ความคิดเห็นทั้งหมด : 4

สอบถามคุณหมอทั้งหลายครับ


   1.เหตุการณ์คือผู้ป่วยรายนึงประสบอุบัติเหตุรถชนตับแตกแพทย์ได้ทำการผ่าตัดช่วยชีวิตและส่งมาดูอาการต่อที่ ward trauma หลังจากนั้นไม่นานผู้ป่วยน่าจะมีภาวะ DIC+hypovolemic shock ทำให้เสียชีวิตในเวลาต่อมา ได้อธิบายบิดาและน้องชายของผู้ป่วยแล้ว จึงตัดสินใจ CPR ประมาณ 10 นาที จึง advice อีกครั้ง บิดาและน้องชายของผู้ป่วยจึงให้หยุดการ CPR หลังจากหยุด CPR ไปประมาณ 10 นาที มีญาติผู้ป่วยคนนึง คิดว่าเป็นน้าสาว ต้องการส่งผู้ป่วยต่อยังรพ.ศูนย์ฯ ทั้งที่ผู้ป่วยได้เสียชีวิตหัวใจหยุดเต้นไประยะนึงแล้ว พยายามอธิบายถึงภาวะที่ผู้ป่วยเป็นและโอกาสในการส่งต่อ แต่น้าสาวรายนี้ก็ยังยืนยันที่จะให้ CPR ในรถพยาบาลไปจนถึงรพ.ศูนย์ ซึ่งห่างออกไปประมาณ 20-30 นาที
ขอถามว่า...ในกรณีนี้เราควรจะทำอย่างไรดีครับ แม้ว่าจะ advice แล้วแต่น้าสาวของผู้ป่วยก็ไม่ยอม(พ่อและน้องชายผู้ป่วยเปลี่ยนใจให้เอาตามที่น้าสาวของผู้ป่วยพูดครับ) ยังยืนยันจะให้ส่งต่อไปยังรพ.ศูนย์ฯให้ได้ ถ้ายืนยันว่าไม่ส่งไปก็โดนฟ้อง แต่ถ้าส่งไป จะโทรไปบอกยังรพ.ศูนย์ว่าขอ refer ก็โดนด่ากลับมาอีกว่าจะส่งมาทำไม คนไข้เสียชีวิตแล้ว
จะทำอย่างไรดีครับ

2.คงเคยเห็นและเคยได้ยินเกี่ยวกับแพทย์ตาม clinic ที่มักจ่าย ATB อย่างสุรุ่ยสุร่าย จ่ายเกินความจำเป็น เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นเช่นกินยาวันนี้ พรุ่งนี้หายเลย ทั้งๆที่ตอนเรียนที่โรงเรียนแพทย์กว่าจะตัดสินใจจ่าย ATB แต่ละอย่างไปต้องคิดแล้วคิดอีก และเริ่มทีละ step เป็นหลัก แต่พอจบออกมากลับต่างกันราวฟ้ากับเหว จะจ่าย ATB ตามความต้องการของผู้ป่วยที่ต้องการยาแรง ขอให้หายเร็วๆเป็นพอ ก็ขัดกับความรู้สึกในจิตใจ พ่อแม่ก็คอยกรอกหูทุกวันว่าให้จ่ายยาแรงๆไปเลย คนไข้จะได้ติดใจกลับมารักษากับเราอีก แม้เราจะพยายามอธิบายแล้ว แต่เค้าก็ไม่รับฟัง คุยกับเราก็มีแต่แพทย์พาณิชย์จนรู้สึกเซ็งกับชีวิตเหลือเกิน ทำให้รู้สึกว่าสังคมเดี๋ยวนี้เหมือนจะบีบให้เรากลายเป็นแพทย์พาณิชย์เข้าไปทุกที ผมจะทำยังไงในกรณีนี้ดีครับ


Posted by : harder , Date : 2010-03-11 , Time : 10:10:28 , From IP : adsl-pool-222.123.73-37.dynamic.tttmaxnet.com

ความคิดเห็นที่ : 1


   น่าเห็นใจค่ะ
แก้ไขอะไรไม่ได้ทำใจอย่างเดียว


Posted by : @_@ , Date : 2010-03-11 , Time : 20:43:34 , From IP : 172.29.13.45

ความคิดเห็นที่ : 2


   ไม่มีวิธีแก้ไขเลยเหรอครับ

Posted by : harder , Date : 2010-03-11 , Time : 22:50:59 , From IP : 117.47.107.17

