฉุกเฉินบ้าง

Posted by : toom , Date : 2004-01-12 , Time : 23:43:41 , From IP : 172.29.3.254

ความคิดเห็นที่ : 12


   ชาติหน้าเหอะ

Posted by : dee , Date : 2004-01-12 , Time : 23:44:37 , From IP : 172.29.3.254

ความคิดเห็นที่ : 13


   ผมมีความเห็นว่า
1. ควรมีแพทย์เวร ER ที่ทำหน้าที่ตรวจ case ที่ดูแล้ว( โดยพยาบาลที่ทำหน้าที่screen case )เห็นว่าไม่ด่วน 1 คน ทำหน้าที่ตรวจคนไข้ที่ป่วยเล็กๆน้อยๆที่มาใช้บริการห้องฉุกเฉิน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ถ้ามีปัญหาให้ส่งเข้าไปในห้องฉุกเฉินต่อไป
-ประโยชน์ : สามารถลดคำติฉินนินทาของผู้ป่วยที่ไม่ฉุกเฉิน ซึ่งสบายดีพอที่จะตำหนิหมอ พยาบาล หรือโรงพยาบาลได้
2. มีโต๊ะประจำตัวของแพทย์ทุกคนที่ทำหน้าที่ตรวจที่ ER นั่นคือถ้ามี OPD card วางอยู่บนโต๊ะของคุณหมายถึงคุณมีหน้าที่ตรวจคนไข้รายนั้น ถ้ามีปัญหาก็ให้consult ต่อไป
-ประโยชน์ : สามารถจัดการcaseได้อย่างรวดเร็ว ลดโอกาสการอู้ของแพทย์ ลดโอกาสการเลือกตรวจcaseของแพทย์ ตามหาตัวแพทย์ได้ง่าย แพทย์ทำงานให้รพ.ได้คุ้มกับค่าจ้างที่ได้รับ
3.ให้รางวัลกับบุคลากรที่ทำงานดี ตักเตือนบุคลากรที่ปฏิบัติตนไม่เหมาะสม
-ประโยชน์ : เป็นแรงกระตุ้นให้บุคลากรเห็นว่า ถ้าเราทำดีแล้วเราจะได้ดีจริงๆ เพราะการรอให้ผลบุญตอบสนองนั้นค่อนข้างช้า คนที่ทำไม่ดีก็ควรรู้ว่าตนทำไม่ดี เพราะการรอให้ผลกรรมตามทันนั้นมันก็ช้าเช่นกัน
4. บุคคลที่ทำหน้าที่รับ consult ควรมีหน้าที่ช่วยเหลือ ไม่ใช่มาดุด่าหรือประชดประชันคนที่consult
-ประโยชน์ : ช่วยลดเวลาที่ผู้ป่วยต้องเสียไปในรพ. ได้การรักษาที่มีคุณภาพ ลดอัตราการเกิด mortality and morbidity ซึ่งอาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
5. มีการประเมินผู้รับconsult
-ประโยชน์ : ทำให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์เต็มที่ คนที่ควรกลับบ้านก็ควรได้กลับ คนที่ควรได้ตรวจก็ควรได้ตรวจ


Posted by : megumi , Date : 2004-01-13 , Time : 01:38:51 , From IP : 172.29.3.250

ความคิดเห็นที่ : 14


   เอ่อ....เฮียเมียงูครับ....เห็นด้วยกับเฮีย....แต่ถ้าผมเป็นหมอ..ที่อยู่ในข้อที่ 1 ...จะโดนฟ้องไหมครับ....ถ้าเกิด screen พลาด ...ผมว่านะเฮีย....ปัญหาคือ...ประสพการณ์หรืออวุโสแค่ไหนจึงจะพอ....ใครกล้าเสี่ยง..screenเสร็จอาจต้องส่งให้ถูกโตะด้วยนะเฮีย..ส่วนข้อ 2 นะเฮีย..คนไข้จิตเวช...เจอใช้ทุนบางคน consult ยาก...เฮียว่าไหม..หรือว่าหมอจิตเวชติด OR? ...ว่าไหม..ว่าถ้าหัวหน้าห้องฉุกเฉิน consult กับ extern consult ความยากง่านจะเหมือนกัน....

