ความคิดเห็นทั้งหมด : 11

เหตุระทึก...ลิฟท์ตก!!!!


   ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีกับรางวัลThailand lean Award 2010 ระดับ Silverขององค์กรเราและขอแสดงความยินดีกับพี่จุด_คุณจุฑารัตน์ เกียรติศิริโรจน์ ศิษย์เก่าดีเด่นวิทยาลัยพยาบาลสงขลาปี2553 สาขาการบริหารการพยาบาลดีเด่น โรงพยาบาลระดับตติยภูมิค่ะ....(เรื่องเหล่านี้ได้รับข้อมูลจากผู้เสียหายและผู้อยู่ในเหตุการณ์)
เข้าเรื่องเลย...เมื่อวันเสาร์ที่25 กย 53เวลา.10.00โดยประมาณเกิดเหตุลิฟท์ตก(ย้ำว่า....ตก..)จากชั้น4ลงมาชั้นBกระแทกกับพื้นบิรเวณตึก13ชั้นตัวที่9ทำให้มีผุ้บาดเจ็บหลายราย(หมืออนในหนังเลย)..มีการแจ้งรปภ.รพ.ไปที่เกิดเหตุและได้นำผุ้บาดเจ็บไปยังห้องฉุกเฉินทันที แต่เหตุยังไม่จบรปภ.รพได้ไปบอกต่อจนท.พยาบาลห้องฉุกเฉินว่าเกิดเหตุอุบัติเหตุดังกล่าว. เพื่อให้ดูอาการผู้บาดเจ็บพอดูๆกลับบอกว่าผุ้ป่วยไม่เป้นไรมากให้ยื่นบัตรแล้วนั่งรอก่อน..(ความจริงคนที่ให้ข้อมูลบอกว่าผู้บาดเจ็บดูภายนอกก็ไม่เท่าไรแต่แรงกระแทกทำให้เจ็บขาทั้ง2ข้างแขนไปฟาดกับกำแพงเพดานโคมไฟในลิฟท์ตกใส่หัว)..เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้บาดเจ็บมีการโต้เถียงกันต้องให้ผู้ตรวจการพยาบาลมาช่วยคุย.ถึงจะได้รักษา
ประเด็นที่หน้าคิดเรื่องนี้
1.ตัวลิฟท์ทำไมจึงตกลงมาได้ทั้งที่ใต้ลิฟท์มีตัวเซฟตี้คือขาเบรค..ดีน่ะที่ตกลงมาจากชั้น4น่ะไม่ใช่ สูงมาก
2.ลิฟท์ไม่รู้เช็คบ้างป่าวตึกสร้างมากี่ปีแล้วที่รู้มามีช่างลิฟท์ดูแลนิทำไมถึงเกิดเหตุ
3.เกี่ยวกับผู้บาดเจ็บเหตุมันเกิดจากโรงพยาบาลเราและเป้นอุปกรณ์ที่ให้บริการทำไมยังให้เขายื่นบัตรนั่งรอเรียกคิวทั้งๆเป้นอุบัติเหตุ...ทั้งเหตุมาจากที่เรา
4.เจ้าหน้าที่ห้องฉุกเฉินดังกล่าวควรหยุดพินิจสักนิด.ขึ้นสถานที่ทำงานบ้างอย่าให้เขาไปร้องเรียนหน่วยของท่านได้อีก(กลัวออกทีวี)
สุดท้ายอยากฝากทุกฝ่ายที่เกี่ยวก้องในเรื่องนี้ ร่วมทั้งผู้บริหารให้แก้ไขสิ่งต่างๆก่อนจะมีเหตุที่ไม่คาดคิดเกิดเป้นครั้ง2.3..45เผลอๆอาจจะแรงกว่านี้อีกอย่าให้รางวัลที่ได้มาสู่องค์กรมาเสียเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่แค่ลิฟท์ต้องร่วมไปถึงอุปกรณ์ที่ใช้งานหรือไม่ค่อยได้ใช้ต้องตรวจสอบอย่างเช่นตู้ดับเพลิงบางอั้นใช้ไม่ได้ถ้าเกิดเหตุทำไงต้องเอาถังมาคนละใบป่าวเวลาเกิดเหตุ..มีเสียงข้างๆบอกว่าเดี๋ยวนี้มีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบแล้วด้วยเหรอ(อันนี้ไม่ทราบ)ดิฉันว่าเราต้องอบรมจริยะธรรม การปฏิบัติตัวต่อผู้มาใช้บริการให้ดีขึ้นการยิ้มแย้มเหมือนหน่วยOPDน่ะหน้าเอามาใช้น่ะค่ะ...ขอฝากด้วย
มีข่าวอะไรร้อนๆค่อยมาโพส


