ความคิดเห็นทั้งหมด : 3

โลกาภิวัฒน์ - โรงพยาบาลไฮเทค


   โลกาภิวัฒน์ - โรงพยาบาลไฮเทค


ในขณะที่เมืองไทยยังคงวิพากษ์วิจารณ์ นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคกันอยู่ โรงพยาบาลในต่างประเทศก็ปรับรูปแบบการให้บริการ โดยนำเทคโน โลยีไร้สายเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยและบุคลากรของโรงพยาบาล

เรื่องมีอยู่ว่า นางพยาบาลเวรของแผนกโรคเนื้องอก โรงพยาบาลมาเทอร์ เมืองบริสเบน ออสเตรเลีย ได้ค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ที่จะทำให้ประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะเวลาเจ้าหน้าที่ออกตรวจเยี่ยมคนไข้ตามตึก โดยนำแท็บเล็ตพีซีและโน้ตบุ๊กเข้ามาใช้ร่วมกับเครือข่ายไวไฟ หรือเครือข่ายไร้สายภายในโรงพยาบาล ช่วยให้หมอและพยาบาลเรียกดูข้อมูลของคนไข้ขณะตรวจได้ทันที ทั้งผลการตรวจโรค บันทึกแพทย์ ใบสั่งยา

เพียงแค่หมอและทีมงานขณะขึ้นวอร์ด มีแท็บเล็ตพีซีและโน้ตบุ๊กติดตัว ก็สามารถเรียกดูข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แม้จะยืนอยู่ข้างเตียงคนไข้ก็ตาม

ตอนนี้ผู้บริหารโรงพยาบาลกำลังปรับเปลี่ยนการบริหารงานให้ทันสมัย เรียกว่า โครงการ meMPHis ซึ่งฝ่ายบริหารจะนำข้อมูลต่าง ๆ จากเดิมที่เคยต้องกรอกกันมากมายมาใส่ไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ หากจะบันทึกใหม่ก็ต้องบันทึกผ่านระบบคอมพิวเตอร์เช่นกัน คาดว่าจะช่วยลดเวลาการเดินทางจากเตียงคนไข้และศูนย์คอม พิวเตอร์ได้มาก

อีกแห่งก็คือ โรงพยาบาลโลแกน ตอนนี้แผนกเภสัชกรรมกำลังอยู่ระหว่างการทดลองใช้คอมพิวเตอร์พกพาแทนการใช้โน้ตบุ๊ก เดิมนั้นเภสัชกรจะต้องไปเก็บข้อมูลที่เตียงผู้ป่วยเพื่อจดบันทึกการสั่งยาของแพทย์แล้วนำกลับมายังแผนกเพื่อสั่งจ่ายยา

คณะผู้บริหารคาดว่าระบบใหม่จะช่วยลดขั้นตอน ลดข้อผิดพลาดในการจ่ายยาและยังสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลาว่า แพทย์จ่ายยาอะไรให้คนไข้บ้าง โดยเฉพาะยาตัวใหม่ หากมีการผิดพลาดอาจเกิดอันตรายร้ายแรง

งานนี้อินเทลยิ้มแก้มปริทั้งบริษัท เพราะโรงพยาบาลทั้งสองแห่งใช้ชิปเซนตริโนของอินเทลเค้าล่ะ.


Posted by : superman , Date : 2003-12-12 , Time : 15:44:04 , From IP : 172.29.1.180

ความคิดเห็นที่ : 1


   คิดว่า ถ้าเราเป็นทาสเทคโนโลยีก็คงไม่ต้องทำอะไรกันแล้ว "ความพอเพียง" น่าจะนำมาใช้ได้กับการแพทย์ รู้จักบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด น่าจะดีกว่า ส่วนโครงการ 30 บาท 20 บาท ถ้าบุคลากรไม่ถอดใจเสียก่อน ถือซะว่เป็นความท้าทายภายใต้ความจำกัด คงจะดีไม่น้อย