Posted by : นะครับ , Date : 2004-01-14 , Time : 02:26:06 , From IP : 172.29.1.229

ความคิดเห็นที่ : 15


   ข้อเท็จจริง 7 ประการ
1. มีคนไข้บางคน ทำตัวเป็นหมอ(หัวหมอ)
ไม่ยอมไปตรวจ OPD เพราะมาตรวจ ER ได้ตรวจเร็วกว่ากันเยอะ
โดยเฉพาะช่วงเช้า ๆ
2. หมอที่ตรวจ ER มีไม่มากอย่างที่คิด (โดยเฉพาะช่วงนั้น)
3. การที่ ER..ไม่ฉุกเฉินจะทำให้คนไข้ฉุกเฉินเสียประโยชน์
4. จริง ๆ แล้ว OPD นอกเวลาช่วยแบ่งเบาภาระ ER ได้
5. ER ไม่ใช่ถังขยะ
6. ER น่าจะสั่งยาได้มากกว่านี้
7. ไม่มีใครฟังผมหรอก


Posted by : emergency room , Date : 2004-01-14 , Time : 20:37:29 , From IP : 172.29.3.107

ความคิดเห็นที่ : 16


   พออ่านความคิดเห็นของคนข้างบนข้อ 7 แล้วได้คิดว่า

ผมเขียนอะไรลงไปแล้วจะมีคนฟังผมไหม


Posted by : เหอๆๆ , Date : 2004-01-14 , Time : 21:13:28 , From IP : 172.29.4.237

ความคิดเห็นที่ : 17


   ถ้ารู้ว่าอยากจะให้ "ใคร" ฟัง ก็ไปเล้าหรือเขียนถึงคนๆนั้นตรงๆครับ เขียนลงตรงนี้เป็นการหวังลอยๆว่ามันจะไปถึงเอง เหมือนเขียน message ใสขวดลอยน้ำไปน่ะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-14 , Time : 23:43:01 , From IP : 172.29.3.247

ความคิดเห็นที่ : 18


   เห็นด้วยกับข้อ 1-5 ของคุณ emergency room โดยเฉพาะข้อ5 ประกาศปิดบัตรกันที คนก็แห่ลงมาER เหมือนมีของแจก

Posted by : Ikarus , Date : 2004-01-15 , Time : 02:06:47 , From IP : 172.29.3.217

ความคิดเห็นที่ : 19


   เรียนคุณ Megumi ครับข้อหนึ่ง เคยมีความพยายามเสนอหลายครั้งแล้วจากทางโรงพยาบาล แต่ไม่สามารถหาบุคลากรได้ เคยมีหนังสือเวียนรับสมัคร พชท. ไปนั่งตรวจ คล้าย ๆ กับ OPD นอกเวลา GP ขยายไปถึง เที่ยงคืน ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมไม่มีคนสมัคร นอกจากนี้ในคราวประชุมปัญหา Med - Sx - ER ท่าน ผอ.ก็เสนออีกที แต่ก็ไม่มีใครเอาเหมือนกัน ทำไม ถ้าจะมีการริเริ่มเรื่องเหล่านี้ใหม่ จะมีใครเอาด้วยใหม แต่ผมว่านอกจาก หมอที่จะมาตรวจแล้ว พยาบาล พนักงานบริการ เจ้าหน้าที่ Lab คนเดิน Lab เวชระเบียน จะมีใครเอาด้วยใหม เพราะดูเหมือนทุกวันนี้งานประจำก็ไม่ค่อยมีใครอยากทำอยู่แล้ว
ข้อสองเห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่ไม่รู้ว่าเอาไปวางใหนดี
ข้อสี่ เอ้ ผมเคยเผลอดุคุณ Megumi ไปบ้างหรือเปล่านี่ ผมว่าอย่าคิดมากครับ มี Consultant บางจำพวกเหมือนกันที่ด่าไว้ก่อน สมัยผมเป็นเด็ก ๆ ก็เคยเจอ นัยว่า จะได้ไม่กล้า Consult กลายเป็นว่าใครใจดีก็จะถูก Consult บ่อย ใครดุหน่อยก็สบาย อย่าคิดมากครับ สงสัยก็ Consult ถูกดุบ้างเป็นรื่องธรรมดาถือว่าเรามา Discuss กันเพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ ไม่ถามเขาก็ไม่รู้สักที จริงใหม
การประเมินกัน มี Reinfrocement หรือ Punishment ก็ดีนะครับ แต่การทำงานเพราะสิ่งเหล่านี้มันไม่มีความสุขจริงหรอกครับ ต้องสร้างให้คนของเรามี Beta motivation