Posted by : saragoza , Date : 2010-09-26 , Time : 20:48:49 , From IP : 222.123.136.72

ความคิดเห็นที่ : 1


   caseที่ออกทีวีเกี่ยวอะไรกับ ERไม่รู้จริงอย่าพูดให้เสียหาย

Posted by : tangton , Date : 2010-09-26 , Time : 22:57:23 , From IP : 172.29.8.186

ความคิดเห็นที่ : 2


   การคัดกรองประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน นี้เป็นการทำงานช่วงต้นของการบริการในงานอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน ซึ่งรับผิดชอบโดยพยาบาล จึงเรียกว่าพยาบาลคัดกรอง แท้ที่จริงแล้ว มาจากศัพท์ภาษาฝรั่งคำว่า Triage ซึ่งแปลเป็นไทยว่า"คัดแยก" แต่ก็ไม่เห็นโรงพยาบาลใด เรียกพยาบาล ว่าพยาบาลคัดแยก จึงขอใช้ ว่าพยาบาลคัดกรองตามที่นิยมกัน น่าจะดีกว่า

ทำไมต้องคัดกรองผู้ป่วย เพราะที่ฉุกเฉินต้องด่วนอยู่แล้ว

เป็นเพราะว่า โดยปกติแล้ว จำนวนผู้ใช้บริการจะ มากกว่าแพทย์/พยาบาล

จึงจำเป็นต้องลำดับว่าใครด่วนมากที่สุด ที่ต้องพบ แพทย์ก่อน

การคัดกรองผู้ป่วย

พยาบาลมีสมรรถนะอย่างไร? มีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไรบ้าง?

เครือข่ายพยาบาลอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน ที่ทำงานตั้งแต่1-20ปี

สมรรถนะของพยาบาลคัดกรอง เช่น มีความรู้เรื่องโรคและอาการฉุกเฉินต้องดี อย่างเช่น โรคที่พบบ่อย5-10 อันดับแรก มีประสบการณ์ที่ห้องฉุกเฉินอย่างน้อยต้อง2ปีขึ้นไป พยาบาลต้องผ่านการอบรมการกู้ชีพเบื้องต้นและขั้นสูง และที่สำคัญมีมนุษยสัมพันธภาพ การสื่อสารที่ดี และมีความอดทน

การปฏิบัติการคัดกรอง

พยาบาลจะประเมินผู้ป่วยที่มาด้วยอาการอะไร และเดินได้หรือไม่ โดยแยกประเภท เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่1Emergency=ฉุกเฉิน ต้องพบแพทย์ทันที หรือภายใน4นาที แสดงสัญญาลักษณ์สีแดง กลุ่มที่2Urgent=รีบเร่ง รอได้จะจัดให้พบแพทย์ภายใน30นาที แสดงสัญญาลักษณ์สีเหลือง กลุ่มที่3 Non urgent=ไม่รีบเร่ง อาจให้ข้อมูลให้ไปตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก แต่หากนอกเวลาราชการ จะตรวจที่แผนกฉุกเฉินต้องรอเป็น1ชั่วโมงหรือมากกว่าจนกว่าจะตรวจผู้ป่วยกลุ่ม1และกลุ่ม2เสร็จก่อน


