ความคิดเห็นทั้งหมด : 33

Debate L: Best Service & Best Training, Can They Co-exist and How?


   ดำเนินมาถึงวาระที่ 50 หรือครึ่งศตบทของกระทู้การอภิปรายที่กระผมได้ (ดึงดัน) ชักชวนกัลยาณมิตรทั้งหลายทั้งปวงมาร่วมสังฆกรรมกัน และประมาณว่าครบรอบ 1 ปีของสมาชิกเทอมของผมเอง ขอขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณา (หรือไม่ก็ตาม) มาร่วมสนุกกัน และผมหวังว่าจะมีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นบ้างกับทุกคน อย่างที่ผมเองได้รับอย่างท่วมท้น

เข้าเรื่องเลย

เมื่อสองสามวันก่อน มีเวลาคิดถึงเรื่อง "การวัด" (measurement นะครับ ไม่ใช่วัดวาอารามหรือวัดด้วยหลังมืออะไรทำนองนั้น) ขณะที่นั่งมองวิสัยทัศน์พันธกิจของคณะแพทย์อยู่พอดี พบว่าหน้าที่ที่เรามีจินตนาการกระตือรือร้นและใฝ่ฝันจะทำนั้นมีอยู่หลายประการ แต่คู่หนึ่งที่นำสายความคิดมาสะดุดปมและก่อรากเหง้าสลับซับซ้อนงอกงามเงยขึ้นคือการเป็นโรงพยาบาลที่ให้การรักษาที่ดีที่สุด และในขณะเดียวกันกเป็นที่ที่ฝึกอบีทและผลิตแพทย์ที่ดีที่สุดด้วย ในใจผมคิดว่าก็น่าจะเป็นไปได้แต่ไม่ง่ายแน่นอน ยิ่งคิดก็ยิ่งยากขึ้นเรื่อยๆ จึงใคร่ขอเลียนแบบรายการ Who wants to be a Millionaire โดยการ call a friend ขอโยนคำถามมาให้สมาชิกกระดานคิดต่อ หรือร่วมแสดงความเห็น

อย่างที่ได้เรียนไว้หลายครั้ง เพื่อที่สมาชิกผู้อ่านสามารถติดตามเหตุผลกลในของข้อแนะนำที่จะนำเข้ามา (หรือข้อสรุป ข้อคิดเห็น ข้อ...ฯลฯ) อันนี้อาจจะทำได้โดยการประกอบด้วยเหตุผลความเป็นมาของข้อคิด ข้อสรุปนั้นๆ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

Same old rules: Be Mature, Be Positive, and Be Civilized



Posted by : Phoenix , Date : 2003-11-23 , Time : 22:18:58 , From IP : 172.29.3.206

ความคิดเห็นที่ : 1


   ผมคิดว่าสามารถทำได้ แต่อาจต้องอาศัยความพยายามอย่างมาก
การจะไปถึงจุดที่เราคาดไว้ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับ
1. พชท. ควรคิดว่าเราเป็นหมอ มีหน้าที่ช่วยผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถ และไม่ควรทำให้เขาเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกายหรือจิตใจ
2. อาจารย์แพทย์ ควรเป็นแบบอย่างที่ดี ชี้แนะแนวทางในการเรียนรู้และการทำงาน เพื่อให้พชท.สามารถไปถึงจุดมุ่งหมายเร็วขึ้น ไม่ใช่ไปหลงทางอยู่
3. ผู้บริหาร ถ้าให้ความสำคัญกับพชท. คิดว่าเขาเป็นส่วนสำคัญของรพ. คอยดูแลว่าเขาอยู่ดีมีสุขหรือไม่ ถ้าเจ้านายดี ลูกน้องก็พร้อมที่จะทุ่มเทให้



Posted by : megumi , Date : 2003-11-24 , Time : 17:57:55 , From IP : 172.29.3.253

ความคิดเห็นที่ : 2


   พี่นกไฟจั่วหัวประโยคราวกับว่า การเป็นสถานบริการที่ดีและการเป็นสถานที่ฝึกอบรมที่ได้รับการยอมรับ เป็นสิ่งที่อยู่คนละขั้ว แต่ก็นั่นเอง มันสามารถเป็นทั้งสิ่งที่อยู่คนละขั้ว หากเรายกตัวอย่างสถานบริการที่ใช้ความพึงพอใจเป็นดัชนีหลักและมุ่งเป้าไปสู่ความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการ หรือยกตัวอย่างสถานศึกษาที่ประกาศว่าที่นี่สร้างไว้สอนหนังสือ คุณย่างตีนเข้ามาก็ต้องให้ความร่วมมือเป็นหุ่นให้เราสอนเราเรียน
.
เป็นสองขั้วที่โยงศรประสานเข้าหาและเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกันได้ ?
.
กล่าวขยายความคือ การบริการที่ดี ที่มีมาตรฐานและน่าประทับใจมิใช่หรือ ที่เราต้องการใช้เป็นต้นแบบของการเรียนการสอน และการเรียนการสอน ความร่วมมือและคุณภาพในเวชทักษะของผู้รับการฝึกอบรม รวมทั้งการศึกษาวิจัยมิใช่หรือที่จะนำมาซึ่งการปรับปรุงงานบริการและมาตรฐานทางเวชปฏิบัติ
.
นี่เองน่าจะเป็นภาพในอุดมคติที่พวกเรามองร่วมกันอยู่แล้ว
.
อยากให้พี่นกไฟได้อ่าน Surgery 2003 ฉบับเดือนกันยายนซึ่งมีบทความเกี่ยวกับ Surgical education ที่น่าอ่านหลายบทความ รวมถึงผลการศึกษาในประเด็น surgical volume และ surgical workload ของผู้เข้ารับการอบรม ที่มีต่อ performance อย่างเป็นวิทยาศาสตร์
.
ทั้งหลายทั้งสิ้นทำให้มองเห็นภาพของ surgical training ในยุคปัจจุบันว่า มันเปลี่ยนไปจากยุค มาทำงานด้วยกันสามสี่ปี ดูผ่าตัดช่วยผ่าตัดไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็เป็น ไปเองแล้ว การฝึกอบรมในยุคปัจจุบันมีปัจจัยบีบคั้นหลายประการ ทั้งเรื่องสิทธิ์ของผู้รับบริการ การตรวจสอบคุณภาพ จำนวนผู้ป่วย รวมทั้งการที่เราจำเป็นต้องถือว่าผู้เข้ารับการอบรมเป็น individual worker ที่ควรจะได้รับการคุ้มครองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามควร (หากเราไปเปิดกฎหมายแรงงานอ่าน เราอาจพบว่าการให้แพทย์ประจำบ้านประสาทศัลยศาสตร์อยู่เวรวันเว้นวัน ทำงานมากเกินไป) และนอกจากนี้สถาบันควรจะถือว่าการฝึกอบรมควรจะได้รับการประกันคุณภาพไม่ต่างจากการจัดการศึกษาในระดับอื่น
.
แน่นอน การจัดการศึกษาในระดับหลังปริญญาเน้นบทบาทในการใฝ่หาความรู้และฝึกฝนทักษะของฝ่ายผู้เรียนมากกว่าการป้อนเนื้อหาจากฝ่ายผู้จัดการฝึกอบรม การจัดโปรแกรมการฝึกอบรมที่ดีขึ้นจึงมิใช่หมายถึงการ จัดการบรรยายมากขึ้นสามเท่า จัดสอนภาษาเยอรมัน แต่น่าจะหมายถึงการจัดบรรยากาศที่เอื้อให้เกิดการแสวงหาความรู้อย่างเป็นวิชาการ หรือเรียนศัลยศาสตร์ที่เป็นศัลยศาสตร์เชิงประจักษ์ (evidence based surgical practice) พูดอย่างเป็นรูปธรรมคือ staff จะต้องเป็น academic surgeons ที่เป็นแบบอย่างได้ นั่นไม่ได้หมายถึงจะต้องทำ frontier surgery กันอยู่เสมอ แต่อย่างน้อยจะต้องรักษาให้ศัลยปฏิบัติ ทันสมัยเท่าที่ปัจจัยที่สถาบันมีจะเอื้ออำนวยให้ทำได้ นอกจากนี้เรายังจะต้องมองนวัตกรรมการฝึกทักษะอย่างเช่น surgical simulator โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการฝึกการผ่าตัดแบบส่องกล้อง พยายามสร้าง surgical guideline หรือชักนำ surgical guidelines ที่ established และได้รับการยอมรับแล้วมาจัดการฝึกอบรม เช่น ATLS, Basic surgical skills courses การทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมิเพียงจะทำให้เกิดประโยชน์กับ trainee ของเราเอง แต่ยังจะทำให้เราสามารถ position สถาบันของเราให้เป็น real academic center ในละแวกนี้ได้อย่างเต็มภาคภูมิ ผลประโยชน์สุดท้ายก็จะตกกับคนไข้ของเรามิใช่หรือ
.
กระบวนการคุณภาพเช่น การดูแลผู้ป่วยแบบพหุสาขาในลักษณะ patient care team, risk management หรือการ audit morbidity เป็นจุดแข็งของสถาบันที่เห็นได้ชัดว่าหากผลักดันให้เข้าสู่กระบวนการฝึกอบรม ก็จะเป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย และเรื่องสุดท้ายที่ไม่อาจมองข้ามคืองานทาง surgical research ที่เรามี strength และ opportunity ที่จะ establish หน่วยวิจัยทางศัลยศาสตร์ให้เกิดขึ้นเพื่อที่จะผลักให้พันธกิจทางการวิจัยให้ต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม มิใช่เป็นเพียงคำพูดหวานปาก

You may say I am a dreamer, but I believe I am not the only one.


Posted by : Shonikeka , Date : 2003-11-24 , Time : 20:09:54 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 3


   ........I agree with Dr. Shonikeka and Dr. Megumi.....:D.....:D
............For my openion.....I think it is hard to make this two way go good boths.........Someone ever told me that "Hospital Goverment" see "Resident" as worker........I ever heared one of head of one department say with other Co-worker in that department like this..."Hey? We must teach them? [Them meaning of Resident]......NO NO....It must work for us!!!......."...[It meaning of Resident too]...........Please donot ask me what department....Someone who ever say like this must know themself...:D

.......That mean I think maybe problem that make this system will not work......came from someone who thinking wrong....and someone like that to old to understand how about good of system.....just only thinking how can to find some worker to serve themself.....I hate someone like this.....I feeling look like I am going this place to be a servant of them..and beg them for work and money for buy food.....not a student to learn with teacher........

