ความคิดเห็นทั้งหมด : 11

Debate LIII: ความสามารถในการทำงานร่วมกัน เกิดจากอะไร?


   ได้มีโอกาสคุยกับแพทย์รุ่นพี่ที่มีหน้าที่ดูแลน้องๆ intern ที่จบออกไปเสริมทักษะข้างนอก ได้รับทราบข้อมูลที่ทำให้เกิดอารมณ์ผสมผสานทั้งดีใจ ชื่นใจ และเป็นห่วง โดยเฉพาะอย่างหลัง เมื่อนำมาคิดดูกับสิ่งที่ได้ประสบพบเจอ เลยอยากจะนำมาปรึกษาพวกเราดูว่าคิดกันอย่างไร?

มีการสังเกตว่าการทำงานในระดับ vertical ได้แก่ กับพี่ กับนาย หรือกับลูกน้อง พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ของน้องจบใหม่ "บางคน" ไม่ใคร่ราบรื่น มากพบในสัดส่วนมากพอที่ทำให้มีคนตั้งสมมติฐานว่าเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบหรือไม่ หรือว่าเราอาจจะควรต้องมีการปรับปรุงพัฒนา skill ในส่วนนี้มากขึ้นอย่างไรหรือเปล่า

การเรียนของคนนั้นมีส่วนสัมพันธ์กับประสบการณ์อย่างลึกซึ้ง ดังนั้นแพทย์จบใหม่ทันทีนั้น ก็ยังเป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่จะรับฟังรุ่นพี่ หรือ แม้แต่พยาบาลที่ทำงานมานานกว่าเรา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเราอาจจะต้องนึกถึงประโยชน์ที่เราอาจจะสามารถ share ความรู้ความชำนาญที่ต่างกัน across สายอาชีพได้จะยิ่งมีประโยชน์ยิ่งขึ้น แต่ที่ผ่านมาเราจะไม่ค่อยมีโอกาสที่จะสร้างความสัมพันธ์ในการทำงานคลุกคลีจริงๆกับน้องพยายบาลหรือพี่พยาบาล หรือกับรุ่นพี่หมอในฐานะที่เป็นเพื่อนแพทย์ด้วยกันรึเปล่า และถ้าคิดว่าตรงนี้จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยได้ เราน่าจะปรับปรุงกันอย่างไรโดยระบบ? หรือโดยส่วนตัวก็ตาม?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-10 , Time : 00:13:58 , From IP : 203.155.144.18

ความคิดเห็นที่ : 1


   .........โดยระบบผมคิดว่าต้องกลับไปโละระบบการเรียนบางส่วน....อาจจะต้องเพิ่มการเรียนการสอนที่สอนด้านจริยธรรม, ศาสนา, วัฒนธรรม หรืออะไรก็แล้วแต่ที่สามารถสร้างสรรค์จิตใจที่ดีงามขึ้นมาได้บ้าง....ที่ผมเคยเรียนมาค่อนข้างเป็นการแข่งขันกันซะมาก.....เครียด....ไม่ค่อยมีการเรียนที่นอกเหนือจากเรื่องของแพทย์มากนัก....อาจจะเพราะไม่เกี่ยวกันหรือเปล่าไม่ทราบได้....แต่ถามผมนะ..ผมชอบตอนเรียนปีหนึ่งที่เรียนวิชาทางวิทยาศาสตร์มากกว่า.....ไม่ทราบเหมือนกัน....อาจจะเพราะไม่ค่อยเครียดและมีเรียนอะไรอีกหลายๆอย่างที่ไม่ต้องมาแข่งกันก็ได้มั้ง....มีเวลาว่างพอสมควรที่จะทำกิจกรรมหรืออะไรที่เป็นประโยชน์อื่นๆมากด้วย...แต่บางคนก็ว่ามันขึ้นกับการแบ่งเวลาหละ....ผมอาจจะใช้การเรียนที่มีอย่างไม่เหมาะสมเองก็ได้.....ระบบอาจจะดีอยู่แล้วก็ได้......:D...:D
.......โดยส่วนตัวผมว่าแล้วแต่ๆละคนครับ.....อย่างผมเป็นพวกสันดานไม่ดี....ก็แก้ไขค่อนข้างยาก.....การจะแก้ไขโดยให้คนมาช่วย....เช่นให้ทางภาคส่งผมไปบวชเพื่อสงบใจสักเดือนคงไม่ได้แก้ปัญหาอะไรได้ถ้าผมยังเป็นแบบนี้อยู่เอง...:D...:D......ผมว่าแก้ยากครับ...บางคนก็บอกว่าเวลาแก่กว่านี้ผมจะเข้าใจอะไรมากขึ้น.....แต่บางคนก็บอกว่าตอนนี้นะแก่แล้ว....แต่ไม่พัฒนาอะไรขึ้นมาเลยยยยยย...สันดานยังแย่อยู่เหมือนเดิม....No comment ดีกว่าครับ..:D....:D



