ความคิดเห็นทั้งหมด : 1

กรรมการ 3 ฝ่าย กม.คุ้มครองคนไข้ส่อไปไม่รอด "คบส."รุกตั้งกรรมการระดับชาติ


   วันที่ 05 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 22:30:27 น. มติชนออนไลน์

กรรมการ 3 ฝ่าย กม.คุ้มครองคนไข้ส่อไปไม่รอด "คบส."รุกตั้งกรรมการระดับชาติ

กรรมการ 3 ฝ่าย กม.คุ้มครองคนไข้ท่าจะไปไม่รอด ขอถอนตัวแล้ว 3 ราย นายกฯเตือนสติให้กลับเข้าร่วมใหม่ ช่วยกันแก้ปัญหา "คบส." เคลื่อนใหม่ จี้ตั้ง กก.ระดับชาติ ดึง"หมอนอก สธ.-สำนักงบฯ-คลัง " ร่วม คณบดี" ศิริราช-จุฬาฯ" หนุน พร้อมร่วมเป็นกรรมการ

ความคืบหน้ากรณีกระทรวงสาธารณสุขตั้งคณะกรรมการสร้างเสริมสมานฉันท์ในระบบบริการสาธารณสุข หรือคณะกรรมการ 3 ฝ่าย เพื่อแก้ปัญหาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ...แต่ล่าสุด สมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) ประกาศนำสมาพันธ์แพทย์ถอนตัวออกจากการเป็นกรรมการ โดยอ้างเหตุผลถึงความไม่ชอบธรรมของตัวกรรมการ ประกอบกับไม่พอใจที่ถูกกล่าวโจมตีนั้น

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ถึงกรณีที่ตัวแทนแพทย์บางกลุ่มเตรียมถอนตัวออกจากการเป็นคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่ายว่า ได้คุยกับ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แล้ว ขอไปช่วยกันทำความเข้าใจ เพราะความจริงตนยืนยันว่าทั้งหมดที่ทำเพื่อช่วยทุกฝ่าย เพื่อลดความขัอแย้งระหว่างคนไข้กับทางแพทย์ และเพื่อหากระบวนการที่จะสามารถไกล่เกลี่ยและชดเชยความเป็นธรรมต่างๆ ได้

"ส่วนตัวผมคิดว่าควรที่จะเข้ามาช่วยกัน และอะไรที่ยังติดใจในเรื่องรายละเอียดของกฎหมาย เท่าที่ผมฟังดู ฝ่ายผู้ที่ผลักดันกฎหมายเขาพร้อมที่จะแก้ไข เพราะฉะนั้นอย่าไปทำให้ปัญหามันเรื้อรัง ต้องไม่ลืมว่าแม้ไม่มีกฎหมายฉบับนี้ ปัจจุบันปัญหาการฟ้องร้องมีอยู่แล้ว และยากเนื่องจากไม่มีกฎหมายที่จะมารองรับกระบวนการไกล่เกลี่ย หรือมีกองทุนที่จะครอบ

คลุมแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยตรง ไม่ใช่ว่าปัญหาการฟ้องร้องมันจะไปเกิดจากกฎหมายนี้ เพราะปัจจุบันปัญหามันมีอยู่แล้ว และในอดีตมีบางกรณีกระทบกระเทือนขวัญกำลังใจของแพทย์จำนวนมาก เพราะเป็นคดีอาญาและมีการตัดสินจึงพยายามที่จะแก้ปัญหาตรงนี้" นายอภิสิทธิ์กล่าว

นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ หัวหน้าหน่วยประสานงานสื่อมวลชน เครือข่ายคุ้มครองประชาชนด้านสาธารณสุข (คบส.) กล่าวว่า จะล่ารายชื่อบุคคลากรสาธารณสุข 1 หมื่นรายชื่อเพื่อเสนอประธานวุฒิสภา ขอให้ถอดถอน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานองค์การเภสัชกรรม นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธาณสุข (สวรส.) เพราะมีความเห็นคัดค้านกลุ่มแพทย์มาตลอด

อีกทั้ง คบส.ไม่เห็นด้วยกับสัดส่วนคณะกรรมการที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรี สธ. ลงนามแต่งตั้ง ที่มีสัดส่วนภาคประชาชน 8 คน แพทย์ 8 คน และ สธ. 4 คน โดยในสัดส่วนของ สธ.พบว่ามี นพ.อำพล และ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ ที่มีความเห็นค้านกับกลุ่มแพทย์มาโดยตลอด และมักกล่าวให้ร้ายผ่านสื่อ หากทำงานร่วมกันก็คงไม่สามารถเกิดบรรยากาศการปรองดองขึ้นได้ จึงต้องการให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ให้เป็นการรับฟังความคิดเห็นระดับชาติ ให้แพทย์ที่อยู่นอก สธ.มีส่วนร่วมและมีตัวแทนจากสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสื่อมวลชนเข้าร่วม