..........I like that Dr. Shonikeka be a Dreamer....and surely him not only one to dream...But....please Dr. Shonikeka....you must know that someone in this place....Be a Dream Destroyer....and Yes!!....Not only one too....:D...:D.....because system like this....Thailand will never go to be a developed country......Be a developing country....Forever.........

.......Sorry Dr. Phoenix for many wrong gramma and poor word used and sentence arrengment on my dialog......I use notebook that had no that alphabet......sorry....:D...:D



Posted by : Death , Date : 2003-11-24 , Time : 20:38:26 , From IP : ppp-203.118.80.49.re

ความคิดเห็นที่ : 4


   ผมไม่แน่ใจว่าเข้าใจคุณ Death พูดว่าอะไรนะครับ บางทีอาจจะลองหลังจากที่ได้คอมฯเครื่องเดิมกลับมา...

สองประการที่ตั้งไว้จะไม่ขัดแย้งกันถ้ามี "บริบท" มาเป็นเงื่อนไข แต่ก็อาจจะทำให้ Best กลายเป็นแค่ relative best ซึ่งมีพิสัยกว้างและอาจจะลด ambition ไม่ไปให้ไกลเท่าที่ควร ยังไม่ได้อ่าน journal ที่คุณ Shoni แนะนำ แต่ขอโยนประเด็นลงไปอีกสักสองสามประการแล้วกลับไปซุ่มดู response ใหม่ (หลังจากกิจกรรม hot issue ครั้งล่าสุด ผมรู้สึกว่าผมเข้าไป intervene เร็วเกินไปจน break flow of discussion)

คิดแบบ hard science นะครับ ตามหลักเวลามีอะไรที่ดุ controversial ก็งัดเอาตรงนั้นมาว่ากัน ส่วนที่เป็นประเด็นร่วมที่ co-exist ได้อยู่แล้วนั้นไม่เป็นปัญหา หรือสามารถบูรณาการได้อย่างไร้ตะเข็บอยู่แล้ว ถ้า Best Service หมายความว่าผุ้ป่วยทุกคนถูกรักษาโดยแพทย์ที่เก่งที่สุด พยาบาลที่เก่งที่สุด เครื่องมือที่ดีที่สุด เป็นสุดมุมหนึ่งของนิยามอันนี้ (ที่ถ้าเราจะแปลลงไปในวิสัยทัศน์ พันธกิจ) Best Training ก็จะหมายความว่านักศึกาหรือแพทย์เฉพาะทางของเราจะได้เรียนรู้ด้วยวิธีที่ดีที่สุด "ทุก" พิสัยการเรียน

ตรงคำว่า "ทุกพิสัย" นี่ ทำให้เราสามารถขยายความต่อได้ถึงสามพิสัยอันได้แก่ ปัญญาพิสัย (cognitive domain) จลนพิสัย (psychomotor domain) และเจตคติพิสัย (attitude domain) พอมองอย่างนี้เราก็พอจะมองเห็นว่าสิ่งที่คุณ Shoni ว่า co-exist นั้นคือ Cognitive and Attitude domains นั่นเอง (แม้แต่ attitude เองก็อาจจะหมิ่นเหม่ต่อการเสี่ยงด้านคุณภาพ คุณ Shoni คงพอจะจำได้ที่ นศพ. สอบ OSCE ถามผู้ป่วย CA breast ว่า "คุณอยากจะตายเหมือนแม่คุณเหรอ"!!!! โชคดีที่เป็น simulated scenario) เราสามารถ acquire ความรู้ และ observe จริยาวัตร การ approach ของอาจารย์ได้และเรียนรู้ได้อย่างดีถึงความรู้และเจตคติ แนวการคิดขณะซักถาม ขณะที่อาจารย์ narrate the interview ว่าทำอย่างไร โดยที่ผู้ป่วยในขณะนั้นจะรู้สึกว่าได้ best practice at the same time แต่พอมาถึงจลนพิสัยนี่จุดหมิ่นเหม่เริ่มเด่นชัดขึ้น จะอย่างไร นศพ. หรือ นักศึกษาพยาบาล และแม้กระทั่งแพทย์ประจำบ้านปีต้นๆก็ยังห่างไกลจาก standard ยังไม่ต้องไปพูดถึง best practice

ถ้าตรงนี้เป็น conflict เพียงอย่างเดียวที่ทำให้ training and service not get along ผมว่าแนวทางแก้ไขปฏิบัติก็พอจะมองเห็นได้ ไม่รู้ว่าจะตรงกับใน paper ที่คุณ Shoni ว่าบ้างหรือเปล่า?

หรือใครจะตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมถึงกรณีที่จะเป็น conflict ระหว่างทั้งสอง conditions ได้อีก ช่วยกันใส่ลงมา เราจะได้ brain storming กัน

OK บอลลงไปอยู่ที่เส้นกึ่งกลางสนามอีกครั้ง



Posted by : Phoenix , Date : 2003-11-24 , Time : 21:16:06 , From IP : 172.29.3.238

ความคิดเห็นที่ : 5


   ไม่รู้ว่าผมจะเข้าใจทั้ง 3 พิสัยของคุณ Phoenix ได้ตรงความหมายหรือเปล่า
(คิดว่าภาษาอังกฤษในวงเล็บด้านหลังคงจะเข้าใจง่ายกว่าภาษาไทย)
และที่ผมไม่เข้าใจอีกอย่างก็คือ ความหมิ่นเหม่นั้นหมายความว่าอย่างไร หมายความว่าจะไม่ได้คุณภาพที่ถึงมาตรฐานที่ควรจะเป็นหรือไร และจลนพิสัยที่ว่าหมิ่นเหม่นี่ เรามองจากอะไร

เรื่องการเรียนของนศพ.ชั้นคลินิก แย่หน่อยตรงที่ว่าผมไม่ได้เรียนที่ม.อ. แต่อยู่ร.พ.หาดใหญ่ ซึ่งจากทางด้านมุมมองของผม ผมก็เห็นว่าที่นี่ service ก็มาเป็นอันดับหนึ่ง และความเป็น Academic ก็กำลังสร้างขึ้นให้เป็นหนึ่งคู่กับ service เช่นกัน

ถ้าไม่มองไปทางด้านที่ว่าการ service จะได้รับผลกระทบอย่างไร หากมุ่งเน้นทางด้านการศึกษาของนักเรียนแพทย์
ผมคิดว่าทั้งด้าน ปัญญา จลน และเจตคติ นั้นก็เพียบพร้อมที่จะให้นักเรียนได้เรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้อยู่แล้ว
แต่ปัญหาที่นักเรียนแต่ละคนต่างได้สิ่งเหล่านี้ไม่เท่ากัน (ซึ่งถ้าคุณภาพถึงมาตรฐานหมดก็คงไม่ใช่ปัญหา) ก็เกิดจากความแตกต่าง ความหลากหลายของแต่ละคนนั้นเอง จะว่าปัญหาอยู่ที่ตัวเด็กเอง อย่างนั้นก็ถูก แต่มันเป็นเรื่องจริงและเราควรยอมรับ หากอยากให้ทุกคนพร้อมถึงมาตรฐาน ผมคิดว่าการเรียนเป็นกลุ่ม น่าจะช่วยแก้ปัญหาได้มากที่สุด แต่นั่นหมายความว่า ทุกคนต้องมีจิตสำนึกที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน ไม่ใช่ว่าตัวใครตัวมัน (อย่างที่เขาว่าให้ช่วยๆกันเรียนนั่นล่ะ) และการประเมินผลก็ต้องให้ได้ชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่นี่ด้วย (แน่ล่ะ การประเมินผลไม่ควรเป็นข้อสอบปรนัยอย่างใน PBL ที่ทำๆกันอยู่)


Posted by : ArLim , Date : 2003-11-24 , Time : 23:14:07 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 6


   คุณ Death ครับ ผมว่าการที่มี Dreamer และ Dream destroyer นั้นเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้วล่ะครับ อย่างที่ในหลวงท่านว่าล่ะ ให้ส่งเสริมคนดี ไม่ส่งเสริมคนชั่ว แค่นั้นประเทศก็จะเจริญแล้ว ซึ่งหลักนี้ก็ใช้ได้กับทุกๆที่นี่ครับ หากมัวท้อถอยหรือต้องปวดหัวหนักกบาลเพราะเรื่องแย่ๆอยู่ ความคิดสร้างสรรค์มันจะไม่ค่อยออกมานะครับ

Posted by : ArLim , Date : 2003-11-24 , Time : 23:17:53 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 7


   Psychomotor = ความชำนาญด้านหัตถการ

การเรียนแพทย์นั้น นอกเหนือจากความรู้ทางการแพทย์ เจตคติที่ดีและจรรยาบรรณวิชาชีพ ยังมีองค์ประกอบที่บัณฑิตจะต้องฝึกฝนตนเองให้มีความชำนาญหลายต่อหลายเรื่อง แน่นอนที่สุดที่ว่าไม่มีใครเก่งมาแต่กำเนิด อาจจะมีส่วนน้อยที่มี gift สามารถเรียนรู้ได้เร็ว แต่หัตถการนั้นเป็นอะรที่ค่อยๆก่อเกิดและสั่งสมจนเป็นความชำนาญ

ลองเปรียบเทียบ performance ของเราในการตรวจร่างกายผู้ป่วยตั้งแต่ตอนเจอผู้ป่วยรายแรกจนถึงปัจจุบันแล้วสังเกตความแตกต่าง ตั้งแต่ระดับความมั่นใจ ความเป็นธรรมชาติ ความสามารถในการบูรณาการการซักประวิติถามข้อมูลเพิ่มเติมขะลงมือตรวจร่างกาย multi-task เป้น level ของความชำนาญอีกประการที่บ่งบอกถึงความก้าวหน้า หัตถการที่ผู้กระทำยังไม่เกิดความชำนาญ ยังจำลำดับขั้นตอนได้ไม่คล่องหรือยังไม่เป็นอัตโนมัติ เป็นต้นกำเนิดความผิดพลาด เป็นความแตกต่างระหว่างประสบการณ์มากและน้อย และที่สุดเป็นสิ่งแยกของ excellence performance และ poor skill

