ความคิดเห็นทั้งหมด : 1

กางตัวเลขค่าเล่าเรียนจริง"สกอ." นิสิต-นักศึกษา...อ่วม!!


   สืบเนื่องจากกรณีที่คณะทำงานศึกษาเพื่อปฏิรูปกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เสนอแนวคิดให้นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่กู้ยืมเงินกองทุนฯจะต้องจ่ายค่าเล่าเรียนตามต้นทุนจริงของแต่ละคณะวิชาและแต่ละสถาบัน "มติชน" จึงขอนำเสนอรายงานผลการศึกษาค่าใช้จ่ายตามต้นทุนจริง ของแต่ละคณะวิชาและแต่ละสถาบัน ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) เล่มล่าสุด ซึ่งจัดทำโดยนายกฤษณพงศ์ กีรติกร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ มีนางเกษรา วามะศิริ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย

คณะวิจัยชุดนี้ได้ใช้ข้อมูลพื้นฐานจากตัวเลขงบฯดำเนินการในปีงบประมาณ 2542 ไม่รวมงบฯลงทุน และงบฯการวิจัย ของแต่ละคณะวิชาและแต่ละสถาบัน พบว่าในมหาวิทยาลัยรัฐทั้ง 24 แห่ง จะมีต้นทุนค่าเล่าเรียนสูงกว่าที่เก็บจากนักศึกษาจริงในปัจจุบันหลายเท่าตัว และหากคำนวณตามสภาพปัจจุบันจะยิ่งสูงขึ้นไปอีก เนื่องจากต้องนำมาปรับอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นขั้นต่ำปีละ 3% ด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อการรับภาระของนิสิตนักศึกษาและผู้ปกครองที่มากเกินไปหรือไม่ ดังข้อมูลต้นทุนจริงในปี 2542 ที่นำมาเสนอ



*คณะแพทยศาสตร์* (รวมค่าจัดการเรียนการสอนของคณะ และการจัดการเรียนการสอนในส่วนของโรงพยาบาล) ในคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล(มม.) ต้นทุนจริงในปี 2542 สูงถึง 407,598 บาท คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มม.460,581 บาท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.) 334,026 บาท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 353,501 บาท มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(มอ.) 269,309 บาท มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ(มศว) 551,225 บาท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) 438,907 บาท และมหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) 346,519 บาท

สงสัยครับว่าทำไมค่าผลิตแพทย์ของมอใรถึงต่างกับที่อื่นเป็นแสนๆ อย่างนี้ มีปัจจัยอะไรหรือไม่ อยากฟังการวิเคราะห์ดีๆจาก อ.สกลครับ
ปล.ขอเป็นภาษาไทยก็ดีนะครับอาจารย์ ขอบคุณครับ


Posted by : สงสัยอย่างแรง , Date : 2003-12-25 , Time : 20:13:57 , From IP : 172.29.2.149

ความคิดเห็นที่ : 1


   ผมขออนุญาตตอบก็แล้วกันนะครับ

ประการแรก ผมไม่มีข้อมูลการคำนวณ "ต้นทุน" ที่แท้จริง ดังนั้นไม่สามารถแสดงผลการคำนวณออกมาจนได้ตัวเลขดังกล่าวและยืนยันว่าถูกต้อง ตัวเลขที่คุณ "สงสัยอย่างแรง" ให้มาขาดหน่วยต่อยูนิตไป

ผมจะลองรวบรวมความคิดว่าจะคำนวณอย่างไร และพร้อมทั้งคาดเดาว่าอะไรทำให้แตกต่างนะครับ ท่านผู้รู้ท่านอื่นสามารถเพิ่มเติมได้อย่างอิสระ

การลงทุน หรือต้นทุน ก็มี ครุภัณฑ์ ได้แก่ ตึก อาคาร หอพัก ค่า maintenance ครุภัณฑ์ ตามมาติดๆ ของทุกชนิดย่อมมีการเสื่อม และต้องซ่อมหรือหาของใหม่มาทดแทน เช่น lift การซ่อมเตียง โต๊ะ เก้าอี้ ที่หอพักและห้องบรรยาย อุปกรณ์โสตทัศนต่างๆที่เป็น "In-Built" กับอาคาร สาธารณูปโภค ได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแอร์ ค่าลิฟต์ ค่าโทรศัพท์ ค่าภาษี (ตรงนี้ไม่แน่ใจ แต่คิดแบบต่างประเทศ อาจจะต้องรวมภาษีที่ดิน โรงพยาบาลจุฬาแพงตรงนี้รึเปล่าไม่รู้ คณะแพทย์มหิดลนั้นตะแกมีพื้นที่กระจายเยอะมาก) ค่าบริการทำความสะอาดโรงพยาบาล ค่าเก็บขยะ ค่ากำจัดของเสีย น้ำเสีย อากาศเสีย consumables ตรงนี้จะเยอะมาก ไล่ไปตั้งแต่ กระดาษเป็นตันๆหรือพันๆรีม floppy disks, CD, ปากกา, หมึกเครื่องพิมพ์ หรือโทนเนอร์ (ขึ้นอยู่กับเป็น inkjet หรือ laser printer) พวกเครื่องใช้สำนักงาน แล้วก็มากลุ่มเฉพาะสาขาเรา เช่น น้ำยาใน lap สรีรั ชีวเคมี กายวิภาค การเตรียมตัวอย่างสอนต่างๆ การใช้น้ายาส่วนเกินในการทำแผลผู้ป่วยโดยนักเรียนแพทย์ (รับรองว่า นศพ. ไม่ใช่ผู้ที่สามารถใช้ของได้ประหยัดที่สุดใน ward) แล้วก็มาถึงอีกกลุ่มสำคัญ คือ ค่าบุคลากร เงินเดือน เงินพิเศษ จ่ายประจำและเฉพาะกิจของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ในการทำงาน การเตรียมการสอน การเตรียมการสอบ การวิจัย และการส่งอาจารยไปฝึกอบรมต่อต่างประเทศเพื่อให้คุณภาพบัณฑิตเราดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ (ตามข้อจำกัด) ค่าสมาชิกวารสาร journal ต่างปรเทศ ค่าหนังสือ references ค่าสมาชิก online full-text journals