Posted by : linla , Date : 2010-09-27 , Time : 04:48:25 , From IP : 172.29.8.186

ความคิดเห็นที่ : 3




   เหตุที่เกิด ควรต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติ ซึ่งในเรื่องที่เกิดขึ้น ถ้ามาวิเคราะห์พบว่าความรุนแรงของ nonclinical risk ครั้งนี้อาจถึงระดับ 5 คืออาจส่งผลต่อชื่อเสียงของโรงพยาบาล ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ต้องทำงานประสานกัน ควรต้องทำ service recovery process ถึงแม้ผู้ประสบเหตุ เมื่อมาถึงห้องฉุกเฉิน พยาบาลคัดกรองแล้ว ไม่ด่วนเลย ก็ต้องอธิบายว่าจะดูแลผู้ประสบเหตุต่อไปอย่างไร เมื่อได้ sense ว่าอาจมีผู้ประสบเหตุไม่พึงพอใจ ควรต้องปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ตรวจการนอกเวลา ผู้อำนวยการนอกเวลา
ผมคิดว่าเรื่องนี้เราต้องช่วยกัน


Posted by : thiopental , Date : 2010-09-27 , Time : 09:23:51 , From IP : 172.29.14.164

ความคิดเห็นที่ : 4


   อยากแนะนำพยาบาล ห้องฉุกเฉินหน่อยคับ ถ้าเกิดว่าหน่วยงานหนึ่งมีคนติดเชื้อไข้ 2009 คนในหน่วยงานคนอื่นจะไปตรวจคัดกรองแต่พอดีเค้าเลิกงานแล้วเห็น ER อยู่ใกล้จึงเข้าไปขอ ที่ปิดจมูก ( mas )บอกเหตุผลที่ต้องใช้ แต่พยาบาลบอกว่า ไม่มีนโยบายในการให้ผมก้อไม่รู้จะพูดยังงัยเหมือนกัน ผมคิดว่าถ้าคนใดคนหนึ่งขอที่ปิดจมูก แสดงว่าเค้าจำเป็นต้องใช้เพราะว่ายังไม่ทราบว่าติดเชื้อวัด 2009 ไหม ใส่ที่ปิดจมูกไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อสู่คนอื่น ลูก ภรรยา อีก อยากให้พยาบาล บริการประชาชนดีๆหน่อยไม่ว่าคนที่ทำงานในนี้หรือข้างนอกเพราะว่า ทุกอย่างในโรงพยาบาลก้อคือเงินภาษีของประชาชนทุกคนนะครับ

Posted by : จอมยุทธ , Date : 2010-09-27 , Time : 09:50:00 , From IP : 172.29.10.154