ทุกๆอย่างที่แพทย์ต้อง "ลงมือ" กระทำกับผู้ป่วย ว่ากันตั้งแต่ซักประวัติ การใช้ภาษา การแต่งตัว อากัปกิริยาท่าที (สอบ OSCE ที่ใช้ผู้ป่วยจำลองนั้น คะแนนส่วน atitude นั้นออกมาน่าสงสารมาก ทั้งสำหรับ นศพ.และผู้ป่วย) การตรวจร่างกายที่ว่ากันตั้งแต่ถูกลำดับ ถูกท่า และทะมัดทะแมง อันนี้ยังไม่ได้รวมถึง end result ?ต้องการคือตรวจพบความผิดปกติหรือปกติได้อย่างถูกต้องแม่นยำ หัตถการพิเศษต่างๆ เช่น เจาะเลือด ให้น้ำเกลือ ใส่ถุงมือ PR PV หรือแม้กระทั่งในระดับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง เช่น การผ่าตัด ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่ take time ในการพัฒนาทั้งสิ้น กระบวนการดังกล่าวอะไรก็ตามที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างความชำนาญของ the best กับสิ่งที่เกิดจริง ก็จะเป็นตัวขวางกั้นวิสัยทัศน์พันธกิจที่เราได้ตั้งไว้ทั้งสิ้น



Posted by : Phoenix , Date : 2003-11-24 , Time : 23:47:44 , From IP : 172.29.3.206

ความคิดเห็นที่ : 8


   OK ยังไม่มีใครว่างมาเอาบอลไปเล่นต่อ ขอขยายความอีกหน่อยก็แล้วกัน

เมื่อหลายเดือนก่อน แฟนประจำกระดานข่าวอาจจะระลึกถึงกระทู้หนึ่งที่ว่าด้วยเรื่องการฝึกหัตถการ มีคนอยากจะให้ นศพ.ได้หัดเจาะเลือด เจาะหลัง ในคนไข้ HIV นัยว่าเพื่อเพิ่มจำนวน case หัตถการมากขึ้น มีกระทู้ถามว่าทำไมจึงส่งนักศึกษาออกไปหัดทำหัตถการข้างนอกบ้าง ไม่สอนให้เป็นซะก่อนตั้งแต่ตอนอยู่ข้างใน เป็นต้น ถ้าเอาเรื่องนี้มาพินิจพิเคราะห์ขยายวงดู เราจะพบว่าส่วน psychomotor นี้อาจจะเป็น achilles heel ของสถาบันฝึกสอนในปัจจุบันที่จะต้องหาทาง address ปัญหาหรือไม่?

ในบรรดาพันธกิจของสถาบัน คือ รักษาบริการ ฝึกอบรม และวิจัย นั้น แยกแยะแล้วยังไงๆก็ยังมีลำดับขั้นลักลั่นของความสำคัญ ไม่ได้เท่ากันหมดเป็นแถวหน้ากระดาน ตรงนี้ผู้ที่เป็น customers จะต้องได้ปรับความเข้าใจ มิฉะนั้นจะไม่สามารถรักษาระดับความพึงพอใจได้ ถ้าปล่อยให้ Expectation หรือ ความคาดหวังนั้นไม่ไปกับความเป็นจริง ยิ่งส่วนที่หัตถการมีความซับซ้อนมากขึ้น มี safety range แคบลง (คือหมิ่นเหม่ต่อการเกิด complications ที่ serious ถ้าได้รับการรักษาระดับคุณภาพที่ต่างออกไปเพียงเล็กน้อย) ยิ่งต้องแยกแยะให้ออกว่าระหว่าง training กับ service นั้น ในสถานการณ์แบบไหน ลำดับความสำคัญจะเป็นอย่างไร

ปัญหาจะลงไปอยู่ที่การฝึกอบรมให้ได้ส่วน psychomotor นั้น ขั้นตอนคือ รู้ทฤษฎีเป็นอย่างดี จากนั้นก้ observe วิธีการทำที่ถูกต้อง จากนั้นก็ลองทำกับหุ่นจำลองหรือผู้ป่วยจำลองให้ได้ท่า ได้ขั้นตอน โดยอนุญาตให้มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ด้วยระดับหนึ่งความถี่หนึ่ง จากนั้นก็กระเถิบขึ้นไปทำกับผู้ป่วยจริง under closed-supervision แล้วก็ทำเองในที่สุด หากมีการข้ามขั้นที่ตรงไหน ก็ต้องเข้าใจว่าเรากำลัง "เสี่ยง" ต่อการเกิด complication กับผู้ป่วยโดยที่ประโยชน์ที่ได้จากการฝึกฝนนั้นอาจจะไม่เท่ากับโอกาสจะเสีย ถึงแม้จะเป็นเรื่องดีที่แพทย์ผู้ฝึกอบรมมีความอยาก กระเหี้ยน กระหือรือ กระตือรือร้นที่จะทำ จะลองทำ จะฝึกทำกับผู้ป่วยจริง เราคงต้องเคารพผู้ป่วยที่เปรียบเสมือนอาจารย์ของเราด้วย ถ้าจำได้เราเคยกราบไหว้ "อาจารย์ใหญ่" เวลาเราเรียน gross anatomy อย่างไร เราก็ควรจะเคารพผู้ป่วยที่มีชีวิตไม่น้อยกว่ากันเลย จริงแล้วเป็นเช่นนั้นหรือไม่ ลองตอบตัวเองกันดีไหมครับ?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-11-26 , Time : 21:06:30 , From IP : 172.29.3.249

ความคิดเห็นที่ : 9


   Conflict of the best นั้นมีอยู่จริง ทุกที่และทุกเวลาครับ กล่าวขยายความคือ ความแตกต่างระหว่าง ideally best กับ reality best นั้นเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ทำความเข้าใจได้
.
ก่อนที่จะสาธยายต่อ ขอเกริ่นก่อนว่าทรรศนะนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า
ฉันไม่เชื่อใน real best นั่นหมายถึง the best of the best ในปัจจุบันก็ยังเป็นสิ่งสัมพัทธ์ ผันแปรตามปัจจัยและมีความเป็นอนิจจังตามกฏไตรลักษณ์
ฉันไม่เชื่อว่า reality best เป็น compromised best หากเป็น the best at a certain circumstance (อ้างถึงวิสัชนาความของท่านนกไฟในกระทู้ double standard)

ideally best นั้นใช้ไม้บรรทัดอันเดียววัด เช่นหากเรายืนอยู่บนฐานของงานบริการเพียงอย่างเดียว ใช้ความพึงพอใจเป็นมาตรวัด สถาบันของเราที่มีการสอนและฝึกอบรม อาจด้อยกว่าสถานพยาบาลที่มีพันธกิจด้านการบริการอย่างเดียว หากใช้อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษามาวัด ผลก็อาจเป็นไปอย่างนั้น
.
ด้วยไม้บรรทัดอันเดียวกัน เราไปถึงสุดปลายที่ไกลที่สุดได้ไหม
.
ไม่ได้ ตราบเท่าที่พันธกิจของเรายังมีอยู่หลายอย่างอย่างที่ท่านนกไฟว่า และแต่ละอย่างมันไม่ได้เท่ากันตามแถวหน้ากระดาน แต่มันเป็นเรื่องต่างแกนต่างองศาที่ฉุดดึงซึ่งกันและกัน
.
the best ใน real life จึงเป็นเรื่องที่ยากจะหาข้อสรุป เพราะเราไม่อาจเลือกใช้ไม้บรรทัดอันเดียว และเป็นเรื่องยากที่จะคิดว่าจะใช้อันไหนเป็นหลัก ในทางกลับกัน เราก็ไม่ควรจะเอาความที่มีหลายเหลี่ยมมุม หลากมิติของ real life ที่ว่านี้ มาเป็นข้ออ้างในการยอมให้เกิดความด้อยคุณภาพในมิติใดมิติหนึ่ง หรือเป็นข้ออ้างในการไม่วัดมันเอาซะเลย
.
นั่นหมายถึง เราจะต้องวัด และศึกษาว่า หาก A B และ C อยู่คนละมุม ด้วย resources เท่าเดิมเราจะเพิ่ม A โดยที่ B และ C ไม่ลดได้ไปจนถึงแค่ไหน เราจะเพิ่ม B โดยที่ A และ C เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดได้ขนาดใด จุดที่ A B และ C มีค่ามากที่สุดในสมการ ( a certain circumstance) นั่นแหละ คือ the reality best that can exist, integrated from the the best of each factor
.
เข้าใจว่านี่เป็นรากของเครื่องมือบริหารองค์กรแบบ balanced score card ซึ่งผู้บริหารจำเป็นต้อง deal กับการวัดความสำเร็จในหลายตัวแปร จะเห็นว่ามันต้องวัดครับ มันต้องศึกษาอย่างมีข้อมูลและเป็นวิทยาศาสตร์
.
มิใช่ใช้วิชา candle sitting แล้ววิพากษ์ วิจารณ์ วิเคราะห์ กันขโมงโฉงเฉง ท้ายสุดก็ตัดสินใจผิดทาง และโดนความจริงกัดเอาสะบักสะบอม


Posted by : Shonikeka , Date : 2003-11-27 , Time : 12:48:16 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 10


   
The best of both goals is what we should aim for


ฟังดูเหมือนจะเป็นความขัดแย้งในตัวเอง กับที่ผมได้ตั้งหัวข้อกระทู้เอาไว้ ก็ไหนว่ามันเป็น conflict of interest ระหว่าง training กับ services ไง แต่ว่ากฏข้อหนึ่งของการตั้งวิสัยทัศน์พันธกิจก็คือ มันต้อง Challenge คนทำ หรือ องค์กร

การตั้งวัตถุประสงค์ตามขอบเขตที่เป็นไปได้ที่เห็นๆอยู่นั้น จริงอยู่เป้นสิ่งที่ซุนวูแนะนำ "จงเริ่มสงครามหลังจากที่มองเห็นชัยชนะเท่านั้น" แต่มันจะขาด element ของความท้าทาย การขาด element ของความท้าทายเป็นการขาดคุณสมบัติของ The Elite จะเป็นก็เป็นได้แต่พวก mediocre หรือ moderate-good เท่านั้น แตความยากไม่ได้แปลว่าเป็นไปไม่ได้ แปลว่าต้องคิดนาน คิดรอบ และคิดแหวกแนวหน่อยเท่านั้นเอง

ลองดูกันไหมครับ พี่น้อง?