ความคิดเห็นที่ : 3


   สวัสดีครับ

scenario แรกยังรู้สึกห้วนๆไปนิดนึง (ข้อมูลรายละเอียดบางอย่างไม่ได้เล่ามา) แต่ขออนุญาตตอบไปเป็นสมมติก็แล้วกัน

สิ่งสำคัญคือ case นี้ "หลังผ่าตัด" นั้น ผ่ามาจากที่ไหน และ findings ตอนผ่าเสร็จเป็นเช่นไร และข้อมูลเรื่องนี้ ซึ่งจะรวมทั้งพยากรณ์โรค ได้ส่งต่อให้ญาติๆไว้เกิด impression ว่าอย่างไร เพราะตรงนี้เองที่จะเริ่ม set ความคาดหวัง (และความผิดหวัง) รวมไปถึงการจะเชื่อ/ไม่เชื่อ นอกเหนือจากความผูกพันระหว่างญาติๆกับคนไข้เอง เพราะผมเข้าใจว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนเกิดใน ward ไม่ใช่ที่ ER หรือ OR ใช่ไหมครับ

ถ้า case นี้มีอันตรายรุนแรง และเราได้เล่าเรื่องทั้งหมด รวมทั้ง worst-case scenario (เหตุการณ์เลวร้ายที่สุดที่อาจจะเกิดตามต่อมา) ไปหมดแล้ว พอเรื่องนี้เกิดขึ้นก็จะง่ายขึ้น (ยังยากอยู่ แต่ง่ายกว่าแบบที่ใครๆก็คาดว่าหายแล้ว ปกติแล้ว หรือปลอดภัยแล้ว) พอเกิดเรื่อง เราก็ช่วยเต็มที่ตามหลักวิชาการที่ได้มาตรฐานของเรา ระหว่างนี้อาจจะให้ญาติอยู่ด้วย หรือมีคน update เหตุการณ์เป็นระยะๆ และทำ pre-counseling ในทันทีที่เรารู้สึกว่าน่าจะลงเอยไปในแบบที่ไม่มีใครคาดหวัง

และเมื่อถึงวาระที่เราได้ให้การวินิจฉัยว่าเป็น fail resuscitation จริงๆ ไม่มีอะไรที่จะ offer เราก็หยุดครับ และถูกต้องที่ว่าเราจะไม่ refer ผู้ป่วยที่เสียชีวิตแล้วไปยังโรงพยาบาลอื่นๆ หรือแม้กระทั้งการ refer ผู้ป่วยวิกฤติที่ต้องการ intensive therapeutic จากเราซึ่งเป็น tertiary ไปยัง รพ. อื่น ก็ไม่ถูกต้องเช่นกัน ในเรื่องนี้ ถ้ามีคนที่ไม่เข้าใจ หรือยังมีความหวังอยู่ (ซึ่งไม่ใช่เรีื่องแปลก) เราก็อธิบาย และชี้แจงว่า ณ เวลานีี้ คนไข้ได้รับการรักษาที่ดีที่สุดแล้ว ภายในรถ refer สำหรับคนไข้แบบนี้จะยิ่งเป็นผลเสีย เราจะแสดงความเสียใจ และเข้าใจในความรู้สึกของญาติไปด้วยระหว่างอธิบายไปด้วยก็จะดีขึ้น และทำอย่าง sensitive ไม่ได้ทำอย่าง emotionless เพราะเขากำลังสูญเสียคนที่รักไป ไม่ได้ต้องการ rational แต่เป็น emotional support

ส่วนเรื่องการถูกฟ้องร้องนั้น เป็นสิ่งที่เหนือกว่าที่เราจะควบคุมได้ครับ สิ่งเดียวที่เราต้องทำให้ได้ และยึดตลอดเวลาก็คือหลักการเหตุผลทางการแพทย์ ข้อบ่งชี้ต่างๆ ทั้งการทำ และการไม่กระทำ ที่เหลือจะต้องเป็นกลไกการรักษา relationship ระหว่างเรากับญาติ และหากทั้งหมดได้ทำไปแล้วอย่างระมัดระวัง การจะฟ้องหรือไม่ฟ้องจากญาติ ก็เป็นเรื่องสุดวิสัยทางเราแล้ว