ความคิดเห็นที่ : 5


   เรียนผู้เกี่ยวข้อง ในฐานะงานวิศวกรรมซ่อมบำรุง ต้องขออภัยที่ปล่อยให้เกิดเหตุการณืที่ลิฟต์เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2553 ดังกล่าว งานวิศวกรรมซ่อมบำรุงขอเรียนชี้แจงสาเหตุ และวิธีป้องกันในอนาคตดังนี้
1. การปฏิบัติที่ผ่านมา ด้วยคณะแพทยศาสตร์ จ้างบริษัท โอทิส เอเลเวเตอร์ บำรุงรักษาลิฟต์เป็นรายเดือน ตั้งแต่ลิฟต์หมดสัญญารับประกันมา 35 ปี แล้ว และลิฟต์ที่มีอายุ 35 ปี ได้รับการ Upgrade เมื่อประมาณ 10 ปี ที่ผ่านมา ลิฟต์ดังกล่าวจึงเป็นเสมือนลิฟต์ใหม่ อายุการใช้งานประมาณ 10 ปี โดยลิฟต์รุ่นดังกล่าวที่ Upgrade มานี้ใช้กันแพร่หลายทั่วประเทศ จึงมีความมั่นใจว่าเป็นลิฟต์ที่ดีและปลอดภัย แม้กระนั้น ในสัญญาจ้างบำรุงรักษาลิฟต์ คณะแพทยศาสตร์ ได้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับจ้างส่งกรมธรรม์ประกันภัยบุคคลที่ 3 ไว้ให้ด้วยเผื่อเกิดความผิดพลาด เพราะเครื่องจักรทุกชนิดอาจเกิดความบกพร่องได้เสมอเมื่อใช้งานนาน ๆ และใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะเครื่องจักรที่ใช้กับมนุษย์จะต้องปลอดภัยที่สุดโดยเฉพาะต้องมั่นใจว่าระบบ Safety ต้องทำงาน 100 % เมื่อเกิดเหตุผิดพลาด
2. สาเหตุการเกิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2553 ในวันดังกล่าวหลังจากเกิดเหตุ ช่างไฟฟ้าและช่างลิฟต์ได้ตรวจสอบหาสาเหตุโดยดำเนินการดังนี้
2.1 พบว่าฝาครอบพัดลมระบายอากาศ หลุดร่วงลงมาเมื่อลิฟต์จอดกระทันหัน
2.2 ลิฟต์จอดต่ำกว่าระดับพื้นชั้น B ประมาณ 1 ฟุต(30 ซม.)
2.3 เมื่อช่างขึ้นไปดูที่ห้องเครื่องพบว่าเบรคของลิฟต์จับแน่น
จากการตรวจสอบเบื้องต้น ได้ข้อมูลว่าขณะที่ลิฟต์เริ่มวิ่งจากชั้น 4 ลงมาแต่ลิฟต์ไม่ยอมจอดชั้นไหนเลย ขณะนั้นลิฟต์วิ่งด้วยความเร็วสูงสุดของลิฟต์ที่ได้ออกแบบติดตั้งไว้ คือ 1.25 เมตรต่อวินาที( 75 เมตรต่อนาที) เมื่อลิฟต์เลยชั้น B ลงไป จะพบระบบ Safety ว่าขณะนั้นลิฟต์ Over Run ลิฟต์จะสั่งให้เบรคทำงานทันที เมื่อเบรคจับกระทันหัน ลิฟต์จะหยุดทันทีแต่ลิฟต์แขวนด้วยสลิง(ซึ่งเพิ่งตรวจเชคเมื่อเดือน มีนาคม 2553-ตรวจเชคสลิงปีละ 1 ครั้ง) จึงกระดอนกลับและทิ้งตัวลงตามน้ำหนัก(ไม่เหมือนกับลิฟต์วิ่งด้วยความเร็วเกินกำหนดซึ่งเรียกว่า Over Speed ถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างนั้นลิฟต์จะสั่งให้ระบบ Safety หนีบรางอย่างกระทันหัน บางครั้งความรุนแรงอาจทำให้รางลิฟต์เป็นรอยและบิดเสียหายใช้ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนรางใหม่) อาการดังกล่าวเกิดจากลิฟต์ไม่พบชั้นที่ให้จอด ดูเหมือนเกิดความบกพร่องที่ระบบการตรวจสอบชั้นต่าง ๆ ของลิฟต์ จึงหาสาเหตุว่าทำไม ลิฟต์จึงไม่สามารถ Detect ชั้นต่าง ๆ ได้
ช่างลิฟต์ได้ทดสอบการทำงานของลิฟต์ใหม่หลังจากปลอดเบรคแล้ว จนกระทั่งเวลาประมาณ 22.00 น. จึงพบว่ามี Relay ที่รับคำสั่งจากอุปกรณ์ตรวจสอบตำแหน่งชั้น เพื่อการสั่งงานลำดับต่อไป มีขดลวดที่ขาด บางครั้งต่อวงจร บางครั้งไม่ต่อวงจร คือมันขาด แต่ไม่หลุด หรือไหม้ Relay ที่ใช้เป็นยี่ห้อที่น่าเชื่อถือ คือยี่ห้อ OMRON ช่างจึงทำการเปลี่ยนใหม่และทดอบการทำงานจนมั่นใจ ปัจจุบันลิฟต์ใช้งานได้เป็นปกติ
3. การป้องกันในอนาคต
3.1 บริษัม OTIS จะตรวจสอบลิฟต์ทุกเครื่อง
3.2 บริษัท OTIS ได้วางแผนเปลี่ยน Relay ทั้งหมด เป็นระยะ ๆ โดยทำกับลิฟต์ทุกเครื่องในโรงพยาบาล
3.3 บริษัท OTIS จะหาทางออกแบบวงจรเสริม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีดังกล่าวต่อไป
สำหรับการประกันภัยบุคคลที่ 3 ในวันเกืดเหตุ หัวหน้างานวิศวกรรมซ่อมบำรุงได้รับรายงานช้าไปประมาณ 1 ชั่วโมง เพราะช่างคิดว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วนแล้ว ซึ่งต่อไปจะต้องแก้ปัญหาเรื่องการรายงานเหตุกาณณ์ให้เร็วกว่านี้ เมื่อทราบเหตุจึงรีบให้ช่างลิฟต์ดำเนินการตามไปดูผู้รับอุบัติเหตุทันที ซึ่งต่อมาทราบว่าทางโรงพยาบาลรับผิดชอบหมด
จึงขอเรียนชี้แจงเหตุการณ์ดังกล่าว
งานวิศวกรรมซ่อมบำรุง


