ความคิดเห็นทั้งหมด : 2

ค่าเวร


   เรียน...ผู้ที่เกี่ยวข้อง
อยากให้มีมาตรฐานในการจ่ายค่าเวรหน่อย งานเหนื่อยหนัก แต่ผลตอบแทน.... ยังเชื่ออยู่เสมอ ว่ามีมาตรฐานระดับ HA TQA ฯลฯ มันคงต้องทั้งหมดไม่ใช่ในรพ. อย่างเดียว



Posted by : บวบเองคับ , Date : 2010-10-28 , Time : 14:12:18 , From IP : 172.29.9.52

ความคิดเห็นที่ : 1


    ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ครับ (แต่ขอบอกก่อนว่าผมเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่าย IT ครับ)
1. ข่าวแรกคือ ฝ่าย IT ได้พัฒนาโปรแกรมงานคลังใหม่ (จากระบบ DOS เป็น Windows)
ซึ่งเริ่มใช้งานตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2553 (คาดว่ามีส่วนที่ทำท่านได้รับเงินค่าเวรช้าครับ)
การลงระบบงานคลังใหม่คงใช้เวลา 1-2 เดือน ระบบถึงจะเข้าที่ทั้งคนและSoftware
2. การได้รับค่าเวรช้าหรือเร็ว อาจมาจากปัจจัยดังนี้ด้วยครับ
2.1 หน่วยงานส่งเอกสารเบิกค่าอยู่เวรหรือค่าล่วงเวลาให้งานคลังเร็วหรือไม่
- สำหรับหน่วยงานผม ขึ้นเดือนใหม่เราส่งเลยครับ จะได้รับเงินโอน
ประมาณวันที่ 9-15 ของเดือน
* ถามธุรการหน่วยงานว่าส่งเมื่อไหร่ เทียบกับเงินที่งานคลังโอนวันที่เท่าไหร่
2.2 เอกสารที่ส่งเบิกให้งานคลังมีข้อผิดพลาดหรือไม่ เช่น คำนวณเงินค่าเวรผิด เอกสาร
จะถูกส่งกลับมาให้หน่วยงานแก้ไข ก็จะได้เงินโอนช้าไปด้วยครับ
3. การใช้โปรแกรมบันทึกเวลาเข้า/ออกการทำงานและคำนวณค่าอยู่เวร/ค่าล่วงเวลา
3.1 แนวคิดที่ทำโปรแกรมนี้ คือ
- งานคลังก็อยากจะโอนเงินให้หน่วยงานโดยเร็ว แต่ปัญหาคือ เอกสารเบิก
ค่าอยู่เวร/ค่าล่วงเวลา มีความผิดพลาดต้องส่งกลับหน่วยงานแก้ไขมากพอควร
(งานคลังต้องตรวจเอกสารอย่างละเอียดว่าถูกต้องก่อน ถึงจะโอนเงินได้)
- มีการหาปรึกษารือร่วมกันระหว่าง งานคลัง ตัวแทนพยาบาล/หน่วยงาน เจ้าหน้าที่ IT
เพื่อสร้างระบบที่ทำให้ข้อมูล ค่าอยู่เวร/ค่าล่วงเวลา มีความถูกต้องมากที่สุด
เพื่องานคลังจะโอนเงินให้ก่อนแล้วค่อยตรวจสอบเอกสารอย่างละเอียดตามหลัง
(งานคลังก็ต้องการความมั่นใจว่าข้อมูลที่เบิกมีความถูกต้อง จะได้ไม่ต้อง
ตามคืนเงินกันภายหลัง และมีความน่าเชื้อถือในระบบการเงินการคลังของคณะฯ)
3.2 หลังจากใช้โปรแกรมแล้วเป็นอย่างไร
- ระยะแรก (1-6 เดือน) ต้องปรับโปรแกรมดังกล่าวมากพอควร เนื่องจากเงื่อนไข
การคำนวณค่าอยู่เวร/ค่าล่วงเวลา ให้บุคลากรแต่ละกลุ่มมันช่างมาก ซับซ้อน หลาก
หลายกลุ่ม เช่น ประเภทเวร, ซี, อายุงาน, Ward หรือ คลินิก, พยาบาลหรือผู้ช่วย,
แม่บ้าน, การลาป่วย กิจ คลอด เรียนต่อ มีผลกับการคำนวณหมดเลย
- ณ ปัจจุบัน ตัวโปรแกรมค่อนข้างนิ่งพอควรแล้ว (คือไม่ต้องแก้ไขโปรแกรมแล้ว)
แต่ปัญหาคือการบึนทึกเวลาการเข้าออกการทำงาน ของเจ้าหน้าที่บางหน่วยงาน
ยังมีความผิดพลาส่งผลให้ข้อมูลผิดพลาดด้วย (จากการสอบถาม/ดูข้อมูล
การตรวจสอบเอกสารเบิกค่าอยู่เวร/ค่าล่วงเวลา ของเจ้าหน้าที่งานคลัง)
- แล้วจะทำอะไรต่อไปจากนี้ (เพื่อให้ดีขึ้น)
คงต้องมีการปรึกษาหารือร่วมกันระหว่าง งานคลัง ตัวแทนพยาบาล/หน่วยงาน
เจ้าหน้าที่ IT สำหรับหน่วยงานที่ข้อมูลถูกต้องน่าเชื้อถือ (ซึ่งเป็นส่วนใหญ่แล้ว)
งานคลังน่าจะโอนเงินก่อนและตรวจสอบรายละเอียดตามหลัง (แต่นี่ยังเป็นความ
เห็นส่วนตัวผมอยู่นะครับ ยังไม่ได้ประชุมและสรุปร่วมกัน)
3.3 สิ่งที่คาดหวังจากระบบนี้คืออะไร (เป้าหมายครับ)
- พยาบาล/หน่วยงาน มีโปรแกรมบันทึกเวลา เข้าออกการทำงาน พร้อมออกรายงาน/
ข้อมูล สำหรับเบิกเงินค่าอยู่เวรและค่าล่วงเวลาให้ได้เลย (เห็นใจคนทำค่าอยู่เวรของ
หน่วยงานเลยครับ มันยากลำบากจริงๆ)
- งานคลังได้ข้อมูล/เอกสารที่น่าเชื้อถือพร้อมที่จะโอนเงินให้ก่อน แล้วตรวจสอบภายหลัง
คนทำงานก็ได้รับเงินเร็ว (ทุกคนน่าจะยินดีและพอใจร่วมกัน)
4. การปิดโปรแกรมตรวจสอบการโอนเงินของบุคลากรคณะแพทย์ (ชั่วคราว)
4.1 เนื่องจากอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนโปรแกรมงานคลังจาก DOS เป็น Windows
จำเป็นต้องทดสอบระบบและตรวจสอบข้อมูลให้มั่นใจว่าถูกต้องน่าเชื้อถือ
คาดว่าจะเปิดให้บริการอีกครั้งในต้นเดือน ธันวาคม นี้ครับ
4.2 ระบบใหม่จะสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ละเอียดมากกว่าเดิม
เช่น - มีเงินอะไรบ้างที่งานคลังโอนให้เรา (บุคลากร)
- เรา (บุคลากร) มีหนี้สินอะไรกับคณะฯบ้าง
ทื่สำคัญคือ สามารถดูรายละเอียดว่าเอกสารเบิกจ่ายของเรา (บุคลากร) อยู่ในขั้นตอน
ไหนของงานคลัง เช่น รับเข้างานคลั้งเมื่อไหร่ คีย์เตรียมโอนแล้วยัง โอนเงินให้วันไหน

