ความคิดเห็นทั้งหมด : 7

อุทาหรณ์ของคนที่ถูกเข็มตำ อยากให้ร่วมกันแชร์ความคิดครับ


   สวัสดีครับ เรื่องที่ผมจะเล่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับเพื่อนที่ทำงานในโรงพยาบาล
เดียวกัน อยากจะมาเล่าเป็นอุทาหรณ์และถามความเห็นทุกท่านนะนครับ

ว่าเรื่องนี้ ถ้าเกิดกับตัวท่านหรือลูกหลานท่านจะทำอย่างไรดี.......

เช้าวันนึง ที่ OPD ศัลยกรรม

มีคนไข้อายุประมาณ 20 ปี มีรอยสักตามตัว ลักษณะดูผอมๆแบบ cachexia เล็กน้อย มาผ่าตาปลาที่เท้า

ก็เป็นวันเดียวกันกับเพื่อนผมที่ต้องออก OPD ศัลยกรรม พอดี เลยกลายเป็นคุณหมอเจ้าของไข้ ที่ต้องรับผิดชอบผ่าตาปลาให้ผู้ป่วยรายนี้

ในใจก็คิดไว้แล้วว่าต้องระวังตัว

ดูจากลักษณะ cachexia...............

มีรอยสักตามตัว...................

น่ากลัวแฮะ ไม่รู้ว่าจะมีโรค HIV หรือ อย่างอื่นบ้างรึเปล่า ?

คงได้แต่บอกตัวเองว่าระวังให้มากที่สุด universal precaution เข้าไว้

หมอ : คุณคะ อยู่นิ่งๆนะ เด๋วหมอจะฉีดยาชาให้ อย่าดิ้นนะคะ

คนไข้ : ครับ

โอ้ย !!!! เสียงร้องของคนไข้ออกมาพร้อมกับการสะบัดขาอย่างแรง

ในที่สุดเรื่องที่คิดไว้แล้วมันก็เกิด...............................จนได้

เข็มตำ !!!!!!!

แย่แล้ว ทำไงดี เราจะติดเชื้อ HIV รึป่าวก็ไม่รู้ ความคิดฟุ้งซ่านต่างๆเริ่มเข้ามาในหัว ตอนนี้ที่คิดได้ก็ได้แต่บอกหน่วย IC ของโรงพยาบาลกับขอคนไข้ตรวจเลือด HIV

คนไข้ : ไม่ครับ ผมไม่ต้องการเจาะตรวจเอดส์ ผมไม่อยากรู้ผลเลือด

หมอ : คุณคะ ถือว่าช่วยหมอหน่อยเถอะ เพราะถ้าคุณติดเชื้อ หมอมีโอกาสติดเชื้อจากคุณได้นะคะ

หลังจากนั้นเพื่อนก็พยายามอ้อนวอน อย่างไรก็ไม่เป็นผล คนไข้ยืนกรานกระต่ายขาเดียว ไม่ยอมเจาะ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม คุยกับแฟนแล้วให้ช่วยเกลี้ยกล่อมอย่างไร ก็ไม่ยอม หน่วย IC มาช่วยคุยซ้ำอีกรอบ คุยไปคุยมาเกือบ 2 ชั่วโมง

สุดท้ายก็ไม่ยอมอยู่ดี......................................................

หมอ : พี่คะ แบบนี้เราแอบเจาะไปตรวจเองได้มั้ย แต่ไม่ต้องบอกคนไข้

พยาบาล : ไม่ได้ค่ะ คนไข้ไม่ยอมเจาะ เราต้องเคารพสิทธิของคนไข้สิคะ

??????


????


??


คำถามที่ผมอยากจะให้ทุกคนมาช่วยกันแชร์ความคิดคือ

1. จำเป็นหรือไม่ที่ต้องเคารพสิทธิของคนไข้ โดยการขออนุญาตเจาะเลือด
- ในกรณีคนที่ต้องการทราบผลคือแพทย์ ถ้าเจาะแล้วไม่บอกจะได้หรือไม่
ในเมื่อผูป่วยไม่ต้องการทราบผลเลือดของตนเอง เราไม่บอกเท่านี้ก็น่าจะ
เพียงพอแล้วนี่ครับ อย่างน้อยก็เป็นสิทธิของเราเหมือนกันที่จะได้ทราบผล
ไม่เพียงแค่การ management แต่หมายถึงความสบายออกสบายใจของ
แพทย์ด้วย เราทำงานโดยต้อง exposed กับบุคคลเหล่านี้มากมาย คุ้มมั้ยที่
จะต้องมาติดเชื้อ ทั้งๆที่เราพยายามป้องกันอย่างเต้มที่แล้ว