สิ่งเหล่านี้สะท้อนวิสัยทัศน์ของผู้บริหารครับ ว่าจะให้ไปในทิศทางใหน หรือเพียงแค่พลิกลิ้นเล่นละครไปวัน ๆ


Posted by : Dhan , Date : 2004-01-15 , Time : 21:54:56 , From IP : 202.57.185.12

ความคิดเห็นที่ : 20


   มายกมือสนับสนุนเฮียDhan



Posted by : กะหลั่วเป็ด , Date : 2004-01-15 , Time : 22:23:56 , From IP : 172.29.3.170

ความคิดเห็นที่ : 21


   ไม่ต้องเปลี่ยนอะไรหรอก
เราอยู่กันสามสี่ปีก็ออกแล้ว
คนที่อยู่มาเป็นสิบปีเค้ายังไม่คิดจะเปลี่ยนเลย


Posted by : ไม่เอา , Date : 2004-01-16 , Time : 10:55:51 , From IP : 172.29.1.150

ความคิดเห็นที่ : 22


   เห็นใจคนที่ ER จริงๆ
ถ้าระบบโรงพยาบาลระดับปฐมภูมิทำหน้าที่ได้ดีกว่านี้คนคงไม่แห่กันมาที่นี่อย่างนี้หรอก


Posted by : vivi , Date : 2004-01-16 , Time : 17:21:03 , From IP : 172.29.3.93

ความคิดเห็นที่ : 23


   เอ่อ...คิดว่ามันเป็นความน่าเชื่อถือของโรงพยาบาล..เขาไม่สบาย..ถามว่าทำไมถึงไม่ไปใกล้บ้างก่อน..เขาตอบกลับมาว่าเขาไม่กล้าไป...เขากลัวตาย...แต่เขาไม่รู้ว่าสภาพ ERหลังเที่ยงคืนและตอนเช้าเหมือนเกิดสงคราม..สภาพหมอหลังเที่ยงคืนเป็นตายเท่ากันและถ้ารักษาให้เขาพลาด..ตายแน่ๆเพราะความคาดหวังเขาสูง...ทั้งถูกฟ้อง..ทั้งถูกว่าในตอนเช้า...ทั้งรู้สึกผิด...แต่คนที่อยู่เป็นคนที่ประสพการณ์น้อยที่สุด...เลิกเขียนต่อแล้ว..นะครับ..ยิ่งคิดยิ่งหนักใจ

Posted by : นะครับ.... , Date : 2004-01-16 , Time : 17:56:23 , From IP : 172.29.3.229

ความคิดเห็นที่ : 24


   ......ยกมือสนับสนุนพี่ Dhan ด้วยอีกคนครับ.....
.......เออ....ว่าแต่พี่ Dhan...แล้วรูป Dr Cid หายไปไหนแล้วหละครับ....:D..:D



Posted by : Death , Date : 2004-01-16 , Time : 23:17:20 , From IP : 172.29.3.249

ความคิดเห็นที่ : 25


   คุณ Dhan วิเคราะห์ได้เกือบครบองค์แล้วครับ เหลือตอนสรุปมองให้รอบ เห็น options ความเป็นไปได้ทั้งหมด และสรุปเป็น constructive criticism ให้ได้ จะเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณเองมาก



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-17 , Time : 09:59:18 , From IP : 172.29.3.202

