เก็บมาฝากจากญี่ปุ่น{ขวดน้ำดื่ม PET รีไซเคิล แล้วนำมาใช้จริง}เก็บมาฝากจากญี่ปุ่น - ขวดน้ำดื่ม PET รีไซเคิลมาแล้ว 1 ครั้ง - ตอนรีไซเคิล จะแยกออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. ฝา 2. สติ๊กเกอร์/ฉลาก 3. ตัวขวด **ต้องมีสัญลักษณ์ดังรูป Posted by : skyhigh220 , E-mail : (knichako@medicine.psu.ac.th) , Date : 2009-10-20 , Time : 13:20:57 , From IP : 172.29.15.237 |
อีกภาพนึงค่ะ Posted by : skyhigh220 , Date : 2009-10-20 , Time : 13:22:22 , From IP : 172.29.15.237 |
555555 Posted by : skyhigh220 , E-mail : (knichako@medicine.psu.ac.th) , Date : 2009-10-20 , Time : 13:23:24 , From IP : 172.29.15.237 |
ขออภัยที่เข้าใจผิดค่ะ มีผู้รู้มา post ไว้ ขอแก้ไขกระทู้นี้ 1. โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate, PET, PETE) ใช้ทำขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดบรรจุของดอง ขวดแยม ขวดน้ำมันพืช ถาดอาหารสำหรับเตาอบ และเครื่องสำอาง สามารถนำมารีไซเคิลเป็นเส้นใย สำหรับทำเสื้อกันหนาว พรม ใยสังเคราะห์สำหรับยัดหมอน ถุงหูหิ้ว กระเป๋า ขวด 2. โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Density polyethylene, HDPE) ใช้ทำขวดนม น้ำ ผลไม้ โยเกิร์ต บรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด แชมพูสระผม แป้งเด็ก และถุงหูหิ้ว สามารถนำมารีไซเคิลเป็นขวดใส่น้ำยาซักผ้า ขวดน้ำมันเครื่อง ท่อ ลังพลาสติก ไม้เทียมเพื่อใช้ทำรั้วหรือม้านั่งในสวน 3. โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride, PVC) ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใส แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร ม่านในห้องอาบน้ำ แผ่นกระเบื้องยาง แผ่นพลาสติกปูโต๊ะ ขวดใส่แชมพูสระผม ประตู หน้าต่าง วงกล และหนังเทียม สามารถนำมารีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปาหรือรางน้ำสำหรับการเกษตร กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เคเบิล แผ่นไม้เทียม 4. โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low Density polyethylene, LDPE) ใช้ทำฟิล์มห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนมปัง ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์ แท่งไม้เทียม 5. โพลิโพรพิลีน (Polypropylene, PP) ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้า กระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น กันชนและกรวยสำหรับน้ำมัน ไฟท้าย ไม้กวาดพลาสติก แปรง 6. โพลิสไตรีน (Polystyrene, PS) ใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้เช่น เทปเพลง สำลี หรือของแห้ง เช่น หมูแผ่น หมูหยอง และคุ๊กกี้ นอกจากนั้นยังนำมาทำโฟมใส่อาหาร ซึ่งจะเบามาก สามารถนำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ กล่องวิดีโอ ไม้บรรทัด กระเปาะเทอร์โมมิเตอร์ แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ 7. พลาสติกชนิดอื่นที่ไม่ใช่พลาสติกทั้ง 6 กลุ่มข้างต้น หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกหลายชนิดในขั้นตอนของการบดพลาสติกเพื่อให้ มีขนาดเล็กลง ไม่ไปอุดตันในกระบวนการรีไซเคิลนั้น จะทำให้พลาสติกรีไซเคิลมีสมบัติความแข็งแรงทางกายภาพลดลง เนื่องจากแรงเฉือนเชิงกล (Mechanical Shear) ใน เครื่องบดไปทำลายโซ่ของโพลิเมอร์ให้แตกออก ทำให้ความยาวของโมเลกุลและน้ำหนักโมเลกุลลดลง ซึ่งส่งผลให้สมบัติเชิงกลของพลาสติกลดลง นอกจากนั้น เรื่องของความบริสุทธิ์ก็มีความสำคัญต่อสมบัติของพลาสติกแต่ละชนิดในการ เลือกเพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หากใช้กระบวนการแยกพลาสติกที่ไม่ดีพอ อาจทำให้ไม่ได้พลาสติก รีไซเคิลที่บริสุทธิ์ รหัสบอกชนิดพลาสติก ดร. อมรรัตน์ สวัสดิทัต พลาสติกเป็นวัสดุ อีกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ทำบรรจุภัณฑ์กันมากขึ้นในปัจจุบันนี้ เนื่องจากมีคุณสมบัติ ที่ดีเด่นหลายประการ เช่น ใส เหนียว เป็นตัวกั้นความชื้น และออกซิเจน ไม่แตกง่ายเหมือนแก้วและใช้ในปริมาณน้อย ใช้ทำเป็นบรรจุภัณฑ์แทนแก้ว โลหะ กระดาษ และไม้ได้ดีสำหรับสินค้าบางประเภท การแก้ปัญหาสิ่ง แวดล้อมเป็นนโยบายหลักของทุกประเทศทั่วโลก ทำให้พลาสติกซึ่งมีการใช้กันมากในชีวิตประจำวันจึงดูเหมือนเป็นตัวผู้ร้ายเนื่องจากความคงทนไม่เสื่อมสลายทั้งๆ ที่ในยุโรป พลาสติก เป็นส่วนประกอบของขยะเพียง 7% โดยน้ำหนัก หรือ 30-40% โดยปริมาตร ดังนั้นถ้าลดการใช้พลาสติกลงก็ดูจะไม่สมเหตุสมผลเท่าไรนัก เพราะถึงแม้ว่าเราจะไม่ใช้พลาสติกเลย ปริมาณของมูลฝอยจะเพิ่มขึ้นถึง 40.4% โดยน้ำหนัก หรือ 25.6% โดยปริมาตร และราคาของบรรจุภัณฑ์จะเพิ่มขึ้นถึง 21.2% วิธีแก้ปัญหาขยะที่เป็น บรรจุภัณฑ์พลาสติก คือ การส่งเสริมและบังคับให้นำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ The Society of the Plastics Industry, Inc. สหรัฐอเมริกาจึงได้จัดทำสัญลักษณ์แสดงรหัสของพลาสติกชนิดต่างๆ เพื่อที่จะพิมพ์ลงไปบนบรรจุภัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ผลิต สามารถจำแนกชนิดของพลาสติกได้ เพื่อนำกลับไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยที่รหัสนี้จะแตกต่างจากเครื่องหมายอื่นๆ บนฉลากของบรรจุภัณฑ์ สัญลักษณ์ของรหัสประกอบด้วยลูกศรเป็นรูปสามเหลี่ยม ตัวเลขที่อยู่ในรูปสามเหลี่ยมเป็นตัวเลขที่ตรงกับชื่อย่อของพลาสติก ปัจจุบันรหัสบอกชนิดของพลาสติกนี้มิได้ใช้กันแต่ภายในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ยุโรปก็ใช้รหัสนี้เหมือนกัน ประเทศไทยก็มีมาตรฐานรหัสบอกชนิดพลาสติกที่ประกาศใช้แล้ว และประเทศอื่นๆ ก็อาจใช้รหัสนี้ได้ด้วย ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ในประเทศไทยน่าจะได้พิจารณาถึงผลดีในการพิมพ์รหัสนี้ไว้บนบรรจุภัณฑ์ด้วย เพราะบ้านเราก็ได้มีการหมุนเวียนนำเอาพลาสติกไปผลิตเป็นของใช้ต่างๆ ซึ่งเห็นกันอยู่ทั่วไปแล้ว และยังจะเป็นการหมุนเวียนบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม สงวนทรัพยากร และประหยัดพลังงานอีกด้วย Posted by : skyhigh , E-mail : (knichako@medicine.psu.ac.th) , Date : 2009-11-04 , Time : 13:30:50 , From IP : 172.29.15.237 |
ความเห็นจาก Social Network : Facebook |
|
>>>>> Page loaded: 0.008 seconds. <<<<< |