2. ถ้าคนเป็นพยาบาลท่านั้น ท่านจะเจาะเลือดให้หมอหรือไม่

3. ถ้าคุณเป็นหมอที่ถูกเข็มตำ คุณจะทำอย่างไร

ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมกันแชร์ประสบการณ์นะครับ ^^


Posted by : Yorestinowa , Date : 2010-01-05 , Time : 04:15:34 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 1




   ให้ความเห็นข้อที่สามก่อนครับ
ถ้าสงสัยมากหลัง expose ผู้ถูกเข็มตำ ควรกินยาป้องกันและเจาะเลือด follow up เพื่อให้มั่นใจว่าไม่ติด
ส่วนประเด็น สิทธิผู้ป่วย ปัจจุบันยังไม่สามารถเจาะเลือดผู้ป่วยเพื่อดู HIV ได้ ถ้าผู้ป่วยปฏิเสธ และถ้าสงสัยแต่ผู้ป่วยปฏิเสธ ก็ต้อง treat as HIV positive
แอบเจาะได้ไหม คิดว่าในราย OPD case ไม่มีช่องทางที่เนียนพอ


Posted by : thiopental , Date : 2010-01-05 , Time : 08:31:19 , From IP : 113.53.59.178

ความคิดเห็นที่ : 2


   เห็นใจคุณหมอนะคะ

-คำถามขัอที่1 ตอบไม่ได้ อยากทราบคำตอบเหมือนกันค่ะ

-คำถามข้อที่2 ที่ว่าถ้าคุณเป็นพยาบาลท่านนั้น คุณจะเจาะเลือดคนไข้ให้หรือไม่
คงต้องตอบว่าไม่ได้เหมือนกันค่ะ ถ้าผู้ป่วยไม่ยินยอม

-คำถามข้อที่3 คิดเห็นเช่นเดียวกับ อาจารย์ thiopental ค่ะ


Posted by : ลูกปัด , Date : 2010-01-05 , Time : 11:59:55 , From IP : 172.29.9.55

ความคิดเห็นที่ : 3


   อยากให้กรณีนี้เป็นบทเรียนสำหรับคุณหมอทุกท่าน การป้องกันจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ถ้าจะขอออกความเห็นว่า ทุกครั้งที่จะมีการผ่าตัดเล็กควรต้องมีการมัดเพื่อป้องกันการดิ้นหรือสะบัดครับ

ส่วนคำตอบของกรณีนี้ อยากให้ผู้ตอบลองคิดว่า ถ้าท่านเป็นคุณหมอท่านนั้น ท่านควรจะทำอย่างไร เห็นใจคุณหมอมากๆครับ


Posted by : HengGi , Date : 2010-01-05 , Time : 13:33:09 , From IP : 118.173.163.213.adsl.dynamic.totbb.net

ความคิดเห็นที่ : 4


   1. เข้าใจความรู้สึกของคนได้รับอุบัติเหตุจากการปฏิบัตงานนะ แต่ก็คิดว่า เราทุกคนที่เลือกอาชีพใน รพ.ก็ต้องยอมรับว่ามีโอกาสเจอได้แน่นอน
2. เมื่อโดน ไม่ว่าเข็มตำหรือสัมผัสสารคัดหลั่งใดๆ ก็อย่าลืม universal precaution
3. จะกินยา post exposure หรือไม่ คงต้องตัดสินใจเอง แต่ในกรณีนี้ ดูท่าโอกาสผป.จะติดเชื้อมีสูง ก็น่าจะตัดสินใจกิน ตอนนี้ยาที่ใช้น่าจะมี side effect น้อยลงกว่ายาสมัยก่อน
4. ผป.ไม่ยอมตรวจ...ยังไม่กฏหมายรองรับว่ากรณีเช่นนี้เราบังคับตรวจได้ ถ้าอยากให้เป็นเช่นนั้น เราคงต้องช่วยกันร้องเรียนสภาวิชาชีพให้ดันสิทธิ์อันนี้
5. การตรวจผป. ถึงแม้จะ negative result ก้ไม่ได้หมายจวามว่าคนนั้นไม่ติดเชื้อจริง ใช่มั้ย แต่เราอาจจะสบายใจขึ้นเท่านั้นเอง
6. เร็วๆนี้มีพยาบาลโดนเข็มตำ และผลผป.ก็ Inconclusive ผป.รายนี้ดูหน้าตาสุขภาพแล้ว ไม่มีภาพอย่างผป.ที่ท่าน จขท. ว่า ดูยังไงก็ไม่เห็นว่าเป็นผู้ติดเชื้อ ถามว่า กรณีนี้ ถ้าเราไม่ได้ตรวจผป.แล้วเราจะเลือกไม่กินยาหรือไม่