ขออภัยที่อธิบายเสียยาว ก็หวังว่าข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้
จะเป็นประโยชน์ทำให้ พี่ๆเพื่อนๆน้องๆ มีความเข้าใจในระบบงานมากขึ้น


Posted by : kjaroon , Date : 2010-10-28 , Time : 18:30:10 , From IP : 172.29.1.193

ความคิดเห็นที่ : 2


   ผมในฐานะที่ต้องดูแลงานคลัง (อาจารย์กรีฑา รองคณบดีฝ่ายบริหาร) ต้องขอโทษด้วยที่เงินค่าเวร (ที่ทุกๆ คนควรจะได้รับ) ออกช้า ก่อนหน้าที่ผมจะมาดูแลงานคลังก็ไม่ค่อยพอใจระบบเงินเดือน เงินค่าตอบแทนที่ได้รับช้ามากๆ เพราะพวกเราก็จำเป็นต้องใช้เงิน มีภาระต่างๆ มากมาย เมื่อผมได้มีโอกาสมาดูงานคลังก็รู้ได้ว่าเวลาสั่งจ่ายเงินแต่ละครั้งมีความเสี่ยงสูง ต้องมีการตรวจสอบมากจริงๆ โดยเฉพาะช่วงนี้มีการนำโปรแกรมใหม่มาใช้ เพื่อหวังว่าในอนาคตจะดำเนินการได้รวดเร็วและทันใจทุกๆ ท่าน ต้องขอบคุณฝ่าย IT ที่ช่วยพัฒนาโปรแกรมให้เรา
พวกเราคงจำกันได้ว่าเมื่อนำระบบใหม่เข้ามาใช้มักจะต้องใช้เวลาสักพัก อาจจะเสียเวลามากกว่าเดิม แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลังจากนั้นสิ่งดีๆ ก็จะตามมา เหมือนระบบ HIS ตอนแรกๆ มีแต่เสียงบ่นว่าช้า ทำงานยาก แต่ตอนนี้พวกเราก็มีความสุขกับการใช้ HIS ใช้หรือเปล่าครับ
หลังจากผมได้ทราบเรื่องนี้จากกระดานข่าว ทีมบริหารโดยเฉพาะอาจารย์รังสรรค์ ก็ได้ช่วยดูเรื่องความรวดเร็วในการตรวจสอบของงานคลัง สำหรับบุคลากรที่จะเบิกเงินค่าเวร ค่า OT หรืออื่นๆ ผมอยากให้พวกเราช่วยตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งออกจากหน่วยงานซึ่งอาจจะทำให้ข้อมูลส่งออกจากหน่วยงานช้าหน่อย แต่ถ้าส่ง่ไปแล้วไม่ต้องส่งกลับมาแก้ไขใหม่ ค่าตอบแทนจะออกเร็วแน่นอนครับ
ผมและทีมงานอยากให้พวกเราชาวเราชาวแพทยศาสตร์ทำงานอย่างมีความสุขครับ


Posted by : Guitar , E-mail : (tkreetha@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2010-10-29 , Time : 08:22:43 , From IP : 172.29.15.30


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.007 seconds. <<<<<