Posted by : Death , Date : 2003-12-10 , Time : 10:00:20 , From IP : 172.29.3.179

ความคิดเห็นที่ : 2


   คำถามอาจจะเป็นการฝึกให้เราสามารถรับฟังความเห็นที่แตกต่างจากของเรา และคิด logically และ objectively ได้น่าจะเป็นวิธีหนึ่ง

ในความเห็นของผม ผมว่าเราขาดการเรียนวิชาพวกสังคมศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ เร็วเกินไปในช่วงชีวิตการเรียนเบื้องต้น วิชาพวกนี้มีผลโดยนัยรวมคือความสามารถในการชื่นชมคุณภาพของสิ่งที่เป็นนามธรรม ไม่ว่าจะเป็น art music literary etc เมื่อไหร่ก็ตามที่เราสามารถชื่นชม "ความงาม" ที่อยู่นอกเหนือจาก "ภายนอก" ก็จะเป็นการเปิดประตูที่เราจะมองเห็นหรือรับฟัง insight ที่อยู่ลึกลงไป ได้แก่ ความดี ความสุภาพ ความเมตตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี มองเห็นเจตนาดีที่มากับคำตำหนิ และสามารถสร้าง constructive criticism ได้ด้วยตนเอง สามารถ REFLECT งที่เกิดขึ้น และข้อมูลที่มีอยู่โดยใช้ปัญญา ไม่ใช้อารมณ์



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-10 , Time : 11:48:41 , From IP : 172.29.3.206

ความคิดเห็นที่ : 3


    การจะทำงานร่วมกันได้อย่างดีนั้น ผมคิดว่า ผู้ร่วมงานต้องมี
1. ใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
2. ใช้เหตุผลและปัญญาในการแก้ปัญหา
3. เอาใจเขามาใส่ใจเรา นึกถึงใจเขาใจเรา
4. มีใจให้อภัย
5. ไม่ถือตัว
การทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขนั้น ผมคิดว่ามีความเครียดเข้ามาเยอะ ทำให้เวลาในการคิด การตัดสินใจและแสดงพฤติกรรมออกไปบางครั้งอาจไม่ได้รับการปรุงแต่งให้รื่นหู ดูสบายตา แต่ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่คงเข้าใจดี ส่วนคนที่อารมณ์รุนแรงและไร้ซึ่งเหตุผล ผลของการกระทำคงสะท้อนกลับมาเอง
สำหรับนศพ. ให้ใช้วิจารณญาณในการเลือกเอาสิ่งดีๆ มาเป็นแบบอย่าง เพื่อเป็นแพทย์ในแบบที่อยากเป็นต่อไป



Posted by : megumi , Date : 2003-12-12 , Time : 18:24:42 , From IP : 172.29.3.250

ความคิดเห็นที่ : 4


   อุปสรรคสำคัญต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานทั้งในระดับ horizonal และ vertical คือ การไม่สามารถ (หรือไม่ยอม) พยายามมองเรื่องจากมุมมองของผู้อื่นอย่างที่คุณ Megumi ว่าจริงๆ และโชคไม่ดีที่เป็นสิ่งที่ยากแก่การกระทำตลอดเวลา เพราะยิ่งโตขึ้นความเป็น autonomy ของเราจะยิ่ง dominate trait และ personality

สิ่งนี้จำเป็นต้องก่อร่างมาจาก attitude และอาจจะต้องสร้างมาก่อน personality formed เต็มที่ซะด้วยซ้ำ การมองโลกในแง่ดี และการมองผู้อื่นในแง่ดีไว้ก่อนนั้น จะมาได้จาก self-assure และความศรัทธาในเพื่อนมนุษย์ ลองเปรียบเทียบดูว่าเป็นการยากง่ายหรือความถึ่มากน้อยต่างกันเพียงใดในการที่เราสรุปว่าคนอื่น "น่าจะ" ดีและน่าจะไม่ดี?

