ความคิดเห็นทั้งหมด : 9

แนะนำข้อควรปรับปรุงของห้องสมุดคณะแพทย์


   1. วันเสาร์ควรเปิดให้นานกว่านี้ ส่วนวันอาทิตย์จะปิดแบบเดิมก็ได้ไม่ว่ากัน เจ้าหน้าที่จะได้ไปพักผ่อน เพราะปัจจุบัน วันเสาร์ห้องสมุดปิดเร็วมาก (16.00) หลายๆครั้งกว่าจะดูคนไข้เสร็จ หรือเลิกจากเวร ปลีกตัวลงมาได้ก็เย็นมากแล้ว ส่วนในวันธรรมดาถึงแม้จะปิดดึก ก้ไม่สามารถมาใช้บริการได้สะดวกนัก เพราะกว่าจะเลิกราวด์ตอนเย็น + รับคนไข้ใหม่ก็ดึกและหมดแรง ไปห้องสมุดไม่ไหว คิดว่าการที่ให้ห้องสมุดเปิดให้นานขึ้นในวันหยุดน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจที่มาไม่ได้ในวันธรรมดามากขึ้นครับ แต่อาจต้องรบกวนพี่ๆที่ห้องสมุดทำงานหนักขึ้น ต้องขออภัยมา ณ.ที่นี้ด้วยครับ
2. ค่าปรับหนังสือที่คืนไม่ตรงตามกำหนด อยากให้งดเว้นการคิดในวันหยุดที่ห้องสมุดไม่เปิดให้บริการด้วยครับ เพราะคิดว่าไม่ยุติธรรมกับผู้ใช้บริการ เนื่องจากไม่สามารถมาคืนหนังสือได้ในวันนั้นๆครับ ยกตัวอย่างช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา ผมต้องคืนหนังสือในวันที่ 31/12/46 แต่มาคืนไม่ทันเพราะต้องเข้า OR emerg. กว่าจะออกมาก็เกือบห้าทุ่มแล้ว ผมเลยต้องจ่ายค่าปรับยาวเลยเพราะห้องสมุดไม่เปิด ร้านหนังสือข้างนอกมอ.เค้าก็ไม่คิดเงินวันที่ร้านปิดเหมือนกันครับ
3. ร้านถ่ายเอกสารในห้องสมุด ในบางเวลาไม่สามารถรองรับผู้ช้บริการได้อย่างทั่วถึงครับ ครั้งหนึ่งผมไปห้องสมุดก่อนเวลาปิดตามปกติประมาณ 1ชม.กว่าๆเห็นจะได้ กว่าจะหาหนังสือที่ต้องการได้ก็เสียเวลาพอสมควร เอาไปรอเข้าคิวถ่ายเอกสารเกือบ 20 นาที จนเหลืออีกประมาณ 2-3 คน (รวมผมด้วย) ก็ถึงเวลาที่ห้องสุดจะต้องปิด เค้าก็ปิดเลยทันที ไม่มีการอลุ้มอล่วยให้คนที่เข้าคิวอยู่เลย ให้เหตุผลว่ามีการตัดไฟตรงเวลา ทำให้คืนนั้นผมไม่ได้หนังสือที่ต้องการ ผมคิดว่าอยากให้มีการแก้ไขที่จุดนี้ครับ เพื่อให้ห้องสุดเป็นที่ที่พวกผม สามารถค้นคว้าหาข้อมูล และเอาไปทำประโยชน์ต่อคนอื่นได้อีกครับ ขอบคุณครับ


Posted by : คนรักห้องสมุด , Date : 2004-01-10 , Time : 17:08:56 , From IP : 172.29.3.217