Posted by : elec , E-mail : (cjahroo@medicine.psu.ac.th) ,
Date : 2010-09-27 , Time : 10:54:15 , From IP : 172.29.25.159


ความคิดเห็นที่ : 6


   ขอ copy หัวข้อนี้ ของท่าน thiopental ที่เคย post ไว้ มาให้อ่านค่ะ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์

จะทำอย่างไรเมื่อลิฟต์ตก !!!!
ใครที่อาศัยอยู่ในคอนโดหรืออพาร์ทเมนท์แล้วต้องใช้ลิฟท์ขึ้นๆลงๆอยู่บ่อยๆ คงต้องเคยเจอประสบการณ์ลิฟท์ค้างมาไม่มากก็น้อย ลิฟท์ค้างไม่ค่อยเท่าไหร่...แต่ลิฟท์ตกนี่ซิ จะทำยังไงดี วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ

1. ให้กดปุ่มให้ลิฟต์จอดทุกชั้นอย่างเร็วที่สุด เพื่อเมื่อไฟฟ้าสำรองทำงาน มันจะหยุดลิฟต์จากการร่วงลงมา
2. จับที่จับให้แน่น หากว่ามี มันจะช่วยรองรับตำแหน่งและป้องกันจากการหล่นและการบาดเจ็บถ้าเราเสียสมดุลย์
3. พิงหลังและศีรษะเข้ากับผนังให้เป็นเส้นตรง การพิงผนังจะทำให้มันช่วยป้องกันหลังและกระดูก
4. งอเข่า เพราะเมื่อลิฟต์ตก เราจะไม่รู้เลยว่าเมื่อไรที่ลิฟท์จะกระแทกพื้น และอาจจะส่งผลให้กระดูกทั่วร่างแตกละเอียดได้ เส้นเอ็นเป็นจุดเชื่อมต่อที่ยืดหยุ่น มันสามารถยืดกระดูกเข้าด้วยกันเป็นกิจกรรมต่างๆ แต่จะจำกัดบางสิ่งเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ดังนั้น ผลกระทบจากกระดูกแตกจะลดลงจากการกระแทกของการร่วงหล่น
ข้อมูลจาก www.kapook.com


Posted by : จริงใจ , Date : 2010-09-27 , Time : 12:04:48 , From IP : 172.29.25.234

ความคิดเห็นที่ : 7


   การชี้แจงถือว่าใช้ได้ น่าจะเป็ญจริง แต่ตามความเห็น6น่าจะทำไม่ทัน

Posted by : 1122 , Date : 2010-09-27 , Time : 12:29:51 , From IP : 172.29.25.164

ความคิดเห็นที่ : 8


   มองอะไร ให้เห็น เป็นครูสอน
มองไม้ขอน หรือมองคน ถ้าค้นหา
มีสิ่งสอน เสมอกัน มีปัญญา
จะพบว่า ล้วนมีพิษ อนิจจัง