"นพ.โชติศักดิ์ เจนพาณิชย์ ตัวแทนจากแพทยสภา พล.ต.ท.จงเจตน์ อาวเจนพงษ์ นายกแพทยสมาคม พญ.พจนา กองเงิน ประธานสมาพันธ์โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์ ยื่นหนังสือถึง นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ขอถอนตัวออกจากคณะกรรมการ 3 ฝ่ายแล้ว " นพ.ฐาปนวงศ์กล่าว

ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า หากมีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติจริง และมีการเชิญศิริราชเข้าร่วม จะเป็นการดีที่จะได้หารือร่วมกัน และทำให้ทราบรายละเอียดขององค์กรแพทย์และสาธารณสุขในสังกัดอื่นไม่เพียงเฉพาะสังกัด สธ.เท่านั้น อย่างไรก็ตาม หลักการของร่าง พ.ร.บ.นี้ดี แต่รายละเอียดกระบวนการการดำเนินการอาจจะยังไม่เข้าใจกัน จึงเป็นเรื่องดีหากจะมีเวทีสร้างความเข้าใจกันได้

ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หากมีการเชิญจุฬาฯเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการระดับชาติก็พร้อมที่จะเข้าร่วม โดยจะส่ง ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชระศิลป์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายความเสี่ยงเข้าร่วมในฐานะผู้แทนคณบดี เพราะดำเนินการเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อยู่แล้ว

ด้าน นพ.วิชัย โชควิวัฒน คณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย กล่าวว่า ไม่มีความจำเป็นที่ สธ.จะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่าย เพราะเป็นไปตามเสียงเรียกร้องที่ไม่มีเหตุผล และกรรมการเพียงหาประเด็นความเข้าใจไม่ตรงกัน ซึ่สามารถหารือหรือปรับเปลี่ยนแก้ไขประเด็นต่างๆ ได้ในขั้นกรรมาธิการสภา อีกทั้งสัดส่วนกรรมการก็อิงฝ่ายแพทย์เกินไป คือมีกรรมการฝ่ายผู้ให้บริการ 8 คน กรรมการฝ่ายกระทรวงสาธารณสุขอีก 4 คน ขณะที่กรรมการฝ่ายภาคประชาชน 4 คน เป็นสัดส่วน 12 ต่อ 8 แพทย์มากกว่าประชาชนด้วยซ้ำ

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท. ถอนตัวโดยอ้างเหตุผลว่าถูกโจมตี นพ.วิชัยกล่าวว่า การถอนตัวหรือไม่ถอนตัวไม่น่าจะเกี่ยวกับการถูกโจมตี เนื่องจากการออกมาชี้แจงความเข้าใจผิดกรณีร่างกฎหมายดังกล่าว ล้วนเป็นข้อเท็จจริงทั้งสิ้น จึงไม่ควรนำมาเป็นเหตุผลในการถอนตัว

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า หากเหตุผลการถอนตัวระบุว่ามาจากการถูกโจมตี อันนี้ไม่ทราบ เพราหน้าที่เลขาธิการ สช. คือให้ข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบสาธารณสุขไทย ตนไม่ได้ว่าร้ายใคร ส่วนคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่ายนั้น คิดว่าทุกคนพร้อมจะทำเพื่อประโยชน์ประชาชน

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ไม่มั่นใจว่าสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท. ต้องการอะไร เพราะจากการหารือเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันก็มีมติร่วมว่าจะตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่ายขึ้น ซึ่งทางแพทย์วิชาชีพ รวมทั้งตัวแทนสมาพันธ์ฯก็ไม่ได้คัดค้าน แต่เมื่อตั้งคณะกรรมการขึ้นกลับถอนตัว ไม่เข้าใจว่าสมาพันธ์ฯต้องการอะไรกันแน่ หรือลึกๆ ต้องการจะล้มร่างกฎหมายดังกล่าว

นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา ผู้ตรวจราชการกระทรวง และประธานคณะกรรมการเสริมสร้างสมานฉันท์ในระบบสาธารณสุข หรือกรรมการ 3 ฝ่าย กล่าวว่า ขณะนี้อยากให้คณะกรรมการ



Posted by : ช่วย , Date : 2010-08-06 , Time : 09:28:50 , From IP : 172.29.1.136

ความคิดเห็นที่ : 1


   เรื่อง พรบ.ยังไม่ขอวิจารณ์ แต่ผมชักรู้สึกว่าการเข้าชื่อขับไล่ปัจเจกบุคคลนี่ เป็นวิธีการที่ไม่ควรใช้บ่อยๆ (หรือ at all!!) มันคล้ายๆศาลเตี้ยอย่างไรชอบกล

Posted by : phoenix , Date : 2010-08-06 , Time : 14:20:43 , From IP : 172.29.17.115

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<