Posted by : ajv , Date : 2003-12-14 , Time : 10:59:02 , From IP : 172.29.2.135

ความคิดเห็นที่ : 2


   คิดว่า ถ้าเราเป็นทาสเทคโนโลยีก็คงไม่ต้องทำอะไรกันแล้ว "ความพอเพียง" น่าจะนำมาใช้ได้กับการแพทย์ รู้จักบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด น่าจะดีกว่า ส่วนโครงการ 30 บาท 20 บาท ถ้าบุคลากรไม่ถอดใจเสียก่อน ถือซะว่เป็นความท้าทายภายใต้ความจำกัด คงจะดีไม่น้อย

Posted by : ajv , Date : 2003-12-14 , Time : 10:59:07 , From IP : 172.29.2.135

ความคิดเห็นที่ : 3


   เห็นด้วยว่าเราไม่ควรจะทำอะไร for the sake of technology อย่างเดียว แต่ในขณะเดียวกันเราก็ไม่ควรจะ anti อะไรเพีงเพราะมันเป็น technology ใหม่เท่านั้นด้วย

ประเด็นจะคล้ายๆกับที่มีน้องถามว่าเราควรจะซื้อ PDA ไหม จะซื้อ laptop, computer ไหมนั่นแหละครับ ทุกอย่างเราต้องคำนึงถึง cost effectiveness เท๕โนโลยีที่จะนำมาใช้ส่วนใหญ่ค่า premium จะแพง แต่ที่ติดตลาดได้ก็เพราะมันจะทำให้การบริหารองค์มีปรสิทธิภาพ และตรงนี้ความ "คุ้มทุน" จะโผล่ตามมาทีหลัง ข้อมูลทางการแพทย์ที่สามารถถูกตามรวบรวมเรียกผลย้อนหลังได้เป็นรากฐานของการวิจัย การวิจัยควรจะเป็นรากฐานของความก้าวหนาและความประหยัด (หรือ cost effective) ดังนั้น technology หรือการบริหารจัดการอะไรที่ทำให้เป็นไปได้ก็จะต้องเปรียบเทียบ "ความคุ้มทุน" ที่ตรงปลายนี้

เทคโนโลยีไม่ทุกอย่างที่ทำให้คุ้มทุน อะไรที่ออกมาเป็น cosmetic aesthetic หรือ fashionable นั้นบวกค่าอะไรบางอย่างที่ไม่ใช้ประโยชน์โดยตรง (เช่นแก้วน้ำที่พอปะสติ๊กเกอร์มิกกี้เมาส์ลงไปแล้วราคา doublw หรือเสื้อ T-shirt พอมีลายบาร์บร้ก็เปลี่ยนราคาไปโดยไม่เกี่ยวกับ "คุณภาพ" ของสินค้าโดยตรง เป็นต้น)

สรุปคือถ้าจะใช้เทคโนโลยีก็จงเป็น "นาย" ไม่ใช่เป็น "ทาส" แต่เรายังคงต้องรักษาความมีหูตากว้างไกลไว้ด้วย นาโนเทคโนโลยีกำลังถูกนำมาใช้ในทางปฏิบัติเต็มที่ในอนาคตอันใกล็ อันนี้อาจจะเป็นการปฏิวัติทางเทคโนโลยี ERA อีกครั้งหนึ่ง สิงค์โปร์เขามีคนที่แม้แต่ MIT กำลังพยายาม headhunter ไปเป็นโปรแกรม director อยู่ เราอาจจะต้องมาคิดกันว่าทำอย่างไรจึงจะหลุดพ้นจากสถานภาพ customer หรือ consumer มาเป็น producer ให้ได้ ไม่งั้นอาจจะต้องทนอยู่กับตู้เหล็กเก็บเอกสารต่อไป



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-14 , Time : 17:53:04 , From IP : 172.29.3.200

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<