ความคิดเห็นที่ : 26


   คือว่าอย่างนี้นะ ผมเห็นงานที่ ER มันยุ่งจัง คนไข้ด่วนก็มี คนไข้ไม่ด่วนก็รอ หมอเวรมีน้อย ประสบการณ์ก็น้อย เลยว่าเราน่าจะสกรีนคนไข้บ้าง ไม่ใช่เป็นห้องตรวจนอกเวลา อย่าบอกนะว่าข้างนอกก็มี ถ้าตั้งโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์แล้วยังทำอะไรย่ำอยู่กับที่เหมือนโรงพยาบาลข้างนอกก็ไม่ต้องมีโรงเรียนแพทย์ให้เปลืองงบหรอก
แล้วก็นะ เห็นเสนอความเห็นกันดีเหลือเกิน ถามคุณ Phoenix หน่อย ทำไมอาจารย์แพทย์โดยเฉพาะศัลย์ Med ไม่ไปลงประจำ ER เลยล่ะ ปล่อยคนไข้ฉุกเฉินไว้กับหมอประสบการณ์น้อย คุณห่วงคุณภาพโรงพยาบาล ห่วงคนไข้ หรือห่วงตัวเองกันแน่


Posted by : Ikarus , Date : 2004-01-17 , Time : 12:36:14 , From IP : 172.29.3.107

ความคิดเห็นที่ : 27


   ประการแรก ผมไม่อยากให้กระทู้นี้หรือกระทู้ไหนๆกลายเป็นการถกกันระหว่างบุคคลหรือของใครโดยเฉพาะ กระดานนี้เป็นกระดานสาธารณะ ขอให้คงความเป็นสาธารณประโยชน์ และความสนใจของสาธารณะต่อไป เมื่อไหร่ก็ตามกระดานสาธารณะถูกนำมาอภิปรายเรื่องส่วนตัว หรือเจาะจงที่ตัวบุคคล เราอาจจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ abuse สาธารณูปโภคอยู่

ประการที่สองจากที่เสนอมาข้างบน มีประเด็นที่น่าสนใจข้อข้อหนึ่งคือการที่ได้มีรการประเมินว่าโรงพยาบาลเรา "ย่ำอยู่กับที่" สาเหตุที่น่าสนใจเพราะว่า การประเมินการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงนั้น เราจำเป็นต้อง "รู้" สถานการณ์ทั้งหมดของปัจจุบัน และมร real-time measurement ของสถานการณ at a time จึงจะบอกได้ถึงการเปลี่ยน (และไม่เปลี่ยน หรือย่ำอยู่กับที่ที่ว่า) เท่าที่รู้ ในปัจจุบัน เรายังห่างไกลจากมีข้อมูลครบ แต่ถึงขนาดนั้นผมว่าเราพอจะพูดได้ว่าคณะแพทย์ และโรงเรียนแพทย์มีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก ดังนั้นเห็นได้ชัดว่า parameters ที่เราใช้เป็น references นั้นต่างกัน

ประการที่สามหลายเดือนก่อนผมเห็นตาราง rotation ของอาจารย์ไปสอนนักศึกษาที่ ER ผมจึงชักไม่แน่ใจเรื่อง resource ของคุณ Ikarus ว่า updated ขนาดไหน อาจจะเป็นเพราะการ "ไม่ได้ประจำ" ไม่อยู่ใน criteria อันนี้คิดว่าพอจะขยายบริบทออกอธิบายได้ดังต่อไปนี้

