ความคิดเห็นทั้งหมด : 28

Debate LIV: การใช้ภาษา ภาเษอ....ชำนาญคืออะไร?


   ยุคนี้ถ้าไม่พูดถึง communication skill ก็คงจะไม่ได้ ทำไมมันถึงสำคัญ สำคัญอย่างไร และเป็นสิ่งที่เราควรจะแสวงหาหรือไม่ ถ้าจะหาหาอย่างไร

Be mature, be positive, and be civilized

เชิญครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-21 , Time : 20:32:56 , From IP : 172.29.3.232

ความคิดเห็นที่ : 1


   เหมือนแคมเปญของ orange ที่ว่า "พูดกันมากขึ้น ฟังกันมากขึ้น เข้าใจกันมากขึ้น" ล่ะครับ ปัญหาของคนสมัยนี้ก็คงอยู่ที่ว่า ไม่ค่อยจะทำความเข้าใจกันและกันมากเท่าไหร่ การเอาใจเขามาใส่ใจเราน้อยลง ทำงานกับคนอื่นโดยเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง

communication ก็ประกอบด้วยการเข้าใจความคิดของผู้อื่น และนำเสนอความคิดของตนเองออกไป

การที่เราเรียนรู้เรื่อง communication skill ก็เพราะเรามีความจำเป็นที่จะต้องสื่อสารกับผู้อื่นให้ได้ประสิทธิภาพ เพื่อผลประโยชน์ต่างๆ หากเราไม่จำเป็นที่จะต้องสื่อสาร skill ตรงนี้ก็คงไม่มีใครสนใจที่จะฝึกฝนกัน


Posted by : ArLim , Date : 2003-12-25 , Time : 17:28:58 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 2


   กำลังคิดว่าโจทย์กำกวมเลยไม่มีคนมาต่อ ขอบพระคุณคุณ ArLim ครับ

Communication คือ "การสื่อสาร" สื่ออะไร? ตรงนี้น่าสนใจมาก คนเราสามารถ "สื่อ" ได้ โดยทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ และสามารถใช้ได้มากมายหลาย "วิธี" ซึ่งมีข้อดี ข้อเสีย จุดอ่อน จุดแข็ง แตกต่างกันออกไปมากมาก แถมยังขึ้นอยู่กับ "คนรับ" อีกซะก็หลายส่วน

การสื่อสารนั้นเป็นพื้นฐานของสัตว์สังคม และเป็นพื้นฐานของสัตว์ที่ไม่ "ใคร่" สังคมด้วย เพราะเป็นปัจจัยในการอยู่รอด ว่ากันตั้งแต่เพื่อการสืบพันธ์ การหาอาหาร การพยาบามไม่ให้ตนเองตกเป็นอาหาร ซึ่งเป็น "แต่กำเนิด" ไปถึงการมีวัตถุประสงค์ที่สูงขึ้นมาเรื่อยๆระดับ การเมือง การฑูต หรือ ศิลป สุนทรียศาสตร์ แต่จะขอจำกัดวงอยู่ที่การสื่อสารที่ผู้เริ่ม "ตั้งใจ" ก็แล้วกันนะครับ เดี๋ยวบานปลาย

คนเรานั้นตั้งใจจะสื่อได้หลายแบบ ไม่จำเป็นต้องให้ผู้รับ "คิดเหมือน" เราเองก็ได้ แต่อย่างน้อยก็เพื่อให้ผู้รับคิดอย่างที่เรา "ต้องการ" (ไม่เหมือนกันนะครับตรงนี้) กระบวนการใหญ่ๆมีสองอย่างคือ "ให้ และ รับ" แต่อีกประการที่สำคัญมากคือ "ในบริบท" (contextual) ด้วย โดยธรรมชาติเรามักจะคุ้นเคยกับการปรับ "การให้" แต่อีกสองประเด็นหลักคือ "การรับ" กับ "บริบท" นั้น ถูกละเลย การพยายามจะให้โดยไม่พิจารณาสอลอย่างนี้เกือบจะหมายความถึงการล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่าง ให้ เป็นภาษาอังกฤษกับเด็กไทยสามสี่ขวบที่ไม่เคยเรียนภาษอังกฤษมาก่อน กับบัณฑฺตระดับปริญญาโทเอกที่เรียนภาษาอังกฤษมา 11-15 ปี หรือพยายามจะ ให้ ความรู้ในการป้องกันโรค AIDS กับแม่ที่พึ่งเสียลูกจาก HIV หรือสามีไปตะกี้นี้ ที่ที่เราจะ "ให้" ก็จะไม่สื่อ ไม่ว่าจะให้ดีแค่ไหน

สองสามประเด็นที่แพทยศาสตร์ศึกษารุ่นใหม่มีการ discuss กันมาก ไม่ว่าจะเป็น communication skill, self-directed learning, professionalism, Palliative care, interview skill, feedback or constructive criticism ทุกประเด็นจะวนเวียนอยู่รอบๆหัวข้อ "ความสามารถในการสื่อ" ทั้งสิ้น ถามว่าเรามีโอกาส "พัฒนา" ความชำนาญเรื่องนี้อย่างไร? ควรหรือไม่? วิธีไหนดีที่สุด? ตอนนี้ดีอยู่แล้ว?" หรืออยากจะให้มีอะไรมาเพิ่ม?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-25 , Time : 21:32:20 , From IP : 172.29.3.224

ความคิดเห็นที่ : 3


   communication skill สำหรับมนุษย์นั้น ผมเห็นว่าประกอบด้วย การมองเห็น พูด ฟัง อ่าน เขียน
ซึ่งแต่ละอย่างก็ใช้ในโอกาสที่ต่างกันออกไป หากจะพัฒนาฝึกฝน ก็ทำได้เป็นด้านๆหรือทำไปพร้อมๆกัน
เช่น ฟังเลคเชอร์และฝึกเขียนไปด้วย ฝึกอ่านจากหนังสือและพูดอธิบายให้คนอื่นฟัง
หากต้องการที่จะพัฒนาทักษะในแต่ละด้านให้มากขึ้น ก็ควรต้องมีการฝึกฝนไปเรื่อยๆ ใช้ประสบการณ์เป็นการทบทวน
รู้ตนเองด้วยว่ากำลังฝึกฝนทักษะตรงนี้อยู่ และพร้อมยอมรับที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น

การสอนเป็นชั่วโมง หรือจัดฉากฝึกนั้น ได้ผลแค่เพียงเสริมการเรียนรู้เท่านั้น มันยังไม่ติดตัวเราไปได้หรอก หากไม่นำไปฝึก

แต่ว่าคุณ Phoenix ครับ โจทน์ที่คุณตั้งก็กำกวมจริง ผมต้องอ่านทำความเข้าใจสักพัก
และก็พยายามตอบออกมา
ช่วงนี้ไม่ค่อยได้คุยกันนะครับ

ปล. MedTime สื่อ(ไม่)กลางของนศพ.กำลังจะคลอดฉบับส่งท้ายปีแล้วล่ะครับ


Posted by : ArLim , Date : 2003-12-26 , Time : 17:31:12 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 4


   ขอบคุณสำหรับการชวนคุยต่อครับ

การฝึกภาค "ให้" ของการสื่อนั้นมีหลากหลายอย่างที่คุณ ArLim ว่ามา และก็เหมือนๆกับ psychomotor skill ทุกชนิดคือความสำเร็จขึ้นอยู่กับชั่วโมงบินหรือการฝึกฝนปฏิบัติจริง