Posted by : komet , Date : 2010-09-27 , Time : 15:11:09 , From IP : 172.29.10.49

ความคิดเห็นที่ : 9


   maskเป็นสินค้าวัสดุควบคุมอยากให้ ผอ.ให้ฝ่ายวัสดุขายmaskหรือใช้ไปกับคนไข้คนใหนก็เบิกกับคนนั้นระบบเดิมพอมี2009ก็เป็นสินค้าควบคุมปัจจุบันแพทย์และพยาบาลยังไม่พอใช้เลย

Posted by : tangton , Date : 2010-09-28 , Time : 09:33:29 , From IP : 172.29.8.186

ความคิดเห็นที่ : 10


   จากความคิดเห็นที่ 4
" ผมคิดว่าถ้าคนใดคนหนึ่งขอที่ปิดจมูก แสดงว่าเค้าจำเป็นต้องใช้เพราะว่ายังไม่

ทราบว่าติดเชื้อวัด 2009 ไหม ใส่ที่ปิดจมูกไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อสู่คนอื่น ลูก

ภรรยา อีก อยากให้พยาบาล บริการประชาชนดีๆหน่อยไม่ว่าคนที่ทำงานในนี้หรือ

ข้างนอกเพราะว่า ทุกอย่างในโรงพยาบาลก้อคือเงินภาษีของประชาชนทุกคนนะ

ครับ"

เหตุก็เพราะว่าทุกอย่างคือเงินภาษีของประชาชนน่ะครับ พยาบาลทุกคน ก็

ตระหนัก เกี่ยวกับการแพร่เชื้อเช่นกัน ทำอย่าไรล่ะ ปลอดภัยและประหยัด


นั้นคือ การที่ประเมินได้ว่าใคร มีเชื้อ ที่สามารถแพร่ทางระบบทางเดินหายใจได้ ก็

จะเอา mas ไปปิดให้คน คนนั้น ซึ่งจะเห้นได้ว่าประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า ที่ให้ทุก

คนได้ใส่กันหมด ผมรู้ว่าคุณก็ต้องการ เซฟตัวคุณเอง และ อีกเรื่องจากคำพูดที่

ว่า " อยากให้พยาบาล บริการประชาชนดีๆหน่อย" อยากให้มองพยาบาล หลายๆ

มุม ในมุมของผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ ซึ่งมีแรงกดดันหลายท่าง ผมเข้าใจนะครับ

ว่า การที่คนเรามีสภาวะการเจ็บป่วย ย่อมทำให้ มีความอดทนได้ต่ำลงกว่าปกติ

และญาติเอง ก็ยอมรับสภาพยังไม่ได้ ซึ่งเรียกว่าอยู่ในระยะปฏิเสธ และคิดว่าช่วง

นั้น ตัวฉัน ญาติฉัน ฉุกเฉินสุดๆ ไม่ว่าพยาบาลที่ ER หรือที่อื่นๆ จะพูดอย่างไร ก็

ย่อมจะดูผิดไปหมด ลองมองต่างมุมบ้างน่ะครับ ขอบคุณครับ


Posted by : บวบเองคับ , Date : 2010-09-28 , Time : 23:45:11 , From IP : 172.29.19.158