โดย Functional ของสถาบันแห่งนี้ อาจารย์แพทย์เป็น ASSET นั่นคือ tool ที่สำคัญในการยังกิจในบรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจ โรงพยาบาลและคณะต่องการ "ผลิตผลต่อชั่วโมง" จากเวลาทำการของ asset เหล่านี้ในอยู่ในระดับ optimal หรือใกล้เคียง optimal ทีนี้ก็มาถึงการตีความคำว่า optimal ว่าเป็นอย่างไร ในหนึ่งชั่วโมงครึ่ง อาจารย์สอนจริยธรรมในนักศึกษาแพทย์ 15 คน กับตรวจคนไข้ตามลักษณะการกระจายที่คุณ Ikarus ได้กรุณา list มา 10 คน ประการไหนจะมี impact มากกว่ากันอะไรทำนองนี้แหละครับ นั่นคือการ incorporate duty คือ "สอน บริการ และวิจัย" อยู่ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้การทำงานไม่ว่าอย่างไหน "บริบท" จะมีผลต่อ effectiveness ตลอดเวลา ถ้าการสอนแสดงทำในสภนการณ์ลวกๆ การสื่อสารหรือสิ่งที่จะถ่ายทอดแก่นักศึกษาแพทย์ก็จะลดลง ดังนั้นบริบทจึงบ่งชี้ว่าควรจะไปจัด ณ ที่ที่เราควบคุมเรื่องคุณภาพ ส่วนในบริเวณที่โรงพยาบาลจัดการเรื่องอื่นๆ นั่นถึงได้มรการแสวงหาแพทย์ทั่วไปด้วยมาตรการต่างๆมาเสริม

เป็นที่น่าสนใจว่าก่อนที่เราจะประกาศว่าบุคลกรประเภทไหน ท่านใดไม่ได้ทำงาน หรือทำเพราะเห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ส่วนรวมนั้น ได้มีการทำ research มามากน้อยแค่ไหน ก่อนจะทำการสรุปและประณามในที่สาธารณะต่ออาจารย์แพทย์ทีละสองภาควิชาอย่างที่ได้ทำลงไป ตรงนี้อยากจะขอความกรุณาขยายผลการวิจัย วิเคราะห็ดังกล่าวเพิ่มเติม ก็จะเป็นพระคุณอย่างสูง



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-17 , Time : 16:20:34 , From IP : 172.29.3.243

ความคิดเห็นที่ : 28


   เฮีย..นกอภิปรายได้สวยหรูมาก....เอ...เดือนนึงเฮียไปที่ ER กี่ครั้ง..นะครับ...ผมอยากให้เฮียไปดูให้เห็นและยอมสละเวลานั่งดูตอนกลางวันสักหน่อย..นะครับ

Posted by : นะครับ.... , Date : 2004-01-17 , Time : 22:39:12 , From IP : 172.29.3.213

ความคิดเห็นที่ : 29


   ผมคิดว่าไม่เคยมีอาจารย์แพทย์ท่านไหนปฏิเสธว่าเราไม่มีปัญหาในเรื่องการพัฒนา ER หรือที่อื่นๆในโรงพยาบาลเลย ไม่ว่าจะบนกระดานอภิปรายสาธารณะแห่งนี้ที่ใครก้ได้สามารถแสดงความเป็นอัจฉริยะในการบริหาร หรือในที่ประชุมคณะระดับต่างๆ

เพียงแต่สิ่งที่อาจจะต่างกันอยู่บ้างคือ ๑) ข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบ ๒) ภาษาที่ใช้ และ ๓) เจตคติในการสร้างสรรค์

ผมเชื่อว่าคุณนะครับมีข้อมูลเพิ่มเติม อยากจะขอความเห็นและแนวทางแก้ไขภายใต้เงื่อนไขที่เป็นไปได้มาฟังดูบ้าง เชื่อว่าคนที่มีทัศนคติในทางสร้างสรรค์อย่างคุณนะครับ ย่อมมีความเห็นที่มีประโยชน์ต่อพวกเราให้ได้ share กันอย่างแน่นอน



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-17 , Time : 22:59:53 , From IP : 203.155.144.22

ความคิดเห็นที่ : 30


   ทุกวันนี้การต้องไปอยู่เวร ER กลายเป็นทุกข์ไปแล้วล่ะ..ไม่ชอบเลยจริงๆ

Posted by : หมอเวรmed , Date : 2004-01-18 , Time : 00:10:59 , From IP : 172.29.3.207

ความคิดเห็นที่ : 31


   เรียน อาจารย์และพี่ๆแพทย์ครับ

ตอนนี้ผมอยู่ในช่วง elective โดยเลือกลงที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรุงเทพฯ กองอุบัติเหตุและฉุกเฉิน มีผู้ป่วยมาที่ห้อง ER วันละ 150 คน เดือนละ 4000 กว่าคน ผมอยากนำข้อเท็จริงมานำเสนอและอยากให้พี่ๆและอาจารย์วิเคาระห์ว่า ที่นี่เขามีระบบการทำงานในห้อง ER ที่เหมือนและแตกต่างจากของเราอย่างไรครับ

