ความคิดเห็นทั้งหมด : 3

หวงหรือห่วง


   อย่าแปลกใจครับ เจตนาให้มาอยู่ในหัวข้อวิชาการ เพราะต้องการให้เป็นแบบนั้นจริง ๆ
เคยอ่านจิตวิทยาความรักจาก Thaiclinic มา คิดว่าเรื่องของความหึงหวงก็เป็นส่วนประกอบหรือเพื่อน ของความรัก น่าจะมีคำอธิบายปรากฎการณ์นี้เป็นวิชาการได้บ้าง
เราได้สิทธ์อะไรในการหึงหรือหวง คนรักของเรานะ คิดอย่างไร จึงต้องหวง กระบวนการคิดในตอนนั้นเป็นอย่างไร จะรู้เท่าทันความรู้สึกนี้ และ แก้มันได้อย่างไร แค่ใหนจึงพอดี เพราะบางทีมันก็มากถึงขนาดอยากทำให้ใครบางคนหายไปจากโลกนี้

ฉันเอง กำลังสับสน


Posted by : ฉันไม่ใช่ผู้วิเศษ , Date : 2003-11-17 , Time : 23:35:17 , From IP : 172.29.3.125

ความคิดเห็นที่ : 1


   ทั้งสองเทอมอยู่คนละปลายของเส้นตรง

ขึ้นอยู่กับบริบทของ "source" ว่า ผลกระทบตกอยู่ที่ใครที่ทำให้เกิดความรู้สึก ถ้าเกิดกับตนเองก้เป็น "หวง" ถ้าตกกับคนๆนั้นก็เป็น "ห่วง" ยกตัวอย่างเอาที่เป็นบุคคลที่สามเราจะได้ "มองเห็น" อย่างแฟร์ ความรู้สึกของพ่อแม่เมื่อลูกสาวจะไปเที่ยวกับเพื่อน ถ้ารู้สึก "ไม่พอใจ" หรือ negative เมื่อลูกจะไปเที่ยวกับเพื่อนนั้น จริงๆแล้ว context หรือ บริบทของเรื่องตกอยู่ในกรณีไหน ถ้าลูกไปเที่ยวธรรมดาๆกับเพื่อนแต่ยังรู้สึกไม่อยากให้ไปนั้น อาจจะเป็นเพราะเราร้สึกว่า "เรา" ถูกแย่งเวลาออกจากตัวลูกสาวที่จะอยู่กับเรา หรือกำลังคิดว่าลูกจะมีเวลาน้อยลงกับ "เรา" หรือเหตุการณ์ดังกล่าวจะนำไปสู่การที่เป็นแฟน และ "เรา" ลดความสำคัญลง อันนี้จะเป็นความรู้สึก "หวง" แต่ถ้าลูกไปเที่ยวเฉยๆไม่รู้สึกอะไร แต่รู้สึก "ไม่สบายใจ" หรือ negative ต่อเมื่อทราบว่าลูกไปเที่ยวกลางคืนที่มีการกินเหล้า อาจจะเกิดเหตุการณ์ไม่ดี "กับลูก" หรือไปเที่ยวขับรถเล่นกับคนที่ประสบการณ์ขับรถน้อยหรือวัยคะนอง อาจจะเกิดอุบัติเหตุ "กับลูก" หรือไปเที่ยวในคลับที่มีชื่อด้านการใช้ยาเสพย์ติด "ลูก" อาจจะพลั้งเผลอหรืออยากลอง อันนี้จะเป็น "ห่วง"

แต่บ่อยครั้งที่เราจะ "สร้าง" เหตุผลแบบหลังมาบังหน้าต่างๆนานาเพื่อให้เป็นที่ "ยอมรับได้" ฉะนั้นเรื่องของเรื่องถ้าจะวินิจฉัยก็คงจะเป็นเจ้าตัวที่จะรู้ว่าเหตุผลจริงๆมัน "เพื่อเรา" หรือ "เพื่อเขา"