แต่กับอีกสองประการล่ะครับ "การรับ" และ "บริบท" เป็นจุดบอดที่หลายคนอาจจะมองข้ามไปทั้งๆที่มันมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกันเลย

การรับ
ทุกครั้งที่เราจะสื่อ เราควร "ประเมิน" ผู้รับว่าเราสามารถและควรหรือต้องใช้ภาษาแบบไหน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ยกตัวอย่างการใช้ภาษาอังกฤษ ใครสามารถบอกได้ว่าหลังจาก 10+ ปีของการเรียนภาษาอังกฤษ อะไรคือ vocabulary ที่บัณฑิตระดับปริญญาทควรจะเข้าใจหรือ "สามารถ" ทำความเข้าใจ? ถ้าการสอบ TOEFL หรือ IELTS พอจะนับเป็นมาตรฐานที่บัณฑิตระดับปริญญาตรีควรจะผ่านเพื่อสามารถ "สื่อ" ให้รู้เรื่อง เกณฑ์ 550 หรือ 6.5 นั้นเป็นเกณฑ์ที่เราสามารถ "ตั้งความหวัง" ได้หรือไม่
หรือแม้แต่ภาษาไทยก็ตาม เวลาที่เราเลือกภาษาที่จะสื่อ ความสุภาพ ความเป็นวิชาการ ความเป็นกลาง หรือ "เป้าประสงค์" ที่เราจะสื่อนั้น จะรับได้ผู้รับก็ควรจะ grap สิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ ซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้ขึ้นกับการ "ให้" บางครอบครัวอาจจะคุ้นเคยกับภาษารูปแบบหนึ่งซึ่งไม่เหมือนกับอีกบ้านหนึ่งในการที่ฝ่ายหนึ่งต้องการให้เกิดความเข้าใจ บางโรงเรียนก็จะฝึกเด็กให้เข้าใจภาษาแบบหนึ่งขณะที่บางโรงเรียนก็ต่างกันออกไป ความล้มเหลวของการสื่อสามารถขึ้นอยู่กับทั้ง "ให้" และ "รับ" เพราะเหตุนี้

บริบท
ถ้าเราจะพูดถึงการเรียนการสอน เราจะพบว่าบริบทมีส่วนอย่างมากในการที่เราจะรับรู้และ "สามารถดึงออกมาใช้" เมื่อถึงเวลาที่ถูกต้อง ทำไมบ่อยครั้งที่เราพบว่าเราสามารถจำหนังบางเรื่องได้เกือบหมดทั้งเรื่องตั้งแต่ครั้งแรกที่ดู (ถ้าเป็นยังงั้นได้ทุกครั้งกับการอ่านหนังสือเรียนก็จะดีไม่น้อย) คำตอบก็คือ narrator ของภาพยนต์ที่ผูกเปนเรื่องราวนั่นเองที่เราสามารถจะจับ PATTERN และเดาได้ว่าตอนต่อไปน่าจะเป็นยังไง แม้การทั่งการ twist หรือ surprise element ยิ่งทำให้ participation ดีขึ้น จำได้นานขึ้น
อีกอย่างหนึ่งคือเวลาเราไปดูหนัง เราไปเพราะ "อยากจะดู" ถ้าเราสามารถทำให้บทเรียน (หรือครูสามารถทำให้บทเรียน) เป็นแบบนั้น บางทีเราอาจจะหวังผลได้ดีขึ้นหรือไม่? ถ้าทุกวันก่อนที่เราจะขึ้นไปปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย เราสามารถ "จำลอง" บริบทให้น่าสนใจ สำคัญ หรือ relevant เราจะได้อะไรๆมากกว่าเดิมหรือไม่?

คิดว่ายังไงครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-26 , Time : 20:42:02 , From IP : 172.29.3.217

ความคิดเห็นที่ : 5


   ช่วงนี้อยู่ commed จึงพอมีเวลาคุยด้วยน่ะครับ
(อันที่จริงก็คุยทุก block อยู่แล้วล่ะนะ ขึ้นกับว่าจะเสร็จงานหรือไม่)
การมอง การอ่าน การฟังเป็นการฝึกรับนะครับ
ในความเห็นของผม การยอมรับความแตกต่างของคู่สนทนา จะเป็นการฝึกที่ดีที่สุด
ยอมรับและพยายามเรียนรู้ถึงความแตกต่างของผู้ที่สื่อสารระหว่างกัน เมื่อรู้แล้วจึงจะได้ทราบว่า ควรจะสื่ออย่างไร จึงสัมฤทธิ์ผล

และความอยากเรียนรู้ ความต้องการที่จะรู้ เป็นตัวเสริมให้เราสามารถจำได้ฝังลึกมากขึ้น
เหมือนการไปปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยทุกเช้า ศึกษาจากผู้ป่วยด้วยตนเอง และโดนอาจารย์ถามคำถามแล้วเราตอบได้หรือไม่ได้นั่นล่ะครับ
ตอบได้ก็ภูมิใจ ตอบไม่ได้ก็แค้นใจ มันเป็นซะอย่างนี้
หากบางคนก็ปลงเสียแล้วกับการที่ตอบคำถามไม่ได้
การสร้างความรู้สึกอย่างนั้นให้เกิดขึ้นนั้น ไม่สามารถใช้วิธีเดียวกันกับทุกๆคนได้
ทุกคนมีพื้นฐานที่แตกต่างกันครับ

ควรเริ่มจากพื้นฐานของทุกคนครับ


Posted by : ArLim , Date : 2003-12-27 , Time : 12:48:10 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 6


   การอ่าน การฟัง การมองนั้นเป็นการฝึกรับ "ของตัวเราเอง" ครับ ที่ผมพูดถึงคือการฝึกให้เกิด "ความเข้าใจ" การรับของผู้อื่นขณะที่เราเป็นฝ่ายให้

ของพันนี้ต้องคิดว่ามันสำคัญก่อน ลำพังฝึกเรื่องของเราก็ยากแล้ว แต่การดันตัวเองให้มองถึงความรับรู้ของ "ผู้อื่น" ด้วยนั้นยิ่งยากกว่า แต่นักพูด นักประชาสัมพันธ์ นักการเมือง นักปลุกระดม หรือจริงๆแล้วผู้นำทุกคนจะมี skll อันนี้ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ผมเองก็ guilty as sin ในเรื่องนี้มากพอสมควร แต่อย่างน้อยก็โดย consciously ว่ากำลังทำอะไรอยู่

จริงๆฝึกการรับที่ผมพูดถึงนี่ก็คือการพยายามมองเรื่องราวจากมุมมองของผู้อื่นนั่นเอง จะช่วยให้เราเกิดความเข้าใจว่าทำไมเขาจึงไม่เห็นด้วย และอาจจะช่วยในการวางกลยุทธ์ใหม่เพื่อปรับความเข้าใจกับเราให้ดีขึ้น ปัญหาส่วนหนึ่งที่เกิดคือเราจะวาง Barrier ทางความคิดไว้ก่อนแล้วว่าถ้าคิดไม่เหมือนเรามันน่าจะเลว มันน่าจะผิด ตรงนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ทางพุทธศาสนาเราสอนว่าปัจเจกบุคคลควรบำเพ็ญและสั่งสม moral excellence ให้ได้ซะก่อน เมื่อมีความเห็นอะไรที่ไม่ตรงกับคนอื่นอย่างน้อยเราก็ผ่านการตรวจสอบตนเองมาแล้วก็อาจจะได้ช่วยประคับประคองคนอื่นนั้นต่อไป แต่ถ้าไม่เคยตรวจสอบตนเองมาก่อนเลย ทีนี้ใครถูกใครผิดก็จะขึ้นอยู่กับอย่างอื่นแทน

