ความคิดเห็นทั้งหมด : 2

ภาษาไทยวิบัติ




   กาญจนา นาคสกุล

ราชบัณฑิตยสถานห่วงเด็กไทยอินกระแสเกาหลีฉุด "ภาษาไทยวิบัติ" หันไปสนใจภาษาต่างประเทศมากขึ้นกว่าเดิม จี้เพิ่มทักษะการเขียน ทั้งบทความ บทวิจารณ์ เพื่อให้เด็กได้ฝึกใช้คำและภาษาอย่างถูกต้อง...

เมื่อวันที่ 20 ก.ค. ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตยสถาน และนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เนื่องในวันที่ 29 ก.ค. ตรงกับวันภาษาไทยแห่งชาติ ถึงแม้จะมีการรณรงค์เรื่องการใช้ภาษาไทยในทุกปี แต่ก็ยังพบว่า ปัญหาการใช้ภาษาไทยยังไม่ได้รับการแก้ไข ทุกอย่างยังเหมือนเดิม และกลับน่าเป็นห่วงเพิ่มมากขึ้นจากการเข้ามาของกระแสเพลงเกาหลี แฟชั่นเกาหลี ที่ทำให้คนไทยหันไปสนใจภาษาต่างประเทศมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะในเด็กเยาวชนมีการเรียนภาษาเกาหลีเป็นวิชาเสริม แต่ไม่มีใครสนใจเรียนเสริมภาษาไทยทั้งที่ยังใช้กันไม่ถูกต้อง

ทั้งนี้ ตนจึงอยากเสนอให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีการรณรงค์เรื่องการอนุรักษ์และใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องให้มาก ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ควรเน้นเรื่องการเรียนวิชาภาษาไทย โดยเฉพาะการปลูกฝังในเด็กนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา รวมถึงการส่งเสริมให้เด็กทุกชั้นวัยสามารถเขียนเรื่องราวที่มีความยาวได้ จะช่วยแก้ปัญหาในระดับหนึ่ง

"จากประสบการณ์จะเห็นได้ว่า เด็กยุคใหม่นี้ไม่สามารถเขียนอะไรที่ยาวๆ ได้ อาทิเช่น เรียงความ บรรยาย หรือเรื่องราวต่างๆ ดังนั้นโรงเรียนควรจะเน้นให้เด็กได้มีทักษะการเขียนให้มาก ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบทความ บทวิจารณ์ และการเขียนในรูปแบบอื่นๆ ที่จะต้องให้เด็กได้ฝึกใช้คำและภาษาอย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการใช้ภาษาไทยได้" ศ.เกียรติคุณ ดร.กาญจนา กล่าว

ราชบัณฑิตยสถาน กล่าวต่อว่า การใช้ภาษาถิ่นเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่น่าเป็นห่วงมาก โดยปัจจุบันเด็กไทยมักรู้สึกอายที่จะพูดภาษาถิ่นของท้องถิ่นตัวเอง ในขณะที่ตนเห็นว่าควรส่งเสริมให้มีการสื่อสารโดยใช้ภาษาถิ่นระหว่างที่อยู่ ในภูมิลำเนาจะช่วยอนุรักษ์ภาษาถิ่นเอาไว้ได้ทางหนึ่ง นอกจากนี้ยังพบปัญหาเกี่ยวกับความเข้าใจผิดในการใช้ภาษาถิ่น โดยนำภาษากลางมาใส่สำเนียงท้องถิ่นทำให้ภาษามีการผิดเพี้ยนไป ทั้งนี้หากไม่เร่งแก้ไขภาษาถิ่นดั้งเดิมที่มีอยู่ก็จะหายไปในที่สุด.


Posted by : thiopental , Date : 2010-07-20 , Time : 20:31:54 , From IP : 113.53.56.183

ความคิดเห็นที่ : 1




   การใช้ภาษาถิ่นเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่น่าเป็นห่วงมาก โดยปัจจุบันเด็กไทยมักรู้สึกอายที่จะพูดภาษาถิ่นของท้องถิ่นตัวเอง ในขณะที่ตนเห็นว่าควรส่งเสริมให้มีการสื่อสารโดยใช้ภาษาถิ่นระหว่างที่อยู่ ในภูมิลำเนาจะช่วยอนุรักษ์ภาษาถิ่นเอาไว้ได้ทางหนึ่ง

Posted by : thiopental , Date : 2010-07-20 , Time : 20:34:36 , From IP : 113.53.56.183

ความคิดเห็นที่ : 2




   ช่ายๆๆ เห็นด้วยอย่างแรงนิ
เราคนใต้ ก็ต้องแหลงใต้ ซิ
ช่ายหม้าย
555555


Posted by : คนไร้ความรู้สึก , Date : 2010-07-21 , Time : 12:59:24 , From IP : 172.29.8.214

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<