ความคิดเห็นที่ : 1


   ผมขออนุญาติแสดงความคิดเห็นนะครับ ขอเน้นเป็นความคิดเห็นนะครับ

จริงๆแล้วห้องสมุดไม่ควรมีเวลาปิดนะครับ ควรเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่พอก็รับเพิ่มสิครับ แล้วแบ่งออกเป็นผลัด ในระยะแรกอาจทดลองแค่เที่ยงคืนก่อนก็ได้นะครับ แต่โดยทั่วไปแล้วเห็นด้วยในหลักการว่าน่าจะขยายเวลาทำการออกไปให้มากกว่าเดิมอีก
อ้อ electronic library นะไม่ได้ work ทุกอันนะครับ บาง journal เข้าไม่ได้นะครับ บาง journal เข้าได้แต่ไม่มีรูปไม่มีตาราง(คือต้องเข้า hypertext แล้ว print แยกต่างหาก) format เปลี่ยนไปจากที่เคยอ่าน ก็พยายามปรับตัวอ่านแต่ตัวหนังสือโดยไม่ต้องดูรูปก็ไม่ค่อยจะได้เรื่องเท่าไร คือไม่ได้ไม่เห็นด้วยที่จะพัฒนาอะไรทุกอย่างเข้าไปใน internet ให้หมดแต่ค่อยๆได้ไหมครับ ลองดูว่า infrastructure ของเรารองรับได้แค่ไหนด้วย ผมคิดว่า hard copy ก็ยังอาจจำเป็นอยู่ ลองคิดดูดีๆนะครับถ้าระบบ computer ล่ม แล้วเราจะทำอย่างไร อย่าบอกว่าเป็นไปไม่ได้นะครับ เพราะขนาด yahoo ที่ว่าแน่แล้วยังล่มได้ถึงแม้จะเป็นเวลาไม่นานก็ตาม แต่ก็ทำให้เห็นได้ว่า ระบบพวกนี้ manipulate ได้

เรื่องค่าปรับนะเป็นความรับผิดชอบของผู้ยืมนะครับ ไม่ควรนำเหตุผลอื่นๆมาอ้าง

เรื่องถ่ายเอกสารนั้นเห็นด้วยเช่นกันว่าควรปรับปรุง ผมเองก็ต้องไปยืนรอคิวบ่อยๆ ครั้งละนานๆด้วยครับ มันเป็นปัญหามาตั้งแต่เริ่มมีเครื่องถ่ายเอกสารเข้าไปตั้งในห้องสมุดแล้วละครับ ยังไม่นับรวมถึงคุณภาพของการถ่ายฯนะครับ


Posted by : LIONKING , Date : 2004-01-11 , Time : 08:51:16 , From IP : 172.29.1.211

ความคิดเห็นที่ : 2


   เรื่อง service นั้น พวกเราคุ้นเคยกับการที่มีคนทำอะไรต่อมิอะไรให้ค่อนข้างมาก ประกอบกับแรงงานเราเหลือเฟือหรืออย่างไรไม่ทราบ เราเลยมีข้อสรุปว่าเป็นเรื่องปกติ

เคยเห็นระบบบริการตนเองในห้องสมุดหลายแห่ง ใช้ card มูลค่าต่างๆเช่น 50-100 แผ่นสอดเครื่อง แล้วก็ xerox กันเอง ไม่มีคนทำให้ ผลก็คือคนจัดระบบคิวกันเองและหมดปัญหาเรื่องต่อว่าคุณภาพการ xerox ที่สำคัญคือเข้าใจระบบคิวและปัญหาที่กิดขึ้นเวลาทำงานด้วยตนเอง ความรู้สึกว่าคนอื่นทำงานช้าหรือทำงานชุ่ยๆไม่ดีลดลงไปได้