ความรู้สึก self arrogance โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มาจาก status quo ของตนเองนั้นเป็นเรื่องค่านิยมในอดีตที่สังคม "วัด" และจัด "ระดับ" class ด้วยเกราะและฉากภายนอก ได้แก่ หน้าที่ การงาน อาชีพ และฐานะ ในขณะที่ "ความสุข" ที่แท้หรือที่บริสุทธิ์อาจจะเกิดได้กับคนทุกชนชั้น จาก แพทย์ ไปถึง พยาบาล นักกฏหมาย ภารโรง ชาวนา ฯลฯ และตรงนี้ที่หมายถึง "ไม่มี CLASS" เมื่อเราว่ากันถึงความเป็นเพื่อนมนุษย์

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม และสังคมต้องการความเสถียร ความไม่เสถียรจะนำมาซึ่งความแตกสลายหายนะของสังคมนั้นๆ หรือจมปลักถอยหลังไปเรื่อยๆ แทนที่จะ "วิวัฒน์" ไปข้างหน้า



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-12 , Time : 21:11:39 , From IP : 172.29.3.222

ความคิดเห็นที่ : 5


   มันอยู่ที่สันดานอย่างที่นายdeathว่า อยู่ที่การเลี้ยงดูของครอบครัว เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขกันตั้งแต่เด็กๆ ให้หัดมีมนุษยสัมพันธุ์อันดีกับทุกๆคน บางคนสันดานมันเสีย จะจับมันมานั่งเรียนสังคมศาสตร์เหวอะไร มันก็ไม่ดีขึ้นมา มันก็ทำงานกับใครเค้าไม่ได้อยู่ดี อีกอย่างต้องเอาคนพวกนี้มาทำให้มันรู้ตัวว่ามีคนอื่นที่เก่งกว่ามันมากมาย ให้มันเสียself จะได้ไม่ไปกร่างกับคนอื่น สุดท้ายถ้าอยากแก้ปัญหาให้ได้แบบเฉียบพลันก็มีทางเดียวคือเอามันไปยิงเป้าซะ


Posted by : Prolene , Date : 2003-12-13 , Time : 07:59:16 , From IP : 172.29.3.173

ความคิดเห็นที่ : 6


   นั่นอาจจะเป็นวิธีแก้ปัญหาของคนกลุ่มหนึ่งครับ คิดว่าเป็นที่นิยมพอสมควรตาม pattern ในการฝึกคิดฝึกแก้ปัญหาของปัจเจก และมีตัวอย่างให้เห็นอยู่มากตามสื่อต่างๆ

ผมเองค่อนข้าง sceptic กับคำพวก "สันดาน สันดอน" อะไรเทือกนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อ accuse (หรือแม้แต่ excuse ก็ตาม) เพราะมันขัดกับหลักการศึกษาที่ว่า "การศึกษาคือการเปลี่ยนแปลง" และในปัจจุบันเราพบว่าการศึกษาที่กำลังมีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นคือ "adult learning" (andragogy) ยกตัวอย่างการงดบุหรี่นั้นก็เป็นการศึกษาอย่างหนึ่ง เกิดการเปลี่ยนแปลง และทำโดยผู้ใหญ่เกือบร้อยเปอร์เซนต์

ทำนองกลับกันผมว่ารากของปัญหาอาจจะเกิดจากการที่เราคิดว่า "ไม่มีทางอื่น" ที่จะ "พูดจา" กัน ดังนั้นจึงเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่รอมชอมกัน crash กัน ชนประสานงากัน รุ่นน้องรุ่นพี่ไม่สามารถพูดกันได้เพราะขาด TRUST หมอกับพยาบาลไม่สามารถพูดกันได้เพราะขาด RESPECT สิ่งที่ไม่น่าเกิดก็เกิดต่อเมื่อที่เรามีความรู้สึก ไม่สามารถพูดกันตรงๆอย่างมีเหตุผล" เบี่ยงเบนเป็นการใช้คลื่นใต้น้ำ ใช้ anonymity ตอดกันเหน็บแนมกัน ใช้การจับกลุ่มเฉพาะพวกคุยกันซึ่งมีแต่จะเพิ่ม extreme และดันห่างกันออกไปเรื่อย conflict จึงไม่สามารถหรือยากที่จะแก้



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-13 , Time : 10:51:35 , From IP : 172.29.3.240

ความคิดเห็นที่ : 7


   ........คุณ Prolene เขียนถูกใจผมจริงๆ....อ่านแล้วผมนึกภาพคุณ Prolene ตอนเด็กๆอยู่ที่บ้านได้ชัดเลยครับ....:D...:D