ความเห็นคือ
1. ระมัดระวังมากในการปฏิบัติงาน อ้อ..ต้องรายงานตัวที่ IC ด้วย เขามีทางช่วยอยู่บ้าง
2. อย่าลืม universal precaution
3. ซักประวัติผป.ดู ถ้ามี multipartners แสดงว่าความเสี่ยงมากขึ้น
4. เลือกกิน ARV precaution...ทนๆเอาหน่อย


Posted by : myopinion , Date : 2010-01-05 , Time : 16:55:50 , From IP : 172.29.17.131

ความคิดเห็นที่ : 5


   1. จำเป็นหรือไม่ที่ต้องเคารพสิทธิของคนไข้ โดยการขออนุญาตเจาะเลือด
- แนวปฏิบัติของ IC มอ. --> ต้องบอกว่าจำเป็นค่ะ สิทธิของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่บุคลากรต้องไม่กระทำการใดๆที่เป็นการละเมิด แม้แต่ค่าเจาะเลือดก็ต้องไม่พลักให้เป็นภาระของผู้ป่วย ถ้าเรามองให้ลึกลงไป ผู้ป่วยที่ปฏิเสธคำขอของแพทย์+พยาบาล มักจะมีเหตุผลที่มากกว่ากลัวเจ็บหรือไม่มีน้ำใจ แต่อาจจะมีบางอย่างที่บอกให้ใครรู้ไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ป่วยรู้ความเสี่ยงของตนเอง และรู้ว่าแนวโน้มผลเลือดจะออกมาเป็นอย่างไร วันนี้เขามากับแฟน แฟนก็ต้องถามว่าผลเลือดเป็นอย่างไร เขาคงไม่พร้อมที่จะเปิดเผยในวันนี้ (อันนี้สมมตินะคะ)
- กรณีนี้ ถ้าที่ IC มอ. จะส่งพบ อาจารย์ myopinion เพื่อพิจารณาในการให้ได้รับยาต้านไวรัสเลย แล้ว ICN จะไปคุยกับผู้ป่วยเองอาจจะให้ผู้ป่วยมาเจาะเลือดวันหลัง หรือนัดผู้ป่วยมาที่หน่วยให้คำปรึกษาที่คลินิกนรีเวชในวันรุ่งขึ้น (มีพี่....ใจดีคอยให้ข้อมูลคนไข้ ซึ่ง ICN เคยส่งไปแล้วเหมือนกัน)
- แต่ถ้าไม่มีผลเลือดจะทำให้เสียหายกรณีไหนบ้าง ---> ในกรณีที่แม่บ้านเก็บขยะแล้วโดนเข็มตำ อันนี้ไม่รู้จะไปเจาะเลือดใคร ถามว่าความเสี่ยงเป็น 0 หรือเปล่า ก็ไม่ใช่ หลายคนก็ต้องกินยาต้านไวรัสเหมือนกัน
- คนไข้ที่อยู่ไกลถึงระโนดยอมมาเจาะเลือดให้หลังจากที่เราโทรตาม (ผู้ป่วยจาก OPD กลับก่อนที่บุคลากรจะเกิดอุบัติเหตุ) ต้องขอขอบคุณคนไข้มากๆ
- ถามว่าบุคลากรทางการแพทย์เคยติดเชื้อจากการปฏิบัติงานบ้างหรือยัง -- > ใน มอ.ยังไม่มี แต่ต่างประเทศมีแล้ว

2. ถ้าคนเป็นพยาบาลท่านนั้น ท่านจะเจาะเลือดให้หมอหรือไม่
- ต้องถามว่าท่านจะยอมละเมิดสิทธิผู้ป่วยหรือไม่---> ไม่

3. ถ้าคุณเป็นหมอที่ถูกเข็มตำ คุณจะทำอย่างไร
- กินยาเลย แล้วนัดผู้ป่วยมาวันรุ่งขึ้น ถ้าผู้ป่วยไม่มาก็กินยาจนครบ และ F/U ตัวเองจนครบ 6 เดือน




Posted by : I-see-N , E-mail : (.) ,
Date : 2010-01-05 , Time : 20:02:07 , From IP : 118.174.61.31.adsl.dynamic.totbb.net


ความคิดเห็นที่ : 6


   ในที่สุดข้อหนึ่งก็ยังไม่ได้คำตอบเลยอ่ะครับ

ส่วนตัวผมคิดว่าปัจจุบันเราคำนึงถึงแต่สิทธิของคนไข้ แต่สิทธิของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่มีเลย