Posted by : Phoenix , Date : 2003-11-27 , Time : 22:02:13 , From IP : 172.29.3.203

ความคิดเห็นที่ : 11


   .........เอออออออ.......ผมได้ Keyboard ภาษาไทยกลับมาแล้วครับ....[ผมไปกรุงเทพครับ..ไม่ได้พก Keyboard ไปด้วย..:D...]...........:D
.........
..........ความหมายของผมคือว่า....ถ้าในความหมายของคำถามข้างต้น...ว่ามันจะไปด้วยกันได้ไหม...บริการกับการเรียนการสอนเนี่ย?.....ผมคิดว่ามันยากครับ....ตัวผมเองคิดว่า[ตัวผมนะครับ..ไม่ใช่หมู่คณะที่ไหน]....อาจจะเพราะพวกลุ่มของผู้บริหาร[บางท่าน]คิดว่าการมีแพทย์ใช้ทุนนี่....เพื่อเอาไว้ใช้งานหรือเปล่า......เหมือนกรรมกรหรือเปล่า.....เพราะผมเคยได้ยินหนึ่งในคนเหล่านี้.....กล่าวแบบแปลกใจประมาณว่า....."เอออ เราต้องสอนพวกมันด้วยเหรอ?....พวกมันมีหน้าที่ทำงานให้เราไม่ใช่เหรอ".......อะไรประมาณนั้น.....ผมฟังแล้วผมไม่ชอบเลย....รู้สึกเหมือนว่า.....ผมเป็นขอทานมาของานทำ....และขอเงินเดือนเพื่อซื้อข้าวกินหรือเปล่า.......????.....ไม่รู้...????......ผมเลยมองว่าสาเหตุที่การคิดเรื่องที่ว่าการบริการและการเรียนการสอนจะไปด้วยกันได้นั้น.....น่าจะเป็นไปไม่ได้[ไม่ใช่สิ....เป็นไปได้ยากตะหาก....เพราะคุณ Phoenix ไม่ชอบคำว่า "เป็นไปไม่ได้...ไม่มีทาง"....อะไรแบบนั้น....HAHAHA....:D...:D....]...........ถ้ามีคิดซะแบบนี้....แล้วไอ้คนเหล่านั้นมันตัวใหญ่ๆ....มันจะพัฒนาขึ้นได้ไง....ผมเลยมองว่าชาตินี้ประเทศไทยคงเป็นได้แค่ประเทศที่"กำลัง"พัฒนาไปเรื่อยๆหละ....ไม่มีทาง[คงจะยาก]....ที่จะกลายเป็นประเทศที่"พัฒนา"แล้ว........
............
.............สุดท้ายที่ผมเขียนคือว่า.....ผมบอกคุณ Shonikeka ว่าดีแล้วครับที่คุณเป็น Dreamer.......แต่ทำใจไว้บ้างเถอะครับ....เพราะมันจะมีบางคนที่นิยมเป็น Dream Destroyer.....แบบว่าข้าไม่มีความคิดอะไรที่เข้าท่า....ไม่มีอะไรดีๆจะทำ....แต่ข้าเห็นคนอื่นดีกว่าข้าหรือเจริญกว่าข้าไม่ได้..........แย่ครับ.............
............
.......รู้สึกว่าคุณ Arlim จะอ่านที่ผมเขียนเข้าใจ.....แสดงว่าคุณ Arlim ต้องไปเรียนภาษาอังกฤษกับผมเพิ่มแล้วหละครับ....:D...:D.......ผมจะไปเรียนอยู่ช่วงนึงที่คนมาสมัครเยอะๆ.....ปรากฎว่าคนสมัครเยอะจริง.....แต่ไม่มีคนไปเรียนเลย....จนล่มไปแล้วครับ......ผมถามเพื่อนๆหลายคนที่ไม่ไป....รวมทั้งตัวผมเองด้วย.....ผม Round ไม่เสร็จ.....ผมจะไปเรียนได้ไง...ผมจะทิ้งให้ Intern Round แล้วโทรถามทางโทรศัพท์นี่ทำไม่ได้จริงๆครับ......นั่นคือผมและคนหลายคนไม่สามารถทิ้งงานที่เราต่างคิดว่าสำคัญกว่าการเรียนการสอนไปได้นั่นนะเอง.....ถึงตอนนี้คุณ Phoenix คงอาจจะอยากถามผมแล้วมั่ง.....แล้วเมื่อไหรผมจะเจริญหรือเขียนภาษาอังกฤษที่มันเข้าท่ากว่านี้?...........ไม่ทราบครับ.......:D...:D.........นั่นอาจจะเป็นส่วนนึงที่ว่ามันอาจจะไปด้วยกันไม่ได้จริงๆ.......เพราะผมเองหรือคนอื่นๆบางคน....คิดว่านี่มันงาน....และงาน...และงาน....จะทิ้งไปได้ไง.....พวกเราอาจจะมองมากไปว่ามันเป็นงาน.....ต้องทำและต้องทำ.....อาจจะไม่เคยมามองว่ามันต้องมีการเรียนด้วย.....ทำให้คล้ายๆจะเป็นความแทนไม่ใช่คนเพราะไม่ได้อ่านหนังสือหรือทำอะไรเลย.......ทำแต่งานๆๆๆ....กลับไปก็นอนตาย.....ตื่นมาไถนาต่ออีก.....แล้วก็กลับไปนอนตายต่อเป็นวงจรอุบาทว์ไปเรื่อยๆ..........:D...:D
...........
............ผมว่ามันมองได้หลายด้านครับ....ด้านของผมคิดว่า....เป็นเพราะความใส่ใจของทั้งผู้บริหารและผู้ปฎิบัติงาน....ไม่สนใจตรงนี้มากพอ.....ผมไม่แน่ใจว่าการวางแผนในการผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพนี่จบแค่เป็น พบ. หรือเปล่า.....แพทย์ใช้กรรมนี่ต้องไถนาเป็นทุกท่านจริงหรือไม่.......ผมไม่ค่อยแน่ใจตรงนั้นเหมือนกันด้วยครับ.........พอดีกว่า.....พูดมากเดี๋ยวโดนไล่ออก....:D...:D
...............
...........มองในด้านของผู้รับบริการบ้าง.........ผมคิดว่าเป็นคนใข้คงอยากจะได้การยริการที่ดี....มาโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์นี่คงต้องอยากได้การดูแลรักษาที่ดีที่สุด......อยากจะเจออาจารย์ตรวจตลอด....ไม่ใช่แพทย์ใช้กรรมตรวจ [เคยได้ยินคนไข้ Request ที่ OPD ]..........สมัยผมเรียนอยู่มีอาจารย์ท่านนึงเคยบอกไว้ว่า........การเรียนการสอนกับการบริการเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำให้ไปด้วยกันได้....แต่อาจารย์ของผมท่านคิดว่า.....การสอนเป็นสิ่งสำคัญกว่าถ้าจำเป็นต้องถามถึง Priority.....ท่านบอกว่าถ้าคนไข้ต้องการการรักษาที่ Perfect และรวดเร็วทันใจ....โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ไม่ใช่สถานที่ที่เหมาะสมครับ.....ให้อธิบายตรงนั้นไปคิดว่าคนใข้น่าจะเข้าใจ......เพราะถ้าเราใส่ใจการบริการมาก....โดยไม่ Care การเรียนการสอนเลย......เราก็จะผลิตแพทย์ห่วยๆออกไป.....เพื่อก่อปัญหาและส่งกลับเข้ามาในโรงเรียนแพทย์อีก.....สู้เราผลิตคนที่มีคุณภาพออกไป....เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างถูกต้องดีกว่าหรือไม่........อาจารย์ของผมท่านภูมิใจมากครับ...กับการที่ได้เป็น"ครูแพทย์"ผู้ที่สอนแพทย์อย่างสุดความสามารถ.....ไม่ใช่มานั่งบริการเพื่อเอาอกเอาใจใครครับ........:D....:D.......ผมชอบคำพูดนี้มากเลยครับ.....แต่ท่าทางผู้บริหารอาจจะไม่ค่อยชอบเท่าไร...:D...:D



Posted by : Death , Date : 2003-11-27 , Time : 22:23:48 , From IP : 172.29.3.236

ความคิดเห็นที่ : 12


   พชท.เป็นเสมือนทหารแนวหน้าที่เข้าปะทะ การทำให้คนเหล่านี้สู้อย่างถวายชีวิตได้ย่อมเป็นผลดีกับสถาบันและผู้ป่วย แต่ทำไมพชท.ไม่ทำ อันนี้ผู้บริหารน่าจะลองตรึกตรองดู
จูล่งเสี่ยงชีวิตไปช่วยอาเต๊า เล่าปี่เมื่อรับอาเต๊ามาแล้วกลับพูดว่า "เพราะไอ้ลูกจัญไร ทำให้เราเกือบต้องเสียจูล่ง" แล้วก็โยนทิ้ง จูล่งโผเข้ารับไว้ทัน แล้วกล่าวด้วยน้ำตาคลอเบ้าว่า " ข้าน้อยจูล่ง ถึงตายก็ขอสละชีวิตแทนคุณนายท่าน "


Posted by : megumi , Date : 2003-11-27 , Time : 23:22:32 , From IP : 172.29.3.216

ความคิดเห็นที่ : 13


   สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อว่าจะทำให้ประเทศเราเจริญได้ (จริงๆ ไม่ใช่พูดโก้ๆ) คือความ serious จริงจังเมื่อพูดถึงเรื่องจริงจัง ซึ่งจะรวมตั้งแต่การเลือกใช้คำ แนวการอภิปราย และการ "ไม่มี AGENDA"

สาเหตุง่ายๆที่เราอาจจะพอมองเห็นได้ก็คือ ถ้าเราใส่ความ "ทีเล่นทีจริง" ลงไปในทุกๆบริบทแล้ว เป็นการยากมากที่จะชักจูงการพูดอะไรที่มันเป็นจริงจังได้ ไม่ว่าจากที่เราได้อ่านกันมา หรือที่มีการกล่าวว่า "ได้ยินว่ามา" บริบทของการพูดเป็นอย่างไร? ประชดประชัน หรือในที่ประชุมบริหารคณะ หรือจงใจพูดแดกดันเพราะรู้ว่ามีคนฟังที่ต้องการจะแดกดันอยู่ ซึ่งถ้าคนถูดกระทำรับมุขไปขยายเป็นเรื่องจริงจังต่อแล้วเอาไปสานต่อเป็นนโยบายบริหารของสถาบันแห่งไหนๆก็ตาม เราก็อาจจะพอคาดเดาได้ว่าสถานที่ที่อภิปรายโดยใช้ rumour หรือ "เขาเล่าว่า" นั้นจะลงเอยหรือมีทิศทางไปทางไหน