วันหยุดนั้นผมเข้าใจว่าเป็นกฏหมายแรงงานที่ใช้กันทุกประเทศ การทำงานสอกเวลาก็เป็นเรื่องที่ควรสนุบสนุนแต่ก็ไม่สามารถจะบังคับให้ใครมาทำ ผลก็คือ overtime period อาจจะดำเนินการโดย part-time staff ที่ไม่ใช่มืออาชีพ (ที่ทำงานมา 5 วันครึงหรือหกวันแล้วอยากจะพักผ่อนบ้าง) ซึ่งก็จะทำให้งาน service ช่วงพิเศษเหล่านี้อาจจะไม่เท่ากับช่วงเวลาราชการปกติ คนที่ทำงาน full-time มาแล้วทั้งอาทิตย์และมีครอบครัวสามารถจะนึกถึงความรับผิดชอบด้านอื่นและใช้ quality time กับครอบครัวอาทิตย์ละวันนั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจกันได้

ระบบ internet หรือ online fulltext journal นั้นช่วงแก้ปัญหาหลายด้าน รวมทั้งการรอ xerox แต่การสมัครเป็นสมาชิก fulltime แต่ละ service นั้นราคาเป็นล้านๆบาทต่อปี สถาบันที่มี input และ output จากการใช้ resource ต่างๆเหล่านี้และคิดว่าคุ้มก็จะลงทุน สถาบันที่ต้องบริหาร budget และพบว่าคนใช้ Internet หรือ resource ส่วนใหญ่ไม่ได้สร้างผลิตผลงานแก่คณะ ก็จะหาเงินมาลงทุนยาก เพราะไม่คุ้มค่า ถ้าพวกเรายืม journals กันเยอะๆ มีผลงานวิจัยออกมา มีการใช้ references ที่มีอยู่ในปัจจุบันจนกระทั่งยอดการใช้อิ่มตัว ก็น่าจะเป็น Indicator บ่งบอกว่าเราน่าจะหาของมาเพิ่มเติม หรือลงทุนมากขึ้นตามการใช้งาน



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-11 , Time : 15:11:25 , From IP : 172.29.3.222

ความคิดเห็นที่ : 3


   ที่อยากให้ปรับปรุงคือ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด ที่ถ้าอารมณ์ดีก็ดี ถ้าอารมณ์ไม่ดีก็หน้าเป็นตูด แถมโดนว่า อีก เซ็งเลย

Posted by : ลิลลี่ , Date : 2004-01-11 , Time : 15:24:57 , From IP : 172.29.2.145

ความคิดเห็นที่ : 4


   ขอข้อเสนอแนะว่าทำอย่างไรเราจะสามารถคัดเลือกเจ้าหน้าที่ (เวลาสัมภาษณ์) ว่าเวลาอารมณ์ไม่ดีหน้าจะไม่เป็นตูดครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-11 , Time : 20:23:04 , From IP : 172.29.3.208

ความคิดเห็นที่ : 5


   โห คุณ lionking

ห้องสมุดนะไม่ใช่ 7-11 จะให้เปิด 24 ชม.
ผมว่าไม่ต้องขนาดนั้นหรอก
เรื่อง copy น่าจะลองวางเครื่อง self service แบบPhoenix ว่า


Posted by : the kop , Date : 2004-01-13 , Time : 17:46:03 , From IP : 172.29.3.111

ความคิดเห็นที่ : 6


   เจ้าหน้าที่ห้องสมุดยิ้มเป็นไหม???????
หน้าบึ้ง ..กิริยาก็น่ากลัว...จะยืมหนังสือแต่ละที กล้าๆกลัวยิ่งวันไหนไม่ได้เอาบัตรไป(แต่จำรหัสได้) ยิ่งไม่ค่อยกล้า


Posted by : oReGoN , Date : 2004-01-13 , Time : 19:12:18 , From IP : 172.29.3.100

ความคิดเห็นที่ : 7


   เรื่องยิ้มรับแขกนี่ดูเป็นเงื่อนไขสำคัญกันมากเลยนะครับ เห็นด้วยว่าถ้ามีก็ดี แต่ไม่น่าจะเป็นปัจจัยถึงกับขัดขวางงาน