แต่อย่างน้อยถ้าเราเริ่มใจกว้างและรับฟัง (และให้) เหตุผลกันทุกครั้งเมื่อมีความเห็นแตกต่างกัน ผมว่านั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีแล้วนะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-27 , Time : 17:42:33 , From IP : 172.29.3.200

ความคิดเห็นที่ : 7


   การทำตัวเองให้เข้าใจ"การรับ"ของผู้อื่น ก็ต้องมีการฝึกฝนเช่นกัน
เรื่องของการฝึกฝนนี้อาจจะรู้ตัวหรือไม่ก็ได้ แต่คนที่มี skill นี้ก็แสดงว่าเขาให้ความสำคัญในตัวผู้อื่นเหมือนกับเป็นตัวเอง
....
ผมว่าอุปสรรคของการฝึกฝน "เอาใจเขา ใส่ใจเรา" นี้มันอยู่ที่การยอมรับความแตกต่างของบุคคลนะครับ
คนที่เรียนเก่งๆก็ไม่เข้าใจว่าทำไมคนอื่นๆถึงเรียนให้เก่งไม่ได้ และพาลหาว่าขี้เกียจหรือไม่ยอมอ่านหนังสือ แต่จริงแล้วมีปัญหาอีกหลายชั้นที่มองไม่เห็น
คนแข็งแรงที่ไม่เข้าใจว่าทำไมคนอื่นไม่ยอมออกกำลังกาย
แพทยืที่เห็นว่าคนไข้โง่ และไม่รักษาสุขภาพของตนเอง
..
..
คงไม่มีใครสายเกินเรียนหรอกนะครับ


Posted by : ArLim , Date : 2003-12-28 , Time : 22:30:19 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 8


   ไม่เพียงแต่ยอมรับ "ความแตกต่าง" แต่เราอาจจะต้องคิดใน "แง่บวก" สำหรับคนอื่นด้วย

พิจารณาจากตัอย่างที่คุณ ArLim ยกมา จะเห็นว่าตัวอย่างที่ไม่ดีเหล่านั้น ไม่ใช้เพราะความ "ไม่ยอมรับ" ความแตกต่าง แต่เป็นถ้าต่างไปแล้ว ต้อง "ไม่ดี" ต่างหาก

จริงๆแนวคิดนี้แทบจะเป็นแกนของ liberal ideology เป็นการ push ความเป็น autonomy ไปอีกระดับคือการ respect others autonomy อย่างที่เราคาดหวังให้คนอื่น respect ours เราอาจจะหาคำอธิบายให้ได้แม้แต่โจรบางคน สุนัขจิ้งจอกที่แอบมากินไก่ หรือแมวที่อยากจะขโมยกินปลา หรือแม้แต่การผิดศีลห้า ทั้งนี้อะไรก็ตามที่เป็น Absolute นั้นอยู่บนการตีความที่หมิ่นดหม่เอามากๆ เพราะ Absolute หมายถึง "ไร้บริบท" ทีนี้อะไรๆในโลกนี้ที่ "ไร้บริบท" บ้าง?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-29 , Time : 01:31:07 , From IP : 172.29.3.200

ความคิดเห็นที่ : 9


   อะไรคือ ไร้บริบท ล่ะครับ งงอีกแล้ว

ตกลงเรื่องการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็คือ ความที่เราต้องมองให้ออกว่า ผู้อื่นนั้นต้องการอย่างไร ในความต้องการสากลของความเป็นมนุษย์ปกติด้วย
ฉะนั้น แง่บวก อย่างที่คุณ Phoenix กล่าวถึง ก็เป็นสิ่งที่เป็นมาตรฐานสำหรับมนุษย์ปกติทั่วไป
respect others autonomy มันเกี่ยวกับ absolute ยังงัยล่ะครับ ผมไม่เข้าใจ
และผมว่าการ respect autonomy ของคนอื่น มันก็ไม่ใช่สิ่งที่บอกว่าเราจะยอมให้สิ่งๆนั้นเกิดขึ้น แม้ว่าเราจะรู้ เข้าใจ และยอมรับเหตุผลของสิ่งอื่น แต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับตัวเราด้วยว่าจะปล่อยให้การกระทำนั้นเกิดขึ้นหรือเปล่า
...
ยิ่งคุยเหมือนยิ่งมั่วเลยแฮะ


Posted by : ArLim , Date : 2003-12-29 , Time : 23:22:47 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 10


   ยังไม่ตรงทีเดียว เอาใหม่นะครับ

การเอาใจเขามาใส่ใจเรานั้น ไม่ใช่ "มองออก" ว่าเขาต้องการอะไร แต่เป็นพยายามคิดว่าที่เขาต้องการนั้นบางครั้งถึงเราไม่เห็นด้วยแต่เขาอาจจะมีเหตุผลที่แม้แต่เราก็ยอมรับได้ ประการหนึ่ง
ประการที่สองคือเหตุผลของเขาถึงแม้เราอาจจะไม่เห็นด้วย แต่โดย "บริบท" ของเขาก็เป็นไปได้ว่าเป็นเหตุผลที่ "ไปด้วยกันได้" เช่นที่เคยยกตัวอย่าง คนขโมยขนมปังสักแถวหนึ่ง เพราะลูกเมียที่บ้านไม่ได้กินอะไรมาหลายวันแล้ว

สิ่งเหล่านี้ผมมิบังอาจจะบอกว่าเป็นมาตรฐานสำหรับมนุษย์ปกติหรอกครับ ใครๆก้อาจจะมีความคิดที่ต่างไปจากที่ว่าและคิดว่าตนเองปกติ เป็นเรื่งแล้วแต่ปัจเจกที่จะตัดสินใจ "อุดมคติ" ของตนเอง

Absolute หรือ "สัมบูรณ์" หมายถึงเป็นค่าที่ "นิ่ง" ไม่ขึ้นอยู่กับบริบท ของส่วนใหญ่จะไม่ใช่สัมบูรณ์ เช่น เงินไทย หรือ เงินดอลล่าร์ ไม่สามารถไปใช้กับมนุษย์ดาวอังคาร กู มึง ก็อาจจะไม่ใช่คำหยาบคายต่ำช้าเสมอไป เหี้ย โดยบริบทหนึ่งก็เป็นแค่สัตว์เลื้อยคลาน แต่รู้สึกจะมีแค่ประเทศเดียวนี่แหละที่กลายเป็นของซวย "ลงแขก" สมัยก่อนเป็นการร่วมมือร่วมใจกันทำกิจกรรม เช่น เกี่ยวข้าว แต่มีอยู่ยุคหนึ่งใครอุตริมาใช้กับการโทรมหญิง ความหมายก็เลยดูแย่ไปอย่างไม่นึกฝัน แต่ถ้าจะยกตัวอย่างสัมบูรณ์จริงๆมา ผมรู้จกอยู่อย่างเดียวคือ Four Noble Truths หรือ อริยสัจสี่นั่นเองที่เป็นจริงทุกสถานการณ์ ไม่ขึ้นกับกาลเวลาและบริบท