อย่างเคสนี้หมอไม่ผ่าให้ได้ไหม..........เพราะมีโอกาสติดเชื้อตั้งแต่แรกอยู่แล้ว

คำตอบคือไม่ได้ เพื่อคุณธรรมและจริยธรรมของวิชาชีพ

พอเกิดปัญหา สิทธิในการขอรู้ผลเลือดของเราก็ไม่มี เพราะไปอยู่ที่คนไข้
ตามความคิดของผมคิดว่า ผู้ป่วยไม่อยากรู้ เราก็ไม่บอกผลเลือด
นั่นดูเหมือนว่าเราก็เคารพสิทธิของผู้ป่วยแล้วนี่ครับ

การเจาะเลือดแต่ไม่บอก มีประโยชน์กับเราด้วย ไม่มากก็น้อย......
แต่นั่นอยู่ที่ว่าผู้ป่วยยินยอมให้เจาะหรือไม่ เพราะเหตุผลอะไร

ถ้าเราคุยแล้วเค้ายินดีให้เจาะ แต่ไม่ต้องบอกผลอาจจะมีประโยชน์เหมือนกันนะครับ

คราวนี้คำถามต่อไปคือถ้าท่านเกิดเป็นคนที่ถูกเข็มตำล่ะครับ ท่านจะรู้สึกอย่างไร
หากท่านระวังตัวอย่างดีแล้ว แต่ก็ยังโดนตำ เพราสาเหตุของข้างต้น คงไม่มีใครมาว่ากล่าวว่าสะเพร่า ประมาท เลินเล่อได้ การทานยา ARV ก็มีประโยชน์เหมือนกัน แต่มีใครมั้ยที่เชื่อได้อย่างสนิทใจว่าหลังทานยาแล้วเราจะไม่ติดเชื้อแน่นอน

ผมว่ายากครับ แค่ถูก ผลข้างเคียงของยาก็แทบขอลาป่วยไปหลายวันแล้ว

ส่วนเรื่องของ IC เค้าก็ถือว่าเค้ามาทำหน้าที่แล้ว มาเกลี้ยกล่อมผู้ป่วยแล้ว และจ่ายยาให้เรียบร้อย อันนี้คงโทษเค้าไม่ได้เลยครับ

ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันแชร์ความคิดเห็นนะครับ


Posted by : Yorestinowa , Date : 2010-01-07 , Time : 12:42:20 , From IP : 61.19.24.122

ความคิดเห็นที่ : 7


   ตรงนี้เป็นความซับซ้อนของเรื่องจริยธรรมจริงๆครับ คือการจะออก "กฏ" ที่มีลักษณะ universal แต่นำมาใช้ในเชิง "context" คือเป็นกรณีๆไป อย่างในที่นี้ก็คือเราคงจะเห็นด้วยว่าโดยทั่วๆไปการนำเอา sample จากคนไข้โดยไม่บอกก่อน คงจะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องความไว้วางใจขึ้นได้ และจริยธรรมในเชิงการรับรู้ของสังคม ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเชิงกรณี แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายๆ เราถึงจะมองเห็นเหตุผลเชิงบริบท

แล้วก็เลยลงไปในรายละเอียด ในที่ goal standard คือการเจาะเลือดคนไข้จะเพียงพอหรือไม่ ในแง่ของการ rule out ก็ยังไม่ได้ 100% ถ้าผล negative (ผมเข้าใจว่านะครับ) เราอาจจะมองว่าไม่ว่าผลจะเป็นบวกหรือเป็นลบ ถ้า clinical suggest ไม่น่าไว้ใจ เราก็คงจะยอมกินยาป้องกันไว้ก่อนดีกว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น การปฏิบัติก็ไม่ได้ขึ้นกับผลเลือดด้วยซ้ำไป การเจาะเลือดอาจจกลายเป็น futility ไปได้ ถ้า impact ต่อ decision-making มันน้อยลงมาในระดับที่ว่านี้

ยกเว้นว่า test นี้ เป็น acid test ถึงขนาดผลของ test จะช่วยให้เรากินยา หรือไม่กินยา เป็นขาว หรือ ดำ ในกรณีเช่นนี้พวกเราก็มีเหตุผลที่มีนำ้หนักพอเพียงที่จะ request การทดสอบ (แต่แค่มีน้ำหนักนะครับ ก็ต้องนำเสนอ และคุยกันต่อไปว่าผลดีทั้งหมดคืออะไร ผลเสียทั้งหมดคืออะไร)

ปัญหาจริยธรรมใน clinical practice จึงเป็นสีเทาเยอะมาก ไม่ได้มี iron-cast rules ส่วนใหญ่ก็จะเป็น guideline คือแนวทางปฏิบัติ แปลว่าต้องคำนึงถึง context ทั้งหมด คำว่า "ทั้งหมด" ทำให้เกิดความกำกวม และความน่าจะเป็นของปัจจัยมากมาย


Posted by : phoenix , Date : 2010-01-07 , Time : 16:49:28 , From IP : 172.29.9.104

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.007 seconds. <<<<<