อาจจะต้องปรับความแจ่มชัดของวัตถุประสงค์อีกครั้งหนึ่งของกระทู้นี้ ผมอยากจะเรียนถามและขอความเห็นตามหัวข้อที่ตั้ง ว่าเป็นเช่นไรและเราคิดว่าจะสำเร็จได้อย่างไร ลองพยายามทำ constructive criticism ให้ได้ เชื่อผมเถอะครับ (นานๆผมจะบอกให้ใคร "เชื่อ" ผมตรงๆสักที) ถ้าพวกเราทำเทคนิกนี้เป็น และทำเป็นนิสัย ทำเป็น norm มีคนทำกันเยอะๆการบริหารจัดการของประเทศเราจะเจริญขึ้นอีกเยอะ รวมทั้งมาตรฐานบัณฑิตของเราด้วย



Posted by : Phoenix , Date : 2003-11-28 , Time : 00:02:59 , From IP : 172.29.3.203

ความคิดเห็นที่ : 14


   ด้วยความเคารพครับ

ผมเองก็อยากเห็นครับ ไอ้แบบที่ Service กับ Acedemic ไปด้วยกันได้
การคิดถึงคุณภาพชีวิตของคนที่มา Training ก็เป็นเรื่องดี และมีการพูดถึงกันมาก ในช่วงนี้ แต่ผมไม่เห็นด้วย ที่ฝันอยากจะได้ Training ที่ดีควบคู่ไปกับ ความสบาย ใน Clinical practice เห็นมากก็รู้มาก อ่านมามากแค่ใหน ไม่เคยเห็นเลยก็คงบอกยาก ยิ่งเป็นเรื่องของ Skill ด้วยแล้ว ไม่เคยเห็นจะกล้าทำใหม (คงน่ากลัวถ้ามีคนบอกว่ากล้า) No pain No Gain ครับ

ส่วนเรื่องของ Debate L นี่ ผมขอยกตัวอย่างที่ผมเคยไปสัมผัสมานะครับ ศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษาแห่งหนึ่งในภาคใต้ หน่วยศัลยศาสตร์ เขาจัดให้มี Staff อยู่เวรสำหรับอยู่กับนักเรียนแพทย์นอกเวลา สองทุ่มถึงเที่ยงคืน ในแต่ละคืน Staff รับผิดชอบนักเรียนแพทย์ 4-5 คน พาเดินดูคนไข้ที่ ER Ward และ OR , ในขณะที่ Staff อีกคนอยู่เวร Service รับ Consult จาก Resident และพร้อมมาเข้า OR ตลอดเวลาบางคนนั่ง ๆ นอน ๆ รอใน OR ด้วยซ้ำไปพร้อมจะกระโดดเข้าช่วยเมื่อมีการร้องขอ (ไม่ได้หมายความว่าอยากให้ Staff มาทุกCase นะครับ ที่นั่นเขามี Resident อยู่เวรหนึ่งคนต่อคืน Staff ก็เลยต้องมาช่วย แต่ของเรามีหลายคน ระบบพี่สอนน้องถ้าไม่ไหวค่อยตามอาจารย์ก็ดีอยู่แล้วครับ ) มาสอน U/S abdomen ที่ ER เราสามารถเรียกเครื่อง Portable U/S ได้ตลอดเวลา ไม่มีการอิดออด ไม่กลัวเสีย ถ้าต้อง Endoscpy นอกเวลาก็ทำได้ บุคลากร ที่เป็น Paramedic เขาพร้อมให้ความร่ามมือครับ Philadephia collar เขามีเป็นถุงครับ สงสัย C-spine injury ก็เรียกมาใส่ได้เลย ไม่ต้องทะเลาะกันเพื่อให้ได้มา
ลองนึกเปรียบเทียบกับสถาบันการศึกษาบางแห่งที่อวดอ้างตนเป็นที่หนึ่ง เป็นที่พึ่ง ของภาคใต้ พอนอกเวลาก็ไม่ต่างกับสถานีอนามัย UpperGI Bleeding เรา Scope ได้ใหม , Portable U/S ที ER คุณภาพเป็นอย่างไร ดูแล้วกล้าบอกใหมว่า Positive หรือ Negative เสียแล้วส่งซ่อมเป็นเดือนไม่รู้จะได้เมื่อไหร่ เราคิดถึง Costeffective กันจนเกินไป มัวแต่ภูมิใจกับ HA กับภูมิทัศน์ของโรงพยาบาลจนลืมนึกถึงจุดประสงค์ในการก่อตั้งโรงพยาบาล

เอ้! ผมแหกกฎ Be Mature, Be Positive, and Be Civilized ของคุณ Phoenix หรือเปล่านี่ ....ไม่มั๊งครับ


Posted by : Who am I? , Date : 2003-11-30 , Time : 21:01:53 , From IP : 172.29.3.239

ความคิดเห็นที่ : 15


   ........ผมชอบคำนี้จังเลย..."พอนอกเวลาไม่ต่างอะไรกับสถานีอนามัย"......:D
..............เรียนคุณ Phoenix ครับ.....:D......ผมเชื่อที่คุณพูดครับ...แต่ขั้นตอนการทำให้ได้นั้น........ผมเชื่อว่าเราได้แต่"รอ"ครับ.......:D....ผมเคยบอกคุณไปนานแล้วนี่ครับ.....วันนึงที่คุณได้เป็นผู้บริหาร.....ขอให้ใช้อำนาจที่คุณมี...ทำเพื่อคนอื่น......แค่นั้นหละครับ.......ผมนั่งรอวันนั้นอยู่........ระหว่างนี้ขอให้ผมบ่นบ้าๆอ่านอะไรไม่รู้เรื่องไปก่อนหละกัน...:D...:D....HAHAHAHA...:D...:D
.........
..........แต่ผมชอบจริงๆนะ.......สถานีอนามัยเนี่ย.....:D...:D....:D



Posted by : Death , Date : 2003-11-30 , Time : 21:25:13 , From IP : 172.29.3.251

ความคิดเห็นที่ : 16


   เราจะทำสองสิ่งให้ดีที่สุดได้อย่างไร...
เคยมีคนถามผมว่า.. เรียนหนังสือให้ดีที่สุด ทำกิจกรรมให้ดีที่สุด (และดูแลแฟนให้ดีที่สุด) ได้อย่างไร

ผมตอบว่า ทำได้สิ มันมีทางทำได้ แต่ตอนนี้ผมยังทำไม่ได้ดีสักอย่าง
มองเห็นทางครับ แต่ยังไปไม่ถึง
ปัจจัยสำคัญคือ ความมุมานะ สติปัญญา และความร่วมมือ ครับ

อาจารย์แพทย์สามารถสอนนักเรียนให้ได้ความรู้ที่ดีที่สุดเท่าที่ปัจจัยเอื้ออำนวย และนักเรียนก็ต้องร่วมมือกับอาจารย์ในการตั้งใจศึกษาเล่าเรียนตามทางที่ถูกต้อง

การบริการที่ดีที่สุด เกิดจากความร่วมมือของผู้ทำงาน และความมุมานะของผู้ทำงาน

ไม่ว่าอะไรที่ขัดแย้งกัน หากใช้สติและปัญญา ก็จะสามารถหาจุดร่วมกันได้

อย่าถามผมนะครับ เหตุที่ผมเรียนก็ไม่ดี กิจกรรมก็ห่วย แถมแฟนด่าทุกวันนั้น เป็นเพราะผมขาดข้อไหนไป

สู้ต่อไป ไอ้มดแดง


Posted by : ArLim , Date : 2003-12-01 , Time : 03:11:03 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 17


   อย่างที่ผมเรียนให้ทราบ (มาหลายครั้ง) กระทู้นี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อ defend หรือ เพื่อ "ใคร" หัวข้อกระทู้นั้นชัดเจนและคนที่จะนำไปใช้นั้นหมายถึงสถาบันฝึกอบรมแพทย์ ซึ่งเกือบทุกที่ในประเทศไทย overloaded ด้วยภาระงานบริการทั้งสิ้น

เป็นเรื่องดีที่เรามองเห็นเหตุการณ์ดีและไม่ดี เพราะว่าเราสามารถนำมาปรับปรุง แต่จะมีประโยชน์มากขึ้นหรือไม่ถ้าเราสามารถมองออกเป็นระบบ? การ copy วิธีการแก้ไขปัญหาจากทุกๆที่ที่เราไปดูงานนั้นก็เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาแบบหนึ่ง แต่ก็อาจจะหมายความว่าทุกครั้งที่มีปัญหาใหม่เราก็ต้องออกไปดูงานเพื่อจะ copy เขมาใช้อีกครั้ง

อีกประการผมไม่ได้ต้องการ training ที่ดีควบคู่กับ"ความสบาย" ใน clinical practice นะครับ จริงๆแล้ว "ความสบาย" อาจจะไม่ค่อยเกี่ยวข้องในสถาบันที่ต้องการให้ดีไม่ว่าจะเป็น training หรือ service ซะด้วยซ้ำ

คุณ Death ชอบ "รอ" ใช่ไหมครับ คุณ Death คิดว่าขณะนี้คุณเข้าใจว่าปัญหาการบริหารติดขัด "อย่างไร" (ไม่ใช่ที่ "ใคร") และถ้าคุณ Death เป็นผู้บริหหารจะแก้ไขอย่างไรล่ะครับ?