แต่ autonomy นั้นเป็นปัจเจกซึ่ง "ต้อง" เป็นไปโดยบริบทแน่นอนครับ บริบทที่มาจากความอบรมสั่งสมและเพาะบ่มเป็นบุคลิกภาพและนำไปสู่การตอบสนองหรือแนวความคิด วิเคราะห์กับข้อมูลที่นำเข้ามาคิด ถ้าเราใช้หลัก absolute มาตัดสิน autonomy เมื่อไหร่ เรากำลังใช้หลักการ "ของเรา" ไป Judge มาตรฐานของคนอื่นโดยมิได้นำเอาบริบทของคนนั้นๆมาคิด religious extremist เป็นตัวอย่างที่ใช้ absolute มา judge individual ทั้งๆที่ "การตีความ" นั้นก็ถูกสอดใส่บริบทไปไม่น้อย แต่แปลออกมาเป็น absolute ใครไม่เชื่อคำสั่ง คำสอน จะกลายเป็นพวกนอกศาสนา เป็นพวกที่ต้อง "กำจัด ฆ่าทิ้งเสีย" เพราะ absolute rule ว่าไว้ (หรือจริงๆแล้ว ตะแก "คิด" ว่า scripture ว่าไว้ยังงั้น)

ไม่มีอะไรมั่วหรอกครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-30 , Time : 00:14:17 , From IP : 172.29.3.198

ความคิดเห็นที่ : 11


   คิดว่าเข้าใจในความหมายของคุณ Phoenix นะครับ
เอาล่ะ งั้นมาลงประเด็นที่น่าสนใจต่อ
สุดท้ายแล้วเรื่องของ communication skill ก็เป็นเหมือนผลลัพธ์ที่ประมวลมาจาก ความเป็นปัจเจกของแต่ละคน อีกน่ะสิ
ที่ฝึกๆกันอยู่ทุกวันนี้ ถ้าหากไม่เข้าใจและยอมรับเข้าไป ก็คงเหมือนกับการท่องจำ dialogue ที่ใช้กับคนต่างประเภทเท่านั้น ไม่สามารถปรับให้เข้ากับตาหลิ่ว ตาสีตาสา ยายแม้น คุณน้า คุณอา คุณตำรวจ ฯลฯ น่ะสิครับ

คงต้องฝึกกันใหม่


Posted by : ArLim , Date : 2003-12-30 , Time : 02:50:14 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 12


   communication skill ก็เป็นเหมือนผลลัพธ์ที่ประมวลมาจาก ความเป็นปัจเจกของแต่ละคน อีกน่ะสิ

เห็นด้วยกับข้อสรุปอันนี้ครับ

ลองนำมาดัดแปลงใช้ดูทีซิ? การไปจีบใครให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เป็นการโน้มน้าวหรือสื่อที่ผู้ใช้ "ต้องการ" ผลอย่างชัดเจน สิ่งที่ต้องการสื่อนั้นไม่ได้การันตี "ความถูกต้อง" แต่การันตีหรือมุ่งไปที่ "ผลลัพธ์"เป็น priority (ไม่ได้ว่าคนที่จริงใจก็มีนะครับ แต่ทั้งสองแบบต้องการ "ผลลัพธ์" เหมือนกัน)

ถ้าแพทย์สื่อกับคนไข้ไม่ว่าระดับไหนก็ตามไม่ได้ รายนั้นๆก็ลำบากแน่ๆ professionalism นั้น ไม่ได้หมายถึงสื่อกับผู้ป่วยอย่างเดียว แต่หมายถึงสื่อกับผู้ร่วมงานทั้ง horizontal และ vertical คือเพื่อนร่วมงาน นาย ลูกน้อง อาชีพเราเป็น multidisciplinary และต้องมีการประสานงาน (ไม่ใช่ประสานงา) จึงจะนำไปสู่ความสำเร็จ ท่องจำก็อาจจะช่วยได้ แต่อาจจะไม่ตลอดรอดฝั่ง มันต้องเข้าใจและเห็นดีจึงจะไปได้

การเป็นคน sensitive อ่อนไหวต่อการกระตุ้นโดยตรงและโดยอ้อม ร่ำๆจะผรุสวาทกลับตลอดเวลาก็อาจจะเป็นตัววัด maturity ของอารมณ์ (EQ) ได้ การเป็นคน pessimistic มองคนอื่นเลวไปหมดก็อาจจะทำให้มาตรฐาน "ดี" ผิดเพี้ยนไปจาก อุดมคติ หรือ อคติ ได้ สื่ออะไรๆก็จะไม่มีการส่งทอดและสืบเจตนาที่ต้องการจะสื่อ ความล้มเหลวในหน้าที่การงานหรือชีวิตก้อาจจะอยู่แค่เอื้อมเป็นต้น



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-30 , Time : 17:19:17 , From IP : 172.29.3.202

ความคิดเห็นที่ : 13


   สวัสดีปีใหม่ครับ

EQ นี่ก็มีส่วนกับการสื่อสารมาก เป็นปัจจัยหลักเลยก็ว่าได้นะครับ
ที่เคยสังเกตว่าคนที่มี EQ ดีๆนี่จะมีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสื่อสารได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าคนอื่นๆ
อันที่จริงการที่มี IQ ดีนี่ น่าจะมี EQ ที่ดีด้วยได้ เพราะถ้าหาก IQ แสดงถึง "ปัญญา" จริงๆ ก็จะเป็นสิ่งที่ใช้นำมาพัฒนาจิตใจของตัวเองได้ด้วย

คุณ Phoenix ไปเที่ยวปีใหม่ที่ไหนมาหรือเปล่าครับ



Posted by : ArLim , Date : 2004-01-04 , Time : 10:22:44 , From IP : maliwan.psu.ac.th

ความคิดเห็นที่ : 14


   สวัสดีปีใหม่ครับ

ผมไปฟาร์มโชคชัย จ. สระบุรีมา นัยว่ามาเจ้าตัวเล็กไปดู cowboy กะให้ดูว่านมที่ดื่มๆกันอยู่นี่มาจากไหน ก็ดีครับ ผมว่าเขาทำได้ดีทีเดียว และจัดโปรแกรมต่างๆของการแสดงได้เข้าขั้นมืออาชีพ ได้กินไอติมที่เข้มข้นที่สุด (ยี่ห้อ อืม...มิลค์ ไม่ใช่โชคชัยนะครับ เพราะเขาขาย brand นี้ไปให้คนอื่นแล้ว)

IQ ไม่จำเป็นต้องไปกับ EQ หรอกครับ จริงๆแล้วเป็นคนละเรื่องกัน ถึงแม้ทั้งสองอย่างจะ "สร้าง" ได้เหมือนกัน แต่จะเป็นคนละขบวนการและวิธีการ ถ้าจะให้เกิดทั้งคู่ต้องจงใจทำ ไม่ใช่จะได้โดยอัตโนมัติทั้งคู่ เหตุเพราะว่านิยามของ "ดี" หรือ "สุข" นั้นสามารถต่างกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ อยู่แถวๆนี้คุณ ArLim ก็เคยได้ยินคำ "ดีเกินไป" หรือประเภท "พวกมากลากไป" ก็เยอะ มันถึงได้เป็นปัญหาไงครับ โดยเฉพาะถ้า IQ ดีแต่อีกอันไม่ไปด้วยกัน วันๆก็อาจจะคอยหาแต่สิ่ง negative เป็น main themes ประจำวัน