1. ที่นี่มีหลักการณ์ 3 ข้อสำคัญ ซึ่งเป็นหลักการณ์ที่อาจารย์บุญเลิศ ได้กล่าวเอาไว้ว่า
- ผู้ป่วยที่มาทีห้องฉุกเฉินทุกคน คือ "ผู้ป่วยฉุกเฉิน"
- ขอให้ถือ cheif complaint เป็นปัญหาหลัก และคิดถึงความเป็นไปได้ที่รุนแรงที่สุดก่อน แล้วค่อยๆตัดความเป็นไปได้ดังกล่าวออกด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และ investigate ที่สำคัญ
- จะ D/C ผู้ป่วยออกจาก ER ก็ต่อเมื่อ cheif complaint ของผู้ป่วยได้รับการแก้ไขแล้ว

2. ที่นี่มีระบบการจัดการผู้ป่วยโดยมีพยาบาลเป็นผู้ screen ผู้ป่วยว่า มีปัญหาเร่งด่วนในระดับไหน 1 สีแดง 2 สีเหลือง 3 สีเขียว โดยดูจาก cheif complaint และ pain score เป็นสำคัญ โดยแพทย์ ER ต้องจัดการกับผู้ป่วยในระดับ 1 ให้หมดเสียก่อน จึงจะมาจัดการกับระดับ 2 และ 3 ตามลำดับ โดยกำหนดเวลาของการจัดการไว้ดังนี้
- ระดับ 1 ต้องจัดการผู้ป่วยภายในเวลา 4 นาที นับตั้งแต่เข้ามาในห้อง ER ผู้ป่วยเหล่านี้ เข่น arrest , alteration of conscious , seizure , shock เป็นต้น
- ระดับ 2 ต้องจัดการผู้ป่วยภายในเวลา 30 นาที เช่น abdominal pain , minimal truama เป็นต้น
- ระดับ 3 ต้องจัดการผู้ป่วยภายในเวลา 2 ชั่วโมง
ฉะนั้น ที่ห้องฉุกเฉินจะจัดความฉุกเฉินเป็นความสำคัญอันดับ 1 ก่อนจะคิดถึงลำดับก่อนหลัง ผู้ป่วยฉุกเฉินน้อยรอได้ก็ควรรอไปก่อน

3. มีป้ายขนาดใหญ่ติดอยู่ที่หน้าห้อง ER มีเนื้อความว่า ผู้ป่วยที่มีอาการเช่นใดที่ถือว่ามีอาการฉุกเฉิน ถ้าไม่เข้าข่ายคุณก็ต้องยอมรับไว้ว่า คุณต้องรอ(ตามหลักการณ์ว่า ผู้ป่วยทุกคนฉุกเฉิน ขึ้นกับว่า ฉุกเฉินมากฉุกเฉินน้อย ไม่ไล่ผู้ป่วยกลับแน่นอน)

4. ที่นี่มี staff ที่เป็น specialist มาประจำอยู่ทุกวัน วันละ 3-4 ท่าน โดยสลับกันเวรละ 4 ชั่วโมง เช้า 2 บ่าย 2 มี resident ทั้ง med , surg , fam med มารับผิดชอบ รวมทั้งจัดเวร quick consultant (ภายใน 30 นาที ตั้งแต่โทรติดต่อ)ให้กับ staff และ resident ปีสูงๆ ให้มาคอยดูแล case ที่ ER จัดการไม่ได้

5. เนื่องจากที่นี่ จัดระบบมาเพื่อรองรับ mass casualty เช่น เหตุเครื่องบินตก(ที่นี่อยู่หลังดอนเมือง) จึงอาจไม่เหมาะสมสอดคล้องกับระบบจัดการในสงขลานครินทร์ ตรงจุดนี้อาจต้องมีการวิเคาระห์ถึงข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดต่างๆของเรา