ถ้าไม่เหนือบ่ากว่าแรงขออนุญาต define ขอบเขตกระทู้ว่าเป็น "ระบบ" และการบริการทางการแพทย์แบบรวมกับการฝึกอบรม ไม่ใช่ เรื่องเฉพาะทาง



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-01 , Time : 03:19:57 , From IP : 172.29.3.252

ความคิดเห็นที่ : 18


   คุณ Death ครับ ผมก็อยากไปเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเหมือนกันนะครับ แต่... คุณก็เห็นแล้วว่า ผมยังมีอีก สามอย่างที่ต้องทำให้ดีที่สุดอยู่
อย่างที่สี่ ที่ห้า ... ก็จะขอสู้ต่อไปครับ


Posted by : ArLim , Date : 2003-12-01 , Time : 03:24:22 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 19


   แล้วตอนนี้ในระบบมีปัญหาอะไรบ้างล่ะครับ

Posted by : ArLim , Date : 2003-12-01 , Time : 17:36:27 , From IP : 172.29.2.80

ความคิดเห็นที่ : 20


   คือผมอยากจะให้พวกเราลองวิเคราะห์แล้วแสดงความเห็นดูว่าระบบที่มีใช้อยู่ในมหาวิทยาลัย "ในเมืองไทย" หรือเท่าที่ทราบมีปัญกหาอย่างไร และควรจะแก้ไขอย่างไรน่ะครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-01 , Time : 18:47:12 , From IP : 172.29.3.208

ความคิดเห็นที่ : 21


   .............อย่างที่ผมเขียนไว้แล้วนะครับ.....คุณ Phoenix อาจจะอ่านไม่เข้าใจ[อีกแล้ว]เพราะมีถ้อยคำประชดประชันมากมายเกินไป[ที่ผมชอบเขียน]....:D...:D...ผมคิดว่ามันขึ้นกับมุมมองว่าด้านไหนเป็นด้านไหนครับ....
.......อย่างแรกเรารู้ๆกันอยู่ดีว่าสองอย่างนี้จะทำให้ดีมันเป็นเรื่องยาก.....สถาบันที่ผมเรียนจบมา[สมัยนั้นนะไม่รู้สมัยนี้เป็นวั้นหรือเปล่า].....อาจารย์หลายท่านจะยึดในการเรียนการสอนเป็นหลัก...เพื่อสอนนักเรียนที่มีคุณภาพออกไป....จะโดนคนไข้บ่นว่าตรวจช้าก็ช่างเถอะ....แต่ต้องสอนนักเรียน.....ไม่มีมานั่งนับว่าตรวจได้กี่คน....เพราะไม่สนใจปริมาณ....สนใจแต่คุณภาพตะหาก....:D...:D....นั่น....ผมคิดว่าระบบบริหารของแต่ละที่ใองแบบไหนตะหาก.....ที่นี่ตามแนวนโยบายเน้นแบบไหนหละครับ......หรือจะเอาทั้งสองทางที่ผมยังไม่เห็นว่ามันทำได้ตรงไหน...สรุปคืออย่างแรก....เราจะเอาแบบไหนก่อน?....มีคนคุยกันเรื่องนี้มาก่อนแค่ไหน?....ผู้บรหารหรือผู้มีอำนาจในการสั่งการจะเอาแบบไหนหละ?
...............อย่างที่สอง.....ผู้ปฎิบัติงานจะเอาแบบไหน?.....อาจารย์แต่ละท่านใช้ Service ในการสอนนักเรียนเต็มความสามารถและเวลาเหใอนกันหรือเปล่า....หรือบางท่าน....จะเอาแต่ตรวจคนไข้?....ส่อนของนักเรียน.....อยากจะเรียนหรือเปล่าหละ?.....หรืออยากจะมาเช้า 8.00 แล้วเลิก 16.00 ไปดูหนังอย่างที่ผมชอบทำหละ.....ส่อนใหญ่อยากได้ความรู้.....หรืออยากสบายหละ?.....?
..........อย่างที่สาม....ผู้รับบริการ....อยากจะได้แบบไหน?....จะยินดีรอตรวจเป็นชาติหรือเปล่า.....เข้าไปตรวจแล้วเจอนักเรียนนั่งดูเป็นโหลเอาไหม?.....หรืออยากจะได้แบบโรงพยาบาลเอกชน...มาปุ๊ปได้ตรวจปั๊บ....ไม่ต้องมารอทีละสองสามชั่วโมงอย่างที่เห็น?..........
.............สรุปคือเรามีหลายด้านที่จะมอง...เราจะเอากันแบบไหนหละ?.....ใครจะเป็นคนตัดสิน....ถามผม...ผมคิดว่านี่เป็นโรงเรียนแพทย์....เราต้องสอนนักเรียนครับ......ส่วนเรื่องบริการเป็นเรื่องรอง.....จะดีจริงถ้าเราทำได้ดีทั้งสองอย่าง...แต่ถ้ามันยังไม่ไหว....หรือลำบาก....หรือต้อง"รอ"......เราใส่ใจการสอนดีกว่าไหม?...
...........เอาหละ?....คุณ Phoenix ว่าไงหละครับ?.....นี่คือมุมมองของผม....ผมอาจจะไม่ตอบคำถามสักเท่าไรนัก......แต่ผมคิดว่ามองไปมองมาแบบนั้นแล้ว....มันดูทำได้ยาก.....น่าจะมีการประชุมโรงพยาบาลแบบเปิดแล้วถามกันเลย....ว่าแต่หละส่วนมีความเห็นอย่างไร.....สรุปเป็นข้อตกลงที่จะทำร่วมกันเพื่อพัฒนาโรงพยาบาล....ไม่ใช่ดีแต่สั่ง.....ดีแต่สั่ง...โดยไม่เคยมามองว่ามันทำได้จริงหรือไม่?....:D...:D.........
...........ขอบคุณครับ.....แล้วพรุ่งนี้ผมจะมาอ่านความเห็นของคุณ Phoenix ครับ...:D..:D



Posted by : Death , Date : 2003-12-01 , Time : 21:30:30 , From IP : 172.29.3.230

ความคิดเห็นที่ : 22


   สถาบันที่ผมจบมามีอยู่ครั้งหนึ่ง สอบรายยาววิชาหนึ่งซึ่งต้องซักประวัติตรวจร่างกายโดยละเอียด มีนักเรียนสอบ case เดียวกับผมหกคน ผมเป็นคนที่สาม ตอนถึงตาผมเข้าไปสอบ ปรากฏว่าคนไข้หนีไปซ่อนอยู่ในห้องน้ำ ร้องไห้ ไม่ยอมออกมาให้นักเรียนสอบอีกต่อไป ผมยังจำตอนที่อาจารย์ไปยืนเคาะประตูห้องน้ำได้อยู่เลย ความรู้สึกตอนนั้น (จริงๆ) คือรู้สึก annoy ปนขัน แต่พอผมนึกย้อนกลับไปทีไร ผมรู้สึกละอายใจตนเองอย่างมากที่รู้สึกแบบนั้น ตอนนี้ก็ยังรู้สึกละอายอยู่

ไม่มีใครหาว่าอาจารย์ไม่ทุ่มเทสอนหรอกนะครับ แต่คนไข้ไม่ใช่ specimen ผมยังสงสัยอยู่ว่าที่คุณ Death บอกว่าอาจารย์คุณ Death ไม่สนใจว่าคนไข้จะบ่นว่าช้าแค่ไหนก็ช่างนั้น บริบทเป็นอย่างไร คนไทยสมัยก่อนไม่บ่นหมอ ถ้าบ่นมักจะเหลือรับประทานแล้วจริงๆ ผมไม่แน่ใจว่า "ตัวอย่าง" ที่อาจารย์ "ไม่สนใจ" ว่าคนไข้จะบ่นอย่างไร ชั้นสอนของชั้นอย่างนี้ ทำให้นักศึกษารุ่นคุณ Death "คิดว่า" ความรู้สึกของผู้ป่วยสำคัญหรือไม่? อย่างไร?

โรงเรียนแพทย์นั้น ผมไม่เคยคิดว่าความสำคัญอยู่ที่คำ "โรงเรียน" ไปกว่าคำว่า "แพทย์" เลยครับ เพราะปรัชญาของเราคือสอนว่า "แพทย์" ในอุดมคติคืออะไร ไม่ใช่ "ครู" ในอุดมคติควรเป็นอย่างไร เป้าหมายอยู่ที่ผลิตผลแพทย์ ไม่ใช่โชว์ความอยากจะสอนของอาจารย์ วิธีที่อาจารย์แพทย์จะถ่ายทอด "จรรยาแพทย์" ให้นักเรียนได้คือ "แสดงเป็นตัวอย่าง" ความเมตตา เห็นอกเห็นใจ และนึกถึงประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นอันดับหนึ่ง สูงสุด อย่างที่สมเด็จพระราชบิดาได้ทรงดำรัสไว้ แล้วนักเรียนรุ่นต่อๆมา ก็ปฏิบัติตามปูชนียแพทย์เหล่านี้ตามๆกันมา ถ้าเมื่อไหร่ก็ตาม ครูแพทย์แสดงแม้แต่เพียงนิดเดียวว่านักเรียนแพทย์สำคัญกว่าผู้ป่วย ผมว่าครูท่านนั้นต้องไปตรวจสอบปรัชญาแพทย์ใหม่ได้แล้ว เพราะว่านักเรียนแพทย์ที่ถูกสอนแบบนี้ก็จะพกพา Vanity ความสำคัญตนเหนือกว่าคนไข้ "ช่างหัวมัน" ติดตัวอยู่ในกมลสันดาน ข้าจะเรียนสบาย ข้าไม่เห็นความสำคัญของการขวนขวายหาความรู้ความชำนาญ เพราะข้าไม่ชอบงานหนัก อาจารย์ข้าเคย "ช่างหัวมัน" กะคนไข้มาให้ข้าดูแล้ว ข้าเลยจำมา



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-01 , Time : 21:52:16 , From IP : 172.29.3.208

ความคิดเห็นที่ : 23


   ........เออ......เข้าใจไปคนละเรื่องเลย.....บางทีผมเบื่อนะ...ไอ้แค่การนั่งเขียนเนี่ย....บางคนอยากอ่านอะไร....และเข้าใจอะไรก็เอา......ผมไม่ได้หมายความอย่างที่คุณ Phoenix เข้าใจเลย.....ผมไม่ได้บอกสักคำว่าอาจารย์ผมดูถูกคนไข้หรือช่างหัวคนไข้.....คุณเข้าใจอะไรผิดๆแล้วมาว่าอาจารย์ผมเนี่ยเหรอ?.......ผมว่าครั้งนี้เกินไปนะครับ....คุณจะว่าอะไรผมหรือเข้าใจอะไรผมผิดๆนี่ผมเฉยๆนะครับ.....เท่าที่ผมอ่านดูคุณไม่สนใจที่ผมเขียนสักกะบรรทัด.....สนใจแค่ประโยคสั้นๆแค่ยนั้น...ซึ่งความหมายไม่ได้บ่งบอกอย่างที่คุณเข้าใจเลย......มีอาจารย์แย่ๆแบบที่คุณว่ามาด้วยเหรอครับ.....ถ้าจะมี....อาจารย์ที่สอนผมมาที่ผมเคยเรียนด้วย.....ไม่มีแบบนั้นครับ......ผมเสียใจและขอโทษนะครับที่ทำให้คุณเข้าใจผิดอีกแล้ว......ถามจริงเถอะ....คุณจะมาตั้งคำถามทำไม...เพราะคุณดูไม่สนใจที่ผมตอบเลย.....สนใจแต่อะไรไม่รู้แล้วก็ยกขึ้นมาพูดซะยาวเหยียด???.......