ช่วงเทศกาลปีใหม่ปีนี้ ประเทศไทยก็ได้ทำสถิติตายจากอุบัติเหตุจราจรโดยเฉพาะอย่างยิ่งมอร์เตอร์ไซค์ ทำลายสถิติสงกรานต์ปีที่แล้วซะด้วย (ซึ่งครั้งนั้นคนไทยตายช่วงสงกรานต์ 3 วันมากกว่า casualties ทั้งหมดของสงครามอิรักตลอดเดือน !!!) อันนี้ไม่น่าเกี่ยวกับโง่ฉลาดเท่าไหร่ ผมว่า รัฐมนตรีศึกษาเปลี่ยนงานมาได้สามอาทิตย์ก็สามารถสั่งปรับเปลี่ยนนโยบายการศึกษาของประเทศได้อย่างทันใจ แถมคุยซะอีกว่าเขาเป็นคนทำงานเร็ว ถ้านโยบายการศึกษาของประเทศสามารถถูกวิเคราะห์และปรับเปลี่ยนในสามอาทิตย์ ทำไมมันถึงต้องพึ่งมาเกิดตอนนี้ หรือแสดงว่า รมต.ในอดีตเป็น idiots มาตลอดก็ไม่อาจทราบได้

อย่างนึงที่อาจจะเป็นฟ้าสีทองผ่องอำไพ เห็นจะเป็นบรรยากาศการลงทุน ดูใครๆช่างมีความมั่นใจสูง นักเล่นหุ้นมือใหม่เข้าวงการเป็นดอกเห็ด หวังว่าเป็นเพราะ BOOM จริงๆ อย่าให้ BUST หรือฟองสบู่แตกอย่างคราวที่แล้วก็แล้วกัน บาดแผลหลายต่อหลายคนยังไม่หายดีเท่าไหร่เลย

สวัสดีปีใหม่อีกทีครับ




Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-04 , Time : 15:08:07 , From IP : 172.29.3.213

ความคิดเห็นที่ : 15


   ผมเคยนั่งรถผ่านฟาร์มโชคชัยที่ว่ามาเหมือนกัน แต่ไม่มีโอกาสได้แวะเข้าไปเที่ยว แต้แต่ฝากความแค้นเอาไว้ว่าสักวันคงได้เข้าไปชมบ้าง
แต่ได้เห็นข่าวเกษตรกรเอานมไปราดถนนประท้วงแล้วเสียดายแทน

ที่ผมว่า IQ น่าจะทำให้มี EQ ที่ดีด้วยนั้น เพราะ IQ ในความหมายที่ผมอยากให้เป็นคือ สติปัญญาในพุทธศาสนา มีทั้งสติและปัญญา ก็เป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้เกิด EQ ได้ง่ายขึ้นมาก
แต่ถ้าดูข้อสอบวัด IQ ของฝรั่งที่เห็นกันบ่อยๆนั้น น่าจะใช้วัดประเภท การประมวลผลอย่างรวดเร็ว การหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ แม้ว่าจะต้ิองใช้จินตนาการในการคิดด้วยก็ตาม แต่มิติของจินตนาการที่ใช้มันยังแคบเกินไป
IQ กับ EQ ก็ต้องพัฒนาไปด้วยกันอย่างที่คุณ Phoenix ว่าละครับ

วันนี้ได้คุยกับแม่ แม่เล่าให้ฟังเรื่องของลูกพี่ลูกน้องที่กำลังเรียนอยู่ชั้นประถมต้น ครูที่รร.สอนให้เด็กทำ mind map ผลลัพธ์ก็คือ เด็กเข้าใจว่าเป็นการวาดรูปและโยงเส้นๆไปเรื่อยๆ ไม่มีความหมายหรือช่วยให้เกิดการจัดความคิดอะไรเลย
ประสาอะไรกับเด็กประถม แม้แต่เด็กระดับอุดมศึกษายังใช้กันไม่เป็นเลย
เรื่องของการศึกษา มันสื่อกันยากอย่างนี้ละครับ คนสอนไม่เข้าใจพัฒนาการในแต่ละวัยของเด็ก และทรัพยากรบุคคลก็ไม่เพียงพออีก คนที่จะแก้ปัญหาได้ก็คงต้องพยายามกันเหนื่อยหน่อย

มีเรื่องหนึ่งที่เพิ่งนึกได้ เกี่ยวกัีบการสื่อสาร และน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องทำงานกับบุคคลหลากหลาย นั่นคือ เรื่องของ กุศโลบาย (หนังสือ "กุศโลบาย" ของหลวงวิจิตวาทการ) คุณ Phoenix คงเคยอ่าน มีความเห็นว่าอย่างไรครับ ผมว่าอย่างน้อยเด็กๆก็น่าจะได้อ่านกัน โตแล้วก็ควรอ่านอีกรอบ

...


Posted by : ArLim , Date : 2004-01-04 , Time : 16:55:07 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 16


   สอนให้รู้กับสอนให้คิดนั้นต่างกัน ต่างกันทั้งวิธีและการประเมินรวมทั้งสิ่งที่คาดหวัง

สอนให้รู้นั้น เราประเมินได้เร็วและง่ายครับ ตรงไปตรงมาว่ารู้หรือไม่รู้ (ถึงแม้บางพิสัยอาจจะกำกวม แต่ก็ค่อนข้างง่ายกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสอนให้คิด) สอนให้คิดนั้นเราคาดหวังบางสิ่งบางอย่างที่จะค่อยๆสะสม ค่อยๆฟอร์มรูปแบบ ค่อยๆกลายเป็นความสามารถในที่สุด การประเมินว่าใครคิดเป็นยากกว่ากันเยอะ

directional thinking, rational thinking, critical thinking, etc เป็นหัวข้อการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการใช้ higher function ของสมอง ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปของสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน โดยมีความเสี่ยงที่จะผิดน้อย หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลบวกสูงที่สุด สอนให้เด็กเขียน mind mapping นั้น ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์คนสอนล่ะครับว่าจะสอนให้รู้ หรือสอนให้คิด การจะดูผลก็ต้องใช้ให้ถูกหลัก ถ้าถามตอนจบว่า mind mapping คืออะไร ประกอบด้วยเส้นยึกยือเชื่อมกันไปมา มีลูกศรวิ่งซ้ายวิ่งขวา ก็จะเป็นการประเมินการสอนให้รู้ แต่ถ้าจะมาดูผลการสอนให้คิด ก็อาจจะต้องมา observe สังเกตตอนหลังว่า "pattern" นั้นถูกแปรสภาพไปได้อย่างไร อาจจะไม่ตรงไปตรงมา แต่อาจจะสังเกตจากการที่เด็กแก้ปัญหาหลายชั้น ดูว่ามี step ขั้นตอนเกิดขึ้นไหม มีความสามารถในการโยงเหตุการณ์ประกอบเป็นเรื่องเดียวกันอย่างมี logic หรือไม่ คนที่จะบอกว่า fail หรือ success ต้องบอกอย่างมี evidence และหลักการในการประเมิน

ผมไม่เคยอ่านหนังสือที่คุณ ArLim ว่า ลองบอก excerpt สั้นๆให้ฟังหน่อยซิครับ ความรู้จะได้กระจาย เราจะได้เกิดมี Knowledge management ขึ้น



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-04 , Time : 20:50:21 , From IP : 172.29.3.199

ความคิดเห็นที่ : 17


   รู้ที่คุณ Phoenix ว่านี่คงเป็น "รู้จัก" ใช่ไหมครับ
เพราะถ้า"รู้จริง" ก็น่าจะนำไป "คิด" และ "ใช้" ต่อได้
เข้าใจว่า child center ต้องการสอนเด็กให้ "รู้" และ "คิด" โดยมีครูเป็นผู้สอนและดูแล
ไม่ใช่ปล่อยให้เด็กประถมไปค้นคว้าเองโดยหัวว่างเปล่าเหมือนอย่างที่เห็นๆกันอยู่