*หมายเหตุ*
1. เนื่องจากผมฝึกงานเฉพาะช่วงเวลาราชการ จึงไม่สามารถให้ข้อมูลในระหว่างเวรนอกเวลาราชการได้ แต่ประมาณว่า staff จะอยู่เฉพาะในเวลาราชการ ส่วนนอกเวลาจะเป็น resident อยู่กันเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยจะมีแพทย์เวร ER อย่างน้อย 5 ท่าน
2. ผมไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ ระบบในหอผู้ป่วย รวมถึงระบบที่ OPD นะครับ จึงไม่ทราบระบบการจัดการที่เกี่ยวเนื่องระหว่าง ER-OPD-ward ซึ่งผมคิดว่า นี่ก็อาจเป็นจุดสำคัญอย่างหนึ่ง ในการจัดการระบบ
3. เนื่องจากผมเป็นเพียงนักศึกษาแพทย์ หากข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงบางอย่างมีความผิดพลาด ต้องกราบขออภัยอาจารย์ พี่ๆแพทย์ และผู้อ่านกระทู้ทุกท่านด้วยความเคารพ ณ ที่นี้ด้วยครับ

ขอบคุณครับ


Posted by : โบทซึมุ , Date : 2004-01-18 , Time : 00:53:34 , From IP : 203.170.158.220

ความคิดเห็นที่ : 32


    ที่ รพ. จุฬา จะแบ่งเป็น OPD นอกเวลา 1 ส่วน
ER 1 ส่วน
OPD จะเปิด 16.00 ถึง 24.00 น. มีส่วนที่ตรวจผู้ใหญ่ และเด็ก
ผู้ใหญ่เป็น resident จากหลายๆ แผนกมาวนเปลี่ยนกันตรวจ screening
ส่วนเด็กเป็น resident เด็ก

ในส่วนของ ER เป็น trauma และ non-trauma
trauma จะเป็น resident ศัลย์ และ แผนกอื่นๆ มาวนกันอยู่
ส่วน non trauma จะเป็น resident med อยู่ตลอก

หลัง 24.00 น. คนไข้ทีมาใหม่ เข้าไปตรวจที่ non trauma
หากเป็น คนไข้แผนกไหน ก็ consilt caseแผนกนั้นไปครับ


Posted by : M.tussive , Date : 2004-01-18 , Time : 09:14:56 , From IP : proxy1.chula.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 33


   .......เอาเข้าจริงๆ Trauma ของจุฬาหลังเที่ยงคืนบางทีไม่มีคนไข้เลย....หรือมีสองสามคน....เพราะพวก Case คดี.....หรือพวกหนักไม่มากบางส่วนมักจะไป รพ ตำรวจที่อยู่ใกล้ๆมากกว่า.....ส่วน Non-trauma ก็คล้ายๆตลาดตลอดทั้งคืนนั้นหละครับ.....ที่นี่อาจจะเอามาใช้พอได้....แต่คงไม่ Work ในส่วนของ Non-trauma เพราะคงไม่ต่างกะอะไรที่มีอยู่ตอนนี้เท่าไรนัก.....ผมว่าเราเปลี่ยนยากครับ.....ไม่งั้นก็ต้องโละใหม่หมด.....แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าโละแล้วจะดีหรือเปล่าด้วย....:D...:D.....แต่ผมไม่ค่อย Happy ที่เห็นหลังเที่ยงคืนมีหมอเวรแค่คนเดียวครับ....น่าจะมีสองคนครับ....เป็นอย่างน้อย.....แต่บางคนก็ว่า....มีแล้วก็แบ่งกันไปนอน.....ผมว่าก็ยังดี....เพราะเวลามันยุ่งแล้วคนเดียวไม่พอเนี่ย....มันน่าสงสารคนที่อยู่ครับ.....ไม่เคยเจอมากับตัว....ไม่เคยมาอยู่เอง....ก็พูดไปเรื่อยเปือยได้ครับ....เฮ้ออออออออออ........