Posted by : Death , Date : 2003-12-02 , Time : 12:37:11 , From IP : 172.29.3.144

ความคิดเห็นที่ : 24


    ผมคิดว่า ถ้าเราลองมาแยกแยะพิจารณาเป็นส่วนๆของรพ. ว่าส่วนใดที่ทำให้การเรียนการสอน กับการบริการไปด้วยกันไม่ได้ น่าจะมีประโยชน์กว่านะครับ เช่น ER, OR, LR, OPD, ward เป็นต้น
ผมคิดว่า ควรมีอาจารย์อยู่ในทุกจุดที่ให้บริการ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีและให้การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมครับ




Posted by : megumi , Date : 2003-12-02 , Time : 18:17:31 , From IP : 172.29.3.224

ความคิดเห็นที่ : 25


   คำที่ว่า "ให้ดีที่สุด" นั้นคงเป็นจุดมุ่งหมายของการสอน นศพ. และการบริการแก่คนไข้
เราต้องการอย่างไรให้ดีที่สุดล่ะครับ
นศพ. ได้เรียนรู้ความเป็นแพทย์ที่ดี
คนไข้พึงพอใจกับการให้บริการของแพทย์
ผมว่าทำได้นะ ให้สองอย่างนี้ไปด้วยกัน

เอ้อ มีหนังสือการ์ตูนน่าสนใจอยู่เรื่องหนึ่ง "Say hello to Black Jack" เป็นเรื่องของระบบแพทย์ รพ.มหาวิทยาลัย ในญี่ปุ่น
สนุกดีครับ ลองไปหาอ่านดู เพิ่งจะออกไม่นาน

เอ้อ คุณ Death กับคุณ Phoenix นี่ท่าทางจะคุยกันลำบากนะ พยายามปรับความเข้าใจกันให้มากขึ้นอีกดีมั้ยครับ

คุณ megumi ผมว่านั่นก็เป็นความเห็นที่ใช้ได้นะครับ ผมก็ว่าในแต่ละแผนกแต่ละส่วน ย่อมมีปัญหาต่างกันอยู่แล้ว เราคงต้องจัดการเป็นส่วนๆล่ะครับ ต้องเอานโยบายกลางมาประยุกต์ใช้ในแต่ละที่ให้เหมาะสม จะได้ผลที่ดี


Posted by : ArLim , Date : 2003-12-02 , Time : 21:13:30 , From IP : 203.113.76.75

ความคิดเห็นที่ : 26


   ไม่ได้อยากแสดงความคิดเห็นอะไรมาก แต่มีเรื่องเล่าเล็กๆจะเล่าให้ฟัง

สองเดือนที่แล้วเราไปงานแต่งงานที่ลูกพี่ลูกน้องของเราเป็นเจ้าสาว
ใบหน้าเธอสวยงามรับกับทรงผมที่ช่างมืออาชีพแต่งมาจากร้านชื่อดัง
แต่ชุดแต่งงานที่เธอสวมอยู่ มันดู...งั้นๆ และไม่เข้ากับเธอเท่าไหร่
แต่เธอก็ภูมิใจกับชุดนี้นะเพราะเธอมีส่วนร่วมในการออกแบบเอง

เรารู้สึกยอมรับในความใจกว้างของเธอ
ในเมื่อเราเลือกจะภูมิใจกับผลงานของตัวเอง ก็อาจต้องเผื่อใจไว้ด้วยว่า มันอาจจะไม่ดีเท่าที่คนอื่นที่เป็นมืออาชีพจะทำให้ เพราะอะไรรู้มั้ย
เพราะลูกพี่ลูกน้องเราคนนี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นดีไซเนอร์
เช่นเดียวกัน เราคงไม่คาดหวังว่าร้านแมคโดนัลด์จะจัดร้านแบบนั่งกินใต้แสงเทียน มีเพลงแจ๊ซบรรเลง..เพราะอะไร ...เพราะร้านฟาสต์ฟู้ดไม่ได้ถูกออกแบบมา เพื่อทำหน้าที่อย่างนั้น

นกหลายชนิดดำน้ำได้เพื่อจับปลาในน้ำกิน
แต่คงไม่มีใครเลี้ยงนก เพื่ออยากให้มันมาช่วยจับปลาให้กิน
เพราะนกไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อดำน้ำหาปลา

แคบเข้ามาอีก
หมอสูติอาจเย็บแผลPfannens. ได้สวยเรียบเหมือนคนไข้ไม่ได้ผ่าตัดมา
แต่อาจเย็บแผลเล็กๆบนหน้าคนแล้วกลายเป็นแผลเป็นน่าเกลียดน่ากลัว ...ทั้งๆที่งานในหน้าที่ตัวเองก็เย็บแผลอยู่ทุกวัน

หมอตาอาจทำตาสองชั้นได้ แต่จะสวยเท่าหมอพลาสติกทำได้สักกี่ราย

พ่อแม่ที่ไหนจะอุ้มลูกไปหาหมอENT แล้วบอกว่า ขอฉีดวัคซีน

แม้แต่หมอเหมือนๆกัน ยังทำงานเก่งเท่าหมอเจ้าของสาขาเฉพาะทางไม่ได้

ก็เพราะเขาไม่ได้ถูกออกแบบมาอย่างนั้น

โรงเรียนแพทย์ก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อ serviceกันหน้าดำหน้าแดง
แต่ก็คงไม่ถึงกับปล่อยให้คนไข้นั่งรอจนหมดหวัง

ในคำถามข้อนี้
ถ้าเราลดความคาดหวังลงมา ว่าเราจะserviceได้ ไม่เยี่ยมอย่างที่โรงพยาบาลที่ถูกออกแบบมาอย่างนั้นเขาทำได้
เราก็จะมองงานที่เราทำ มอง นศพ.เก้ๆกังเย็บแผล มี พชท.คุม ด้วยสายตาที่ พึงพอใจมากขึ้น

คุณว่างัย



Posted by : natalie , Date : 2003-12-02 , Time : 23:43:43 , From IP : 172.29.3.230

ความคิดเห็นที่ : 27


   เห็นวิสัชนาของ magumi และ natalie แล้วรู้สึกว่า การคุยกันต่อไปมีโอกาสที่จะก่อประโยชน์
.
ฉันมีความเห็นคล้อยตามกับการมองอย่างผ่อนคลายอย่างที่ natalie มอง แต่ยังอยากให้ความเห็นในมุมกลับว่า การที่เราจะต้องจัดการเรียนการสอน จะต้องไม่ถูกนำมาเป็นข้ออ้างสำหรับ ความไม่ใส่ใจในคุณภาพของการบริการ เพราะมันไม่อาจแยกออกจากกันได้ ลูกไม้ที่งามหล่นไม่ไกลต้นไม้ต้นสวย ฉันเดียวกันนั้น การผลิตผู้ให้บริการที่มีความสามารถและจิตสำนึกที่จะให้บริการ ก็ควรจะถอดแบบออกจากสถาบันที่เป็นต้นแบบที่ดีของงานบริการ
.
เช่นหากมาจับเป็นส่วนงานอย่างที่ magumi san ว่า หากเรามาเริ่มที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ใครที่เคยนั่งอยู่ที่คลินิกศัลยกรรมไม่อาจปฏิเสธว่า ปริมาณงานบริการที่มากเป็นอุปสรรคต่อการจัดให้เกิดกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ อย่างไรก็ตาม หากจำกัดจำนวนผู้ป่วย ผลข้างเคียงที่จะต้องยอมรับคือ การลดความถี่ในการ follow-up ผู้ป่วยบางประเภท ซึ่งอาจหมายถึงความเสี่ยงในการพลาดโอกาสที่จะตรวจพบปัญหา การลดความหลากหลายของโรคที่พบ และผลในระยะยาวคือ ภาพลักษณ์ของสถาบันในฐานะศูนย์บริการทางการแพทย์ที่จะลดลงซึ่งอาจหมายถึงโอกาสที่จะได้รับการส่งต่อกรณีป่วยที่น่าสนใจหรือเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ก็จะ (อาจ) ลดลง
.
เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า เราไม่อาจสรุปได้อย่างง่ายและสั้นว่า ที่นี่มีไว้สอน รอนานหน่อย โอกาสผิดพลาดมากหน่อย แต่ควรจะถามต่อว่า รอตรวจนานแค่ไหนล่ะที่เรายอมรับได้ในสถาบันนี้ อุบัติการการเกิด wound infection มากแค่ไหนที่สถาบันของเรารับได้
.
นั่นคือการหา reality best ซึ่งต้อง titrate หาและ titrate บนฐานของการวัดที่เป็น objective มิใช่ความรู้สึก
.
Everyone can talk, but how many walk their talk?


Posted by : Shonikeka , Date : 2003-12-03 , Time : 06:33:49 , From IP : pedsurg.med.osaka-u.