เรื่อง "กุศโลบาย" เป็นเรื่องที่นำมาจากหนังสือของฝรั่งอีกทีนึง เก่ามากแล้ว เคยได้อ่านในห้องสมุดบินหลา 3 ตอนนี้ก็ไม่รู้ว่ามันไปอยู่ไหนแล้วเหมือนกัน
เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องการทำอย่างไรให้การสื่อสารของเรานั้นสัมฤทธิ์ผลมากที่สุด ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น
เป็นอุบาย วิธีการสื่อสาร เทคนิค ฯลฯ

...
เดี๋ยวจะไปหาหนังสือเล่มนี้มาคืนห้องสมุดครับ เพราะรู้สึกว่าจะอยู่ใกล้ๆตัวผมนี่เอง


Posted by : ArLim , Date : 2004-01-05 , Time : 01:17:58 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 18


   เรื่องปล่อยให้เด็กๆไปค้นคว้าเองนี่ผมว่าน่าสนใจ

มีความเชื่อ (ที่ popular) ว่าเด็กๆไม่สามารถจะเรียนรู้โดยปราศจาก guidance ผมมีสมมติฐานว่ากลไกการเรียนรู้นั้น "อิสรภาพ" และ "ธรรมชาติ" นั้นน่าสนใจที่จะเป็นแรงผลักดันที่ดีได้หรือไม่ เด็กๆนั้นเรียนรู้ผ่านการ "เล่น" อะไรที่เด็กจะเรียนได้ดีนั้น อยู่ในรูปแบบของการเล่น หรือสนุก (เอ..หรือผู้ใหญ่ก็ด้วยหว่า?) จริงๆแล้ว concept ที่ว่านี้คณะเรากำลังใช้อยู่ โดยหวังว่า "บริบท" จำลองที่เราใส่ไว้ใน scenario นั้นจะทำให้เกิดความ "เหมือนจริง" และ "สนุก" ในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นกว่าการอ่าน textbook แห้งบรรยายว่า CA breast เป็นยังงี้ MI เป็นอย่างงั้น ถ้าเราจะเอา case brain abscess มาสอน ผมว่าเราก็ควรจะเอา case จำลองคล้ายบิ๊กบีทูบีอะไรทำนองนี้นี่แหละมานำบทเรียน เผลอๆเราอาจจะมี willing ที่จะหาวิธีรักษา brain abscess อย่างกระตือรือร้นมากขึ้น

"วิธี" ที่เราเรียนภาษาและเข้าใจนั้น ผมไม่แน่ใจว่าซับซ้อนหรือ simple กันแน่ แต่ว่ามีประสิทธิภาพสูงมาก สูงมากจนผมไม่แน่ใจว่า curriculum ไหนจะทำได้ดีกว่าวิธีธรรมชาติที่เด็กทุกคนเรียนรู้เพื่อจะสื่อกับพ่อแม่ อะไรๆที่เราเห็นว่า "ว่างเปล่า" นั้น อาจจะเป็นเพราะเราพยายามคิดให้มันซับซ้อนเกนความจำเป็นไปบ้างหรือไม่ ถ้าเรามองอะไรให้ simple ลง อาจจะพบอะไรดีๆก็ได้นะครับ (Occam Razor)



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-05 , Time : 19:58:00 , From IP : 172.29.3.216

ความคิดเห็นที่ : 19


   ถ้าเป็นการเรียนรู้ที่ "อิสระ" จริงนั้น ก็คงจะเป็นแรงผลักดันที่ดีจริงล่ะครับ
แต่เท่าที่เห็นการเรียนของน้อง ของรุ่นน้องๆ ของที่ได้ยินมา กลับไม่เป็นอิสระดังที่คาด
มีที่ไหนกัน ครูบอกให้เด็กไปคิด "โครงงานวิทยาศาสตร์" แล้วพอเด็กคิดมาก็หาว่าเด็ก"ปัญญาอ่อน"
ครูสั่งให้เด็กๆไปทำบอร์ดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ไปค้นคว้าหาข้อมูลเอาเอง แต่ข้อมูลที่ครูว่า หนังสือในห้องสมุดยังไม่มีเลย ...

case ใน PBL น่าสนใจ แต่กระบวนการ PBL ของหลายๆกลุ่มกับเริ่มทำแบบ routine มักง่าย เห็น scenario ก็ตั้ง LO กันลูกเดียว
กระบวนการกลุ่ม PBL ที่ผมพบเจอมา มันไม่อิสระและไม่สนุกอย่างที่คิดนะครับ เพราะ facilitator ไม่รู้บทบาทของตัวเองเพียงพอ (เด็กๆนั้นพยายามจะหันหน้าเข้าหากันแล้ว แต่หลายครั้งที่หลงทาง)


Posted by : ArLim , Date : 2004-01-06 , Time : 00:11:45 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 20


   นั่นคือรากของปัญหาที่เราได้ตั้งกระทู้มาแต่ต้น communication skill ใช่ไหมครับ?

ระบบ free and active learning นั้นดี และไม่ควรจะถูก discredit โดยความไม่รู้เรื่องหรือความผิดพลาดของผู้ใช้ (ครู หรือ facilitator) ในเวลาเดียวกัน ก่อนที่เราจะ criticize ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็อาจจะต้องทำการศึกษาซะก่อนว่าแล้วเราเข้าใจในหลักปรัชญาวิธีการเรียนนั้นๆมากน้อยแค่ไหน เราถึงสามารถจะบอกได้ว่ามันเบี่ยงเบนไปจากที่ควรจะเป็น

ประเทศไทยมีระบบการเรียนที่สานสอดคล้องกับศาสนามาแต่โบราณ และศาสนาพุทธในประเทศไทยนั้นมีรากมาทางเถรวาท (Theravada) หรือหินยานซึ่งยึดถือคัมภีร์พระไตรปิฏก (Tripitaka or the three baskets) เป็นหลัก เถรวาทหรือ "วาทะผู้อาวุโส" นั้นถูกใช้สืบกันมาช้านาน แม้กระทั่งระบบ "พี่สอนน้อง รุ่นพ่อสอนรถ่นลูก" ก็เป็นวัฒนาธรรมของโรงเรียนแพทย์ในไทย จะบอกว่ามันไม่ work ก็คงไม่ได้ เพราะเราได้มีการผลิตแพทย์ชั้นเยี่ยมมาทุกยุคทุกสมัยมาโดยระบบ "วาทะของท่านเถร" นี้มาเป็นประกาศนียบัตรอย่างดี "ข้อดี" ของการที่ครูมาให้คำแนะนำหรือเป็น guide นั้นก็ยังมีอยู่ facilitator ในระบบใหม่นั้นเราก็ไม่ควรจะมี iron-cast rule ว่าห้ามพูดห้ามแทรกแซง คนที่ทำวิจัยศึกษาการสอนการเรียนระบบ PBL มานานกว่าเราก็ได้บอกแล้วว่าในกรณ๊ที่ Facilitator เป็น expert ด้วยนั้น output และ outcome ดีกว่าชัดเจน (นั่นคือระบบ CRT; Clinical-reasoning tutorial class ตอนขึ้นปีสี่ปีห้านั่นเอง)