Posted by : Death , Date : 2004-01-18 , Time : 23:21:34 , From IP : 172.29.3.242

ความคิดเห็นที่ : 34


   วันหนึ่งนานมาแล้วไปใช้บริการที่แผนกนี้สังเกตมีแต่คนไข้ที่นอน observe ทั้งนั้น จนท.ก็ทำงานไปเรื่อยๆ..... ญาติเราตกกระได x-ray กระดูกเท้าแตก ไปตั้งแต่4ทุ่มไปถึงก็ x-ray แต่ได้กลับตี2กว่า ใช้เวลาเข้าเฝือกไม่ถึงครึ่งชม. แถมได้ Valium iv เป็นของแถมอีก (หมอสั่งแค่ mo.เท่านั้น)

Posted by : ae , Date : 2004-01-22 , Time : 00:58:42 , From IP : 172.29.3.176

ความคิดเห็นที่ : 35


   คงเป็นกรรมของฉันเอง ที่ต้องมาทำงานที่ห้องฉุกเฉินที่มีแต่การเกี่ยงงานกัน



Posted by : ซาดาโกะ , Date : 2004-01-24 , Time : 15:47:22 , From IP : 172.29.3.244

ความคิดเห็นที่ : 36


   คงเป็นกรรมของฉันเอง ที่ต้องมาทำงานที่ห้องฉุกเฉินที่มีแต่การเกี่ยงงานกัน



Posted by : ซาดาโกะ , Date : 2004-01-24 , Time : 15:50:51 , From IP : 172.29.3.244

ความคิดเห็นที่ : 37


   เบื่อ.....เหมือนกัน









Posted by : .... , Date : 2004-01-25 , Time : 11:58:40 , From IP : 172.29.3.232

ความคิดเห็นที่ : 38


   คนใน er ไม่เคยเกี่ยงงานทำงานกันหามรู่งหามค่ำมาตลอดด้วยระบบของ ร.พ.
มันทำให้คนเหนื่อยล้ากันมากในปัจจุบันมาดูได้เลยว่าแต่ละเดือนมีคนลาออก
กันตลอดด้วยระบบการทำงานมีความกดดันมากๆเครียดมากและลักษณะของ
คนไข้(คนใต้)อารมณ์รุรแรงพอควรแม้บางคนอธิบายดีแค่ใหนก็ไม่ except
ระบบ ER ปัจจุบันมีระบบ SCREENเช่นร.พทั่วไปและไม่ปฏิเสธคนไข้
เช่นกันแต่ต้องรอตามระบบเช่นกัน


Posted by : หวัดนก , E-mail : (1235) ,
Date : 2004-02-08 , Time : 23:40:02 , From IP : 172.29.1.206


ความคิดเห็นที่ : 39


   ถ้าเปลี่ยนได้ก็ดีเหมือนกัน ทุกวันนี้ทำงานไปเหมือนหนังหน้าไฟ.....
ออกไป sgreen case ด้านหน้า ผู้ป่วยที่รอนานมองเป็นเป้านิ่ง บางครั้งก้อไม่พอใจ อธิบายเสียงแหบเสียงแห้งทุกวัน เรียกผู้ป่วยเข้ามาตรวจถ้าวันไหนโชคดีเจอแพทย์เวรที่ดี เก่ง ตรวจเร็ว ก็ดี.... วันไหนเจอที่ตรงกันข้าม ขี้เกียจ เกี่ยง case ชีวิตวันนั้นก้อเศร้า โดนว่าอีกต่างหาก "เรียกเข้ามาทำไม ไม่ว่าง" เครียดทั้งวันกว่าจะหมดไปในแต่ละเวร..


Posted by : ..... , Date : 2004-02-24 , Time : 19:55:26 , From IP : 172.29.3.243

ความคิดเห็นที่ : 40


   ถ้าป่วยคนนั้นเป็นญาติคุณ คุณจะตรวจให้หรือไม่
เพียงแต่ผู้ป่วยไม่ใช่ญาติหมอ / พยาบาล ถึงได้คิดกันแบบนี้


Posted by : ขอความเห็นใจ , Date : 2004-04-10 , Time : 10:29:06 , From IP : 172.29.3.250

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.015 seconds. <<<<<