Posted by : Death , Date : 2003-12-13 , Time : 13:24:26 , From IP : 172.29.3.105

ความคิดเห็นที่ : 8


   เครื่องมืออันหนึ่งที่หลายประเทศใช้ในการพัฒนาคือ "ระบบการ feedback" โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศญี่ปุ่น ที่นำเอาระบบนี้มาบูรณาการร่วมกับยุทธศาสตร์การสร้าง "ความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมขององค์กร" เพราะสิ่งสร้างสรรค์จาก feedback นั้นทำให้เจ้าของ Idea ชี้ลงไปแล้วพูดว่านั่นแหละฉันล่ะ ทั้งนี้และทั้งนั้น ต้องมาจากการพัฒนา constructive criticism ขึ้นมาก่อน การที่สามารถทำ constructive criticism ได้นั้นต้องมาจากการพัฒนา "การรับฟังความเห็นที่แตกต่าง" กับของเราให้ได้อย่าง objectively ด้วย

ลองมาพิจารณาดูเวลาที่เรามีความขัดแย้งด้านความคิด จะเอาที่อื่นหรือบนกระดานข่าวนี่ก็ได้ มีกี่ครั้งที่เป็นเพราะเราเถียงบน "หัวข้อหรือความคิด" และมีกี่ครั้งที่เถียงเพราะความเป็น "บุคคล" ลองพิจารณาดูว่าที่ผ่านๆมาในส่วนที่ไม่ใช่ logical part ของการอภิปรายและเป็นส่วน emotional component แทนนั้น อะไรเป็น common factors

ผ่านจุดนั้นมาได้ ก็จะมาถึงการปรับปรุงการใช้ภาษาที่คน civilized เขาใช้กัน ภาษาที่เราอยากให้ลูกของเราใช้กับเราหรือกับบิดามารดาเรา ซึ่งไม่น่าเป็นเรื่องยากเลย ถ้าเราคิดว่ามันสำคัญ เพียงแค่คิดว่าขณะที่เรากำลังพูด กำลังเขียนอยู่นี้เราอาจจะเป็น model ให้ใครอยู่ได้บ้าง และมีคนมองเราใน "ฐานะ" แบบไหน



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-14 , Time : 18:25:29 , From IP : 172.29.3.200

ความคิดเห็นที่ : 9


   และการที่จะทำให้ผู้อื่นเข้าใจถึงวิธีการศึกษาร่วมกันเช่นนี้ก็ยาก ต้องพยายามอย่างยิ่งยวดนัก

ช่วงนี้คิดแต่เรื่องสโมฯ เพราะคิดว่าน่าจะทำอะไรให้นศพ.ได้มากกว่าที่เป็นๆอยู่
คิดออกบ้าง
แต่ทีมแพ้ไปแล้ว
...
ไม่เป็นไร ไม่ใช่ว่าทำอะไรไม่ได้นี่นา


Posted by : ArLim , Date : 2003-12-15 , Time : 12:26:47 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 10


   คุณ ArLim ครับ

ความสำเร็จทุกอย่างนั้นลุล่วงไป 50% ตรงเริ่มต้น ความคิดที่ดีมีประโยชน์ต่อส่วนรวมไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ทำเอง แต่ให้ใครทำก้เหมือนกัน ตราบใดที่ประโยชน์จะตกเป็นของส่วนรวม ทีม สโมฯ ถึงจะไม่ใช้ทีมคุณ ArLim แต่บางทีเขาอาจจะยินดี "ซื้อ" idea ที่ดีจริงก็ได้

บ่อยครั้งที่ความคิดดีๆต้องถูกเก็บไว้ในลิ้นชักเพราะ "ยังไม่ถึงเวรเรานำออกมาใช้" ผมว่าถ้าไม่ใช่เรื่อง copyright อะไรทำนองนั้น ทีมบริหารไหนๆก็สมควรจะรับฟัง constructive idea ที่ผ่านมาจากสมาชิกชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามาจากกลุ่มที่เคยแสดงตนจะปวารณาตนทำงานเพื่อส่วนรวมมาแล้ว



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-15 , Time : 22:24:50 , From IP : 172.29.3.247

ความคิดเห็นที่ : 11


   ก็คิดที่จะนำ idea ไปขายเช่นกันล่ะครับ
เพียงแต่ว่า ไม่รู้ว่าเขาจะกล้านำไปทำหรือเห็นด้วยกับความคิดหรือเปล่า

ตอนนี้ก็เลยมีความคิดว่า
"เริ่มทำเสียตอนนี้เลยดีกว่า ไหนๆก็ยังว่างอยู่ด้วย"



Posted by : ArLim , Date : 2003-12-16 , Time : 00:46:49 , From IP : 203.113.76.75

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.007 seconds. <<<<<