คำถาม "จะได้อะไรจากความรู้สึกหึงหวง หรือห่วง" คงไม่ใช่ "ได้อะไร" แต่เป็น "ทำไม" ซะมากกว่า

"รัก" หรือ "ความผูกพัน" เป็นบ่วงและสาเหตุร่วมของอารมณ์ทั้งคู่ เราย่อมไม่อยากให้คนที่เรามี "บ่วง" นี้เป็นอันตราย ฯลฯ (ความห่วง) เพราะเราจะสูญเสียของที่เราพิจารณาแล้วจัดเป็นสิ่งมีค่า กับอีกประการหนึ่งคือการที่คนเรา "รัก" อะไรหรือใครได้นั้น เป็นการเสริมสร้าง "ค่า" ของนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรา "เข้าใจว่า" ถูกรักตอบ การถูกรักตอบนี้เป็น back ที่สำคัญ บางครั้งสำคัญขนาดเป็น foundation ของบุคลิกของเรา ของคุณค่าของเรา ของความมั่นใจ เผป้นตัวของตัวเอง ฯลฯ ของเรา เป็นความรู้สึกที่ว่าเราถูกยอมรับ ดังนั้นเราจึงไม่อยากสูญเสียไปเพราะเราจะพลอย "สูยเสีย" สิ่งเหล่านี้ไปด้วย แต่อันหลังนี่ "เรา" เป็น subject ฉะนั้นจึงเป็นอารมณ์ "หวง"

ความเป็นห่วงนั้นดี มีรากฐานอยู่บนตรรกศาสตร์ ว่าคนที่เราเป็นห่วงมีรากฐานของเหตุการณ์สมเหตุสมผลต่อที่เราจะเป็นห่วง แต่ความหวงนั้นเป็นความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัวเป็นรากแห่งความทุกข์ วิธีแก้นั้นพูดง่าย ทำยากคือการมีคุณค่าของตนเอง "โดยตนเอง" ไม่ต้องหวังพึ่งการยอมรับจากบุคคลอื่น คุณค่านี้ได้แก่ การมีจริยธรรม การเป็นคนดี การมีประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม การที่เรา "ทำทุกอย่างดีแล้ว" ตายไปตอนนี้ก้ไม่มีที่จะบ่นว่า เราน่าจะยังโง้น อย่างงี้ จะเห็นว่ายากกว่าเยอะ สู้หาคนมาให้เรารู้สึกว่ายอมรับเรา รักเรา ง่ายกว่า (เป็นสาเหตุหนึ่งที่การ "เลี้ยงสัตว์เลี้ยง" ช่วยได้เยอะ โดยเฉพาะสัตว์ที่มี loyalty สูงๆ ให้ความรู้สึกการเป็น "ผู้นำฝูง" ง่าย)

สองสลึงของกระผมครับ



Posted by : Phoenix , Date : 2003-11-18 , Time : 01:55:56 , From IP : 172.29.3.247

ความคิดเห็นที่ : 2


   ที่ใดมีรัก
ที่นั่นมีทุกข์ จริงจริง
ไม่แปลกหรอกบางครั้ง เขาก้อเห็นว่า
ความห่วงใยของเรา เป็นเรื่องน่ารำคาญไปอีก เฮ้อ


Posted by : เราเอง , Date : 2003-11-20 , Time : 16:45:16 , From IP : 172.29.3.125

ความคิดเห็นที่ : 3


   การหวงและห่วงเป็นการแสดงออกถึงความรักที่มีให้
แต่บางครั้งการแสดงออกมาจนเกินไปก็ไม่ดีคะ...คิดถึงชัยจังเลย...


Posted by : คนไกล , E-mail : (soda_kata@yahoo.com) ,
Date : 2003-11-23 , Time : 18:53:44 , From IP : 203.156.6.157


ความเห็นจาก Social Network : Facebook


สงวนสิทธิ์การแสดงความคิดเห็นสำหรับ สมาชิกเท่านั้น
>>>>> Page loaded: 0.004 seconds. <<<<<