ข้อแตกต่างอีกประการคือลักษณะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การทำ PBL นั้น ค่าโสหุ้ยสูงมากเพราะระบบกลุ่มย่อยที่ทำให้นักเรียนมี Interaction ในการเรีนยนมากขึ้นนั้นแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ตึกแพทยศาสตร์นั้นถูกออกแบบจำเพาะมาเพื่องานนี้ ยกตัวอย่างเรากำลังรับนักศึกษาอีก 40 คนเพิ่ม คิดเป็นกลุ่มย่อย 4 กลุ่ม PBL ต่อปี หรือ 20 กลุ่มย่อยตลอด 5 ปี แต่ละกลุ่มต้องหาอาจารย์มา fill เกือบๆ full-time ถ้าเราคิดว่าจำนวนอาจารย์ที่มีอยู่ก็ทำ full-time อยู่แล้ว ก็แปลว่าต้องหาคนมาเพิ่ม fill กลุ่มใหม่นี้ ไม่ก็ต้องเพิ่มจำนวนนักเรียนต่อกลุ่มแลกกลับประสิทธิภาพที่ลดลงตามสัดส่วนความใหญ่ ลองจินตนาการศิริราชที่อาจจะกำลังรับนักศึกษา 250-300 คน แล้วตีออกมาเป็นระบบ PBL ว่าค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนเป็นอย่างไร

เสร็จแล้วก็เอาทั้งหมดมาบวกกันเฉลี่ยเป็นต่อหัว ต่อปี แล้วไปตู๊กับค่าเทอม ที่เหลือก็๕ระหามาจากเงินรายได้บวก subsidize บวก ฯลฯ แล้วยแต่แต่ละสถาบันใครจะมีปัญญาหามาจ่าย

ก็จะมองเห็นว่า "โอกาส" ที่แต่ละสถาบันจะมีค่าลงทุนแตกต่างกันนั้นจะสูงมาก ระบบการเรียนอาจจะเป็นบทใหญ่ของที่ มอ.ออ. เรา แต่ที่ในกรุงเทพฯเขาจะมีปัญหาอื่นที่เราไม่มี คา maintenance อะไรต่างๆในเมืองหลวงอาจจะมากกว่าหรือต่างจากเรา ค่าเช่าที่ ค่าที่จอดรถ ค่าบริษัททำความสะอาด ซ่อมแซม วิศว ฯลฯ

สถาบันการศึกษานั้นวัด Outcome หรือประสิทธิผล ที่วัดเป็นน้ำเงินยากครับ ดังนั้น Balanced scorecard ของ Non-government หรือ Non-profit organization นั้นค่อนข้าง Unique และในสี่พิสัยหลักการลงทุนและวัดทางธุรกิจ ได้แก่ financial, customer, internal process, and Learning & Growth นั้น จะไม่ไปหยุดที่ Financial เหมือนธุรกิจ แต่จะเป็นอย่างอื่น ในที่นี้คือ ผลการศึกษาที่คนฉลาดขึ้น (generic benefit ของมหาวิทยาลัย) และความเป็นแพทย์ผู้สามารถ ซึ่งจะไปลงเป็นสภาพของสุขภาพโดยรวมของชุมชนซึ่งวัดยากมาก (แต่ก็วัดได้โดยอ้อม ถ้าใช้วิธีวัดโดย "Proxy" หรือ "surrogate output") เช่น คนเป็นมะเร็งระยะต้นเพิ่มขึ้นระยะท้ายๆลดลง อาจจะเป็นตัววัดของการ campaign ให้ความรู้แก่ประชาชนโดยมหาวิทยาลัยแพทย์ จำนวนคนไปลงคะแนนเสียงเพิ่มขึ้น ก็อาจจะเป็นตัววัดการให้ความรู้เรื่องระบบประชาธิปไตย ต่างๆเหล่านี้

My Two cents (สองสลึงของผมครับ)



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-25 , Time : 21:12:07 , From IP : 172.29.3.224

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<