ความคิดเห็นทั้งหมด : 1

ภาพรพ.มอ.ที่อยากเห็น


   ภาพโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ที่อยากเห็น
Accessibility & Quality
โรงพยาบาลก่อตั้งมากเกือบ30ปี ได้สร้างประโยชน์ให้กับประชาชนมหาศาล โดยเฉพาะท้องถิ่นภาคใต้มากมาย ในวันนี้คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ บุคลากรทางสาธารณสุขได้หลั่งไหลมาดูงาน รวมถึงผู้ป่วยปริมาณมหาศาลที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้การเข้าถึงการรับบริการของผู้ป่วยและไม่ป่วย(ผู้มารับการตรวจสุขภาพ)ได้ยากมากมาก แม้ว่าเราจะมีระบบนัด ในผู้ป่วยที่ไม่ฉุกเฉินก็ตาม (กรณีฉุกเฉินเข้าห้องฉุกเฉินได้โดยตรง)
ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องมาจากโรคที่พบในปัจจุบันเป็นโรคเรื้อรังทำให้เกิดผู้ป่วยสะสม รักษาแล้วต้องดูกันไปตลอดชีวิต ในขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้ป่วยต่อโรงพยาบาล มอ.มิได้ลดลง จึงมิอาจสกัดกั้นผู้ป่วยที่มารพ.อย่างต่อเนื่องได้ ประกอบกับคิวที่เปิดในแต่ละวันน้อยนิดเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่เข้ามา จึงเกิดความไม่พึงพอใจและเรื่องร้องเรียนตามมา แต่ปัญหามิใช่อยู่ที่ผู้ป่วยเท่านั้นเราพบว่าผู้ป่วยจำนวนมากเป็นโรคที่ไม่จำเป็นต้องมารับการรักษาที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เช่นเบาหวานที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ภูมิแพ้ โรคหืดระดับเบาถึงปานกลาง ทำให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายรับภาระงานที่มาก กลุ่มผู้ป่วยอาการหนักหลุดมาอยู่ที่คลินิกทั่วไป กลุ่มผู้ป่วยหนึ่งคนต้องพบแพทย์หลายท่าน ยิ่งอายุมากบางครั้งต้องมาทัวร์โรงพยาบาลทุกสัปดาห์
จึงน่าจะถึงเวลาที่มาจัดการเรื่องการเข้าถึงการรับบริการและคุณภาพของการบริการ(Accessibility&Quality)
ขอเสนอเรื่องการจัดตั้งคลินิกผู้ป่วยนอก(Ambulatory clinic)
มีการคัดกรองผู้ป่วยแบ่งเป็นสามกลุ่ม
-ฉุกเฉิน มีเกณฑ์ที่ชัดเจน
-เฉพาะทาง ในกรณีที่มีการส่งต่อหรือแพทย์นัด ผู้ป่วยไม่สามารถขอเข้าเองได้ นอกจากผ่านคลินิกผู้ป่วยนอก
-คลินิกผู้ป่วยนอก ในกรณีwalk in มีทีมแพทย์ + สหสาขาวิชาชีพ มาร่วมกัน เพื่อพัฒนาแนวทางการรักษาตามแนวมาตรฐาน รองรับโรคระบาดต่างๆ
การจัดตั้งคลินิกผู้ป่วยนอกจะทำให้ห้องฉุกเฉินได้ดูผู้ป่วยที่ฉุกเฉินจริงๆ OPD เฉพาะทางต่างๆได้ดูแลโรคที่เหมาะสมกับความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมามีผู้ป่วยไว้สอน post gradและทำวิจัย
-OPD GPเปลี่ยนเป็นคลินิกผู้ป่วยนอกจะได้พัฒนาการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
-ผู้ป่วยเข้าถึงการรับบริการมากขึ้นไม่ต้องไปหลายคลินิก ได้รับการดูลครบทุกด้านองค์รวม
-โรงพยาบาลได้เพิ่มความพึงพอใจแก่ผู้ป่วยและบุคลากรฝ่ายปฏิบัติงานและรายได้ที่ได้รับจากfee for service การรับผู้ป่วยส่งต่อสามารถเข้าคลินิกเฉพาโรคได้เลย และต้องเป็นผู้ป่วยที่จำเป็นต้องส่งต่อถึงรับ (ลดปัญหาการมารับการบริการที่ไม่เหมาะสมและลดการตามจ่ายของรพ.ต้นสังกัด)
-องค์ความรู้ที่เกิดจากการพัฒนาคลินิกผู้ป่วยนอกรพ.มอ. อาทิCPG แนวทางการดูแลผู้ป่วย ถูกถ่ายทอดให้กับโรงพยาบาลชุมชนเพื่อประโยชน์ของปวงชนชาวไทยต่อไป
อยากให้มีการส่งบทความ ภาพรพ.มอ.ที่อยากเห็นจากผู้มารับบริการและบุคลากร เพื่อนำมาพัฒนางานรพ.ให้ดีขึ้นต่อไป

อาจารย์เวชศาสตร์ครอบครัว มอ.







Posted by : oonno16 , E-mail : (oonno16@hotmail.com) ,
Date : 2010-06-05 , Time : 18:35:27 , From IP : 172.29.19.94


ความคิดเห็นที่ : 1


   เป็นภาพที่เราชาว OPD ก็อยากเห็น ทราบว่าส่วนหนึ่งก็อยู่ในแนวคิดของผู้บริหารอยู่แล้วที่จะพัฒนา และปรับปรุงโครงสร้างGP คลินิกเพื่อรองรับนโยบาย แต่การปรับปรุงถูกเลื่อนตลอด ก็ฝากผู้บริหารช่วยเร่งหน่อยนะคะ

Posted by : OPD , Date : 2010-06-07 , Time : 09:12:08 , From IP : 172.29.1.166

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<