ในอนาคตที่พวกเราจะเป็นหมอกันนั้น คนที่เราเจอะเจอ ไม่เพียงแต่อาจจะไม่ยิ้มหวานให้ แต่จะโอดโอย โวยวาย ดิ้นรน ด่าทอ เลือดท่วมตัว เมา อ้วกรด บวกกับญาติที่อาจจะมีคุณสมบัติทั้งหมดข้างต้นเพียงแต่ยังแข็งแรงดีอยู่ คอยถามเราทุกอิริยาบถว่าทำอะไรอยู่ ญาติเขาเป็นไงบ้าง ปฏิกิริยาที่เราตอบรับนั้นคงไม่ใช่ "กลัว" หรือถอยหนีไปตั้งหลัก แต่ต้องยังคงปฏิบัติงานตามปกติแบบมืออาชีพ และคงจะไม่งามหากมาบ่นทีหลังว่าไอ้คนไข้คนดีมันไม่ยิ้ม ไม่พูดจาไพเราะกับเรา หน้าตาน่ากลัว ไม่น่ารักษา ฯลฯ อะไรทำนองนั้นใช่ไหมครับ

น้องจะเป็นแพทย์ที่ประสบความสำเร็จ น้องต้องเข้าใจธรรมชาติมนุษย์ ต้องเข้าใจความแตกต่างของคน และเหนืออื่นใดเคารพความเป็นปัจเจกบุคคล ความเป็น professionalism นั้น หมายความว่าเราสามารถทำงานตามหลักการและหลักปรัชญากับผู้ป่วยทุกคน กับเพื่อนร่วมงานทุกระดับ ถ้าเมื่อไรก็ตามแพทย์มีความ "insecure" และหมดความมั่นใจในตัวเอง ก็จะมีปัญหาในการปฏิบัติงานในที่สุด แทนที่จะปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ ก็เปลี่ยนเป็นเรียกร้องหาสถานการณ์ให้ปรับเข้ากับตัวเองแทน ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วมันไม่เกิดหรอกครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-13 , Time : 20:25:13 , From IP : 172.29.3.216

ความคิดเห็นที่ : 8


   ค่าปรับหนังสือปรับปรุงตามเจ้าของกระทู้ว่าจะดีครับ เห็นใจๆ

Posted by : เหอๆๆ , Date : 2004-01-14 , Time : 21:16:56 , From IP : 172.29.4.237

ความคิดเห็นที่ : 9


   ไม่ทราบว่าตอนนี้กฎการแต่งตัวเวลาเข้าห้องสมุดยังเหมือนเดิมรื้อเปล่า ถ้าเป็นอยู่มันน่าจะเปลี่ยนๆซะที ไม่สร้างสรรค์เอาซะเลย ที่ให้ผู้หญิงที่ใส่กระโปรงเท่านั้นที่เข้าห้องสมุดได้ ไม่ว่ากระโปรงจะสั้นจุดจู้ขนาดไหน ในขณะที่คนใส่กางเกงสามส่วนที่เกือบยาวถึงตาตุ่มอยู่แล้วเข้าไม่ได้ด้วยเหตุผลที่ว่ากฏบอกว่าใส่กางเกงขาสั้นห้ามเข้า ถ้ามันสั้นจริงๆแบบเหนือเข่าเห็นขาอ่อนหนะมันก็น่าอยู่หรอก แต่เนียมันเป็นกางเกงสามส่วนปกปิดมากกว่ากระโปรงบางตัวซะอีก มันไม่สุภาพตรงไหนเหรอ? กฏทุกอย่างมันต้องมีเหตุผล ไม่ใช่สักแต่ว่ามันคือกฏต้องทำตามกฏ ใส่กางเกงไม่ถึงตาตุ่ม หัวเด็ดตีนขาดก็ไม่ให้เข้า ไร้ความคิดสิ้นดี

Posted by : The rain , Date : 2004-01-31 , Time : 12:12:51 , From IP : 172.29.3.254

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<