ความคิดเห็นที่ : 28


   อวยพรให้ทำสำเร็จไวๆขอรับ

Posted by : ... , Date : 2003-12-03 , Time : 14:19:48 , From IP : 172.29.2.199

ความคิดเห็นที่ : 29


   บริบทมีส่วนสำคัญมากทั้งการบริการและการเรียนการสอน (และอื่นๆๆ)

สถาบันการศึกษาแพทยศาสตร์หลายแห่งกำลังทำวิเคราะห์และปรับหลักสูตรใหม่ เพื่อให้ได้ "แพทย์ ตาม model" ที่ WHO คิดว่า "ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยและสถาบันให้บริการ" ดังนั้นต่อไปนี้เราจะได้ยินคำ "performance-based, outcome-based และ professionalism" อยู่เรื่อยๆ เนื่องจากกระบวนการนี้ใช้ระยะเวลายาวนานที่จะผลักดัน จึงเป็นโอกาสอันดี (และ healthy for discussion) ที่บรรดา sceptic จะจับตา จับผิด และวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์

อีกคำหนึ่งในยุคนี้คือ "การแพทย์เชิงประจักษ์" หรือ evidence-based medicine ซึ่งการพูดจาหรือวิเคราะห์วิจารณ์อะไรต้อง "คำนึง" ถึงน้ำหนักของสิ่งที่ตนเองรับรู้และให้คุณค่าเท่าที่มี ไม่ได้แปลว่าไม่มี meta-analysis หรือ systemic-analysis แล้วก็จะพูดอะไรไม่ได้เลย แต่แปลว่าตอนที่เรารับหรือเสนอข้อมูลนั้นต้องใช้ "น้ำหนัก" ที่ว่านี้ประกอบด้วย

คำถาม : ผู้ป่วยทุกคน "ต้องการ" หมอที่เก่งที่สุดสำหรับเขาใน "ทุก" สถานการณ์หรือไม่? คนปกติจะใช้ความพยายามแค่ไหนในการเลือกหมอรักษาหวัด สมมติฐานมีอยู่ว่าน่าจะแตกต่างกันระหว่างเป็นหวัด กับเป็นไส้ติ่ง หรือผ่าตัดไส้ติ่งกับผ่าตัดหัวใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสำคัญ หรือ "บริบท" ของความเจ็บป่วยนั้นๆ ถ้าสมมติฐานนี้เป็นจริงเราอาจจะนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนให้ excellent ควบคู่กับบริการได้หรือไม่? อย่างไร?

เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมี "อาสาสมัคร" หรือ standardized patients ที่ไม่ฉุกเฉิน อาจจะ willing ที่จะเข้าโปรแกรมเสริมทักษะการสอนการสัมภาษณ์แก่นักเรียนแพทย์ถ้าแลกเปลี่ยนกับการได้ full-service ที่ ideal situation สามารถเป็นไปได้ เช่น ห้องสัมภาษณ์ การซักประวัติตรวจร่างกายที่ละเอียด แพทย์สามารถแสดง empathy/sympathy ต่อผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ และนักเรียนแพทย์ก็ observe สิ่งที่ดีที่สุดไป ในขณะเดียวกันการสอนแสดงแบบนี้ก็จะใช้เวลาของอาจารย์แพทย์ไปหนึ่งท่านที่ไม่สามารถตรวจได้อย่าง "เต็ม steam" ที่ผู้ป่วยรอคิวอยู่ นั่นเป็น sacrifice ที่ยอมรับได้หรือไม่ และคุ้มค่าหรือไม่?

"ทำไมต้องมี session ดังกล่าว?" กีฬาหลายประเภท เช่น เทนนิส กอล์ฟ หรือแม้กระทั่งวิ่ง ขึ้นอยู่กับ "การทำที่ถูกวิธี" ที่เป็นศาสตร์ เป็นหลักวิชา ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับ psychomotor domain ของทุกๆ subject ถึงแม้ว่านักศึกษาแพทย์ได้ attend OPD หรือหัตถการต่างๆหลาย sessions ในการฝึกอบรม นั่นอาจจะไม่เท่ากับการได้ attend selective session ที่เป็นอุดมคติ มี references จากการศึกษา McMaster, Canada เรื่องความแตกต่างของ expert กับ novice นั่นคือ expert นั้นเป็นแหล่งของตัวอย่างจำนวนมากที่ได้มาจากประสบการณื ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมีนัยสำคัญในการตัดสินใจอย่างรวดเร็วจนดูเหมือนไม่ได้ซักละเอียดหรือตรวจละเอียดแต่จะสามารถให้การวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วกว่า การที่นักศึกษาแพทย์ attend OPD นั้นเป็นการ observe expert ขณะนี้เขาเหล่านั้นกำลังทำงานเต็ม speed เป็นที่น่าสนใจว่านักศึกษาจะ "สามารถ" ติดตาม logic ของ expert ได้สักกี่เปอร์เซนต์ ในทำนองเดียวกันกับหัตถกรด้านอื่นๆ รวมทั้งการเรียนรู้ของ cognitive domain ด้วย

============================================
เรียนคุณ Death

ผมสงสัยว่าข้อมูลที่ได้มาไม่สมบูรณ์ตั้งแต่ก่อนจะเขียนบทความที่แล้ว จึงตั้งข้อสังเกตว่าบริบทที่คุณยกตัวอย่างมานั้นเป็นเช่นไร เพราะอาจารย์แพทย์รุ่นเก่าส่วนใหญ่จะไม่ทำให้นักเรียนแพทย์รู้สึกว่าผู้ป่วยไม่สำคัญหรือนักเรียนแพทย์สำคัญกว่าผู้ป่วย และผมก็เชื่อว่าอาจารย์ของคุณ Death ก็เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่ปฏิบัติตามหลักปรัชญาอันนี้เช่นกัน ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วก้ไม่มีใครถูกดูถูกดูแคลนหรือตำหนิแต่อย่างใด และหวังว่าคุณคงเห็นว่าเป็นการล่อแหลมสำหรับผู้อ่อนประสบการณ์ท่านอื่นๆที่จะอ่านแล้วเข้าใจไปอีกทางหนึ่ง ผมอ่านข้อความของคนอื่นค่อนข้างละเอียด (หรืออย่างน้อยก็เข้าใจว่าตนเองอ่านละเอียด) ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่ผมสงสัยว่าคำสรุปบางอย่างขาด "บริบท" ที่สำคัญไป ก็น่าจะมีการขยายความเพื่อป้องกันความเสียหาย



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-07 , Time : 11:34:08 , From IP : 172.29.3.224

ความคิดเห็นที่ : 30


   จากข้อมูลที่ผมผ่านไปได้เห็นได้ฟังมา มีประเด็นที่อยากจะขยายความและขอความเห็นจากพวกเราเพิ่มเติม

Professionalism


ที่น่าสนใจมากคือนิยามของ professionalism ที่ว่านี้ มีคนสรุปลงในวารสารแพทยศาสตร์ศึกษาว่าคือการที่แพทย์มีการประทำใดๆก็ตามเพื่อประโยชน์และข้อบ่งชี้ในการช่วยผู้ป่วย พูดง่ายๆก้คือเหมือนกันเป๊ะกับหลักปรัชญาหรือพระราชำดรัสของสมเด็จพระราชบิดาของเรานั่นเอง และนั่นต้องเป็น Goal standard ในการฝึกอบรมแพทย์ทั่วลก หรืออย่างน้อยก็เป็นที่ที่ WHO อยากจะให้เป็น (ที่ใช้ WHO อ้างบ่อยเพราะเป็น community ที่ผมว่าทำงานและมีผลงาน "เพื่อ" ประชาชนในอดีตและปัจจุบันและหลักการที่ชัดเจนพอสมควร)

ข้อที่น่าสนใจคือ "ทำไมประเด็นนี้กลายเป็น hot topic ของแพทยศาสตร์ศึกษา" ถ้าเป็นของที่ทุกๆคนทำหรือประสบความสำเร็จอยู่แล้ว คงจะเป้นเพราะเหมือนอย่างที่ Dean ของ Faculty of Medicine of National University of Singapore กล่าวในที่ประชุม Med Ed ครั้งล่าสุด เจตคติและพฤติกรรมของนักเรียนแพทย์รุ่นหลังน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง ความอดทน ความตั้งใจในการศึกษาวิชาชีพ และ หลักปรัชญาวิชาชีพ ถูกเจือจางลงไปด้วย Medical contents ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วจนคนเขียนหลักสูตรตั้งตัวไม่ทัน ผลก็คือเรามี Gap ของ generations ที่ความสัมพันธ์ของปรมาจารย์ทางการแพทย์กับ "ไข่หมอ" หรือนักเรียนแพทย์ถูก stretched ออกไปกว้างขึ้น จน.ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลมากขึ้น expectation ศุงมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ "อาจจะ" ให้บัณฑิตแพทย์ถูกผลิตด้วยอัตราและระบบโรงงาน นักเรียนแพทย์เฝ้าดู expert ให้การวินิจฉัยโดยไม่มีการ feedback ที่ demonstrate อะไรคือ relevance และ irrelerance information ที่ทำให้ expert เหล่านี้สามารถให้การวินิจฉัยอย่างรวดเร็วโดยไม่ถูก "หลอก" จากข้อมูลที่ misguiding

วันก่อนมีการอภิปรายเรื่อง "ควรจะให้ญาติผู้ป่วยอยู่ด้วหรือไม่ ขณะทำ CPR" คำตอบง่ายที่สุดคือถ้าเขาเข้าใจว่าอะไรกำลังจะเกิดตั้งแต่ต้นจนจบเป็นอย่างดี และอยากจะอยู่กับผู้ป่วยจนวาระสุดท้ายก็น่าจะทำได้ แต่มีข้อแม้ว่า (เป็น BIG แต่ ) ทีมของเราต้องมีความเป็น professionalism อย่างสมบูรณ์แล้วเท่านั้น นั่นคือ การกระทำ การพูดจา ภาษาที่ใช้ กิริยาต่างๆของ "ทั้งทีม" ต้องเป็น utmost professional หลังจากมีการยกตัวอย่างกันพอสมควรโครงการนี้อาจจะต้องมารื้อใหม่เมื่อเราคิดว่า "พร้อม"

ทำอย่างไรสถาบันแพทย์จึงจะ "ปลูกฝัง" professionalism ให้บัณฑฺตแพทย์ และบัณฑิตแพทย์ "เช่นไร" จึงสามารถถูกปลูกฝัง professionalism?




Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-07 , Time : 20:29:18 , From IP : 172.29.3.224

ความคิดเห็นที่ : 31


   ...OK...Dr.Phoenix...Sorry to make you upset again......Today I had nothing to say....I just feel boring when see some topic had deleted again.....I donot know why open webboard by cannot accept topic like that................???.....Why?....Closed it!!!.......
[ I had problem with keyboard again....]



Posted by : Death , Date : 2003-12-07 , Time : 21:08:55 , From IP : r61-skaHS1.S.loxinfo

ความคิดเห็นที่ : 32


   I do think a lesson or two of English may help you through this boredom nicely.



Posted by : Phoenix , Date : 2003-12-07 , Time : 21:22:07 , From IP : 172.29.3.224

ความคิดเห็นที่ : 33


   ....Yeah....I think so.........:D



Posted by : Death , Date : 2003-12-08 , Time : 11:22:31 , From IP : 172.29.3.176

ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.009 seconds. <<<<<