ที่คุณ ArLim สาธกมาในย่อหน้าสุดท้ายนั่น ขอให้ช่วยขยายความสักนิดได้ไหมครับ ว่าที่ว่า "ไม่สนุก ไม่อิสระ และ facilitator ไม่รู้บทบาท" เป็นเช่นไร ในส่วนของไม่สนุก ไม่อิสระนั้น นักเรียนในกลุ่มน่าจะเป็นคนกำหนดและนำกลุ่มได้ ส่วนบทบาท facilitator ที่คุณ ArLim ว่าไม่เหมาะสมนั้น ที่พบเป็นแบบ over, under หรืออย่างไร น่าจะมีการนำเสนอกันเพื่อมีการปรับปรุงแก้ไขนะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-06 , Time : 11:05:18 , From IP : 172.29.3.103

ความคิดเห็นที่ : 21


   ที่มันไม่สนุกและไม่อิสระนั้นหมายถึง PBL ตอนปี 2 และปี 3 น่ะครับ อันที่จริง นักเรียนในกลุ่มควรจะช่วยกันดำเนินกิจกรรมอย่างสนุกและได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ แต่ความจริง ก็ยังมีนักเรียนอีกมากที่ยังไม่เข้าใจกระบวนการของ PBL กันจริง ...
และที่เห็นแบบสุดโต่งก็อย่างที่คุณ Phoenix ว่าล่ะครับ facilitator ไม่พูด ไม่แทรกแซงเลยจริงๆ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่

อย่าไปหวังแผ่นใบประเมินนั้นเลยครับ เพราะนักเรียนของเรายังไม่มีนิสัยการเขียนประเมิน ลองสังเกตดูสิครับ มีสักกี่ใบเชียวที่มีข้อคิดเห็นเขียนลงไป

อาจารย์ของเราเองก็น่าจะ observe กระบวนการ PBL ด้วยตัวเองบ่อยๆนะครับ ดีกว่าไปประเมินจากแผ่นกระดาษหรือผลการสอบเยอะเลย (โพยเสียครึ่งแล้ว)

ไม่อยากจะว่ามากล่ะครับ เคยทะเลาะกันเพราะ PBL มาแล้ว
เรื่องนี้ต้องคุยกันหลายๆกลุ่มครับ ผมเองก็อาจจะเห็นไม่หมด

การศึกษาไม่ว่าจะในวิธีไหน มันก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน ทั้งสอน หรือให้เรียนเอง ก็ต้องมีการดูแลจากผู้ใหญ่ ตรวจสอบแก้ไขอยู่เ้สมอ ถึงจะดีนะครับ

communication skill นี่ควรจะให้ความสำคัญกันทุกคนจริงๆสินะครับ ไม่จำเป็นว่าเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น


Posted by : ArLim , Date : 2004-01-07 , Time : 02:37:52 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 22


   Facilitator คิดอะไรอยู่นั้นไม่เป็นประเด็นครับ ส่วนที่ว่าเปอร์เซนต์การแทรกแซงของ Facilitator นั้นคงไม่ตายตัว การที่ไม่มีการแทรกแซงเลยอาจจะเกิดขึ้นได้ในกลุ่มที่ group process ดำเนินไปด้วยดีรวมทั้งความก้าวหน้าของ objective ด้วย

การศึกษา (หรือการให้การศึกษา) นั้น the whole idea อยู่ที่ "ความคาดหวัง" นะครับ ผมเคยว่าไว้ครั้งหนึ่งที่นี่ เป็นอันเดียวกับที่ผมเคยพูดกับ supervisor ผมก็คือ ครูกับหมอนั้นต้องมี optimistism อยู่ในใจ ครูต้องคิดว่าลูกศิษย์สามารถพัฒนาได้ หมอต้องคิดว่าผู้ป่วยจะต้องรอดได้ จนกว่าจะมีหลักฐานแน่ชัดว่าไม่นั่นแหละ มิฉะนั้นจะต้องสู้ต่อไปเรื่อยๆ หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับระบบ feedback แต่ผมไม่เชื่อแม้แต่นิดเดียวว่ามันยาก "เกินความสามารถ" ของเด็กไทย ของคนไทย เพราะมันไม่ได้อยู่ที่ยากง่าย มันอยู่ที่ attitude และ attitude นี่เปลี่ยนได้แน่ๆ ดูจาก fashion ปัจจุบันกับเมื่อห้าปีที่แล้วก็ได้ (หรือแม้แต่ปีที่แล้ว)

ระบบนี้ต้อวประเมินทั้งคู่แหละครับคือ process กับ contents ผลสอบก็จะบอกการประเมิน contents ส่วน Observation นั่นก็จะเป็นการประเมิน Process แต่ผมเห็นด้วยว่าเรายังสามารถพัฒนาได้อีกเยอะ และยังห่างไกลจาก ideal ที่เราน่าจะได้อะไรบ้างจากระบบนี้

แต่ข้อสำคัญทื่สุดคือ ระบบใหม่หรือ andragogy (education for the mature) นี้มีความต้องการคุณสมบัติของผู้เรียนอย่างชัดเจน คือ "เป็นผู้ใหญ่" ถ้าคุณสมบัติดังกล่าวไม่สมบูรณ์ ก็จะ counter-productive แต่พอเราถามตัวเองว่านักศึกษาแพทย์น่าจะเป็นผู้ใหญ่ได้รึเปล่า ผมว่าคำตอบก็ชัดเจนอยู่ในตัวเอง ระบบไหนที่สามารถ "คัดออก" ส่วนที่มีคุณสมบัติสำคัญมากๆไปได้ก็น่าจะไม่ผิดเกินไป



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-07 , Time : 10:32:07 , From IP : 172.29.3.103

ความคิดเห็นที่ : 23


   ตอนเช้ามีสอบ แถมดึกป่านนี้แล้วยังมาเข้าอินเตอร์เน็ตอีก ผมเองก็ไม่มีความเป็นผู้ใหญ่สักเท่าไหร่เลย

นศพ.นั้นเป็นผู้ใหญ่ได้แน่ ด้วยศํกยภาพในตัวเองและสิ่งแวดล้อมที่เกื้อหนุนให้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองขึ้น แต่ก็แสดงว่าไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ใหญ่กันทุกคน

เรื่องของ PBL นั้น มีปัญหาในเรื่องของ attitude อยู่เป็นพื้นจริงๆละครับ เพราะข้อดีในตัวก็มี หากผู้เรียนนั้น optimism แล้วก็ไม่น่าจะมีปัญหากับการใช้ชีวิต การทำงาน การเรียนที่แตกต่างออกไปแต่อย่างใด

นี่คงเป็นเรื่องของ mass communication ด้วยกระมัง


Posted by : ArLim , Date : 2004-01-08 , Time : 01:35:34 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 24


   ขอถามนิดนึงครับ
ฟาร์มโชคชัยไม่ได้อยู่ที่โคราชหรือครับ
พอดีว่าไปเปิดไดอารีตัวเองอ่านเจอแล้วไม่แน่ใจ...