ความคิดเห็นที่ : 11


   
เรื่อง Elevator ตกก็เป็นเรื่องจุดเล็กๆไปทั้งที่มันเป็นรอยเปื้อนใหญ่ มีการตรวจสอบเหตุเกิด แต่ไม่มีมาตรการหาผู้บกพร่อง ( ไม่อยากใช้คำว่าคนผิด ) แต่กลายเป็นว่า Triage Nurse เป็นจำเลยสังคมเพราะผลพวงของ เหตุการณ์ข้างต้น, เพราะไม่สามารถตอบสนองความรู้สึกตกใจในขณะนั้นได้ แม่จะใช้หลักวิชาการตามหลักการ Triage ก็ตาม เรื่องความรู้สึกของผู้รับบริการมันเป็นเรื่องใหญ่ บางครั้งใหญ่กว่าความเจ็บป่วยด้วยซ้ำ เหมือนการเติมน้ำในแก้ว ทั้งที่แก้วใบนั้นมีรอยรั่วเติมเท่าไรก็ไม่เต็ม ตายละคนเติมเติมยังไงไม่เต็มซะที เป็นงี้ไป ทั้งทั้งที่เจ้าของแก้วหรือใครก็ไม่รู้เป็นคนทำให้แก้วมีรอยรั่ว
เรื่องการ บริการ ที่ ER ไม่รู้ว่าเป็นยังไง (รู้แต่ไม่ขอเอ่ย) แต่เชื่อว่าทุกคนก็มีภาระและพยาบาลทุกคนก็มีความรู้ และเก่งด้วย กล้ายืนยัน แต่เรื่องที่จะตอบสนองความรู้สึก ช่วย Calm down คนที่อยู่ในภาวะเครียส ระดับสี่ นั้นค่อนข้างยาก เพราะความสามารถในการรับรู้ลดลงไป มองเห็นอะไรแค่ผ่านรูเข็ม ยึดตัวเองเป็นที่ตั้ง ซึ่งมักเกิดในคนไข้ที่ OPD และหรือ ER โดยเฉพาะขณะที่ต้องรอ ปัญหาก็คือเกิดจากความไม่รู้ แล้วใครละที่จะต้องแจ้งถ้าไม่ใช่พยาบาล แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปมันเริ่มตั้งแต่สันดาน ตั้งแต่พืนฐานการศึกษาแล้ว ไม่เคยไปหรอกนะ ญี่ปุ่น แต่เคยดูทีวี เรื่องหลบหนีแผ่นดินไหว เรื่องซึนามิ เค้าสอนกันตั้งแต่อนุบาล เราละ กรูไม่รู้ ถึงเวลาค่อยมาวีนกันหน้า OPD แล้วกันจะเอา จะเอาถ้าไม่ได้เธอก็ผิด

พยาบาลก็คือด่านหน้าของ โรงพยาบาล ปกหน้าของหนังสือ ภาพแรกของอาหารจานเด็ด แม้โรงบาลนั้นจะรักษาดีเพียงใด เนื้อหาสาระในหนังสือ ก้าวล้ำ น่าอ่านแค่ไหน อาหารจานนี้จะอร่อยเพียงใด แต่ถ้าผู้มาใช้ไม่ประทับใจมันก็ยากที่เขาจะชื่นชม (หรือโง่ไปเลยเพราะติดใจแค่เรื่องด่านหน้า) มันยากทั้งสองฝ่่ายที่จะให้ OK กันทั้งคู่ น่าเห็นใจพยาบาล ทำอะไรตั้งมากมาย แต่สิ่งที่เขาจะมองเราเห็นคือ หยดหมึกที่เปิ้อนลงบนผ้าขาวแล้วกล่าวหาว่าเราสกปรก
อย่างที่คุณ บวบบอกอยากให้มองต่างมุม มันเป็นเรื่องยากที่จะให้คนในสังคมนี้หรือว่าใครก็ตามมองในมุมกลับเพราะใครๆก็ต้องเอาตัวเองเป็นที่ตั้งทั้งนั้นถ้ามองตามปรัชญาของพระบิดา " Our Soul is for the Benefit of Mankind " เพราะถ้าได้ตรึกตรองจริง คงไม่มีคนมาตั้งกระทู้แนวนี้หรอก

เรื่องเหล่านี้มันก็แก้กันไม่ตก มันเรื้องรังคล้ายๆกับการเมืองไทย ไม่ว่าชาติไหนๆประเทศไทยก็ยังย่ำอยู่เหมือนเดิม


Posted by : usa , Date : 2010-09-29 , Time : 23:08:46 , From IP : 172.29.9.252

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.008 seconds. <<<<<