ส่วนหนึ่งก็คือ ถ้าในระหว่างที่เราทำการรักษา ช่วยเหลือคนไข้ เราได้ทำให้พ่อและญาติเขาเห็นตลอดเวลา เขาก็ทราบว่าเราจริงจังและเป็น professional ขนาดไหน เรื่องนี้เป็นความจริง ที่เมื่อปรากฏแม้ในชั้นศาล ก็จะเป็นประโยชน์ต่อเรา ขอให้ keep cool และให้พยายามเข้าใจญาติที่กำลังทุกข์ อย่าไปโกรธเขา

ทั้งหมดนี้จะยากย่ิงขึ้น ถ้าอาการทีีทรุดลงนั้น เป็น unexpected และญาติๆเกิดประทับใจผิดๆว่าคนไข้ปลอดภัยแล้วครับ

สำหรับในกรณีที่สอง อันนี้เป็นบททดสอบว่าเราเชื่อ และศรัทธาในหลักการมากแค่ไหนครับ บททดสอบจะแรงและยากขึ้นเรื่อยๆ ขอให้พิจารณาว่าเป็นการรับปริญญาตรี โท เอก ของการสอบระดับจิต ให้เรายึดมั่นในหลักการและประโยชน์ของคนไข้ อธิบายผู้หวังดี (ผิดๆ) ไปว่าเราทำอย่างนี้เพราะอะไร ไม่ทำอย่างนั้นเพราะอะไร ด้วยความรักและเมตตาเขาด้วย เราอธิบายแล้วเขาไม่ฟังก็คือยังไม่ถึงวาระที่เขาจะเข้าใจเท่านั้นเอง เราไม่จำเป็นต้องลดหรือเลิกเชื่อในสิ่งที่เราคิดว่าดี และหันไปเชื่อในสิ่งที่เราเคยเข้าใจว่าเป็นส่ิงที่ผิดต่อวิชาชีพ ทำเช่นนั้น ไม่ได้ทำให้ใครดีขึ้นเลย ใช่ไหมครับ

เรื่องคนไข้จะติดใจหาใครนั้น บอกยากครับ มีหลายเหตุผล แต่ผมเองคิดว่า ถ้าคนไข้จะติดใจเราก็ขอให้เรารักษา integrity ของสิ่งที่เราศรัทธาว่าถูกต้อง น่าจะดีกว่าคนไข้ติดใจเราเพราะเราทำในสิ่งที่เราก็รู้ว่าเป็นการไม่รักษาธัมมะของวิชาชีพ ติดใจแบบนี้ เป็นเสมือนติดยาเสพติด รังแต่จะเกิดผลร้ายใน long-term ผมคิดว่าเรามีตัวอย่างมากมายที่คนไข้ติดใจหมอที่จ่ายยา 55 บาท 60 บาท อย่างเช่นอาจารย์หมอสภา เพราะท่านไม่ได้ใช้ยาอะไรแรง ตามที่ท่านเคยให้สัมภาษณ์ว่า "คนไข้หาย เราก็มีความสุข" มีวิธีมากมายในกลไกการตลาดที่ทำให้ลูกค้าติดใจ แต่สมเด็จพระราชบิดาทรงเตือนสติพวกเราว่า อาชีพของเรานั้น ขอให้รักษาไว้ซึ่งธัมมะแห่งวิชาชีพ ไว้ด้วยจึงจะควร

หวังว่าพอจะช่วยได้บ้างนิดๆหน่อยๆนะครับ ทำใจให้สบายก็เป็นวิธีที่ดีครับ


Posted by : phoenix , Date : 2010-03-12 , Time : 21:46:10 , From IP : ppp-124-122-99-5.revip2.asianet.co.th

ความคิดเห็นที่ : 4


    นี่ก็เป็นตัวอย่างนะ ว่าอาชีพแพทย์ต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ แพทย์และพยาบาลจึงต้องสอบเพื่อให้ได้รับใบประกอบโรคศิลป์ ศิลปะในการประกอบวิชาชีพแพทย์ จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเมื่อมีประสบการณ์ต่างๆมากขึ้น
ขอให้กำลังใจ


Posted by : Doreme , Date : 2010-03-18 , Time : 21:08:14 , From IP : 172.29.9.33

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.003 seconds. <<<<<