Posted by : ArLim , Date : 2004-01-08 , Time : 04:07:50 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 25


   จริงๆแล้วยิ่งพอเราอายุมาก ช่วงเวลานอนจะลดน้อยลง บางทีเพราะความกลัวงานไม่เสร็จไม่กล้านอน ต้องใช้วิธีเปลี่ยน subject ของสิ่งที่ทำไปเรื่อยๆเป็นการพักผ่อนสมองแทน

เรามีที่ใช้ทั้ง optimism และ pessimism แหละครับ เคยมีคนบอก ตอนผู้ป่วยมาหาเราก่อนจะให้การวินิจฉัยเราอาจจะควรคิดถึงไอ้ที่มันร้ายๆไว้ก่อน เช่น เลือดออกใต้เล็บอาจจะต้องระวัง malignant melanoma คนไข้ว่าผมเป็นริดสีดวงเป็นๆหายๆอาจจะต้องคิดว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ทวารหนักรึเปล่า เสร็จแล้วตอนจะให้การรักษาค่อยเปลี่ยน mode มาเป็น optimism ว่าเราน่าจะทำอะไรให้แก่คนไข้ได้ก่อนจะยอมแพ้

เอ้อเรื่องจังหวัด อย่าใช้ผมเป็น reference เลยครับ ผมอ่อนภูมิศาสตร์ทั้ง local, national, and international นัยว่าศรศิลป์ไม่กินกับเรื่องนี้



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-08 , Time : 10:58:51 , From IP : 172.29.3.103

ความคิดเห็นที่ : 26


   การคิดไม่ว่าจะใช้วิธีไหน ก็ควรจะให้เกิด +/+ (win/win) สินะครับ
การคิดแบบให้เกิดประโยชน์แก่ทุกๆฝ่าย หรือพยายามหาข้อดีจากสิ่งที่เกิด แม้การคิดแบบ persimism ก็คือการไม่ประมาทนั่นเอง แต่การกระทำนั้นก็ไม่ควรจะสุดโต่งไปทาง optimism หรือ persimism แต่อย่างใด

ฟาร์มโชคชัยอยู่ที่จ.นครราชสีมา จริงๆล่ะครับ เพราะเป็นจังหวัดที่ผมนั่งรถผ่านระหว่างทางขอนแก่น-กรุงเทพฯ

อาทิตย์หน้าผมจะไป selective ที่ตรังแล้วไม่รู้จะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้หรือเปล่า


Posted by : ArLim , Date : 2004-01-08 , Time : 16:57:57 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 27


   ถ้าจะย้อนกลับมาที่หัวเรื่อง คิดอย่างเดียวไม่พอ อาจจะต้องมีการแสดงออกมาโดยหวังผลด้วย

ดูจากการพาดหัวข่าวหรือการรายงานข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์บ้านเราก็ได้ เอาเรื่องเร็วๆนี้ที่มีการเผาโรงเรียน ขโมยอาวุธสงคราม ทหารตำรวจตายไปสี่คน ไปสัมภาษณ์ พณฯ ท่านแม้ว ไม่รู้ว่าจริงเท็จอย่างไร แต่มีการรายงานว่าท่านฉุนมากและใช้อยู่วลีหนึ่งคือ ตายเสียได้ ก็ดี หรือเหมาะสมแล้วอะไรทำนองนั้น อยากจะยก benefit of the doubt ให้ว่าท่านคงจะไม่ปัญญาอ่อนพอที่จะสำรากอะไรชุ่ยๆออกมาแบบนั้น น่าจะเป็นการผ่านการดัดแปลงหรือ sensationalise โดย media ของเรา (ที่รู้ๆกันอยู่) แต่ที่น่าแปลกใจก็คือไม่เห็นมีคนเดือดร้อน หรือออกมาปฏิเสธอย่างใด ซึ่งน่าเป็นห่วงขวัญกำลังใจของคนที่กำลังเสี่ยงชีวิตอยู่ และของครอบครัวของคนที่สูญเสียชีวิตในหน้าที่อย่างยิ่ง เรื่องอย่างนี้ถ้าเกิดขึ้นที่อื่น ผมเดาว่าจะมีผลขนาดสูญเสียคะแนนเสียงไปตลอดกาล หรือจะเป็นเพราะรสนิยมผมขวางกับคนส่วนใหญ่มิทราบ

เมื่อกลางวันวันนี้ได้ดูทีวีตอนเที่ยงขณะกินข้าว ก็มีรายการ "ตลก" คนแสดงออกมาใช้คำพูดกูมึงกับอีกตัวหนึ่งซึ่งเล่นเป็นแม่ ลูกอีกคนลุกขึ้นมาต่อมาคนแรกแต่ก็ "ทำตลก" โดยการตบกบาลขยี้หัวคนแม่อีกครั้ง มีสียง background ในห้องส่งหรือคนดูขบขันกันเป็นการใหญ่ แต่ผมดูแล้วรู้สึกคลื่นไส้และทุเรศมากที่ที่ผู้ดำเนินรายการยอมให้เรื่องแบบนี้ออกอากาศ ผมมองเป็นการ desensitize เด้กไทยในเรื่องสัมมาคารวะ การรู้จักผู้หลักผู้ใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ ซึ่งถ้าคนตะวันออกจะมีอะไรที่ definitely เหนือกว่าพวกวัตถุนิยมตะวันตกก็เรื่องนี้นี่แหละ น่าเศร้าจริงๆ ก็คงไม่น่าแปลกใจถ้าในอนาคตอันใกล้หรือแม้แต่อาจจะเกิดขึ้นแล้วความสัมพันธ์ของครูลูกศิษย์ก็อาจจะเป็นของตลก ของที่ลบหลู่แล้วขบขัน รวมไปถึงสถาบันเสาหลักอื่นๆ เช่น ศาสนา ครู พ่อแม่ ฯลฯ

ขออภัยที่เขียนแล้วหดหู่ วันนี้สงสัยสติปัญญาไม่ใคร่ปลอดโปร่ง ดูตลกก็ไม่ขัน



Posted by : Phoenix , Date : 2004-01-08 , Time : 22:24:13 , From IP : 172.29.3.198

ความคิดเห็นที่ : 28


   เรื่องที่นายกทักษิณพูดนั้น ผมก็รู้สึกเหมือนกันครับ
ดูจากสถานการณ์แล้ว ถ้านายกคิดจะพูดอะไรออกมานั้น ย่อมรู้ดีแ่น่นอนว่าจะต้องถูกสื่อนำมาเผยแพร่ต่อไป และคำพูดต่างๆนั้นจะแสดงให้เห็นถึงทัศนคติต่างๆของคนพูด แ่ตคำพูดที่พูดในอีกวาระและสถานที่ๆหนึ่งนั้น จะให้ความรู้สึกและความหมายที่ต่างกันเมื่อมารับฟังในอีกวาระหนึ่ง ซึ่งสื่อนั้นอาจต้องพยายามคงความหมายของสารนั้นไว้ให้ได้
คำพูดที่ว่า "ประมาทอย่างนี้ สมควรตาย" นั้น ในครั้งแรกที่สื่อพิมพ์ออกมา ไม่ได้ใส่บริบทหรืออะไรที่ขยายความหมายของคำพูดไปมากกว่าแปลออกมาตรงๆว่า "สมน้ำหน้าที่ตาย" ซึ่งเมื่ออ่านอย่างนี้ เป็นใครก็ไม่พอใจทั้งนั้น

รวมถึงรายการตลกที่คุณ Phoenix ว่าด้วย
แสดงว่าสื่อนั้นขาดจุดมุ่งหมายที่จะสร้างสรรค์สังคมให้ไปในทางที่ดีขึ้น แต่กลับมีจุดมุ่งหมายที่จะพยายามขายให้ได้ ไม่ได้คิดที่จะแก้ไขเพียงเล็กน้อยเพื่อให้สารที่สื่อออกมานั้น สร้างค่านิยมที่ดีขึ้น

ถ้าสื่อไม่คุมตัวเอง คนรับสารก็ต้องดูแลตัวเองกันเองไปก่อนละครับ


Posted by : ArLim , Date : 2004-01-09 , Time : 03:31:24 , From IP : 203.113.76.75

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.013 seconds. <<<<<